ครูอาจารย์ผู้สอนจริยศึกษาในสถานศึกษา


ธรรมศึกษาป

การที่จะจัดหรือพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษาให้ได้ผล ครูอาจารย์ทุกท่าน นับตั้งแต่หัวหน้าสถานศึกษาลงไป จะต้องเป็นครูหรืออาจารย์จริยศึกษาด้วย ไม่ว่าจะเป็นครูภาษา วิทยาศาสตร์ การงาน วิชาชีพ ศิลปศึกษา พลานามัย ก็ต้องเป็นครูจริยศึกษา คือ มีบุคลิกภาพ คุณสมบัติ และดำเนินการสอน

จริยศึกษาในวิชาต่าง ๆ เช่นเดียวกับครูอาจารย์จริยศึกษา ครูอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าในการจัดการจริยศึกษาในสถานศึกษา หรือเป็นผู้สอนจริยศึกษาหรือวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรง ควรได้รับการคัดเลือกให้เหมาะสม และมีความรู้ความสามารถในการดำเนินการ หรือการสอน ดังนี้

1. บุคลิภาพคุณสมบัติของครูอาจารย์จริยศึกษา สถานศึกษาควรเลือกครูอาจารย์ให้ทำหน้าที่จัด

และ สอนจริยศึกษา หรือเป็นครู อาจารย์แนะแนว จากผู้ที่มีบุคลิกภาพ และคุณสมบัติดังนี้

1.1 เป็นผู้มีความศรัทธาในความเป็นครูอย่างแท้จริง

1.2 เป็นผู้มีวินัย จรรยา มารยาทของครู ตามระเบียบที่ดีงามของครู

1.3 มีความรู้ในเรื่องวิชาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา พัฒนาการ และการเรียนรู้ของบุคคล จิตวิทยาการแนะแนว

1.4 มีความรัก พอใจ ในการสอนการจัดจริยศึกษา

1.5 มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม และเนื้อหาวิชาที่ตนเองต้องรับผิดชอบในการจัดหรือการสอนเป็นอย่างดี

1.6 มีบุคลิกภาพและความประพฤติเหมาะสมสอดคล้องไม่ขัดกับหลักธรรม เนื้อหาวิชาที่ตนจัด หรือสอนนักเรียน นักศึกษา

1.7 มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี เป็นกันเองกับนักเรียน นักศึกษา มีอารมย์เยือกเย็น

1.8 มีความยินดีต้อนรับ และให้ความสะดวกแก่นักเรียน นักศึกษาผู้มาติดต่อขอความอนุเคราะห์ในงานของตน และขอคำแนะนำต่าง ๆ

1.9 มีศิลปะในการฟัง มีความอดทน สามารถรอได้ คอยได้ มีทักษะในการฟัง และยินดีเป็นผู้ฟัง ให้โอกาสแก่คนได้ระบายความทุกข์ ปัญหาข้อขัดข้องใจ อารมณ์และความรู้สึกสะเทือนใจต่าง ๆ

1.10 เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี กระฉับกระเฉงว่องไว วางใจ และมองโลกในแง่สร้างสรรค์ในกรณีที่จะสอนจริยศึกษาเป็นวิชา หรือเป็นชั่วโมง ครูอาจารย์ที่จะเป็นผู้สอนควรเตรียมตัวและเตรียมบทเรียน ดังนี้

 1. กำหนดความมุ่งหมายเฉพาะบทเรียนที่สอนให้เหมาะสม

 2. ศึกษาทำความเข้าใจเนื้อเรื่องที่สอน ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

3. กำหนดวิธีสอนว่า จะใช้วิธีอะไร ดำเนินการตอนไหน อย่างไร

4. จัดทำจัดหาอุปกรณ์การสอน ตลอดจนตังอย่างประกอบให้พร้อม

5. กำหนดประเมินผลการสอนของตน โดยจะสังเกตจากปฏิกิริยาตอบสนองของนักเรียนตอนไหน อย่างไร

6. กำหนดงานที่จะให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติม หรือทำกิจกรรมอะไรต่อไป หรือ เป็นการบ้านมาส่งรายงาน อย่างไร

7. สรุปบทเรียนให้เห็นคุณค่าการพัฒนาตนเองและวิเคราะห์ตนเองอย่างไรและกำหนดก่อนจบบทเรียน ต้องให้นักเรียน นักศึกษาทุกคนยืนสงบ อธิษฐานแผ่เมตตา 1 นาที 

      ในการเข้าสอนจริยศึกษาในชั่วโมงตามหลักสูตร หรือในการจัดกิจกรรมที่มีการบรรยายการอบรม ผู้สอน ผู้บรรยาย หรือผู้ให้การสอน ควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ก่อนเข้าห้องสอน หรือขึ้นบรรยาย ขึ้นอบรม ควรสำรวจตัวเองในเร่องการแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย ธรรมดา ไม่ฉูดฉาด ไม่เปิดเผย สิ่งอันไม่สมควรเปิดเผย

2. สำรวจบทเรียน คำบรรยาย และอุปกรณ์การสอนคำบรรยายที่จะใช้ให้เรียบร้อย

3. เข้าห้องสอนเริ่มบรรยาย หรือให้การอบรม ให้ตรงตามเวลา

4. กล่าวคำทักทายนักเรียน นักศึกษา หรือคอยรับทำทักทายให้เหมาะสมกับฐานะและหรือขึ้นต้นกับคำบรรยายให้เหมาะสมกับผู้ฟัง และสุภาพ

5. มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่กังวล ไม่บูดบึ้ง ไม่ฉุนเฉียว ไม่โกรธง่าย แสดงอารมณ์ยินดีต้อนรับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ฟัง ไม่อารมณ์ค้าง

6. ก่อนเริ่มบทเรียนหรือก่อนบรรยาย ควรให้นักเรียน นักศึกษาหรือผู้ฟัง สวดมนต์ไหว้พระอย่างย่อ หรือสงบใจเสียก่อนจะเป็นการดี เป็นการน้อมนำนักเรียน นักศึกษาเข้าสู่การกระทำความดี สลัดความคิดคั่งค้างเดิมออกไป เตรียมกายเตรียมใจรับความรู้และวิธีการปฏิบัติจากบทเรียนหรือเรื่องที่บรรยาย

7. เริ่มทำการสอนหรือบรรยายตามบทเรียนหรือเรื่องที่จะบรรยายที่ได้เตรียมมา โดยใช้กลวิธีในการสอนหรือบรรยาย

2. หัวข้อธรรมหรือเรื่องราวที่นำมาจัดเป็นบทเรียนจะสอนหรือบรรยาย ควรเป็นคุณธรรมและ

จริยธรรมที่ประสงค์จะปลูกฝังให้กับนักเรียน นักศึกษา ตามความมุ่งหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าวมาแล้วแต่ต้น ในการสอนบรรยายหรือการอบรมนั้น ควรให้นักเรียน นักศึกษาได้ร่วมการศึกษาบทเรียน หรือคำบรรยายเรื่องนั้น ให้ได้มีความเข้าใจ ได้เปลี่ยนแปลงเจตคติ เกิดความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและพฤติกรรมของตน เกิดคุณธรรมขึ้นในใจให้ได้ฝึกการปฏิบัติจนมีจริยธรรมขึ้นในผู้เรียนให้ได้

3. การประเมินผลการจัดและการสอนจริยศึกษา ต้องสอดคล้องกับความมุ่งหมายของการจัด

จริยศึกษา คือ การพัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา การประเมินผลที่ดี คือ การพัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติและพฤติกรรมของคน ครูอาจารย์ควรจะสามารถแยกนักเรียนนักศึกษาที่ตนสอนได้ว่า ผู้ใดมีปัญหาเป็นรายบุคคล รายกรณี ตลอดทั้งให้คำแนะนำ ปรึกษา สนทนา ทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลด้วย ความมุ่งหมายสำคัญของครูอาจารย์ คือ ช่วยให้นักเรียน นักศึกษารู้จักสงเคราะห์ตนเอง วิเคราะห์ปัญหาและค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาของตนเองตลอดทั้งหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นซึ่งครูอาจเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแนะนำตลอดเวลาได้สำหรับนักเรียน ที่มีปัญหาน้อย ครูอาจารย์อาจใช้วิธีการแนะนำเป็นหมู่ และประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรมเป็นส่วนรวมได้

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212239เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท