POO
นาย ภุมินทร์ นันทพันธ์

เครื่องดนตรีไทยทางภาคเหนือ


เครื่องดนตรีไทยทางภาคเหนือ

สะล้อ

 

               สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง  ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็กสะล้อกลาง    และสะล้อใหญ่ ๓ สาย

ซึง

 

              ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่      ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด      หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย 

 ขลุ่ย

เช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง

 

ปี่

               ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ปลายข้างหนึ่ง           ฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รูใช้ปิดเปิด      ด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลงมา       เรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่   หรือปี่จุม  หรือบรรเลง      ร่วมกับซึงและสะล้อ

 

 ปี่แน

               ปี่ แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้        เนื้อแข็ง  มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด        และกลองแอว เช่น   ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย         ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง

พิณเปี๊ยะ

              พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว        เวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ        สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน              ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก

กลองเต่งถิ้ง

              กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน      หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มี ขาสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆ      เพื่อเป็นเครื่อง      ประกอบจังหวะ

 ตะหลดปด

              ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร  หน้ากลอง      ขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด ๓๐ เซนติเมตร ด้านแคบ  ขนาด  ๒๐      เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อน ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า)      ถ่วงหน้า

  กลองตึ่งโนง

             กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตรก็มี ใช้ตีเป็น      อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน           ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม

 กลองสะบัดชัยโบราณ

             กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้   ตียามออก      ศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ   สู้ให้ได้ชัยชนะ      ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 220952เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

น่าจะมีเยอะกว่านี้ เพื่อจะได้หาข้อมูลได้เยอะๆ

น่าจะมีอีกน่าจะมีเยอะกว่านี้ เพื่อจะได้หาข้อมูลได้เยอะๆoh

ข้อมูลน่าสนใจดีค่ะ

ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

มันมีกี่อยางคะน่าจะมีเยอะกว่านี้

ความรู้ทั้งนั้นเลยครับ    ขอบคุณระครับ 

น่าจะมีของภาคอื่นด้วยอ่า

 

ความรู้มากมายเลยค่ะ

มีน้อยเกิน จึง หาข้อมูลได้ไม่เยอะ

น้อยจังเยอะกว่านี้ก่อนนะคร๊

น้อยจัง เนื้อหาน่าจะเยอะกว่านี้

น่าจะมีภาคอื่นด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท