ห้องเรียนคุณภาพ


ห้องเรียนคุณภาพสังคมศึกษา โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์

ห้องเรียนคุณภาพสังคมศึกษา

ที่ตั้ง
โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์  อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
เลขที่  1  หมู่ที่ 1 ตำบลชุมพลบุรี  อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32190

โทรศัพท์ 044-596104 

 

ชื่อผู้รับผิดชอบ 
นางสุมาลี  เครือผือ  ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (สังคมศึกษา)

หน่วยงานที่สนับสนุน    โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์  อำเภอชุมพลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2

สถานที่
ห้องเรียนคุณภาพสังคมศึกษา   จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ได้กำหนดให้ห้อง 311-312 อาคาร 4  เป็นห้องเรียนคุณภาพของกลุ่มสาระ โดยนางสุมาลี เครือผือ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ  โดยมีประสงค์เพื่อใช้เป็นห้องเรียนและห้องนำเสนอผลงานสำหรับนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ทุกคน

วิธีการดำเนินงาน
           ห้องเรียนคุณภาพสังคมศึกษา ประกอบด้วยสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านต่างๆ ได้แก่

1. สื่อและอุปกรณ์การสอนวิชาภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่  ลูกโลกจำลอง โมเดลแสดงลักษณะภูมิประเทศ

        2. ห้องสมุด/แหล่งเรียนรู้ในห้องเรียน โดยด้านหลังได้จัดทำเป็นห้องสมุดในห้องเรียนโดยมีเอกสาร หนังสือเรียน หนังสืออ่านประกอบการเรียนต่างๆไว้บริการนักเรียน

        3. ศูนย์สื่อ ICT  ของกลุ่มสาระ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตสำหรับสืบค้นที่ใช้การได้ดี จำนวน 3 ชุด  เครื่องพิมพ์เอกสาร 2 ชุด ทีวี 29 นิ้ว 1 ตัว เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ 1 ชุด เครื่องเสียงพร้องไมโครโฟน 1 ชุด โปรเจคเตอร์ 1 ชุด  ซึ่งวัสดุครุภัณฑ์ทุกชิ้นสามารถใช้การได้ดี

        4. การจัดบรรยากาศในห้องเรียน มีการประดับด้วยต้นไม้ใบหญ้าเพื่อผ่อนคลาย ภายในห้องเรียนมีการจัดนิทรรศการความรู้ต่างๆ  หน้าห้องมีการจัดบอร์ดที่เป็นปัจจุบันและมีบอร์ดประชาสัมพันธ์ติดวารสารของกลุ่มสาระด้วย

 

ผลงานที่ได้ดำเนินการ ตามตัวชี้วัด ประกอบด้วยงาน 5 กลุ่ม  คือ

1. การจัดการเรียนการสอน

- การออกแบบการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน  ออกแบบเป็น Backward

Design  จำนวน  2  รายวิชา คือ ส 41101 สาระเศรษฐศาสตร์ ส 41102  สาระภูมิศาสตร์

-         แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีสอนที่หลายหลาย 1 รายวิชา และ

วิธีสอนแบบสุมาลัยโมเดล 1 รายวิชา

                - ครูผลิตสื่อ/นวัตกรรมการเรียนการสอน  มีการผลิตสื่อ ชุดการเรียนภูมิศาสตร์ จำนวน 3 ชุด  สื่อมัลติมีเดียภูมิศาสตร์ จำนวน 3 ชุด

                - นักเรียนผลิตสื่อ Power point  จำนวน 7 เรื่อง

        2. การใช้ ICT ในห้องเรียน  

- นักเรียนมีการใช้ ICT ในการส่งงานผ่าน E-Mail ผ่านระบบ Lan

  มีผลงานที่เกิดจากการสืบค้นความรู้จากอินเตอร์เน็ต การทำโครงงานโดยการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

                - ครูมีการรวบรวมข้อมูล /เวปไซด์ และใช้โปรแกรมต่างๆจากอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอน เช่น Google Earth , Point Asia 

                - ครูมีการจัดการเรียนรู้ ( KM ) เช่นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในอินเตอร์เน็ตผ่าน เวปไซด์ Gotoknow.org.th  โดยสร้างแพลนเน็ต 3 แพลนเน็ต สร้างบล็อก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนทุกอาชีพ  และกำลังพัฒนานักเรียนโดยการให้นักเรียนสมัครเป็นบล็อกเกอร์ ผ่าน Gotoknow.Learner อีกด้วย

        3.  การทำวิจัยในชั้นเรียน

                - ครูมีการพัฒนาตนเอง  โดยใช้ ID Plan เป็นแนวทาง

                - มีการดำเนินการจัดทำ CAR  โดย การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล  (CAR 1)การนำผลจากการสอนมาพัฒนา(CAR 2)  การทำ Case Study (CAR 3) การวิจัย (CAR 4)

        4. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                - มีการเข้าอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง “ I am ready”

                - ทุ่มเท เสียสละแรงกาย แรงใจเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาศิษย์ และพัฒนาองค์กร

        5. การสร้างวินัยเชิงบวก / เครือข่าย 5 นิ้ว ฝ่ามือ

                - จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สอนโดยเป็นที่ปรึกษาทุกเรื่อง เช่นแก้ปัญหาเรื่องการเรียน การให้บริการ  การอำนวยความสะดวกนักเรียน

                - จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ เช่น EQ ,SDQ การคัดกรองนักเรียน  การทำ Case Study นักเรียนในที่ปรึกษาที่มีปัญหา

                - จัดทำโครงงานคุณธรรม โดยมี 2 โครงการย่อย “หมู่บ้านมิตรภาพ และ “ชวนน้องทำดี”  เพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทระหว่างหมู่บ้าน และการขาดจิตอาสาของนักเรียน

        6.  งานอื่นๆ ตามนโยบายของ สพฐ. และเจตนารมณ์ของหลักสูตร

                - โครงการรักการอ่าน ช่วงชั้นที่ 4  พร้อมรายงานการผล 5 บท

                - ส่งเสริมการอ่าน โดยจัดทำเครือข่ายรักการอ่าน จัดทำจุลสารกลุ่มสาระสังคมศึกษาชื่อจุลสาร Social Update เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน เสริมการติวข้อสอบ NT, O-Net , A-Net ในจุลสารทุกฉบับ

                - การสอนซ่อมเสริมนักเรียนชั้น ม.6 เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ นักเรียนกลุ่ม A จำนวน  40  คน ตลอดภาคเรียนที่ 1/2551

                - การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำเป็นสาระเพิ่มเติม  2 หน่วยคือ 1. เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และ 2. ปราชญ์ชาวบ้าน 

                - จัดทำสาระท้องถิ่น  5  เรื่อง คือ จังหวัดสุรินทร์  อำเภอชุมพลบุรี  ปลาไหล  ข้าวหอมมะลิ  และแพทย์แผนไทย

 

 

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับของครูและนักเรียน ในปีการศึกษา 2550 -2551

1. รองชนะเลิศโครงงานสังคมศึกษา ช่วงชั้นที่ 4  การแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต 2 ( โครงงานเรื่อง นักสืบสายน้ำ: กรณีศึกษาผลกระทบจากการทำลายทรัพยากรป่าบุ่ง ป่าทามมูล ในเขตอำเภอชุมพลบุรี  2 /2550 )

2. ชนะเลิศการระดับจังหวัด ในการประกวด Best Practices สังคมศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 4 ( วิจัยในชั้นเรียน  เรื่องรายงานผลการพัฒนารูปแบบวิธีสอนวิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ ส 41101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคุณภาพ  2/2550 )

3. ชนะเลิศการแข่งขันโครงงานสังคมศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 การแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ( โครงงานเรื่อง  ตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี )

4. ชนะเลิศการแข่งขันละครคุณธรรม ช่วงชั้นที่ 3-4  การแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ( เรื่อง  สุดแต่ใจ...จะไขว่คว้า  และเป็นตัวแทนเขต ไปแสดงที่  จ. นครราชสีมา 19-21 ธ.ค. 2551 )
            5. รองชนะเลิศการแข่งขันโครงงานคุณธรรม ช่วงชั้นที่ 4 การประกวดระดับเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ( โครงงานเรื่อง  คุณธรรมนำไทย 800  ดวงใจทำดีถวายในหลวง : โครงการย่อย “หมู่บ้านมิตรภาพ และ “ชวนน้องทำดี” )

การใช้ห้องเรียนคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน
            สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศ
าสนาและวัฒนธรรมและกลุ่มสาระอื่นๆ ทุกช่วงชั้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 222318เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ .... เป็นข้อมูลที่ดีครับ ...

จากผู้สร้างสถานการณ์ทางการเรียนการสอน

สวัสดีค่ะ

* เข้ามาขอความรู้เรื่องห้องเรียนคุณภาพค่ะ

* ก่อนอื่นขอภัยท่ถามตรงๆ นะคะ เพราะกำลังสับสนคำว่าห้องเรียนคุณภาพค่ะ

* เป็นห้องที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนตามปกติหรือหรือว่าเป็นห้องสำหรับบอกคุณภาพของการเรียนการสอนประจำกลุ่มสาระคะ

* ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีคะ คุณวรรณา ผิวเผือก

ห้องเรียนคุณภาพ หมายถึง ห้องเรียนที่เราใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

ห้องเรียนคุณภาพ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ

1. ครูนำการเปลี่ยนแปลง คือครูต้องปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนใหม่

2. มีการใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน

3. มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างดี

4. มีการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

5. จัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึงมีการออกแบบการเรียนรู้ การจัดทำแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปรวมๆ คือ ห้องเรียนคุณภาพ จะดูจาก 3 อย่าง คือ

1. บรรยากาศทางกายภาพของห้องเรียน

2. ครูและการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างเป็นระบบ

3. ผลผลิต คือนักเรียน มีผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้

ส่วนตัวชี้วัดห้องเรียนคุณภาพจะมี 16 ตัวชี้วัด เราสามารถค้นหาได้จากเวป สพฐ.คะ

วันหน้าจะนำภาพห้องเรียนคุณภาพที่อิฉันรับผิดชอบอยู่ มาลงให้ดูนะคะ ยังไม่ค่อยสวยงามเท่าใดนัก เราทำตามมีตามเกิด เน้นที่ห้องสะอาดเรียบร้อย ใช้งานได้จริงๆ แบบจิ๋วแต่แจ๋ว คะ

ดีมากเลยค่ะ รบกวนส่งตัวโครงการให้ได้ไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

ข้อมูลมีความทันสมัย กระชับ ดีมาก

ดีมาก ดีเยี่ยม เป็นรูปธรรม แบบเจาะลึกไปเลย

ขอบคุณมากนะคะ

ดีมากครับอาจารย์ กำลังศึกษาอยู่พอดี

ขอบพระคุณมากค่ะ กำลังศึกษาพอดี รบกวนส่งตัวโครงการให้ได้ไหมคะ หรือตัวอย่าง

หรือภาพถ่ายห้องเรียนคุณภาพ ให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยนะค่ะ

อยู่สุรินทร์เหมือนกันเลย

ได้รับความรู้ดีมาก สามารถนำไปปรับใช้กับสาระสังคมฯห้องเรียนผมพอดี ขอบคุณครับ

น่าสนใจมากค่ะ ตั้งใจจะทำโครงการแบบนี้พอดี ช่วยกรุณาส่งไฟล์โครงการและตัวอย่างรูปถ่ายห้องเรียนคุณภาพนี้ด้วยนะคะ. ตามที่อยู่.อีเมล์ [email protected]  ขอขอบคุณล่วงหน้ามากมากมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ. ขอบคุณเจ้า..

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท