กายภาพบำบัดชุมชน


เรียนทุกท่าน ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ...
มีต่อ

ยินดีด้วยสำหรับนักกายภาพที่กำลังเปิดแผนกใหม่ในรพช. จริงๆ แล้วก็อยากรู้เหมือนกันว่า ในเรื่องของงานบริหารจัดการ PT น้องใหม่ในชุมช ต้องการรู้เรื่องอะไร ช่วยเขียนมาเล่าให้ฟังหน่อย ส่วนเรื่องความรู้ทางวิชาการล่ะ อยากพัฒนาด้านไหน จะได้จัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการ

ปนดา

ตอบ กภ.กิตติ

อยากมาระบายความในใจใน blog นี้ก็ยินดีนะคะ เผื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองกันบ้าง ก็อาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้น การที่เราได้ย้ายสายงานมาอยู่กับฝ่ายเวชปฏิบัติก็น่าจะเหมาะสมกว่า อยู่กับเภสัชฯ แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกับผู้อื่นเราก็ต้องมีศิลปะบ้าง บางครั้งเราก็ต้องยอมเสียประโยชน์บ้างเพื่อรักษาน้ำใจกันไว้ หลายครั้งเรายอมเพื่อเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อ spirit หลายครั้งเรายอมทำตามความเหมาะสมแต่อาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่บางเรื่องเราต้องเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจคนอื่นบางคน บางครั้งถ้าเราได้มีเวลาหยุดพิจารณาไตร่ตรองโดยไม่ยึดมั่นในความคิดของเราฝ่ายเดียว ลองมองไปในมุมมองของคนอื่นบ้าง เมื่อเราได้เห็นในหลายๆ มุมมองหลายๆด้าน เราจะเกิดความคิดอะไรดี ๆ ขึ้นมา เป็นความคิดที่เกิดจากการพิจารณารอบด้าน เมื่อเราคิดได้ คิดดี เราก็จะทำอะไรๆได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น สรุปคือ เห็นให้รอบด้าน คิดให้รอบครอบ ทำอย่างมีสติทั้งกาย วาจา และใจ

ขอฝากข้อคิดไว้แค่นี้ก่อนนะคะ

ปนดา

ขอบคุนครับสำหรับข้อคิดดีของอาจารย์ ก่อนหน้านี้เพราะผมได้มองหลายมุมทำให้ผมรู้สึกดี และคิดว่าจะตั้งใจทำงานอย่างเดียว แต่พอมานมีอีกก้ออดคิดมากไม่ได้ ซึ่งเผงอุปนิสัยส่วนตัวอยู่แล้ว แต่ที่คิดในใจเสมอคือผมต้องทำให้คนยอมรับกายภาพ กายภาพต้องมีศักดิ์ศรี แต่ก้อใช้วิธีแบบ ร๕ เพื่อสักวันเราจะได้กลายเปงไทอย่างเต็มตัว (พี่ รพช.ที่อื่นก้อมีปัญหาแบบนี้เหมือนกานครับ อยากมองมาดูน้องๆแล้วจะรู้ครับว่ามีทั้งคนที่ทำงานได้สะดวก และบางคนที่ติดขัด)

มี PT หลายคนที่เป็นกูรูเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของคนพิการ เช่น การขึ้นทะเบียน การ claim ค่าตอบแทนจาก สปสช. เป็นต้น อย่างพี่ตั๊กที่โกสุมฯ ([email protected]) พีก้อยที่ท่าบ่อ ([email protected]) staff ที่ภูกระดึง น้อง ๆ อาจติดต่อไปหาเขาได้ทาง e-mail อย่างไรก็ตาม พี่จะบอกเขาให้เข้ามาตอบให้น้อง ๆ ใน blog นี้ค่ะ

เรียนปรึกษา ขอเจ้าหน้าที่ วฟ ค่ะ มีแนวทางยังไงบ้าง...ยังบ่ได้ตอบเยย ^ ^

พี่สมใจตอบข้อซักถามมาแล้วค่ะ เกี่ยวกับการจดทะเบียนผู้พิการ

การจดทะเบียนคนพิการ เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและมนุษย์ของจังหวัด( พมจ.) จดทะเบียนได้เลยถ้าพิการเห็นเป็นประจักษ์ ( พิการชัดเจน) ถ้าไม่ชัดเจนต้องให้แพทย์ออกใบรับรองความพิการให้ก่อนจึงจะออกสมุดคนพิการได้

ผู้พิการอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ยังไม่สิ้นสุดการรักษาแต่แพทย์ทายว่าอาจจะพิการกลุ่มนี้โรงพยาบาลเค้าจะทำบัตรผู้พิการท.74 ให้กลุ่มนี้บางคนอาจดีขึ้นจนไม่สามารถขอสมุดคนพิการได้

นักกายภาพบำบัดที่ทำงานฟื้นฟูเก่งๆหลายคน สามารถประเมินได้ว่าคนนี้พิการแน่ แต่กฎหมายกำหนดผู้ออกใบรับรองความพิการคือแพทย์ ออกสมุดพิการคือจนท.พมจ.โรงพยาบาลออกบัตรทองคนพิการ ท.74 ส่วนนักกายภาพบำบัดแนะนำ รักษา ฟื้นฟู และบริหารจัดการ รวบรวมหลักฐานให้ครบและดำเนินการต่อให้

แนะนำให้น้องศึกษาสิทธิของคนพิการให้ตัวเองมีความมั่นใจ และรู้จริง อาจพูดคุยกับพี่ๆนักกายภาพ เพื่อนๆ เวลาออกเยี่ยมผู้ป่วยเราก็เสนอแนะทีมได้ ค่อยๆเรียนรู้ไป

ตัวอย่าง Hemiplegia เดินไปมาได้สบาย ตาบอดข้างเดียว หูหนวกข้างเดียว นิ้วก้อยขาด นิ้วเท้าขาด ไม่ถือว่าเป็นผู้พิการ

ขั้นตอนการจดทะเบี่ยนผู้พิการ

กรณีผู้พิการมาจดด้วยตัวเอง

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.ใบรับรองความพิการที่แพยท์ออกให้ รุปถ่ายขนาด 1 นิ่ว 2 รูป หรือมาถ่ายที่ศูนย์ผู้พิการก็ได้

กรณีผู้มาจดแทน โดยที่ผู้พิการไม่ต้องมาเอง ให้นำ สำเนาของผู้แทนมาด้วย

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

แล้วนำมาจดที่งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ไม่เกิน 15 นาทีเสร็จ

กรณี พิการโดยประจักษ์

ไม่ต้องมีหนังสือรับรองความพิการจากแพทย์ เช่น แขนขาด ขาดขาด

เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือแขนขาผิดรูป นำหลักฐานมาจดได้ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการ จดทะเบียนได้ที่รพ.รัฐทั่วประเทศ พมจ.

ต้องขอขอบคุณพี่สมใจมากๆ ค่ะ

ปนดา

จีรวรรณ ดนัยตั้งตระกูล

เรียนคุณกิตติและกายภาพโชงเจียม

(196)การเคลมค่าให้บริการกายภาพบำบัดเป้นการเคลมในกรณีที่มีการให้หัตถการหรือมีการฝึก ดังนั้นน่าจะเป็นกรณีที่ต้องฝึกผู้ป่วยผู้พิการ แต่ถ้าให้คำแนะนำ ประสานงานไม่น่าเข้าข่ายคะที่เบิกได้คะ

ปัจจุบันที่มีการพูดคุยกับ สปสชเรี่องการดูแลผู้พิการในระดับ รพช.ที่อยากให้ PT ช่วยดูดังนั้นในเรื่องค่าตอบแทนอาจมีการพูดคุยอีกรอบนะคะ

(205)การจะจ้าง วฟ ในปัจจุบันไม่มีที่ไหนที่ผลิต วฟ.แล้วคะดังนั้นไม่น่าจะหาได้ ถ้ามีคงเป้นการย้ายมาจากที่อื่น (และถ้ามีการผลิตวฟ.จะเป้นนักเรียนทุนเมื่อมาบรรจุจะได้เป็นข้าราชการเลยขณะที่น้องPTยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่นะคะ)ถ้าต้องการจ้างผู้ช่วยกายภาพอาจเป้นการจ้างลูกจ้างชั่วคราวแล้วมาสอนเองและเมื่อมีสภานศึกษาจัดสอนก็ส่งไปอบรมเพิ่มเติมมากกว่า  แต่ถ้าให้ดีคุยกับ ผอกจ้างPTดีกว่าเพราะได้ประโยชน์มากกว่าคะ

เรียนคุณกิตติ สมบรรดา

อยากทราบว่าน้องทำงานอยูที่รพช.ไหนคะ รบกวนให้ข้อมูลด่วนค่ะ เพราะกำลังมีการพิจารณาเชิญPTเข้าร่วมประชุมเครือข่ายค่ะ

จริงๆ อยากให้ทุกท่านที่เข้ามาใน blog นี้แนะนำตัวก่อนว่าชื่ออะไร ทำงานที่ไหน จังหวัดอะไร จะได้มีประวัติไว้ เผื่อมีอะไรที่เป็นประโยชน์จะได้ติดต่อได้สะดวก

ปนดา

ตอนนี้จะเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่แล้วครับ

ผมเสนอไปห้าโครงการไม่รู้จะผ่านหรือเปล่า(เป็นโครงการที่ยืมมาจากเพื่อน ๆ นะครับ ออกแนวคล้าย ๆ กันบ้าง คิดเองบ้าง)

เครื่องมือที่ขอไปได้ข่าวแว่ว ๆ ว่าอาจจะได้สองสามชิ้น(จากเกือบสิบชิ้น)

อาจจะได้คอมบายด์หนึ่ง Spiro แบงค์หนึ่ง

= ="

เรื่องที่อยากรู้มีมากมายเหลือเกินครับ...

เช่น ข้อมูลแผ่นพับความรู้เนี่ย พวก เบาหวาน ความดัน COPD เยอะเหลือเกินครับ ในตามแต่ละ รพ.ชุมชน

ซึ่งสิ่งที่เรียนมาก็ไม่ใช่ตัวหลักที่เราเรียน

แต่เคสพวกนี้ หมอ พยาบาลเค้า Consult เราเยอะทีเดียวครับ

เทียบกับพวก นิวโร ออโธ เด็ก หรือว่าเชสด้านอื่น ๆ มีน้อยนิดครับ

อยากได้เนื้อหารายละเอียดพวกนี้เยอะ ๆ ครับ บทบาท PT ที่เด่น ๆ

เช่นอย่างตอนนี้ผมมีหน้าที่นำออกกำลังกาย แนะนำท่าทาง การใ้ช้ชีวิตประจำวัน แล้วก็รักษาตามแต่ปัญหาที่เค้ามีครับ เช่นข้อหลวม ข้อติด ปวดข้อ ฯลฯ

อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเบาหวาน เช่น อยากไปอบรมเรื่องสุขภาพเท้า ตรวจเท้่า ฯลฯ

อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความดัน บทบาทที่เด่น ๆ ของเราในด้านอื่นๆ

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ COPD อีกหน่อยนะครับ(เพราะ Chest นี่ผมเรียนได้แย่สุดเลย) พวกกลไก หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ไฮเทค ๆ การตรวจความจุปอดที่สมัยนี้เค้าใช้ สไปโรแบงค์ สไปโรแท๊งกัน = ="

ส่วนเทคนิคใหม่ ๆ นะครับ ก็อยากไปอบรม แต่ตอนนี้ผมยังไม่ได้เริ่มงานออโธหรือนิวโรเลย ได้ข่าวว่าเค้าจะให้ผมตั้งหนึ่งเตียง(T0T) จากที่ขอไปห้าเตียง

เหอ ๆๆๆ

พวกสิทธิคนไข้ งบประมาณ ฯลฯ ก็อยากรู้แบบคร่าว ๆ ครับ เพราะตอนนี้ก็ช่วย ๆ งานพี่ ๆ ห้องแผนงานอยู่บ้างครับ

แล้วก็อยากฝึกพวกการออกกำลังกายทางเลือก เช่น โยคะ ไทเก็ก บลาบลาบลา

ที่จะทำให้เราเป็นโปรฯ จนสามารถจัดอบรมหรือสอนบุคลากรในโรงพยาบาลได้เองนะครับ(ปล.ความจริงก็พอได้นะครับ แต่ไม่มั่นใจเลยกลัวสอนผิด เลยอยากไปอบรมเป็นคอร์ส ๆ อีกรอบ)

ช่วยประกาศกันด้วยนะครับ

ตอนนี้ที่ รพ นราธิวาสราชนครินทร์ ประกาศรับนักกายภาพบำบัด ในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สนใจติดต่อที่งานกายภาพบำบัด รพ นราธิวาสราชนครินทร์

ขอบพระคุณค่ะที่ช่วยไขความกระจ่าง...ตอนนี้ขอ PT ยังยากอยู่ค่ะ ขอผู้ช่วยไปก่อนละกัน (ดีกว่าไม่มีคนช่วย)55+

สวัสดีค่ะทุกคน

เป็นอย่างไรกันบ้างหายเงียบกันไปหลายคน คงยุ่งๆ กันละซินะคะ ช่วยนี้ไปไหนก็มีแต่งานเกษียณอายุ ก็น่ายินดีกับเขานะ ทำงานมาทั้งชีวิต ถึงเวลาพักบ้าง พวกเรายังอยู่ในอายุวัว ก็คงต้องทำงานก็ต่อไป

จะขอเล่าคร่าวๆ ก่อนนะเกี่ยวกับการไปประชุมเรื่องการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัดชุมชน สปสช.เขาก็ยินดีให้การสนับสนุนงาน PT เป็นอย่างดี เรามีแผนว่าจะกระตุ้นให้นักกายภาพบำบัดไปทำงานในรพช.มากขึ้นโดย อาจจะไปจัดค่ายตามมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาปี 3 ได้มีความเข้าใจงานกายภาพบำบัดชุมชน โดยเราจะพานิสิตไปดูงานที่รพช.ที่มี PTทำงานอยู่ โดยสปสช เขาจะสนับสนุนงบประมาณ พอปี 4 เราอาจให้ทุนนิสิตที่อยากไปทำงานในรพช. โดยต้องมีการทำข้อตกลงบางประการ เช่น ต้องทำงานอย่างน้อย 3 ปี อะไรอย่างนี้ แต่เรื่องนี้สปสช เขาคงต้องไปคุยกับผอ.รพช.ก่อนว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เร็วๆนี้คงทราบ

เล่าให้ฟังแค่นี้ก่อนนะ

ปนดา

ดีจัง...ขอให้ทำได้นะคะ จะเอาใจช่วย...อิจฉาน้องแล้ววววว

โอ้ววว ดีจังเลยนะครับ ^ ^

ขอบคุณครับอาจารย์

อ่า แล้วผมมีข้อสงสัยนะครับ คือว่า

แล้วยังงี้

กายภาพบำบัดชุมชน มีโอกาสได้บรรจุเหมือนกับโรงพยาบาลศูนย์บ้างหรือเปล่าครับ

เรื่องบรรจุเป็นข้าราชการ หรือพนักงานราชการ ยังไม่มีวี่แวว เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับนโยบาย ถ้าฝ่ายการเมืองเขาไม่เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็คงยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ขึ้นยู่กับอนาคตว่าประเทศเรามีเงินรายได้มากพอทำรัฐสวัสดิการหรือเปล่า ถ้ารัฐมีเงินให้สวัสดิการประชาชนดีๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ ก็อย่าไปติดกับมันเลยนะ ก็ขอให้ประเทศชาติเรารักษาทรัพยากรอันเป็นประโยชน์ได้เยอะ ๆ อย่าให้ต่างชาติมาแย่งชิงไป โอกาสที่ประเทศไทยจะจัดรัฐสวัสดิการให้ประชาชนทุกคนได้ก็มีมากขึ้น ตอนนี้รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็เริ่มทำงาน เห็นเขาอนุติให้ลูกจ้างประจำได้บำเหน็จ บำนาญ แล้วนี่คะ คงค่อยๆ ดีขึ้น ใจเย็นๆ ตอนนี้เราก็เกบเงินเองไปก่อน

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา เตชทรัพย์อมร ผมชื่อ นายกิตติ สมบรรดา หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์เก่ากายภาพบำบัดจากสายวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะรับปริญญาบัตรธันวาคมนี้ครับ ตอนนี้เปิดแผนกที่ รพช. มาได้ 5 เดือนแล้วครับ คนไข้ผมเยอะขึ้นเรื่อยๆเฉลี่ยวันละ8-12คน ส่วนใหญ่มักจะทำไม่ทัน อิอิ โดยเฉพาะบ่ายวันอังคารและพฤหัสเพราะออกหน่วยผู้พิการครับ มีเครื่อง US ,ES, Hot pack รอ traction ซึ่ง สสจ.จะซื้อให้ ละก้อรอ paraffin เพราะบริษัทยังไม่มาส่งครับ ตอนนี้อาศัยตึกแพทย์แผนไทยครับ รอย้ายไปห้องของต้นเองต้นเดือนตุลาคมนี้ครับ มีเตียสูงมาตรฐาน2ตัวและเตียงเตี้ย1ตัวครับแต่ยังย้ายเข้าห้องไม่ได้เพราะห้องปัจจุบันเล็กมากรอย้ายครั้งเดียวต้นเดือนนี้ครับ โครงการในปีงบหน้าที่วางแผนไว้คือ โครงการรขูดcallusและทำรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กะ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูขอายุครับ นอกจากงานรักษาและฟื้นฟูแล้วก้อจะไปสอนและนำออกกำลังกายในสตรีตั้งครรค์ด้วยครับ (ปีหน้ารับพีทีเพิ่มแน่นอครับ)

ยินดีกับคุณกิตติสำหรับผลงาน 5 เดือนแรก และขอบคุณที่ช่วยแนะนำตัวได้ละเอียดดีมากนะคะ อยากให้ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมได้ช่วยแนะนำตัวแบบนี้ด้วย เผื่อมีเรื่องอะไรจะได้ติดต่อได้สะดวกค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ สู้ ค่ะ

ปนดา

อยากได้ข้อมูลแผ่นผับหรือว่าแผ่นซีดี เกี่ยวกับออกกำลังกายเบาหวานนะครับ (เรื่องอื่น ๆ ด้วยก็ดีครับ)

ต้องไปหาซื้อที่ไหน หรือว่าใครพอมีข้อมูล

ส่งมาที่ [email protected] ทีนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดี PT ชุมชนทุกท่านค่ะและก็ PT ทุกๆๆคน และคุณกิตติ สมบรรดา และ PT โขงเจียมด้วยจ้า อย่าลืมมาโครงการที่เราจัดนะจ๊ะ โขงเจียม ดิฉันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานีเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เป็นโรงพยาบาลที่มีความมุ่งมั่นในการจะผ่าน HA ขั้นที่สาม ค่ะ ผู้อำนวยการเข้มแข็งและเป้นนักพัฒนาชอบให้โอกาสเราซึ่งเป็นเด็กจบใหม่ทำงานแค่สี่เดือนได้มีโอกาสได้ลุยงานต่างๆมากมาย ทั้งงานผู้พิการ วิทยากรโครงการต่างๆมากมาย และงานผู้ป่วยเบาหวาน เข้าทีมศูนย์คุณภาพและรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ทีมอาจารย์ที่เค้ามาประเมินให้เกียรติมาประเมินงานกายภาพบำบัดของเรา และทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ได้รับคำชมจากทุกฝ่ายและผู้อำนวยการ จนได้เข้าทีมคุณภาพ(งานเข้าซวยเลย) แต่ก็ดีค่ะทำให้เราต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลาทำให้เราได้เรียนรู้งาน ตอนนี้ก็รอเครื่องดึงหลังเหมือนกิตติค่ะของอุบลเราจะได้พร้อมๆกัน 13 โรงพยาบาล และตุลาจะได้เครื่องมือ US Com.และก็ Hydroc ซะที ได้อุปกรณ์+ห้องใหม่มีฟิตเนสด้วย ต้องขอบคุณท่านผู้อำนวยการที่ให้การสนับสนุนงานกายภาพบำบัดและขอบคุณหัวหน้าฝ่ายบริหาร (พ่อบ้าน) ที่คอยช่วยเหลือทุกอย่าง(ของ่าย) พี่แพทย์แผนไทยที่ให้ความช่วยเหลือให้ที่อาศ้ย หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลที่แสนจะใจดีดูแลตั้งแต่วันแรกจนวันนี้ ทุกๆๆฝ่ายที่คอยให้คำแนะนำเสมอๆและอาจารย์ทุกๆๆท่านที่คอยสอนให้เรามีรอยยิ้มให้ผู้ป่วยและคนอื่นๆเสมอๆ และที่ต้องกราบขอบพระคุณคือ พี่น้อย สมใจ ลือวิเศษไพบูลย์ ถ้าไม่มีพี่น้อยคงไม่มีพวกเรา

พอดีเพิ่งอ่านเจอค่ะเพราะตอนนี้ทำงานผู้พิการเต็มตัวคือ ทางโรงพยาบาลเราจะะตรวจประเมินความพิการก็มีหลักเกณฑ์หลายอย่างค่ะปัจจุบันแพทย์จะให้นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ตรวจประเมินเนื่องจากแพทย์มีคนไข้เยอะ แต่ผู้ที่จะออกเอกสารให้ได้ก็คือแพทย์ซึ่งถ้าพิการจริงแพทย์ก็น่าจะทำให้อยู่แล้วค่ะ และก็เราดำเนินการเหมือนที่อาจารย์ รศ.ปนดาบอกมาเพราะตอนนี้โรงพยาบาลนาจะหลวยดำเนินการงานผู้พิการแบบ one stop serviceค่ะ ดูแลทุกอย่างของงานผู้พิการการประเมินเบื้อต้นเพื่อเป็นการ screen ก่อนถึงแพทย์และเคสใหนเข้าข่ายก็ให้มาขอเอกสารกับแพทย์และดำเนินการไปจดทะเบียนผู้พิการกับพมจ.เลยที่เดียวค่ะ เพราะนาจะหลวยห่างจากตังจังหวัด 117 กิโลเมตรและการเดินทางลำบาก ทางงานกายภาพดำเนินการตั้งแต่จดทะเบียนผู้พิการให้และก็ต่ออายุสมุดผู้พิการและดูแลสิทธิ์ในบัตรทองโดยประสานกับพมจ.ว่าเราจะเป็นผู้มาทำให้โดยในจังหวัดอุบลได้ดำเนินการนี้หลายโรงพยาบาลแล้ว และการเปลี่ยนสิทธิ์มาเป้น ท.74 โดยประสานกับฝ่ายสิทธิบัตรเรานำสมุดผู้พิการมาแลละนำบัตรทองมาเปลี่ยนที่โรงพยาบาลและก็นำส่งกลับให้ผู้พิการโดยฝาก พขร.หรือผู้ที่ออกหน่วยในตำบลนั้นๆๆค่ะ และปัจจุบันที่จังหวัดอุบลได้มีโครงการคาราวานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการแบบไปถึงที่ดำเนินการให้ทุกอย่างเป็นโครงการที่ดีมากๆ เป็นโครงการของสสจ.ร่วมกับสปสช.ร่วมกับเครือข่ายกายภาพบำบัดและที่สำคัญผู้เขียนโครงการคือพี่นักกายภาพโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์

มีข่าวประกาศค่ะ ใครอยากได้แผ่นพับเกี่ยวกับ 5 โรคนี้ก็ขอกันเองตามจำนวนที่ต้องการนะคะ เขาส่งให้ฟรีค่ะ

ศูนย์ข่าว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

วันที่ 11 กันยายน 2552

วันที่ข่าวตีพิมพ์ : สามารถเผยแพร่ได้ทันที

แผ่นพับช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเลิกบุหรี่

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ร่วมกับ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยแพร่เอกสารแผ่นพับอันตรายร้ายแรงของการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค อันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหืดและโรคภูมิแพ้ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบ เพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้เลิกสูบบุหรี่ให้ได้

นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2551 ดังนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 388,551 คน โรคความดันโลหิตสูง 498,809 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 1,108,026 คน ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 124,532 คน และผู้ป่วยโรคหืด 113,530 คน รวมผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 5 โรค 2,229,448 คน หากอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเหล่านี้เท่ากับของประชากรทั่วไปคือ ประมาณร้อยละ 20 จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ประมาณ 445,890 คน

นพ.ภานุวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าพิจารณาจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บปี 2550 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักโรคไม่ติดต่อเอง จะพบว่า ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15 – 74 ปี ที่บุคลากรสาธารณสุขเคยบอกว่าเป็นโรคเรื้อรังโดยประมาณ ดังนี้ โรคเบาหวาน 1.8 ล้านคน โรคความดันโลหิตสูง 4.3 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 0.7 ล้านคน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 0.5 ล้านคน และโรคหืด 0.6 ล้านคน รวม 7.9 ล้านคน เพราะฉะนั้น จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่สูบบุหรี่ประมาณ 1.6 ล้านคน ซึ่งการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วจะทำให้โรคทรุดลงเร็วขึ้น เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงและเร็วขึ้น เช่น ไตวายเร็วขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หัวใจวายเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น และทำให้ต้องใช้ยาในการรักษาเพิ่มมากขึ้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งผู้ป่วย ญาติ และ ทีมผู้ให้บริการผู้ป่วยในการชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจและพยายามช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ แต่ละคนอาการดีขึ้น รักษาง่ายขึ้นและเกิดโรคแทรกซ้อนช้า

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า แพทย์และทีมงานควรจะใช้โอกาสที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้มาติดตามรับการรักษา ย้ำเตือนและแนะนำวิธีการเลิกสูบบุหรี่ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับการรักษา เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ล้วนต้องการให้โรคของตัวเองดีขึ้น ซึ่งการเลิกสูบบุหรี่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ายาอื่น ๆ ที่เขาใช้รักษาโรคประจำตัวของเขา

กรมควบคุมโรคจะได้แจกจ่ายแผ่นพับอันตรายของการสูบบุหรี่ในโรคเรื้อรัง 5 โรค ดังกล่าว แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้คลินิคโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งนี้แผ่นพับที่ผลิตขึ้นยังได้มีข้อแนะนำสำหรับการเลิกสูบบุหรี่พิมพ์อยู่ด้วย ผู้สนใจขอแผ่นพับเพิ่มขอได้ที่ สำนักโรคไม่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ 02-5903981-2 / มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 02-278-1828

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ โทร.081-785-8599

/ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ โทร.0-81-8229799

หรือ

Chawala Pawaputanont na Mahasarakham

Head of Media Officer & Project Coordinator of Tobacco Control Clearing House

Action on Smoking and Health Foundation

36/2 Padipat Soi 10, Padipat Road,

Samsannai,Phayathai,

Bangkok,10400,Thailand

Tel.(662)2781828 Mobile (661)4585877

Fax.(662)2781830

www.ashthailand.or.th

www.smokefreezone.or.th

ขอบคุณมากเลยครับ อาจารย์

ตอนผมอ่านข้อความของอาจารย์

ผมเริ่มเห็นแสงเลยครับ

เพราะตอนนี้ผมอยู่ในคณะกรรมการในโีครงการเลิกบุหรี่ด้วยครับ

= ="

คิดไม่ค่อยออกเลยว่ากายภาพบำบัดจะช่ีวยได้อย่างไร

เพราะตอนเรียนนั้นแอบรู้มาแค่ว่าสอนหายใจ Deepbreathing มันเป็นลักษณะคล้ายการสูบบุหรี่ ก็เลยกะจะสอนหายใจให้ผู้ติดบุหรี่ แต่กำลังคิดอยู่ว่ามันจะได้ผลไหม๊เนี่ย

หึหึ = ="

เพราะแค่สอนนี้สอนBreathing พวก diaphamatic คนไข้ยังทำได้บ้างไม่ได้บ้างเลยครับ = ="

กภ.โชคุง คะ

ช่วยบอกชื่อที่อยู่ที่ทำงานมาให้ชัดเจน จะส่งชุดความรู้เกี่ยวกับการละ ลดลเลิก บุหรี่ และกายภาพบำบัดกับพิษภัยบุหรี่ไปให้ค่ะ จะได้เห็นแสงจ้ากว่านี้อีก

ปนดา

ชื่อ พิชิตชัย ชูวัฒนกูล ครับ จบพีทีมหิดลปีนี้ครับ ทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนดอยเต่า อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ครับพ้มม...

ที่อยู่โรงพยาบาลนะครับ รพช.ดอยเต่า 105 ม.3 ต.ท่าเดื่อ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ 50260

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงเลยครับ

^ ^

อาจารย์ครับ

ตอนนี้อยากทราบว่า รพ ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือ รพ ประจำตำบล

กับ รพ.ชุมชน บทบาทของนักกายภาพบำบัดต่างกันตรงไหน ยังไงเหรอครับ?

จริงๆ แล้วโรงพยาบาลประจำตำบล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ก็คือสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนเดิมนั้นเองค่ะ เปลี่ยนชื่อไปตามยุคสมัยทางการเมือง พรรคการเมืองหนึ่งเขาไม่ยอมใช้ซ้ำชื่อที่ตั้งจากพรรคการเมืองหนึ่ง อย่างไรก็ตามก็อาจจะมีความแตกต่างจากสถานีอนามัยเมื่อก่อนอยู่บ้าง เช่น รพ.ตำบล ตั้งเป้าว่าต้องมีพยาบาลเวชปฏิบัติอยู่ด้วย ซึ่งสามารถตรวจรักษาแทนแพทย์ได้หลายอย่าง เพื่อจะได้ไม่ต้องให้ประชาชนเข้าไปแออัดกันในรพช.แม่ข่าย เขามีนโยบายพัฒนาสถานีอนามัยให้ดูเป็นที่น่าเชื่อถือแก่ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น (เพราะเมื่อก่อนจะมีแค่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) ถ้ามีผู้ป่วยที่มีปัญหามากก็จะใช้ระบบการส่งต่อเข้าไปในรพช.อีกที หลายๆ รพช.เขาใช้วิธี refer ได้หลายแบบ เช่น แบบมีใบส่งตัว แบบส่งต่อสายด่วนโดยใช้ skype คือใช้ internet ถ้าผู้ป่วยเข้าไปรักษาที่รพช.โดยไม่มีใบส่งต่ออาจไม่ได้รับการบริการทีรวดเร็วเท่าที่ควร ก็เป็นเทคนิคของแต่ละรพ.ว่าเขาจะมีวิธีอย่างไรให้ผู้ป่วยไม่วิ่งเข้ามาออกันที่รพช. เนื่องจากว่ารพช.ก็มีแพทย์จำกัด ตรวจไม่ทัน หรือถ้าตรวจทันก็แทบไม่ได้ซักถามอาการผู้ป่วยมากนัก เพราะไม่มีเวลา ทำให้ประสิทธิผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร เขาจึงมีนโยบายพัฒนา รพ.ตำบล ขึ้นมา นโยบายที่จะทำให้รพ.ตำบลประสบความสำเร็จ คือต้องพยายามทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความเชื่อมั่น มั่นใจในคุณภาพการบริการในรพ.ตำบล สิ่งหนึ่งที่รพ.ตำบลไม่มีคือแทพย์ประจำ เขาก็เลยต้องมีพยาบาลเวชปฏิบัติ (ต้องส่งพยาบาลไป train)

งานกายภาพบำบัดก็เป็นงานหนึ่งที่หลายรพช.เขาต้องการให้มีการขยายงานไปสู่รพ.ตำบลด้วย บางแห่งให้นักกายภาพบาบัดไป rotate คือเวียนไปช่วยดูผู้ป่วย บางแห่งเริ่มจ้างPT ประจำแล้วค่ะ เพราะเราช่วยให้คุณภาพรพ.ตำบลดีขึ้น เรามีการเข้าไปดูแลผู้ป่วยตามบ้านได้ด้วย ออกไปสำรวจปัญหาของชุมชนได้ด้วย และยังสามารถเขียนโครงการในการสร้างเสริมสุขภาพได้อีก

ปนดา

อาจารย์ครับ การจะเขียนโครงการขอเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดนี้ ส่วนใหญ่ควรเขียนขอกับองค์กร หรือห้างร้าน บริษัทใดถึงจะไม่น่าเกลียดครับ(ผมเคยคิดไปถึงการจัดผ้าป่าเลยนะครับ = =')

อีกอย่าง....

ตอนนี้ผมยังไม่เข้าใจในเรื่องของการของบของ สปสช(งบประมาณกองทุนฟื้นฟูผู้พิการ) สสส(งบประมาณส่งเสริมสุขภาพ)ฯลฯ

ซึ่งถ้าผมจะจัดตั้งชมรม หรือกลุ่มคนพิการอะไรยังงี้ก็ต้องมีการของบประมาณใช่ไหมครับ แล้วเราจะทำยังไงให้ได้งบประมาณ

ตอนนี้ที่พอรู้บ้างคือของบโดยตรง หรือจัำดทำโครงการโดยส่ง รพ.โดยตรง แล้ว รพ.ก็จะส่งของบ สาธารณสุขจังหวัดอีกที(คงเป็นงบ UC ไม่ก็งบอื่น ๆ นะครับ ซึ่งได้อยู่น้อยนิด เนื่องจาก ประชากรน้อย และห่างไกลความเจริญ)

รพช.ที่ผมทำอยู่ค่อนข้างกันดารนะครับ(ได้เบี้ยกันดารด้วย = =")

การเข้าหาผู้พิการทำได้ค่อนข้างลำบาก(บางหมู่บ้านทางเข้าหมู่้บ้านวิบากมากกก = =" ผมไปออกหน่วยมา หัวฟูหมดเลย)

ตอนนี้ที่ รพ.ทำก็คือแบ่งเขตรับผิดชอบ กับสถานีอนามัยนะครับ(ยังอยากไปเยี่ยมคนพิการทั้งอำเภอนะครับ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง) ตอนนี้ทาง รพ.ยังไม่มีใครรับผิดชอบทางฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ผมก็เขียนโครงการไปแล้ว ส่งที่ รพ.แต่ไม่รู้ว่าทาง รพ.จะมีงบประมาณหรือเปล่า เนื่องจากว่า ยังมีหลายหน่วยงายที่สำคัญที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วนมากกว่า(ตามความเห็นของฝ่ายอื่น ๆ) มีหลายโครงการที่สำคัญกว่า(ช่วงนี้ก็ไข้หวัดใหญ่ กับไข้เลือดออก ฯลฯ)

ตอนนี้งานหลักของผมคือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยเรื้อรังซะมากกว่า = ="

ผมเข้าไปเห็นในเวป สปสช นะครับ เกี่ยวกับ

การโอนเงินงบประมาณกองทุนฟื้นฟูผู้พิการ แล้วเห็นหลาย ๆ รพ.ได้งบประมาณ ซึ่งผมก็อยากได้บ้าง ต้องจัดทำโครงการเขียนส่งยังไง ช่วงไหนเหรอครับ เพราะผมพยายามหาปฏิทินในช่วงการส่งของบประมาณของ สปสช แล้วยังหาไม่เจอ = ="

แต่ทาง รพ. กับ ผอ. ก็ดีมากเลยครับ ผอ. เป็นคนหางบเก่ง ช่วยผมหางบประมาณให้การจัดซื้ออุปกรณ์ = =" แต่ผมก็อยากช่วยทาง รพ. บ้าง อยากพัฒนา รพช. แห่งนี้นะครับ อยากหางบเข้า รพ. (อย่างค่ารักษาทางกายภาพบำบัด เราจะต้องลงอะไรยังไง อันนี้ผมก็ยังไม่ทราบเลยครับ = =")

เห็น รพช. อื่น ๆ ประเมิน HA ผ่านแล้วก็อดชื่นชมกับเค้าไม่ได้

ปล.ผมพึ่งมาทำได้เดือนเดียวครับ ยังไม่มีข้อมูลอะไรเลย กำลังว่าจะไปศึกษาดูงาน รพช.อื่น ๆ นะครับ ยังไงก็ขอรบกวน อนุเคราะห์ ข้อมูล ด้วยนะครับ

จักเป็นพระคุณอย่างสูง

ด้วยความเคารพ

ขอบคุณครับ

เรียน กภ.โชคุง

ก่อนอื่น ขอแจ้งว่าได้ส่งสื่อเกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ไปให้ทางไปรษณ๊ย์แล้วนะคะ

อยากให้โชคุง click ไปอ่าน post ที่ 72 เกี่ยวกับเรื่องค่าบริการทางกายภาพบำบัด พี่จิตราเขาได้ให้คำแนะนำไว้ และ post ที่ 206 เรื่องการขึ้นทะเบียนคนพิการ พี่สมใจได้ตอบไว้ อาจารย์เชื่อว่าคงพอมีคำตอบอยู่บ้าง

ส่วนเรื่องของบ สปสช.และสสส. สามารถทำได้โดยสปสช.เขตเขาก็มีงบให้เราเขียนขอโครงการดยตรงเหมือนกัน สสส.ก็สามารถเขียนได้ เพราะเขาสนับสนุนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพอยู่แล้ว แต่ก่อนจะเขียนโครงการอะไร เราต้องศึกษาบริบทของปัญหาสุขภาพที่เราต้องการแก้ไขให้ชัดเจน ควรมีการประสานงานหรือมีความร่วมมือกับคนในพื้นที่ที่ต้องการจะเข้าไปพัฒนาด้วย เพื่อให้เขาเห็นว่าเรามีความเข้าใจกับสิ่งที่เรากำลังจะทำ มีแนวทางที่น่าจะทำแล้วสำเร็จในช่วงเวลาที่ของบ ทำแล้วมีแนวทางการสานต่อเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ลองปรึกษาพี่ๆ PT ที่เขาเคยขอดูด้วยก็ดีนะ

ปนดา

เรียนคุณโชคุง

การเขียนโครงการของบสปสช.ไม่ยากค่ะ ต้องขึ้นอยู่ว่าเวลาที่เค้าจัดประชุมในเรื่องงานผู้พิการเราจะได้เข้าไปประชุมไหม หัวหน้าเราเห็นความสำคัญของงานเราไหม ถ้าขึ้นตรงกับผอ.หนังสือเข้าต่างๆจะมาที่เรา จะมีโครงการเรื่องฟื้นฟูสมรรถภาพ โครงการขาเทียม โครงการซ่อมรถเข็น โครงการทำรองเท้าในผู้ป่วยเบาหวานล่าสุดนี้สปสชให้คู่ละสี่พันบาทในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเท้า รองโทรไปสอบถามที่สปสชเขตดูนะคะ

ตอนนี้กำลังมีเรื่อง สับสน ว้าวุ่น ท้อแทใจยังไงไม่ทราบครับอาจารย์

อาจเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ระบบผู้อาวุโส และ ระบบอิทธิพลในโรงพยาบาล ค่อนข้างมีปํญหาสำหรับผมเลยทีเดียว

= ="

บางคนก็ยอมรับ บางคนก็ไม่ค่อยยอมรับ

อยากอธิบาย แต่ก็กลัวว่าจะกลายเป็นเราไปชวนเขาทะเลาะ ก็ได้แต่นิ่งเงียบ

อยากสู้ในบางเรื่อง แต่รู้่สึกว่า ถ้าพูดไปต้องไปผิดกับคนอีกเยอะ(ที่เราต้องร่วมงานด้วยในอนาคต)

ก็เลยได้แต่พยายามยอมรับสิ่งที่มันจะเป็นไป อะไรที่แซม ๆ ได้ผมคงแซม ๆ ไปนะครับ

ตอนนี้ปัญหามันอาจจะอยู่ที่ตัวผมเองก็ได้ที่ไม่ยอมมาเปิดใจพูดกับพี่ๆ ในแผนกนี้ เห้ออออ~ (ความจริงก็คุยกันแล้วล่ะครับ แต่เหมือนจะพูดกันคนละเรื่องเลย สุดขั้ว!!)

ปัญหาหนักใจเช่นนี้ ผมควรทำเช่นไรดี?

T0T

อ๋อ

ผมได้เอกสารแล้วนะครับ

ต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงเลยนะครับ

-/\-

ถ้าอาจารย์มีเรื่องไรให้ผมช่วยบอกได้ตลอดเลยค๊าบบ

^ ^

เรียนอาจารย์ดา หนูชื่ออรวรรณ เป็นศิษย์ ม.นเรศวร รหัส 46 ได้มาเปิดแผนกที่ รพ.สามเงา จ.ตาก

ตอนนี้เปิดมาได้ 2 ปีแล้ว ดีใจมากที่หนูสามารถทำได้ ตอนนี้มีเครื่องมือมากขึ้น HP,US,traction และกำลังจะได้ SWD

เพิ่งรับน้อง PT เพิ่มมาอีกคน ตอนนี้จึงมีน้องมาช่วยกันทำให้เค้ารู้จักนักกายภาพบำบัดมากขึ้น คนไข้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หนูทำงานรักษาเชิงรับที่แผนก เชิงรุกออกชุมชนทุกวันอังคาร พฤหัส และมีงานส่งเสริมสุขภาพ สอนออกกำลังกายต่างๆ

คนไข้เบาหวานก้ทำด้วยค่ะ ทั้งออกกำลังกาย สปาเท้า และม.ค. นี้ก็จะมีน้อง ม.น. มาฝึกงานด้วยค่ะ

ขอบคุณมากที่อาจารย์ทุกท่านได้อบรมสั่งสอน ให้ความรู้ จนเราสามารถนำความรู้มาช่วยเหลือคนได้อีกมาก

โชคุงครับ

ตอนนี้อาจารย์ยังไม่เข้าใจปัญหาของคุณหรอกนะ เพราะที่เล่ามายังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าทุกอย่างแก้ได้ด้วยปัญญา จะมีปัญญาได้เราก็ต้องมีสมาธิ ที่ทางพุทธท่านว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ลองทำใจให้ว่างๆ ทำสมาธิบ้าง บางทีปัญญาจะเกิด และทำให้เราแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีสิตและปัญญานะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ ถ้ามีอะไรจะเล่าก็เล่าได้นะ

ปนดา

ยินดีกับอรวรรณด้วยนะ ที่ทำได้สำเร็จ สามารถขยายงานและทำให้เกิดการจ้างงงานเพิ่มได้ อยากให้มีการพบปะกันระหว่างนักกายภาพบำบัดในจ.ตากอย่างน้อย 1-2 เดือนพอได้ไหมคะ จะได้มีอะไรช่วยเหลือกันได้บ้าง จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้

ขอบคุณที่จะรับน้อง PT มน.ไปฝึกงานนะคะ ฝากน้องๆด้วยนะ แล้วเข้ามาคุยกันบ่อยๆ นะ มีอะไรอยากให้ช่วยก็บอกได้

ปนดา

เรียน อ.ปนดาค่ะ ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ชื่อ กัญญามาศ นะคะ จบกายภาพบำบัดจาก ม.หัวเฉียวค่ะ รหัส 48

ตอนนนี้มาเปิดแผนกที่ รพ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ค่ะ หนูอยากเรียนปรึกษาอาจารย์และเพื่อนๆพี่ๆร่วมอุดมการณ์ทุกคนค่ะ

คือหนูมาทำงานได้เดือนกว่าแล้วค่ะ กำลังจะเข้าเดือนที่ 2 แล้วหนูเริ่มที่จะมีคนไข้แล้วค่ะอาจารย์ แต่หนูกำลังจะทำเรื่องขออนุมัติอัตราค่ารักษาพยาบาล หนูอยากจะรบกวนถามอาจารย์ค่ะว่าหนูควรจะเริ่มต้นอย่างไรดีคะ

อาทิตยา ชมภูนิมิตร

สวัสดีค่ะ

เป็นนักกายภาพบำบัด รพ.อุบลรัตน์ จขอนแก่นค่ะ

เห็นท่านอาจารย์น้อมจิตต์พูดถึง blog กายภาพบำบัดชุมชน

วันนี้ได้เข้ามาอ่านกระทู้ เห็นชาวกายภาพร่วมแลกเปลี่ยนกัน ให้กำลังใจกัน ก็ดีใจค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำ blog ด้วยนะค่ะ

น้องกัญญามาศ

ลองเปิดไป post ที่ 72 อ่านเรื่องค่ารักษาพยาบาลดูไปก่อนนะ พี่จิตราเขามีแนะนำไว้ ระหว่างนี้อาจารย์ได้นำคำถามไปให้ผู้รู้ช่วยตอบให้อยู่นะคะ รออีกนิดค่ะ

ขอบคุณน้องอาทิตยา ที่เข้ามาให้กำลังใจนะคะ เข้ามาทักทายกันบ่อยๆ หน่อยนะคะ

ปนดา

หนูต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ หนูอ่าน post ที่ 72 พอจะเข้าใจค่ะ พอดีหนูได้ข้อมูลจากพี่ PT รพ.จังหวัด และ รพ.ชุมชนหลายๆแห่งมาค่ะ อัตราค่ารักษาที่ตั้งขึ้นมาบางตัวก็เท่ากันแต่บางตัวก็ราคาแตกต่างกันมากเลยค่ะอาจารย์ เช่น Tapping รพ.ก ราคา 50 บาท แต่ รพ.ข 70 บาท รพ.ค 100 บาท

และก็ Chest PT ค่ะ รพ.ก คิดราคารวม 100 บาท ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

- Percussion

-Vibration

-Suction

แต่ รพ.ข คิดราคาแยกเลยค่ะ

- Percussion 100 บาท

-Vibration 100 บาท

-Suction 100 บาท

รวม 300 บาท

ประมาณนี้ค่ะ หนูเลยอยากจะรบกวนถามอาจารย์เพิ่มเติมค่ะ คือว่าราคาไหนที่เป็นราคากลางตาม ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคะ เพราะหนูลองค้นในเน็ทแล้วไม่เจอเลยค่ะ

ถึงน้องนักกายภาพบำบัดนาเชือก พี่แนะนำว่าการคิดค่ารักษาให้คิดตามราคาของกรมบัญชีกลางฉบับล่าสุด ถ้าไม่รู้จะไปหาที่ไหนลองไปถามหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลดูนะคะ

พี่จิตรา ส่งคำตอบเกี่ยวกับการคิดค่ารักษาทางกายภาพบำบัดมาให้แล้วนะคะ คิดว่าคงชัดเจนมากขึ้น ดังนี้ค่ะ

1. ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า "อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547"

(เล่มแดง) เป็นราคาขายของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่กรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้ซื้อบริการให้กับข้าราชการ/

ลูกจ้างประจำและครอบครัว ไม่จ่ายตามราคาขายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

กรมบัญชีกลางจ่ายตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดเอง ล่าสุดกรมบัญชีกลางจ่ายตาม "อัตราตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องอัตราค่าบริการ

สาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ" ที่ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549

ซึ่งไม่ได้กำหนดอัตราค่าบริการของกายภาพบำบัด ทั้งนี้รายการที่ไม่ได้กำหนด กรมบัญชีกลางอนุโลมให้จ่ายในอัตราที่สถานบริการเรียกเก็บในปี

2548

2. ทีนี้ การตั้งอัตราค่ารักษา แต่ละที่ตั้งไม่เหมือนกัน บางแห่งตามเล่มแดงของกระทรวง บางแห่งตามกรมบัญชีกลาง ซึ่งถ้าตามกรมบัญชีกลาง

ต้องใช้ที่ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 แต่เนื่องจากประกาศนี้ไม่มีค่าบริการทางกายภาพบำบัด บางแห่งก็ใช้ของกรมบัญชีกลาง

ที่ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 แทน

3. ขอให้เข้าใจว่า อัตราที่จะแจ้งต่อไปนี้ ถ้ามี "(สธ)" อยู่ท้ายหมายถึงอัตราของกระทรวงสาธารณสุขตามเล่มแดงปี 2547

ถ้ามี (กบก21) อยู่ท้าย หมายถึงอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดตามประกาศลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549

3.1 Chest PT 150 บาท (สธ)

การรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจ (Chest Therapy) 100 บาท/ครั้ง (กบก21)

อันนี้ ก็อยู่ที่จะตีความว่า จะคิดว่า ทำ Postural Drainage ครั้งละ 150 หรือ 100 บาท

ทำ Percussion ครั้งละ 150 หรือ 100 บาท

หรือว่า ทั้ง Postural Drainage และ Percussion รวมกันเป็นครั้งละ 150 หรือ 100 บาท

แต่โดยความเห็นส่วนตัว เข้าใจว่า ในการทำ Chest PT 1 ครั้ง ไม่ว่าจะทำอย่างไร คิด 150 หรือ 100 บาท/ครั้ง

ไม่แยกรายการย่อย

3.2 การพันเทป (Taping) (กบก21) 50 บาท/ครั้ง ของ สธ ไม่มีรายการพันเทป

จิตรา

เรียนอาจารย์ดา เมื่อ 16-17 ก.ย. 52 ได้ไปสัมนาเครือข่ายกายภาพบำบัด ที่สปสช.เขต 2 พิษณุโลกจัดขึ้น ได้มีการพบปะกัน

และจะร่วมมือกันพัฒนางานกายภาพ โดยเค้าเน้นให้ทำงานเป็นทีมภายในจังหวัดเดียวกัน ต่อไปมีปัญหาอะไรก็จะปรึกษากันค่ะ

มีน้อง เพิ่งไปเปิดแผนกที่พบพระ แม่ระมาด ก็มีการสื่อสารกันดี มาดูงานที่ รพ.สามเงา รพ.บ้านตาก คิดว่าต่อไปงานกายภาพน่าจะพัฒนามากขึ้นค่ะ

ผมทำงานงบ สปสช.ปีที่ 3 ของโคราช มีความยินที่จะขยายโอกาสต่อไป โทร.086-904-2962

เรียน กภ.นาเชือก และผู้ที่สนใจทุกท่าน

มีเอกสารเกี่ยวกับค่ารักษาบริการ ของรพ.ขอนแก่น ใครอยากได้ไปดูเป็นตัวอย่างก็บอกได้เด้อพีน้อง บอก email มาจะส่งให้เด้อค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร

- วันนี้มีการประชุมสอนการเขียนแผนยุทธศาสตร์งงมากมายเลยครับ

- พี่ รพช.สองท่านแนะนำให้ทางสภาทำหนังสือเวียนแจ้งคำนำหน้าชื่อ เพราะบ้างแห่งยังไม่ทราบและให้งานบุคลลากรได้เปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล

- ขอเวลาอีกสักสองปี แล้วอาจารย์อย่าลืมส่งน้องมาฝึกงานกะผมและเพื่อนจบใหม่นะครับ อุบลเด้อพี่น้อง

- เมื่อวันศุกร์ได้จัดโครงการนำร่องการทดสอบสมรรถภาพผูสูงอายุ โดยพี่ๆจาก รพ.สปส อุบล มาช่วย สนุกมากเลยครับผู้เฒ่าผู้แกก้อเฮฮาดี

- การเบิกจ่ายกายอุปกรณ์นอกจากผู้พิการแล้วUCในเราสามารถเบิกจ่ายให้ได้หรือป่าวครับ

การเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ UCในเราสามารถเบิกจ่ายให้ได้ ตามระเบียบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบ 2552

หมวด 8 วัสดุ/อุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

นักกายภาพบำบัด รพ.นาเชือก

ขอบคุณพี่ PT ขอนแก่นนะคะ และขอบคุณอาจารย์ค่ะ

รบกวนอาจารย์ส่งข้อมูลให้หนูที่ [email protected]

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขอบคุณ กภ.บ้านหมี่มากนะครับที่ช่วยไขข้อสังสัย

เรียน อ. ปนดา ค่ะ

หนูชื่อ หฤทัย นาเมืองรักษ์ ค่ะพึ่งจบการศึกษาPT จาก

มหาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชค่ะ ที่ผ่านมานี่เองค่ะ

ตอนนี้ทำงานเป็น PT อยู่ รพช.ไทยเจริญ จ.ยโสธร รบกวนอาจารย์ช่วยส่ง

"PT ในผู้ป่วยสูบบุหรี่และราคากลางรักษาPT

ของพี่ รพ.ขอนแก่นให้ด้วยค่ะที่ [email protected]

หรือที่ โรงพยาบาลไทยเจริญ ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ

จังหวัดยโสธร 35120

***ขอบพระคุณมากค่ะ****

สวัสดีครับอาจารย์ปนดา และก็สวัสดีพี่ๆกายภาพบำบัดทุกคนนะครับ ผมชื่อไตรทศนะครับ เป็นนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่4

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ ผมรู้สึกยินดีมากๆ ที่มีโอกาสเข้ามาที่เว็บนี้ ตอนแรกผมลองนั่งพิมพ์คำว่า กายภาพบำบัดชุมชนในกูเกิล

ก็เลยเจอเว็บบล๊อกนี้ ลองอ่านดู โอ้โห พี่ๆทุกคนดูรักกับงานชุมชนมากๆ อาจารย์ปนดาก็น่ารักมากๆตอบคำถามตลอดเลย ถึงแม้ว่าจะ

ตอบไม่ได้ก็ยังกรุณาถามผู้อื่นให้ อาจารย์ใจดีมากครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไฝ่ฝันว่าจบมาจะอุทิศตนทำงานเพื่อชุมชน

ครับ เพราะเวลาผมไปออกค่ายอาสาต่างๆ ผมเห็นว่าชาวบ้านที่อยู่อำเภอนอกๆ นี้เวลาเจ็บป่วยทีลำบากมากเลยครับ ต้องเดินทางไกล

มากๆ เก็บเงินเยอะมากๆกว่าจะมาใช้บริการสาธารณสุขได้ บางคนหลังจากออกโรงพยาบาลไปแล้วก็ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง

บางคนกลับไปก็นอนอยู่เฉยๆจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เกิดภาวะต่างๆตามมามากมายโดยเฉพาะคุณภาพชีวิต ผมเคยไปเจอในเว็บมี

คนให้คำนิยามของกายภาพบำบัดว่า นิยามว่า "วิชาชีพแพทย์นั้นทำงานเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษย์ แต่วิชาชีพ

กายภาพบำบัดเราไม่ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของเขา แต่เราทำงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคน โรคบางอย่าง

หมออาจช่วยให้คนไข้รอดตายแต่คุณภาพชีวิตหลังจากนั้นอยู่ในกำมือ ของเรา ถ้าเราทำงานพลาดนั้นหมายถึงคนไข้จะต้องทนทุกข์

ทรมานกับความผิดปกตินั้นไป" ข้อความนี้เองทำให้ผมเชื่อมั่นในตัวเองและศรัทธาในวิชาชีพมากๆครับ อีกไม่กี่เดือนผมก็จะเรียนจบ

แล้ว ผมต้องไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนให้ได้แน่นอนครับ

สวัสดีครับ รศ.ปนดา และเพื่อนๆ กายภาพบำบัดชุมชนทุกท่านนะครับ

ไม่ได้เข้ามานานเลย เพราะช่วงนี้ผมไปอบรมบ่อย งานก็เริ่มยุ่ง ๆ

เริ่มมีเคสเข้ามาบ้าง(วันละสี่เคส-สิบเคส)

^ ^

อาจารย์ครับ

ผมมีข้อสงสัยเรื่องหนึ่งจะมาถามครับ

เรื่องตรวจเท้า และแนะนำรองเท้า สรุปว่า เป็นหน้าที่ของเราหรือพยาบาลครับ

เพราะเพื่อนบอกว่าเป็นหน้าที่ของพยาบาลผมเลยไม่กล้าไปล่วงเกินตรงนี้

คนพิการผมก็ยังไม่สามารถดึงโครงการมาได้เพราะพยาบาลกำลังทำอยู่

ตอนนี้ที่ทำก็มี COPD วอร์ดใน วอร์ดนอก แล้วก็งานอื่นๆ บ้าง

สุดท้ายนี้ก็ใกล้ปลายฝนต้นหนาวแล้วนะครับ

ก็อยากให้ทุกท่านดูแลสุขภาพกัน ขอให้สุขภาพแข็งแรงน๊าค๊าบ

สวัสดีค่ะทุกคน

ดีใจมากที่มีสมาชิกใหม่ๆ เข้ามาแนะนำตัวใน blog นี้มากขึ้น คิดว่า blog นี้น่าจะพอเป็นแหล่งเรียนรู้ของพวกเราชาว PT ชุมชนได้มาก เพราะอยากรู้อะไรก็หาอ่านได้ หรือ ถ้าไม่มีใน blog ก็ขอได้ จะพยายามจัดหาให้ หรือ ติดต่อ เชื่อมโยงผ่าน experts ให้

สำหรับ ราคาค่าบริการทาง PT ก็มีผู้สนใจขอเข้ามาเยอะ กำลังคิดว่าจะจัดไว้ให้ download บน web สภาฯ ใครอยากได้จะได้ไป download ได้เลย แต่ณ ตอนนี้ก็ส่งโดยตรงถึง e-mail ไปก่อน

เรื่องเอกสารบุหรี่มีใครอยากได้อีกไหม จะส่งไปให้ เพราะอาจารย์รอให้มีหลายๆ คนก่อนค่อยไปไปรษณีย์เสียที จะได้คุ้มกับการเดินทางหน่อย

ดีใจกับน้องไตรทศด้วยนะคะ ที่เห็นการทำงานในชุมชนเป็นงานที่น่าสนใจ เข้ามาเยี่ยมใน blog นี้บ่อยๆ นะคะ จะได้เรียนรู้จากพี่ๆ เขาไปล่วงหน้า อนาคตสดใสแน่นอน

มีเรื่องประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 16ต.ค.นี้ ทางสภาฯจะนัดคณะทำงานเพื่อหาผลงานทางกายภาพบำบัดไปนำเสนอที่งาน HA Forum ครั้งที่ 11 ในเดือนมีนาคม 2010 แต่เราต้องการเรื่องภายในเดือนพ.ย.นี้ ใครมีเรื่องที่แสดงให้เห็นผลสำเร็จของงานพัฒนาคุณภาพบริการกายภาพบำบัด โดย concept ในปีนี้ คือ การพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน (flexible & sustainable development) ใครมีอะไรดีๆ ที่อยากไปนำเสนอก็ส่งผ่านมายังอาจารย์ เล่าคร่าวๆใน blog นี้ก่อนก็ได้ แล้วจะช่วยนำเสนอสภาฯให้

สำหรับคำตอบของโชคุง เกี่ยวกับเรื่องบทบาทของพยาบาลกับกายภาพบำบัดในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ในความเห็นของอาจารย์ คิดว่าการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานควรเป็นแบบสหสาขาวิชาชีพ เราช่วยกันดูแลได้ โดยแต่ละวิชาชีพอาจเน้นการดูแลที่สอดคล้องกับบทบาทของตนเอง เช่น พยาบาลเขาอาจจะตรวจเท้า เพื่อดูทางด้าน hygeine ดูว่ามีแผลหรือมีการติดเชื้อหรือไม่ บางทีไม่มีแผลแต่ติดเชื้อได้ เช่นเชื้อราตามซอกนิ้วเท้า มีบริเวณใดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล หรือปัญหาเรื่อง poor circulation หรือไม่ แต่ทางกายภาพบำบัด เราก็ต้องตรวจเท้าด้วย แต่การตรวจและการดูแลเราอาจไปเน้นการแก้ปัญหาโดยใช้หลักทาง biomechanic มาช่วยในการวิเคราะหฺปัญหาและแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย ร่วมกับพยาบาล ซึ่งเขาอาจจะไม่ค่อยเน้นในเรื่องนี้ การ design รองเท้า เราก็ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยทางด้าน pathobiomechanic ด้วยว่าผป.มีปัญหาอย่างไร จะแก้ไขได้อย่างไร ทางด้านการออกกำลังกายเพื่อลดปัญหาเรื่องเท้าของผป.เบาหวาน จะทำอะไรเพื่อเป้าหมายอะไร เราก็ต้องตรวจก่อนเราจึงจะให้การดูแลได้ เช่นเดียวกับพยาบาลนั่นแหล่ะ ไม่ทราบว่าตอบคำถามของโชคุงไหม อาจารย์คิดว่าเราต้องเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางแล้วคิดว่าเราจะมีส่วนช่วยกันทำให้การดูแลเขาดีขึ้นได้อย่างไร ถ้าพยาบาลเขาทำอยู่แล้ว แล้วเขาทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร เราจะช่วยเพิ่มเติมในส่วนไหน อย่างไร ก็น่าจะไม่ซ้ำซ้อน และเสริมสร้างการทำงานให้มีคุณภาพมากขึ้นได้นะ

ปนดา

สวัสดีครับ อาจารย์และก็พี่ๆทุกคนนะครับ คือผมมีเรื่องสงสัยจะถามครับ คือว่าผมเคยฟังคุณหมอคนนึงมาบรรยายเรื่องกายภาพบำบัดในชุมชน ซึ่งตอนนั้นผมอยู่ปีสอง เขาบอกว่าวิชาชีพเราเป็นวิชาชีพที่ดีมากๆ มีความรู้กว้างขวาง สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้มาก แต่คนไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งคุณหมอคนนั้นได้บอกว่าสาเหตุที่ทำให้วิชาชีพกายภาพบำบัดนั้นไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าที่ควร แม้แต่บุคลาการในวงการแพทย์เอง เขาบอกว่าวิชาชีพเราไม่ค่อยจะแสดงตนว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้าง มีข้อดีอย่างไรถ้าทำกายภาพบำบัด เป็นต้น ผมเลยอยากถามอาจารย์และพี่ๆว่า วิชาชีพเราไม่เป็นที่รู้จัก เพราะเราไม่แสดงบทบาทหรือศักยภาพที่ชัดเจนจริงหรือไม่ครับ แล้วถ้าจริง ทางผู้ใหญ่ของสภา หรือตัวนักกายภาพบำบัดเองเขาได้แก้ปัญหาเรื่องนี้หรือไม่ครับ

อีกคำถามนึงนะครับ ว่าถ้าวิชาชีพเราตอนก่อนเรียนมีการทำสัญญา(ใช้ทุนหลังเรียนจบ) เหมือนกับคณะอื่นๆทางสายสุขภาพ จะช่วยแก้ปัญหาจำนวนนักกายภาพบำบัดไม่เพียงพอได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณมากๆนะครับ

ปล. ตอนนี้ในหลวงกำลังทรงพระประชวร และข่าวออกว่ามีทำกายภาพบำบัดทางทรวงอกด้วย มีพี่ๆคนไหนพอจะทราบไหมครับว่านักกายภาพบำบัดคนไหนมีบุญวาสนาได้ทำกายภาพบำบัดถวายในหลวงครับ +_+

ขอแลกเปลี่ยนความคิดการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แม้จะรู้จักกับคนโซคุงเปงการส่วนตัวแล้ว แต่การโพสจะช่วยให้ กภ.ท่านอื่นได้อ่านไปหลายๆคน ตอนนี้กะลังอยู่ในช่วงเขียนแผนปีงบประมาณ ผมจะทำโครงการรองเท้าในคนไข้เบาหวานด้วย ซึ่งน่าจะได้รับการตอบรับเปงอยากดีและทำให้ กภ.แสดงจุดเด่นได้อีกงานหนึ่ง ขอเพิ่มเติมการตรวจเท้าจาก อ.กภญ.ปนดา ว่ามีเครื่องที่เรียกว่า phodoscope เปงกระจกส่องเท้าหลักการทำง่ายๆ จะช่วยตรวจการลงนำหนักเท้าที่ผิดปกติ เพื่อช่วยในการวางแผนการออกแบบรองเท้าช่วยลดแรงกดได้ ปีงบหน้าไม่น่าจะเกินเดือน พย.นี้จะจัดประชุมวิชาการกายภาพบำบัดในเบาหวาน ที่รพ.เขื่องใน จากวิทยาการที่เชี่ยวชาญด้านนี้ ท่านใดสนใจก้อแสดงความจำนงได้ แล้วจะแจ้งอีกครั้งหากทราบวันและเวลาที่แน่นอน

ขอเล่าโครงการสร้างสเริมสมรรถภาพในผู้สูงอายุครับ

เปงโครงการได้ได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายกายภาพบำบัดอุบลราชธานี โดยมีการทดสอบสมรรถภาพการทำกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ และให้โปรแกรมการเพิ่มสมรรถภาพในด้านที่คนๆนั้นๆมีปัญหา เปงการทดสอบง่ายๆสามารถฝึก อสม.ช่วยได้แต่การแปลผลควรเปงน่าที่ กภ. ซึ่งการจัดครั้งนี้เปงเพียงนำร่องมีผู้เข้าทดสอบ 96 พบว่าคนที่ เขื่องใน มีปัญหาความทนทานมากที่สุด และรองคือความคล่องตัว ส่วนด้านอื่นๆปกติเปงส่วนมากแต่ก้อมีกลุ่มที่ผิดติเช่นกันแต่ไม่มากเท่าสองด้านแรก ผู้สูงอายุชอบใจมากร้อยละความพึงพอใจ95 พี่น้อยชมด้วยว่าสุดยอด ปลื้มและมีกำลังใจทำงานสุดๆ ไม่ทราบว่าโครงการนนี้จะได้ไหมเพราะไม่มีการทำ post เพียงแต่ทำให้ ผอ.เหนว่าเราทำได้และมีประโยชน์ และเปงโครงการที่ รพ.สปส.คิดให้อีกที เล่าให้ทรายโดยทั่วกัน ครายอยากได้แนวคิด แบบทดสอบ การแปลผล ภาพกิจกรรม ตัวอย่างโครงการ ติดต่อได้นะครับ ฝากเมลล์ไว้

สวัสดีคะ แวะมาอ่านหาความรู้คะ

สวัสดีคะ

เป็น PT บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ลงชุมชนมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เคยเขียนโครงการด้านลงชุมชนจริงจังซักที สนใจโครงการสร้างเสริมสมรรถภาพผู้สูงอายุมาก รบกวนส่งมา ที่ [email protected]

ขอบคุณคะ

ตอบน้องไตรทศ

ถ้าพูดถึงปัญหาเรื่องคนไม่รู้จักกายภาพบำบัดเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อาจจะใช่ แต่ณ ปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปรู้จักกายภาพบำบัดผมากขึ้น แต่อาจจะยังไม่เข้าใจบทบาทงานกายภาพบำบัดได้อย่างครอบคลุมเท่าที่เราอยากให้เป็น โดยเฉพาะในชนบท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจำนวนนักกายภาพบำบัดที่มีอยู่ในปัจจุบันยังน้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับประชากรทั้งประเทศ ไม่เหมือนพยาบาลที่มีอยู่มากกว่ามาก ในชุมชนชนบทยิ่งมีจำนวนนักกายภาพบำบัดน้อยมาก เรายังขาดแคลนนักกายภาพบำบัดอยู่มาก ผลิตไม่ทันความต้องการ เรื่องการให้ทุนนักศึกษากายภาพก็กำลังจะมีความเป็นไปได้ เพราะสภากายภาพฯกำลังทำงานเรื่องนี้ร่วมกับ สปสช.อยู่ค่ะ

เราอย่าไปกังวลเรื่องไม่มีใครรู้จักวิชาชีพเรา แค่เท่าที่ทำอยู่นี้เราก็ทำงานกันหนักมากแล้ว ผู้ป่วยมีเยอะมาก ทั้งเชิงรุกและรับ นี้ขนาดเขายังไม่ค่อยรู้จักเรา ยิ่งตอนนี้กายภาพบำบัดถูกประกาศในทีวีทุกวัน คนคงรู้จักกายภาพบำบัดมากขึ้นมาก

ปนดา

ยินดีกับคุณกิตติด้วยนะ และขอชื่นชมในผลงานค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อ. ดา กมลทิพย์นะคะ ทำงานอยู่น้ำพองขอนแก่นค่ะ ได้อ่านข้อความแล้วอยากจะแลกเปลี่ยนนิดนึงค่ะ ที่ขอนแก่นตอนนี้กำลังมีการสนใจเรื่อง เท้าผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก รพ น้ำพองเอง ก็มีการใช้เครื่องมือ phodoscope มาช่วยในการตรวจเท้าผู้ป่วย และหน่วยงานกายภาพบำบัดเป็นส่วนที่สั่งจ่ายรองเท้าเอง โดยการคัดกรองจนถึงการจ่ายรองเท้า งานกายภาพบำบัดเป็นคนดูแลทั้งหมด และมีการทำงานในชุมชน โดยออกไปเยื่ยมชุมชน ทั้ง ผู้ป่วย CVA และผู้ป่วยเบาหวานไปพร้อมกัน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ป่วยและญาติเอง มีเรื่องจะสอบถาม อ. ค่ะ กำลังขึ้นปีงบใหม่มีเพื่อนถามหาแผนยุทธศาสตร์ในหน่วยงานค่ะ อ. พอจะมีตัวอย่าง ตัวชี้วัดบ้างไหมค่ะ จะได้นำมาศึกษาน่ะคะ

ขอบคุณค่ะ

กมลทิพย์

ไม่เกี่ยวกับกายภาพชุมชนนะคะ

แต่ขอเรียนปรึกษาอ. ดา คะ

เข้าเวปสภาไม่ได้นานแล้ว

ทราบว่าหลายๆคนมีปัญหาในการเข้าเวปสภา

(ทำตามคำแนะนำแล้วคะ)

ส่งโฌครงการไปให้ กภ.บ้านหมี่แล้วนะครับ

สวัสดีค่ะ นักกายภาพบำบัด รพช.ทุกท่าน

นักกายภาพบำบัด รพ.นาเชือก

สวัสดีค่ะ อ.ปนดา หนูได้รับเมลล์อัตราค่ารักษาเรียบร้อยแล้วค่ะ

หนูอยากได้เอกสารบุหรี่ค่ะ

รบกวรอาจารย์ส่งให้หนูที่ รพ.นาเชือก ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170 ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

และอยากรบกวนขอตัวอย่างโครงการของคุณ กภ.กิตติ ด้วยค่ะ จะได้นำไปเป็นแนวทางการเขียน

e-mail นะคะ [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ อ. ปนดา

หนูเพิ่งเป็น PT ที่โรงพยาบาลชุมชนได้ 6 เดือนค่ะ

ตอนนี้พี่เค้าให้ร่วมทีมดูแลผู้ป่วยหลายกลุ่มทั้ง DM,HT,สตรีตั้งครรภ์ และในผู้ป่วยที่เลิกเหล้าและบุหรี่ด้วยค่ะ

สนใจเอกสารเกี่ยวกับกายภาพบำบัดในผู้สูบบุหรี่ รบกวนอาจารย์ ส่งให้หนูด้วยอีกคนนะคะ

ที่ รพ. ไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร 62150 ค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

และรบกวนคุณ กภ.กิตติ

เรื่อง โครงการในผู้ป่วยเบาหวาน และโครงการในผู้สูงอายุ ต้องขอคำแนะนำด้วยนะคะ และถ้าหากได้ตัวอย่างมาเป็นแนวทางในการเขียน จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

e-mail นะคะ [email protected]

ยินดีค่ะ จะส่งไปให้ภายในสัปดาห์นี้ ยังจะมีใครอยากได้อีกไหมคะ ช่วยรีบบอกมาในช่วงนี้นะ ถ้าเลยสัปดาห์นี้ไป ก็ต้องรอส่งงวดหน้า อาจารย์จะส่งหนังสือกายภาพบำบัดกับพิษภัยบุหรี่ให้ด้วย มีสติ๊กเกอร์ของกายภาพบำบัดกับบการลดบุหรี่ด้วย พร้อม CD power point

ปนดา

เรียนคุณกิตติ

ช่วยส่งโครงการให้อาจารย์ด้วยได้ไหม ที่ [email protected]

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.กภญ.ปนดา

กภญ.ปัทมา และ กภ.นาเชือก

ผมได้จัดส่งโครงการผู้สูงอายุให้แล้วนะครับ ส่วนเบาหวานอยู่ระวังการเสนอแผนครับ อดใจรออีกนิดนะครับ อีกกึดเดียว

ขอบคุณคุณกิตติมากนะคะ รวดเร็วทันใจดีจริงๆ

การเขียนโครงการเป็นทักษะที่สำคัญของชาว PT ชุมชนนะคะ ถ้ามีตัวอย่างดี ๆ จะช่วยเป็นแนวทางให้คนอื่นได้เป็นอย่างดีค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.กภญ.ปนดา

ดิฉันได้สนอโครงการให้ผู้อำนวยการขอเปิดแผนก และตอนนี้ทางโรงพยาบาลได้สนใจที่จะเปิดแผนกกายภาพบำบัด อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำแนวทางการดำเดินงานในหน่อย และอยากจะของอัตราค่าบริการ โครงการในผู้ป่วยเบาหวาน และโครงการในผู้สูงอายุ ส่งมาที่ [email protected]

เรียน รศ.กภญ.ปนดา ผมเคยได้รับสื่อเปงสปอตวิทยุเกี่ยวกับบุหรี่แต่ยังไม่ได้ พาเวอร์พอย ซีดีและหนังสือเลยครับ

รบกวนอาจารย์ส่งให้หน่อยครับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

งานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน

83 ถนนแจ้งสนิท ต.เขื่องใน 34150

(จิงหรือป่าวที่ยังมีคนเข้าใจว่ากายภาพบำบัดไปนวดให้ในหลวง)

เรียนคุณ กภ. กิตติ

ดิฉันได้รับโครงการผู้สูงอายุแล้ว ขอบคุณมากค่ะ

เสนอยุทธศาสตร์สร้างความเข้มเข้มและศักยภาพของกายภาพบำบัดชุมชน

๑.สร้างความภาคภูมิในวิชาชีพตั้งแต่เริ่มรับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยการใช้คำนำหน้าชื่อ และการใช้คำดังกล่าวแทนตัวนักกายภาพบำบัด

๒. ผลักดันทางกระทรวงศึกษาธิการให้จัดให้มีคำว่า กายภาพบำบัด ในหนังสือเรียนหลักศูตรภาคบังคับ เพื่อเด็กไทยจะได้รู้จักและคุ้นเคยคำว่ากายภาพบำบัด รวมทั้งเข้าใจและความสำคัญบทบาทของวิชาชีพนี้

๓. ร่วมกันวางแนวทางและวิธีการ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นตำในการดูแลผู้ป่วยแต่ละโรค สิ่งที่นักกายภาพบำบัดทุกคนต้องทำได้ ความรู้และสิ่งที่ผู้ป่ยควรได้รับจากนักกายภาพบำบัด

๔. ควรเปิดเวทีนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ จากการทำงานแต่ละแห่งมาเผยแพร่กับผู้ร่วมวิชาชีพซึ่งจะทำให้ความรู้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชนก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น

๕.สร้างแผนกกายภาพบำบัดให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยนำสิ่งที่ปฏิบัติและความรู้มาทบทวนร่วมกันพร้อมกับว่างมาตรฐาน ทั้งนี้อาจมีการอบรมแบบ workshop ให้ความรู้เริ่มจากพื้นฐานแล้วก้าวสู่การประยุกต์ เพื่อพัฒนาเปงแผล่งฝึกที่ได้มาตรฐานที่เท่าเทียมกันสำหรับรองรับนิศิตนักศึกษา การนำความรู้มาร่วมเสวนากันจะทำให้นักกายภาพบำบัดที่สนใจเข้ามาทำงานด้านกายภาพบำบัดชุมชน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

นักกายภาพบำบัด นาเชือก

ขอบคุณนะคะคุณกิตติ ดิฉันได้รับโครงการแล้วค่ะ

พึ่งทราบว่าคุณกิตติอยู่ที่ รพ.เขื่องใน พอดีดิฉันก็มีเพื่อนเป็น PT ที่อยู่ จ.อุบลเหมือนกัน

คาดว่าคุณกิตติน่าจะรู้จัก กภ.นาจหลวย กภ.โขงเจียม

เรียน กภญ.นาเชือก

ยังมี กภญ.สุกัญญา รพ.พิบูรณ์ และ กภญ.ชุลีพร รพ.โพธิ์ไทร ต่างก้อเปงเดกมอหัวเฉียวนะ

ขอบคุณครับอาจารย์

ผมจะตั้งใจเรียนและออกมาเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดีครับ

วันที่19 ตุลานี้ ผมก็จะไปฝึกงานที่ รพ แม่สอดแล้วครับ ตื่นเต้นๆ

เรียน คุณ กิตติ

พอดีว่าเราก็ ได้มารับผิดชอบงานผู้สูงอายุเหมือนกัน เป็นลักษณะงานคลินิกนะและ

ก็เคยเข้าร่วมโครงการทดสอบสมรรถภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลยโสธรด้วยโดยมี

พี่ กภ.จาก รพ.สปส.อุบล มาให้คำแนะนำ กิจกรรมสนุกสนาน ผู้สูงอายุก็สนใจให้ความร่วมมือดีมาก

น่าสนใจมากเลย งั้นรบกวนช่วยส่งตัวอย่างโครงการให้หน่อยได้มั้ยคะ

รบกวน อ. ดา

ขอหนังสือหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกายภาพบำบัดกับพิษภัยบุหรี่ [email protected]

เพราะไม่เคยเข้าอบรมหรือประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

นักกายภาพบำบัดนาเชือก

ตอบคุณกิตตินะคะ ใช่แล้วค่ะ สุกัญญา กับชุลีพรก็เป็นเพื่อนกันค่ะ

โครงการของคุณกิตติมีประโยชน์มากเลยค่ะ

ใช้เป็นตัวอย่างและแนวทางในการเขียนโครงการ

ขอบคุณมากเลยนะคะ

เรียนกภ[email protected]

ช่วยกรุณาให้เป็นที่อยู่ทางไปรษรีย์นะคะ ทาง email ส่งหนังสือให้ไม่ได้ค่ะ ถ้าจะส่งที่อยู่ให้ทาง mail ของอาจารย์ก็ได้ค่ะ [email protected]

สำหรับท่านที่ขอมาก่อนหน้านี้ แล้วยังไม่ได้รับ ต้องขอโทษด้วยนะคะที่ยังไม่ได้ส่งให้ แต่สัญญาว่าจะส่งให้แน่นอนค่ะ แต่ช้าหน่อยนะคะ เพราะช่วงนี้อาจารย์ยุ่งมากคุณแม่ไม่ค่อยสบาย แล้วก็กำลังเตรียมตัวสอบอยู่ค่ะ ขอให้ผ่านช่วงวุ่นๆนี้ไปอีกนิดนะคะ

ปนดา

เรียน ทุกท่าน

ดิฉันได้รับมอบหมายให้สอนออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ การเตรียมตัวคลอด การหายใจในขณะคลอดและออกกำลังกายในสตรีหลังคลอดของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง แต่ยังขาดประสบการณ์ในการกำหนดโปรแกรมออกกำลังกายให้เหมาะสม อยากขอรบกวน หากท่านใดมีประสบการณ์เกี่ยวกับการอบรมหรือทำโครงการเกี่ยวกับกายภาพบำบัดในสตรีตั้งครรภ์ หรือมีสื่อประกอบการสอนที่น่าสนใจ รบกวนแนะนำดิฉันบ้างนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

e-mail: [email protected]

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

เรียน อ. ปนดา

หนูส่งแรงใจช่วยเต็มที่ค่ะ ขออำนาจพระรัตนตรัยคุ้มครอง อำนวยพรให้อ.และครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

เรียน กภญ.หฤทัย กรุณาฝาก e-mail ไว้ให้หน่อยนะครับ หรือแอดมาขอโครงการต่างๆได้ที่ [email protected]

ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัดที่รพ.จุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ค่ะ ปัจจุบันโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง จำนวน 100 เตียง ปัจจุบันโรงพยาบาลเริ่มเปิดรับมีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการในระดับหนึ่งค่ะ มีนักกายภาพคนเดียว และในช่วงนี้รพ.จะเริ่มมีการทำงานด้านคุณภาพ (HA) ซึ่งดิฉันมีประสบการณ์น้อยมากค่ะ และต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดด้านกายภาพบำบัด (KPI) ซึ่งดิฉันยังไม่มีความรู้ทางด้านนี้ อยากขอความกรุณาพี่ ๆ ร่วมวิชาชีพแนะนำความรู้ด้านนี้ด้วยค่ะ ดิฉันอยากทราบว่าควรต้องเริ่มอย่างไรคะ กรุณาติดต่อทาง email ด้วยค่ะ [email protected] ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ปนดาเป็นอย่างสูงค่ะ

เอกสารที่อาจารย์ส่งให้หนูได้รับเรียบร้อยแล้วค่ะ

หนูจะนำเอกสารที่อาจารย์ส่งให้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนไข้ให้มากที่สุดเลยค่ะ

ขอโทษนะครับ ผมขอแวะมาปรึกษาครับ เนื่องจากที่บ้าน คุณพ่อป่วยด้วยอาการแขนขาข้างขวามีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก โดยแพทย์ได้แจ้งว่า เกิดมาจากสมองซีกซ้ายขาดเลือด ขณะนี้อยู่ในช่วงกายภาพบำบัด จึงอยากขอ

สอบถามครับ มีนักกายภาพผู้ป่วยอาการลักษณะนี้มั๊ยครับ ซึ่งสามารถที่จะเดินทางมากายภาพให้ที่บ้านมั๊ยครับ / ขอบคุณครับ 089-7723484 บ้านผมอยู่ที่ ต.หนองขอน จ.อุบลฯ (ทางไป จ.ยโสธร)

เรียนคุณ ปริญญา

นักกายภาพบำบัดสามารถให้การรักษาและฟื้นฟูโรคทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยอัมพาฒสามารถรับการฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัดทุกท่าน หากสนใจทำงานกายภาพบำบัดสามารถมารับบริการที่ รพ.เขื่องใน จ.อุบล ทางไปยโสธรครับ

เรียน รศ.กภญ.ปนดา

ผมได้รับสื่อเรื่องบุหรี่แล้วนะครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะครับ

เรียน กภ.ปัทมา

ที่รพ. เราก็สอนออกกำลังกายของหญิงทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด

ไม่ทราบว่ามีใครแจกสื่อหรือแนวทางการออกกำลังกายในสตรีมีครรภ์ไปบ้างหรือยัง

พอดีเรามีสื่อแต่เป็น power point ติดต่อทางอีเมลล์นะคะ

[email protected]

เรียน อ. ปนดา

หนูได้รับเอกสารเกี่ยวกับกายภาพบำบัด & บุหรี่ที่อ.ส่งมาให้แล้วนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

และขอขอบคุณมากนะคะ คุณ กภ.โขงเจียม สำหรับสื่อการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์

ดิฉันได้รับอีเมลจากคุณเป็นที่แรกน่ะค่ะ

ตอนนี้ยังดาวน์โหลดอยู่เลย

แล้วจะนำมาศึกษาแล้วเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปค่ะ

ขอขอบคุณอีกครั้งนะคะ

ปัทมา..

สวัสดีคะ อ.ดาหนูเป็นศิษย์เก่ามน.รุ่น 5 นะคะไม่แน่ใจว่าอ.จำได้ไหม ตอนนี้ทำงานรพช.ในจังหวัดบ้านเกิดค่ะ

ขณะนี้เริ่มออกชุมชนบ้างแล้ว ส่วนใหญ่เป็นในเขตตำบลที่รพช.รับผิดชอบ

แล้วอยากที่จะออกต่างตำบลด้วยในอนาคตอันใกล้นี้ จึงอยากเรียนถามอ. และผู้ทราบข้อมูลว่าเราจำเป็นต้องเสนอโครงการก่อนมั้ย

และถ้าต้องเสนอโครงการอยากขอตัวอย่างดูบ้างนะค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ[email protected]

ยินดีค่ะ ถ้าสามารถช่วยอะไรได้ จะช่วยๆกันนะคะ เพื่อ PT ชุมชนค่ะ สู้ๆ

สวัสดีค่ะ PT ชุมชนทุกท่าน ทุกท่านคงได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับงบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการซึ่งปี2553 เปลี่ยนเป็นงบฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แล้วนั้น ดิฉันต้องการทราบว่ามีโรงพยาบาลใหนที่ยังไม่ทราบเรื่องงบนี้บ้าง เราต้องรักษาสิทธิ์นี้นะคะเพราะสปสช.ให้งบเหมาจ่ายแบบมีเงื่อนไขซึ่งในเงื่อนไขนั้นระบุชัดเจนว่าโรงพยาบาลใหนไม่มีนักกายภาพหรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกิจกรรมบำบัดอยุ่จะไม่ได้งบส่วนนี้ ใครยังไม่ทราบเรื่องงบให้ไปดูกับฝ่ายประกันของโรงพยาบาลนะคะจะมีหนังสือเล่นใหญ่ๆของสปสช.ไปศึกษาดูนะคะ สำหรับท่านที่ทราบแล้วดิฉันอยากทราบว่าเสนอโครงการไรกันบ้าง หรือถูกคนอื่นกีดกันหรือไม่ประการใด ส่วนของจังหวัดอุบลเราทำโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้วท่านใดสนใจก็ขอมาได้ค่ะ นักกายภาพบำบัดอุบลช่วยกันเขียน

ขอบคุณกภ.นาจะหลวยมากนะคะ ที่มีความห่วงใยเพื่อน PT ในชุมชนด้วยกัน ทางสปสช เขาต้องการกระตุ้นให้ รพช.มีการจ้างงาน PT มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการให้รพช.ที่มีนักกายภาพบำบัดทำงานเชิงรุกมากขึ้น

ตอนนี้อาจารย์ไม่ค่อยห่วงทางอีสานเท่าไหร่ เพราะทำงานกันแบบเป็นเครือข่าย แต่ภาคอื่นๆ ไม่ทราบว่ามีการทำงานเป็นเครือข่ายกันมากแค่ไหน อยากให้เขาใช้เวทีนี้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากกว่านี้

ปนดา

สวัสดีคะ PT จาก ร.พ. บ้านหมี่คะ

คือว่าสนใจตัวอย่างโครงการที่ว่าทาง ร.พ. จังหวัดอุบลเขียนเรียบร้อยแล้วคะ อยากได้เป็นแนวทางในการเขียนบ้าง

รบกวนส่งมาที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ปีนี้ไม่ทราบข่าวประชุมเกี่ยวกับงบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการซึ่งปี2553 เลยไม่มีใครแจ้ง เข้ามาเวปนี้ทีไรได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทุกที

ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาโพสข้อมูลนะคะ

ช่วงนี้คนไข้น้อย ไปเกี่ยวข้าวกานหมดเลย

ถึง คุณ PT นาจะหลวยค่ะ

รบกวนขอตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการด้วยคนค่ะ จะได้เป็นแนวทางในการเขียนบ้าง

บอกตรงๆว่าตอนนี้งงกะชีวิตมาก พึ่งเข้ามาทำ รพช.ได้ 3 เดือนค่ะ ไม่ถูกกีดกันแต่ก็ไม่มีคำแนะนำใดๆเช่นเดียวกัน เพราะที่ รพ. บอกว่าไม่เคยมี PT มาก่อนก็ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรยังไงเหมือนกัน แล้วพอมามั่วเขียนเองคนเดียวมันก็รู้สึกไม่เซลฟ์พิกล

ขอความช่วยเหลือส่งมาที่ [email protected] ด่วนๆเลยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียน กภ.ทุกท่าน

วันนี้อาจารย์ไปร่วมประชุมอนุกรรมการมาตรฐานงานกายภาพบำบัดมา พอสรุปได้ดังนี้

- ได้มีการปรับปรุงร่างมาตรฐานงานกายภาพบำบัด โดยในนำร่างมาตรฐาน ปี 2549 และมาตรฐาน PT ของออสเตรเลีย และของพรพ.มาดูประกอบด้วย ก็ได้ร่างมาตรฐานฉบับปรับปรุงเป็นที่น่าพอใจ และมาตรฐานนี้สามารถนำไปใช้ได้กับรพ.และสถานประกอบการทุกระดับ

- ขั้นตอนต่อไปจะนำร่างมาตรฐานเสนอต่อสภาฯ หลังจากนั้นจะของบสภาฯ นำร่างมาตรฐานไปทำประชาพิจารณ์ในแต่ละภาค 4 ภาค เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง จากนั้นจึงเสนอต่อสภาฯอีกครั้งเพื่อประกาศเป็นมาตรฐานงานกายภาพบำบัด คิดว่าภายในปี 2010 คงเสร็จ

- ส่วนคู่มือกายภาพบำบัด รพ.ขุมชน ตอนนี้เรากำลังรวบรมข้อมูลอยู่ ส่วนใหญ่ นักกายภาพบำบัดรพช.มักมีปัญหาเรื่องการเขียนโครงการ และเรื่องการคิดค่าบริการ จึงอยากรวบรวมตัวอย่างการเขียนโครงการไว้ โดยในช่วงแรกจะขอนำไปใส่บน web ของสภาฯก่อนเพื่อให้สามารถ download ได้ง่าย (อาจารย์ขอโครงการฟื้นฟูสภาพของนาจะหลวยด้วยนะคะ ส่งมาที่ [email protected])

ขอแจ้งให้ทราบแค่นี้ก่อนนะ

ปนดา

ฝากเว็บไว้ด้วยครับเผื่้อเป็นประโยชน์ http://ptcareforyou.igetweb.com/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

ผมขอข้อมูลงานวิจัยการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื่อรังครับ ถ้าเป็นflie word ได้ก็ีดีนะครับ พอดีจะวิจัยต่อครับ แต่ถ้าไม่ได้ก็เป็น pdf ก็ได้แต่ขอตัวเต็มนะครับ ส่งไห้ผมได้ที่ [email protected] ภัทรพล โรงพยาบาลสงฆ์ ไม่ทราบว่าอาจารย์มีงานวิจัยเกี่ยวกับเบาหวานอีกไหมครับ ถ้ามีรบกวนอาจารย์ด้วยครับ พอดีจะทำวิจัยเกียวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในคนไข้เบ้าหวานครับ

เรียน PT นาจะหลวย

รบกวนขอตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการด้วยคนนะคะ ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการเขียนโครงการฯเลย เช่นกัน

e-mail: [email protected] ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

และเรียน กภ. ทุกท่าน

ดิฉันเพิ่งเรียนจบมาทำงานรพช.ขนาด 30 เตียง ได้ 7 เดือน ที่รพ.เรามีบริการออกสมุดประจำตัวคนพิการด้วย เป็น one stop service โดยนักกายภาพบำบัดได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ออกสมุดให้คนพิการโดยประสานงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง กับแพทย์ผู้ออกเอกสารรับรองความพิการและสำนักงานพัฒนาสังคมฯจังหวัดรวมทั้งกลุ่มสถานีอนามัยในเขตที่รับผิดชอบด้วย

และเมื่อไม่กี่วันมานี้มีหนังสือแจ้งมา ว่ามีการปรับเปลี่ยนเอกสารหลักเกณฑ์พิจารณาความพิการใหม่ ให้ผู้พิการสามารถออกสมุดได้ง่ายขึ้น (ไม่ถูกจำกัดด้วยระดับความพิการเหมือนก่อนที่ระดับความพิการไม่เข้าเกณฑ์ก็ออกสมุดไม่ได้) เริ่มใช้ 3 ธันวานี้

ไม่ทราบว่าทุกท่านทราบหรือยังเหมือนกัน พอมีโอกาสเข้ามาจึงบอกกล่าวทุกท่าน

แต่ว่าดิฉันก็ไม่ได้มีประสบการณ์อะไรมากมายหรอกนะคะ มาเรียนรู้ใหม่หมดเลย ที่รพ. มีนักกายภาพคนเดียว ในแผนกยังไม่มีใครช่วยเลย ทำอยู่คนเดียว หลายงานมาก ช่วงนี้งานเข้าด้วย เครื่องมือก็ยังไม่เพียงพอ เหนื่อยเหมือนกันค่ะ แต่พยายามยื่นขอผู้ช่วยและขอ us กับ hydroc ไปแล้ว ระบบงาน.. การทำหนังสือ.. บันทึกข้อความ...ก็ไม่รู้เลยค่ะ ช้าหน่อย ไม่ค่อยมีเวลาบริหารงานด้วย

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้มาพบทุกท่านที่นี่ และขอขอบคุณหลายๆท่านที่ให้ความกรุณาส่งตัวอย่างงานต่างๆ ข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาต่างๆ

ขอบคุณที่มีพี่ๆ มีเพื่อนๆ PT ค่ะ

หากมีอะไรที่ดิฉันพอจะช่วยได้ ก็ยินดีเสมอนะคะ

เรียนคุณภัทรพล

ที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในผป.เบาหวาน จะทำเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพหรือปริมาณคะ

ปนดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท