การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)


การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

1. เรื่องที่อ่าน/จากหนังสือ/ผู้เขียน/ปีที่พิมพ์

   การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)   การสนทนากลุ่ม : เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วมและการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย   ดร. ถวิลวดี  บุรีกุล  และ ผศ.ดร.เมธิศา   พงษืศักดิ์ศรี  กรุงเทพ ฯ , งานดีครีเอชั่น.  2550.

2. สาเหตุที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้/เหตุผลที่เลือกอ่านเรื่องนี้

     จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา  ผมได้ประเด็นที่น่าสนใจจากเพื่อนสมาชิก

ผู้บริหารโครงการ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ การสำรวจข้อมูลชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษาจึงได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ จนไปอ่านเจอ เรื่องของการทำ Focus Group  (การสนทนากลุ่ม)   และพบว่า วิธีการนี้เป็นวิธีการหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนาในแต่ละกลุ่มประมาณ 6-10 คน ซึ่งเลือกมาจากประชากรเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้  ซึ่งประโยชน์ของการ focus  Group    สรุปได้ว่า  สามารถนำไปใช้ในการศึกษาความคิดเห็น ทัศนคติ ความรู้สึก การรับรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรม  การกำหนดสมมติฐานใหม่ ๆ   การกำหนดคำถามต่างๆที่ใช้ในแบบสอบถาม  ใช้ค้นหาคำตอบที่ยังคลุมเครือ หรือยังไม่แน่ชัดของการวิจัยแบบสำรวจ เพื่อช่วยให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   และใช้ในการประเมินผลทางด้านธุรกิจ 

 

3. การนำไปใช้ (เพื่อพัฒนาตนเอง/พัฒนาองค์กร)

     การจัดสนทนากลุ่มนั้นจะพบว่าในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยต้องคำนึงถึง การเลือกผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มนั้นควรเป็นผู้ที่พูดและฟังภาษาท้องถิ่นได้ และต้องมีความเหมาะสมกับหัวข้อเรื่องที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม  ควรให้ผู้เข้าร่วมอยู่ร่วมกลุ่มโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ  เนื่องจากการจัดการสนทนากลุ่มนี้ไม่สามารถใช้กับการศึกษาวิจัยได้ทุกเรื่อง หากผู้ที่จะนำมาใช้ได้พิจารณาให้รอบคอบ โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดก่อนที่จะเลือกวิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการนี้ก็จะทำให้งานวิจัยที่ออกมามีคุณภาพและน่าเชื่อถือ  ดังนั้นในการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร ผู้นำองค์กรควรมีทักษะในการวิเคราะหืและสังเคราะห์ข้อมูลจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

 

ลงชื่อ   สมประสงค์    ยมนา ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 196003เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กิจกรรมนี้ใช้ได้ในหลาย ๆ กลุ่มเป้าหมาย...ผู้บริหารน่าใช้ เพราะจะได้ฟังข้อคิดความเห็นจากคนอื่น ๆ บ้าง เช่นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อน สมาชิกในองค์กร นับว่าเป็นพื้นฐานอย่างดีต่อกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม

เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา "ต้อง" ไปเป็น Note taker ให้กับงาน ๆ หนึ่ง(เพราะน้องที่เป็น Moderator ค่อนข้างสนิทกัน และเป็นการ FGD ครั้งที่ 2 ของงานนี้ สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหา ณ ตอนนั้น คือ 1. ผลของ FGD ครั้งแรกเป็นยังไง (เราไม่ทราบเพราะน้องเค้าไม่มีเวลาอธิบาย ... พูดคำเดียวว่า "เชื่อมือ" เราเองยังไม่เชื่อมือตัวเองเลย) 2. เป็น FGD ที่มีสมาชิก 15 คน และ 3. ไม่มีเครื่องมืออื่นใดนอกจากกระดาษ A4 ให้จดบันทึก (ไม่จำกัดจำนวน)ตั้งแต่เวลา 10.00-14.00 น. (ไม่เบรคทานข้าวเนื่องจากทุกท่านที่มาร่วมมีภารกิจมาก ในเวลาจำกัดจึงทานข้าวเที่ยงไปด้วย โฟกัสไปด้วย..)

การร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า

- คนเปิดประเด็นที่เรียกว่า Moderator จำเป็นต้องมีทักษะ ความเชี่ยวชาญ และลักษณะเฉพาะที่จะพูดให้คนที่ "ไม่ยอมกัน" ยอมกันได้ในเวลาจำกัด "ไม่เสียเวลาเถียงกันนาน" ถ้ามีการเตรียมตัวมาดีจะได้ข้อมูลที่ต้องการในเวลาจำกัด

- คนบันทึกสรุป ต้องสามารถสรุปประเด็น ทวนข้อสรุปให้สมาชิกฟัง และทบทวนรายละเอียดหากสมาชิกมีการโต้แย้งข้อมูล ต้องพร้อมแสดงข้อเท็จจริงให้ทราบ (ห้ามโมเม

..เพราะจะโดนดุ..ถ้าผู้เข้าร่วมเป็นระดับอาวุโส" แต่กรณีที่ คนเปิดประเด็นทำหน้าที่สรุปประเด็นเอง เก๊าะ สบายไป...

- ถ้าจะให้ดี คนเปิดประเด็นกะคนบันทึก ต้องคุยกันก่อน (เอาให้เข้าใจตรงกัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการ FGD ครั้งที่ 2 หรือ 3 และมีการเปลี่ยนตัว

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการศึกษา

ขอชื่นชมกับ กลุ่ม 3 เลือกหัวข้อได้โดนใจผม เพราะกำลังสนใจพอดี แต่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ให้กำลังใจ ศึกษาให้ลึกซื้ง เรียบเรียงให้ดี คงเกิดโประยชน์แก่วงการศึกษา อย่างน้อยก็กับผมคนหนึ่งแหละ

ผู้เฒ่า เต่าไฟฟ้า

Focus Group ลักษณะของคนในกล่มควรมี homogenious หรือความคล้ายคลึงกันสูง ไม่ใช่ว่า นำคนมาหลากหลายปนๆกันแล้วFocus

focus group เป็นเครื่องมือเจาะความเป็นจริงอีกเครื่องมือหนึ่ง แต่อาจไม่แน่ ผู้จัดควรมีความจริงใจก่อน แล้ว กล่มจะไหลออกมา

การบันทึกเสียงจะช่วยได้มาก

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ตัวผู้วิจัย

แหม พิมพ์แต่ละที สระอุ หาย

ค่อยไปเติมกันเองละกัน

จะไปวิจารณ์การเมืองที่ pantip ราชดำเนิน ก่อน เดี๋ยวนอนไม่หลับ

นายวิชากร

กำลังสนใจเรื่องนี้ค่ะแต่ยังไม่แสดงความคิดเห็นเพราะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้มาเพียบขอ share เลยนะคะ

การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group discussion – FGD) เป็นเทคนิคและวิธีการหนึ่งของการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาใดๆ ของภาครัฐและเอกชน ที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ต้องการให้ประชา ชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือได้รับผลกระทบจากโครงการ ดังปรากฏชัดเจนในมาตรา 59 ที่บัญญัติไว้ดังนี้ “บุคคลมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่ง แวดล้อม สุขอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎ หมายบัญญัติ”

ในที่นี้จะพูดถึงการนำเทคนิคการสนทนากลุ่มย่อยมาประยุกต์ใช้ในการนำไปสู่การพัฒนาองค์กร (Organization Development – OD) และการพัฒนาบุคลากร (Human Development -HD)

การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group discussion – FGD) ในทางปฏิบัติจะรวมไปถึงการปรึกษาหารือด้วย (Public consultation) กับกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นเทคนิคและวิธีการที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งของการทำกิจกรรม การมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากผู้เข้าร่วมการสนทนาทุกคนจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกันเองที่สุด

นอกจากนั้น การสนทนากลุ่มย่อยยังถือเป็นการศึกษาเพื่อนร่วมงานและพนักงานในองค์กรและสามารถทำให้ผู้ที่เข้าร่วมสนทนาเปิดเผยความในใจของตนเองออกมามากที่สุด หากผู้ดำเนินการมีประสบ การณ์และมีเทคนิคที่ดี นอกจากนั้นการสนทนากลุ่มย่อยยังเป็นวิธีหนึ่งที่ประหยัดเงินและเวลา แต่ต้องมีการวางแผนเตรียมการอย่างเหมาะสม ระหว่างการสนทนาผู้ดำเนินการจะเป็นผู้คอยจุดประเด็นการสนทนาตามที่ได้เตรียมการไว้แล้วเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ร่วมสนทนาได้แสดงความคิดเห็นด้วยตลอดเวลา และจะต้องสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองด้วยก่อนการเริ่มสนทนาทุกครั้ง

ประโยชน์ของการสนทนากลุ่มย่อย

1.เพื่อให้ผู้ที่เข้าสนทนามีส่วนร่วมและสามารถแสดงออกทางความคิดเห็นได้อย่างแท้จริงและเปิดเผย

2.เพื่อศึกษาและเรียนรู้ความคิดเห็นตลอดจนความต้องการในเชิงบวกของผู้ที่ร่วมสนทนา

3.เพื่อวัดความรู้ ความเข้าในและความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของพนักงานที่มีต่อองค์กร

4.เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์กับพนักงาน ในการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ มากขึ้น

5.เพื่อสร้างความเป็นกันเองระหว่างพนักงานด้วยกันและระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาของตนเอง

6.เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะตลอดจนคำแนะนำที่อาจมีประโยชน์ต่อองค์กรทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

7.เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อยไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงานและใช้เป็นข้อมูลใน การพัฒนาบุคลากรขององค์กรต่อไป

หลักและวิธีการดำเนินการในการทำ สนทนากลุ่มย่อย

1.มีผู้ดำเนินการหนึ่งคน และผู้ช่วยผู้ดำเนินการ(ผู้คอยจดบันทึก - สรุปผล) อีกหนึ่งคน รวมสองคน

2. มีผู้ร่วมสนทนากลุ่มละประมาณ 10 - 12 คน โดยนั่งล้อมรอบผู้ดำเนินการและผู้ช่วยผู้ดำเนินการ

3.ผู้ดำเนินการควรจดประเด็นการพูดคุยไว้ เพื่อกันการลืมระหว่างการสนทนา

4.ควรสร้างบรรยากาศก่อนการสนทนาให้เกิดความเป็นกันเองให้มากที่สุด โดยอาจเริ่มการสนทนาอย่าง

ไม่เป็นทางการไปก่อน

5.ผู้ดำเนินการจะต้องจำชื่อผู้ที่ร่วมสนทนาให้ได้ทุกคน ถ้าเกรงว่าจะจำไม่ได้ให้ใช้วิธีจดชื่อไว้ในสมุดบันทึกตามตำแหน่งที่คนๆ นั้นนั่งอยู่

6.เริ่มการสนทนาโดยพูดเรื่องที่ใกล้ตัวของผู้ร่วมสนทนาก่อน เช่น คุยเรื่องงานในหน้าที่ ณ ปัจจุบัน

7.พยายามให้ผู้ร่วมสนทนาทุกคนได้มีส่วนในการออกความคิดเห็นและได้ร่วมพูดมากที่สุดและอย่างทั่วถึง

(เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของผู้ดำเนินการที่ต้องมีประสบการณ์การทำสนทนากลุ่มย่อยมาก่อน)

8.ระยะเวลาการสนทนา ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ (ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ผู้ร่วมสนทนาจะเบื่อหน่ายได้)

9.สถานที่สนทนาไม่ควรมีเสียงรบกวนมากนัก อาจใช้ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกหรือถ้ามีสนามหญ้าหรือร่มใต้

ต้นไม้นอกอาคารก็ได้แล้วนั่งล้อมวง

10.เวลาในการสนทนา ควรเป็นเวลาที่ผู้ร่วมสนทนาว่างจริง ๆ เพื่อทุกคนจะได้อยู่ร่วมสนทนาจนจบ ไม่ลุก

ออกไปก่อนการสนทนาจะเสร็จสิ้น

11.ผู้ช่วยสามารถช่วยซักถามหรือร่วมสนทนาด้วยได้ โดยเฉพาะบางประเด็นที่ผู้ดำเนินการอาจตกหล่นบ้าง

12.หลังการสนทนาเสร็จในแต่ละกลุ่มแล้ว ผู้ดำเนินการและผู้ช่วยควรมาสรุปผลสั้นๆ และวิเคราะห์ร่วมกัน

หมายเหตุ ผู้ที่จะเป็น ผู้ดำเนินการ ( Moderator) จำเป็นต้องได้รับการฝึกปฏิบัติโดยการเป็นผู้ช่วย (Assistant) มาก่อน

ผลลัพธ์โดยรวมที่จะได้จากการสนทนากลุ่มย่อย

การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินโครงการที่ต้องการความโปร่งใส (Transparency) ความร่วมแรง ร่วมใจจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะจากคนในองค์กรเดียวกัน ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) โดยตรง ซึ่งจะสามารถลดความขัดแย้งลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังได้รับทราบความต้องการที่แท้จริงของพนักงานในส่วนต่างๆ ขององค์กรด้วย

การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group discussion) เป็นวิธีการที่ดีและดูจะเหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทยวิธีหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะของการแลก เปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เสรีของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการสื่อสารสองทาง (Two - way communication)

การสนทนากลุ่มย่อยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ผู้เขียนได้ประยุกต์มาหลายครั้งจนคิดว่าเข้ากับลักษณะนิสัยของคนไทยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงเสมือนการสร้างบรรยากาศที่ไม่เหมือนการประชุม แต่เป็นการสนทนาอย่างเป็นกันเองในลักษณะ การจับเข่าคุยกัน ซึ่งผู้ดำเนินการ (Moderator) จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบ การณ์ในการนำการสนทนากลุ่มย่อยมามากพอสมควร รวมทั้งมีเทคนิคและวิธีการที่จะทำให้การสนทนาได้ รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ได้รับข้อเสนอแนะการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้ร่วมสนทนา เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากการสนทนากลุ่มย่อยในแต่ละครั้ง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม th/writer/read_this_book_topic.php?passTo

ดร.เป้ เปี่ยมบริบูรณ์

Focus Group Discussion (FGD) หรือ การสนทนากลุ่ม เป็นเวทีฝึกจิตสำนึกของความประชาธิปไตยของทุกคน หรือเป็นเวทีนำร่องการเมืองภาคประชาชน ตามแนวคิดแบบประชาสังคม (Public Society) ควรจะทำกันมาตั้งนานแล้ว และทำบ่อยๆ ในทุกๆเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม / สังคม / ประเทศชาติ / มนุษยชาติ

เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม : ๓ร นั่นคือ รู้ - รับ - ร่วม หรือ Triple H นั่นคือ Head - Heart - Hands

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท