ความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Thinking)


นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สาขาหลักสูตรและการสอนรุ่น 6/2551

    
ความคิดสร้างสรรค์

   ( Creative Thinking)

  

กิลฟอร์ด (Guilford, 967.) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้      ศึกษาโครงสร้างสมรรถภาพทางสมอง โดยเน้นเรื่องความคิด    สร้างสรรค์     ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา จนได้             แบบจำลองโครงสร้าง  สมรรถภาพทางสมองดังนี้

 โครงสร้างทางสติปัญญาตามทฤษฎีของกิลฟอร์ด

   ประกอบด้วยหน่วยจุลภาคจากทั้ง 3 มิติ  เท่ากับ 5×5 × 6       คือ 150 หน่วยแต่ละหน่วยประกอบด้วย  เนื้อหา ปฏิบัติการ     ผลผลิต  สามารถจำลองด้วยภาพ ดังนี้

 

ทฤษฎีและแนวคิดของกิลฟอร์ด

รูปแบบโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด

ความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วย สามมิติ

            มิติที่ 1  ด้านปฏิบัติการ

            มิติที่ 2  ด้านผลผลิต

            มิติที่ 3  ด้านเนื้อหา

มิติที่ 1  ด้านเนื้อหา แบ่งเป็น 5 ชนิด

            1.เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ

            2.เนื้อหาที่เป็นเสียง

            3.เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์

            4.เนื้อหาที่เป็นภาษา

            5.เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม

มิติที่ 2 ด้านปฏิบัติการ กระบวนการคิดต่างๆ

ที่สร้างขึ้นมาซึ่งประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด

1.การรับรู้และการเข้าใจ

2.การจำ

3.การคิดแบบอเนกมัย เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและแสดงออกในหลายๆแบบหลายๆวิธี

4.การคิดแบบเอกมัย เป็นความสามารถในการสรุปข้อมูลที่ดีและถูกต้องที่สุดจากข้อมูลหลากหลายที่มีอยู่

 5.การประเมินค่า เป็นความสามารถทางปัญญาในการตัดสินสิ่งที่รับรู้    จำได้ หรือกระบวนการคิดว่ามีคุณค่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม    หรือมีความเพียงพอหรือไม่ อย่างไร

มิติที่ 3 ด้านผลผลิต ความสามารถที่ผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและ

ด้านปฏิบัติเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต   เมื่อสมองรับรู้วัตถุ/ข้อมูล

บุคคลจะเกิดการคิดในรูปแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถให้ผล          แตกต่างกัน    6 ชนิด

1. หน่วย เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีความแตกต่างจากสิ่งอื่น

2.จำพวก เป็นกลุ่มสิ่งต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน

3.ความสัมพันธ์ เป็นการเชื่อมโยง 2 สิ่งเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมโยงคำ     เชื่อมโยงความหมาย

4.ระบบ เป็นแบบแผนหรือรูปแบบจากการเชื่อมโยงสิ่งหลายๆสิ่งเข้าด้วยกัน

5.การปรับเปลี่ยน เป็นการเปลี่ยนแปลง  การหมุนกลับ การขยายความ   ข้อมูลจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่ง

6. การประยุกต์ เป็นผลผลิตที่คาดหวังหรือการทำนายจากข้อมูลทีกำหนด

 

 

องค์ประกอบที่สำคัญของความคิดสร้างสรรค์

 

ประเภทของความคิดสร้างสรรค์

 

การยอมรับความคิดสร้างสรรค์

              

 

               กระบวนการสร้างสรรค์       ใช่จะสั้นแต่คิดได้

        มิควรด่วนดีใจ                           ว่าใครใครจะเห็นตาม

        ความคิดวิเศษสุด                       ที่ผลิตผุดจนล้นหลาน

        สวยสดและงดงาม                     ก็เพียงตามความเห็นตน

               ความคิดเป็นจุดเริ่ม             เมื่อปรับเพิ่มเติมวิถี

        ทำแล้วได้ผลดี                           จึงเป็นที่นิยมชม

         คนอื่นจะชื่นชอบ                        ตอบรับตามความเหมาะสม

        ดีกว่าฝันลมลม                          แล้วตรอมตรมกับความจริง

                                                          (ไพจิตร  สะดวกการ)

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 231076เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2008 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณค่ะ

เห็นภาพดอกสีแดง แสดงถึงความแจ่มใสของความรู้สึกแล้วกลอนเกี่ยวกับการคิดสรุปได้ว่าทุกเรื่องคิดได้ แต่ถ้าไม่มีผู้เห็นชอบด้วยก็ ให้อารมณ์อีมิติ หนึ่ง ปรับเปลี่ยนคุณภาพให้ขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความรักความเอื้ออาทร มิตินี้ทางสังคมจะ

ขอไปทำธุระก่อนนะ

ขอบคุณท่านผู้อำนวยการIco24 บวร.มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท