การประเมินผลและการวัดผลการสอนจริยศึกษา


ธรรมศึกษา

 

 

การประเมินผลการจัดและการสอนจริยศึกษาต้องสอดคล้องกับความมุ่งหมายของจริยศึกษา คือ การพัฒนาบุคลิกภาพเจตนคติและพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษา การประเมินผลเป็นกระบวนการต่อเนื่องกับการพัฒนาการเรียนการสอน กล่าวคือ จากการอบรมสั่งสอนและปลูกฝังนักเรียนมาระยะหนึ่ง มีการประเมินผลว่า นักเรียน นักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ พฤติกรรม และการเรียนรู้ทางด้านจริยศึกษาไปแค่ไหน เพียงไร ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม มีปัญหาที่จะต้องได้รับการแนะแนวและซ่อมเสริมอย่างไร ก็จะได้ดำเนินการจัดและสอนนักเรียน นักศึกษาคนนั้น กลุ่มนั้น หรือชั้นนั้นต่อไป วิธีการดำเนินการประเมินผล มีดังต่อไปนี้

1. กำหนดจุดประสงค์เป็นรายกลุ่มประสบการณ์หรือเป็นรายแผนการเรียนการสอน

2.จุดประสงค์ที่กำหนด จะต้องเป็นรูปของ “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม”

3. การประเมินผลต้องกระทำต่อเนื่องกันไป

 

 

3.1ประเมินผลก่อนเริ่มเรียน เพื่อทราบความพร้อมพื้นฐานของนักเรียน

3.2ประเมินผลระหว่างเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

 

 

 

3.3ประเมินผลเมื่อจบสิ้นการเรียนตอนหนึ่งๆเพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของการเรียน

 

 

4.วิธีการที่จะนำมาใช้ในการประเมินผล ต้องคล้อยตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้

5.รูปแบบการประเมินผล มีหลายรูปแบบ เช่น

การสัมภาษณ์

โดยการสอบถามด้วยวาจา หรือการสนทนาโต้ตอบกัน เพื่อหาคำตอบ

บางอย่างจากนักเรียน การสัมภาษณ์ยังรวมไปถึงการสอบปากเปล่าด้วย

การสังเกต

โดยการพิจารณานักเรียนด้วยสายตาของครูในด้านต่าง ๆ เช่น ความ

ประพฤติและการปฏิบัติงานของนักเรียน การสังเกตอาจจะกระทำอย่างเป็นทางการ คือ มีระเบียบแบบแผน เครื่องมือประกอบการสังเกตและผลบันทึกการสังเกตหรืออาจจะเป็นการสังเกตอย่างไม่เป็นทางการคือ สังเกตลักษณะต่าง ๆ ไปตามธรรมดา เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง เป็นต้น

การตรวจผลงาน

โดยการนำผลงานของนักเรียนมาพิจารณาตีราคาคุณค่าการตรวจผล

งานอาจจะทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจสอบคุณภาพ การนับปริมาณงานที่ผลิตได้ หรือทั้งคุณภาพและปริมาณรวมกันก็ได้

การทดสอบข้อเขียนประเภทต่าง ๆ

เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบดูว่านักเรียนมีความรู้

ความเข้าในในเรื่องที่เรียนไปแล้วเพียงใด แบบทดสอบข้อเขียนที่คุ้นเคย และใช้กันอยู่มี 2 แบบได้แก่

1.แบบทดสอบความเรียง เป็นแบบทดสอบชนิดที่สร้างข้อคำถามไว้เพียงอย่างเดียวให้ตอบ โดยไม่มีขอบเขตของคำถามที่แน่นอนกำหนดไว้ การตอบความเรียงต้องตอบโดยบรรยายและเขียนเรียงคำตอบอย่างมีอิสระเสรีตามความรู้ ตามข้อเท็จจริง ตามความคิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่โดยไม่มีขอบเขตจำกัดแน่นอนตายตัวที่เด่นชัด นอกจากจะกำหนดด้วยเวลา การตรวจให้คะแนนก็ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวที่แน่นอน ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับผู้ตรวจข้อสอบ ซึ่งจะต้องเป็นคนเดียวกับผู้ออกข้อสอบ

2.แบบทดสอบปรนัย เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยปัญหาคำถาม และกำหนดคำตอบไว้ให้เลือกตามความเหมาะสม ซึ่งคำชี้แจงหรือคำถามจะกำหนดแนวทางคำตอบหรือบอกวิธีการและแนวทางในการตอบไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องการจะให้ผู้ตอบปฏิบัติอย่างไร เช่น กำหนดให้กาเครื่องหมายหรือเว้นที่ว่างไว้ให้เติมข้อความ เพียงแต่ผู้ตอบเลือกพิจารณาตัดสินใจและให้เหตุผลด้วยตนเองตามที่ต้องการว่า จะเลือกคำตอบใดหรือจะกรอกและเขียนเติมข้อความใดลงไปให้สัมพันธ์กับคำถาม

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212249เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท