หม่านโถวร้อนๆ มาแล้วจ้า


“หม่านโถว” หลายคนคงเคยกิน ตัวผู้เขียนเองก็กินบ้อยบ่อย ชอบแบบไม่มีไส้นึ่งนิ่มๆ ร้อนๆ กินกับเป็ดย่าง ขาหมู หรือจิ้มจิ๊กโช่วกินเฉยๆ ก็อร่อย ถ้าจะไฮซ้อหน่อยก็เอาไข่ปูมาโปะหน้ากินแบบเหมือนซูชิ พอดีอ่านหนังสือที่แถมมากับเกมส์ The romance of three kingdoms (สามก๊ก) เจอเรื่องหม่านโถวว่ามีที่มายังไง น่าสนใจดีเลยเก็บมาเล่าให้ฟัง

ต้นกำเนิดของหม่านโถวมาจากเหตุการณ์ช่วงหนึ่งในสมัยสามก๊ก หลังจากที่พระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขึ้นครองราชย์ได้สามปี ทางใต้เกิดกบฎจากพวกชนเผ่า ขงเบ้งจึงต้องนำทัพไปปราบเบ้งเฮกซึ่งเป็นอ๋องของพวกหนันหมาน (หนันหมานแปลว่าพวกป่าเถื่อนไร้อารยะ เป็นคำที่ชาวฮั่นใช้เรียกพวกทางใต้ที่ไม่ใช่ฮั่น เป็นการเรียกรวมๆ) การรบครั้งนั้นขงเบ้งได้ปล่อยเบ้งเฮ็กไปถึงเจ็ดครั้ง จนเบ้งเฮ้กยอมสิโรราบ เข้าสวามิภักดิ์เอง เพราะขงเบ้งเล็งการณ์ไว้แล้วว่าถ้าเอาชนะด้วยกำลังแต่ไม่ได้ใจคน ไม่นานก็คงกบฎแข็งเมืองอีก เมื่อปราบกบฎได้แล้วก็ถึงเวลาถอยทัพกลับ ทางเดินทัพจำต้องข้ามแม่น้ำลกซุย (แม่น้ำหย่าสีเจียงในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีหมอกลอยต่ำผิวน้ำ ผืนน้ำบางครั้งก็เกิดน้ำวนขนาดใหญ่ ขณะที่ทัพหลวงกำลังจะข้ามก็ปรากฏคลื่นลมวิปริตฉับพลัน เบ้งเฮ็กตามมาส่งทัพขงเบ้งก็มีความเชื่อแบบชนเผ่าว่าเกิดเพราะภูติผีปีศาจ แนะนำวิธีแก้บวงสรวงแก้ตามแบบฉบับท้องถิ่นว่าต้องใช้ม้าขาว กระบือสีดำ และศีรษะมนุษย์ 49 คนมาเซ่นบวงทรวง แม่น้ำจึงสงบ

ระหว่างปรึกษากันก็มีคนแนะนำว่าถ้าต้องใช้หัวก็เห็นทีจะต้องหนีไม่พ้น หมานโถว” (หมาน=ชนเผ่าหมาน โถว=หัว) เพราะไม่มีทางที่จะเอาหัวทหารมาเซ่นสังเวย ขงเบ้งมีคุณธรรมจึงไม่ยอม แต่ก็จำเป็นต้องหาทางออกเพื่อสร้างขวัญกำลังใจทหารที่หวาดกลัว จึงสั่งให้เอาแป้งมานวดแล้วปั้นเป็นก้อนกลม นึ่งให้สุก ใช้แทนลักษณะว่าเป็นหัวของคน จากนั้นก็นำกระบือและม้าไปฆ่าร่วมเซ่นสังเวย ครบสูตรตามที่เบ้งเฮ็กแนะนำ เมื่อบวงสรวงเสร็จแม่น้ำก็เผอิญเกิดสงบลง ทำให้ทัพหลวงข้ามได้

ต่อมาภายหลังทหารทั้งหลายก็นำการแป้งชนิดนี้ไปทำรับประทาน เมื่อแพร่หลายออกไปผู้คนก็พากันถามว่าเรียกว่าอย่างไร แต่ละคนก็บอกว่า “หมานโถว หรือ หม่านโถว” แต่คนไทยออกสำเนียงเรียกว่า “หมั่นโถ” เหมือนกับหลายๆ คำที่เพี้ยนเพราะการออกเสียงแบบสำเนียงไทย พัฒนาการของอาหารชนิดนี้แบ่งออกเป็นสองชนิดตามลักษณะ ชนิดไม่ใส่ไส้เรียกว่าหม่านโถว ส่วนชนิดมีไส้เรียกว่าเปาจื่อ หรือที่บ้านเราเรียกว่าซาลาเปานั่นเอง ส่วนทางยูนนานซึ่งเป็นตอนใต้ของจีนก็ยังกินหม่านโถวเป็นอาหารประจำถิ่นอยู่จนปัจจุบัน

แอบสันนิษฐานเพิ่มเติมเองว่าที่ต้องใช้ 49 หัวน่าจะมีความเชื่อมาจากเรื่องวิญญาณจะกลับมาหาครอบครัวจากยมโลกหลังจากตายไป 49 วัน บังเอิญตัวเลขพ้องกัน และเป็นคติทางจีนที่เชื่อแบบนั้น ทางชนเผ่าหมานที่อยู่ตอนใต้ของจีนก็น่าจะได้รับคติเกี่ยวกับวิญญาณคนตายแบบนี้ไปบ้างเหมือนกัน

ข้อมูล:
- หนังสือสามก๊ก มหาสงครามแห่งนักรบ
- Xinhuanet.com

คำสำคัญ (Tags): #สามก๊ก#หม่านโถว
หมายเลขบันทึก: 222861เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

อาหารจีนยูนนานที่ อ.ปาย

บ้านสันติชล ครับ

ผมชอบแป้งของ "หม่านโถ" นะครับ ...ที่สันติชลหม่านโถก็นุ่มดี

ที่ตลาดสดแม่ฮ่องสอน มีหม่านโถลูกโต แป้งฟู เนื้อแน่น หอม ผมชอบมากๆ ทานลูกเดียวอิ่มแทนอาหารเช้าไปเลย ได้ คาร์โบไฮเดรต เต็มๆครับ

ซูซาน..เห็นภาพแรกก็อยากกินแล้วล่ะ จะหม่านหรือหมั่นโถว ก็ชอบกินกับขาหมูที่เคี่ยวจนน้ำหนืดๆ หน่อย ส่วนใหญ่จะได้มีโอกาสกินก็ตามภัตตาคารเนอะ

ครูโย่ง: ขออภัยที่ลบเม้นท์ทิ้ง เพราะไม่ได้อยากใส่รูปตัวเองไว้ในบันทึกนี้ ปกติไม่ชอบเอารูปตัวเองไปโพสต์มากมาย นานๆ ทีพอได้ แต่ต้องเป็นความตั้งใจของตัวเอง ไม่ชอบให้คนอื่นช่วยเอาลง เป็นนิสัยส่วนตัว เลยขออนุญาตลบค่ะ ไม่ได้มีเจตนาอื่น แค่ไม่ชอบเฉยๆ กินหม่านโถวด้วยกันนะ อย่าเครียด : )

เอก: น่ากินอ่ะ เราชอบกินหม่านโถวมาก ตอนไปยูนนานก็กินมันทุกวันเลย กินกับหมูอบเผือกหม้อดิน สุดขีด เกิดมาก็พึ่งเคยกิน

พี่อุ๊: เหอๆๆ ช่ายเลย ชอบมั่กๆ จิ้มน้ำหนืดๆ นั่นแหล่ะอร่อยสุด

ขอคารวะ ท่าน "หม่านโถว" ขอรับ :)คุณซูซาน

ตกลงนี่ ต้องไปบ้าน "สันติชล" ใช่ไหมครับ คุณเอก โฮะ โฮะ

แล้วก็ตลาดด้วย

สวัสดีค่ะ ..อิอิ...มาร้องเพลงกันอีกไหมคะ พี่..เพลงเพราะๆ แต่ไม่มีเนื้อเพลง ฮ่าๆๆๆ เอิ๊กซ์ สบายดีไหมคะ คิดถึงๆๆๆ ค่ะ

หม่านโถวววววว ต้องที่สุโขทัยค่ะ อร่อยมากมาย อิอิ

อ.วสวัต: ถึงขั้นเรียกท่านเลยหรือคะ หม่านโถวได้รับเกียรติอันสูงส่งก่อนถูกหม่ำ : ) ที่นั่นเขาเป็นหมู่บ้านจีนยูนนานเลยมีอาหารประจำชนชาติด้วย ไม่ต้องไปถึงนั่น กทม.ก็มีหลายเจ้าที่อร่อยค่ะ เช่นที่ซั่งไห่เสี่ยวหลงเปา นุ่มมาก
Paula: ยังจำได้ ทำเนียนกันมาก มึนตึ๊บ 555 หม่านโถวตำรับสุโขทัยนี่ยังไม่เคยลองจ้า ได้ยินแต่ว่าที่นั่นก๋วยเตี๋ยวดัง

ชอบกินหมานโถ่วใส่ซอสภูเขาทอง อร่อยอย่าบอกใคร

พี่ก็ชอบทานค่ะ บางร้าน อร่อยมาก ทานเปล่าๆ จิ้มจิ๊กโช่ว ก็อร่อยนะคะ

แม่ครัวบ้านเจษฎ์คนเก่าทำหม่านโถวได้ อาหารบ้านนี้ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อย(แล้วอ้วนสุดๆ)คือ

หม่ายโถวกับโควโย่ว มัทกับเจษฎ์คิดไว้เล่นๆว่ากลับไปถ้าจะเลี้ยวหมาจะเลี้ยง 2 ตัว jack russel สีขาวชื่อหม่านโถว ไส้กรอกตันๆสีน้ำตาลชื่อโควโย่ว : ) เหอะๆนึกแล้วขำ ต้องมาดูกันต่อไปว่าจะได้เลี้ยงจริงรึเปล่า : P

คุณทางเดินแห่งรัก: ใช่เลย ใส่ซ๊อสก็ได้ แต่ถ้าจิ๊กโฉ่วมันจะได้รสเปรี๊ยวเพิ่มอีกนิดนึงค่ะ
พี่ศศินันท์: ชอบแบบที่เนื้อไม่แน่นมากเกินไป นุ่มๆ จิ๊กโฉ่วนี่ล่ะชอบเลยค่ะ
น้องมัท: ชื่อหมาน่ารักนะนั่น เคยมีเพื่อนเลี้ยงหมาแล้วตั้งชื่อว่าเต้าหู้ด้วยล่ะ แต่ตายเพราะท้องเสีย ตอนหลังหามาอีกตัว เหมือนกันเดี๊ยะ เลยตั้งชื่อว่าเต้าหู้ 2.0 เหมือนโรบอทเลย 555 ถ้าชอบกินหม่านโถว ไว้กลับมาไปหาอาหารจีนกินกัน มีแน่นอน

สวัสดีครับ

เห็นแล้วน่าหม่ำ ;)

คุณธวัชชัย: ความรู้สึกเดียวกันเลยค่ะ แต่ตอนนี้อิ่มอยู่เลยไม่เกิดอาการมากเท่าไหร่ : )

สวัสดีครับพี่

  • หิวๆๆๆๆๆ
  • อยากกินอีกแล้ว
  • อิอิ

ไม่ได้มาแวะซะนาน เลยมาดูเรื่องของกินก่อนนะคะ พี่เป็นคนชอบกินของแป้งๆ อิ อิ ดีที่ไม่ตัวกลม ที่ในจตุจักรมีร้านขายหมูย่างน้ำผึ้ง แล้วเขามีหมั่นโถวขายด้วย พี่เลยคิดเอาว่าเขาคงให้กินกับหมูย่าง หากเบื่อกินกับข้าวเหนียว ก็รู้สึกว่าอร่อยดีเหมือนกัน ร้านนี้หมั่นโถวก็นุ่มมากและมีบะจ่างย่างด้วยล่ะค่ะ

อ่านเรื่องหม่านโถว ยังไม่เท่าไหร่

แต่ที่แต่ละท่านมาคอมเม้นท์นี่สิ อยากกินหม่านโถว....อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท