68. หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์


หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

 

       หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

     การประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีอาจใช้ ได้แก่ สังคหวัตถุธรรม ๔ อิทธิบาทธรรม ๔ ไตรสิกขา สัปปุริสธรรม ฆราวาสธรรม ๗ และหลักทศพิธราชธรรม

            ๑. สังคหวัตถุธรรม ๔ ได้แก่ จาคะ ปิยะวาจา อัตถจริยาและสมานัตตา 

               ๑.๑ จาคะหรือทาน ได้แก่ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ โดยไม่หวังผลตอบแทน

               ๑.๒ ปิยวาจา ได้แก่ การใช้ถ้อยคำที่สุภาพเป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ได้ยินได้ฟัง เป็นการพูดที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำด่าพูดเสียดสีหรือพูดเฟ้อเจ้อ

               ๑.๓ อัตถจริยา ได้แก่ การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีมีประโยชน์แก่กันและกัน เลือกทำแต่สิ่งที่ดีมีคุณค่าให้แก่เพื่อน คนรู้จัก และคนในสังคมไปจนถึงประเทศชาติ ความเป็นมนุษย์ต้องรู้จักช่วยเหลือคนอื่น รู้จักแบ่งปัน รู้จักการให้ รวมไปถึงการเสียสละต่างๆ เป็นต้น    

   ๑.๔ สมานัตตตา ได้แก่ ความเสมอต้นเสมอปลายสมกับอัตถภาพของบุคคล คงเส้นคงวา ปัจจุบันปฏิบัติอย่างไรแม้ฐานะสังคมจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นก็ยังคงแสดงออกในสิ่งดีงามเช่นเดิม เช่นความถ่อมตัว ความสุภาพ การให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น

          ๒. อิทธิบาทธรรม ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ดังจะอธิบายต่อไปนี้

               ๒.๑ ฉันทะได้แก่ ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำอยู่บุคคลควรรักงานรักเพื่อนร่วมงาน รักหมู่คณะ และสถาบัน เมื่อบุคคลมีความพอใจมีความรักในสิ่งที่ตนทำ สิ่งต่างๆที่ตนแสดงพฤติกรรมออกมาก็จะดีด้วย มนุษย์ควรให้ความรักแก่กัน ตั้งแต่รักกันภายในครอบครัว รักกันในกลุ่มงานและสังคม

              ๒.๒ วิริยะ ได้แก่ ความเพียรพยายามการมีความขยัน อดทนมีมานะ บากบั่นจนประสบผลสำเร็จ ดังสุภาษิตที่ว่า มีความพยายามที่ไหนที่นั่นย่อมประสบความสำเร็จ เช่น ต้องการเรียนเก่ง นักศึกษาก็ต้องหมั่นท่องอ่านทำรายงาน ทำแบบฝึกหัด รับผิดชอบต่อการเรียนมีวินัย ความพยายามจะทำให้นักศึกษาสอบได้ดี

               ๒.๓ จิตตะ ได้แก่ ความตั้งใจ การฝักใฝ่อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงานเอาใจใส่ต่องานที่ทำ มีความตั้งใจว่าจะทำทุกอย่างให้ดี ทำให้ได้ มีเจตนาแน่วแน่ทุกอย่างย่อมสำเร็จ 

               ๒.๔ วิมังสา ได้แก่ ความสุขุม รอบคอบพินิจพิจารณาสิ่งที่ทำด้วยปัญญา มีการตรวจตราอยู่สม่ำเสมอ เหมือนที่กล่าวว่ามีความฉลาดอย่าขาดเฉลียว หมายถึงการทำการใดๆ ให้รอบคอบมีความละเอียดลออในงานที่เราได้กระทำ

          ๓. ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา     

             ๓.๑ ศีล หมายถึง ความเป็นปกติที่บุคคลพึงกระทำ โดยการทำกายและใจให้บริสุทธิ์ไม่โกรธ เกลียด อิจฉา อาฆาตเคียดแค้นหรือคิดทำร้าย เบียดเบียนผู้ใด การไม่ลักทรัพย์หรือการหยิบเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้มาเป็นของตน การไม่ล่วงละเมิดครอบครัวของคนอื่น การไม่โกหก พูดเอาดีเข้าข้างตน พูดจาทำร้ายคนอื่นรวมไปถึงการพูดจาสอเสียดต่างๆ และการเสพอบายมุขจนเป็นเหตุให้ครองสติไม่ได้ทำร้ายตนเองและครอบครัวจนเดือดร้อนกันไปทั่วเพราะตัวเราเป็นสาเหตุ ถ้าบุคคลมีศีลประจำใจ การอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะปกติสุข

               ๓.๒ สมาธิ หมายถึง การสำรวมจิตใจให้แน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่สับสน สามารถรวมจิตให้เข้ากับกายเป็นหนึ่งได้ ทำให้กำหนดรู้ว่าขณะนี้เราคือใครมีจุดมุ่งหมายอย่างไร รู้ความเป็นชีวิตและรู้เท่าทันเหตุการณ์ รวมไปถึงการฝึกจนรู้และเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและมีสติมีสมาธิที่จะทำกิจการใดเพื่อยังประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น         

               ๓.๓ ปัญญา หมายถึง การรู้จักใคร่ครวญ การรู้จักไตร่ตรองทบทวนด้วยความสงบ ด้วยใจเป็นกลาง ถึงสัจธรรมที่เรียกว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดาโลก และเมื่อชีวิตเกิดขึ้นมาแล้วจงทำดีเพื่อเป็นคุณงามติดตัวและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น

          ๔. สัปปุริสธรรม ๗ ได้แก่ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณรู้จักกาลเวลารู้จักสังคม    และรู้จักบุคคล

               ๔.๑ รู้จักเหตุ หมายถึง เข้าใจสาเหตุว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะอะไรไตร่ตรอง ลำดับขั้นตอนได้ 

               ๔.๒ รู้จักผล หมายถึง รู้ถึงสิ่งที่จะตามมาเมื่อมีปัญหานั้นเกิดขึ้นจะเป็นผลดีผลเสียอย่างไร

               ๔.๓ รู้จักตน หมายถึง การที่ตัวเราเข้าใจตนเอง เข้าใจความต้องการของตนเอง

               ๔.๔ รู้จักประมาณ หมายถึง รู้ว่าเขาทำอะไร เกิดอะไรขึ้น จะเกิดอะไรต่อไป จะรู้จักยับยั้ง ถ้าเห็นว่าผลตามมาจะเสียหาย

             ๔.๕ รู้จักกาลเวลา หมายถึง รู้จักคุณค่าของเวลาว่าเวลาไหน ควรทำอะไรมีแผนในการทำงาน

               ๔.๖ รู้จักสังคม หมายถึง เข้าใจสภาพสังคม โครงสร้าง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ควรตัดสินใจทำอะไร อย่างไร เมื่อใด โดยใคร

             ๔.๗ รู้จักบุคคล หมายถึง เข้าใจคนที่เราเกี่ยวข้องด้วยว่า มีบุคลิกภาพ นิสัย ทัศนคติ ความเชื่อ เป็นต้นอย่างไร ควรติดต่อสัมพันธ์อย่างไร

          ๕. ฆราวาสธรรม ๗ 

                ๕.๑ ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อถือเลื่อมใสในสิ่งที่ควรเชื่อถือด้วยเหตุด้วยผล

               ๕.๒ หิริ หมายถึง ความละอายต่อความไม่ดี ความผิด บาป

               ๕.๓ โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลลัพธ์จากการกระทำผิด

               ๕.๔ วิริยะ หมายถึง ความพากเพียรพยายาม ขยันทำความดี

               ๕.๕ พาหุสัจจะ หมายถึง ความรอบรู้ในหลักแห่งความดี ความถูกต้อง เหมาะสม

               ๕.๖ สติ หมายถึง ระลึก ยับยั้งชั่งใจ ตระหนักดีว่ากำลังทำอะไร ผลอะไรจะตามมา  

              ๕.๗ ปัญญา หมายถึง ความเฉลียวฉลาด ความเข้าใจสิ่งต่างๆ และแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง   เหมาะสม

          ๖. หลัก ทศพิธราชธรรม       มี ๑๐ ข้อดังนี้คือ

               ๖.๑ ทาน หมายถึง การให้สงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้อื่น อภัยผู้หลงผิด

               ๖.๒  ศีล หมายถึง รักษากาย วาจา ใจ ให้มั่นคงสงบ

               ๖.๓  บริจาค หมายถึง เสียสละประโยชน์ และความสุขส่วนตน

               ๖.๔ อาชชะวัง          หมายถึง แสดงความซื่อสัตย์ จริงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน

               ๖.๕ ตะมัง หมายถึง การเพียรพยายามให้ลุล่วง

               ๖.๖ มัททะวัง หมายถึง แสดงความสุภาพอ่อนโยน ลุมุนละม่อม

               ๖.๗ อัตโกธัง หมายถึง ความไม่โกรธพยาบาทผู้ใด

               ๖.๘ อวิหิงสัง หมายถึง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

               ๖.๙ ขันติ หมายถึง อดทนต่อสภาพการณ์ต่าง ๆ

               ๖.๑๐ อวิโรธนัง หมายถึง การปฏิบัติไม่เบี่ยงเบนจากทำนองคลองธรรม มีความยุติธรรม

หมายเลขบันทึก: 212236เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

พี่ ณัฐชานันท์ ค๊ะ หัวข้อนี้น่าสนใจดีค่ะ

ถ้าทำได้ทุกข้อ จะดีมาก ๆ เลย แต่หนูนา

คงไม่สามารถ บางครั้งจิตใจก็แว๊ปไปแว๊ปมา

เหมือนกัน ถ้าใช้เป็นหัวข้ออบรมบุคคลากร

คงจะดีนะค๊ะ

เจริญพร โยมสาวสวยมวยไทย

หลักสร้างมนุษยสัมพันธ์

ขอให้ปฏิบัติแค่ "สังคหวัตถุ 4"

ก็สามารถนั่งอยู่ในหัวใจคนได้

 

เจริญพร

ขอบคุณมากๆเลยค่ะถ้าไม่ได้ blog นี้คนแย่เพราะหายากมากค่ะ เอาไปทำรายงานอ่ะค่ะ ^^

ขอความอนุเคราะห์ช่วยบอกหลักธรรมที่สอดคล้องกับจรรยาบรรณครู ตามราชกิจจานุเบกษา ข้อที่ 16 หน่อยนะค่ะว่าจรรยาบรรณข้อนี้ใช้หลักธรรมะอะไรบ้านมาใช้กับศิษย์และผู้มารับบริการ ขอคุณมาก ๆ ค่ะ จะส่งการบ้าน

ทำความดีวันละนิด

จิดเเจ่มใส

55+

มาทักทายด้วยความระลึกถึงค่ะ

(^___^)

ขอบคุณคร่า *-*

เนื้อหาดีมากเลย

พอดีจะหาไปทำข้อสอบอ่ะคร๊ะ

สงสัยงานนี้ผ่านฉลุย

*-*

คนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ใครก็อยากเข้าใกล้ค่ะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท