กายภาพบำบัดชุมชน


เรียนทุกท่าน ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ...
มีต่อ

ท่านนายกสมาคมกายภาพตอบคำถามนักกายภาพบำบัดภูธรเกี่ยวกับเรื่องการใช้ตราสมาคมค่ะ

เรื่องนี้เคยมีสมาชิกถามมาเหมือนกันค่ะ โดยกรรมการสมาคมมีมติว่าไม่ควรใช้ตราสมาคมไปปักบนเสื้อ gown ค่ะ เนื่องจากว่าเราไม่สามารถทราบหรือควบคุมได้ว่าผู้ใส่เสื้อนั้นเป็นนักกายภาพบำบัดที่เป็นสมาชิกสมาคมจริงหรือไม่ และหากเป็นสมาคมก็ไม่สามารถรับผิดชอบหากเกิดการกระทำที่ไม่ถูกต้องได้

ขอเสนอให้ปักคำว่านักกายภาพบำบัดเป็นภาษาไทยแล้วใส่โลโก้โรงพยาบาลของท่านดีกว่า หรืออาจทำโลโก้ของนักกายภาพบำบัดชุมชนขึ้นมาก็ได้ค่ะ

บางเอินเข้ามาได้อ่านกระทู้ส่วนที่พูดถึงการดูแลผู้สูงอายุค่ะ แล้วตนเองมีความคิดว่าหากถ้าเราเข้าไปแสดงศักยภาพให้พยาบาลเห็นว่าสามารถดูแลคนไข้กลุ่มนี้ได้ดีมานก็คงจะทำให้บริบทงานเรากว้างขึ้น แต่พูดก็พูดเถอะว่า กายภาพทุกวันนี้ไม่ค่อยวิ่งเข้าหางานรอให้งานวิ่งเข้ามาเพราะวิชาชีพอื่นๆไม่ค่อยจะรู้บทบาทของเราเท่ารัยค่ะ พยายามเข้าไปเสนอตัวที่จะทำ แค่ยากทำและมีความสุขกับมันนะคะ สู้ๆๆๆ รักในวิชาชีพค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะครับ

น้องกอล์ฟ

อาจารย์คะ

ตอนนี้หนูทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์คะ แต่อยากกลับไปทำงานในดรงพยาบาลชุมชนแถวๆ บ้าน แต่ยังไม่เปิดรับนักกายภาพบำบัดเลยคะ จะมีวิธีที่จะขอให้โรงพยาบาลชุมชนเปิดรับนักกายภาพบำบัดบ้างรึเปล่าคะ

ขณะนี้ทางสปสช.เขาพยายามกระตุ้นให้รพ.ชุมชน เปิดรับนักกายภาพบำบัดให้มากขึ้น โดยเฉพาะรพ.ที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด โดยใช้กลไกทางการเงินเข้าไปช่วย เมื่อเริ่มมีการจ้าง ก็คาดหวังว่านักกายภาพบำบัดจะสามารถขยายงาน และสร้าง need ให้เกิดการจ้างเพิ่มมากขึ้นได้ เช่น จาก 1 เป็น 2 และ 3 ต่อไป

น้องคงต้องหมั่นติดต่อ หรือขอยื่นใบสมัครทิ้งเอาไว้ให้เขา โดยแสดงความจำนงค์ว่าต้องการกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เชื่อว่าเขาคงต้องการคนในพื้นที่มากกว่าอยู่แล้วค่ะ

น้องทราบใช่ไหมคะว่าทางสภากายภาพบำบัดร่วมกับสปสช.เขาเชิญรพ.ชุมชนเข้าร่วมโครงการพัฒนากำลังคนด้านกายภาพบำบัดที่ม.รังสิต วันอาทิตย์ที่ 28 มิ.ย.นี้ เวลา 13.00 น 16.30 น. เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานในรพ.ชุมชน และเป็นตลาดนัดแรงงาน PT ให้แก่รพ.ชุมชนเลยทีเดียว ได้ข่าวจากสปสช.ว่ามีรพ.ชุมชน เข้าร่วมมากกว่า 30 แห่งแล้ว เชื่อว่าคงมีการจ้างงาน PT ในรพ.ชุมชนมากขึ้น อาจารย์ไม่ทราบว่ารพ.ชุมชนที่น้องอยากทำงานเข้าร่วมหรือเปล่านะคะ ถ้าน้องสนใจเข้าร่วมก็ยินดีนะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์ทั้งสองท่าน ได้อ่านข้อความแล้วได้รับความรู้มากขึ้นค่ะ มองงานกายภาพบำบัดในรพช.ได้กว้างขึ้น แต่หนูเพิ่งมาทำงานค่ะได้ 2 เดือนเอง ยังงงๆอยู่เลยค่ะ แต่หนูกำลังดำเนินการเชิงรุกอยู่ค่ะ โดยออกเยี่ยมบ้านและเข้าไปดูแลผู้พิการในชุมชนค่ะ หนูเริ่มต้นถูกหรือยังคะ? และหนูมีคำถามเพิ่มค่ะ คือว่า ทำอย่างไรคะถึงจะทำให้คนในชุมชนและพี่ๆในโรงพยาบาลเข้าใจในวิชาชีพของเรามากกว่านี้ค่ะ? และหนูอยากให้อาจารย์บอกสิ่งพื้นฐานงานกายภาพบำบัดชุมชนที่ต้องมีและต้องพึงกระทำอย่างยิ่งค่ะ? ขอบพระคุณมากค่ะ

ช่วยตอบนะ...พยายามโปรโมทวิชาชีพเราโดยเฉพาะมีประชุมแต่ละเดือนของ แต่ละ รพ. พยายามเข้าร่วมกับโครงการ ของฝ่ายต่างๆ ถ้ามีเวลาว่าง และก็ทำโครงการเองด้วย....มีส่วนร่วมกับทีม PCT ของโรงพยาบาล จริงๆแล้ว งานเราเข้าได้ทุกหน่วยงาน แต่ก็ต้องมีจุดยืนของตัวเอง ในฐานะที่เราไปเปิดแผนก(รึป่าว)...ต้องขยายงานให้ได้มากที่สุดเพื่องานจะได้เกิด และวิชาชีพอื่นจะได้เห็นศักยภาพของเราเพราะเค้าไม่รู้จักเลยว่าเราทำอะไรได้บ้าง คิดว่านวดกับรักษาผู้ป่วยอัมพาต เท่านั้น แล้วเค้าจะได้ส่งปรึกษาเรา เรามีศักยภาพเพียงพอเค้าก็จะเห็นเอง...บางทีไม่ต้องพูดไรมากมายเลย บางที งาน รพช.ตั้งรับก็เยอะเหมือนกันนะ ส่วนงานเชิงรุก ส่วนมากจะดูในเรื่องผู้พิการ และบางรพ.ก็มีโครงการก็มีออกเยี่ยมผู้ป่วยที่ D/C ออกจาก ward เราก็ตามในส่วนที่เป็นคนไข้เรา....ส่วนOPD อาจจะมี คลินิก เบาหวาน แล้วเดี๋ยวนี้เค้าก็มีโรงพยาบาลสายใยรัก นั่นก็เราก็มีส่วนร่วมได้ โดยดูแลในเรื่องการ exs.หญิงมีครรภ์ ไปให้ความรู้มารดาก่อนคลอด หลังคลอด ,คลินิก COPD /asthma ,โครงการฟื้นฟูผู้ป่วย CVA อาจจะให้ญาติหรือผู้ดูแลมาอบรมการฝึก passive , ambulation ฯลฯ ,หรือจะเป็นผู้สูงอายุอย่างที่เค้าว่ากันมาข้างต้น , หรือก็ต้องดูนโยบาย ของ รพ.ด้วยว่าเค้าเน้นอะไร ช่วงนี้ บางที่เล่นผู้สูงอายุ ,บางที่เล่นเบาหวาน,บางที่เล่นบุหรี่,บางที่เล่น COPD นะ งานเยอะมาก ถ้าเราจะทำ

อีกอย่างทางที่จะเผยแพร่.....นะ มี อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คือเค้าจะมีการประชุมกันอยู่แล้วค่ะ ...ต้องรู้ว่าเค้าประชุมกันช่วงไหน เราต้องทำงานร่วมกับชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมนะ....อสม.ไรงี้ สสอ.ด้วยค่ะอย่าลืมเค้าล่ะ ถ้าเรามีเวลาก็ประชาสัมพันธ์ซะหน่อย ว่ามีเรามาอยู่ในชุมชนแล้วนะ เราทำไรได้บ้างขอบเขตงานคร่าวๆ ไม่ต้องหลักการมาก ชาวบ้านเค้าจะไม่เข้าใจ เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ...ศึกษาชุมชนตัวเอง...เป็นโรคอะไรกันเยอะ ...หาแนวทางป้องกัน ด้วย (ถ้าว่างจากที่กล่าวมาข้างต้นนะ)

โอ้ เยี่ยมเลย นี่พี่เขาเล่าจากประสบการณ์ตรงเลยนะเนี้ย

ขอบคุณที่เข้ามาช่วยตอบ และแชร์ประสบการณ์นะคะ

ปนดา

เมื่อวันที่1กรกฎาคม2552

ทางโรงพยาบาลได้เดิทางไปที่กระทรวงเพื่อรียกร้องความเท่าเทียมและความยุติธรรมในการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่มีการจ่ายให้แค่ รพช เท่านั้น ซึ่งทาง รพศ/รพท ไม่มีการได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวจึงมีการรวมตัวกันเพื่อไปเรียกร้องที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยมีการนัดกันแบบรวมตัวทุกวิชาชีพมีหลายโรงพยาบาลเหมือนกันแต่ตอนนี้เรื่องอยู่ในระหว่างดำเนินการ

ถ้าหากว่าท่านใดมีข้อเสนอหรืออยากทราบรายละเอียดโทรมาสอบถามได้ที่

087-0873940 คุณอมร

" บางที่เล่นผู้สูงอายุ ,บางที่เล่นเบาหวาน,บางที่เล่นบุหรี่,บางที่เล่น COPD นะ "

ทำไมใช้คำว่าเล่นละครับ มันดูเหมือนเรื่องเล่นๆ ไงก็ได้แบบนั้นเหรอครับ

สวัสดีค่ะ ดีใจนะคะ ที่ได้ทราบว่ามีคณะทำงานฝ่ายมาตรฐานโรงพยาบาลชุมชนทางกายภาพแล้ว

เพราะดิชั้นเป็นคนนึงที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชน และเคยมีปัญหามากมาย แต่ไม่ทราบจะปรึกษา หรือร้องเรียนที่ใดดี

อย่างที่ทราบกันในคนที่ทำงานรพ.ชุมชนว่า อาชีพนักกายภาพบำบัด เป็นอาชีพที่มีน้อยคนนักที่รู้จัก และทำให้ตอนนี้ ผู้บริหารของโรงพยาบาล ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ถึงขนาดที่ว่า เคยมีการเปิดคลีนิคนอกเวลาของแผนกมาเป็นสิบปี ก็ต้องปิดตัวลงเนืองด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กายภาพเลย

ค่าเบี้ยเลี้ยงโรงพยาบาลชุมชน ทีรัฐจัดสรรให้ ก็ไม่ได้

เนื่องด้วย ค่าครองชีพที่นี่สูงมาก ประกอบกับ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

นักกายภาพทั้งหมด จึงตัดสินใจลาออก

ผลลัพธ์ที่ได้คือ รพ.รับนักกายใหม่ โดยยังไม่เซ็นใบลาออกให้นักกายเก่า

ให้ค่าเบี้ยเลี้ยงกับนักกายที่ประกาศรับใหม่ ทั้ง ๆ ที่นักกายเก่าทำงานมาคนละ ปี สองปี

มีการปรับขึ้นค่า โอที ทั้ง ๆ ที่แผนกกายภาพฯโดนปิดไป

อยากถาม หา ความยุติธรรม หรือ สามารถ ร้องเรียนได้ที่ไหนบ้าง

เพราะตอนนี้ กำลังจะตกงาน และเจ็บใจมาก

ขอบคุณนะคะ .....

อาจารย์ครับ ผม รณรงค์ PT CMU รุ่น 15

อาจารย์สบายดีหรือเปล่าครับ

ดูแลคนอื่นมามากมาย อย่าลืมห่วงใยตัวเองและคนใกล้ตัวนะครับ

ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงครับ

..........ลูกช้างกายภาพบำบัด.

ใช้คำว่าเล่น ไม่ได้แปลว่าทำเล่นค่ะ เหมือนว่าเทรนด์แต่ละที่(คำว่าเล่นในที่นั้นแปลว่า เน้นพัฒนาบริการการรักษาผู้ป่วยในด้านนั้นเป็นพิเศษ กล่าวคือกำลังรณรงค์โครงการ นั้นๆอยู่ รพ.ไหนมีโครงการอะไร ประมาณนั้น ) ใช้ศัพท์วัยรุ่นน้องจะได้เข้าใจง่าย ไม่ได้ให้อคติต่อกันแค่ศัพท์บางคำ แต่ถ้าทำให้เข้าใจผิดคิดว่าทำเล่นก็ขออภัยค่ะ ไม่ได้ตั้งใจให้เข้าใจอย่างนั้น

หนูมีความสนใจอยากได้สื่อและเทคนิคการเลิกบุหรี่ทางกายภาพบำบัดมากเลยค่ะ ขอความกรุณา จัดส่งถึง

นางสาวปวีณา หวลจิตร

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบึงโขงหลง

428 ม.11 ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย 43220

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

หนูสนใจและอยากได้สื่อ CD เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ค่ะ เพื่อนำไปแนะนำผู้ป่วยและคนใกล้ชิดค่ะ รบกวนช่วยจัดส่งมาที่

นางสาว ภาวิณี สุดสงวน

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลโกรกพระ

ต.โกรกพระ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 60170

ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

ขอบคุณคุณรณรงค์ที่เป็นห่วงนะคะ จะพยายามดูแลตนเองค่ะ และคนใกล้ชิดด้วยค่ะ ตอนนี้ก็มีคุณแม่ที่ต้องดูแลอยู่ค่ะ

อยากให้กำลังใจคนที่กำลังจะตกงานนะคะ ชีวิตมีขึ้นมีลง บางทีสิ่งที่คิดว่าเลวร้ายที่เกิดขึ้นอาจเป็นการเริ่มต้นขอสิ่งใหม่ที่ดีกว่าก็ได้นะคะ ขอให้เราพยายามคิดดี พูดดี ทำดี อาจารย์ได้ไปอ่านหนังสืออยู่เล่มหนึ่งชื่อ The Law of Attraction ในช่วงหยุดหลายวัน เขาบอกว่าถ้าเราคิดดี จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาหาเรา ดังนั้น พยายามคิดแต่สิ่งดี ๆ สร้างพลังเชิงบวกมากๆ หวังว่าคงมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นกับน้อง PT ชุมชนเร็วๆ นี้นะคะ จำไว้เสมอให้คิดแต่สิ่งดีๆค่ะ ถ้าเริ่มคิดไม่ดีให้พยายามเตือนตนเอง เรายังอวยพรให้คนอื่นบ่อย ๆ เขาบอกว่าเราต้องอวยพรให้ตนเองด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องสื่อสำหรับเรื่องบุหรี่ จะรีบจัดส่งให้นะคะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัดภูธร

ไม่มีอารายมาถามหรือเสนอแนะหรอกครับ แค่จะบอกว่าตอนนี้แผนกกายภาพบำบัดที่ผมสร้างกะมือมีเครื่องมือและงานกะลังไปได้โอเค อิอิ ครบรอบสามเดือนของการเปงพีทีชุมชน คิดไม่ออกให้ออกจากความคิด ทำจิตให้สงบแล้วจะพบทางออก ปิ๊ง....แล้วพบกานใหม่นะครับผม

ตอนนี้ได้ติดต่อกับทางสภาการพยาบาลในเรื่องของค่าตอบแทนค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย

ทางสภาการพยาบาลได้ดำเนินโดยการที่ทางสภาการพยาบาลเรียกหัวหน้าฝ่ายการพยาลของโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์เข้าไปชี้แจงรายละเอียดและเข้าพบปลัดกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา

ผลสรุปก็คือว่าทางฝ่ายการพยาบาลเขาได้รับอนุมัติที่ 1,200 และ1,800 บาท แต่ว่าในการที่อนุมัตินั้นได้คิดคำนวนค่า k เพื่อมาประกอบในการอนุมัติเพิ่ม เช่น ถ้าหน่วยไหนค่า k เพิ่มเป็น 1.5 แล้วเอามา x กับ 1,200 และ1,800 ค่าที่ได้คือค่าของเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ในขณะเดียวกันทางวิชาชีพของเนาเองก็ไม่ได้อยู่นิ่งตอนนี้เราเกาะกระแสของการเรียกร้องของทางพยาบาลให้ได้รับที่เท่ากัน ดังนั้นผมจึงอยากให้ทุกท่าได้เตรียมหาค่า k เตรียมไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ

อมร

นักกายภาพบำบัดภูธร

ค่าKมานคืออียั่งเน้อ กิโลเมตรหรือป่าวน่า

นักกายภาพบำบัดภูธร

ผมได้ข่าวมาว่าทางสภากายภาพบำบัดจะมีการออกหนังสือเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลจิงหรือป่าวครับ

คุณเชื่อหรือไม่ว่าบาง รพ.มีแพทย์แผนไทยเปงหัวหน้า

ช่วยไขข้อข้องใจ เรื่อง โครงสร้างองค์กรจะมีขึ้นในเร็ววันนี้จริงจ้า เพราะพี่เองเคยเห็นแต่แบบร่าง แต่ที่ผ่านตา ใน รพ.ชุมชนนะ เราไม่ได้ขึ้นกับ พยาบาล หรือ แพทย์แผนไทยจ้า ต่อไปขอเสริมแง่คิดนะ เรื่องใครจะเป็นหัวหน้าไม่สำคัญค่ะ ขอให้เราเต็มที่กับการรักษาผู้ป่วยด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด ทำดีรับรองมีคนเห็นค่ะ เรื่องช้าๆ ได้พร้าเล่มงามมักจะเข้ากันกับวิชาชีพเราจริงๆนะ สู้ๆนะทุกคน

เห็นด้วยกับความเห็นข้างบนค่ะ

ใครเป็นหัวหน้าไม่สำคัญ

เราต่างหากที่ต้องดึงเอาศักยภาพของPT.ออกมาใช้ให้สุดเหวี่ยง

ผลดีตกอยู่กับคนไข้และตัวเราเองค่ะ สู้ๆนะคะ

ตั้งใจเข้ามาให้กำลังใจพี่น้องชาวPT.

ถึงแม้ว่างานที่ดิฉันทำเป็นงานIT.แต่ก็เป็นIT.ในMedical service

จบPT.

ทำงานIT.

ชอบทั้งสองอย่าง อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน อิอิอิ ไปริ ฟริ้ววววววววว

ทำงานดีจริง ใครๆเค้าก็เห็นค้าบบบบ

ใครจะเป็นหัวหน้าก็ไม่เห็นจะต้องตื่นเต้นเลย...ทำงานของเราให้ดีก็พอแล้วสู้โว้ย!!

ปลายฟ้า..คนเดียวกัน

อีกประการที่ควรให้ความสำคัญ คือเรื่องของรายได้ ค่าตอบแทน

ซึ่งถ้ามองดีดีแล้วจะเห็นว่าน้อยมากกสำหรับนักกายภาพบำบัด

คือสำหรับผมเอง ผมขึ้นตรงต่อเภสัชนะครับ

เรื่องศักยภาพที่เรามีอ่ะครับ ผมเดินหน้าเต็มที่แน่ๆครับ

แต่ปัญหาที่พบก็คือว่า เมื่อเราเอางานๆหนึ่งไปเสนอต่อหัวหน้างานแล้ว เค้าไม่ส่งไปยัง ผอ.ต่อหน่ะสิครับ ถ้าผมเข้าผ่านทาง ผอ.ก็จะกลายเป็นผมข้ามหน้าข้ามหัวเขา สิ่งที่ขอไปยังถูกเบรคเลยครับ ขนาดขอแค่มีใบนัดผู้ป่วยยังไม่ได้เลย คือจริงๆไม่ได้ว่าอะไรนะครับถ้าผมได้ขึ้นตรงต่อเค้าแล้วเค้าก็เป็นผู้ใหญ่ที่ดี ถ้าผมขึ้นกับพยาบาลที่ รพ.ของผม ยังดีซะยิ่งกว่าอีกนะครับ เพราะพี่เค้าใจดีกว่า มีปัญหาก็ปรึกษาได้ อย่างนี้ต่อให้อยู่ใต้พี่พยาบาลผมก็ยังโอเคนะครับ

ดิฉันทำงานโรงพยาบาลชุมชน แถบชายแดนแดนอีสาน ที่อุบลค่ะพวกเรามากันเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งหมดน้องใหม่ 13 คน จากความช่วยเหลือของพี่น้อย ที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำทำให้เด็กจบใหม่อย่างพวกเราได้มีงานทำมีรายได้และยังได้แสดงความสามารถออกมา ดิฉันมาบุกเบิกงานกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลนี้อยุ่มาจะเข้าเดือนที่สามแล้ว ทุกอย่างลงตัว ดีใจมากรายได้ก็ดีค่ะตอนนี้ยังไม่มีโอทีก็พอใช้เพราะเขามีที่พักให้ฟรี ค่านำค่าไฟก็ฟรี ที่เลือกมาที่นี่ที่ๆใครต่างก็คิดว่าไม่กล้ามาเพราะมันไกล แต่เราก็เลือกมาได้ทั้งมิตรภาพความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายในโรงพยาบาลทั้งความเอ็นดู ทำให้ดิฉันมีกำลังใจทำงานมาก ตอนนี้ก็เริ่มงานไปได้มากแล้วค่ะ ดิฉันขึ้นตรงกับผอ. คืออยู่งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ ซึ่งทำให้อะไรก็เลยง่ายทุกอย่างอยู่ที่ผอ. แต่ปีหน้าจะเปลี่ยนผอ.แล้วไม่รู้จะได้อย่างงี้มั๊ยไม่รุ้ค่ะ ตอนนี้ขออนุมัติห้องกับเครื่องมือแล้วได้แล้วค่ะและจะทำงานกายภาพบำบัดให้ดีที่สุดค่ะจะทำให้คนรู้จักกายภาพบำบัดมากขึ้น และขอบคุณพี่ๆๆที่ทำงานกายภาพบำบัดมาก่อนพี่ทำดีน้องๆๆก็อยากเก่งๆเหมือนพี่ด้วย ขอบคุณงานกายภาพบำบัดที่ยังขาดแคลนทำให้เรามีสิ่งๆๆดีๆๆ

ดีใจที่เห็นน้องๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง และยินดีกับน้องๆ PTชุมชนที่ได้งานดีๆ นะคะ ขอส่งกำลังใจไปให้ด้วยนะคะ คงต้องเหนื่อยหน่อยเพราะเราต้องไปบุกเบิกงานใหม่ พยายามติดต่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งในระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพ และต่างวิชาชีพ เพื่อเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้น จะได้ทำให้เรามี idea ใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรในการทำงาน

สำหรับน้องที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับผู้บังคับบัญชาที่ไม่ตอบสนองต่องานที่เสนอไป อาจารย์คิดว่าถ้าเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราเสนอจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน เราควรไปติดตามอีกทีว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว ถ้ามีการติดขัดอะไร อย่างไร จะได้ทราบ และทำความเข้าใจกัน เรื่องบางอย่างเราก็ต้องหาโอกาสพูดคุยสื่อสารกันบ้าง ก็จะดีนะคะ "การประสานงาน" เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงานให้ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ สำหรับคำคำนี้ นอหนู สำคัญมากห้ามเขียนตกเด็ดขาด สำหรับ นอหนู ตัวนี้สำหรับอาจารย์อาจมีความหมายได้หลายอย่าง คือ น้ำใจ (มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในเรื่องงาน และไม่ใช่เรื่องงานบ้าง) น้ำคำ(พูดจาดี มีหางเสียงหน่อยก็จะดีนะคะ และที่สำคัญรักษาคำพูด) น้ำมือ(คือการปฏิบัติดี มีฝีมือ โดยต้องหมั่นพัฒนาตนเอง ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ)

ปนดา

ขอบคุณครับ อาจารย์ปนดา ผมก็จะพยายามรักษา "นอหนู" ให้ติดตัวอยู่เสมอๆครับ

สวัสดีค่ะ เป็นนักกายภาพบำบัด รพ.ไทรน้อย เป็น รพ.ชุมชน มีคนไข้ ประมาณเฉลี่ย 30 คน ต่อวัน มีPT 2 คน ฃว่าจะขอ PT เพิ่มอีก ดีไหมคะ

สวัสดีครับอาจารย์ปนดา อาจารย์ครับ ผมได้เงินเดือน 7580 ผมควรลาออกดีไหมครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนดา อาจารย์ค่ะหนูขอสมัครเป็นสมาชิกของอาจารย์ด้วย ถึงแม้ว่าจบ PT แต่ยังไม่มีโอกาสทำงานสายงานนี้เลย เพราะสอบใบประกอบยังผ่านไม่หมด ผ่าน2 วิชา ยังติดวิชาเทคนิคและวิธีการทางกายภาพบำบัด สำหรับวิชากายภาพบำบัดในโรคและภาวะต่างๆ พึ่งจะสอบผ่าน ประกาศเมื่อ 22 ก.ค 52 หนูอยากจะขอคำแนะนำ/ปรึกษา จากอาจารย์ ทำอย่างไรจะสอบผ่านเสียที จะได้เป็นใบเบิกทางของการทำงาน เพราะทุกครั้งที่ไปสมัครงาน จะต้องประกอบด้วยใบประกอบวิชาชีพ....เหมือนกับตัวเองเรียนจบแต่ยังไม่จบ.....กราบขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

ผมก็สอบไม่ผ่าน 1 วิชาครับ คือวิชา 02

จริงๆ เรื่องนี้ผมเคยคิดนะครับ ว่ามันเป็นการเสียโอกาสแก่นักศึกษา ที่จบมาแล้วที่ต่างๆ เค้าใช้ใบประกอบโรคศิลป์ในการสมัครเข้าทำงาน อย่างเช่นผมที่เรียนไม่เก่ง เอาตัวอย่างง่ายๆ ครับ ผมไปสมัครที่ไหนๆ เขาก็ไม่รับเพราะไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ที่ล่าสุดที่รับ ก็ให้เงินเดือนผมต่ำ (ขนาดแผนไทย เค้ามาใหม่ เรียน 3 ปี ยังไม่ได้สอบใบประกอบ เค้ายังได้ตั้ง 8 พันกว่าๆ เลยครับ) เหตุที่เป็นเพราะอย่างนี้ เพราะผมสอบใบประกอบโรคศิลป์ไม่ผ่านครับ แล้วถ้าเกิดว่าถ้าโรงพยาบาลนี้ไม่รับ ผมมิต้องสอบแล้วสอบอีก จนกว่าจะผ่านถึงจะได้ทำงานหรือครับ

ผมอยากจะขอข้อเสนอแนะเรื่องการสอบใบประกอบโรคศิลป์ โดยอยากให้มีการจัดสอบได้ตั้งแต่อยู่ปี 4 ครับ เนื่องมาจากว่าในระหว่างนั้น พวกผมจะได้สอบเก็บคะแนนรายวิชาต่างๆไป ถ้าสอบผ่านก็มีรายชื่อเก็บไว้ที่สภา แล้วเมื่อเรียนจนจบหลักสูตร ค่อยเอาหลักฐานใบจบมาส่งให้ สภาจึงออกใบปรกอบโรคศิลป์ให้อีกที วิธีนี้จะเป็นการทำให้นักศึกษาที่จบมาใหม่ๆ สามารถมีหลักฐานที่มั่นคงในการสมัครงานครับ ไม่ต้องกลายเป็นสภาพครึ่งผีครึ่งคนเหมือนอย่างผม และใครอีกหลายๆคนครับ ที่บางคนยังหางานทำไม่ได้เพราะจบมาแล้วแต่ไม่มีใบประกอบ เผลอๆอาจจะต้องรออีกเป็นปีกว่าจะได้ทำงานครับ

จริงด้วยค่ะ กับเรื่องใบประกอบวิชาชีพ เหมือนกับเป็นการตัดอนาคตของการเข้าทำงาน เมื่อคุณสอบยังไม่ผ่านคุณก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะก้าวเข้ามาในสายงานนี้ บอกตามตรงกดดันมากๆ เพื่อนทำงานกันแล้วแต่ตัวเองจบมาเหมือนกับคนไร้ค่า รักษาใครก็ไม่ได้ ขนาดตัวเองยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(เพราะสอบยังผ่านไม่หมดแล้วจะไปรักษาใครได้) ท้อใจจริงๆ...กับใบประกอบใบเดียวเหมือนกับใบส่องทางชีวิตทั้งชีวิตของการทำงาน

นักกายภาพบำบัดภูธร

ที่ประชุมคณะกรรมการสภากายภาบำบัด 4/2552 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 มีมติให้ใช้อักษรย่อว่า "กภ."เป็นคำนำหน้าชื่อผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

อยากเรียนถามว่าผู้หญิงใช้เหมือนกานหรือว่า กภญ. ????

ขออภัยครับ ใช้คำผิดจนติดปาก คือคำว่า "ใบประกอบโรคศิลป์" จริงๆควรจะพิมพ์ว่า "ใบประกอบวิชาชีพ" ครับผม ขออภัยที่ใช้คำผิดครับ

ก่อนอื่นขอแจ้งว่าได้ส่งสื่อ CD ให้ความรู้เกี่ยวกับการอดบุหรี่ พร้อมสติ๊กเกอร์ ไปให้นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลโขงหลง และโรงพยาบาลโกรกพระ แล้วนะคะ คงจะได้รับเร็วๆนี้ ถ้าใครต้องการสื่อ CD เพิ่มเติมก็ขอมาได้นะคะ

สำหรับน้อง PT ไทรน้อย มีคนไข้เฉลี่ยวันละ 30 คนต่อนักกายภาพบำบัด 2 คน ก็คงจะงานหนักพอสมควร ถ้าถามว่าควรขอตำแหน่งนักกายภาพบำบัดเพิ่มไหม คิดว่าเราคงต้องไปดูด้วยว่าจำนวนผู้ป่วยที่ทำอยู่เป็นผู้ป่วยประเภทไหน ถ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยทาง neuro ก็คงหนักมาก เพราะมาตรฐานกำหนดว่านักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยทาง neuro ได้ 6-10 คนต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นแบบคละกันทั่วไปตามที่มาตรฐานกำหนด นักกายภาพบำบัด 1 คนสามารถดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 10-15 คนต่อวัน (ซึ่งตัวเลขนี้อาจมีการปรับอีกนะคะ) แสดงว่าจำนวนผู้ป่วยยังไม่เกิน แต่ถ้ามีจำนวนผู้ป่วยมากขนาดนี้ ไม่ทราบว่ามีเวลาออกไปทำงานเชิงรุกบ้างไหมคะ เช่น เยี่ยมบ้าน หรือทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพ ถ้ายังไม่ได้ทำ และอยากจะทำเราก็สามารถเสนอผู้อำนวยการทำงานในเชิงรุกแบบนี้บ้าง โดยเราอาจต้องออกไปประสานงานกับสหวิชาชีพอื่นว่าเราจะเข้าไปมีบทบาทอย่างไรบ้าง ปัญหาสุขภาพของชุมชนที่รพ.เราดูแลอยู่คืออะไร ถ้ามี load งานทางด้านนี้เพิ่มขึ้น อาจารย์เชื่อว่า ผอ.ต้องสนใจจ้าง PT เพิ่มมากขึ้นแน่นอนค่ะ

สำหรับน้องที่ยังเงินเดือนไม่ถึงมาตรฐานเกณฑ์ขั้นต่ำตามระเบียบราชการ เราก็ต้องดูด้วยว่ามันติดปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ถ้าปัญหาอยู่ที่ตัวเรา เช่น ยังสอบใบประกอบวิชาชีพไม่ผ่าน มันก็เป็นข้อจำกัดที่ตัวเรา เราก็ต้องพยายามสอบให้ผ่านก่อน แต่ถ้าปัญหาอยู่ที่รพ. เราก็คงต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น เรามีความสุขกับการทำงานที่นี้ไหม มีสวัสดิการด้านอื่นๆ อะไรที่เขาให้เราชดเชยกับตรงนี้ไหม แนวโน้มเขาจะขึ้นให้เราไหม แต่จริงๆ ถ้าเราไม่มีข้อจำกัดใด ๆ เขาน่าจะจ้างเราตามที่ กพ.กำหนดนะคะ ถ้าถามอาจารย์ว่าควรลาออกไหม อาจารย์คงตอบไม่ได้ น้องคงต้องตัดสินใจเอง โดยพิจารณาให้รอบครอบก่อนนะคะ ถ้าเราคิดว่าที่นี่เหมาะสำหรับเรา เรารักที่ทำงานนี้ ก็ทำต่อไป พิสูจน์ให้เขาเห็นความสามารถของเรา คงต้องใช้เวลา เมื่อสมัยก่อนอาจารย์ทำงานอยู่ที่อเมริกากว่าจะทำให้ฝรั่งยอมรับเราได้ (หมายถึงไว้วางใจในความสามารถของเรา) ก็ใช้เวลาเกือบ 3 ปี ตอนนั้นก็ได้เงินเดือนน้อยกว่าเกณฑ์ แต่ตอนหลังเขามั่นใจ เขาก็ให้เราตาม rate ที่เราสมควรจะได้ค่ะ

ปนดา

สำหรับข้อเสนอแนะที่อยากให้มีการสอบใบประกอบวิชาชีพในระหว่างเรียนปี 4 นั้น อาจารย์ขอตอบแทนสภาฯเลยว่าคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะการสอบใบประกอบวิชาชีพเปรียบเสมือนการสอบความรู้รวบยอดหลังจากเรียนจบ และเป็นการสอบเพื่อกำหนดมาตรฐานความรู้ขั้นต่ำที่นักกายภาพบำบัดพึงมีก่อนที่จะไปประกอบวิชาชีพ การสอบที่สามารถทำได้ในปี 4 คือการสอบความรู้รวบยอดที่สถานศึกษาน่าจะเป็นผู้จัดสอบให้แก่นิสิตนักศึกษาของตนเองมากกว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับสอบใบประกอบวิชาชีพที่สภาจัดสอบ ซึ่งหลายๆ สถาบันก็ทำกันแล้ว ทำให้นิสิตนักศึกษาตื่นตัวกันมาก

ก็รู้สึกเห็นใจน้องๆ ที่ยังสอบใบประกอบวชาชีพไม่ผ่านนะคะ มันเป็นเหมือนใบตัดสินอนาคตไหม คงไม่ถึงขนาดนั้น จริงๆ แล้วหลายคนก็ยังได้มีโอกาสทำงานทั้งๆ ที่ยังสอบไม่ผ่าน แสดงว่าสังคมยังให้โอกาส แต่ก็แน่นอนการจ้างงานในลักษณะนี้มันก็ต้องมีเงื่อนไข เพราะนายจ้างเขาก็มีมาตรฐานของเขาเหมือนกัน

ทีนี้เรามาพูดถึงว่าเราจะสอบผ่านได้อย่างไร อาจารย์ก็จะเล่าประสบการณ์สมัยที่อาจารย์ไปทำงานที่อเมริกาให้ฟังก็แล้วกันนะคะ ในประเทศอเมริกา ทุกคนต้องสอบใบประกอบวิชาชีพค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคนอเมริกันหรือคนต่างชาติ เช่นเดียวกับในประเทศไทยปัจจุบัน ตอนนั้นอาจารย์ก็ต้องวางแผนการอ่านหนังสือค่ะ คือเราต้องทราบว่าหัวข้อที่เขาจัดสอบมีเรื่องอะไรบ้าง เชื่อว่าสภาฯก็คงจะมีให้เราเหมือนกัน เราก็ต้องไปหา เอกสารประกอบการสอนต่างๆ lecture note ของเราบ้าง copy จากเพื่อนบ้าง และหนังสือที่เกี่ยวข้องมาวางไว้ แล้วก็เริ่มอ่าน อ่านไป short note ไปด้วย ถ้าเราเห็นว่าตรงไหนสำคัญ น่านำมาออกข้อสอบ ก็ noteไว้ในสมุดของเรา เพื่อใช้ทบทวนสิ่งที่อ่าน เราต้องอ่านหนังสือด้วยไม่ใช่แต่ในเอกสารประกอบการสอน เพราะบางทีเราจะได้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย (บางทีอาจจะใหม่สำหับเรา แต่เก่าสำหรับคนอื่นก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่รู้) พยายามอ่านให้ครอบคลุมเรื่องที่เขาจะออกข้อสอบให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นใจ ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องอะไรก็ถามเพื่อนบ้าง หรือโทรถามอาจารย์บ้าง เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เราต้องพยายามทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำเฉพาะก่อนหน้าที่จะสอบไม่กี่วัน การทำบันทึกย่อช่วยจำได้มาก ช่วงก่อนหน้าที่จะสอบ 3-4 วัน เราจะลุยอ่านบันทึกย่อ แล้วเราจะพอระลึกได้ว่าเราอ่านมาจากไหนอย่างไร เราจะจำได้ดี เพราะเราทำของเราเองและก็ทำด้วยความเข้าใจ อาจารย์ก็ทำอย่างนี้ก็สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพที่อเมริกาได้เพียง 1 ครั้ง นอกจากความรู้แล้ว เวลาทำข้อสอบก็ต้องมีทักษะในการเดาด้วย เพราะถ้าข้อสอบออกมาแล้วเราไม่รู้ทุก choice เราก็ต้องเดาอย่างมีหลักการ เพื่อตัดข้อที่ไม่น่าถูกออก ตรงนี้ก็อาจจะพอช่วยให้การเดาของเราดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง พยายามวางแผนการทำข้อสอบให้ดีๆ ถ้าทำข้อสอบไม่ทันนั่นคือหายนะ เพราะถ้าเราจะต้องเดาโดยไม่มีโอกาสอ่านโจทย์ โอกาสถูกจะน้อยมาก

ก็ขอเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะคะ เพื่อนๆ อาจารย์เคยสอบตั้งหลายหนกว่าจะสอบผ่าน บางทีเขาตกแค่คะแนนเดียว เขาก็รู้สึกแย่เหมือนกัน แต่เขาก็ไม่ละความพยายาม จนในที่สุดเขาก็สอบผ่าน ปัจจุบันเขามีความสุขมาก แต่เขาขยันมากนะ อาจารย์ก็ขยันเหมือนกัน คือถ้ามีเวลาว่างก็ต้องเอาตำรามาทบทวน เพื่อให้สอบให้ผ่านให้ได้ เราจบออกมาได้แล้วเราต้องทำให้สำเร็จ อนาคตเราเป็นผู้กำหนด ความสำเร็จไม่ใช่จะได้มาได้โดยง่าย แต่ถ้าเราทำได้มั่นก็เป็นการเติมเต็มให้กับชีวิตและความมั่นใจให้กับตนเองนะคะ เราต้องบอกตัวเองทุกวันให้ขยันค่ะ เราต้องทำให้ได้ และต้องทำอย่างมีความหวัง มีเป้าหมาย และทันต่อการใช้งานด้วยค่ะ

ปนดา

ยังไงก็ต้องสอบให้ผ่าน และยังไงก็ต้องผ่านๆๆๆๆๆๆให้ได้

ดิฉันก็สอบไม่ผ่านเหมือนกันในรอบแรก แต่รอบสองดิฉันก็ตั้งใจอ่านหนังสืออย่างแน่วแน่ หมั่นทำข้อสอบเก่าๆของพี่ๆที่ช่วยกันคิดขึ้นมา จากเพื่อนๆมหาลัยอื่นๆ แล้วก็ผ่าน เพราะฉะนั้นดิฉันเข้าใจในสภาวะที่กดดันนะคะ แต่ก็ยังสามารถหางานทำได้ แล้วก็ยอมรับว่า ได้เงินเดือนน้อย (ก็ตอนนั้นมันยังไม่ผ่าน) มันก็จริง!! แต่ตอนนี้ก็กำลังขอขึ้นทะเบียนแล้วค่ะ มันก็มีหลายที่ที่เค้าให้โอกาสเรา ในการทำงานนะ แต่มันอยู่ที่เราว่าจะทำหรือเปล่า บางคนมีใบประกอบขึ้นทะเบียนแล้ว หางานทำไม่ได้ก็มีเหมือนกัน ทุกอย่างมันอยู่ที่เราค่ะ แล้วดิฉันก็คิดว่ามันไม่แปลก ที่นักกายภาพจำเป็นต้องมีใบประกอบฯ แพทย์ ทันต เภสัชฯ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล เค้าก็สอบเหมือนเรา เค้าก็เครียดเหมือนกันค่ะ เค้ายิ่งสอบหลายวิชากว่าเรา บางวิชาชีพเค้าไม่มีการเก็บวิชาที่เราผ่านแล้วซะอีก กดดันกว่าเราอีกนะ ถ้าไม่ผ่านก็ต้องสอบใหม่หมด ดังนั้น ก็ควรจะพยายาม ทำให้ตัวเองผ่านให้ได้

ทำไม ค่าใบประกอบได้น้อยจัง... น้อยกว่าพยาบาลอีก ใช้เกณฑ์อะไรแบ่งหรือครับสงสัย????ครับ ขณะที่แพทย์ เภสัช ฯลฯ เขาได้เยอะจัง

สำหรับเรื่องการใช้คำนำหน้า พี่สมใจ ตอบมาดังนี้ค่ะ

เรียนอจ.ดา

ผู้หญิงผู้ชายใช้ตัวเดียวกัน คือกภ. สมาชิกไม่ชอบ 3 พยางค์ ถ้าใช้ทางการให้ใช้นาง นาย นางสาว

สมใจ

ขอบคุณครับอาจารย์ปนดา ผมยอมรับครับว่าที่อยู่ที่ทำงาน ผมทำแล้วไม่มีความสุข ถูกภาวะกดดันหลายอย่าง ทั้งหลายๆ เรื่องเข้ามาครับ ผมยอมรับว่าท้อมาก แต่ก็ยังดีที่มีโรงพยาบาลของเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆ คอยให้กำลังใจ ตอนนี้ผมตัดสินใจแล้วล่ะครับอาจารย์ ว่าผมจะลาออก พรุ่งนี้ผมจะไปลาออกกับ ผอ.ครับผม ผมได้ตัดสินใจแล้วครับว่าผมจะไปตายเอาดาบหน้า ผมจะไปออสเตรเลียครับ

ตอนนี้ผมขออนุญาตถามอาจารย์ได้ไหมครับ ว่าอาจารย์สอบใบประกอบที่อเมริกามีกี่วิชาอ่ะครับ คือผมไม่รู้ว่าที่ออสเตรเลียเค้าจะติดต่อเรื่องสอบใบประกอบได้อย่างไร แล้วถ้าผมจะสอบของเค้า ผมจะต้องผ่านของไทยก่อนหรือเปล่าครับ เพราะที่มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนก็เคยมีนักศึกษาจากเมลเบิร์นมาแลกเปลี่ยนด้วยครับ แต่ตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้ถามเค้าหน่ะครับเนื่องด้วยไม่คาดคิดว่าจะได้ไปที่อื่นครับ ทีนี้เหตุการณ์มันเปลี่ยนไป ผมเลยคิดว่าบางที ผมอาจจะไปลองทำกายภาพบำบัดที่ออสเตรเลียดูหน่ะครับ แต่ตอนนี้แพลนว่าจะไปในนามไปเรียนก่อนอ่ะครับ(ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรง) ขอบคุณอาจารย์มากๆนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์

พึ่งเห็นบล๊อคนี้ครับ อาจารย์สบายดีนะครับ อยากร่วมเป็นสมาชิกด้วยคน

ตอนนี้อยากให้ทางสภาฯจัดสัมนาเรื่อง "มาตรฐานงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน" เพราะหลายโรงพยาบาลตอนนี้กำลังทำเรื่องคุณภาพการให้บริการ (บางแห่งก็ทำ ISO บางแห่งก็ทำ HA) จึงอยากจะให้นักกายภาพบำบัดในชุมชนมาช่วยกันระดมสมองในการกำหนดมาตรฐานงานกายภาพบำบัดในชุมชนตามมาตรฐานกายภาพบำบัด ของสภาฉบับ พ.ศ. 2549 เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เป็นมาตรฐาน/หรือแหล่งอ้างอิง ของตัวเองในแต่ล่ะโรงพยาบาลในการทำคุณภาพระดับหน่วยงาน เผื่อน้องที่เปิดแผนกใหม่จะได้มีแนวทางในการจัดทำมาตรฐานระดับหน่วยงาน ของตัวเองต่อไป

และท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆที่เริ่มทำงานใหม่กันด้วยนะครับ อยากบอกน้องๆว่าแต่ก่อนนี้การทำงานในโรงพยาบาลชุมชนแย่กว่านี้เยอะครับ อยากขอให้อดทนและแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้เค้ายอมรับ เพราะถ้างานของเราออกมาดีมีผลงาน อย่างไรเสียเค้าต้องเห็นคุณค่าของเราบ้าง

สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะได้อ่านที่ทุกคนเขียนแล้วทำให้รู้

สึกดีและมีกำลังใจทำงานต่อไปค่ะ อยากถามเพื่อนๆว่าทำไมถึงเข้ากระดานนักกายภาพไม่ได้ค่ะ ช่วยบอกหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์คะ

อาจารย์พอทราบไหมคะว่าโรงพยาบาลชุมชนแถวแถวภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน (ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ สุโขทัย) มีโรงพยาบาลอะไรบ้างที่มีแนวโน้มจะเปิดรับนักกายภาพบำบัดบ้างคะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ เลยคะ

ที่เข้ากระดานไม่ได้เพราะ

1.ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาครับ

2.ได้ยินว่ามีปัญหา ทำให้สมาชิกบางท่านไม่สามารถเข้าได้ครับ

ตอนนี้ ผมเองที่ว่าจะไปลาออก ปรากฎว่า ท่าน ผอ.ไม่ให้ออกครับ แต่ก็ได้เรียกบริหารมาปรับเงินเดือนให้ผมแล้ว (เหมือนผมเห็นแก่เงินเลยครับ แต่ผมก็ไม่อยากเถียงเท่าไร เงินน้อยผมก็อยู่ยาก) ท่านบอกว่า ถ้าผมไปเมื่อไร ค่อยมาลาออก อย่างนี้อาจารย์ว่า ผมจะลาออกในช่วงเดือนที่จะไปต่างประเทศ จะยังทำได้อยู่หรือไม่ครับ เพราะตอนนี้แผนกก็กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นครับ แต่ท่าน ผอ.ก็ได้รับพนักงานเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด เมื่อเร็วๆนี้เข้ามาด้วยครับ เหตุการณ์เลยประมาณว่า ท่าน ผอ.ได้จัดหาผู้ช่วยให้ผม ทั้งๆที่แผนกยังไม่เกิดขึ้น และให้ผมพัฒนางานกายภาพบำบัดต่อไป ซึ่งเรื่องที่ผมจะไปต่างประเทศก็ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว หากเวลานั้นมาถึง ถ้า ผอ. ไม่ให้ผมลาออก ผมจะออกได้อยู่หรือไม่ครับ แล้วจะทำอย่างไรครับ

แด่น้องผู้กำลังจะไปออสเตรเลีย

ลาออกแล้วจะไปออสเตรเลีย คงต้องศึกษาอะไรต่อมิอะไรก่อนไป ถ้ามีเพื่อนหรือคนรู้จักที่อยู่ที่นั่นก็ควรถามข้อมูลจากเขาก่อน เท่าที่อาจารย์เคยไปสอบที่อเมริกา การสมัครสอบ license หรือใบประกอบฯ เราต้องมีการเทียบเนื้อหาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่เราจบ กับของที่สภาฯของเขาต้องการ และคิดว่าเขาคงต้องให้เราสอบความรู้ภาษาอังกฤษด้วย บางคนอย่าว่าแต่สอบให้ได้เลย แค่ให้ได้สอบก็ลำบากเพราะต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง ประเทศออสเตรเลียคิดว่าเขาไม่ขาดแคลน PT เท่าไหร่นะ ก็ลองเปิดเขาไปใน google และหา Australia physiotherapy council ดูนะ แต่ถ้าจะลาออกจริงๆ มีเวลาอ่านหนังสือเต็มที่ก็น่าจะลองสอบในประเทศไทย เอาไว้ให้ได้ใบประกอบฯไว้อุ่นใจก่อนก็จะดีนะ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ไปต่างประเทศแล้วได้งาน PT ทำ บางคนก็ไม่ได้ ต้องไปทำงานอย่างอื่น

ปนดา

รพ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย, รพ.อุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจสนใจรับ PT เพราะว่าเขามีโครงการร่วมกับสปสช.อยู่ ส่วนที่อื่นๆ จะลองหาข้อมูลให้

ปนดา

พี่สมใจ มีคำตอบสำหรับเงินค่าใบประกอบฯ ดังนี้ค่ะ

คิดตามจำนวนปีที่เรียนแพทย์ เภสัช เรียน 6ปี 5 ปี ส่วนพยาบาลเค้ามีหลักสูตร 4 เดือนที่กระทรวงรับรองจบหลักสูตรICU ต้องทำงานที่ห้องICU จึงจะได้ 2000 ส่วนพยาบาลทั่วไปได้เท่ากายภาพกับเทคนิคคือ 1000 บาท ( แต่ความจริงไม่ได้เกี่ยวกับหลักสูตรเท่าใดนักผู้บริหารคิดว่าพยาบาลขาดแคลนมากมีตัวเลขว่าพยาบาลลาออกมาก มีผลกระทบในการบริการมาก) นักกายภาพบำบัดมีลาออกบ้างแต่ผลกระทบไม่มากนัก เราเห็นว่าวิชาชีพเราสำคํญแต่คนอื่นคงคิดว่าไม่สำคัญนัก เราก็ต้องพัฒนาวิชาชีพให้เค้าเห็นความสำคัญให้ได้ซึ่งก็ต้องช่วยๆกัน

พี่สมใจ

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมก็จะพยายามเต็มที่ครับ หวังไว้รอบ 3 นี้ จะให้ผ่านให้ได้ครับ

นักกายภาพบำบัดภูธร

กะลังจะเปิดงานกายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานอ่ะครับ ตอนนี้ตรวจเท้าเบาหวาน ให้คำแนะนำการดูแลเท้าและการออกกำลังกายตามคอมพลิเคชัน อยากขูดแคลัส กะตัดรองเท้าได้อ่ะครับ ไม่ทราบว่า รพ.ไหนทำแล้วบ้างอยากไปดูงานอ่ะครับ

เอ็มครับ...ถ้าได้ผ่านมาทางขอนแก่น ช่วยแวะไปหากันหน่อยสิคะ หรือ e-mail คุยกันก็ได้...Cheers!

สวัสดีค่ะ อ.หนูอยากได้หนังสือเกี่ยวกับเทคนิคการรักษาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อใหม่ๆ ไม่ทราบว่ามีอ.ท่านใดเขียน และซื้อได้ที่ไหนบ้างค่ะ จะได้นำมาทบทวนและพัฒนาตัวเองให้มากยิ่งขึ้นค่ะ

ไปเยี่ยมบ้านมา สนุกมาก ลำบากๆนี่แล่ะ ชอบ ภูมิใจมากที่เป็น PT รพช. ไม่เสียแรงที่เลือกลงชุมชน โอ้ว!!! ฉันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ผู้พิการรอเราอยู่ สู้ๆนะคะทุกคนนน

สวัสดีคะอาจารย์ถ้ามีงานให้รับใช้ก็บอกนะคะ ตอนนี้ทำงานที่เดียวกับ อมร คะ หนูเรียน มช รุ่นเดียวกับโต้ง ผึ้ง คะ

คิดถึงอาจารย์นะคะ

หนังสือ Orthopedic Physical Assessment ของ David J. Magee น่าจะดีนะคะ มีเนื้อหาครอบคลุมทุก region เลย

ปนดา

อยากทราบเกี่ยวกับขอบเขตของผู้ช่วยนักกายภาพบำบัดครับ อาจารยืหรือพี่ๆท่านใดทราบพอจะแบ่งปั่นให้ผมบ้างไหมครับ

ทำไมเข้าเวบบอร์ดของสภาฯไม่ได้เลยครับ

ช่วยหามาตอบคำถามที่ 157 ตามลิ้งนี้มาเลยครับ http://pt.or.th/download/poror/00118011.pdf

ขอบคุณ พี่ กภ.นพดล มากนะครับ

เหมือนคำถาม158 อยากทราบว่าทำไมเข้าเวบบอร์ดของสภาไม่ได้ค่ะ ใครทราบกรุณาช่วยตอบด้วยค่ะ ขอบคุณมากน่ะค่ะ

เข้าเวบบอร์ดของสภา โดยใช้เลขใบอนุญาต (เฉพาะตัวเลข เช่น123) ช่องถัดไปใช้ชื่อของตัวเองค่ะโดยไม่ต้องมีคำนำหน้า

หากว่ายังไม่มีเลขใบอนุญาต(เนื่องจากสอบใบประกอบวิชาชีพติดอยู่อีก1 วิชา คือยังไม่มีใบประกอบ) จะทำอย่างไรค่ะถึงจะเข้าได้ ซึ่งก่อนนี้ไม่มีปัญหาใช้รหัสผ่านเข้าได้แต่เมื่อไม่นานมานี้เองเข้าไม่ได้เลยค่ะ ก็เลยทำให้ติดตามข่าวสารในเวบบอร์ดของสภาไม่ได้ ดีที่ว่ามีเวบบอร์ดของสภากายภาพชุมชนของอาจารย์ ทำให้รับรู้เรื่องราวของเพื่อนในวงการบ้าง

เพิ่งย้ายที่ทำงานค่ะจาก รพ.ชุมชน 60 เตียง มาอยู่ รพ.ชุมชน30เตียง มาอยู่รพ.ใหม่ไม่มีอะไรสักอย่างแม้แต่แผนกค่ะ แต่ตอนนี้กำลังก่อร่างสร้างแผนกค่ะ(รอต่อไป) คงอีกนานกว่าอะไรจะลงตัว ถ้ามีปัญหาอะไรเดี๋ยวจะเข้ามาขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆพี่ๆชาวPTนะค่ะ

ถ้าเข้าไม่ได้จริงๆ ลองโทรไปถามที่สภากายภาพค่ะ

สาหวัดดีครับนักกายภาพบำบัดทุกท่าน เป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้สภาได้ประกาศใช้คำนำหน้าชื่อ กภ./กภญ. อยากเชิญชวนทุกท่านใช้คำดังกล่าว เพื่อให้เปงที่รู้จักในวงการสุขภาพและประชาชนทั่วไป ไม่อยากให้คิดเพียงว่าใช้แล้วจะไม่มีคนรู้จัก แต่อยากให้นี้เปงจุดเริ่มต้นที่คนจะรู้จักเรามาขึ้น เพราะถือเปงสัญญาณของความรุ่งเรืองของวิชาชีพเรา ...รักวิชาชีพนี้ที่สุดในโลก

เรียน รศ.กภญ.ปนดา และพี่ๆกายภาพบำบัดทุกท่าน ผมทราบมาว่าที่จังหวัดนครราชสีมาได้มีโครงการนำร่องโดยสรับสมัครกายภาพประจำสถานีอนามัยหลายแห่ง แต่การออกเยี่ยมผู้พิการต้องเสียค่าใช้จ่ายเองและไม่สามารถเบิกคืนได้ ทำให้กายภาพบำบัดรุ่นแรกลาออกเป็นจำนวนหนึ่ง โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วโครงการดังกล่าวน่าจะเหมาะกับคนในพื้นที่มากกว่า ดังนั้นหากต้องการขยายงานกายภาพบำบัดสู่ชุมชนให้มากขึ้น สปสช หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น นักเรียนทุนกายภาพบำบัด เฉกเช่นนักเรียนทุนในวิชาชีพอื่น หรือเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าไปปฏิบัติงานมากกว่านี้ ขอเชิญอาจารย์และนักกายภาพบำบัดร่วมแสดงความคิดเหนนะครับ

ได้มีโอกาสเปิดแผนกงานกายภาพบำบัดที่ รพช.สามเงา จ.ตาก

เปิดมา 2 ปีแล้ว ตอนนี้คนไข้มากขึ้น เครื่องมือเพิ่มขึ้น มี PT 2 คนแล้ว

ดีใจ ภูมิใจมากที่ได้ช่วยคนในชุมชน จะพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ดียิ่งๆขึ้นไป

เรียนทุกท่าน

ล่าสุดที่ได้ยินจากพี่น้อย (สมใจ)จากรพ.สรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นกรรมการสภา บอกว่าให้ใช้ คำนำหน้าเป็น กภ. อย่างเดียวทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ไม่มี กภญ.นะคะ

ส่วนเรื่องโครงการรับนักกายภาพบำบัดประจำสถานีอนามัย ที่นักกายภาพบำบัดภูธรได้เสนอประเด็น 2 ประเด็นคือ

1.โครงการรับนักกายภาพประจำสถานีอนามัย ทำไมสปสชไม่ส่งเสริมให้ทุนคนในพื้นที่ไปเรียน PT ดังเช่นวิชาชีพอื่น เช่นพยาบาล เป็นต้น

2.การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ไม่สามารถเบิกคืนได้

ขอแชร์ประสบการณ์ ในประเด็นที่ 1 ก่อนนะคะ เคยได้คุยกับสปสช.แล้ว เขาคิดว่าวิธีการดังกล่าว มันไม่ทันใช้ เขาต้องการดึงดูดนักกายภาพบำบัดที่กำลังจะจบ หรือใกล้จบมากกว่า โดยเขาจะส่งเสริมสนับสนุนให้รพ.ชุมชน ที่มีพันธะสัญญากับเขา (โดยเฉพาะในที่ๆยังไม่มี PT) ให้จ้าง PT เขาไม่สนใจว่าต้องเป็นคนในพื้นที่ แต่ถ้า PT ที่เป็นคนในพื้นที่สนใจจะกลับไปทำงานที่บ้านเกิด ก็ยิ่งดี จริงๆ เขาเห็นความสำคัญของงาน PT นะ เขาอยากให้มีการเริ่มจ้างงาน PT ให้ได้ก่อน โดยเขาจะสนับสนุนให้ในการจ้างคนแรก และก็หวังว่า PT คนแรกที่จ้างนั้นจะทำให้รพช.ติดใจ อยากจ้างเพิ่มอีก รพช.บางแห่งมีนโยบายเข้มแข็งมากในการทำงานเป็นเครือข่ายกับสอ. เขาเลยต้องพัฒนาศักยภาพของสอ.ให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้มากขึ้น ปชช.จะได้ไม่ต้องเข้ามารับการรักษาที่รพช.ซึ่งแออัดมาก เขาก็เลยสนับสนุนให้มี PT ที่สอ.ด้วย

ประเด็นที่ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกเยี่ยมบ้านเอง นั้นเท่าที่อาจารย์เคยสัมภาษณ์พยาบาล ที่ทำงานอยู่ในสอ.หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เขาก็เล่าว่า เขาไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าน้ำมัน เพราะว่าส่วนใหญ่เขาใช้รถมอเตอร์ไซด์เข้าไปในหมู่บ้านซึ่งก็ใช้น้ำมันไม่มาก บางทีที่สอ.เขามีมอเตอร์ไซด์ก็ใช้ของสอ. แต่ส่วนใหญ่เขาก็ไปรถของตัวเองกัน และเขาก็ออกกันบ่อยแทบจะทุกบ่ายเลย เพราะเขาต้องเยี่ยมเกือบทุกบ้านใน 1 ปี โดยเขาจะมีเกณฑ์ว่าบ้านไหนมีสุขภาพอยู่ในระดับดี ปานกลาง แย่ ถ้าบ้านไหนแย่ก็จะไปเยี่ยมนานหน่อย บ่อยหน่อย ถ้าบ้านไหนสุขภาพดี ก็ไปปีละ 1 ครั้ง แต่มีการแบ่งบ้านกันเยี่ยมเป็นโซนๆ เพราะสอ.หนึ่งมีอาจพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารฯหลายคน ส่วนนักกายภาพบำบัดถ้ายังไม่สามารถเยี่ยมได้มากขนาดนั้นก็คงต้องดูตามความเหมาะสม บางทีอาจเยี่ยมในรายที่มี refer มาก่อนก็ได้ แล้วค่อยๆ ขยายงานออกไป

แต่ถ้าเราทำงานอยู่ในรพ.ชุมชน หรือในสอ. เราน่าจะได้เงินค่าวิชาชีพ ใช่ไหมคะ ไม่ทราบว่าจะเหมือน PT ในรพ.ศูนย์หรือทั่วไปหรือไม่ ถ้ามีใบประกอบวิชาชีพจะได้เงินค่าวิชาชีพ 1,200 บาทต่อเดือน ถ้าทำงานครบ 4 ปีจะได้เพิ่มป็นเดือนละ 1,800 บาท

ไม่ทราบว่าพี่ๆ ที่อยู่รพช.มีข้อมูลเล่าให้ฟังบ้างไหมคะว่าได้อย่างไรบ้าง

ปนดา

เรียน รศ.กภ.ปนดา ที่ รพช.ที่ผมทำอยู่ขณะนี้มีการตอบแทนเหมาจ่ายผู้ที่ปฏิบัติงาน 1200 บาท แต่วิชาชีพอื่นก้อได้ลดลันกันไปตามจำนวนปีที่ศึกษาเช่น จพ.เภสัช ได้600 บาท ส่วน นักวิชาการ(นว)ผมไม่ทราบว่าเค้ามีสอบใบประกอบไหมแต่ก้อได้ 1200 เนื่องจากเรียนสี่ปี ส่วนข้อมูลจะถูกต้องเพียงใดเด่วจะกลับมาตอบนะครับ ไม่ทราบว่าที่อื่นเปงอย่างไรบ้างครับ

เรียนอาจารย์และนักกายภาพที่เคารพทุกท่าน

ค่าใบประกอบวิชาชีพนะเป็นค่า พตส ครับได้รับท่านละ1000บาทครับ

ส่วน 1200 สำหรับคนที่ทำงาน1-3ปี และ 1800 สำหรับคนที่ทำงาน 4 ปีขึ้นไป เป็นค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแต่ตอนนี้ที่จากที่เราไปเรียกร้องสิทธิ์ที่กระทรวงเมื่อวันที่1กรกฎาคม ที่ผ่านมา รพศ และ รพท ยังไม่ได้รับ คำสั่งออกมาเมื่อวันที่1กรกฎาคม 2552 แต่ยังไม่มีตัวเงินในการจ่ายจริงมีเพียงแต่คำสั่งเท่านั้นเองครับ

จึงเรียนมาเพื่อทราบกันทุกๆท่าน

สวัสดีครับอาจารย์ ตอนนี้ผมกำลังทำงานที่เกี่ยวกับผู็ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะแผลที่เท้า

และการรักษา ตอนนี้ทำงานอยู่แถวอีสาน คิดถึงอาจารย์มากครับ

ขอบคุณ กภ.อมร และ กภ.ภูธร ที่ช่วยเข้ามาให้ความกระจ่างในเรื่องค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนเรื่องค่าตอบแทนพิเศษของกภ.รพศ. และรพท.คงต้องรอไปอีกหน่อย เพราะคำสั่งเขาสั่งให้เริ่มจ่ายตั้งแต่ กรกฎาคม 2552 อาจารย์มีคำสั่งนี้อยู่ มีใครอยากได้บ้าง ส่ง e-mail มาจะส่ง file ไปให้ โดยเฉพาะนักกายภาพฯรพท. รพศ. ควรได้รับคำสั่งนี้ทุกคนนะคะ จะได้ไปดำเนินการให้ฝ่ายบริหารเขาตั้งงบให้เรา

ปนดา

ไผ่

คิดถึงไผ่เหมือนกัน เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม เขียน mail มาคุยกันบ้างซิ

ปนดา

เท่าที่ทราบ สิ่งที่เกิดขึ้นที่โคราชไม่ใช่เรื่องราวปกติที่จะเกิดกับทุก ๆ ที่ ความเป็นมาของเรื่องนี้คือ ทาง รพ.มหาราชนครราชสีมามีความตั้งใจดีที่อยากให้มี PT ประจำอยู่ที่แต่ละสถานีอนามัย/PCU ใน CUP ของ รพ. โดยในช่วงแรกเน้นงานเยี่ยมบ้านกลุ่ม chronic cases เขาจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยในปีแรกรับ PT 1 คนก่อน ให้รับผิดชอบ สอ. เท่าที่จะทำได้ โดยมีค่าตอบแทนต่อเดือนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มีค่าอื่น ๆ เช่น พตส. ค่าล่วงเวลา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เป็นต้น ซึ่งในการเยียมบ้าน PT จะใช้รถ (รถยนต์/มอเตอร์ไซด์) ของ สอ. ก็ได้ แต่หากจะใช้รถส่วนตัวก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทั้งหมดนี้เป็นข้อตกลงที่รับรู้กันตั้งแต่ต้นเลย เพราะนี่เป็นเพียงโครงการนำร่อง หากได้ผลดีก็จะดำเนินการต่อ ๆ ไป ซึ่ง PT คนแรกก็ทำผลงานได้ดีมาก เขาจึงเปิดรับ PT เพิ่มอีก 4 คน ภายใต้เงื่อนไข/ข้อตกลงเดิม

ในมุมมองของพี่ พีว่าแพทย์เจ้าของโครงการเขาคงจะเห็นความสำคัญของ PT เราล่ะ ถึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา แต่ตอนเขียนโครงการเสนอแหล่งทุนของเขา คุณหมอคงไม่ทราบว่าในลักษณะงานอย่างนี้ ค่าตอบแทนที่ PT ควรได้น่าจะเป็นเท่าไร จึงกำหนดไปตามเงื่อนไขข้างต้น น้อง 4 คนที่เข้าไปทำงานจึงไม่ค่อย happy ภายใต้เงื่อนไขนี้ ซึ่งก็อย่างที่บอกข้างต้น นี่เป็นโครงการนำร่อง คนที่เข้าไปทำงานก็เป็นลูกจ้างโครงการ ไม่ใช่ลูกจ้างหรือพนักงานของ รพ.มหาราชฯ ดังนั้น ค่าตอบแทนที่ได้รับจึงไม่ได้อิงเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็มีน้อง 2 คนเข้าไปเสริมงานแทนแล้ว และเขายังต้องการอีก 2 คนนะคะ ใครที่ยอมรับได้กับเงื่อนไขการจ้างอย่างนี้ก็ขอชวนมาสมัครกันค่ะ เท่าที่พี่ได้เข้าไปสัมผัสกับทั้งคุณหมอและ PT คนแรก นี่เป็นโครงการที่จะทำให้เราได้มีโอกาสเปิดงานชุมชนเพิ่มขึ้นนะคะ จากเดิมที่มี PT ประจำอยู่เพียงระดับ รพช. ตอนนี้ก็มีโอกาสที่จะขยายลงมาให้มีเราในระดับ สอ. แล้ว เป็นเรื่องที่น่ายินดีนะคะ เราน่าจะช่วยกันทำผลงานให้ออกมาดี ๆ กัน และจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พี่ว่าเขาคงนำบทเรียนนี้ไปแก้ไขไม่ให้เกิดอะไรอย่างนี้ซ้ำอีกแน่

นักกายภาพบำบัด รพช.

ตอนนี้ทำงานโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรีค่ะ

เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ 120-150 เตียง

ทำงานมาแล้ว 3 ปี ค่ะ(เพิ่งบรรจุเป็นพนักงานราชการได้ครึ่งปีเท่านั้น)

ปัจจุบันมี PT 4 คนแล้วค่ะ ผู้ช่วย 1 คน

(ผอ.ค่อนข้างทราบบทบาท PT ค่ะ เลยรับ PT เยอะมากๆ เลยไม่กล้าขอผู้ช่วยเลย แฮะๆ)

เป็นฝ่ายที่ขึ้นตรงกับผู้อำนวยการค่ะ

เป็น รพช.ที่รับฝึกงานน้องๆ กายภาพบำบัดจากมหาลัยด้วยค่ะ

ผอ.ท่านจะพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกในอนาคตค่ะ)

คนไข้ต่อวันผู้ป่วยนอก 20-30 ราย ผู้ป่วยใน 10-15 ราย

ทำงานทั้งเชิงรุกและรับร่วมกับทีมสหวิชาชีพ (แพทย์/พยาบาล/เภสัชกร/โภชนากร/กายภาพบำบัด) เช่น การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)

โครงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โครงการเยี่ยมบ้านวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหา การออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์(โรงเรียนพ่อแม่)อบรมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม.และญาติผู้พิการในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน อบรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในกลุ่มประชากรเสี่ยงและสุขภาพดี การให้ความรู้ผู้ป่วยเตรียมตัวผ่าตัดมะเร็งเต้านม(PCT ศัลยกรรม) ออกกำลังกายในหอผู้ป่วย แนะนำการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและทางกายในป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI)(PCT อายุรกรรม)เป็นต้นค่ะ

ปัจจุบันกำลังวางแผนร่วมกับฝ่ายการพยาบาลจัดอบรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่เปลและพยาบาลในปีงบประมาณ 2553 นี้ค่ะ

อยากบอกเราชาว PT รพช. ว่า กายภาพบำบัดในชุมชนมีอะไรให้ทำเยอะเลยค่ะ ยิ่งโรงพยาบาลเรามีบริบทใหญ่ งานก็ยิ่งมากขึ้นตาม ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาตัวเราและงานของเราเข้าไปนำเสนอให้กับวิชาชีพอื่นๆทราบได้อย่างไร การเข้าประชุม การมีส่วนร่วมกับทีมสำคัญมาก เพราะถ้าเขารู้จักบทบาทของเราดีแล้ว เมื่อมีประเด็นการทำงานใดที่เกี่ยวข้องกับเราขึ้นมา ทีมก็จะนึกถึงเราเองค่ะ (ตอนนี้บางงานจะทำไม่ทันแล้ว)งานบางงานไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ไหนๆ อย่างบางท้องที่มีกลุ่มโรคที่เป็น 5 อันดับโรคสำคัญ(เช่น COPD หรือ TB)ของโรงพยาบาลแล้วเรามองเห็นแล้วว่าเราสามารถเข้าไปทำอะไรกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ก็เข้าไปปรึกษากับผู้ที่ทำงานกับผู้ป่วยกลุ่มนั้นเลยค่ะ บางทีเขาอาจจะรอเราอยู่ก็ได้

อยากแนะนำน้องๆที่เข้าไปบุกเบิกโรงพยาบาลชุมชนว่า เราไม่สามารถทำอะไรให้ยิ่งใหญ่ไปได้ด้วยกำลังของเราคนเดียว การทำงานบางอย่างก็ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันหลายๆวิชาชีพ ให้นึกว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดงานที่ก้าวหน้า สมเด็จพระเทพฯท่านสอนพวกเราว่าอยากจะกินก๋วยเตี๋ยวไม่จำเป็นต้องทำลูกชิ้นเอง ดังนั้นจะทำงานใหญ่อย่าทำคนเดียว ตลอดมาโครงการต่างๆที่ทำจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ และอยากให้พวกเรา PT รพช. มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชนและวิชาชีพของเราต่อไป....ถึงบางครั้งจะเหนื่อย...ถึงบางครั้งจะท้อ...แต่ความสำเร็จที่ได้มันน่าภาคภูมิใจเสมอนะคะ...

เรียนทุกท่าน

วันศุกร์ที่ 21 สค. นี้ อาจารย์จะไปประชุมกับสปสช. เรื่องการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัด ในงานบริการระดับปฐมภูมิ มีใครอยากฝากข้อเสนอแนะอะไร ก็ฝากไปได้นะคะ

ยินดีกับน้องกภ.ชุมชน จ.สุพรรณบุรีด้วย ที่สามารถบุกเบิกงาน PT ในรพช.จนเป็นที่ยอมรับของทีมสหวิชาชีพ อยากให้เข้ามาเล่าหรือแชร์ประสบการณ์ให้น้องๆ อีกนะคะ

ไม่ทราบว่าอยู่รพช.ชื่ออะไร บอกได้ไหมคะ ขอจองส่งนิสิตไปฝึกงานไว้ล่วงหน้านะคะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช

ตอนนี้อยู่ ร.พ.อู่ทองค่ะ

ล่าสุดมหาวิทยาลัยนเรศวรติดต่อขอส่งนิสิตมาฝึกงานแล้วค่ะ

พอดีว่าน้องนักกายภาพที่ได้มาคนที่ 4 เป็นน้องจากม.นเรศวร

ก่อนหน้านี้ที่รับเป็นน้องจาก มศว กับมหิดลค่ะ

หวัดดีครับ รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร ผมเปงนักกายภาพบำบัด รพช.ครับเพิ่งมาเปิดแผนกอยากอธิบายความต้องการจากประสบการณ์การทำงานจิงใน รพช.หวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานกายภาพบำบัดต่อไป ดังนี้ครับ

๑.อยากให้มีการกำหนดอัตากำลัง กภ.ใน รพช.ให้มีความชัดเจนเพื่อให้มีตำแหน่งงานที่แน่นอนมากขึ้นครับ

๒.อยากให้ สปสช.สนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่มีความจำเป็น ตามมาตรฐานครับ

๓.อยากให้กระทรวงกำหนดโครงสร้างองค์กรกายภาพบำบัดใน รพช.ที่เหมือนกันทั่วประเทศครับ

๔.อยากให้อนาคตมีโครงการนักเรียนทุน หรือโครงการผลิตนักกายภาพบำบัดเพิ่มเพื่อชาวชนบทครับ

๕.อยากให้ สปสช.พลักดันให้มีการจ้างงานกายภาพบำบัดใน รพช.100%และในสถานีอนามัย เพื่อให้เครื่อข่ายการทำงานทางกายภาพบำบัดมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพครับ

ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะดีๆ นะคะ ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอให้สปสช.ทราบค่ะ แต่ที่แน่ๆ จะให้นายกสภาฯอ่านด้วย ท่านจะได้เป็นแรงหนุนที่สำคัญอีกแรงนะคะ แล้วจะมาเล่าให้ทราบนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ไปประชุมที่ สปสช.เปงไงบ้างน้อ อยากรู้จังเลยครับ

ต้องขอขอบคุณที่คุณกิตติ สมบรรดา ได้ส่งข้อเสนอแนะในการพัฒนากำลังคนกายภาพบำบัดชุมชน อาจารย์ไปร่วมประชุมกับสปสชมาแล้ว จริงๆ รอบนี้เป็นรอบที่เราหารือกันในกลุ่มคณะทำงานพัฒนากำลังคนกันมากกว่า โดยมีเป้าหมายว่าจะต้องพยายามให้เกิดการจ้างงานในรพช.ให้ครบทุกโรง ตอนนี้ยังมีรพช.อีกไม่ตำกว่า 200 โรง ที่ยังไม่มี PT สปสช.ได้สำรวจว่ารพช.ไหนบ้างที่ต้องการจ้างนักกายภาพบำบัด ซึ่งได้ข้อมูลมาแล้วคาดว่าสภาฯน่าจะได้ upload ข้อมูลขึ้น web เร็วๆ นี้ แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่ไม่ต้องการจ้าง PT เนื่องจากสาเหตุการไม่มีตำแหน่งงานเป็นหลัก ซึ่งหลายรพช.อาจจะยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจ้างงาน PT และอาจจะไม่เข้าใจงานและบทบาทของ PT ขณะเดียวกันนักกายภาพบำบัดที่จบใหม่ส่วนมากก็ยังไม่สนใจทำงาน PT ชุมชน หรือบางคนสนใจแต่ก็ยังขาดความรู้และทักษะในการทำงานในชุมชน เนื่องจากการเรียนการสอนในหลักสูตรหลายสถาบันอาจจะยังไม่ได้เน้นการสอนด้านนี้ เห็นหรือยังว่าการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัด เราต้องพัฒนาหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน สปสช.เขาต้องการซื้อบริการทางกายภาพบำบัด เขาก็เลยอยากสนับสนุนให้เราพัฒนาหลายๆ อย่างดังกล่าวไปหร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดการจ้งงงาน PT ในชุมชนมากขึ้น วันที่ 9 ส.ค.นี้จะมีประชุมอีกครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนี้จะเป็นการประชุมกับผู้บริหารระดับนโยบายของสปสช.โดยตรง ใครมีความคิดเห็นอย่างไร อยากให้พัฒนาอะไร อยากให้ช่วยเรื่องอะไรก็เสนอผ่านช่องทางนี้ได้ อาจารย์จะพยายามรวบรวมข้อมูลให้มาก ๆ อย่าคิดว่าคนอื่นเสนอแล้ว เราไม่ต้องเสนอ เพราะอยากฟังความคิดเห็นจากหลายๆ คน ยิ่งมากยิ่งดี จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการนำไปพัฒนางาน PT ชุมชนต่อไป ถ้าไม่ทราบว่าจะเขียนอะไร ก็แสดงความคิดเห็นก็ได้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับที่คนอื่นเสนอมา

ยกตัวอย่างข้อเสนแนะของคุณกิตติดีมาก อาจารย์ได้มีโอกาสอ่านข้อเสนอของคุณให้ที่ประชุมฟัง รวมถึงให้สปสช.ทราบข้อเสนอนี้ด้วย ก็ทำให้เขามั่นใจมากขึ้นว่าที่เขาวางเป้าหมายไว้มันถูกทาง เพราะข้อเสนอของคุณก็อยู่ในแนวทางที่เรากำลังอยากจะทำอยู่แล้ว เช่น เรื่องการจ้างงาน PT ในรพช.100% และอาจจะขยายต่อไปในรพต. หรือสอ.ด้วย เรื่องโครงการนักเรียนทุน เป็นต้น

ก็อยากให้ช่วยกันให้ข้อเสนอแนะมาอีก และช่วยบอก PT ชุมชนคนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้ามาเยี่ยม blog นี้ให้เข้ามาพูดคุยกันให้มากขึ้น คณะทำงานทุกคนรวมถึงนายกสภาฯก็รู้สึกว่าสิ่งที่เสนอมามีประโยชน์ และเป็นข้อมูลที่มีน้ำหนักมากสำหรับช่วยในการตัดสินใจในระดับนโยบายเลยทีเดียว

วันนี้เล่าเท่านี้ก่อนนะ และต้องขออภัยนะเขียนยาวไปหน่อย

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช.

เห็นด้วยกับการขยายให้มีนักกายภาพบำบัดใน รพต.หรือ สอ.

ดิฉันอยู่โรงพยาบาลชุมชนที่มีอนามัยในเขตอำเภออยู่ 22 สถานีอนามัย

ลงสำรวจพบผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ประมาณ 300 ราย

รวมถึงผู้ป่วยโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้

ซึ่งส่วนใหญ่สมควรได้รับการรักษาฟื้นฟู

ถ้าผู้พิการได้รับการฟื้นฟูต่อเนื่องจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น

แต่ผู้พิการส่วนใหญ่เช่นกันที่ติดปัญหาด้านการเดินทางมารับการฟื้นฟูที่โรงพยาบาล

แม้จะให้โปรแกรมการฟื้นฟูที่บ้าน แต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่อง

ทำให้ผู้พิการรู้สึกท้อ...นักกายภาพบำบัดก็ไม่เพียงพอจะลงไปดูแลผู้พิการได้ทุกราย

จัดอบรมญาติและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ก็ไม่ค่อยเห็นผลมากนัก

เนื่องจากเขาไม่ใช่วิชาชีพ ทำให้ปรับหรือกระตุ้นพัฒนาการในการฟื้นฟูไม่ได้

ได้แต่เพียงการฟื้นฟูขั้นพื้นฐานเท่านั้น

หากมีนักกายภาพบำบัดประจำตามสถานีอนามัย

ก็จะทำให้เป็นโอกาสที่ผู้ป่วยและผู้พิการเหล่านี้จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ

งานในโรงพยาบาลตอนนี้ก็ล้นมือ เข้าไปดูแลได้แต่เพียงผู้ป่วยผู้พิการที่สาหัสจริงๆ

แต่ผู้ป่วยผู้พิการอีกส่วนใหญ่..."ไม่อยากให้เขาต้องทนกับความเจ็บป่วย

แล้วเฝ้าคิดว่าระบบสาธารณสุขไม่เอื้ออำนวยต่อคนยากจนอย่างเขา"

ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

เรียน รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร ผมกิตติเองครับ ข้อเสนอขอผมอาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก้อน้อยแต่คิดว่า กภ. ท่านอื่นๆก้อคงมีข้อเสนออื่นๆที่แตกต่างกันออกไปอยากให้ทุกคนร่วมกันเสนอนะครับ

เรียนทุกท่าน

ช่วยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ก่อนที่อาจารย์จะไปประชุมอีกรอบนะคะ ตอนนี้รพ.กิฉินารายณ์ จะมีโอกาสนำเสนอผลงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลด้วย(รพสต)ให้นายกอภิวิทธิ์ และรมว.สาธารณสุขฯ เพื่อสนับสนุนให้มีงานกายภาพบำบัดในรพสตให้มากขึ้น ใครอยากเล่าอะไร เสนออะไรอีกไหม

ปนดา

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัดต้องการทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ดิฉันได้เขียนโครงการเสนอผู้อำนวยการเพื่อขอเปิดแผนกกายภาพบำบัด ทางท่านผอ.ก็สนใจที่จะเปิด แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ทั้งเรื่องสถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ ตำแหน่งงาน ที่ทำให้รพ.ชุมชนยังไม่สามารถเปิดแผนกได้ อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยว่าควรทำอย่างไร ดิฉันได้ดูประกาศของสภาเรื่องรายชื่อร.พ.ที่ต้องการนักกายภาพบำบัด ถ้าต้องการทำงานตรงนั้นต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

ดิฉันอยากทราบว่ามีคลีนิคกายภาพบำบัดที่ไหนบ้างในกรุงเทพฯ จะได้ไปหา เพราะมีอาการปวดแขนมาไม่อยากหาหมอทานยาตามโรงพยาบาล

เรียนอาจารย์ปนดา และกภ.ทุกท่าน

ดิฉันเป็นนิสิตจบใหม่ทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน ได้ออกหน่วยเยี่ยมบ้าน เห็นสภาพผู้ป่วยแล้วเป็นคนพิการแน่ แต่เขาไม่ได้สิทธิคนพิการ อยากทราบว่าใครจะให้ผู้ป่วยเป็นสิทธิคนพิการ ดิฉันเป็นเด็กจบใหม่ ก็ไม่กล้าจะแสดงความคิดเห็นกับทีมที่ทำงานด้วย แต่เคยถามพี่พยาบาลบอกว่าต้องให้แพทย์เป็นคนตัดสิน แต่ว่าดิฉันไปออกเยี่ยมบ้าน แพทย์ก็ไม่ค่อยได้ออกไปเยี่ยมด้วย บางครั้งอยากให้เวลาฟื้นฟูผู้ป่วยนานๆ ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องไปอีกหลายบ้าน แต่ดิฉันเคยไปฝึกงาน เห็นพี่ๆ CI เวลาออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เห็นพี่ๆ CI เค้าก็ทำเรื่องให้สิทธิคนพิการ ให้แก่ผู้ป่วยได้

รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ ดิฉันเป็นเด็กพึ่งจบใหม่ เป็นนักกายภาพบำบัดคนเดียวด้วย และดูเหมือนบุคลากรที่นี่ยังไม่เข้าใจบทบาทกายภาพบำบัดอีกด้วย

ถึง น้องศิษย์เก่ามน.PT6

พี่เองก็เป็น PT ชุมชนนะคะ พี่ได้อ่านปัญหาที่น้องเจอ ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะ เรื่องการดูแลผู้พิการนั้น น้องควรดูแลให้เต็มที่เต็มเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรักษานะ เพราะการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยที่เห็นเด่นชัดหลังจากที่เราฟื้นฟู จะเป็นตัวช่วยบอกบทบาทของ PT ได้ดีมาก เมื่อคนไข้ดีขึ้นจากเรา วิชาชีพอื่นจะรู้บทบาทเรามากขึ้นค่ะ ส่วนเรื่องสิทธิของคนไข้นั้น เราเป็นนักกายภาพบำบัด สามารถประเมินเบื้องต้นได้ค่ะ โดยใช้เอกสารประเมินความพิการซึ่งต้องเซนต์โดยแพทย์ น้องควรรุกเข้าไปหาแพทย์เรื่องการประเมินความพิการ ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลเขาบริการจดทะเบียนผู้พิการแบบ one stop service แล้วนะ ลองบอกเจตนาการทำงานเราให้แพทย์ทราบค่ะ บอกให้ทราบว่าเราต้องการช่วยให้คนพิการได้รับการจดทะเบียนให้ทั่วถึง เพื่องบผู้พิการใน CUP ของเราจะได้เพิ่มขึ้น เน้นเรื่องการหางบเข้า รพ.เยอะๆ (ไม่ทราบว่า clear บ้างรึเปล่า ) สู้ๆ นะคะน้อง

เรียนนักกายภาพบำบัด post ที่ 186

ไม่ทราบว่าปัจจุบันทงานในรพช.อยู่หรือยัง ถ้าทำอยู่แล้วจะเปิดแผนกก็คงต้องคุยกับผอ.ว่าพอมีงบสนับนุนเท่าไร คงต้องหาอุปกรณ์ที่จำเป็นก่อน แต่ถ้าไม่มีจริงๆ ก็ต้อง 1 สมอง 2 มือ ไปก่อน จริงไม่มีแผนกก็ดีเหมือนกันเดินไปหาผู้ป่วยทำก็ได้ ขอให้มีการประสานงานกับแพทย์ ว่าผู้ป่วยแบบไหนที่เราช่วยดูแลได้ และเรายังสามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาในการออกเยี่ยมบ้าน หรือจะออกสำรวจปัญหาของผู้ป่วยในชุมชนเพื่อนำมาเขียนโครงการในการทำงานก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน แบบที่ออกไปสำรวจปัญหาเราคงต้องเข้าไปในชุมชน ไปทำความรู้จักกับ PCU ผู้นำชุมชนด้วยก็จะดี ทำให้เขารู้จักเรา เขาจะได้ให้ความสะดวกกับเราเวลาเขาหม่บ้าน ทำแผนที่เดินดิน เราจะรู้ว่ามีผู้ป่วยอยู่ตรงไหนบ้าง บ้านไหนมีคนป่วยก็คน ทำไปทีละหมู่ก็ได้ เมื่อได้ปัญหาของผู้ป่วย เราก็มาทำเป็นโครงการในการแก้ปัญหา โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำจะได้ยั่งยืน ต้องแนะนำให้พวกเขาช่วยกันดูแลกันเองด้วย

ส่วนเรื่องรพช.มีมีประกาศรับ PT นั้นถ้าใครต้องการสมัครก็ส่งใบสมัครไปถึงผอ.ได้เลย หรือจะไปสมัครด้วยตนเองก็ได้ บอกเขาว่าได้รับข้อมูลความต้องการจ้างนักกายภาพบำบัดจกสปสช. เขาจะเข้าใจเพราะเขามีพันธสัญญาในการสนับสนุนการจ้าง PT กันอยู่ค่ะ

ปนดา

ตอบ คุณอุบล post ที่ 187

คลินิกของคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว ของม.มหิดล ตรงตีนสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนฯ มีทั้งในเวลา นอกเวลา เป็นราชการเบิกได้ค่ะ ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหนของกทม.คะ จริงๆ แล้วเกือบทุกรพ.ของรัฐและเอกชนก็มีแผนกกายภาพบำบัดค่ะ เพียงแต่ต้องไปพบแพทย์ในรพ.นั้นๆ ก่อนให้เขาส่งเราไปปรึกษานักกายภาพบำบัด แต่ถ้าไปที่คลินิกก็สามารถไปปรึกษาได้เลยโดยตรงค่ะ

ปนดา

ขอบคุณนักกายภาพบำบัดคนภาษาเดียวกันที่ช่วยตอบและแนะนำน้อง กภ.ชุมชน จริงๆ แล้วอยากให้ช่วยกันแนะนำค่ะ เพราะพวกเรามีประสบการณ์โดยตรงอยู่แล้ว มใครที่พอจะแนะนำน้องได้อีกไหม จริงๆ พี่อากแนะนำน้องให้คุยกับพี่จีรวรรณ นักายภาพบำบัดรพ.ศูนย์ขอนแก่น เขาจะรูเรื่องทะเบียนผู้พิการ และสิทธิของผู้พิการด๊ หรอพี่ๆ PTที่รพ.สรรพสิทธิประสงค์ เขาทำทะเบียนผู้พิการได้ค่อนข้างสมบูรณ์มีการทำงานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายด้วย ถ้ามีโอกาสลองไปคุยกับเขาดู หรือโทรไปที่รพ.ก็ได้ อยากรู้อะไรจะได้ถามได้เต็มที่

ปนดา

ถึง กภ. ทุกท่านตอนนี้ผมออกเยี่ยมผู้พิการมีปัญหาจดทะเบียนความพิการเช่นกัน เพราะกฎหมายยังไม่รับรองนอกจากแพทย์ แล้วเราตรวจประเมินให้แล้วมาขอลายเซนต์ทีหลังหรือยังไงดีครับขอทราบประสบการณืจาก รพชฬอื่นกรณีที่แพทย์ไม่ได้ออกเยี่ยมด้วย (แนะนำคนไข้มาจดที่ รพ.แล้วแต่มาไม่ได้จิงๆ)

กายภาพบำบัด รพ.โขงเจียม

จากที่ออกเยี่ยมชุมชนมา พบปัญหาเรื่องสิทธิ์ไม่ตรงจริงๆค่ะ มากๆด้วย ทั้งๆที่บางรายก็มีสมุดประจำตัวผู้พิการแล้วแต่ยังเป็นสิทธ์อื่นๆที่ไม่ใช่ผู้พิการดังนั้น ก็เลยคุยกับพี่ที่สิทธิบัตร ประเด็นคือ ต้องมีหลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิ์ ที่สำคัญคือ เอกสารเช่นสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน(ถ้าผู้พิการมีสมุดประจำตัวผู้พิการแล้วก็สำเนาสมุดนี้มาด้วย)และสำเนาบัตรทองเดิมที่มิใช่สิทธิ์ผู้พิการค่ะ (รับรองสำเนาด้วยนะคะ)(หรือให้พกบัตรทองมาดูด้วยในวันที่เราคัดกรองถ้าเป็นสิทธิ์ ท74 แล้วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ใช่ก็พิจารณาเปลี่ยนสิทธิ์ เราก็อาจจะลงข้อมูลเลขบัตรไว้ เช่น ท89.....หรืออะไรก็ตามที่ไม่ใช่สิทธิ์ผู้พิการ /และที่ไม่ใช่สิทธิ์ย่อยผู้พิการ)ที่บอกให้สำเนามาคือส่วนมากเวลาที่เราลงคัดกรองนั้นจะพบปัญหาเรื่องนำเอกสารหลักฐานมาไม่ครบ ลืมบ้าง เพื่อการไม่เสียเที่ยวและได้ประโยชน์สูงสุดในการสำรวจคัดกรองแต่ละครั้งควรนัดแนะประสานงานกับอนามัยและอสม.ให้เน้นย้ำและเช็คหลักฐานก่อนวันเราออกเยี่ยมจริง (คือจะได้ไม่ต้องวิ่งร่อนถ่ายเอกสารตามมาให้ทีหลัง)แล้วเราก็รวมเอกสารเลย

ในกรณีการสำรวจที่พบว่าที่เป็นผู้พิการรายใหม่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเปลี่ยนสิทธิ์ของเรา ผู้พิการเค้าจะยังไม่มีสมุดผู้พิการค่ะ ถ้าเราสามารถช่วยตรงนี้ได้จะเร็วมากเราต้องดำเนินการคือ อาจจะให้แพทย์ลงคัดกรองร่วมกับเรา เพื่อออกเอกสารรับรองความพิการค่ะ แล้วเราก็ดำเนินการรวบรวมหลักฐาน คือ รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 ใบ ,สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารรับรองความพิการ และสำเนาบัตรทองมาด้วย เพื่อจะได้เปลี่ยนสิทธิ์ต่อเลย ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำสมุดผู้พิการเราจะต้องประสานดำเนินงานกับ พมจ ค่ะ แต่การเปลี่ยนสิทธิ์สามารถดำเนินการที่ รพ.ของเราได้เลย (หมายถึงในอำเภอเรานะคะ)...พอจะช่วยตอบคำถามได้หรือป่าวคะ เราก็จบใหม่เหมือนกัน

คราวนี้อยากจะเรียนปรึกษา อ.ปนดาเรื่อง ขอเจ้าหน้าที่ วฟ ค่ะ ทางผอ.ท่านเล็งเห็นความสำคัญงานเรา เลยอยากปรึกษาเรื่องการที่จะเพิ่มตำแหน่ง วฟ นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ติดต่อที่ไหนกับใคร แนวทางการรับสมัคร เกณฑ์ต่างๆ อัตราจ้าง อัตรากำลังใน รพช. และผู้ช่วย ด้วยค่ะ จะได้เปรียบเทียบให้ผอ.ทราบได้ว่า การมีผู้ช่วย กับ การมี วฟ จะมีอะไรที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ( เกณฑ์ว่าจะจ้างPT เพิ่มยังไม่มีค่ะ )

เรียน รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร และพี่นักกายภาพบำบัดทุกท่าน ผมอยากจะขอสอบถามเกี่ยวกับการเคลมการให้บริการผู้พิการให้ทาง สปสช.ซึ่งการออกหน่วยไม่ได้เพียงแต่ดูแลด้านการเคลื่อนไหวหรือสติปัญญาเท่านั้น เช่น ในกรณีผู้พิการทางการมองเหน หรือการได้ยิน แล้วเราไปแนะนำสิทธฺหรือเปลี่ยนสิทธฺบัตรทองให้ จัดหาไม้เท้าขาว หรือแนะนำช่องทางการรับหูฟัง หรือประสานงานด้านอาชีพการศึกษา เป็นต้น จัดเปงการให้บริการทางกายภาพบำบัดได้หรือไม่ หรือในบ้าง รพ.ที่ไม่มีนักกายภาพบำบัดพยาบาลสามารถ เคลม สปสช.เปงค่าบริการทางพีทีได้หรือไม่อย่างไร ขอให้ผู้รู้แนะนำด้วยครับ

อยากทราบว่าที่ลงประกาศค่ารักษาทางกายภาพ ในหมวดที่14ซึ่งแต่ก่อนยังไม่มีแต่เดี๋ยวนี้เห็นอยู่ในเน็ตซึ่งจากโพสต์ที่สังเกตได้ upload จากกรมบัญชีกลาง ไม่ทราบว่าจริงเท็จแค่ไหนคะ ใช้ได้หรือยัง เพราะกำลัง งงๆ กับผอ.อยู่น่ะค่ะ ที่ของหมวดของเราจะอยู่หน้า126 ค่ะ รบกวนชี้แจงเพื่อความกระจ่างแจ้งด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูง

ตอนนี้กระจ่างแล้วค่ะ ยังไม่ได้ update ของค่ารักษาทางกายภาพค่ะ ยังไม่มีประกาศออกมาล่าสุด โทรถามกรมบัญชีกลางมาแล้ว วันนี้เลยย

สวัสดีครับ

พึ่งกำลังจะก่อร่างสร้างตัวเปิดแผนกที่ รพ.ชุมชน ครับ

ใครมีอะไรแนะนำผมด้วยนะครับ

โครงการ ค่าบริการ ฯลฯ ที่พอจะทำให้เงินเข้าโรงพยาบาล หรือทำให้คนรู้จักกายภาพบำบัดมากขึ้น

^ ^

อยากให้มีการอบรมหรือพัฒนานักกายภาพบำบัดใน รพ.ชุมชน หรือมาแลกเปลี่ยนความรู้ก็ดีครับ

ปล.รพ.ผมก็ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีงบ แต่พอดีคุยกับ ผอ.แล้วเค้าตัดสินใจรับนักกายภาพบำบัดมาลองสักตั้ง

เหอ ๆๆ

เรียนพี่น้องชาวกายาภาพบำดทุกท่าน ผมขออนุญาติใช้บล็อกนี้เปงที่ระบายความคับข้องใจที่มันเคยเกิดขึ้นมาเลย จนต่อมาก้อปรับตัวดีขึ้นมาก จนมาวันนี้ความรู้สึกน้อยเนื้อตำใจก้อเกิดอีกครั้ง เล่าเลยละกานครับ:ผมมาเปิดแผนกที่ รพช.เปงเดกจบใหม่ไม่มีประสบการณ์อารายเลยด้านงานบริหาร ตอนแรกขึ้นตรงกะเภสัชได้สองอาทิตย์ก้อได้โยกโครงสร้างมาขึ้นตรงกะฝ่ายเวชปฏิบัติได้มาจนถึงทุกวันนี้ พี่ กภ.หลายคนตำนิผมที่ขอให้แยกงานกายภาพบำบัดออก บอกว่าเปงการก้าวร้าว จะอยู่กับครายก้อไม่สำคัญ พี่ กภ.หรือเพื่อนเปิดใหม่บางคนที่ขึ้นกะ ผอ.ก้อให้กำลังใจและให้ทดทนต่อไป หากตัดเรื่องศักดิ์ของวิชาชีพออกไปผมก้อพอทนไปได้ แต่งานเดินช้ามาก ทำงานมาห้าเดือนมีโอกาสพบ ผอ.เพียง 1ครั้ง นอกนั้นหากมีปัยหาให้ปรึกษาพี่ หน.แล้วเค้าจะไปแจ้งหรือติดตามให้ ซึ่งปัญหาด้านระบบการจัดการให้บริการก้อยังคงไม่ได้รับการแก้ไข เพราะผมไม่ได้เปงคณะกรรมการ รพ.ที่ขอคำปรึกษาหรือให้ หน.ฝ่ายอื่นช่วยคิดทำได้เพียงคุยเปงรายๆ เช่น หมอ หรือฝ่ายต่างๆ จนสุดท้ายก้อเรื่องเงินๆทองๆ ของแบบนี้ไม่เค้าครายออกครายๆก้ออยากมีเงินเก็บ ผลก้อคือค่าตอบแทนการออกหน่วยของเราจะต้องแบ่งเข้าฝ่ายด้วยทั้งๆที่งานเราทำเองทั้งหมด ผมควรจะทำยังไงดี ศักดิ์ของวิชาชีพเรามีมากน้อยแค่ไหน แค่คนหาว่าผมเปงหมดนวดก้อปวดใจจะแย่อยู่แล้ว สุดท้ายนี้ผมขออุทิศกำลังกายและใจเพื่อกายภาพบำบัด.....ขอโทดนะครับที่เลือดพีทีมานแรง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท