Concept Maps "แผนที่_ความคิด"


Concept Maps จะเป็นตัวช่วยให้เราดึงสิ่งที่ฝังอยู่ในความจำนั้นออกมาใช้

          เพราะ Mind map แท้ๆ เชียว ของคุณ "พี่เม่ย" (ยิ้ม) เลยอยากมา ลปรร. ในสิ่งที่ get คือ เรื่อง Concept Maps ซึ่ง Maps ตัวนี้เป็นการออกแบบเพื่อช่วยให้ "เรา" สามารถจัดการและจดจำสิ่งที่เป็น "เนื้อหา"  (Content) เหมือนกับเป็นการจัดระบบเบียบเรื่องราวต่างๆ เพื่อใส่ไว้ในสมองของเรา (การใส่รหัส = Encoding)..ให้ง่ายต่อการจดจำและการทำความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ที่เราสนใจหรืออยากรู้

 

          บางครั้งอาจเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพในสมองที่เรารับรู้และตีแผ่ออกมาเป็นภาพแห่งความเข้าใจ (Mental Model) เมื่อเวลาผ่านไปสามารถดึงสิ่งที่เรารับรู้นั้น (Retrieve) ออกมาใช้ได้อีก ที่น่าสังเกตคือ "การจดจำหรือความเข้าใจ" ส่วนนี้น่าจะไปเก็บไว้ในส่วนของความจำระยะสั้น (Short-term memory) หากเข้าสู่กระบวนการจดจำแล้ว อาจแปรเปลี่ยนไปสู่ "ความจำระยะยาว" (Long-term memory) ต่อไปได้ ตัว Concept Maps จะเป็นตัวช่วยให้เราดึงสิ่งที่ฝังอยู่ในความจำนั้นออกมาใช้ เช่น เมื่อเรากลับมาดูภาพที่เราเขียนไว้เป็น Concept Maps ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง...หากเราอยากกลับมาทบทวน...เราก็จะใช้สิ่งนี้มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ทบทวนความจำและความเข้าใจ...ที่ฝังไว้ในความทรงจำนั้น

 

 

 

เขียน Concept Map:  โดย Dr.Ka-Poom

ที่มา:  Goldstein, E. B., Baker, R., and Mackewn, A. 2005. Concept Maps and CogLab Online Manual for Goldstein's Cognitive Psychology; Connecting Mind, Research, and Everyday Experience. USA; Thomson Wadsworth.

 

*CogLab = Cognitive Psychology Online Laboration

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 20348เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เข้ามาอ่าน..แล้วค่ะ ขอถามนะคะ.. อ่านรอบแรกเข้าใจว่า "การจะเขียน concept maps เกี่ยวกับเรื่องราวใดๆออกมาให้ได้นั้น ต้องผ่านการสรุป คิดวิเคราะห์ แล้วนำ"แก่น"เข้ามาไว้ตรงกลาง จากนั้นจึงเชื่อมโยงเรื่องราว เหตุการณ์ หรือความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาเติมให้"เต็ม"ใช่ไหมคะ?.." พี่เม่ยจะกลับมาอ่านอีกหลายรอบ เพื่อ"ทำความเข้าใจ"..ให้ถ่องแท้อีกครั้งค่ะ..

เรียน คุณ "พี่เม่ย" ค่ะ

ดีใจค่ะที่..เริ่มเกิด ลปรร. ตอนนี้ Cognitive Load อย่างมากเลยค่ะ จากคำถามพี่เม่ย เพราะกลัวว่าจะ ลปรร. อะไรแปลกๆ ที่ชาวบ้านอาจมองว่าไม่ใช่ (อิอิอิ-ยิ้มๆๆๆ) ปกติตัวเองทำอะไรไม่ค่อยยึดหลักการอะไรนะคะ...get...อะไรจะเขียนเลย...หากจะอึดอัดเมื่อต้องเขียนเป็นความเรียงยาวๆ ก็เลยมักเลือกการทำเป็น Concept map หรือ Mind map มาเป็นตัวช่วยการจดบันทึกค่ะ...แนวทาง "ตน"..ก็คือ เขียนเป็นประเด็นๆ..แล้วค่อยลากเส้นเชื่อมโยงเป็นเรื่อยๆ...ให้ตรงแต่ละประเด็นเท่านั้นแหละคะ...ไม่คำนึงถึงหลักการใดใดทั้งสิ้นคะ...แค่นี้ชีวิต...ก็ลดความอึดอัดได้มากแล้ว (ยิ้มๆๆๆ-พี่เม่ยจะเอาไปใช้บ้างก็ได้นะคะ: จัดให้เป็นการ short note ที่สั้นๆง่ายๆก็เพียงพอแล้วคะ --> ไร้รูปแบบ หากแต่สมดุล)

แต่หากหลักการ...ก็พอมี..ว่า


To understand how the maps are organized. The map is organized into three levels.
Level 1, is the central-concept level. This concept is often similar to a major heading.
Level 2, is the secondary-concept level.
Level 3, is the evidence level.
หมายเหตุ Level 3 นี้จะแตกแขนงออกไปได้เรื่อยๆ...ไร้ขีดจำกัดนะคะ

ขอบคุณ Dr.Ka-poom มากค่ะ

พี่เม่ยได้แนวทางแล้วค่ะ..

พี่เม่ย..คะ

ได้แนวทางหรือ get อะไรได้บ้าง...ลปรร. หน่อยนะคะเพื่อเป็นวิทยาทาน..(ยิ้มๆๆๆ)

แนวทางของพี่เม่ย...ด้วยเครื่องมือเดียวกัน...

  • ถ้าจะคิดวางแผน หรือทำงานใดๆด้วย Mindmap..ใส่ เป้าหมายไว้ตรงกลาง.. ดึงความคิดออกมาเชื่อมโยง
  • ถ้าจะเก็บบทสรุปใดๆ ให้เป็น Concept map.. ใส่ แก่น ไว้ตรงกลาง... แตกกระจาย(แต่อย่าให้กระเจิง)ความคิดในแง่มุมต่างๆออกไป

"พี่เม่ย"

ขอบคุณค่ะ.."พี่เม่ย"  งดงามมากค่ะ...ทางปัญญา

ความคิดที่เป็นระบบ..สื่อออกมา "Representation"..ถึงสิ่งที่เข้าใจ(Understanding)...ผ่านการมองแบบ Mind' eye...

สื่งที่สื่อ...คือสิ่งที่...อาจมีใครมา get ในสิ่งที่เรา get...นี่แหละคะคือสิ่งที่มหัศจรรย์..."มิตรภาพ"...ของการ ลปรร.

เพราะอยากรู้ จึงมุ่งค้นหาจึงได้รู้ว่า ประตูที่จะก้าวสู้การเรียนรู้
เรื่องการใช้แผนที่ความคิดด้วยโปรแกรม mindmanager นั้น
อยู่ที่ http://www.wqsky.com/soften/351.asp
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท