ไปดูการแสดง หุ่นละครเล็ก กันมั๊ย ?


การแสดงหุ่นละครเล็ก จะเป็นการแสดงที่เรียกว่า นาฎยาภาษา ..เป็นภาษากายที่แสดงออกตามอารมณ์

           

 เมื่อวันเสาร์ที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา   ได้มีโอกาสไปชมการแสดงหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี  การแสดงมีตั้งแต่วันที่  29 31 สิงหาคม 2551  รวม  5 รอบ ให้ชมฟรีค่ะ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และถวายสักการะแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หุ่นละครเล็ก เรื่อง "พระมหาชนก"

        การแสดงเริ่มด้วยพิธีกร (คนน่ารัก ตัวเล็ก คล่องแคล่ว ว่องไว พูดจาฉะฉาน ..แสดงออกถึงความเชี่ยวชาญ)  มาอธิบายให้ทราบถึงความเป็นมาของโครงการ และปูพื้นฐานให้ความรู้เรื่องหุ่นไทย จะเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะคะ

หุ่นไทย มี 4 ประเภท

1.  หุ่นหลวง หรือหุ่นใหญ่ สูง 1 เมตร เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ตอนนี้ไม่มีแสดงแล้ว มีเฉพาะที่พิพิธภัณฑ์หุ่นไทย ที่สนามหลวง

2.  หุ่นเล็ก หรือหุ่นวังหน้า สูงประมาณ 30 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มี 2 อย่างคือ หุ่นเล็กไทยชุดรามเกียรติ์ กับหุ่นเล็กชุดงิ้วจีน (เรื่อง 3 ก๊ก) สร้างขึ่นในสมัยรัชกาลที่ 4

3.  หุ่นกระบอก มาจากจีนไหหลำ

4.  หุ่นละครเล็ก เกิดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดย นายแกร ศัพทวนิช  เป็นผู้ริเริ่ม หุ่นละครเล็ก ตัวหุ่นจะมีผู้เชิด 3 คนต่อหุ่น 1 ตัว จะมี หุ่น 4 ตัวคือ 1. พระ  2.  นาง  3.  ยักษ์  และ 4.  ลิง

            การแสดงหุ่นละครเล็ก จะเป็นการแสดงที่เรียกว่า นาฎยาภาษา ..เป็นภาษากายที่แสดงออกตามอารมณ์

            แล้วทีมงานก็ฉายวิดีทัศน์  กว่าจะมาเป็นหุ่นละครเล็ก จะใช้ศิลปะต่าง ๆ มาประกอบ เช่น

1.  หัตถศิลป์ ..คือการปั้น การสร้างตัวหุ่น

2.  ประณีตศิลป์ ...คือการตกแต่งตัวหุ่น ตั้งแต่ผม หน้าตา เสื้อผ้า ต่าง ๆ เป็นงานที่ละเอียดมากต้องใช้ความประณีตจริง ๆ

3.  มัณฑนศิลป์  ...คือการตกแต่งฉาก

4.  คีตศิลป์  ....คือการใช้เสียงดนตรีประกอบ การพากษ์

 

สิ่งที่ได้รับจากงานครั้งนี้  

1.  ความปลาบปลื้ม...ตื่นตา ตื่นใจ กับฉาก ความสามารถของผู้เชิด ผู้สร้าง

2.  ภาคภูมิใจในความเป็นไทย ที่เรามีวัฒนธรรมที่ดี เป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง ลูก-หลาน ควรมีการอนุรักษ์สืบต่อไป (สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ผู้ชม ต้องไปช่วยกันดู ช่วยกันสนับสนุน ... คาดว่าทีมงานจะต้องกลับมาอีก กับความอลังการมากกว่าเดิม ..ถึงวันนั้นคงต้องเสียตังค์ชม..อิ อิ )

3.  ได้หนังสือดีที่มีคุณค่า มาอีก  1 เล่ม

 

อยากได้ความรู้เพิ่มเติม ต้อง คลิกที่นี่เลยค่ะ

 

http://www.geocities.com/thaishow2004/lakorntype.htm

 

http://www.siam-handicrafts.com/Webboard/question.asp?QID=1066

 

           

            การแสดงครั้งนี้ยังไม่เต็มรูปแบบเท่าใดนัก เนื่องจากมีข้อจำกัดของสถานที่และทีมงาน แต่ได้ชมเพียงเท่านี้ ก็ ติดตา ตรึงใจไปอีกนาน  ขอบคุณค่ะ ....สีตะวัน

 

หมายเลขบันทึก: 205692เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โห....เพื่อนหมวย

เราพลาดโอกาสอย่างแรงเลย  เสียดายจัง ไปอุดรทั้งที  ไม่รู้อ่ะค่ะ  ไม่งั้นนะ รีบไปก่อน เพื่อดูละครเนอะๆ

อยากไปด้วย ฮ่าๆๆๆ ตามไปไม่ทันแน่ๆๆ อดเลยพี่หนิงบัง อิอิๆๆ

ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ

  • หวัดดีจ๊ะหนิง  สงสัยการประชาสัมพันธ์อาจไม่ทั่วถึง ..ได้ยินแว่ว ๆ อย่างนั้นนะ..เอาไว้โอกาสหน้า
  • ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต น้องพอลล่า ที่แวะมา...ถ้ามีโอกาสต้องไปชมให้ได้นะคะ ...ดีมากเลยค่ะ
  • แวะมาชมหุ่นละครเล็กค่ะ
  • ยังไม่เคยไปชมการแสดงแบบเต็็มๆเลย
  • แต่หุ่นเคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตมากนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ naree suwan

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมา
  • หุ่นมีชีวิต เคลื่อนไหวได้ จนรู้สึกทึ่งในความสามารถของคนเชิด และอยากให้ทุกคนได้ไปดูค่ะ
  • ตอนนี้ได้ข่าวว่า ..กิจการเริ่มจะซบเซา..(รึเปล่า !)
  • ต้องช่วย ๆ กันประชาสัมพันธ์ค่ะ
  • จะได้อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้ดูสืบไป

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท