chalalak
นาง ชลาลักษณ์ ชลาลักษณ์ เสาร์สุวรรณ์

เงินรายได้สถานศึกษา


เงินอะไรถึงเป็นเงินรายได้สถานศึกษา

เงินรายได้สถานศึกษา

จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย เงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 และยกเลิกการมอบอำนาจเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา พ.ศ. 2547 และได้ออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 มาบังคับใช้แทน และได้มอบอำนาจเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา ตามคำสั่งที่ 161/2549 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549

เงินรายได้สถานศึกษา หมายถึง

1.บรรดารายได้ หมายถึง การรับเงินทุกประเภทที่เป็นรายได้ของสถานศึกษา หรือ สถานศึกษาทำกิจการอะไรทีก่อให้เกิดรายได้ ถือว่าเป็นเงินรายได้สถานศึกษาทั้งสิ้น เช่น รายได้จากการขายอาหาร, รายได้จากการให้เช่าอาคารอาคารสถานที่ ฯลฯ

2.ผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ราชพัสดุ หมายถึง บรรดาผลประโยชน์ที่สถานศึกษาได้รับจากที่ราชพัสดุของสถานศึกษา รวมทั้งการจัดหารายได้จากการบริการของสถานศึกษาและค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดแย้งกับนโยบาย วัตถุประสงค์และภารกิจหลักของสถานศึกษา แต่การทำประโยชน์ต้องไม่ทำในเชิงธุรกิจ เช่น การปลูกยางพารา บนพื้นที่ราชพัสดุ รายได้จากการขายยางพารา ก็ต้องนำเงินเข้าเป็นเงินรายได้ของสถานศึกษา

3.เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาต่อ เช่น กรณีข้าราชการครูลาศึกษาต่อ แต่มีการผิดสัญญา และมีการเสียค่าปรับ สถานศึกษาก็จะต้องนำเงินค่าปรับที่ได้รับเป็นเงินรายได้สถานศึกษา ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

4.เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของ เช่น เมื่อมีการจัดซื้อ/จัดจ้าง เมื่อมีการส่งมอบสินค้า หรืองานจ้าง และมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้กับสถานศึกษา

5.เงินที่มีผู้มอบให้ หมายถึง เงินบริจาคทั้งที่ระบุวัตถุประสงค์ และไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์

6.เงินหรือผลประโยชน์อื่น ที่สถานศึกษารับไว้เป็นกรรมสิทธิ์แต่ไม่รวมถึงงบประมาณรายจ่าย เช่น เงินระดมทรัพยากร (ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานก่อน) เงินบำรุงการศึกษา (ที่เก็บนอกเหนือจากหลักสูตร) เงินรายได้อื่น

7.ค่าขายแบบรูปรายการ

8.เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเงินโครงการอาหารกลางวัน

การรับเงิน   เมื่อสถานศึกษาได้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้ง และนำหลักฐานการรับเงินไปบันทึกรายการในสมุดเงินสด (แบบระบบบัญชีสำหรับหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2515)บันทึกในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณประเภทเงินรายได้สถานศึกษา (แบบควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544) สำหรับการเก็บรักษาเงิน สามารถเก็บเป็นเงินสด เงินฝากธนาคาร ตามอำนาจการเก็บรักษาเงิน ส่วนที่เกินวงเงินให้นำฝากส่วนราชการผู้เบิก

อำนาจการเก็บรักษาเงิน ดังนี้

-นักเรียนไม่เกิน 120 คน วงเงินสำรองจ่าย ณ โรงเรียนไม่เกินวันละ 20,000 บาท วงเงินฝากธนาคาร 30,000 บาท

-นักเรียนเกิน 120 คนขึ้นไป วงเงินสำรองจ่าย ณ โรงเรียนไม่เกินวันละ  30,000 บาท วงเงินฝากธนาคาร ไม่เกิน 1 ล้านบาท 

- โรงเรียนที่มีการจัดอาหารกลางวัน (ที่มิได้มาจากเงินงบประมาณ) ให้มีวงเงินสำรองจ่าย ณ โรงเรียนได้เพิ่มอีกวันละ 20,000 บาท

* ทุกสิ้นปีการศึกษา สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานการรับ-จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เพื่อเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ



ความเห็น (3)

ขอบคุณมากที่ให้ความกระจ่างรายได้สถานศึกษาจ้า

ขอบคุณมาก ๆ เลย แล้วเงินรายได้สถานศึกษานี้ นำไปใช้ในกรณีใดได้บ้างคะ

 

เงินโครงการเรียนฟรีจัดเป็นเงินรายได้สถานศึกษาหรือไม่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท