ความเชื่อเรื่องนาคของชุมชนอิสานลุ่มแม่น้ำโขง


นาค

นิสิต สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ
วิทยานิพนธ์ ความเชื่อเรื่องนาคของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน) อาจารย์ที่ปรึกษา อ พีรพน พิสณุพงศ์ อ สาวิตรี พิสณุพงศ์ รศ ชวลีย์ ณ ถลาง
ทคัดย่อ งูกับมนุษย์มีความผูกพันธ์กันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในสังคม
ล่าสัตว์จนมาถึงสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์ได้อพยพลงมาสู่ที่ราบลุ่ม จนในที่สุด
จากลักษณะทางกายภาพของงู ความลึกลับ การมีพิษร้ายและลักษณะท้องถิ่นที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดความเชื่อขึ้นมีพัฒนาการขึ้นมาเป็นความเชื่อในศาสนาต่างๆ รวมทั้งความเชื่อ เรื่องนาคในดินแดนเอเซียดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสานของประเทศไทย เป็นดินแดนหนึ่งที่ความเชื่อ
เรื่องนาคมีพัฒนาการมาเป็นเวลานาน อาจเริ่มต้นตั้งแต่ความเชื่อเรื่องงู ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
จนกระทั่งเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ ได้เกิดการผสมผสานความเชื่อพื้นเมือง
ที่มีมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ปริญญานิพนธ์เรื่องความเชื่อนาคของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำ โขง
(ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน) มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความเชื่อเรื่องนาค
ของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง อันได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม
ในช่วงเวลาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน การศึกษาข้อมูลด้านเอกสารเป็นหลัก ได้แก่ พงศาวดารตำนาน นิทานพื้นบ้าน ตลอดจนวรรณกรรมต่างๆ ที่ปรากฏความเชื่อที่เกี่ยวข้อง กับความเชื่อเรื่องนาคโดยทำการวิเคราะห์ว่าความเชื่อเรื่องนาค ที่ปรากฏในชุมชนอีสาน โดย เฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงนั้นมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขงในด้านใด เป็นสาเหตุให้ความเชื่อเรื่องนาคถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นในภูมิภาคชุมชนอีสานลุ่ม แม่น้ำโขง ผลจากการศึกษาพบว่า
ที่มาของความเชื่อเรื่องนาคที่มีอิทธิพลต่อชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง นับตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19
จนถึงปัจจุบันนั้น ได้รับอิทธิพลความเชื่อเรื่องนาคในลักษณะผสมผสานระหว่างลัทธิบูชางูที่เป็นของชนพื้นเมืองเดิม กับอิทธิพลความเชื่อเรื่องนาคทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ เข้าสู่ดินแดนแถบนี้ตั้งแต่สมัยทวาราวดี รวมทั้งความเชื่อขอมสมัยลพบุรีที่แพร่เข้ามา จนมาถึงความเชื่อเรื่องนาคที่ได้รับมาจากล้านช้าง พัฒนาการความเชื่อเรื่องนาคของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขงเห็นได้จากการพัฒนาความเชื่อให้มีความศักดิ์สิทธิ์และสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งทางด้านการเมือง และการ ปกครองโดยมีความเชื่อว่านาคมีฐานะเป็นฐานอำนาจทางการปกครองให้สังคมเป็นปกติ
นอกจากนั้นนาคยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของน้ำและความอุดมสมบูรณ์
รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนาและปรากฏในงานศิลปกรรมในฐานะของผู้คุ้มครองศาสนสถานด้วยเหตุนี้เองความเชื่อเรื่องนาคจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง
ได้มีการพัฒนาความเชื่อเรื่องนาคมาเป็นประเพณีและพิธีกรรมที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึง ปัจจุบัน
ส่งผลให้นาคถูกใช้เป็นจุดขายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค

หมายเลขบันทึก: 187783เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2008 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณว่าที่ พ.ต. ณัฏฐพล คะ ครูลี่เป็นคนอีสานที่บ้าน (อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี) มีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพญานาคอยู่บ้างเหมือนกันที่สำคัญคือพระพุทธบาทบัวบก เคยได้ยินบ้างหรือเปล่าคะ จะมีถ้ำหินแล้วก็มีรูพญานาค(เป็นลักษณะคล้ายๆบ่อลึกมองลงเห็นแต่ความมืด)ด้วยค่ะ มีโอกาสขอเชิญไปเที่ยวนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท