Knowledge Construction : การตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน


ลดการยัดเยียดความรู้ และบอกข้อรู้ -------> ส่งเสริม "การสร้างความรู้"

การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ทีสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ...

หัวใจ ก็คือ ผู้เรียน หรือบุคคลที่เราต้องการส่งเสริมให้เขาเกิดการเรียนรู้

 

หากว่าในห้องเรียน ก็คือ.. นักเรียน นักศึกษา

หากว่าในทำงานหรือในองค์กร ก็คือ.. บุคลากร คนทำงานของเรา

 

หากพิจารณาที่ผ่านมา จะพบว่า... การกำหนดแนวทางการเรียนรู้ หรือสิ่งที่เราอยากจะส่งเสริมนั้น เราไม่ได้ตอบสนองต่อผู้เรียนรู้นั้นอย่างแท้จริงเลย หากในโรงเรียนก็จะเป็นผู้ออกแบบหลักสูตร ผู้บริหาร หรือครูที่เกี่ยวข้อง ก็จะใช้การคาดการณ์ว่า ผู้เรียนรู้ ของตนเองนั้นควรจะเรียนรู้เรื่องนั้น เรื่องนี้

 

ในองค์กรก็เช่นเดียวกัน...

หากว่าเราต้องการให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว... เราต้องการให้บุคคลในองค์กรนั้นเรียนรู้เรื่องอะไร เราเคยตั้งคำถาม...ต่อบุคคลเหล่านี้หรือไม่... และเมื่อเรากำหนดแนวทางลงไป สิ่งที่เรากำหนดนั้นสามารถตอบสนองต่อการเรียนนั้นของเขาได้อย่างแท้จริงหรือไม่

 

ตัวอย่าง...เช่น..

ดิฉันต้องการส่งเสริม การสร้างความรู้เรื่อง R2R ของพยาบาล ดิฉันก็ต้องมาศึกษาก่อนว่า กระบวนการสร้างความรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปนั้นเป็นอย่างไรบ้าง โดยศึกษากระบวนการทางปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะในเรื่องการเรียนรู้ และนำแนวคิดที่ได้จากการศึกษานั้น มาเป็นแว่นส่อง...กระบวนการสร้างความรู้

 

อย่างเช่นดิฉันนั้นจะสนใจและชื่นชอบการใช้แว่นในเรื่อง schema theory ที่มองการสร้างความรู้ของบุคคลออกเป็น 5 แบบ มาเป็นแว่นกระจกส่องดูลักษณะการสร้างความรู้ของบุคคล

 

จากนั้นดิฉันก็ต้องลงไปศึกษา...บริบทจริงด้วยว่า... โดย ธรรมชาติ แล้วกระบวนการสร้างความรู้ของพยาบาลในเรื่องการทำวิจัยนั้นเขามีลักษณะอย่างไรบ้าง และสร้างโดยวิธีไหน...

 

จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจากทั้งสองส่วน...มาออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมการสร้างความรู้ในเรื่องดังกล่าวของ พยาบาล ซึ่งสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีการศึกษา ภายใต้ฐานคิดในเรื่อง Media symbol-system และให้สอดคล้องกับบริบทจริง (Authentic) ของผู้เรียนหรือผู้ที่เราต้องการส่งเสริมให้เกิดการสร้างความรู้ ซึ่งในตัวอย่างนี้ ก็คือ พยาบาล

 

เวลาที่ดิฉัน...ทำหน้าที่เป็น facilitator ในเรื่อง R2R ดิฉันก็มักจะนำแนวคิดและภายใต้หลักการนี้มาใช้ แต่ไม่ใช่การหยิบทฤษฎีทั้งดุ้นมาใช้ แต่..คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของ ผู้เรียน นั้นเป็นหลักสำคัญมากกว่า... เมื่อไรก็ตามหากเราได้ศึกษาและวิเคราะห์ สภาพจริง (Authentic context) ของบุคคลนั้นแล้ว ดิฉันเชื่อว่านั่นจะเป็นสิ่งตอบสนองต่อการเรียนรู้ของบุคคลนั้นได้ใกล้เคียงมากที่สุด

 

 

..............................................................................

หมายเลขบันทึก: 174580เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

บรรยากาศการเรียนรู้ หันหน้า หา ดอกอะไร Dialigue สร้างความสุขในการ ลปรร ของ R2R ได้ครับ

มาเยี่ยม คุณ Ka-Poom

อ่านแล้วนึกถึง..เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงสอนสามเณรน้อยนาม..ราหุล..คือสอนเด็กก็ไม่เหมือนสอนอย่างผู้ใหญ่นะ...

แม่ช่อมะม่วง..แม่พวงชมพู

การตอบสนอง..ของผู้เรียนรู้

นั้นเป็นอย่างไร..ต้องสังเกตดู

แต่ที่แน่แน่...เราต้องคงอยู่

ในเรื่องฝักใฝ่...ที่จะเรียนรู้

น้องจิมาดู..พี่กะปุ๋มเอย

* สวัสดีเจ้าค่ะ พี่กะปุ๋ม สบายดีหรือเปล่า น้องจิแวะมาเยี่ยม รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ ฝากความคิดถึง ถึงพี่ตือ พี่เปิ้ล พี่หน่อย พี่ยุ้ย พี่ไนล์ ด้วยนะค่ะ คิคิ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

  • เวลาจะทำงานกับใคร  รวมทั้งการฝึกอบรมหรือการสอน  ต้องรัก  รู้จักและเข้าใจผู้ร่วมงาน  ผู้เข้ารับการอบรมหรือนักเรียนของเรา 
  • ตอนนี้กำลังตีโจทย์ว่าทำอย่างไรให้คนอยากทำกับข้าวก่อนที่จะสอนทำอาหารแต่ละประเภท  เพราะรู้สึกว่าประเทศไทยเราสอนให้คนทำอาหาร เช่นข้าวมันไก่  แกงเขียวหวาน ฯลฯ  โดยที่ผู้เรียนยังไม่รู้สึกอยากทำกับข้าวเองเลย  อิอิ
  • หรือจะเป็นเพราะบ้านเราอบรมฟรี  เกณฑ์คนมารับการอบรม  สงสารทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม  อิอิ

การจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่อง..คนที่มีฑิฐิ มากๆ ทำไง..ใช้หลักการอะไรดี..บังเอิญ..มีบทบาทเป็นหัวหน้าหน่วยย่อยซะด้วย..ยากจัง..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท