ผลงานวิชาการ ชุด พัฒนาภาษาไทย


การอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความสำคัญ  จัดทำเป็นผลงานวิชาการ 

เอกสารประกอบการเรียน

ชุด  พัฒนาหลักการใช้ภาษาไทย

เล่ม ๑ หลักการจับใจความสำคัญ

 

 

 

 

 

 

โดย   นางเดือนฉาย   นิลสวิท

ครูชำนาญการพิเศษ    โรงเรียนบ้านทุ่งขาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง  เขต 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

การจับใจความสำคัญของเรื่อง

การอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง

 

 

 

                ความหมาย ความสำคัญของการอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่มที่เป็นส่วนใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง

            ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่น ๆ     ในย่อหน้านั้นหรือเรื่องนั้นทั้งหมด  ข้อความอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้น  ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว  นอกนั้นเป็นใจความรอง  คำว่าในความสำคัญนี้  เรียกได้หลายอย่าง  เช่น  ข้อคิดสำคัญของเรื่อง  แก่นของเรื่อง หรือความคิดหลัก  ของเรื่อง  ใจความสำคัญส่วนมากจะมีลักษณะเป็นประโยค อาจอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของย่อหน้าก็ได้  จุดที่พบมากที่สุด คือ ประโยคที่อยู่ตอนต้นของ ย่อหน้า เพราะผู้เขียน   มักบอกประเด็นสำคัญไว้ก่อน รองลงมาคือประโยคตอนท้ายย่อหน้า จุดที่พบใจความสำคัญยาก คือ ประโยคตอนกลางย่อหน้า จึงต้องใช้ความสังเกตและพิจารณาให้ดี และจุดที่หาได้ยากที่สุด คือ ย่อหน้า ที่ไม่มีประโยคใจความสำคัญปรากฏชัดเจน ต้องสรุปออกมาเอง

 

หนูจะเอาไปอ่าน

จับใจความค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

            แนวทางการอ่านจับใจความสำคัญให้บรรลุผล มีดังนี้

.  ตั้งจุดมุ่งหมายการอ่านให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางกำหนดการอ่านได้          อย่างเหมาะสมและจับใจความหรือตอบคำถามได้รวดเร็ว

. สำรวจส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าว ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อเรื่องหรือหนังสือที่อ่านได้กว้างขวางและรวดเร็ว

. ทำความเข้าใจลักษณะของหนังสือว่าเป็นหนังสือประเภทใด จะช่วยให้มีแนวทางจับใจความสำคัญได้ง่าย

. แปลความหมายของคำ ประโยคและข้อความต่าง ๆ ให้ถูกต้องรวดเร็ว

. ใช้ประสบการณ์หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาประกอบ จะทำให้เข้าใจและจับใจความเรื่องที่อ่านได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

            ขั้นตอนการอ่านจับใจความสำคัญ

.  อ่านผ่าน ๆ โดยตลอด  เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่อ่านว่าด้วยเรื่องอะไร  และจุดใด            เป็นจุดสำคัญของเรื่อง

. อ่านให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ไม่ควรหยุดอ่านระหว่างเรื่อง เพราะจะทำให้ความเข้าใจไม่ติดต่อกัน

. อ่านซ้ำตอนที่ไม่เข้าใจและตรวจสอบความเข้าใจบางตอนให้แน่นอนถูกต้อง

. เรียบเรียงใจความสำคัญของเรื่องด้วยตนเอง

เมื่อศึกษาความหมายและความสำคัญในการอ่านจับใจความสำคัญ ของเรื่องเข้าใจดีแล้ว  ครูก็จะทดสอบความสามารถของนักเรียนสักหน่อย  โดยให้นักเรียนตอบคำถามเป็นช่วง ๆ ไป  จะตอบถูกหรือผิดไม่ต้องกังวลใจ ถ้าตอบผิดข้อไหนก็ให้ย้อนกลับไปศึกษาใหม่อีกครั้งให้เข้าใจนะคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


๑๙

บรรณานุกรม

 

กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ.   การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย 

ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔.  กรุงเทพมหานคร: 

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  ๒๕๔๖.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิม

            พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ.  วัฒนธรรมพัฒนาการทาง

            ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา  จังหวัดลำปาง.  กรุงเทพมหานคร:

รงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  ๒๕๔๔.

สุวิทย์  มูลคำ  สุนันทา  สุนทรประเสริฐ.  การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อน

วิทยฐานะ.  กรุงเทพมหานคร:  ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์,    ๒๕๕๐. 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แบบฝึกหัดสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  ชุด

            ภาษาเพื่อชีวิต  ทักษะภาษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔.  กรุงเทพมหานคร: 

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  ๒๕๕๐.

              .   หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที 

ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔.  กรุงเทพมหานคร:  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  ๒๕๕๐.

 

 

หมายเลขบันทึก: 215438เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท