ผลงานวิชาการ ชุด พัฒนาภาษาไทย


สำนวน สุภาษิตไทย

สำนวนสุภาษิตไทย จัดทำเป็นผลงานวิชาการ 

เอกสารประกอบการเรียน

ชุด  พัฒนาหลักการใช้ภาษาไทย

รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง

เล่ม    สำนวนไทย 

 

น้ำพึ่งเรือ  เสือพึ่งป่า

ไก่งามเพราะขน

คนงามเพราะแต่ง

 

 

 

 

 


โดย   นางเดือนฉาย   นิลสวิท

ครูชำนาญการพิเศษ    โรงเรียนบ้านทุ่งขาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง  เขต 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

การอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง

สำนวนไทย

ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

 

 


                ลักษณะและความหมายของสำนวนไทย

คำว่า สำนวน  เป็นคำนาม  มีความหมายว่า “โวหาร ”หมายถึง ถ้อยคำ หรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน สำนวน เป็นลักษณะของการใช้คำในแบบความหมายแฝง คือไม่ได้มีความหมายตรงๆ อย่างที่พูดหากแต่มีแง่คิด  เป็นการเปรียบเทียบที่ยอกย้อน  ผู้ฟังต้องตีความอีกชั้นหนึ่งจึงจะเข้าใจได้

            สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือวลีที่คมคาย  กินใจผู้ฟัง  ใจความสั้น  กะทัดรัด  มีความหมายไม่ตรงถ้อยคำ  แต่เป็นที่เข้าใจและยอมรับ  เป็นการใช้โวหารที่กระชับ  ให้คำน้อย กินความหมายกว้างและลึกซึ้ง  สำนวนต่าง ๆ ของคนไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก  มีทั้งเก่าและใหม่  การศึกษาเกี่ยวกับสำนวน  ช่วยให้มีความรู้แตกฉานในทางการใช้ภาษา  สามารถนำสำนวนต่าง ๆ ไปใช้ในการพูด  การเขียน  ช่วยใช้ภาษากระชับคมคาย  และยังช่วยให้มีความรู้เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่  ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด   ความเชื่อ  และความนิยมของคนไทย  ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน  เพราะสำนวนเกิดจากการ    ที่คนสังเกตสิ่งแวดล้อม  แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นโวหารเปรียบเปรยเปรียบเทียบกับการกระทำของคนที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน  เช่น  เอาเป็ดมาขันประชันไก่  เกิดจากการสังเกตธรรมชาติของเป็ดนั้นว่าแม้จะขันได้    แต่ก็ไม่ไพเราะ  สู้ไก่ไม่ได้  จึงเอาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่เก่งแล้วมาขันกับคนที่เก่งกว่าชำนาญกว่า หรือ  สำนวนว่า   ปลาใหญ่ตายน้ำตื้น  เกิดจากการสังเกตสภาพของสัตว์น้ำ  เช่นปลาตัวโตแข็งแรงเวลาอยู่ในน้ำลึกเพราะมีที่ว่างให้สำหรับสะบัดหัวสะบัดหางได้ตามชอบใจ แต่ถ้ามาอยู่ในเขตน้ำตื้นกลับเอาตัวไม่รอด   ขณะที่ปลาเล็กปลาน้อยอยู่ในน้ำตื้นได้ไม่เป็นไร  จึงเอามาเปรียบเทียบกับคนใหญ่โตมีอำนาจมาก กลับมาเสียทีหรือจนปัญญา

กับเรื่องเล็ก ๆ  น้อย ๆ

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชาวนา

กับงูเห่า

 สำนวนมีหลายลักษณะ เช่น    

๑. สำนวนที่ใช้เปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่พูดถึง แฝงด้วยข้อคิด เรียกว่า      คำพังเพย  เช่น  เงยหน้าอ้าปาก  น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เอาหูไปนา เอาตาไปไร่

. สำนวนที่ใช้เปรียบเทียบ เพื่อสอนให้ทำหรือเว้นไม่ให้ทำ เรียกว่า ภาษิตหรือสุภาษิต  เช่น  ตามใจปากมากหนี้   รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม  น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใส

ไว้นอก

. สำนวนที่เป็นความหมายเปรียบเทียบหรือความหมายแฝง  ไม่ได้มีความหมายตรงตามความหมายเดิม เช่น  ชักใย   ใต้ดิน  ทางออก

. สำนวนที่เป็นปริศนาคำทาย  เป็นการเล่นแบบหนึ่งของไทยใช้ทายเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและฝึกเชาวน์ปัญญา เช่น  อะไรเอ่ยต้นเท่าครกใบปรกดิน(ตะไคร้)  อะไรเอ่ยต้นเท่าขาใบวาเดียว(กล้วย)

 

 

 

 

 

 

 

สำนวน  เกิดจากมูลเหตุต่าง ๆ  หลายด้าน  ดังนี้

๑.      สำนวนที่เกิดจากการสังเกตธรรมชาติ  เช่น  น้ำตาลใกล้มด   ตื่นแต่ไก่โห่

๒.   สำนวนที่เกิดจากการกระทำ  เช่น  กระเชอก้นรั่ว  ปิดทองหลังพระ ชุบมือเปิบ   

๓.    สำนวนที่เกิดจากเครื่องแวดล้อม  เช่น  ตีเรือทั้งโกลน  ตีวัวกระทบคราด

๔.    สำนวนที่เกิดจากอุบัติเหตุ  เช่น  น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือขวาง  ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ 

๕.    สำนวนที่เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อ  เช่น กงกำกงเกวียน           ผีซ้ำด้ำพลอย   คนดีผีคุ้ม  

๖.     สำนวนที่เกิดจากลัทธิศาสนา  เช่น  ตักบาตรถามพระ   ทำคุณบูชาโทษ

๗.    สำนวนที่เกิดจากความประพฤติ  เช่น  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  น้ำขึ้นให้รีบตัก

๘.    สำนวนที่เกิดจากการเล่นหรือกีฬา  เช่น  ไม่ดูตาม้าตาเรือ   เข้าตาจน

๙.     สำนวนที่เกิดจากนิยายหรือตำนาน  เช่น  กระต่ายตื่นตูม   ดอกพิกุลร่วง 

๑๐.  สำนวนที่เกิดจากพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์  เช่น  เห็นกงจักรเป็นดอกบัว    ทำมิชอบเข้าลอบตนเอง

ความหมายของสำนวนไทย

ความหมายของสำนวนไทยต่าง ๆ เช่น

กบใต้กะลาครอบ        หมายถึง ไม่ค่อยรู้อะไร

กระต่ายตื่นตูม            หมายถึง อาการที่ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน

กระเชอก้นรั่ว              หมายถึง  สุรุ่ยสุร่ายไม่รู้จักเก็บออม

กิ้งก่าได้ทอง                หมายถึง  เย่อหยิ่งเพราะได้ดีหรือมีทรัพย์ขึ้นเล็กน้อย

กินรังแตน                   หมายถึง  มีอารมณ์เสียแล้วเอะอะโวยวายเกินกว่าเหตุ

เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน        หมายถึง  เก็บเล็กผสมน้อย

คมในฝัก                      หมายถึง  มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่

   แสดงออกมาให้ปรากฏ

จับปลาสองมือ                             หมายถึง  ทำงานหลายอย่างเวลาเดียวกัน

ใจดีสู้เสือ                          หมายถึง  ทำใจให้เป็นปกติเมื่อผจญกับสิ่งที่น่ากลัว

ชักหน้าไม่ถึงหลัง             หมายถึง  รายได้ไม่พอกับรายจ่าย

ชิงสุกก่อนห่าม                             หมายถึง  ด่วนทำอะไรก่อนเวลาอันควร

ดินพอกหางหมู                 หมายถึง  การงานที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ

ตามใจปากมากหนี้           หมายถึง  เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก

น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก  หมายถึง  แม้จะไม่พอใจก็แสดงสีหน้ายิ้มแย้ม

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งปา           หมายถึง  การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


การวิเคราะห์ความหมายของสำนวนไทยจากบทร้อยกรอง

 

 

 

.         พบเสือดุไม่เห็นมีทางหนีได้

            ต้องหันหน้าสู้ไว้ทำใจกล้า

            พบคนดุแม้หวั่นพรั่นอุรา

ค่อยเจรจาอาจคลี่คลายร้ายเป็นดี

 

.        ไม่เคยเห็นโลกกว้างเป็นอย่างไร

            มัวหลงใหลว่าตนเองเก่งหนักหนา

            เหมือนกบเติบใหญ่ในกะลา

ก็คิดว่าตนใหญ่ใครไม่เทียม

 

.                                น้ำขึ้นรีบตัก

            เตือ

หมายเลขบันทึก: 215436เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผลงานวิชาการ อ่าน

ขอขอบคุณที่บอกให้รู้

ได้สาระความรู้ดี

หวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท