พลังจากเสียงหัวเราะ


เสียงหัวเราะ อารมณ์ขันเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแตก หรือแม้กระทั่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น

พลังจากเสียงหัวเราะ

          เมื่อเราหัวเราะหรือได้ยินเสียงหัวเราะคงมีความรู้สึกเหมือนกัน คือมีความสุขเกิดขึ้นในเวทีของการสนทนานั้นๆ ผมมิได้หมายความว่าทุกคนจะคิดอย่างนี้หากแต่ว่าคนโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือมีความเชื่อเช่นไรก็มีความคิดเห็นไปในทำนอง ทิศทางเดียวกัน

          หนูน้อยวัยสี่ขวบนอนอยู่ในโรงพยาบาลเป็นวันที่สอง ด้วยไข้หวัดใหญ่ มีความทุกข์ทรมานมากไม่มีเพื่อนเล่น ไม่เห็นพี่เลยเพราะพี่ต้องไปโรงเรียนและวันนี้เป็นวันหยุดพี่สองคนมาเยี่ยมน้องแล้วเราก็ได้ยินเสียงหัวเราะทั้งวันยกเว้นเวลาน้องหลับ เช้าวันอาทิตย์แพทย์ก็เข้ามาเยี่ยมแล้วก็บอกว่าวันนี้กลับบ้านได้แล้วเสียงไชโยออกมาจากปากสามพี่น้องพร้อมๆกัน ขณะที่พ่อ แม่ และหมอสบตาพร้อมทั้งส่งยิ้มให้กัน

         เมื่อหลับไปหนูน้อยเห็นคุณหมอใจดีที่มีจมูกเป็นลูกสัมสีแดงๆลูกใหญ่ หัวล้านครึ่งหัว เข้ามาในห้อง สวัสดีทุกคน เป็นเสียงทักทายที่ทักพ่อ น้า และหนูน้อย รูปร่างท่าทางของหมอใจดี ตลก หนูยิ้มและหัวเราะเบาๆ คุณหมอเดินเข้ามาหาหนูพร้อมกับถามว่า เธอแต่งงานแล้วหรือยัง หนูเหลือบไปดูพ่อ และน้า ทั้งสองคนยิ้มๆ หมอเอาขวดน้ำเกลือที่มีรูปการ์ตูนที่ชอบมาเปลี่ยนให้ น่าแปลกถุงน้ำเกลือลอยอยู่ได้อย่างไร ไม่มีเสานำเกลือเหมือนเมื่อวานนี้ หนูยังไม่ได้ตอบคำถามหมอ และยังไม่ได้ถามเรื่องที่สงสัย หากอยู่ที่นี้ไม่สนุกบอกหมอนะครับ เป็นคำถามสุดท้ายที่หมอใจดีถาม แล้วหนูก็ตื่นขึ้นมาเจอพี่ๆและแม่เข้ามาเสริมทันที

          ในทางการแพทย์เห็นว่าเสียงหัวเราะ อารมณ์ขันจะทำให้คนเรามีความรู้สึกดีๆและที่สำคัญก็คือทำให้บรรเทาอาการต่างๆจากอาการเจ็บป่วย เช่นอาการปวด แน่นท้อง น้ำมูกไหล หรือแม้แต่การเจ็บปวดจากโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง หรือโรคเอดส์ เสียงหัวเราะ อารมณ์ขันเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแตก หรือแม้กระทั่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นต้น

        จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทกซัส ที่ได้ติดตามผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 2,478 คน เป็นเวลา 6 โดยใช้แบบสอบถาม คณะวิจัยพบว่าผู้ที่มีเสียงหัวเราะ และมีเรื่องตลกขบขันเป็นพฤติกรรมของผู้มีความสุข และผู้ที่มีคะแนนความสุขสูงมีโอกาสเป็นโรคหลอกเลือดในสมองแตกลดลง หากเป็นเช่นนี้แล้วผู้ที่เป็นโรคหัวใจ นอกจากจะหลีกเลี่ยงจากการทานอาหารที่มีไขมัน รสเค็มจัด การงดสูบบุหรี่ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจก็ควรจะเพิ่มการหัวเราะหรือมีอารมณ์ขันอยู่เป็นประจำ

การบรรเทาอาการต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไร ผลการประชุมประจำปีของสมาคมประสาทวิทยา ในปี 2545 ของมหาวิทยาลัยโลมาลินดาทำการทดลองกับชายสุขภาพดีจำนวน 16 คน โดยได้ให้สัญญากับกลุ่มตัวอย่างแปดคนว่าจะให้รางวัลไปดูการแสดงตลกชื่อดัง และเจาะเลือดดูทุกคนพบว่าแปดคนดังกล่าวมีฮอร์โมนเครียดลดลง และมีระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเพียงรู้ล่วงหน้าว่าจะมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ที่สนุกสนามฮอร์โมนเครียดลดลงแล้ว และมีผู้ที่ตั้งข้อสังเกตว่าการทดลองนี้กลุ่มตัวอย่างน้อยไปหน่อย

จากการศึกษาเรื่องความเจ็บปวดของเด็กที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย อารมณ์ขันลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังอื่นๆได้หรือไม่ เป็นคำถามเพื่อนำมาสู่การหาข้อสรุปและได้ทำการทดลองให้เด็กเอามือแช่ในน้ำเย็นจัดผสมน้ำแข็งได้นานมากขึ้นโดยดูหนังตลกไปพร้อมกัน โดยเด็กจะมีความรู้สึกเจ็บปวดลงลงและมีฮอร์โมนความเครียดลดลง  การวิจัยนี้จึงสรุปว่า อารมณ์ขันช่วยทำให้ระบบควบคุมความเจ็บปวดของร่างกายทำงานดีขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในระบบประสาท เช่นเอนดอร์ฟิน เป็นต้น

เวลาที่เอนดอร์ฟินมันหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองของเรา  จากแหล่งผลิตมันจะถูกส่งไปยังทุกเซลล์ในร่างกายของเราดังนั้น ความสุขที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกิดที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเท่านั้นทั่วร่างกายเราที่ซับซ้อนจะผสมผสานให้ร่างกายเรามีความสุขในทุกส่วน........

หมายเลขบันทึก: 195481เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท