ลักษณะของการวิจัยระดับปริญญาเอก>>>Dissertation


งานวิจัยระดับปริญญาเอกจึงมีความพิเศษอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ ความใหม่ (origin) การนำไปใช้ได้กับทุกที่ (generalization) และมีผลกระทบที่สูง (Impacts)

               สืบเนื่องมาจากมีน้องๆ ได้เอา concept paper มาให้ช่วยดูสำหรับสมัครเข้าเรียนต่อปริญญาเอก ผู้เขียนก็เลยคิดว่าควรจะนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาเขียนให้ผู้ที่สนใจที่จะเข้าเรียนต่อได้พอมีแนวทางในการเขียนโครงงานวิจัยที่พอจะพัฒนาไปสู่ดุษฏีนิพนธ์ได้ เขาถึงได้ใช้คำว่า "Dissertation" อย่างไงละครับเพราะมันมีความแตกต่างกับ Thesis ในระดับ ปริญญาโท (แม้ในบางประเทศจะใช้คำสลับกัน) เพราะฉะนั้นงานวิจัยระดับปริญญาเอกก็ต้องค่อนข้างอลังการงานสร้าง   งานวิจัยระดับปริญญาเอกจึงมีความพิเศษอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ ความใหม่ (origin) การนำไปใช้ได้กับทุกที่ (generalization) และมีผลกระทบที่สูง (Impacts) กล่าวคือ

1. Original งานวิจัยต้องได้องค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้น เป็นความใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน อาจจะได้ผลลัพธ์หรือกระบวนการใหม่ หรือได้เครื่องมือใหม่ก็ได้

2. Generalized งานวิจัยที่ทำนี้จะต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆ ที่ ซึ่งก็คือ ไม่ใช่ case studies นั่นเอง แต่ถ้าเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนั้นจะต้องมีความพิเศษมาก ๆ

3.  Impacts ผลกระทบที่เกิดจากงานวิจัยต้องสูงและเป็นประโยชน์ต่อเรื่องที่ทำการศึกษา

         นี่เป็นเพียงหลักการพื้นฐานเท่านั้นที่สามารถนำไปพิจารณาเวลาเขียน concept paper โดยเฉพาะคำถามที่ควรต้องถามตัวเองว่า "งานวิจัยของคุณได้อะไรใหม่" ซึ่งสำคัญมาก ส่วนการใช้สถิติขั้นสูงหรือไม่นั้น ตามความเห็นของผู้เขียนคงบางครั้งงานวิจัยเชิงคุณภาพก็ไม่มีความจำเป็น ลองนำเกณฑ์เหล่านี้ไปพิจารณาดูครับเผื่อจะได้เปรียบคู่แข่งบ้างไม่มากก็น้อย.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 231713เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท