เมื่อผมได้ยินเสียง...


"ผมทุกข์มาก..ผมทนเสียงที่ได้ยินนี้ไม่ได้"..."เกิดมาผมทำบาปอะไร...ทำไมผมถึงได้เป็นเช่นนี้"...สิ่งที่เกิดขึ้นกับเขานั่นคือ "ภาพการมองตนเอง" เกี่ยวกับความเจ็บป่วย...

          "เช้าวันจันทร์เป็นวันที่ทุกคนมองดูว่าคึกคักเหลือเกิน..ในการทำงาน...มีผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชมานั่งคอยรับยา..ตามนัดเป็นจำนวนพอสมควร ขณะที่เวลาหมุนเดินไปตามแกนโลก ก็ได้มีเสียงร้องเอะอะโวยวายเกิดขึ้น..ดิฉันวิ่งไปเพื่อตามหาเสียงนั้น แต่ไม่เจอ..ชะเง้อมองจากชั้นสองลงไปที่แผนก OPD ก็ยังไม่เจอ..เพียงชั่วอึดใจเดียว..เท่านั้น..ก็เกิดโกลาหล เมื่อผู้ป่วยคนหนึ่งชักมีดและดาบออกมาฟาดฟันอะไรบางอย่าง..พร้อมตะโกนร้องอย่างบ้าคลั่ง...."

          .........

          หลังจากเหตุการณ์สงบ...เกิดอะไรขึ้น..เรามาช่วยกันทบทวน..คนไข้ของเรา..เขามี "ความทุกข์ในใจ"...คืออะไร...หลังจากเราได้ช่วยเหลือให้เขาสงบ โดยขณะเกิดเหตุเราใช้การช่วยเหลือตามหลักการการเกิดวิกฤติสุขภาพจิต..หลังจากที่ "เขา"..สงบ เราเข้าไปคุยกับเขาด้วย "Mind" พบว่าเขาทุกข์ที่ได้ยินเสียงในหู (มีอาการหูแว่ว:hallucination) เขาบอกเราว่า "ผมทุกข์มาก..ผมทนเสียงที่ได้ยินนี้ไม่ได้"..."เกิดมาผมทำบาปอะไร...ทำไมผมถึงได้เป็นเช่นนี้"...สิ่งที่เกิดขึ้นกับเขานั่นคือ "ภาพการมองตนเอง" เกี่ยวกับความเจ็บป่วย...ที่ตนประสบมาเป็นระยะเวลากว่าสิบปี..เกิดอะไรขึ้นทำไมคนไข้ของเรา ถึงได้...ใช้เวลากับการเจ็บป่วยตรงนี้นานเหลือเกิน..ทำไมถึงยังไม่ดีขึ้น..เขาต้องเดินทางจากอำเภอหนึ่งที่อยู่ไกลจากตัวเมืองมาก..เพื่อผ่านจังหวัดมาเอาใบส่งตัวและเดินทางต่อ..เพื่อไปรับยาที่โรงพยาบาลเฉพาะทาง อีกทอดหนึ่งด้วยเหตุผลที่ว่า ที่โรงพยาบาลเราไม่มียา...เนื่องจาก..(หลายเหตุผล)..

 

                                                                         และในวันนั้นมากกว่าการ Supportive counseling และการประเมินสภาพทางจิต.. เราทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้...เพราะเราต้องรีบนำส่งเขาไปสู่โรงพยาบาลเฉพาะทาง (โรงพยาบาลจิตเวช)...ในขณะที่เขาน้ำตานองหน้าและวิงวอนว่า.."ผมอยากอยู่บ้าน".."ผมจะพยายาม..ต่อสู้...กับเสียงนั้น..ให้ได้"..."ช่วยผมด้วย!..อย่าส่งผมไปโรงพยาบาล...เลย"..........

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 18722เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
การเจ็บป่วยคือความทุกข์  ไม่ว่าจะป่วยกายหรือป่วยใจทุกคนทุกข์ทั้งนั้น และในความทุกข์ของเขานั้นเราได้เห็นความพยายามที่จะมีชีวิตต่ออย่างไม่ย่อท้อถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับความทรมาณเพียงใดก็ตามน่าประทับใจและน่าเอาเป็นตัวอย่างนะ..และแน่นอนว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือความทุกข์ของเขาได้ทั้งหมด แต่เพียงแค่ความเข้าใจ..การตระหนักถึงความทุกข์ทรมาณของเขาและมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพียงเท่านี้ก็ถือว่าสามารถช่วยเหลือเขาได้ภายใต้ข้อจำกัดในเวลานั้น  ตอนนั้นแล้วล่ะจ้ะ..ส่วนต่อมาคือสิ่งที่ " เรา " ต้องหาทางต่อไปเพราะผู้ที่มี " ปัญญา "ย่อมสามารถที่จะหาทางเดินต่อได้เสมอแม้เมื่อเจอทางตันก็ตาม

อาจไม่ใช่คุณหมอ อาจไม่เป็นพยาบาล แต่อยากบอกว่าคนที่เจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นใคร ต้องการกำลังใจ  และแรงใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อ และทำอย่างไรจะรู้สึกว่าตัวเองมีค่า จากชีวิตที่เหลืออยู่  และไม่หวั่นเกรงต่อความตาย  ทำอย่างไรคนที่เจ็บป่วยจะมีสุขภาพจิตดี  มีผู้ป่วยโรคเอดส์หลายคนที่ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต  ไม่หวั่นเกรงต่อการเจ็บป่วย ไม่หวาดกลัวความตาย  แต่...เขายังมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข  และมีสุขภาพจิตดี        โดยที่ไม่ต้องรับยาต้าน  และ  CD4 ไม่ลดลง และสามารถทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมได้มากมาย ... บางทีอาจจะมากกว่า คนธรรมดาที่ไม่เจ็บป่วยอะไรเลย ก็ได้นะคะ 

 

     "เมื่อผมได้ยินเสียง..." น่าสนใจมากในฐานะคนที่อยากมองเข้าไปในเชิงระบบ
จึงได้ ลปรร.เพิ่มเติมกับเจ้าของบันทึกพบว่า...

     การดูแลผู้ป่วยโดยไม่ใช้เพียงแต่ยา...น่าจะมีส่วนทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นได้ไหม
(ไม่มีความรู้จริง ๆ) เพราะเห็นผู้ป่วยที่มีลักษณะเช่นนี้ แต่อยู่ในแถบชนบทไกล ๆ
ทำไมเขาถึงไม่ค่อยคลุ้มคลั่งให้เห็น ให้ได้รู้ข่าวคราว หรือ...เพราะอะไรครับ
อันนี้ผมเชื่อว่าการดูแลกันเชิงสังคมจะจัดการกับสุขภาพคนในชุมชนได้
และสุขภาพจิต ก็เป็นมิติหนึ่งของสุขภาพ จึงเชื่อเช่นนั้นแต่ไม่แน่ใจจริง ๆ ว่า...
ต้องใช้ยาเท่านั้นเหรอครับ กัลกลุ่มคนที่ป่วยในลักษณะนี้

คุณคนข้างนอก...

เรามักวิ่งออกไปหาสิ่งที่พยายามจะนำมาดับทุกข์...นอกตัว
เรามักลืม..มองว่า..เรานั้นสามารถที่จะดับ..ทุกข์ที่มีอยู่ได้
ด้วยตัวเราเอง...
การที่เรามอง..และเข้าใจในทุกข์...
ย่อมนำมา...ให้เรา.."มีปัญญา"...มองชีวิตยิ่งขึ้น

คุณดอกหญ้า... ศรัทธาค่ะ..ศรัทธาคนที่ศรัทธาตนเอง ไม่หวั่นเกรงต่อสิ่งใดใด... ขอแค่..อยู่ที่จะอยู่อย่างมีความสุข ก็เพียงพอใจแล้ว

คุณชายขอบ

ดีใจค่ะ...หากได้มีโอกาส ลปรร. ในแง่การวิเคราะห์ระบบ เพราะทราบมาว่าท่านชำนาญ..และมีมุมมองที่ลุ่มลึก..หากมีโอกาสนะคะ..ขอเชิญและยินดีอย่างยิ่ง

สำหรับประเด็น คห. ที่มา ลปรร. นั่นคือสิ่งที่ดิฉันศรัทธา..คือ..ความรัก..สามารถเยียวยา..ดีที่สุด..ในภาวะการเจ็บป่วยใดใดได้..ยิ่งโดยเฉพาะ...จิตและใจ..ความรักค่ะ..ความรักในตนเอง
ความรักของครอบครัว..ความรักของชุมชน จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ที่จะคืนเขาเหล่านี้กลับสู่ชุมชน

ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกค่ะ  Dr.Ka-poom เพียงแต่คิดว่าคนเราทุกคนจะต้องทำใจให้ยอมรับกับสิ่งที่มันเป็นไปในชีวิตได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และสามารถอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข ถึงตอนนี้คงต้องพึ่งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้วล่ะค่ะ     ถ้ายกวัดไปไว้ในโรงพยาบาลคงดีนะคะ  ผู้ป่วยคงได้คิดมีสติและปลงได้กับชีวิต

" คุณดอกหญ้า "

ความเห็นที่ว่า " ถ้ายกวัดไปไว้ในโรงพยาบาลคงดีนะคะ  ผู้ป่วยคงได้คิดมีสติและปลงได้กับชีวิต " น่าสนใจมากค่ะ   เพราะใน ร.พ.เอกชนจะมีห้องพระไว้ให้ผู้ป่วยและญาติได้มีที่พึ่งทางใจในยามทุกข์ท้อ   ร.พ.ของรัฐน่าจะทำบ้างนะคะ?

Dr.Ka - poom

ความรัก..สามารถเยียวยา..ดีที่สุด..ในภาวะการเจ็บป่วยใดใด

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับผม ..ยิ้ม

 

คุณชายขอบ

" ยา " ไม่ใช่คำตอบเดียวของการรักษา แต่ใจที่เปี่ยมด้วยรัก และศรัทธาในตัวตนของผุ้ป่วยจะเป็นส่วนที่ช่วยเติมเต็มให้กับการรักษา

     น่าสนใจ "ร.พ.เอกชนจะมีห้องพระไว้ให้ผู้ป่วยและญาติได้มีที่พึ่งทางใจในยามทุกข์ท้อ" เคยได้ทราบไหมครับว่า ได้ผลดีอย่างไร ตรงใจหรือได้ใจ หรือไม่ (อย่างไร) ขอได้โปรด...ลปรร.ต่ออีกสักนิด...ขอร้อง(ยิ้ม)

คุณชายขอบ

ตอบจากประสบการณ์ของตนเองนะคะ เมื่อตอนที่คุณย่าป่วยหนักมากอยู่ใน ร.พเอกชนแห่งหนึ่งใน กทม. ในตอนช่วงสุดท้ายของชีวิต...ขนาดเป็นบุคลากรสาธารณสุขเองก็ยังรู้ว่า " การสูญเสีย " ไม่ได้น่ากลัวแต่ที่น่ากลัว .. น่าหวั่นหวาดที่สุดคือความรู้สึกว่า " กำลังจะสูญเสีย " ในภาวะขณะนั้นสิ่งที่ทำได้คือมั่นคง..ประคับประคองคนใกล้ชิด..คนในครอบครัวทั้งหมดและผู้ป่วยให้สามารถเข้าใจ..มีสติและรอคอยการจากไปให้ดีที่สุด " พ่อ " เป็นคนแรกที่เดินไปบริเวณชั้น 4 ของอาคารผู้ป่วยแล้วพบว่าทาง ร.พ.ได้จัดห้องขนาด 6 X 8 เมตร ( โดยประมาณ ) มีที่พระ  มีพระรูป ร.5 มีส่วนแยกโดยใช้ฉากกั้นเป็นที่บูชาของศาสนาอิสลาม , มีพระรูปของศาสนาพราหมณ์ ( อิศวร / พรหม / นารายณ์ ) , มีส่วนของคริสต์ศาสนา มีเบาะกราบ มีหนังสือสวดมนต์ ภายในห้องสงบ เงียบและเย็นเนื่องจากเป็นบริเวณที่ไม่มีคนผ่านไป - มา และเป็นสัดส่วน พ่อหายไปค่อนข้างนานเมื่อกลับมาพ่อบอกเพียงว่า " ไปสวดมนต์ " แต่สิ่งที่สังเกตได้คือ " ความนิ่ง - สงบ " จากตัวของพ่อเอง จนถึงวาระสุดท้ายของคุณย่า เมื่อสอบถามทาง รพ.พบว่าห้องพระได้จัดตั้งขึ้นเนื่องจากผู้บริหารมองเห็นว่าการเจ็บป่วย..คนที่ทุกข์ไม่ใช่เพียงผู้ป่วยแต่ที่ทุกข์หนักหนาไม่แพ้กันคือผู้ใกล้ชิด เมื่อทุกข์ก็ควรจะมีสักที่หนึ่งที่ยึดเหนี่ยวไม่ให้ทุกข์นั้นเพิ่มมากขึ้น และหลังจากเปิดบริการมีผู้เข้าใช้บริการในห้องพระมากและได้รับการตอบรับอย่างดีจนผุ้บริหารมีแนวคิดที่จะแยกห้องตามศาสนา เมื่ออ่านข้อคิดเห็นของคุณดอกหญ้าจึงนึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาและอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงใน ส่วนของรพ.รัฐบ้างน่ะค่ะ

     ขอบคุณ "คุณคนข้างนอก" คุณภาพของข้อมูล ในข้อมูลเชิงคุณภาพที่นำมาเล่า เห็นภาพ เห็นการพัฒนา เห็นจิตวิญญาณของผู้ให้บริการอย่างแท้จริง ผมเข้าใจได้ว่าและทำให้นึกต่อไปอีกว่า...ผู้บริหารท่านนั้น ท่านน่าจะทำถูกแล้ว และถูกที่ท่านไม่อยู่ในราชการ เพราะท่านคงทำไม่ได้ถนัดนัก แม้จะคิดได้

     พลอยคิดต่อไปว่า หาก รพ.ที่คุณคนข้างนอกทำงานอยู่ จะนำมาทำ และได้ทำ จะขอชื่นชม และชมชื่นไปจนถึงผู้บริหาร หากได้ผลประการใด น่าจะได้นำมาเล่าต่ออีก เชื่อว่าหากผู้บริหารท่านเข้าใจและมีมุมมองเชิงระบบอย่างแท้จริง ท่านจะเห็นความสำคัญที่ "คุณคนข้างนอก" กำลังจะนำเสนอ ขอให้สำเร็จนะครับ และทำนายว่าผู้รับบริการที่นั่นกำลังจะโชคดีครับ!

     เอาใจช่วยนะครับ

ความสำคัญ

สิ่งสำคัญ...เรามักมุ่งเป้าให้ความสำคัญ...บริหาร
บริหาร..ไม่ Work งานไม่ Work
บริหาร..Work งานก็ Work
ทำไม.."มนุษย์"..เราไม่เชื่อ...
ในพลังที่มีอยู่ในตัวตนแต่ละคน...ของการทำงาน
ไม่ศรัทธากันและกัน
รอ...
"บริหาร"..ตัดสิน..ชีวิตการทำงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท