ความเป็นมาของชาวไทยพวนในประเทศไทย


ศึกษาความเป็นมาของชาวไทยพวนในประเทศไทย

 ความเป็นมาของชาวไทยพวนในประเทศไทย

          พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน  บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370  เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ  ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ เช่น

          ภาษาไทยพวน                              ภาษาลาวเวียง                                  ภาษาไทยกลาง

                  ไปกะเลอ                                                               ไปไส                                                                         ไปไหน

                 เอ็ดผิเลอ                                                              เฮ็ดหยัง                                                                       ทำอะไร

                 ไปแท้อ้อ                                                              ไปอีหลีตั๊ว                                                                   ไปจริงๆหรือ

ภาษาเขียนของไทยพวนเดิมใช้อักษรไทยน้อย จารลงในใบลาน เช่น นิทานพื้นบ้าน เพื่อใช้อ่านในงานพิธีต่างๆ เช่น งานงันเฮือนดี อยู่กรรม หรือเทศน์ในงานบุญต่างๆ และใช้อักษรธรรม จารลงในใบลาน ที่เเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นและบังคับใช้ทั่วประเทศ ชาวไทยพวนจึงได้ศึกษาภาษาไทยอย่างจริงจัง อีกทั้งสนับสนุนให้บุตรหลานศึกษาภาษาไทยกันมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคม และวัฒนธรรมจากในเมือง การแต่งงานกับคนภาษาอื่น ทำให้เกิดการผสมผสานด้านภาษาทำให้อักษรไทยน้อยและอักษรธรรมลดความสำคัญลง ไม่มีการสืบทอดภาษาเขียนสู่ชนรุ่นหลัง ผู้มีความรู้เรื่องภาษาเขียนและภาษาถิ่นเริ่มหมดไปจากสังคม ในปัจจุบันมีผู้ที่สามารถอ่านใบลานได้น้อยมาก

ทางอำเภอปากพลีเล็งเห็นความสำคัญของภาษาถิ่นไทยพวน นับวันจะสูญสิ้นไปกับบุคคลและกาลเวลา จึงมีความคิดและนโยบายจะอนุรักษ์ภาษาไทยพวน ศิลปะและวัฒนธรรมของชาวไทยพวนไว้ เพื่อลูกหลานและอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า และเป็นแหล่งท่องเทียวประจำจังหวัด จึงคิดโครงการ จะสร้างพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทยพวนขึ้น โดยปรับปรุงดัดแปลงบ้านพักครูโรงเรียนอนุบาลอำเภอปากพลี ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์และรวบรวมประวัติความเป็นมา จำลองการประกอบอาชีพ การแสดงศิลปะ วัฒนธรรม โดยแยกเป็นห้องๆ ตามลักษณะของบ้าน โดยแยกงบประมาณ ดังนี้

1. ค่าปรับปรุงต่อเติมดัดแปลงบ้านพักครู ประมาณ 50,000 บาท

2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ สร้างหุ่นจำลอง จำนวน 3 ห้องๆละประมาณ 50,000 บาท รวม 150,000 บาท

รวมค่าก่อสร้างปรับปรุง ดัดแปลง ตกแต่งให้ใกล้เคียงบ้านไทยพวน จำนวน 200,000 บาท

พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทยพวน

 

ห้องที่ 1

การประกอบอาชีพ

  1.  

    1. ด้านกสิกรรม

    • การทำนา

    • การทำสวน ทำไร่

    • การเลี้ยงสัตว์

    • การประมง

  1.  

    1. ด้านอุตสาหกรรม

    • การทอผ้า

    • การสีข้าวซ้อมมือ การตำข้าว

    • การค้าขาย

ห้องที่ 2

ศิลปวัฒนธรรมประเพณี

  1.  

    1.  

      1. การแต่งกาย

      2. อาหาร คาวหวาน

      3. ความเชื่อ

      4. ประเพณี 12 เดือน

      5. การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน

      6. การละเล่นพื้นบ้าน

ห้องที่ 3

ประวัติความเป็นมาของไทยพวนในประเทศไทย

3.1 ภาษา (ภาษาพูด ภาษาเขียน)

3.2 พจนานุกรมภาษาไทยพวน(คำศัพท์)

3.3 นิทานพื้นบ้าน

ที่มา  :http://school.obec.go.th/anubanpakpli/culture.htm

หมายเลขบันทึก: 219206เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ที่น่านมีอยู่หมู่บ้านหนึ่งชื่อ บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา เป็นหมู่บ้านไทยพวน สมัยเป็นทางการมักเรียกว่า ลาวพวน แต่ที่แถว ๆ นั้น แม้แต่คนในหมู่บ้านฝายมูลเองก็เรียกตนเองว่า ลาว และมีนามสกุลลงท้ายด้วย ลาว เช่น ธิลาว ตาลาว อ๊อดลาว เป็นต้น

และผมเองก็ไปเรียนที่หมู่บ้านแห่งนี้ ได้ซึมซับภาษาพูด วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ตอนเป็นเด็กสามารถพูดได้ แต่ปัจจุบันนี้เหลือแค่ฟังได้

ยินดีด้วยที่มีการส่งเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้อีกแห่งหนึ่งครับ

แก้ไขคำผิดครับ: สมัยก่อนทางการมักจะเรียกว่า ลาวพวน

ขอบคุณค่ะ คุณโยธินิน

อย่าลืมแวะมาอีกน่ะคะ

สวัสดีค่ะ..อยากรูเกี่ยวกับชาวไทยพวนทั้งหมดของชาวเกาะหวาย อำเภอปาพลี นะค่ะ..

พอดีหนูทำงานวิจัย..ในเรื่องนี้อยู่..แต่ไม่ค่อยมีข้อมูล..

ถ้าได้ข้อมูลเนื้อหามากกว่านี้..คงช่วยหนูทำได้อีกมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ..

นาย ณรงค์ศักดิ์ ถาอิน

ผมเองเป็นเด็กบ้านฝายมูลมาตั้งแต่เกิดผมได้ผูกพันกับภาษามาโดยตลอดถึงแม้นามสกุลผมจะไม่ใช่ ธิลาว ตาลาว อ๊อดลาว สิงห์ลาว แต่ผมก็รักในความเป็นคนลาวพวนอย่างแท้จริง ถึงผมไปที่ไหนจะถูกเพื่อนล้อว่า คนบ้านลาวผมก็ไม่โกรธ แต่อีกอย่างที่ผมรู้สึกน้อยใจคือภาษาพูดจะผิดเพี้ยนจากเดิมเช่น มานำเผอแต่กับพูดว่า มากับเผอ ดีเจอแต่กลายเป็น ดีใจยังไงผมก็อยากให้ชาวไทยพวนรักในความเป็นไทยพวนของเราตลอดไป

ผมเป็นลูกหลานชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว

โดยทั่วไปแล้วหาดเสี้ยวแบ่งเป็น2ฝั่ง

ถ้านามสกุลนำหน้าด้วย ก. แสดงว่าเป็นคนฝั่งหาดสูง ยกเว้นตระกูลสุวรรณประสิทธ์

ถ้านามสกุลนำหน้าด้วย ข. แสดงว่าเป็นคนฝั่งหาดเสี้ยว ยกเว้นตระกูล กุมาร วงษ์วิเศษ

มั่นสวาทไพบูรณ์

อยากให้พี่น้องพวนทุกแห่งทั่วประเทศอนุรักษ์ภาษาพวนดั้งเดิม(คำเก่าๆ)เอาไว้ให้นานที่สุด หาศึกษาดูในพจนานุกรมพวนก็ได้ และหากเป็นไปได้ควรให้ภาษาพวนของเราได้มีการใช้พูดในหลายๆโอกาส เช่น งานบุญ งานแต่ง งานบวชหรืองานศพ สลับกับภาษาไทยกลางก็ได้ถ้าหากงานนั้นจัดอยู่ในกลุ่ม/ชุมชนของคนพวนหรือบ้านพวน อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมสำคัญของเรา พิธีกรคนพวนทั้งหลายลองคิดดูนะครับ สำหรับผมหลายๆโอกาสผมก็ใช้ภาษาพวนบ่อยๆ เคยเป็นพิธีกรจำเป็นงานศพเวลาเชิญคนทอดผ้าถ้าคนทอดท่านไม่ใช่คนพวนผมก็พูดภาษาไทยกลาง แต่ถ้ารู้ว่าท่านเป็นคนพวนผมเชิญท่านเป็นภาษาพวนทันที รู้สึกว่างานจะมีสีสันหรือได้รับการตอบรับด้วยดีและบางคนก็งงสอบถามกันใหญ่ว่าเขาพูดภาษาอะไรกันนะ(สำหรับคนที่ไม่ใช่คนพวน) ประเพณี ฮีตคองต่างๆในสมัยปัจจุบันเราเริ่มถูกกลืนไปมากแล้ว จะด้วยวัฒนธรรมใหม่ ความเจริญของบ้านเมือง แต่ถ้าคนพวนทุกท่านมีความคิดว่าต้องอนุรักษ์ภาษาพวนให้ได้ เชื่อว่าพวนไม่มีวันตาย พวนไม่ใช่ลาวและลาวไม่ใช่พวน เราเคยมีบ้านมีเมืองมีกษัตริย์มีความเป็นตัวของตนเองมาก่อนในอดีตแม้ปัจจุบันเราเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นแล้วก็ตาม อย่าลืมการรู้รากเหง้าแหล่งที่มาตลอดจนวัฒนธรรมต่างๆของเผ่าพันธุ์ตนเองเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมิใช่หรือ ลองคิดดูนะครับพวนรุ่นใหม่ สุดท้ายลืมหรือยังหรือยังใช้อยู่หรือเปล่ากับคำเดิมๆว่า หม่ะอ่ย หม่ะต๊อง ขิ่งเคอ งึด เหน็ง กะต่า กะเซอ กะด้น ขี้เฟื้อ ขี้เพือย คะลำ จ่ง จั๊กแหล่ว เซาะ ต่ำหุ เท็ง เป่ ข้าวเปียะ มื้อซืน ยาม ลุเพ้อ เห็ม แห้น อึดหย่ะ เอ็ดเวียะ เฮี่ย(ไม่ใช่เหี้ย) เอาแค่นี้ก่อนเด้อ.

ถึง คนพวนรุ่นหลัง

อยากให้คนพวนทุกคนอนุรกษ์ภาษาพวนค่ะ

ขอบคุณทุกคนที่มาเยี่ยม

ปกติเราก็คือคนพวนอยู่แล้ว เวลาพูดคุยกับคนในท้องถิ่นก็สำเนียง พวน ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าได้คุยกับคนภาคอื่นก็ ไทยก็ได้ ไทยอีสานก็ได้...ในระยะหลังๆ นี้เริ่มมีสำเนียงแปลกๆ ในหมู่คนพวกด้วยกันออกสำเนียงเป็นอีสานแท้ๆ ฟังดูแล้วทะแม่งหูจริงๆ ขัดกับความรู้สึกที่เรากับพวนแท้ๆ 

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท