คืออะไร..และเชื่อ..ว่าอย่างไรในคอนสตรัคติวิส (constructivism)


คอนสตรัคติวิส (constructivism) เชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นไม่ใช่การถ่ายทอด บุคคลสร้างขึ้นด้วยความรู้สึกในโลกของพวกเขาเอง

คอนสตรัคติวิส (constructivism) คืออะไร? และคอนสตรัคติวิส (constructivism) เชื่อว่าต้องทำอะไร?

 

 

 

ดอกหญ้า เมื่อ พ. 29 มี.ค. 08:41:30 2006 เขียนว่า:

รบกวน คุณDr.Ka-poom  อธิบายทฤษฎีการเรียนรู้ คอนตรัสติวิสซึม  ให้ได้อ่านได้ไหมคะ 
หรือรวบกวนส่งทางอีเมล์ก็ได้นะคะ  กำลังสนใจค่ะ
แหะๆ รบกวนเกินหรือเปล่าคะ  ขอบคุณค่ะ

 

          จาก คห. ที่มิตรคนดีคนหนึ่ง "คุณดอกหญ้า" ทิ้งถาม..ไว้ใน "คำเฉลยของน้องเดม...กับความคิดเชิงระบบ?" ...จึงขอมา ลปรร. กันที่นี่นะคะ

 

           คอนสตรัคติวิส (constructivism) เชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นไม่ใช่การถ่ายทอด บุคคลสร้างขึ้นด้วยความรู้สึกในโลกของพวกเขาเอง และทุกๆสิ่งที่ที่พวกเขาเข้ามาสัมผัสโดยสร้างสิ่งแทนความหมายหรือโมเดลจากประสบการณ์ของพวกเขา การสร้างความรู้เป็นกระบวนการธรรมชาติ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เผชิญกับบางสิ่งที่พวกเขาไม่รู้แต่มีความต้องการที่จะเข้าใจ ธรรมชาติของพวกเขาก็จะเอนเอียงที่จะพยายามให้เคยชินกับมันในสิ่งที่ว่าอะไรที่พวกเขาพร้อมจะรู้ในเรื่องที่จะอธิบายว่ามันหมายถึงอะไร วัยเด็กเล็กจัดเป็นแม่แบบของคอนสตรัคติวิส (Constructivists) พวกเขา(เด็กๆ)ไม่หยุดนิ่งที่จะสำรวจในโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่พวกเขาไม่เข้าใจ ดังนั้นพวกเขามักจะทำการสำรวจอย่างต่อเนื่องภายใต้ความคุ้นเคยที่เป็นไปได้และข้อจำกัดที่มีอยู่ พ่อแม่พยายามที่เข้ามาแทรกแซงด้วยการสอนตามบทเรียนของเขา แต่เด็กวัยเด็กเล็กมักจะนำเสนอด้วยการสำรวจและเรียนรู้ด้วยตัวของพวกเขาเอง

 

          และ คอนสตรัคติวิส (constructivism) ยังเชื่อว่าความรู้นั้นไม่สามารถถ่ายทอดได้อย่างง่ายโดยครูไปสู่นักเรียน หรือจากพวกเราไปสู่ใครๆ ไม่มีใครที่จะสอน/บอกได้ว่าพวกเรานั้นรู้อะไร คนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเรารู้อะไร เพราะว่าคนอื่นนั้นไม่ได้มีประสบการณ์อย่างที่พวกเรามี (เช่นเดียวกันเราก็ไม่รู้ว่าคนอื่นรู้อะไรเช่นกัน) และถ้าพวกเรามีการแบ่งปันประสบการณ์ การตีความของพวกเราก็จะแตกต่างกันออกไป เพราะพวกเรานั้นมีความสัมพันธ์กันกับระดับก่อนหลังในประสบการณ์นั้น อาจดูเป็นเรื่องความเชื่อของพวกเราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และเทคโนโลยี เราอาจจะตีความในเรื่องของความเชื่อในบริบทตามที่เราเชื่อและความรู้ที่มีได้ เราอาจจะยอมรับอย่างเที่ยงตรงหรือปฏิเสธในสิ่งที่นอกรีต (ซึ่งมีมากมายในหลายโรงเรียนที่ทำ) การสอนนั้นไม่ใช่กระบวนการแจกแจงความรู้ให้ทราบ เพราะว่าผู้เรียนไม่สามารถรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ครูรู้ และการที่ครูรู้อะไรนั้นไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียนได้ พวกเราเชื่อว่าการสอนนั้นเป็นกระบวนการช่วยเหลือผู้เรียนไปสู่การสร้างความหมายจากประสบการณ์ที่พวกเขามี โดยมีการเตรียมประสบการณ์นั้นและแนะนำกระบวนการสร้างความหมาย

 

เพิ่มเติม ฐานคิดที่มา คอนสตรัคติวิส (constructivism)


 

หมายเลขบันทึก: 21492เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2006 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • กำลังทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับ Constructivism และเรื่อง Matacognitive strategy อยู่พอดีเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ ที่อธิบายให้เข้าใจ ใน google.co.th ก็มีนะครับลอง search ดู

 

ว่าไปแล้ว ผมก็ยังงงเหมือนเดิมครับ...

คุณขจิต ฝอยทอง  กำลังทำเหมือนกันค่ะ  ถึงได้รบกวน
ดร.กระปุ๋มอ่ะคะ
พอจะเข้าใจแล้วคะ  ขอบคุณคะ

คุณขจิต  ฝอยทอง

ขอบคุณนะคะที่มา ลปรร. วันหลังมีอะไรแปลก ๆ
มาแลกเปลี่ยน...เพิ่มเติมนะคะ

คุณตุมปัง

ได้อธิบาย..และ ลปรร. เติมที่ M2M แล้วนะคะ
คิดเห็นว่าอย่างไร ลปรร. ได้นะคะ

คุณดอกหญ้า

นี่เป็นเพียง Title นะคะ..ยังมีให้เรียนรู้อีกเยอะนะ
เช่น OLEs Model, SLEs Model, SOI Model,
Meaningfull Learning, ฯลฯ ยังงัยก็ ลปรร.เพิ่มเติมได้นะคะ
แล้ว..ที่ว่า "พอจะเข้าใจแล้ว"...ขอ ลปรร.ด้วยได้มั๊ยคะ (ยิ้ม)

งั้นอธิบายต่อให้จบซิคะ  เวลาครูถามจะได้ตอบได้อธิบายให้ครูฟังได้  แล้วคิดว่าทฤษฎีคอนตรัสติวิสต์ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างไรคะ  แล้วต่างจากการเรียนรู้ธรรมดาอย่างไรคะ

อ่านแล้วอยากลปรร.ประสบการณ์ตรงจากลูกชาย แต่คงจะเขียนยาว ขอไปลงในบันทึกวันนี้แล้วกันนะคะ  

(สงสัยนิดค่ะว่าทำไมจุดไม่ติดกับ Dr แต่ไปติดกับตัว K-ตั้งใจอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่าคะ....เห็นว่าดูเป็นคนมีอะไรๆลึกซึ้งน่ะค่ะ)

คุณดอกหญ้า

ยิ้ม..หัวเราะน้อยๆ อย่างมีความสุข

ดอกหญ้า เมื่อ พ. 29 มี.ค. 21:26:30 2006 เขียนว่า:

งั้นอธิบายต่อให้จบซิคะ  เวลาครูถามจะได้ตอบได้อธิบายให้ครูฟังได้  แล้วคิดว่าทฤษฎีคอนตรัสติวิสต์ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างไรคะ  แล้วต่างจากการเรียนรู้ธรรมดาอย่างไรคะ

"หัวใจ"..ของ "Constructivism" ผู้เรียนแสวงหา "คำตอบ" ด้วยตนเอง -->>> เกิด "Meaningfull >> Deep Understanding >> Knowledge Construction

ดิฉันเป็นได้เพียง scaffolding หรือเพิ่มระดับหน่อยอาจถึง Coaching นะคะ

 

 

เขียนวงเล็บแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย (สำนวนนี้มีที่มายังไง...นะคะ พูดแล้วชักสงสัย) ในคห.ที่แล้ว ขอขยายนิดค่ะว่าหมายถึงชื่อแฝงที่ใช้น่ะค่ะ กับอยากเห็นรูปคุณ Dr .Ka-Poom แบบยิ้มๆ บ้างค่ะ เห็นไปยิ้มอยู่ในคห.ใครต่อใครบ่อยๆ ;-) รูปนี้ดูสวยแบบดุไปนิด

คุณ "โอ๋-อโณ"

ไร้รูปแบบ..หากแต่ไม่ไร้ใจ..คะ

ขอแค่..ไม่อึดอัด..ไม่มีกรอบใดใด

ก็มีสุข.."จิต" แล้วคะ

ฝากไว้ดูนะคะ "ภาพความสุขแบบยิ้มๆ"

คุณโอ๋คะ  รูปนี้มองดูเหมือนเศร้าๆ นะคะ

สวย เศร้า  แต่ อารมณ์ดี ใจดีด้วยค่ะ ((หรือเปล่าค่ะ))
ขอแจมกับคุณโอ๋หน่อยนะคะ  คุณ Dr.Ka-poom

(((ยิ้มมมกว้างๆๆ เลยค่ะ))))

คุณโอ๋คะ  รูปนี้มองดูเหมือนเศร้าๆ นะคะ

สวย เศร้า  แต่ อารมณ์ดี ใจดีด้วยค่ะ ((หรือเปล่าค่ะ))
ขอแจมกับคุณโอ๋หน่อยนะคะ  คุณ Dr.Ka-poom

(((ยิ้มมมกว้างๆๆ เลยค่ะ))))

ขออนุญาตนำไปบอกต่อ+ขยายผลที่น่านนะครับ

คุณดอกหญ้า คุณโอ๋-อโณ

แหม..เขิลๆ ยังงัยไม่รู้..ที่โดนเป็นเป้า...วิจารณ์

รูปนี้...ตั้งใจ...ให้ดูน่า "ผู้ใหญ่"..คะ

เพราะปกติมักโดนแซวว่า...ดู "เด็ก" จัง (ฮา...ประมาณอาการหลงตัวเอง..อ่ะ)

คุณชาตรี

ยินดี..นะคะ..หากมีอะไรเพิ่มเติม มา ลปรร.กันนะคะ

ผมว่า Dr.kapoom เอารูปตอนสาวๆมาแน่เลย.... อันนี้ต้องถามพี่ชายขอบว่าตัวจริงยังดูเด็กเหมือนในรูปอะป่าว....

 

     น้องตุมปัง จะว่าไปนะเด็กกว่าในรูปอีกนะ โดยเฉพาะหากได้กางเกงยีนส์เสื้อยืด ในรูปนะถ่ายที่ สสจ.พัทลุง พี่นั่งอยู่ด้านหลังไกล ๆ และที่ดูสวยแต่ดุไปนิดนึงตามที่โอ๋ว่านะ เป็นเพราะมุมกล้องมั้งครับ จริง ๆ ใจดี ไม่ดุ (นี่แอบชมให้ฟังเลยนะ อย่าให้เขารู้ล๊ะ...ตุมปังจะเชื่อไหมเนี้ย)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท