กระบวนการ PDCA กับ การนิเทศการสอน (เพิ่มเติมรายละเอียด)


ผู้บริหารควรให้การนิเทศเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วม

ตามกระบวนการ PDCA

วงจรเดมมิ่งมีขั้นตอนการทำงาน 4  ขั้นตอน ดำเนินการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เมื่อครบรอบวงจรแล้ว จึงดำเนินการเริ่มต้นใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี

1. ขั้นที่ 1  การวางแผน (Plan -P)

2. ขั้นที่ 2  การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

3. ขั้นที่ 3  การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)

4. ขั้นที่ 4  การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข ( Action - A)

ขั้นตอนการดำเนินงานนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการ PDCA

การเตรียมการ

1. เตรียมความพร้อมของบุคลากร

    - สร้างความตระหนัก

    - พัฒนาความรู้และทักษะ

2. แต่งตั้งกรรมการที่รับผิดชอบ

การดำิเนินการ

1. วางแผนการปฏิบัติงาน (P)

    1.1 กำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษา 1.2 จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย

    1.3 กำหนดแนวทางการดำเนินงาน              1.4 กำหนดระยะเวลา

    1.5 กำหนดงบประมาณ                             1.6  กำหนดผู้รับผิดชอบ

    1.7 จัดทำคู่มือการส่งเสริมและัพัฒนา

2. ดำเนินการตามแผน (D)

    2.1 ส่งเสริม สนับสนุน                              2.2 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากร

    2.3 กำกับ ติดตาม                                   2.4 ให้การนิเทศ

3. ตรวจสอบประเมินผล (C)

    3.1 วางกรอบการประเมิน                           3.2 จัดหาหรือจัดทำเครื่องมือ

    3.3 เก็บข้อมูล                                         3.3 วิเคราะห์ข้อมูล

    3.4 แปลความหมาย                                 3.5 ตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน

4. นำผลการประเมินมาปรับปรุง (A)

    4.1 ปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากร         4.2 วางแผนในระยะต่อไป

    4.3 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ

การรายงาน

จัดทำรายงานประเมินตนเองหรือรายงานประจำปี

    - รวบรวมผลการดำเนินงานและผลการประเมิน

    - วิเคราะห์ตามมาตรฐาน

    - เขียนรายงาน

สรุป  จากการประเิมิน...

ผลการประเมินสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ

บุคลากรและใช้ในการวางแผนต่อไป รวมทั้งจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ในเรื่องต่างๆ ได้ นอกจากนี้การใช้วงจร PDCA ก่อให้เกิด

    1.  ระบบการประเมินตนเองของบุคลากรควบคู่กันไปในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้ได้พัฒนาตนเองให้

เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันเป็นการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง ผลจากการปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกทางคุณภาพ

จะพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้ปฏิบัติเพิ่มขึ้น ให้มีผลงานที่เน้นคุณภาพ เป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้

    2. การป้องกัน การปฏิบัติงานตามวงจรจะเริ่มจากการวางแผนซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันอุปสรรคและ

ปัญหาต่าง ๆ ระบบป้องกันถูกสอดแทรกไว้ในกระบวนการปฏิบัติงาน


กระบวนการ PDCA มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

1. การวางแผน ( Plan - P )

การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องจัดทำเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบเพื่อจะทำงาน

ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบงานกำหนดระยะเวลาและทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ

ตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาแผนปฎิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

แผนงบประมาณซึ่งแผนต่างๆ ต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบายและความต้องการของท้องถิ่นด้วย

2. การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

เมื่อสถานศึกษาได้วางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

บุคลากรก็ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้

โดยระหว่างการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงาน 

อย่างมีความสุข ดังนี้    

  2.1 จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัิติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และเพียงพอ

  2.2 กำกับ ติดตาม ทั้งระดับรายบุคคล / หมวดวิชา เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน

  2.3 ให้การนิเทศในระหว่างการปฏิบัติงาน

ผู้บริหารสถานศึกษาต้องกำกับและติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้หรือมีปัญหาหรือไม่

หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข

การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี เช่น ผู้บริหารอาจติดตามด้วยการสอบถามเป็นรายบุคคล

จัดประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือให้แต่ละบุคคลรายงานความก้าวหน้าของการทำงานเป็นรายสับดาห์หรือ

รายเดือนซึ่งอาจเป็นการรายงานปากเปล่าหรือจัดทำรายงานเสนอเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

การปฎิบัติงานต่อไป

    ผู้บริหารควรให้การนิเทศเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเองและทักษะในด้านต่างๆ

โดยผู้บริหารให้การนิเทศเองหรือเชิญวิทยากร เช่น ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้การนิเทศ

หรือส่งบุคคลไปฝึกอบรม เป็นต้น

3. การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)

การประเมินผลเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ

ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด

ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง

ผู้บริหารและครูที่เข้าใจระบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เหมาะสมจะตระหนักถึง   

ความสำคัญของการประเมินผลไม่กลัวการประเมินผลโดยเฉพาะการประเมินตนเอง

ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อพัฒนา ไม่ใช่การตัดสิน ถูก-ผิด

ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมินและไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย

แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่เป็นประจำเครื่องมือที่ใช้อาจเป็นเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว

โดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายวิชาการ

ผลงานหรือการบ้านตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้นเรียน

ซ้ำเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้วเพียงจัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น   

        ในระหว่างที่สถานศึกษาดำเนินการตามแผนปฏิบัติการควรมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะๆ

เพื่อพิจารณาการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน  

และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่เพียงใด มีจุดอ่อน จุดแข็งประการใด

มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดมากที่สุด

และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสื้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุปความเพื่อนำผลมาพิจารณาแก้ไข

ปรับปรุง การดำเนินการในระยะต่อไป

4. การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข (Action - A)

เมื่อบุคลากรแต่ละคน / ฝ่าย มีการประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ส่งผลให้กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบ

ซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลในภาพรวมทั้งหมด

แล้วนำเสนอผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา ครูประจำวิชา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

ผู้บริหารสถานศึกษา  เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป การเผยแพร่ผลการประเมิน

อาจใช้วิธีจัดประชุมครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถานศึกษาจัดป้ายนิเทศ

หรือจัดทำรายงานผลการประเมินฉบับย่อแจกบุคลากร../.

 

หมายเลขบันทึก: 191135เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2008 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีคะท่านรองขวัญ
  • ครูเอียด เคยนำกระบวนการ PDCA  มาพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดประสบความสำเร็จแล้ว
  • โดยทำวิจัยในห้องสมุด (ชั้นเรียน)
  • เรื่อง "การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์โดยใช้กระบวนการ PDCA" 

โอเคครับพี่ขวัญ เอาลงเองแล้วนี่ครับ สวัสดีครับ

สวัสดีครับไม่ได้ไปเรียนอาทิตย์ที่ผ่านมา เลยแวะมาเยี่ยมชม

กำลังจะนำกระบวนการ PDCA ไปใช้กับงานนิเทศ แล้วจะรายงานผลให้ทราบค่ะ

กระบวนการนี้ใช้ได้ทุกวงการจริงๆ ครับ

ได้แนวทางนำไปใช้ครับ ส่วนใหญ่จะนิเทศแบบแอบ (จอบหลอยดู)

เดินวนเวียนอยู่ข้าง ๆ คูๆ ถ้าไปแบบทางการไปไม่เป็นเลย

เขาผวาสมัยเป็นครูฝึกสอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท