ประวัติศาตร์ศึกษา : ประวัติวัดเมืองแปง (วัดศรีดอนชัย)


แต่เดิมวัดเมืองแปงเคยเรียกขานกันว่า “วัดศรีดอนชัย” เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดเนินเขา ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “ศรีวิชัย” ตามชื่อของครูบาศรีวิชัย หรือ ครูบาศีลธรรม นักบุญแห่งล้านนาซึ่งได้เคยจาริกมาที่วัดแห่งนี้แล้วริเริ่มสร้างวัดขึ้นครอบวัดเดิมซึ่งเป็นวัดร้าง

สืบเนื่องจากบันทึกที่แล้ว ประวัติศาสตร์ศึกษา :ประวัติเมืองทาผาน้อย (เมืองแปง) รู้จักประวัติหมู่บ้านเมืองแปงกันแล้ว..วันนี้ครูแอนขอนำประวัติวัดเมืองแปงมาเล่าสู่พี่น้องได้ศึกษาร่วมกันค่ะ

ประวัติวัดเมืองแปง

          แต่เดิมวัดเมืองแปงเคยเรียกขานกันว่า  วัดศรีดอนชัย เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดเนินเขา ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า ศรีวิชัย ตามชื่อของครูบาศรีวิชัย  หรือ ครูบาศีลธรรม นักบุญแห่งล้านนาซึ่งได้เคยจาริกมาที่วัดแห่งนี้แล้วริเริ่มสร้างวัดขึ้นครอบวัดเดิมซึ่งเป็นวัดร้าง

          เมื่อเวลาผ่านไปจึงได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานวิสุงคามสีมา  แก่วัดเมืองแปงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าชื่อเป็นทางการตามราชกิจจานุเบกษาของวัดนี้ คือชื่อ วัดเมืองแปง

          ก่อนที่จะเป็นวัดศรีดอนชัยนั้น บนเนินเขามีสภาพเป็นวัดร้าง มีแต่ซากอิฐซากปูนคลุมรกเรื้อ  ไม่มีใครกล้าหาญย่างกรายล่วงล้ำเข้าไปในเขตวัด จะมีเพียงแต่วัวควายของชาวบ้านที่พลัดหลงเข้าไปในเขตวัดเท่านั้น  เนื่องจากบริเวณนี้มีภูตผีดุร้ายมาก โดยเฉพาะ ผีกะยักษ์ ( ผีกะ เป็นภาษาคำเมือง หมายถึง ผีปอบ) ซึ่งคอยทำร้ายชาวบ้านบ่อยครั้งมาก  เมื่อผีกะยักษ์ทำร้ายชาวบ้านเมื่อใดก็จะมีอาการป่วยไข้โดยสาเหตุไม่ได้  ชาวบ้านก็จะจัดหาไก่และเหล้าขาวมาเลี้ยงเซ่นไหว้ บริเวณวัดจึงมีสุ่มไก่วางทิ้งไว้ระเกะระกะเป็นจำนวนมาก

 

          เพราะเหตุที่ผีร้ายมีฤทธิ์กล้าแข็งมากนี้เอง ชาวบ้านจึงสร้างวัดที่ที่ต่ำลงมาจากยอดเนินประมาณ 100  เมตร  ซึ่งก็คือบริเวณ โรงเรียนบ้านเมืองแปง ในปัจจุบัน  มีลักษณะเป็นวัดแบบชั่วคราว เพราะมีเพียงโรงเรือน แค่ 2 โรง  ไว้ใช้สำหรับประกอบศาสนกิจเสีย 1 โรง  ส่วนอีกโรงใช้สำหรับพระ และเณรจำวัด

          ก่อนหน้านั้นมีชาวบ้านเมืองแปงคนหนึ่ง ชื่อว่า  นายนุ  เป็นชาวปั๊กกะญอ (Pga K’Ngaw เป็นคำสุภาพที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกตนเอง) เป็นคนที่มีลักษณะค่อนข้างจะนักเลง และชอบสักลายลงยันต์คาถาทั่วตัว  และได้ไปคลุกคลีติดตามครูบาศรีวิชัยอยู่ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เวลาผ่านไปนานเข้าก็เกิดความเลื่อมใสในพระบวรพระพุทธศาสนา จึงได้ขอบวชกับครูบาศรีวิชัยที่วัดพระสิงห์นั้นเอง และมีชื่อทางพระว่า  พระอินทนนท์

          เมื่อได้เรียนรู้พระธรรมมาแล้ว  ครูบาศรีวิชัยจึงให้พระนุ หรือ พระอินทนนท์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองแปงเป็นรูปแรก ตามคำขอนิมนต์ของชาวบ้านเมืองแปง  ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดชั่วคราว มีพระนุซึ่งเป็นเจ้าอาวาส เพียง 1 รูป  มีสามเณร 6 รูป   มีเด็กวัด 5 คน  และมรรคนายก 1 คน

          เมื่อพระนุมาอยู่ได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งปี พุทธศักราช 2471 ครูบาศรีวิชัยก็ได้จาริกมาที่อำเภอปาย  และผ่านมาที่บ้านเมืองแปงแห่งนี้แล้วเห็นว่าวัดร้างที่ยอดเนินเขานั้นเหมาะสมมากกว่า จึงให้ย้ายวัดขึ้นไปอยู่บนยอดเนินเขานั้น

          แต่ด้วยความที่ชาวบ้านหวาดกลัวต่อผีกะยักษ์ ครูบาศรีวิชัยจึงได้เป็นผู้นำชาวบ้านขึ้นไปก่อสร้างด้วยตนเอง โดยท่านเป็นผู้วางหลักปักเขตแดน ในการสร้างพระธาตุ และวิหาร ซึ่งก็เป็นฐานเดิมของวัดร้างนั้นเอง  เชื่อกันว่าเป็นเพราะบารมีอันแก่กล้าของครูบาศรีวิชัยนี้เองที่ทำให้ผีร้ายเกรงกลัวและชาวบ้านสามารถก่อสร้างวัดได้สำเร็จ

          ครูบาศรีวิชัยมาพำนักอยู่ที่วัดเมืองแปงเพียง 1 วัน 1 คืน เท่านั้น จึงได้จาริกไปยังบ้านวัดจันทร์เป็นอันดับต่อไป  แต่ท่านใช้เวลานี้ได้อย่างคุ้มค่ามาก เพราะท่านได้สร้างคุณูปการแก่ชาวบ้านเมืองแปงอย่างยิ่ง นอกจากท่านจะได้เป็นประธานในการก่อสร้างวัดแล้ว ท่านยังเป็นอุปชฌาย์ในการบรรพชาให้แก่ ด.ช.แสน กัลยา  ด.ช.ขันธ์ และ ด.ช.ตา โดย ด.ช.แสน มีฉายาว่า ใจยา  ดงช.ขันธ์ มีฉายาว่า ธรรมขันธ์ และ ด.ช.ตา  มีฉายาว่า  จินะ  จากนั้นท่านได้จาริกไปยังบ้านวัดจันทร์ และต่อไปยังบ้านยั้งเมิน บ้านม่อนเปี๊ยะ แล้วจึงกลับไปวัดพระสิงห์ตามเดิม

          พระนุ สามเณร และชาวบ้านเมืองแปงทั้งหลายจึงได้ร่วมมือร่วมใจกันก่อสร้างวัดไปจนสำเร็จ โดยท่านให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ เช่น ถังน้ำ ซึ่งใช้ในการขนปูน ทราย  ฯลฯ รวมทั้งยอดพระธาตุซึ่งเป็นโลหะ  โดยชาวบ้านต้องเดินทางไปเอามาจากวัดพระสิงห์เอง

          ในสมัยนั้นการเดินทางลำบากมาก ต้องเดินทางด้วยเท้ารอนแรมกันเป็นเดือนๆ  การก่อสร้างนั้นเริ่มจากการก่อสร้างพระธาตุก่อน  ส่วนวิหารนั้นสร้างแบบชั่วคราวไปก่อน โดยรื้อไม้จากวัดเก่ามาสร้าง ส่วนปูนที่ใช้นั้นใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการผสม เพราะไม่มีปูนซีเมนส์เหมือนเช่นปัจจุบัน  โดยชาวบ้านต้องไปขุดหินปูนมาจากทุ่งผาจัน มีลักษณะเป็นหลืบเข้าไปในผา มีความกว้างประมาณคนเข้าไปนอนได้ 10 คน  ที่ผาจันนี้มีหินปูนจำนวนมาก  ชาวบ้านก็ได้เรียกที่แห่งนี้ว่า เตาปูน  มาจนถึงทุกวันนี้

          วิธีการผสมปูนนั้น ทำได้โดยการเอาหนังวัวหนังควาย และไม้ไก๋ มาแช่น้ำ  เอาน้ำเมือกเหนียวมาผสมกับหินปูนและทราย ส่วนไม้เสาของวิหารนั้น ชาวบ้านทั้งหญิงชาย ได้ช่วยกันชักลากมาตามลำน้ำปาย  ใช้เชือกปอ 2 เส้น เป็นเชือกที่ฝั้นกันขึ้นมาเอง มีคนตีกลองเป็นสัญญาณนำในการชักลากด้วย 

          เล่ากันว่าชาวบ้านสมัยนั้นให้ความร่วมมือกันดีมาก ทั้งหญิงชาย ไม่เว้นแต่เด็กๆ ก็มาช่วยหยิบช่วยจับตามแรงที่มี สร้างอยุ่ไม่นานก็แล้วเสร็จ และถวายเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาในปี  พุทธศักราช 2474  หลังจากนั้นจึงไปสร้างวิหารพระพุทธบาท ต่อไป

                                           

                                      ติดตามศึกษาประวัติศาสตร์รอยพระพุทธบาทในบันทึก

              ประวัติศาตร์ศึกษา : รอยพระพุทธบาท บ้านเมืองแปง

                                                                       ครูแอน  ๒๗  กันยายน  ๒๕๕๑

 

 

 

                                    

 

 

หมายเลขบันทึก: 212182เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีครับครูแอน

  • ถ้าจะไปเที่ยวแม่ฮองสอน
  • ควรมาเดือนไหน
  • สถานที่ควรไปเที่ยวชม ลองจัดโปรแกรมให้หน่อย
  • ขอบคุณ

ท่าน ผอ.P นายประจักษ์~natadee

  • มาช่วงตุลา-ธันวาคม ยิ่งดีค่ะ
  • ช่วงพฤศจิกายน เทศกาลดอกบัวตองบานที่ ดอยแม่อูคอ อ.ขุนยวม สวยมากทีเดียวค่ะ
  • ต้องเตรียมเต้นท์มาด้วย
  • เพราะราคาที่พักค่อนข้างแพง
  • หรือมาหลายท่านอาจจองไว้แต่เนิ่นๆค่ะ
  • ติดต่อพี่เอกอีกทีค่ะ
  • ตามมาไหว้พระด้วยครับ
  • เมื่อวานลูกสาวก็บอกอยากมาเที่ยวแม่ฮ่องสอน ต้องมาที่อำเภอปายนะ..ไม่รู้เขาไปอ่านเจอหรือดูทีวี
  • ก็เลยตั้งเป้าปิดเทอร์ใหญ่จะวางแผนไปเที่ยวอีกที..ไม่รู้คนที่ปายจะต้อนรับหรือเปล่าน้า....
  • แวะมาอ่านประวัติครับ
  • และมาทักทายครูแอน
  • สบายดีไหมครับ
  • คิดถึงๆๆๆ
  • ตามมาดู
  • ดูเป้นของเก่ามากๆๆ
  • น่าสนใจดี
  • ครูแอนสบายดีไหมครับ

ท่านเกษตรปรีดาP เกษตร(อยู่)จังหวัด

  • ปาย สามารถหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้มากมายค่ะ
  • สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร พาหนะ การเดินทาง
  • ครูแอนแนะนำน่าจะเที่ยวช่วงฤดูหนาวจะได้บรรยากาศมากกว่าค่ะ
  • ยินดีต้อนรับเสมอค่ะ 

ขอบคุณพี่ครูโย่งP ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

  • ที่มาศึกษาประวัติศาสตร์เมืองแปงค่ะ
  • นักเรียนจำเป็นมากที่ต้องเรียนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนของตัวเองก่อน
  • ที่จะเรียนประวัติศาตร์ที่อื่น
  • สบายดีค่ะ
  • ตอนนี้กำลังลุยกับงาน มีสิ่งที่ต้องทำเยอะ

อ.P ขจิต ฝอยทองที่ปรึกษา~natadee

  • เมืองแปงเป็นเมืองโบราณ มีโบราณวัตถุ โบราณสถานมากมาย น้อยคน แม้แต่คนในชุมชนก็ยังไม่ทราบกันทั้งหมด
  • มาคราวหน้าจะพาไหว้น่ะค่ะ
  • ครูแอนสบายดีค่ะ
  • อาจารย์คงสบายดีเช่นกัน
  • ขอบคุณมากค่ะ 

สวัสดีครับ

มาติดตามต่อ ประว้ติอันยาวนาน ตำนานเมืองแปง

ขอบคุณมากครับ

พี่ยาวP  เกษตรยะลา

  • ยินดีที่ได้มาศึกษาประวัติศาสตร์บ้านเมืองแปงค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

อ่า..โผล่ที่นี่อีกอันแฮะ

"มรรคทายก" ที่ถูกน่าจะเป็น "มรรคนายก" นะครับครูแอน ไม่รู้ว่าที่ผมบันทึกไว้เป็นอันไหนครับ

ครุแอน

หลังคาโบสถ์คล้ายๆวัดในลาวเลยนะครับ

แม่ฮ่องสอน มีอะไร ที่ดู สงบ ไร้ความวุ่นวายดีนะครับ

น้องอ๋องครับP ธีรนร นพรส

  • ก่อนอื่นต้องขอบคุณน้องอ๋องมากที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้เป็นประโยชน์มากทีเดียว
  • ครูแอนอ้างถึงข้อมูลที่น้องอ๋องรวบรวมไว้ในบันทึกประวัติศาสตร์ศึกษา :ประวัติเมืองทาผาน้อย (เมืองแปง) น่ะค่ะ
  • จัดการเปลี่ยนให้ถูกต้องแล้วค่ะ
  • เด็กๆหรือแม้แต่คนในชุมชนหลายคนยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาของบ้านเมืองตัวเองเลย
  • ครูเหว่าให้เด็กๆทำรายงานฯเด็กสามารถค้นได้จากอินเทอร์เน็ตได้ในบันทึกนี้ค่ะ
  • น่าเสียดายหากไม่ได้เผยแพร่ให้ทราบ เพราะเก็บข้อมูลในรูปเล่มหนังสืออาจหายได้
  • น้องอ๋องตามไปอ่านบันทึกประวัติศาตร์ศึกษา : รอยพระพุทธบาท บ้านเมืองแปง หน่อยน่ะค่ะ..เพราะมีการบูรณะสร้างศาลาใหม่
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ..ต้องร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์ รักษาสิ่งที่ดีงามของเมืองแปงไว้ชั่วลูกชั่วหลานน่ะครับ

พี่P คนโรงงาน

  • สบายดีไหมค่ะ
  • ฝนตก...ขี้หมูไหล..ช่วงนี้
  • รักษาสุขภาพกันบ้าง
  • สงบ...ชีวิตเรียบง่าย..ไม่วุ่นวาย
  • มีโอกาสมาไหว้พระที่ปายน่ะค่ะ
  • เมืองเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์
  • จิตใจสงบขึ้น

P

  • ดีใจ ที่ครู เมืองปาย จาวเหนือ รู้จัก ฝนตกขี้หมูไหล....มาพบกัน..หลายคนไม่รู้เลย ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เบื่อ วุ่นวาย เมื่อไหร่จะจบ?....บ่นซะ
  • ทำงานก็วุ่นวายไม่รู้จบ...ปัญหามาท้าทายกันทุกวัน
  • การเมืองก็ สุดเครียด แต่เริ่มผ่อนวันที่ได้ฟังเพลง สุรพล สมบัติเจริญ หน่ะครับ ครูแอนได้ฟังหรือเปล่า?
  • แต่ยังไงต้องหาโอกาสไป ปาย ให้ได้สักครั้ง....ได้ยินเสียงร่ำรือมานาน ว่ามันเป็นที่ charge batt...อย่างดี

แหม..พี่P คนโรงงาน

  • ใครไม่รู้จัก..ยกมือขึ้น..จะบอกเป็นการส่วนตัว...555
  • ดีแล้วค่ะ..ผ่อนคลายหน่อย ฟังเพลงที่ชอบ..จะกระซิบบอกว่าครูแอนสอนเด็กๆร้องเพลง 1 ใน อัลบั้มพี่น้องร้องเพลง(จะโดนอีกมั๊ยนี่..ฮ่าๆ)
  • ยังไม่ได้ฟังเลยค่ะ..ทำไงจะได้ฟังล่ะ
  • ไหว้พระ...มาชาร์ดแบตนี่นี่ได้เลย..รับรองเต็มกลับไปแน่ๆ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ทราบที่มาของวัดและของโรงเรียนไปพร้อมๆกันเลยนะคะ

ขอบคุณพี่สาวที่มาเยี่ยมค่ะP naree suwan

สวัสดีครับครูแอน

สบายดีป่ะครับ

ลูกศิษย์..จู อยู่เปา  คุณครูสบายดีคะ ครูทุกท่านก็ย้ายกันไปบ้างแล้ว เหลือ ครูเหว่า ครูแอน ครูแอร์ ครูจรัญ คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท