กฎหมายลิขสิทธิ์ : ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์


เรื่องของ "การละเมิดลิขสิทธิ์" เป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุก ๆ คน เราอาจจะกระทำผิดได้ด้วย "ความไม่รู้" แต่กฎหมายไม่สนใจความไม่รู้ของเรานะครับ

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือ ทำผลงานวิชาการ หรือแม้กระทั่งการเขียนบันทึกในรูปแบบ BLOG ในอินเทอร์เน็ต เรามีความเสี่ยงที่จะทำผิด "กฎหมายลิขสิทธิ์" ได้กันทุกคน ไม่ว่าจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ รู้อยู่แก่ใจ

 

บันทึกตอนนี้ ขอนำเสนอเรื่อง "ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์" ที่ตราไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf)

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 32 ถึงมาตรา 43

 

หลักการสำคัญที่จะไม่ถึอว่ากรณีต่าง ๆ ที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมีเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่

ประการแรก การใช้งานลิขสิทธิ์นั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์

ประการที่สอง การใช้งานลิขสิทธิ์นั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฏหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร

 

สำหรับข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในแต่ละกรณีที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเขียนผลงานวิชาการ หรือรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่

(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

(9) การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(10) การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ดังต่อไปนี้

  • การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
  • การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

 

ลองใช้ความรู้ที่ได้รับจากบันทึกนี้ พิจารณาดูนะครับว่า งานของเราได้รับการยกเว้นจริง ๆ หรือไม่

ถ้าไม่ เราควรจะแก้ไขอย่างไรดี ลบทิ้ง เขียนใหม่ หรือ ปรับปรุง

ขอบคุณครับ :)

 

ป.ล. ผมไม่ใช่นักกฎหมายนะครับ ผมแค่นำเรื่องราวที่ควรทราบมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น หากมีข้อสงสัยมาก ๆ ผมแนะนำให้สอบถามไปยังท่าน "อัยการชาวเกาะ" หรือนักกฎหมายท่านอื่น ๆ ดูนะครับ

 

....................................................................................................................................

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (19 ธันวาคม 2551).

 



ความเห็น

สวัสดีค่ะ : )

มาคนแรกค่ะ อิอิ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆอีกเช่นเคยค่ะ

ขอบคุณครับ คุณครู เทียนน้อย :)

ความรู้เกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์" เป็นสิ่งที่ครูควรทราบด้วยครับ เพราะเกี่ยวกับงานวิชาการหลายประเภท

ติดตามต่อไปนะครับ

อาจารย์ๆ พี่แปะเว็บลิงค์ไว้เมื่อบ่ายนี้ ที่บันทึกคุณน้องเก๋น้อยค่ะ เรื่องนี้เราถกกันด้วยความรู้สึกเศร้ามากเลยค่ะ เป็นเรื่องเกิดในแวดวงคนทำงานห้องสมุด เผยแพร่เป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์แก่ทุกคนค่ะในกระดานข่าวที่ pantip.com ค่ะ

ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ... ผมเอาความผิดของตัวเอง มาให้ดูเป็น case study ครับ

ขอบคุณครับ พี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ที่แวะแจ้งข่าวให้ทราบครับ ... เคสที่ให้ไว้น่าสนใจทีเดียวครับ

"ไม่รู้กฎหมาย" ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อกระทำผิดไม่ได้จริง ๆ :) 

อ่าไปอ่านแล้วค่ะ ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ... ผมเอาความผิดของตัวเอง มาให้ดูเป็น case study ครับ

ขอบคุณค่ะ ต้องระวังและดูดีๆให้มากขึ้นสินะคะ

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมาก ๆ ครับ

เพราะทุกคนที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เขาย่อมมีสิทธิ์ที่จะรักษาความคิดที่ตัวเองได้สร้างมาครับ :)

  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ค่ะ
  • ขอส่งดอกไม้ในสวนมาให้แทนแทนคำอวยพรค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์  Lin Hui :)

ขอบคุณมากครับ

ขออนุญาต ถามค่ะ

แล้วถ้ากรณีเราเขียนแล้ว มีคนเอาของเราไปใช้เพื่อศึกษาหาความรู้ โดยเอาไปลิ้งในกระทู้อื่นๆ โดยไม่ได้บอกกล่าว

จะมีปัญหาไหมค่ะ

เช่น หนูเอาบันทึกของ อ.วัต ไปลิงค์ในอนุทิน หรือ เอาไปลิ้งค์ให้managerroom ถือว่าผิดไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

"ไม่ว่าจะเจตนาใด กฎหมายบอกว่า เราควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นก่อน และหากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จึงจะมีสิทธิ์นำไปใช้ตามที่เขียนไว้เท่านั้น"

แต่ในทางปฏิบัติ คงบอกไม่ได้ครบแน่ ๆ ครับ อิ อิ ...

ส่วนกรณีที่อ่อนไหวที่สุด น่าจะเป็น "นำไปใช้ในด้านการค้า การพาณิชย์" ครับ แบบนี้ ยิ่งต้องมีลายลักษณ์มากที่สุด เพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

แต่อาจจะนำข้อมูลไปสร้างประโยชน์ต่อสังคม เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ดี ๆ มักจะยินยอมอยู่แล้ว ขอเพียงบอกกล่าวก็พอ ครับ ;)

งงไหมเนี่ย ไม่เชื่อลองไปอ่านบันทึกของผมย้อนหลังดูครับที่เกี่ยวกับ "กฎหมายลิขสิทธิ์"

ขอบคุณครับ น้อง berger0123 ;)

ขอบคุณมากค่ะ อ. วัต

แต่ส่วนใหญ่เท่าที่หนูสังเกต คนที่เขียนบล็อกไม่ว่าจะเป็นตัวหนูหรือใครๆ บางทีก็เอาข้อมูลมาจากหนังสือแล้วเอามาเขียน แล้วบอกแหล่งอ้างอิง โดยไม่ได้ขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ที่เป็นเจ้าของหนังสือโดยตรงค่ะ แล้วแบบนี้ถือว่าผิดไหมค่

แต่เราก็บอกแหล่งที่มา เพื่อให้เครดิตกับคนที่เป็นเจ้าของ

หรือบางครั้ง หนูไปงานพบปะ อ.วรภัทร์ แล้วก็เอาข้อมูลความรู้ที่เค้าสอน มาเขียนมาถ่ายทอดในเวป รูปถ่ายก็บางทีก็ขออนุญาต อ.วรภัทร์ โดยตรงในตอนที่เจอ อ.ตัวจริง ถ้าไม่เจอตัวจริงแต่จะเขียนเรื่องราวความรู้ที่ อ.วรภัทร์เล่า หนูก็เอาไปลิ้งใน managerroom รับทราบ แล้วก็มีบอกที่มาว่าได้มาจาก .วรภัทร์ แต่ตัวหนูเป็นคนเอามาเขียนเพื่อให้show&share

แบบนี้เป็นข้อยกเว้นหรือเปล่าค่ะ

เวลาเค้าสู้กันในศาล ... ฝ่ายที่ถูกฟ้องก็ต้องพยายามทำให้กรณีนั้น ๆ อยู่ในข้อยกเว้นในมาตรา 32 - 43 ครับ ;)

หลักปฏิบัติง่าย ๆ คือ ไม่ทำเป็นการค้าและบริสุทธิ์ใจ อ้างอิงให้เกียรติเจ้าของผลงาน แต่ก็ไม่ลอกความทั้งหมด หมายถึง สามารถเป็นลักษณะวิเคราะห์ สังเคราะห์งานได้ครับ

ใจเขาใจเราครับ อย่างไรเสียก็สามารถยืดหยุ่นกันได้ตามเจตนา และมิใช่การค้าเท่านั้นเองครับ

แต่หากตึงเกินไป ... เจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องร้องได้หมดครับ ;)

ขออนุญาตถามนะครับ อ.วัต

กรณีตัวอย่างเช่น นายแสวงไปซื้อแชมพูจากนายสันติที่เป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์"แชมพูสมุนไพร" มาบรรจุใส่ขวดซึ่งขวดเปล่านั้นมีเครื่องหมายการค้าคำว่า แสงธรรม ของบริษัทรัศมีบุญ จำกัด แล้วนำออกมาจำหน่าย แต่บริษัทรัศมีบุญ จำกัด ไม่ได้นำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้

อยากทราบว่าการกระทำของนายแสวงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของนายสันติ และเป็นการลวงขายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าว่า แสงธรรม หรือเปล่าครับ

สอบถามนักกฏหมายมาครับ เค้าตอบว่า ...

สรุปว่า ไม่ผิดนะคะ ความผิดละเมิดอนุสิทธิบัตรและลวงขาย
เป็นกรณีใช้ขวดแชมพูยี่ห้อซัลซิลแต่ใส่น้ำยาผลิตเองต้นทุนต่ำ

กล่าวคือ น้ำยาคุณภาพไม่ดีทำให้ซัลซิลเสียหาย

ลวงขาย

ยกตัวอย่าง bic c ซื้อแชมพูมาเทใส่ขวด bic c เอง ทำได้
แต่คนจะซื้อหรือไม่เป็นอีกเรื่อง แบรนด์ผู้ขายไม่ดีพอ คนก็ไม่ซื้อ
แต่น้ำยาแชมพู เจ้าของตัวจริงเขาขายไดัแล้ว เขาก็ไม่เสียหายอะไร

ได้คำตอบมาแบบนี้นะครับ ;)...

ถ้าผมทำซี่รีย์ไรท์แจก โดยไม่จำหน่าย ผิดไหมคับ

ซีรีย์ คือ อะไรหรือครับผม ขอรายละเอียดด้วยครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท