การสอดแทรกจริยศึกษา


ธรรมศึกษา

 

การสอดแทรกจริยศึกษาในการสอนวิชาอื่น ๆ

 

เจตนารมณ์ในการจัดการศึกษาทุกหลักสูตรในทุกระดับการศึกษาคือการสร้างคุณภาพของพลเมืองของประเทศพลเมืองที่มีคุณภาพจะต้องได้รับการศึกษาทั้งด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างสมบูรณ์ผู้ที่มีความรู้ทักษะและประสบการณ์ทางด้านวิชาการและอาชีพจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมด้วยจึงจะต้องดำรงตนและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและเจริญก้าวหน้าสามารถรักษาความมั่นคงและทำความเจริญให้แก่ประเทศชาติได้ ในการศึกษาหรือการเรียนการสอนทุกชั้นทุกระดับการศึกษาในสถานศึกษา จึงต้องมีการสอดแทรกจริยศึกษาลงในทุกวิชาด้วย หลักการแทรกจริยศึกษาลงในการสอนวิชาอื่นทั้งวิชาการและวิชาชีพ มีดังนี้

1. นำหลักธรรมสำหรับนักเรียน นักศึกษาระดับต่าง ๆ สอดแทรกไว้ในเนื้อหาของทุกบทเรียน

 

 

 

 

2.จัดการสอนกิจกรรมการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนกันระหว่างหัวข้อคุณธรรมจริยธรรมกับเนื้อหาวิชาชีพที่จัดสอนในแต่ละบทเรียนนั้น

 

 

3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การวัดผลและการประเมินผลของแต่ละบทเรียนนั้น ให้เนื้อหาวิชาที่สอนหรือฝึกหัดสัมพันธ์กับหลักธรรมที่นำเข้าบรรจุไว้ในบทเรียนนั้น

 

ในการสอนวิชาอื่นในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป โดยเฉพาะในการศึกษา  วิชาชีพ ควรดำเนินการดังนี้

1. ในการสอนทุก ๆ วิชา ควรมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะทางจริยศึกษาเพิ่มเติมไปจากความมุ่งหมายเฉพาะลักษณะของรายวิชาหรือรายวิชานั้น ๆ

2. ผู้สอนต้องเข้าใจความมุ่งหมายของการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ จุดหมายและจุดประสงค์ของการสอนวิชานั้น ๆ จริง ๆ และดำเนินการสอนให้ได้ตามนั้น โดยเน้นความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมที่สัมพันธ์กับวิชาที่สอนทุกบทเรียน

3.ในการศึกษาวิชาชีพ เช่น วิชาชีพต่าง ๆ นักเรียน นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานอยู่ในโรงฝึกงานหรือโรงงานครั้งละหลายชั่วโมง ครู อาจารย์มีโอกาสที่จะเห็นข้อบกพร่องของนักเรียนนักศึกษามากเมื่อพบเห็นสิ่งบกพร่องต้องอบรมตักเตือนทันทีอย่าปล่อยไว้ในการสอนภาคปฏิบัติควรแทรกจรรยาบรรณของวิชาชีพให้ทราบและถือปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย และควรมีคะแนนความประพฤติในวิชาชีพควรนำนักเรียนนักศึกษาไปดูการประกอบกิจการทางวิชาชีพของผู้ที่ประสบความสำเร็จไว้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานของนักเรียน นักศึกษาต่อไป

4. ในการเรียนวิชาการก็ดี วิชาชีพก็ดี ผู้สอนต้องเน้นความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจว่า แม้จะมีความรู้ความสามารถขนาดไหนถ้าขาดคุณธรรมจริยธรรมแล้วความรู้ความสามารถเหล่านั้นจะไม่เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานประกอบอาชีพเลย

5. ในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ทั้งวิชาการและวิชาชีพ ครูอาจารย์ต้องเน้นให้นักเรียน นักศึกษาเป็นผู้ริเริ่มคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ใหม่ ๆ ขึ้นเอง ส่งเสริมการผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าส่งเสริมความขยันหมั่นเพียรการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ความภาคภูมิใจในผลการเรียนและผลงานของตนความสามัคคีกันการทำงานร่วมกับการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย

6.ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆทั้งวิชาการและวิชาชีพครูอาจารย์ควรเอาใจใส่และสอดส่องดูแลแนะนำในเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียนห้องปฏิบัติการโรงฝึกงานโรงงานการใช้และการเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ความซื่อสัตย์ สุจริตในการเรียน การทำงาน การสอนหากมีสิ่งบกพร่องต้องอบรมตักเตือนแก้ไขทันทีอาจเป็นรายบุคคลหรือทั้งหมู่คณะ

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212248เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องจริยศึกษาค่ะ

แต่ดิฉันอยากได้เนื้อหาหลักสูตรที่สามารถนำไปสอนได้จริงๆ ในระดับประถมศึกษา

ไม่ทราบท่านพอจะให้ข้อมูลได้หรือไม่ค่ะ

เพราะในปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาจะมีเฉพาะวิชาพระพุทธศาสนา ซึ่งวิชาจริยธรรมไม่มีแล้ว อยากพัฒนาการสอนวิชาจริยธรรมหรือจริยศึกษาขึ้นมา จึงขอความอนุเคราะห์ด้วยค่ะ

ขอบคุณมา ณ ที่นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท