คราวนี้.. ผมไปอ่านเรื่องจากปกของ สาละวินโพสต์ ฉบับที่ 28
มันสะท้อนให้เห็นอะไรได้หลายๆ อย่างดี จึงอยากนำมาเสนอให้เพื่อนๆ
ได้อ่านด้วย
อย่างน้อยในขณะที่การศึกษาบ้านเราล้ำหน้าประเทศเพื่อนบ้านอยู่
แต่เยาวชนของเรากำลังถูกครอบงำจากกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม
จนดูน่ากลัว...
การศึกษาน่าจะช่วยเยาวชนของเราได้บ้าง
วินโก่อู
เด็กชายพม่าวัย 11 ปีบอกถึงเหตุผลที่ตั้งใจเรียนให้ฟังเมื่อครั้ง
ผู้เขียนเดินทางไปไหว้เจดีย์ไจ้ก์ทีโยหรือพระธาตุอินทร์แขวนที่รัฐมอญ
ประเท ศพม่า เมื่อปีที่ผ่านมา
ผู้เขียนพบกับวินโก่อูและเพื่อนสนิทอีกสองคนในฐานะลูกหาบแ
บกเป้นักท่องเที่ยว
วินโก่อูโชคดีกว่าเพื่อนอีกสองคนตรงที่เขามีเงินไปจ่ายค่าเล่าเรียนทุกปี
ขณะที่เพื่อนอีกสองคนซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกัน
คนหนึ่งกำลังเรียนอยู่แค่ชั้นป. 3
เนื่องจากบางปีพ่อแม่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม
อีกคนหนึ่งต้องออกจากโรงเรียนหลังจากจบชั้น ป. 3 เมื่อหลายปีก่อน
เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินเช่นกัน
แม้รัฐบาลพม่าจะประกาศว่า
“ประชาชนทุกคนจะต้องมีสิทธิได้รับการศึกษา”
และประเทศพม่ายังได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิเด็กของสหประชาชาติ
ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า
รัฐภาคีจะต้องจัดการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาให้กับเด็กทุกคนได้เรียนโ
ดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ทว่า ในความเป็นจริง
เด็กทุกคนที่เข้าเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายไปกว่
าค่าเล่าเรียนปกติ เด็กจำนวนมากต้องเรียน ๆ หยุด ๆ
เพื่อช่วยพ่อแม่หาเงิน
หรือเลิกเรียนกลางคันเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน
หากการศ ึกษาคืออนาคตของเด็ก และเด็กคืออนาคตของชาติ เมื่อเด็กไม่ได้รับการศึกษา แล้วอนาคตของประเทศพม่าจะเป็นอย่างไร ?...นี่เป็นคำถามที่หลายคนเฝ้าวิตกกังวล
รงเรียนของฉัน <hr size="4" noshade="noshade" />
รายงานจ ากยูนิเซฟ (UNICEF) ระบุว่า ในประเทศพม่า เด็กนักเรียนทุก 100 คนในระดับประถมต้นมีเพียง 34 คนเท่านั้นที่เรียนจบชั้นประถม ในจำนวนนี้มีเพียงส่วนน้อยที่เรียนต่อจนจบระ ดับชั้นมัธยมปลาย และในจำนวนที่น้อยลงไปเรื่อย ๆ นี้มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เรียนต่อจนจบมหาวิทยาลัย
ป ัญหาของการออกจากโรงเรียนกลางคันตั้งแต่ระดับประถม นับเป็นปัญหาใหญ่มากที่สุดของระบบการศึกษาในพม่า เนื่องจากเป็นชั้นเรียนพื้นฐานที่สอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งใช้ศึกษาต่อในอนาคต สาเหตุที่เด็กต้องออกจากโรงเรียน หากมองเผิน ๆ จะพบว่า เนื่องมาจากปัญหาความยากจนของครอบครัวเด็ก แต่หากมองให้ลึกลงไปจะพบว่า ปัญหา “ความยากจน” ของครอบครัวไม่ใช่ “ต้นตอ” ของปัญหาที่ทำให้เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน แต่ต้นตอของปัญหามาจากรัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐ านอย่างเพียงพอ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องแบกรับภาระนี้แทน
ข้อมูลจ ากธนาคารโลกระบุว่า
ในช่วงปลายทศวรรษ 1990
รัฐบาลพม่าจัดสรรงบให้กับการศึกษาเพียงแค่ร้อยละ 1.2 เท่านั้น
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ จัดสรรงบที่ร้อยละ 3.8
และเมื่อคิดเฉลี่ยค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลพม่าสนับสนุนให้กับเด็กนักเรียนแล
้วจะพบว่าเป็นจำนวนเพียงแค่ 11 บาทต่อคนต่อปีเท่านั้น
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ทางโรงเรียนจะต้องหาเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองของเด็กด้วยตนเอง
ในกรณีโรงเรียนที่มีชื่อเสียงตามเมืองใหญ่อย่างกรุงย่างกุ้ง
โรงเรียนเหล่านี้จะได้รับเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองที่มีฐานะดี
ซึ่งโดยมากเป็นกลุ่มครอบครัวทหารระดับสูงและนักธุรกิจ
แต่ในกรณีโรงเรียนทั่วไป โดยเฉพาะในเขตชนบท
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักยากจนไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายได้ เด็ก ๆ
จึงไม่มีโอกาสได้เรียนหรือได้เรียน ๆ หยุด ๆ
แล้วก็เลิกเรียนกลางคันไปโดยปริยาย
รายงานเรื่อง “Education Report 2002” ของกลุ่มนักศึกษาพม่า ABFSU กล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องแบกรับว่า เริ่มตั้งแต่ค่าเล่าเรียน ค่าตำราเรียน ค่าคนทำความสะอาดโรงเรียน ค่ากระดาษสอบ ค่าอุปกรณ์กีฬา ค่าสอนพิเศษ และค่าสมาชิกสมาคมเอกภาพแห่งชาติหรือ USDA ซึ่งเป็นองค์กรของภาครัฐผู้ปกครองต้องจ่ายค่าเล่าเรียนให้กับลูก ๆ ทุกครั้ง ที่ลงทะเบียนครั้งแรกจำนวน 3,000 จั๊ต หรือ ประมาณ 120 บาท และจ่าย 500 จั๊ต หรือ 20 บาททุก ๆ เดือนเพื่อเป็นค่าสอนพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องจ่ายค่า “ภาษี” อื่น ๆ เช่น งานเทศกาล ของโรงเรียน ค่าใช้ห้องมัลติมีเดีย ค่าตำราเรียน ดินสอ ปากกา ค่าพัฒนาโรงเรียน ค่ากองทุนสมาคมผู้ปกครอง
ต
ัวเลขจากรัฐบาลพม่าระบุว่าในปี 2545 รัฐบาลได้ทุ่มงบ เกือบ 1,300
ล้านบาทสำหรับการศึกษา โดยมีเด็กนักเรียน 8 ล้านคน
ทั่วประเทศได้รับการศึกษาในระดับประถม แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ยอมรับว่า
ยังคงมีเด็กวัยเรียนอีกมากกว่า 3 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเลย
ซึ่งหากพิจารณาจากสัดส่วนของผู้เรียนจบชั้นประถมซึ่งยูนิเซพมีข้อมูลว่า
เด็ก 1 ใน 3 คนเท่านั้นที่เรียนจบ ระดับประถม เด็กจำนวน 8
ล้านคนที่รัฐบาลอ้างว่ากำลังอยู่ในโรงเรียนจึงมีโอกาสเรียนไม่จบชั้นประถมถึ
ง 5 ล้านคน เมื่อรวมกับเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาเลยอีก 3 ล้านคน
จึงคาดได้ว่า มีเด็กจำนวนมากกว่า 8
ล้านคนที่เรียนไม่จบชั้นประถม
เมื่อรัฐบาลไม่ได้ทุ่มงบสนับสนุนการศึกษาอย่างเพียงพอ
ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ในพม่ายังยากจน
พ่อแม่ที่ไม่มีเงินส่งลูกไปโรงเรียนได้ทุกคนจึงมักเลือกให้ลูกคนโต
หรือลูกสาวออกจากโรงเรียน เพราะลูกสาวสามารถช่วยงานได้หลายอย่าง
ทั้งงานบ้าน เลี้ยงดูน้อง ๆ และทำงานหาเงิน
ทำให้เด็กผู้หญิงกลายเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ได้ง่าย
มินิ เ ป็นหนึ่งในเด็กผู้หญิงที่ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุเพียงแค่ 7 ปี เพราะว่าเธอเป็นพี่คนโตของน้องๆ อีก 7 คน พ่อแม่ของเธอทำงานก่อสร้างในกรุงย่างกุ้ง เมื่อน้องชายคนถัดไป เริ่มโตขึ้นจนถึงวัยเข้าเรียน แม่ขอให้เธอออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยดูแลน้อง ๆ และเปิดโอกาสให้น้องได้เรียนหนังสือบ้าง หลังจาก น้องได้เรียนหนังสือหนึ่งปี เธอก็ได้กลับเข้าเรียนอีกครั้ง โดยที่น้องต้องหยุดเรียนแทน และเธอต้องหยุดเรียนถาวรเมื่ออายุ 13 ปี เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินส่งเสียอีกต่อไป โดยเธอต้องสมัครเข้าทำงานในโรงงานเย็บเสื้อผ้าเพื่อเก็บเงินส่งให้น้อง ๆ เร ียนแทน
ผู้ปกครองเด็กนักเรียนจากรัฐชินทางภาคเหนือขอ งพม่ากล่าวว่า “ถึงแม้ว่าจะมีโรงเรียนอยู่ในละแวกบ้านฉันหลายแห่ง แต่หลายคนไม่สามารถส่งลูกไปโรงเรียนได้ เพราะว่ามันแพงมาก ในหมู่บ้านของฉัน เด็กวัยเรียนร้อยละ 80 ไม่ได้ไปโรงเรียน เนื่องจากครูส่วนใหญ่ไม่อยากสอนในเขตชายแดน ทำให้ผู้ปกครองต้องช่วยกันจ่ายเงินพิเศษให้ครูเดือนละ 20,000 จั๊ต หรือ 800 บาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมา เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถจ่ายสิ่งเหล่านี้ได้ เด็กก็ไม่มีโอกาสไปโรงเรียนและต้องไปทำงานในไร่นาหรือหางานทำที่อื่นแทน”
ผู้ปกครองคนหนึ่งบอกเล่าถึงวิธีการระดมเงินทุนของโรงเรียนว่า ในบางครั้ง ทางโรงเรียนจะบังคับให้นักเรียนซื้อดินสอซึ่งมีคำว่า “แจกฟรี” ปรากฏอยู่บนนั้น โดยที่นักเรียนไม่มีโอกาสปฏิเสธได้เลย
อ าจกล่าวได้ว่า ปัญหาการระดมทุนเป็นสิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับผู้บริหารโรงเรียนมากที่สุ ด เพราะรัฐบาลมักมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินกิจกรรมพัฒนาต่าง ๆ โดยไม่ได้ส่งเงินตามมาให้ด้วย บรรดาผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องหาทางแก้ปัญหาแบบตามมี ตามเกิด ดังเช่น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2544 กระทรวงศึกษาได้ประกาศแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในระยะเวลา 30 ปี โดยกำหนดให้ผู้บริหารโรงเรียนแต่ละแห่งเก็บเงินจากผู้ปกครองและประชาชนในท้อ งถิ่นมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
นางติ่น อาย
ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งให้ข้อมูลว่า
ทางโรงเรียนได้รับคำสั่งให้เปิดห้องเรียนมัลติมีเดียภายในหนึ่งปี
ขณะที่งบประมาณของโรงเรียนและสมาคมผู้ปกครองมีจำกัด
เธอแก้ปัญหาโดยการใช้เงินจากสมาคมผู้ปกครองมาซื้อคอมพิวเตอร์ได้หนึ่งเครื่อ
งและเช่าเครื่องคอมฯ ที่เหลือจากบริษัทคอมพิวเตอร์มาใช้เวลา 1 เดือน
พอได้เครื่องคอมฯ ครบตามจำนวน
จึงเชิญเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษามาเข้าร่วมพิธีเปิด
หลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือนจึงส่งคอมพิวเตอร์คืนบริษัท
ซึ่งถือเป็นอันเสร็จภาระหน้าที่ของโรงเรียนในการทำตามนโยบายของรัฐ
เด็กนักเรียนชาวไทยใหญ่จากรัฐฉานเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ในบทความเรื่อง “โรงเรียนของฉัน” ซึ่งตีพิมพ์ในสาละวินโพสต์ ฉบับที่ 11 ว่า
“ ฉันยังจำได้ว่าเมื่อฉันเรียนอยู่ระดับ 10 รัฐบาลบอกว่าจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์แก่โรงเรียนต่าง ๆ ในทุก ๆ รัฐ และทุกๆ เมือง แต่สิ่งที่แย่มากก็คือนักเรียนต้องจ่ายเงินค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ดังนั้น โรงเรียนของฉันจึงทำการรวบรวมเงินจากนักเรียนทุกคนมาจ่ายค่าคอมพิวเตอร์ ซึ่งฉันได้จ่ายเงินค่าคอมพิวเตอร์ไป เมื่อฉันสอบผ่านและจบระดับ 10 แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังมาไม่ถึงสักที จวบจนหนึ่งปีผ่านไป ก็ยังคงไม่มีวี่แววของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พวกเราช่วยกันจ่ายเงินไป และไม่มีใครรู้ว่าเงินเหล่านั้นหายไปไหนหมด”
นอกจากนี้ เธอยังให้ภาพชีวิตการเรียนหนังสือในโรงเรียนเขตรัฐชนกลุ่มน้อยเอาไว้ว่า
“ ชีวิตในการเป็นนักเรียนของฉันต้องพึ่งพาแต่เทียนไข มีบางครั้งที่รัฐบาลให้พวกเราใช้ไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึง สามทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เราสอบ ส่วนช่วงเวลาที่เหลือนอกจากนั้น อย่าหวังเลยว่าจะมีไฟฟ้าใช้ แม้ว่าในเมืองของเราจะมีเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ก็ตาม เพราะไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังมัณฑะเลย์ ในห้องเรียนเราต้องคัดลอกสิ่งที่ครูสอนทุกอย่างเพราะเรามีหนังสือเรียนไม่พอ ซึ่งครูไม่สามารถแบ่งหนังสือที่มีแค่ 5 - 6 เล่มให้กับนักเรียนจำนวน 40 คนในห้องเรียนได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ฉันก็สามารถเรียนจบระดับ 10 จนได้โดยที่ในชีวิตไม่เคยมีหนังสือเรียนเป็นของตัวเองเลย”
ที่นี่ไม่มีครู <hr size="4" noshade="noshade" />
สิ่งท ี่น่าเศร้ามากที่สุดสำหรับระบบการศึกษาในพม่าก็คือ คุณภาพของครู เพราะคนที่จะมาเป็นครูโดยเฉพาะในระดับประถม ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาจากวิทยาลัยครู และตามระเบียบของกระทรวงศึกษา คนที่จะได้รับการอบรมครูจะต้องผ่านการสอนเป็นเวลา 5 ปี ก่อนที่จะได้รับการเข้าเรียนในวิทยาลัยครูอีก 2 ปี
เหม่ เญง อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง อธิบายถึงวิธีการเป็นครูในพม่าให้ฟังว่า
“ ถ้าคุณเรียนจบชั้นประถมแล้วสามารถอ่านภาษาพม่าออก คุณก็สามารถเป็นครูสอนภาษาพม่าให้กับเด็กชั้นประถมได้ หรือถ้าคุณเก่งเลข คุณก็สามารถเป็นครูสอนเลขได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนจบวิทยาลัยครู บางคนอาจเรียนไม่จบมัธยม แต่ก็สามารถเป็นครูสอนเด็กประถมต้นได้ เพราะเวลาสมัครครู คุณแค่บอกว่า คุณมีความสามารถในการสอนวิชาอะไรในระดับไหน เท่านี้คุณก็สามารถเป็นครูได้”
แม้การเข้าสู่อาชีพครูจะง่ายดาย แต่ถึงกระนั้นคนที่สนใจเป็นครูก็ยังมีน้อยมากและลาออกไปทำอาชีพอื่นกันเป็นว ่าเล่น เพราะปัญหาใหญ่ของอาชีพครู คือ เงินเดือน ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือนครูในโรงเรียนตามเมืองใหญ่อย่างกรุงย่างกุ้งยังอยู่ในระดับที่ต่ำก ว่าครองชีพ คือ ประมาณเดือนละ 5,000 จั๊ต (180 บาท) ขณะที่ข้าวราดแกงจานละ 300 จั๊ต (11 บาท)
สำหรับโ
รงเรียนในเขตชนกลุ่มน้อยหรือเขตชายแดน
ปัญหาการขาดแคลนครูยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก
เพราะนอกจากเงินเดือนครูจะน้อยแล้วยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย
อีกด้วย
เนื่องจากหลายพื้นที่เป็นเขตสู้รบระหว่างกองทัพรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อย
ทั้งครูและเด็กต่างก็ต้องหนีภัยความตาย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องภาษา
ซึ่งครูจากส่วนกลางจะพูดภาษาพม่า
ขณะที่เด็กนักเรียนหรือชุมชนท้องถิ่นพูดภาษาของตนเอง ดังนั้น
จึงเป็นเรื่องยากที่โรงเรียนในเขตชนกลุ่มน้อยจะมีครูจากส่วนกลาง
เพียงพอกับจำนวนเด็ก โรงเรียนบางแห่งโดยเฉพาะใกล้เขต
ชายแดน ครูบางคนเดินทางกลับไปรับเงินเดือนในเมืองแล้วไม่กลับมาอีกเลย
เนื่องจากค่ารถไปกลับแพงกว่าเงินเดือนที่ได้
ทำให้ชาวบ้านต้องหาคนที่มีความรู้ในหมู่บ้านมาสอนแทน โดยครูเหล่านี้
มักเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นซึ่งไม่ถนัดในการใช้ภาษาพม่า
แต่จำเป็นต้องสอนเฉพาะภาษาพม่าตามนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น
แ ม้ว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เขตชนกลุ่มน้อยหลายแห่งจะเงียบสงบจากเสียงปืน เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเจรจาหยุดยิงชั่วคราว แต่พื้นที่เหล่านี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทางด้านการศึกษาจากรัฐบาล รวมทั้งถูกควบคุมอย่างเข้มงวดหากเปิดโรงเรียน สอนภาษาของตนเอง เช่น ในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างพรรคมอญใหม่กับรัฐบาลพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2539 พรรคมอญใหม่มีสิทธิเปิดโรงเรียนสอนภาษามอญในเขตหยุดยิง แต่ในเดือนมิถุนายน 2541 รัฐบาลพม่าได้สั่งห้ามโรงเรียนทั้ง 120 แห่ง ไม่ให้มีการเรียนการสอนภาษามอญและอนุญาตให้สอนเฉพาะภาษาพม่า รวมทั้งครูที่สอนภาษามอญยังถูกทหารพม่าจับไปลงโทษอีกด้วย
น อกจากรัฐบาลพม่าจะไม่มีนโยบายสนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยเรียนภาษาของตนเองในโรง เรียน รัฐบาลยังควบคุมเนื้อหาของการเรียนการสอนอย่างเข้มงวด โดยไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนเองในระบบโรงเรียนเลย นอกจากนี้ หนังสือที่เป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์จะถูกตรวจสอบเนื้อหาอย่างเข้มงวดกว่าจ ะได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ทำให้องค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มิใช่พม่าค่อย ๆ สูญหายไปจากสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ทีละน้อย
ป ัจจุบัน โรงเรียนที่สามารถเปิดสอนภาษากลุ่มชาติพันธุ์ได้ คือ
โรงเรียนที่อยู่นอกอาณาเขตควบคุมของรัฐบาลพม่า เช่น
โรงเรียนบนดอยไตแลง ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังไทยใหญ่ เอส
เอส เอ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยม 3 เด็ก ๆ
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเรียน รวมทั้ง ค่าอาหารกลางวัน
โดยงบประมาณทั้งหมดอยู่ภายใต้การดำเนินการของกองทัพไทยใหญ่
ซึ่งยังคงประสบปัญหางบประมาณไม่เพียงพอกับจำนวนเด็กที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่
นกัน
การศึกษาเพื่ออนาคต <hr size="4" noshade="noshade" /> หากก ารศึกษาคือการสร้างอนาคตของชาติ แต่ระบบการศึกษาในประเทศพม่ายังล้มเหลวดังเช่นที่กล่าวมา อนาคตของประเทศพม่าจึงเป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรจึงหันมาสนับสนุนการศึกษาให้กับประชา ชนจากประเทศพม่าในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอบรมหลักสูตรเฉพาะเป็นเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เช่น หลักสูตรอบรมคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ สิทธิ-มนุษยชน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ หรือ การส่งคนไปฝึกงานตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความรู้เฉพาะด้าน เช่น หน่วยงานด้านสื่อ หน่วยงานด้านการเกษตร หรือหน่วยงานด้านสิทธิ เป็นต้น
การศึกษาเหล่านี้ทำให้เยาวชนจากประเทศพม่าเริ่มมีทางเลือก ของชีวิตมากกว่าการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อมาเป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศเพ ื่อนบ้าน ปัจจุบัน มีเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่จบหลักสูตรอบรมดังกล่าวแล้วตัดสินใจกลับไปทำงานพัฒน าท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งเป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู้ ที่ได้รับสู่ประชาชนท้องถิ่นที่ไม่มีโอกาสได้เรียนด้วยเช่นกัน
แ ม้ว่าโอกาสทางการศึกษาของคนส่วนใหญ่ในพม่าจะยังมีอยู่น้อย
แต่หากนานาประเทศเห็นความสำคัญ
พยายามส่งเสริมให้เยาวชนเหล่านี้ได้มีความรู้มากขึ้นไม่ว่าจะโดยหนทางใดก็ตา
ม การศึกษาเหล่านี้ก็จะกลายเป็น
รากฐานของสังคมพม่าที่มีคุณภาพต่อไปอย่างแน่นอน
ล้อมกรอบ เหม่ เญง อดีตอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งไม่เคยมีโอกาสได้เรียนคอมพิวเตอร์มาก่อน เล่าว่า “ ในแผนกของฉันมีคอมพิวเตอร์แค่ 4 เครื่อง แต่ก็มีไว้ให้พวกอาจารย์ที่มีเงินไปเรียนคอมพิวเตอร์เท่านั้น จนกระทั่ง ปีที่ผ่านมา ในหลายมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ เครือข่ายการเชื่อมต่อจึงมีอยู่แค่เครือข่ายภายใน (intranet) ระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เท่านั้น” จ ากข้อมูลที่เธอเล่าพบว่า ทั่วทั้งมหาวิทยาลัยมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้เพียงเครื่องเดียว คือที่ห้องของอาจารย์ใหญ่เท่านั้น “ตอนนี้ฉันออกมาอยู่นอกประเทศแล้ว ฉันสามารถซื้อคอมพิวเตอร์และเรียนทุกอย่างเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เท่าไหร่ก็ได้” เหม่เญงพูดด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจ “ในประเทศไทย แม้แต่ชาวนาก็ยังใช้คอมพิวเตอร์เป็น แต่ที่ประเทศของเราสิ แม้แต่คนที่มีการศึกษาก็ยังห่างไกลเรื่องคอมพิวเตอร์มาก” มินยา จ่อเชง สามีของเหม่เญงกล่าวเสริม นักศึกษาด้านสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยตองจี ประเทศพม่า พูดถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศพม่าว่า “ ในมหาวิทยาลัยของเราก็มีคอมพิวเตอร์เหมือนกัน แต่ไม่อนุญาตให้นักศึกษาใช้ ฉันต้องเสียเงินเรียนข้างนอกอยู่ 9 เดือน หมดเงินไปเกือบ 100,000 จั๊ต(ประมาณ 3,700 บาท) เขาสอนให้ใช้อินเตอร์เน็ต แต่กว่าจะเปิดได้ทีละหน้าใช้เวลาโหลดนานมาก” นักข่าวรุ่นใหม่ในย่างกุ้ง ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า “ คนหนุ่มสาวที่มีรายได้ประมาณ 3 หมื่นถึง 4 หมื่นจั๊ตต่อเดือน(1,100 - 1,450 บาท)จะใช้คอมพิวเตอร์เป็น และตอนนี้เริ่มมีร้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น ราคาก็จะถูกลงกว่าเดิม โดยเริ่มตั้งแต่ต่ำสุดชั่วโมงละ 300 จั๊ต (11 บาท) ไปจนถึง 1,500 จั๊ต (55 บาท) ในร้านใหญ่ ๆ อย่าง Dagon center” “ มันเกี่ยวข้องกับรายได้ของครอบครัวและเงินเดือนของตัวเอง ทุกวันนี้ คนรุ่นใหม่ในประเทศของเราควรจะรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เหมือนอย่างประเทศอื่น ถ้าจะเทียบกับประเทศไทยแล้ว การศึกษาของประเทศของเราล้าหลังไปเป็นสิบยี่สิบปี มันสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายของรัฐบาลด้วย” “ เป็นหน้าที่ของรัฐบาล แม้ว่าเด็กจะไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองได้ โรงเรียนก็ควรจะมีการสอนคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเหมือนประเทศอื่น เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะไล่ตามประเทศอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก หากไม่จัดการอะไร ประเทศของเราก็จะต้องล้าหลังประเทศอื่นไป 50 ปีในที่สุด ปัจจุบันนี้ จำนวนของนักเรียนที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นสัดส่วนน้อย ...” อูหม่องหม่อง เลขาธิการ NCUB(National Council of the Union of Burma) กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้ การใช้คอมพิวเตอร์ควรเป็นเหมือนกับที่เหลาดินสอ หมายถึงมันควรจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างจักรเย็บผ้า หรือเครื่องซักผ้า... เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ควรจะเป็นของสำหรับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะพวกสวมเครื่องแบบสีเขียวเพียงกลุ่มเดียว” นักข่าวในประเทศพม่าคนหนึ่งเปิดเผยว่า “ เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น BBC DVB RFA จะถูกห้ามไม่ให้เข้าไปดู นักศึกษาบางคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งตะวันอ อก บอกว่า ในตารางเรียนระบุชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย แต่เขายังไม่เคยเรียนแม้แต่ครั้งเดียว และก็ไม่มีครูสอนด้วย” เขากล่าวต่อไปอีกว่า ” หากใครจะส่งอีเมล์ต้องไปใช้บริการคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ข้างทางติดกับตู้โท รศัพท์ และเสียค่าส่ง 200 จั๊ต (7.5บาท) ต่ออีเมล์ 1 ฉบับ” อ าจารย์ท่านหนึ่งในประเทศพม่าเปิดเผยว่า เมื่อเธอต้องการติดต่อกับพี่สาวที่อยู่ต่างประเทศ เธอต้องเสียเงิน 500 จั๊ต (18 บาท) เป็นค่าส่งอีเมล์และต้องเสียค่าอ่านอีเมล์ด้วยซึ่งทางร้านจะเป็นคนจัดการให้ ทุกอย่าง เพราะเธอไม่รู้วิธีการรับส่งอีเมล์ เธอกล่าวว่า “ฉันไม่สามารถติดต่อสื่อสารเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องภายในครอบครัวที่ไม่อยากให้ใครรู้ได้เลย เพราะฉันใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น” ป ัจจุบัน นักเรียนที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยและโรงเรียนของเอ็นจีโอตามแนวชายแดนมีโอกาสเ ข้าถึงการเรียนคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าผู้ที่อยู่ในประเทศพม่า |
ที่มา http://www.salweennews.org/cover%20sp%2028.html