เทคนิคการสอนแบบ Concept mapping


ครูวิชัยคนเดิม เสนอเทคนิคการสอนแบบ Concept Mapping

เทคนิคการสอน โดยใช้ Concept mapping

 

                เทคนิคการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่ครูรู้จักกันดี คือ การใช้ Concept mapping หรือบางที จะเรียก Mind mapping ส่วน ทิศนา แขมมณี (2551, หน้า 388) เรียกเทคนิคการสอนนี้ว่าเทคนิคการใช้ผังกราฟิก (graphic organizers) แต่ทั้งหมดนี้ก็หมายความรวมเป็นอันเดียวกัน ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย ไว้ดังนี้

                ทิศนา   แขมมณี (2551 , หน้า 388) ได้ให้ความหมายว่า ผังกราฟิก เป็นแผนผังทางความคิด ซึ่งประกอบไปด้วยความคิดหรือข้อมูลสำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้เห็นโครงสร้างของความรู้ หรือเนื้อหาสาระนั้น ๆ

                อำไพ   เกตุสถิต (2545 , ไม่ปรากฏหน้า) กล่าวว่า  MIND MAPPING   เป็นเครื่องมือสำคัญที่ครูผู้สอนนิยมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ใช้ในการระดมสมองขณะทำกิจกรรมกลุ่มของผู้เรียน และในการสรุปบทเรียนทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล เนื่องจากเกิดความสนุกสนานแก่ผู้เรียนในการเขียนสิ่งที่ตนเรียนรู้อย่างอิสระ มีการจัดกลุ่มและเรียงลำดับความสำคัญผ่านเส้นแขนงต่างๆจากจุดกึ่งกลาง เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดย่อยๆ และความคิดรวมทั้งหมดในกระดาษเพียงแผ่นเดียว 

                วิชิต  ชาวะหา (มปป.) กล่าวว่า ผังแนวคิด (Mapping concept) เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เราสามารถจดจำได้ดีขึ้นช่วยให้เราคิดอย่างรอบด้านและเป็นระบบทำให้เราเห็นแผนผังความเชื่อมโยงของประเด็นต่าง ๆ มีประโยชน์ทั้งต่อการเตรียมตัวสอบ การเตรียมการสอนการคิดประเด็นเพื่อทำรายงานและการประชุมเพื่อระดมสมอง

                จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบ และถ่ายทอดออกมาทางผังกราฟิก จะช่วยให้สามารถพัฒนาสมองของผู้เรียนทั้งซีกซ้ายและซีกขวา และเป็นการสรุปเนื้อหา หรือบทเรียนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

                การใช้ผังกราฟิกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีการเรียนรู้ 4 ประการด้วยกันคือ (Bromley, Devitis & Modlo, 1995: 7-8 อ้างใน ทิศนา  แขมมณี : 2551, หน้า 388  )

                1. การแยกแยะข้อมูลเพื่อให้เห็นองค์ประกอบหลักที่เชื่อมโยงกันอยู่อย่างชัดเจน สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ได้ง่ายขึ้น

                2. หากสมองมีการจัดโครงสร้างความรู้ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ จะช่วยเรียกความรู้เดิมที่มีอยู่ในโครงสร้างทางปัญญาออกมาใช้เชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ได้ง่ายขึ้น

                3. ผังกราฟิกที่แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบหลักของเรื่อง มีลักษณะเป็นภาพซึ่งง่ายต่อการที่สมองจะจดจำมากกว่าข้อความที่ยืดยาวต่อกัน

                4. การใช้ผังกราฟิกซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งภาพและข้อความ สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างตื่นตัว (Active learning) เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมีทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด จึงจะสามารถทำผังกราฟิกออกมาได้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย

หมายเลขบันทึก: 195527เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาอ่าน

       ขอบคุณค่ะ

                   

 

ใช้ เทคนิคการสอน Concept mapping อยู่เหมือนกันให้นักเรียนสรุปงาน

แวะมาเป็นหน้าหมา เอ๊ย หน้าม้าให้ครับ สวัสดีครับ อ่านแล้วจะนำไปใช้นะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ ที่เผยแพร่ความรู้ในด้านนี้ออกมา พอดีผมกำลังจะทำวิจัยเกี่ยวกับสื่อการสอนที่สามารถตอบสนองการเรียนรู้โดยใช้ฐานคิด mind mapping อยู่พอดี และก็จะขออนุญาตอาจารย์ดึงในส่วนอ้างอิงออกไปใช้ในการเขียนปัญหาวิจัย เพื่อเสริมแนวทางของผมให้แน่นขึ้นไปอีก ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ได้อ่านแล้วขอบคุณมากกำลังทำแผนการสอนแบบmind Mapping สอนอยู่ คิดว่าจะทำผลงานเป็นแผนการสอนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท