ข้อสอบอัตนัย เป็นข้อสอบที่ให้ผู้เรียนเขียนตอบแบบบรรยาย เพื่อวัดผลว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนไปแล้วอย่างไรบ้าง ข้อสอบอัตนัยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด และทัศนคติได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ผู้เขียนต้องมีความสามารถในการรวบรวม เรียบเรียง และลำดับความคิดของตนให้เป็นระบบระเบียบ ทั้งยังต้องมีความสามารถในการเขียนถ่ายทอดความรู้ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนด้วย การวัดผลการเรียนการเรียนในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่มักใช้ข้อสอบอัตนัย ดังนั้นการเรียนรู้ลักษณะและการตอบข้อสอบอัตนัยจึงมีความสำคัญ
ลักษณะของข้อสอบอัตนัย
![]() |
ข้อสอบอัตนัยโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบจำกัดคำตอบ และแบบไม่จำกัดคำตอบ แบบไม่จำกัดคำตอบนั้นผู้ตอบสามารถแสดงความคิด ความเห็นได้อย่างอิสระ ส่วนแบบจำกัดคำตอบนั้น คำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจงและต้องการคำตอบเฉพาะเรื่อง ผู้ตอบต้องอ่านคำถามให้ดีว่าต้องการให้ตอบในเรื่องใด เนื้อหามีขอบเขตเพียงใด
นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งลักษณะของข้อสอบอัตนัยได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ (นวลทิพย์ เพิ่มเกษร และ คำยวง ศรีธวัช , 2538)
มุ่งให้อธิบายวิธีการหรือความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ลักษณะคำถามของข้อสอบที่มุ่งให้อธิบายมี 3 ชนิด คือ
ก. ให้คำจำกัดความ
ข. ให้รายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริง
ค. ให้เปรียบเทียบ
แนวการตอบข้อสอบที่มุ่งให้อธิบายแบบต่าง ๆ
ก. การให้คำจำกัดความ
ข. การยกตัวอย่าง
ค. การเปรียบเทียบ
ง. การแสดงเหตุผล
จ. การอธิบายตามลำดับขั้น
มุ่งให้ผู้ตอบใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงประกอบเพื่อให้การแสดงความคิดเห็นน่าเชื่อถือ การตอบข้อสอบประเภทนี้ผู้ตอบต้องอ่านคำถามให้เข้าใจและจับประเด็นให้ได้ว่าจะต้องเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร ผู้ตอบต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องที่ตอบอย่างแจ่มแจ้ง และรู้จักเลือกใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและนำมาใช้อย่างถูกต้อง การแสดงความคิดที่ดีควรมีการให้เหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ศึกษามาหรือข้อมูลจากประสบการณ์ การแสดงเหตุผลจะน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นหากมีการอ้างอิงหลักฐานทั้งทางตรงและทางอ้อม หลักฐานอ้างอิงอาจปรากฏในรูปต่าง ๆ กัน เช่น ข้อเท็จจริง สถิติ ตัวเลข ตัวอย่างเหตุการณ์ เป็นต้น
ผู้ตอบต้องแยกแยะประเด็นของเรื่องที่จะเขียนอภิปรายให้ชัดเจน วิเคราะห์ให้ครบถ้วนทุกประเด็น ถ้าประเด็นคำถามต้องการให้อภิปรายปัญหาส่วนรวม ผู้ตอบต้องชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย สาเหตุ แนวทางในการแก้ปัญหา ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
ที่มา : http://home.kku.ac.th/thai416102/SubjectWeb/Writing_Test.htm
แวะมาทักทายพี่อ๊อดสักหน่อยครับ ก่อนกลับไปทำงานต่อ สวัสดีครับ ได้ความรู้อีกแล้ว