เขียนบท ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) อย่างไรจึงจะถูกต้อง?


กำลังนั่งคุมสอบ Midterm อยู่คะ คิดดูแล้วก็ตลกดีนะคะ ต้องเอาอาจารย์มานั่งเป็นยันต์กันผี ขนาดดิฉันนั่งเฝ้านะคะ นักศึกษายังหันซ้ายแลขวากันหลายคน สงสัยข้อสอบวิชาที่ดิฉันช่วยคุมสอบอยู่นี้ยากแน่ๆ คะ นี่เป็นครั้งแรกที่เห็นนักศึกษาแอบมองข้อสอบเพื่อนมากขนาดนี้ ดิฉันว่า ติดกล้อง Security ท่าจะดีกว่า

ส่วนตัวอาจารย์เองนั่งคุมสอบเฉยๆ ก็น่าเบื่อเอาการเหมือนกันนะคะ ก็เลยต้องหาอะไรมาอ่านประเทืองปัญญากันบ้าง ดิฉันหยิบหนังสือติดมือมา 2 เล่มคะ แต่ยังไม่ทันได้เริ่มอ่าน ความรู้สึกอยากบล็อกก็เกิดขึ้นเสียก่อน ยังไงซะเมื่อรู้สึกมีอารมณ์อยากเขียนก็ต้องเขียนเลยคะ ไม่เช่นนั้นแล้วความอยากจะหมดไปได้ง่ายๆ

-----------------------

เมื่อไม่นานมานี้ มีนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังทำสารนิพนธ์ (Minor thesis) มาถามดิฉันเรื่องการเขียนบทที่ 2 Literature Review พร้อมนำตัวอย่างการเขียนที่ผ่านมาให้ดูด้วย ดิฉันเห็นแล้วก็ต้องแจ้งแถลงไขให้นักศึกษาทราบทันทีคะว่า ดิฉันแปลกใจกับรูปแบบการเขียนมาก เพราะตัวอย่างทั้งหมดเป็นการเขียนแยกบทที่ 2 ออกเป็น 2 ส่วน คือ ตอนที่ว่าด้วยบททฤษฎี และ ตอนที่ว่าด้วยงานวิจัยที่เกียวข้อง ซึ่งรูปแบบนี้ไม่รูปแบบการเขียนที่ไม่ถูกต้องคะ ดิฉันเคยเตือนนักศึกษาไปแล้วหลายคนเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว

การเขียนบทที่ 2 ให้ถูกต้องนั้น ควรเขียนแบ่งหัวข้อตามกลุ่มเนื้อหาที่เราได้วางกรอบแนววิจัยเอาไว้แล้ว และในแต่ละหัวข้อหลักๆ เนื้อหาจะต้องเขียนโดยการอ้างทฤษฎีและประกอบด้วยหลักฐานทางงานวิจัยที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นข้อสนับสนุนหรือข้อโต้แย้ง และนอกจากนี้ ในแต่ละย่อหน้าก็ต้องมีการเชื่อมประโยคเพื่อให้เห็นแนวการไหลของกระบวนการคิดอย่างสอดคล้องคะ

บทนี้สำคัญมากนะคะ เพราะจะใช้ในการวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย เช่น ใช้อภิปรายสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้ในการเกิดผลวิจัยรูปแบบนี้ หรือ ใช้เขียนสนับสนุนผลการวิจัย ทำให้งานวิจัยเราดูหนักแน่นยิ่งขึ้นคะ

ตัวอย่างการเขียนงานวิจัยที่ดีๆ นั้นมีเยอะคะ ลองใช้ Google ค้นดูก็ได้คะ เช่น พิมพ์คำว่า "How to write a research paper" เป็นต้น ส่วนดิฉันขอแนะนำให้เข้าไปที่ website ของ AIT ที่นี่คะ http://www.clet.ait.ac.th/el21open.htm 

นักศึกษาท่านใดที่กำลังเขียน Minor thesis อยู่ ถ้าท่านรู้ตัวว่าบทที่ 2 ของท่านถูกเขียนในรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง เพราะท่านดูตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องมาโดยตลอด กรุณาเขียนใหม่เถิดคะ โปรดอย่าสร้างวัฒนธรรมการลอกสิ่งที่เขาเขียนกันผิดๆ เพราะความผิดนี้จะถ่ายทอดกันไปสู่รุ่นถึงรุ่น แล้วจะบานปลายไปทั่วทั้งสถาบัน ที่สำคัญ หากท่านไม่เปลี่ยนแปลง งานวิจัยของท่านก็ไม่มีมาตรฐานเพียงพอที่จะส่งไปตีพิมพ์เพื่อเกียรติประวัติของตัวท่านเองได้เลย

บันทึกนี้ คงจะช่วยให้นักศึกษากระจ่างขึ้นในการเขียนบทที่ 2 ดิฉันติเพื่อก่อและเสนอให้เห็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำนะคะ

-----------------------

... ดิฉันหยุดการเขียนลง แล้วลุกขึ้นยืนบอกนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังสอบอยู่ว่า "กรุณาอย่าลอกกันนะคะ" พร้อมกับทำหน้าขมึงตึงเหมือนยักษ์ราหูบนผืนผ้ายันต์ที่แม่ฝากมาให้ติดไว้กับรถยนต์ไม่มีผิด ...

-----------------------

หมายเหตุ เวลาท่านอ่าน Research papers แล้วเจอที่เขียนหัวข้อไว้ว่า Related research นั้น เขาหมายถึง Literature review ซึ่งก็เป็นการเขียนเป็นหัวข้อหลักๆ ที่จะแสดงให้เห็นทั้งทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไปคะ ดังที่ได้บันทึกไว้ข้างต้น

(เพิ่มเติม หมายเหตุ เมื่อเวลา 15.41 วันเดียวกัน)

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 1804เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2005 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ไม่เอาน่าอย่าคิดมาก ....ผมเองก็เจออยู่บ่อยๆ ไม่แพ้ท่านอาจารย์จันทวรรณ หรอกครับสำหรับบรรยากาศดังกล่าว

"จงมองเค้าอย่างที่เค้าเป็น อย่ามองเค้าอย่างที่เราเป็น" แล้วจะเจอคำตอบในคำถามนั้นครับ

เคยรู้สึกกับความรู้สึกแบบนี้ไหมครับว่าทำไมบอกทำไมเตือนแล้วเค้ายังทำอีก บางสิ่งบางอย่างนั้นเชื่อผม ซิครับว่า

บางครั้งคำว่า "อย่าทำ" หรือ "บอกแล้วตั้งกี่ครั้งว่าอย่า...." ยิ่งด้วยความเป็นพ่อเป็นแม่แล้วอาจจะต้องพูดไปจนตลอดชีวิตของการเป็นมนุย์ก็ได้ หากเสียแต่ว่าน่าจะเป็นบริบทจากการห้าม มาเป็นการเสนอว่าจงทำสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้น่าจะดีและทำให้เราผู้สอนและผู้ถ่ายทอดไม่รู้สึกย่อท้อที่จะทำมันไปจนตลอดการเป็นมนุษย์หรือแม้แต่ตลอดชีวิตการเป็นครูก็ได้ ไม่รู้นะผมชอบคำว่าครู มากกว่า อาจารย์ นะฟังดูมัน in ดีนะ! เวลาลูกศิษย์เรียก

Tacit อันนี้ ผมมีความคิดแว๊บขึ้นมาตอนป้อนนมลูกครับเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว คงเป็น นัยยะในการนำไปปรับสอนลุกในอนาคต หรือแม้แต่ลูกศิษย์ก็ตาม .....ขอบคุณครับ

ผมเห็นวิธีการเขียน literature review แบบที่อาจารย์กล่าวครั้งแรกก็งงเหมือนกันครับ

ผมพยายามบอกนักศึกษาว่าวิธีการเขียนแบบที่เป็นมาตราฐานเป็นอย่างไร รวมทั้งให้ตัวอย่างไปดูด้วย แต่นักศึกษาไม่ยอมเปลี่ยนวิธีการเขียนครับ เขากลัวว่า minor thesis จะออกมาหน้าตาไม่เหมือนของเพื่อนหรือของรุ่นเก่าๆ ที่ทำกันมา

ผมตั้งใจไว้ว่าถ้ามีเวลาจะสืบหาว่าวิธีการเขียน literature review แบบนี้เริ่มต้นที่ไหน ถ้าได้ข้อมูลแล้วจะมาบล๊อกบอกกันครับ

ผมอาจจะมีประสบการณ์น้อยนะครับ แต่ผมว่าการเขียน literature review ไม่มีรูปแบบตายตัว ขอให้เขียนแล้วเข้าใจมีทั้งสังเคราะห์ วิเคราะห์  เพราะหากเรามี format ที่ไม่ว่าทั้งนักศึกษาหรืออาจารย์ถนัดเมื่อไหร่  คงทำให้ความหลากหลายหายไปเยอะ หรือขาดสีสรร

ผมเรียนรู้จากประสบการณ์โดยบังเอิญ ผมเคยนำบทความให้ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งตรวจและแก้ไขเรียบร้อย  แต่กลับถูกแก้เกือบทั้งหมดจากอีกท่านหนึ่ง 

เวลานักศึกษาถามถึงวิธีการเขียน literature review ผมจึงบอกเพียงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการเขียน  ส่วนวิธีการเขียนผมให้เป็นหน้าที่ของเขา  แน่นอนครับผมก็มี style ของผม แต่ผมจะพยายามไม่ให้กรอบแก่นักศึกษา ผมว่ามันเป็นศิลปะ และผมก็เห็นความสวยงามของความแตกต่าง

ขอฝากมุมมองที่แตกต่างไว้เท่านี้ครับ

วิบุล วงศ์ภูวรักษ์

ผมคิดว่ารูปแบบที่ดีที่สุดของการเขียน literature review ก็คืออย่าไปติดกับรูปแบบ แต่ควรเป็นการ"เล่าเรื่อง"ว่าเรา(และคนก่อนหน้าเรา)กำลังมายืนที่ทางแพร่งตรงนี้ได้อย่างไร โดยทุกคำล้วนมีหลักฐานหรือแจกแจงระบบคิดให้ชัด

ผมเชื่อว่าการฝึกฝนที่ดีที่สุดในการเขียน literature review ก็คือการอ่านงานวิจัยให้มากจนเริ่ม"รู้แกว"ว่าเขียนแบบไหนที่"ลงตัว" แล้วค่อยไป"เล่าเรื่อง"ให้คนอื่นที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอ่าน

ถ้าต้องเขียนตามรูปแบบ ผมเสนอว่า เขียนอย่างที่เราควรเขียนให้เสร็จก่อน แล้วค่อยไปตีกรอบให้เข้ากับรูปแบบที่เขากำหนดไว้ทีหลัง

 

ขอบคุณคะอาจารย์วิบุล เห็นด้วยคะ แต่เท่าที่ดิฉันอ่านงานวิจัยของนศ. มา ดิฉันเห็นถึง "รูปแบบ" ที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่ยอมรับแน่นอนถ้าส่งไปตีพิมพ์ลง Journal ต่างๆ และที่สำคัญ "รูปแบบ" นี้ถูกถ่ายทอดกันมาเป็นรุ่นๆ คะ จนน่าตกใจ

วิบุล วงศ์ภูวรักษ์ (8843)

ถ้าอย่างนั้น คงต้องหาตัวอย่างที่ถูกต้องมาใส่ไว้ใน web ให้นักศึกษา load ไปดูเองนะครับ

ผมคิดว่า ถ้าเขาจะลอกทั้งที ควรมีต้นฉบับที่ดีให้เขาลอก จะได้ป้องกันการลอกต้นฉบับที่เลว

 

เกิด แก่ เจ็บ ตาย  แน่นอนกว่าสิ่งที่เขียนไว้  เมื่อถึงกาลเวลาย่อมเปลี่ยนแปลงได้  ไม่มีใครอยากศึกษาว่าโทรศัพท์ที่ทำด้วยกล่องกระดาษต่อสายเชือก  ดังอย่างไร  เท่ากับต้องการศึกษาโทรศัพท์รุ่น G3 แน่ๆ

ที่ทำงานของดิฉันเวลาคุมสอบไม่ให้เอาหนังสือหรือnotebook เข้าไปหรอกค่ะ ตั้งหน้าตั้งตาคุมสอบอย่างเดียว น่าเบื่อจริงๆค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยกับอ.วิบุลค่ะเรื่องการเขียนliterature review

ดิฉันก็อึดอัดเหมือนกันค่ะ  คงไม่ใช่ความผิดของนักศึกษา เพราะอาจารย์ของเขาก็ทำกันเรื่อยมาอย่างนั้น  เพราะฉะนั้นควรคิดว่า จะทำอย่างไรให้อาจารย์ที่ดูแลวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเข้าใจวิธีการเขียนที่ถูกต้อง  การเขียนทบทวนวรรณกรรมไม่ใช่การ "เล่าเรื่อง" ค่ะ แต่เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์เรื่อง เพราะต้องการเรียนรู้ 'wisdom' ของเรื่องนั้น ๆ แล้วทำวิทยานิพนธ์ต่อยอดขึ้นไป  อ. จันทวรรณควรพัฒนาเรื่องนี้ต่อไป  เพราะจะเป็น contribution  ต่อวงวิชาการในประเทศไทยอย่างยิ่ง
  • สวัสดีครับคุณครู (อาจารย์) จันทวรรณ
  • ผมกำลังหาข้อยุติเกี่ยวกับ ทบทวนวรรณกรรม อยู่พอดีเลยครับ ปรากฏว่า ได้ B นี้เป็นแนวคิดให้ต้องมานั่งพิจารณา
  • อีกอย่างหนึ่ง จากการอ่าน B นี้ มีเรื่องการควบคุมห้องสอบด้วย น่าสงสารทั้งเด็กและผู้ควบคุมห้องสอบ ทำให้ผมคิดว่า อะไรกันนี่ จะมีไหมที่สอบโดยทีไม่ต้องมานั่งควบคุมหรือมีอะไรมาคอยติดตาม อาจารย์ก็จะได้ไปทำเรื่องอื่นที่มีสาระมากกว่า ส่วนผู้สอบก็จะได้ใส่ใจกับการสอบมากกว่าฝากความมั่นใจไว้กับเพื่อน

สวัสดีค่ะ อาจารย์จันทวรรณ

อดภาคภูมิใจในชื่อต้วเอง ที่มีผู้ที่ชื่อเหมือนกันและก็ยังเก่งอีกด้วยค่ะ

ขอรบกวนถามอาจารย์หน่อยค่ะ พึ่งอ่านเจอค่ะ อยากทราบว่า ตัวอย่างบทที่ 2 ที่เขียนดีๆมีให้โหลดไปอ่านบ้างไหมคะ

อยากถามอาจารย์ทั้งหลาย ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ

- literature review กับวรรณกรรมปริทัศน์ อันเดียวกันใช่ไหมครับ?

- วรรณกรรมปริทัศน์ หมายถึงอะไร อธิบาย?

- เคยมีอาจารย์ฝรั่งสั่งงานว่า ให้สรุป literature review หมายถึงการสรุปงานวิจัยบทที่ 2 ใช่ไหมครับ?

อยากขอคำปรึกษาในการเขียนงานวิจัย หรือดูตัวอย่างงานวิจัยของท่านดร.เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ เทียนน้อยจะนำไปปรับแก้ให้ถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ ^_^

อาจารย์เขียนได้ดีมากค่ะ

แต่สั้นไปหน่อย แต่สั้นก็ดีค่ะ กระชับได้ใจความ

อาจารย์ครับ ตัวอย่างที่ให้มามันหายไปแล้วอ่ะครับ กำลังต้องการเลย -_-...

Write a Literature Review

Printer-friendly versionPrinter-friendly versionEmailEmail

1. Introduction

Not to be confused with a book review, a literature review surveys scholarly articles, books and other sources (e.g. dissertations, conference proceedings) relevant to a particular issue, area of research, or theory, providing a description, summary, and critical evaluation of each work. The purpose is to offer an overview of significant literature published on a topic.

2. Components

Similar to primary research, development of the literature review requires four stages:

* Problem formulation—which topic or field is being examined and what are its component issues?

* Literature search—finding materials relevant to the subject being explored

* Data evaluation—determining which literature makes a significant contribution to the understanding of the topic

* Analysis and interpretation—discussing the findings and conclusions of pertinent literature

Literature reviews should comprise the following elements:

* An overview of the subject, issue or theory under consideration, along with the objectives of the literature review

* Division of works under review into categories (e.g. those in support of a particular position, those against, and those offering alternative theses entirely)

* Explanation of how each work is similar to and how it varies from the others

* Conclusions as to which pieces are best considered in their argument, are most convincing of their opinions, and make the greatest contribution to the understanding and development of their area of research

In assessing each piece, consideration should be given to:

* Provenance—What are the author's credentials? Are the author's arguments supported by evidence (e.g. primary historical material, case studies, narratives, statistics, recent scientific findings)?

* Objectivity—Is the author's perspective even-handed or prejudicial? Is contrary data considered or is certain pertinent information ignored to prove the author's point?

* Persuasiveness—Which of the author's theses are most/least convincing?

* Value—Are the author's arguments and conclusions convincing? Does the work ultimately contribute in any significant way to an understanding of the subject?

3. Definition and Use/Purpose

A literature review may constitute an essential chapter of a thesis or dissertation, or may be a self-contained review of writings on a subject. In either case, its purpose is to:

* Place each work in the context of its contribution to the understanding of the subject under review

* Describe the relationship of each work to the others under consideration

* Identify new ways to interpret, and shed light on any gaps in, previous research

* Resolve conflicts amongst seemingly contradictory previous studies

* Identify areas of prior scholarship to prevent duplication of effort

* Point the way forward for further research

* Place one's original work (in the case of theses or dissertations) in the context of existing literature

The literature review itself, however, does not present new primary scholarship.

ผมต้องขอบคุณเเบบสุดๆเลยนะครับเพราะตอนนี้ต้องนำไปทำงาน

เเต่ผมพึ่งอยู่ม.1เองไม่รุ๊มันคืออะไรคับไม่ค่อยเข้าใจคับ

 

ตอนผมสอบ GRE นั้น มีคำอธิบายชัดเจนว่าการลอกเป็น unacceptable และผู้คุมสอบนั้นมีสิทธิกาหัวกระดาษ (โมฆะ) โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าตัวทราบเลยว่าโดนไปแล้ว (ดังนั้นจะต้องมี standardize คนคุมมาอย่างดี)

สิ่งหนึ่งที่ผมว่าเป็นการ train เรื่องความรับผิดชอบได้ดีที่สุดคือการที่คนเราต้องรับ consequences ของการกระทำของตนเอง ถ้าแค่ slap on the wrist แล้ว get away with it นี่กลับเป็นการฝึกให้เป็นตรงกันข้ามกัน

กะลังต้องทำวิจัยในงาน

สงสัยว่าทำไมบางคนจึงทบทวนวรรณกรรมได้เร็วมากค่ะ รบกวนช่วยชี้แนะด้วย คือเคยถามแล้วแต่เธอไม่ยอมตอบ อยากทราบเคล็ดลับค่ะ กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท