Ka-Poomเขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2549 16:29 น. ()
แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556 12:58 น. ()
ความเท่าเทียม และโอกาส
การวินิจฉัยคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
ความพิการหรือความพิการทางจิตใจ หรือพฤติกรรมในที่นี้ หมายถึง
1. คนป่วยโรคจิต
2. คนที่มีความผิดปกติของสมอง ซึ่งทำให้เกิดความบกพร่องทางการรับรู้ อารมณ์และความคิดจนมีพฤติกรรมที่เบียงเบนไปจากปกติ เช่น ผู้ป่วยที่สมองถูกกระทบกระเทือนแล้วทำให้เป็นคนฉุนเฉียว ก้าวร้าว เอะอะอาละวาด ฯลฯ
ระดับของความผิดปกติ
ระดับที่ 1 ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และรบกวนความสงบผู้อื่น
ระดับที่ 2 ผู้ที่อยู่ตามลำพังไม่ยุ่งกับใคร และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ระดับที่ 3 ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้บ้าง
ระดับที่ 4 ผู้ที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้
ระดับที่ 5 ผู้ที่เลี้ยงตัวเองได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้
ในการประเมินสภาวะทางจิต หรือพฤติกรรม 3 ด้าน คือ
1. สภาวะทางจิตใจ
2. สมรรถภาพทางสังคม
3. สมรรถภาพในการดำรงชีพ
กฏกระทรวงกำหนด ดังนี้
1. คนพิการทางจิตใจ หรือพฤติกรรม ได้แก่ คนที่มีความผิดปกติ หรือความบกพร่องทางจิตใจหรือสมองของการรับรู้อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเองหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น และ
2. เมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามปกติแล้วแต่ความผิดปกติหรือความบกพร่องดังกล่าวยังคงมีอยู่
คนพิการตามกฏหมาย ประเภทนี้ จึงหมายถึง
1. คนที่มีความผิดปกติทางจิตใจหรือพฤติกรรมระดับที่ 1 หรือ 2 มีอาการทางจิต (ป่วย) อย่างน้อย 2 ปี (อาการอาจเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปช่วงเวลาดังกล่าวได้) และ
2. ก่อนการวินิจฉัยต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์ถูกต้องสมำเสมออย่างน้อย 6 เดือน ติดต่อกัน
ผู้ป่วยจิตเวช ที่อยู่ในความดูแลของ "เรา" ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2549 มีทั้งหมดจำนวน 988 คน ป่วยด้วยโรคเรื้อรังทางจิตเวชและได้รับการรักษา ไม่ต่ำกว่า 2 ปี ไปจนถึงสูงสุดเป็น 10 ปี+ แต่ (ข้อมูลจาก ทะเบียนกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลยโสธร)..ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการ 4 คน..(ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร)
คำถาม
"อะไร...คือ...ความเท่าเทียมและโอกาส...?"
ความเห็น
ขอร่วม ลปรร.นะครับ
การให้คนกลุ่มนี้ซึ่งถือว่าเป็นคนชายขอบอีกลุ่มหนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน
มี 2 มุมให้พิจารณา
1. ขึ้นทะเบียนได้เร็ว รับรองเร็ว
ทำให้เขาได้โอกาสเป็นคนพิการตามสิทธิอันพึงมีพึงได้
2. หลักเกณฑ์มาก ยุ่งยากซับซ้อน
ทำให้เขาไม่ได้ได้ขึ้นทะเบียนฯ แต่เขาก็ไม่เสียสิทธิ
หากญาตินำไปยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
อันนี้ก็น่าพิจารณา
จากทั้ง 2 ประการ
ผมเองแม้จะดำเนินการเรื่องนี้ร่วมกับ สวรส.ภาคใต้ มอ.อยู่ด้วย
ก็เคยได้ทบทวนกันในที่ประชุม โดยสรุปก็ยากที่จะตัดสินใจอยู่
และพักเรื่องนี้ไว้เป็นประเด็นหารือใหญ่ ๆ เรื่องหนึ่งครับ
คาดหวังว่าเร็ว ๆ นี้จะมีทางออกที่สวยงาม
เมื่อเราใช่ขบวนการกลุ่มฯ
บันทึกนี้คือ...ข้อเท็จจริงที่อยาก
"สะท้อน" อะไรบางอย่างให้รับทราบ...
"ผู้ป่วยจิตเวช...ไปสมัครงานที่ไหน..มักถูกปฏิเสธ"
"ผู้ป่วยจิตเวช...ไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการ..ก็ถูกปฏิเสธ"
ภาระที่เกิดขึ้น..จึงตก..อยู่ที่ "ชะตา"
ที่เขาได้รับ
สังคมชอบอ้างความเท่าเทียมกัน
แต่สังคมก็ไม่เคยให้ความเสมอภาคกับทุกคน
ก่อนถึงสังคม...
คน..เคยหยิบยื่น ให้ ความ "เท่าเทียม"
กันหรือไม่
ครอบครัว..เคยหยิบยื่น ให้ ความ "เท่าเทียม"
กันหรือไม่
ชุมชน..เคยหยิบยื่น ให้ ความ "เท่าเทียม"
กันหรือไม่
สังคม...
สภาพสังคมในปัจจุบัน ทำให้เกิด คนที่มีความพิการทางจิตใจมากขึ้น
เราควรจะทำอย่างไรดีที่จะช่วยให้คนเหล่านี้ได้รับการดูแล
ให้โอกาส….กับคนเหล่านี้เถอะค่ะ
คุณ "พี่หน่อยน้อย"
เพียงแค่คนพิการ...กาย..สังคมยังลืมเลียวแล..ในบางโอกาส
แล้ว..ผู้พิการ.."จิต"..ใจ..เล่า..จะได้โอกาสนั้น..มากแค่ไหน
คุณพี่ Dr.Ka-poom
คะในกรณีที่ป่วยทางจิตโดยที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นจะทำอย่างไรกับคนที่กำลังเผชิญกับเรื่องแบบนี้คะ
??
แล้วถามว่าในโลกแห่งความจริง การป่วยทางจิต
มีคนยอมรับตนเองมากแค่ไหนคะ ว่าตนเองเป็นโรคจิต...งงมั๊ยคะ
??
อาจเป็นแค่คนหนึ่งบนโลก จุดเล็กๆของสังคม
แต่ถ้าจุดเล็กๆ จุดนี้ จะมีส่วนร่วมกับหลายๆ จุดที่คล้ายคลึงกัน
ก็ขอเป็นกำลังใจในการที่จะส่งเสริมการทำความดี เพื่อสังคม ประเทศชาติ
มวลมนุษย์โลกต่อไป นะคะ
เป็นกำลังใจให้ต่อสู้ และฟันฝ่า
สู่จุดหมายที่คุณพี่
Dr.Ka-poom ต้องการถ่ายทอดสู่มวลชน ต่อไปนะคะ
สู้ๆๆ!!!!
Thaibannok...คนดีคะ *_*!!
หนูก็เป็นผู้พิการทางจิตใจค่ะ ฮอร์โมนสมองไม่หลั่ง พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง พูดจีนได้ค่ะ ตอนนี้ยังมีคนเลี้ยงอยู่ ถ้าไม่มีคนเลี้ยงก็ว่าจะหางานทำค่ะ