ภูมิปัญญาการคบหากันของคนใต้: ร้านน้ำชา.....สภากาแฟ


พี่สุขใจที่มีคนคอยแวะเวียนไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลา ดีซะอีกจะได้ไม่เหงา

ศูนย์กลางในการคบหาสมาคมของชาวภาคใต้  "ร้านน้ำชา สภากาแฟ"  ร้านน้ำชาหรือสภากาแฟเปรียบเสมือนเวทีชาวบ้านของชาวภาคใต้    ส่วนใหญ่จะนิยมขายกันในแถบภาคใต้ตอนล่าง   โดยเฉพาะใน บริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้   ชาวบ้านส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม เพราะศาสนาอิสลามห้ามไม่ให้ดื่มเหล้า  ชาวบ้านเลยหันไปดื่มน้ำชา  กาแฟแทน   การตั้งวงกินน้ำชา   จะเป็นผลดีมากกว่าการตั้งวงกินเหล้าเพราะถ้ากินเหล้าแล้วเมาก็เกิดการทะเลาะกันมากกว่า   ส่วนการตั้งวงกินน้ำชาสามารถคุยกันไปเรื่อย ๆ ถ้าเจ้าของร้านไม่เก็บร้านก็จะไม่เลิก

  ชาวบ้านในเขตชนบทของภาคใต้ส่วนใหญ่จะมีอาชีพกรีดยาง  หลังจากกรีดยางเสร็จ ระหว่างที่รอให้น้ำยางหยุดไหล   ชาวบ้านจะชอบไปนั่งร้านน้ำชาหรือสภากาแฟ  จิบน้ำชาหรือกาแฟพร้อม ปาท่องโก๋ หรือโรตี หรือในวันที่ฝนตกไม่ได้กรีดยาง ก็จะไปร้านน้ำชาเพื่อ ตั้งวงพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหลาย ๆ ประเด็น   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง  วิเคราะห์ปัญหาของชุมชน พูดง่าย ๆ คือ นินทาชาวบ้าน หรือบางแห่งต่างคนต่างหิ้วกรงที่ใส่นกกรงหัวจุก หรือนกเขาไปด้วยเพื่อเอาไปอวดเพื่อน สำหรับเขตเมือง  บางคนก่อนไปทำงานจะแวะจิบน้ำชาสักแก้วสองแก้วก่อนไปทำงาน   เพื่อนั่งแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน ๆ 

......บางแห่งไม่มีร้านน้ำชา ....  แต่จะยึดเอาจุดศูนย์กลางของชุมชนเป็นที่ชุมนุมแทน  เช่น บ้านแกนนำชุมชน  บ้านผู้ใหญ่บ้าน  บ้านหัวหน้าอสม. หรือบ้านที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของคนที่มีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาประจำชุมชนนั้น ๆ  
       

          อย่างเช่น บ้านพี่เล็ก (อุทัย  บุญดำ) ซึ่งตั้งเป็นที่ทำการเครือข่ายสินธุ์แพรทอง ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง    ชาวบ้านละแวกนั้นจะมารวมกันที่บ้านพี่เล็กเป็นประจำทุกวัน บางคนเทียวมาเทียวไปวันหนึ่งไม่รู้กี่รอบพี่สร้อย(ภรรยาพี่เล็ก)  ต้มน้ำร้อนเผื่อไว้ตลอดเวลา  เพราะใครไปใครมาตอนไหนจะได้ ชงน้ำชา กาแฟ สะดวก บางคนไม่ได้มามือเปล่าแต่จะหิ้วขนมมาคนละชิ้นสองชิ้น หรือบางคนไปต่างจังหวัดก็ซื้อขนม ซื้อกาแฟ มาฝาก    พี่สร้อยแทบไม่ต้องซื้อขนมอะไรมาวางไว้เลย  แต่ละวันชาวบ้านจะแวะเวียนมาเรื่อย ๆ  บางคนมีเรื่องไม่สบายใจก็จะมานั่งระบายให้พี่สร้อยกับพี่เล็กช่วยกันหาทางออกให้ 
.........>>น้องเยาะแอบถามพี่สร้อยว่า"ไม่เหนื่อยบ้างหรือคะที่คอยเก็บถ้วยล้างแก้วอยู่ทุกวัน"
 ....>> พี่สร้อยตอบว่า นี่คือ ความสุข ....พี่สุขใจที่มีคนคอยแวะเวียนไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลา  ดีซะอีกจะได้ไม่เหงา   คนที่นี่จะคบกันด้วยความจริงใจใครไปไหนมาไหนก็จะหิ้วของติดไม้ติดมือมาฝาก......แล้วก็จะมาช่วยกันกิน วันไหนเราได้เนื้อ ได้ปลามาเยอะ ๆ เราก็แบ่งให้เพื่อนบ้านเอาไปกินคนละตัวสองตัว  .....จริงตามที่พี่สร้อยพูดเพราะ......วันก่อนตอนที่น้องเยาะเข้าไปช่วยงานรำลึกถังแดงไปถึงก็เห็นพี่สร้อยกำลังแบ่งปลาที่พี่ลูกอม นักศึกษาป.โท ม.เชียงใหม่  นำมาฝากจาก จ.ตรัง พี่สร้อยก็จัดแจงแบ่งใส่ถุงเพื่อแจกให้กับเพื่อนบ้าน 

......ทำให้น้องเยาะนึกถึงนิทานที่บังหีม (นเรศ หอมหวน)ประธานคณะกรรมการ ศวพถ. ของเรา เคยเล่าให้ฟังว่า  ... มีเศรษฐีคนหนึ่งจะเลือกลูกสะไภ้ให้ลูกชาย   มีคนมาสมัคสามคน เศรษฐีคนนั้นเลยออกอุบายว่า  ถ้ามีปลาหนึ่งกิโล  จะทำอย่างไรที่จะกินได้นาน ๆ ..คนแรกตอบว่าเอาไปตากแห้ง    ...คนที่สองตอบว่าเอาไปทำปลาร้า  ... แต่คนที่สามตอบว่า........เอาไปแบ่งให้เพื่อนบ้าน คำตอบนี้ทำให้เป็นที่น่าพอใจของเศรษฐี    ก็เลยเลือกคนที่สามเป็นลูกสะไภ้   ... 

..............นิทานเรื่องนี้ก็จะสอดคล้องกับสังคมชนบทบ้านเรานะคะบังหีม ถือเป็น ภูมิปัญญา ที่สอนให้เรามีการเผื่อแผ่ต่อเพื่อนบ้าน ...ก็ไม่แตกต่างจากชาวลำสินธุ์และอีกหลาย ๆ ชุมชนที่ยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่และขอให้ปฏิบัติต่อกันอย่างนี้สืบทอดต่อไปเรื่อย ๆ นะคะ อย่าปล่อยให้สังคมเมืองเข้าไปทำลายความมีน้ำใจของชาวบ้านตรงนั้นไปเสีย.............

หมายเลขบันทึก: 179801เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีคะ... คนใต้ใจดีก๋า... ยินดีที่ได้รู้จักคะ เป็นกำลังใจให้กับชาวไทยภาคใต้นะคะ

น้องเยาะขอ..เก็บกำลังใจไว้มอบให้ชาวใต้ ทุก ๆ คน นะคะ คุณครูภีรภา อัคระจาคะ ขอขอบคุณแทนชาวใต้ทุกคนเลยนะคะ

สวัสดีคะพี่ชาญวิทย์ สบายดีไหมคะ ..ไม่เจอกันนานแล้ว ..คิดถึงนะคะ...

สวัสดี... คนใต้ใจดีก๋าบ... ยินดีที่ได้รู้จัก เป็นกำลังใจให้กับชาวไทยภาคใต้ทุกคนคาบ

สลามน้องเยาะสบายดีนะค่ะ

สลามน้องเยาะ หายไปนานเลยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท