"3 circles , key successful and BSC"


  "3 circles , key successful and BSC"
 
BSC หรือ Balance Score Card เป็นเครื่องมือในการวัดที่ให้ความสำคัญทั้งด้านการเงิน บุคลากร การเรียนรู้ และการพัฒนาองค์กร การเพิ่มรายได้ โดยคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ควบคู่กันทุกองค์ประกอบอย่างสมดุลกัน (Balance) โดยสอดคล้องกับ Vision ขององค์กร อีกทั้งในบางองค์กรได้นำมา BSC มาใช้ในการเชื่อมโยง Vision ขององค์กรมาสู่การปฏิบัติได้ จากนามธรรมสู่รูปธรรม ซึ่งในการแข่งขันในปัจจุบันนั้น เป็นการแข่งขันที่ผสมผสานทั้งทางการเงิน ความรู้ ภาพลักษณ์ขององค์กร ความพึงพอใจของลูกค้า รวมไปถึงกระบวนการจัดการ การสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กร ทำให้บุคลากรทราบถึงบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
 
วงกลมที่ 1" บ้านต้องน่าอยู่" ผู้บริหารต้องเกิดการลงมือ "ร่วมใจ" กับลูกน้อง ทำ BSC เป็นต้นแบบ ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นตัวอย่างเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการเปลี่ยนแปลงและ "ร่วม" พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ไม่ใช่เพียงแค่การทำตอบสนองตัวชี้วัด
 
วงกลมที่ 2 "คนมีความสามารถ" ผู้บริหารต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของพนักงาน ควรเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในงานของแต่ละบุคคล ปลูกฝังให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความโปร่งใส ไม่เล่นพรรคเล่นพวก  มีการพัฒนาทั้งทักษะในเชิงปฏิบัติการ และทักษะแนวคิดสร้างสรรค์ในเชิงบวก และทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้ได้บุคลากรที่เป็นทั้ง "คนเก่งและคนดี" ปลูกฝังลักษณะนิสัยในการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้จากการฝึกอบรมสู่ผู้อื่น และการประยุกต์ใช้งานความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมจนเป้นทักษะเชิงปฏิบัติการ
 
และวงกลมที่ 3 "มีแรงบันดาลใจ" มีการกระจายอำนาจแก่พนักงานให้ พนักงานมีความรู้สึกเป็นส่วนร่วมในการตัดสินใจของบริษัท สร้างแรงจูงใจจากการพัฒนาที่พนักงานจะได้รับอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารลงมาดูแลพนักงานทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องสร้างความรู้สึก "ได้รับการดูแลจากองค์กรสม่ำเสมอ"  เกิดเป็นความรู้สึก "อยากที่จะทำงานอย่างเต็มที่ให้องค์กร"
 
จากทฤษกี 3 วงกลม เมื่อผู้บริหารเห็นถึงความสำคัญในการลงทุนด้านการพัฒนาทัรัพยากรมนุษย์  แล้วนำ BSC มาเชื่อมโยงจาก วิสัยทัศน์ พัฯธกิจขององค์กร สู่แนวการปฏิบัติที่มีความสมดุลสอดคล้องกันทั้งด้าน การเงิน  การตอบสนองความต้องการของลูกค้า เมื่อ ผู้บริหารลงมาร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนกระบวนการทำงาน ทำให้บุคลากรเกิดการพัฒนา competency สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรู้สึกร่วม และรักในองค์กร ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างสูงสุด กภายใต้การทำงานอย่างมีความสุขและยั่งยืนในองค์กร

 

 

ปัจจัย SUCCESSFUL การพัฒนา HC

 

1.   คุณภาพของคน : การคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพ อย่างเที่ยงตรงโปร่งใส ไม่เล่นพรรคพวก เด็กเส้น ทำให้ได้คนที่ผ่านการคัดเลือกและพร้อมที่จะถูกพัฒนา

2.   ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร CEO จะต้องเชื่อในการพัฒนาทุนมนุษย์ว่าจะส่งผลอย่างสูงต่อธุรกิจ และลงมาร่วมกับพนักงานอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

3.      ทัศนคติของฝ่ายจัดการ

1.    มองการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นการลงทุนไม่ใช่การสูญเสีย การที่พนักงานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยังก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกตามมา คือเมื่อพนักงานได้รับการเอาใจใส่ก็จะมีความรู้สึกอยากที่จะทำงานให้ โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีการฝึกใน 3 ทักษะ

2.   ทักษะเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับงานที่ตนเองรับผิดชอบ 2ทักษะในเชิงแนวคิด เพิ่มความสามารถในการสร้างแนวทางความคิดเชิง 2 ทักษะนี้เราจะได้ คนเก่ง

3.      ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการพัฒนาบุคลิกภาพ มุ่งเน้นให้เกิด คนดี

4.   การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง ให้พนักงานเอาใจใส่ต่อการพัฒนาตนเอง หาความรู้ หาประสบการณ์ จากการฝึกอบรมและนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

 

·       การสามารถทำบางส่วน       ==>       การปฏิบัติได้จริงมุ่งสู่ Vision

·       แรงจูงใจพักงานและผู้บริหารให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง

 

Key of Success

Ø  ผู้บริหารลงมาทำ BSC ด้วยตนเอง มีการสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่พนักงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจนมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร มีการสร้างแรงจูงใจตามเป้าหมาย โดยไม่มีการลงโทษสำหรับผู้ทำ ไม่สำหรับการกระจายอำนาจให้อำนาจแก่พนักงานในการรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ผู้บริหารลงมือปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี

Ø    โดย โรเบริ์ต แคปแลนต์ ได้ให้บันไดสู่การสำเร็จ 5 ขั้น คือ

 

o      Mobilize      ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องเป็นผู้นำในการจุดชนวน ความคิด      เคลื่อนพล  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

o   Translate  มีการถ่ายทอดแปลความหมายผ่านเครื่องมือสำคัญที่เรียกว่าแผนที่กลยุทธ์หรือ Strategy Map เพื่อให้การบริหารจัดการในองค์กรมีความเชื่อโยงกันได้

o      Alignment  ทำให้ทุกหน่วยงานมีการผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือความรู้สึกเป็นทีม มีความรักองค์กร

o      Motivate     มีแรงกระตุ้น ดลใจเพื่อให้ทุกคนทำตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้

o      Govern      ดูแลให้ทุกอย่างที่ทำมาแล้วมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

โดยสอดคล้องกับความสมดุลทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน กระบวนการภายในและการเรียนรู้และพัฒนา

Ø    การทำ BSC นั้นต้องสอดคล้องกับ Vision เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยง

Ø  การแข่งขันในยุคปัจจุบันเป็นการแข่งขันทั้งทางการเงิน ความรู้ ภาพพจน์องค์กร ความพึงพอใจของลูกค้ารวมถึงความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Ø  BSC เป็นเครื่องมือที่ให้ความสำคัญทั้งด้านการเงิน บุคลากร การเรียนรู้และพัฒนาองค์กร การเพิ่มรายได้ โดยคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกด้านอย่างสมดุลกัน (Balance)

Ø    BSC ทำให้ทุกคนทราบถึงบทบาทหน้าที่และการทำงานของตนเอง 

 


 

ความสำเร็จเริ่มต้นจาก คน

ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกคน ทุกองค์กร ทุกชุมชน ทุกประเทศ ต้องการแสวงหาและปรารถนาในเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย ของการดำรงค์อยู่หรือที่เรียกว่า ความสำเร็จที่ยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จในความยั่งยืน ย่อมเกิดจากความสำเร็จจากการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกและเรียนรู้สิ่งผิดเพื่อพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ในสิ่งที่ถูก เพื่อปฏิบัติไปในสิ่งหรือในทางที่ถูกต้องซึ่งเป็นประโยชน์ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ในที่สุดของความสัมฤทธิ์ผลหรือความสำเร็จ ดังนั้นความสำเร็จจึงเริ่มจากคำสั้น ๆ คือ คน ที่เป็นองค์ประกอบหลักของ ทุนมนุษย์  การพัฒนาคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรของชุมชนและของรัฐรวมถึงของโลกอันไร้พรมแดนในปัจจุบัน คนจึงเป็นทรัพยากรที่ควรได้รับการพัฒนาเป็นอันดับแรกและพัฒนาตลอดเวลา โดยเฉพาะคนในองค์กรหรือชุมชน (สังคม) ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว ภาคธุรกิจ ท้องถิ่น ฯลฯ เป็นรากฐานสำคัญด้วยการเชื่อมโยงไปสูการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี และความสุขรวมถึงสุขภาพอนามัยที่ดี และเมื่อองค์กรที่ประกอบด้วยคนอันหลากหลายที่มาอยู่รวมกัน การสร้างสรรค์เชิงการบริหารจัดการเพื่อให้งานหรือบุคคลภายในองค์กรมีความสมบูรณ์ (ด้านศักยภาพด้วยการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีและทางด้านความสุขและสุขภาพที่มี) จึงเป็นสิ่งที่องค์กรนั้น ๆ จะให้ความสำคัญ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดที่เชื่อมโยงทฤษฎี 3 วงกลม ที่ประกอบด้วย

วงที่หนึ่ง Context หรือการบริหารจัดการทางข้อมูล ข่าวสารที่สำคัญขององค์กรและบุคลากร

วงที่สอง Competencies ความสามารถ ทักษะ และความชำนาญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่ก่อประโยชน์ต่อองค์กร

วงกลมที่สาม  Motivation แรงบันดาลใจหรือแรงผลักดันขับเคลื่อนเชิงสร้างสรรค์ต่อตนเองและองค์กร

จากทฤษฎีทั้ง 3 วงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วยการฝึกอบรม พัฒนาทักษะ และพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่ตรงกับความสำคัญของเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มีที่มาจากความเห็นร่วมของบุคคลในองค์กร คือผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนา และพนักงานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับผู้บริหารจะต้องเห็นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าผู้บริหารต้องมีความเชื่อหรือความศรัทธาในความหมายของการพัฒนาคนหรือบุคลากรที่จะเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสามารถเพิ่มมูลค่าด้วยตนเองและมีผลสืบเนื่องถึงองค์กรและให้ความสำคัญในการทุ่มเทเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลหรือบุคลากรให้มีคุณภาพโดยสำคัญและสัมพันธ์กับการจัดการตามยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ซึ่งการใช้หลักการ BSC หรือ Balance Score Card เป็นเครื่องมือในการวัดที่ให้ความสำคัญทั้งด้านการเงิน บุคลากร การเรียนรู้ และการพัฒนาองค์กร การเพิ่มรายได้ โดยคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ควบคู่กับทุกองค์ประกอบอย่างสมดุลกัน (Balance) โดยสอดคล้องกับ Vision และเชื่อมโยง Vision ขององค์กรมาสู่การปฏิบัติได้ โดยผสมผสานทั้งทางการเงิน ความรู้ ภาพลักษณ์ขององค์กร ความพึงพอใจของลูกค้า รวมไปถึงกระบวนการจัดการ การสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อความพึงพอใจในสินค้าและบริการร่วมถึงความคาดหวังและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งการที่จะได้มาจากความสัมฤทธิ์ข้างต้นจะต้องมีที่มาจากการดำเนินงานภายในที่ดี ดังนั้นอาจจะกล่าวสรุปถึงความสำคัญของความสำเร็จที่มาจากความหมายที่แทนค่า (Represent) อยู่ในทฤษฎีวงกลม 3 + 1 วง ดังนี้


วงกลมแห่งความสุข คือ ความสุขในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ กระตือรือร้น และเป็นไปในทิศทางขององค์กร โดยเริ่มจากผู้บริหารเป็นผู้นำของการพัฒนา โดยมีความสำคัญอยู่ที่การสร้างสรรค์บรรยากาศภายในองค์กรให้อิ่มเอมด้วยความสุข สงบแต่ทันสมัย และคล่องตัว

 

วงกลมแห่งทักษะและความสามารถที่เกิดจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านทักษะ ความสามารถเฉพาะตน และก้าวไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรในลักษณะ คนเด่น” “องค์กรเด่น” “งานดี องค์กรดี ซึ่งมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างบรรยากาศภายในองค์กรในลักษณะของความตื่นตัว ตื่นใจ พร้อมรับการเรียนรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

 

วงกลมแห่งการสร้างสรรค์ด้วยแรงบันดาลใจ ที่เกิดขึ้นจากภายในจองบุคลากรในองค์กร(นามธรรม)และแสดงออกด้วยการปฏิบัติ (กายภาพ) อย่างต่อเนื่องต่อตนเอง ลูกค้า และองค์กร โดยการสร้างบรรยากาศในองค์กรให้มีลักษณะเชิงสร้างสรรค์ อิสระ และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะหน่วยงาน

 

และวงกลมวิสัยทัศน์ หรือญาณทัศนะ (Vision) ซึ่งเป็นภาพใหมญ่ที่เกิดจากการร่วมคิดร่วมสร้างของผู้นำและพนักงานหรือบุคลากรที่มีส่วนร่วมขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญมากในการสร้างความตระหนักและสร้างการยอมรับเพื่อร่วมผลักดันให้เป็นไปตามเจตจำนงค์

 โดย ... ยงยุทธ  สกุลชาตรี


 

 

รูปแบบที่นำเสนอนี้อธิบายได้ดังนี้

1.      ทฤษฎี 3 วงกลมว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทุนมนุษย์
 เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเจริญเติบโตขององค์กร จึงอยู่ระหว่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และการวางแผนดำเนินการเพื่อกำหนดกลยุทธ์ร่วมกัน  ทั้งนี้  วิสัยทัศน์และพันธกิจจะต้องมีการร่วมกันกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูงและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วม

2.      โครงสร้างทรัพยากรบุคคล มีการวางแผนฝึกอบรม วางแผนอาชีพ เพื่อให้มีการกระตุ้นให้ทุนมนุษย์เพิ่มทักษะความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

3.      กระบวนการทำประโยชน์และเพิ่มคุณค่าให้เกิดขึ้นกับ stakeholder ขององค์กร
พนักงานทุกกระบวนการปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินงาน

4.      เครื่องมือการวางแผนงานโดยใช้ Balanced Scorecard ให้ความสำคัญ 4 ด้าน ซึ่ง Kaplan และ Norton เสนอใช้ด้านนวตกรรม ด้านการบริหารลูกค้า ด้านการดำเนินการและ
ด้านสังคม  โดยมีตัวชี้วัดจำนวนครั้งที่ช่วยสังคม/ที่ได้รับการรับรอง
Good Governance /ที่มีการประชุมผู้ถือหุ้น/ สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่องบประมาณ  ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  (ของเดิม การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และพัฒนา)

5.      ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor)  มีบทบาทสำคัญในยุคการบริหารจัดการ Globalization ภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง การปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยี ตลาดการเงิน ตลาดทุน ภาวะราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงิน สถานการณ์การเมืองฯลฯ เป็นความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยความสำเร็จ ดังนั้น การวางแผนไม่เพียงแต่มุมมองผลดำเนินการจากการประเมินผลกำไร อาจไม่เพียงพอเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร การวัดประสิทธิภาพการดำเนินการองค์การอาจรวมถึงการประเมินความพึงพอใจของ Stakeholder  ภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมและชุมชน สภาพแวดล้อม การปลูกจิตสำนึกด้านประหยัดพลังงาน การสร้างเครือข่ายในกลุ่ม Stakeholder ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม ชุมชน และสังคม ฯลฯ

6.      ภาวะผู้นำของผู้บริหารจะเป็นผู้กำกับและดูแลให้วัฒนธรรมองค์กร สืบสานผ่านพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของพนักงาน (ทุนมนุษย์) ในองค์กร  ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์
พันธกิจ และกลยุทธ์ที่ได้กำหนดร่วมกัน  ซึ่งจะมีทิศทางเดียวกันมุ่งให้ไปสู่ความสำเร็จที่เป็นเป้าหมายขององค์กรได้ต่อไป

7.      องค์กรต้องมีชีวิตเข้มแข็งพร้อมจะฝ่าฟัน ปัญหา อุปสรรค และวิกฤตเศรษฐกิจเปรียบเสมือนเผชิญกับวัฎจักรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นเดียวกับทุนมนุษย์ การขับเคลื่อนในองค์กรต้องมี Flexibility และ Dynamic   คือ ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ตลอดเวลา องค์กรใดมีความพร้อม 8K’s  5K’s  และ 8 H’s  ทุนมนุษย์ถูกพัฒนาการและมีการเตรียมความพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายด้วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการบริหารจัดการ 

 

สรุป   Business Model นี้  ประยุกต์ทฤษฎี 3 วงกลมกับ Balanced Scorecard  โดยมีแนวคิดว่าทุนมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในองค์กร องค์กรจึงมีชีวิตที่โลดเต้นตามชีวิตของทุนมนุษย์ ยุคโลกแบนหรือโลกไร้พรมแดน ในยุคศตวรรษที่ 21 แนวความคิดการประหยัดต้นทุนและเวลา เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนเป็นความท้าทายที่ผู้บริหารในองค์กรต้องใช้หลักธรรม ความไม่ประมาทและตื่นตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องมีวิสัยทัศน์เหนือคู่แข่ง โดยมีคู่แข่งเป็นพันธมิตร  ในการบริหารจัดการองค์กร

 

 

โดย... สร้อยสุคนธ์  นิยมวานิช

องค์ประกอบ 3 ประการในความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล

 

                จากหนังสือการบริหารจัดการนวัตกรรม  แปลและเรียบเรียงจาก Managing Creativity and Innovationโดย Ralph Katz แปลและเรียบเรียงโดย ณัฐยา  สินตระการผล หน้า 136-140

                ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เป็นกระบวนการพัฒนาและแสดงความคิดที่แปลกใหม่เพื่อแก้ปัญหา หรือตอบสนองความต้องการบางอย่าง ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์จึงไม่ได้เป็นการใช้พรสวรรค์มากเท่ากับเป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

                เทเรซ่า อมาไบล์ (Teresa Amabile) ได้อธิบายไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และแรงจูงใจ ความเชี่ยวชาญนั้นได้แก่ ความรู้ด้านเทคนิค ด้านกระบวนการ และความฉลาด ส่วนทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ถูกนิยามไว้เป็นวิธีที่คนใช้ในการการแก้ปัญหา ดังที่อมาไบล์เสนอว่า ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ มักจะเกิดจากบุคลิกภาพ และขัดแย้งกับคนอื่น จะยิ่งช่วยได้ถ้าวิธีการทำงานของเขาเป็นแบบที่ไม่ลดละความพยายามในการหาทางแก้ปัญหา ถึงแม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ทำให้ย่อท้อ

มีความสอดคล้องกันในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ในองค์กรท้าทายความสามารของผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์กร Put the right man in the right job เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน จะสามารถพัฒนาจาก Knowledge Capital ไปสู่ Intelligence Capital  เกิดความเชี่ยวชาญ สร้างทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และเกิดแรงจูงใจจากภายในมากที่สุด การให้อิสระในความคิดผู้บริหารสามารถสร้างแรงกระตุ้นเพียงปรับคำพูด เช่น เป้าหมายของเราคือ สิ่งที่ลองหาทางที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์นั้นนะ และการให้เวลาและทรัพยากรที่เพียงพอก็เป็นแรงกระตุ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ทีมงานก็จำต้องมีการบริหารจัดการโดยผู้บริหาร ต้องคัดเลือกผู้เข้าร่วมทีมงานให้ได้ส่วนผสมที่ลงตัว สามารถทำให้ความหลากหลายทางความคิด ทักษะ ความขัดแย้ง ไปสู่นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #hr#phd
หมายเลขบันทึก: 196317เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2008 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

องค์ประกอบ 3 ประการในความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล

 

          จากหนังสือการบริหารจัดการนวัตกรรม  แปลและเรียบเรียงจาก Managing Creativity and Innovationโดย Ralph Katz แปลและเรียบเรียงโดย ณัฐยา  สินตระการผล หน้า 136-140

          ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เป็นกระบวนการพัฒนาและแสดงความคิดที่แปลกใหม่เพื่อแก้ปัญหา หรือตอบสนองความต้องการบางอย่าง ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์จึงไม่ได้เป็นการใช้พรสวรรค์มากเท่ากับเป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

          เทเรซ่า อมาไบล์ (Teresa Amabile) ได้อธิบายไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และแรงจูงใจ ความเชี่ยวชาญนั้นได้แก่ ความรู้ด้านเทคนิค ด้านกระบวนการ และความฉลาด ส่วนทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ถูกนิยามไว้เป็นวิธีที่คนใช้ในการการแก้ปัญหา ดังที่อมาไบล์เสนอว่า ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ มักจะเกิดจากบุคลิกภาพ และขัดแย้งกับคนอื่น จะยิ่งช่วยได้ถ้าวิธีการทำงานของเขาเป็นแบบที่ไม่ลดละความพยายามในการหาทางแก้ปัญหา ถึงแม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ทำให้ย่อท้อ

 

รูปวงกลม

 

1.ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ (creative thinking skills) เป็นสิ่งที่บอกว่า บุคคลนั้นแก้ปัญหาด้วยความยืดหยุ่นและมีจินตนาการกว้างไกลแค่ไหน?  ทางแก้ปัญหาของพวกเขามีพื้นฐานมาจากภาวะที่เป็นอยู่หรือไม่? พวกเขาพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะต้องเจออุปสรรค์หรือไม่?

2.ความเชี่ยวชาญ (expertise) ก็คือความรู้ด้านเทคนิค กระบวนการ และความฉลาด

3.แรงจูงใจ (motivation) ทุกแบบไม่ได้เท่าเทียมกัน โดยความปรารถนาอันแรงกล้าภายในใจที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจะทำให้ได้ทางแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์กว่าแบบที่เกิดจากสิ่งจูงใจภายนอก เช่น การให้เงิน องค์ประกอบที่เรียกว่า แรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation) นี้ เป็นสิ่งที่ได้รับผลจากสภาพแวดล้อมในการทำงานมากที่สุด

แรงจูงใจอาจเกิดจากทั้งภายนอกหรือภายใน โดยอมาไบล์กล่าวไว้ว่า แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) จะได้จากปัจจัยภายนอก เช่น เงินโบนัส หรือการเลื่อนตำแหน่ง งานวิจัยของเธอแสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation) เพื่อกระตุ้นให้เกิดองค์ประกอบทั้ง 3 ประการของความคิดสร้างสรรค์ได้ดังนี้

-จับคู่ให้เหมาะสม

-การให้อิสระกับคน

-การให้เวลา และทรัพยากรที่เพียงพอ

เมื่อสามารถสร้างองค์ประกอบทั้ง 3 ประการได้แล้ว ก็จะสามารถกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ได้

 

ความเห็น

          ทฤษฎี 3 วงกลมของท่านอาจารย์จีระ  หงษ์ลดารมณ์ และองค์ประกอบ 3 ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ดังนี้

 

รูปวงกลม 2 วง

 

 

          มีความสอดคล้องกันในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ในองค์กรท้าทายความสามารของผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์กร Put the right man in the right job เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน จะสามารถพัฒนาจาก Knowledge Capital ไปสู่ Intelligence Capital  เกิดความเชี่ยวชาญ สร้างทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และเกิดแรงจูงใจจากภายในมากที่สุด การให้อิสระในความคิดผู้บริหารสามารถสร้างแรงกระตุ้นเพียงปรับคำพูด เช่น เป้าหมายของเราคือ สิ่งที่ลองหาทางที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์นั้นนะ และการให้เวลาและทรัพยากรที่เพียงพอก็เป็นแรงกระตุ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ทีมงานก็จำต้องมีการบริหารจัดการโดยผู้บริหาร ต้องคัดเลือกผู้เข้าร่วมทีมงานให้ได้ส่วนผสมที่ลงตัว สามารถทำให้ความหลากหลายทางความคิด ทักษะ ความขัดแย้ง ไปสู่นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

 

โดย... สร้อยสุคนธ์  นิยมวานิช

 

 แวะมาอ่านและลงชื่อไว้นนะครับ

อ่านแล้ว มึนนิดหน่อย...แต่เห็นความพยายาม เชื่อมโยง สร้างภาพให้เห็น ขยายแนวคิดออกไปครับ

แวะมาอ่านค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ

สมกับเป็นท่านกูรู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท