ความบังเอิญ หรือ ไม่รู้อนาคต


ความไม่ตั้งใจ หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกมันว่า ความบังเอิญ ผมเคยเขียนในเรื่องความไม่มั่นใจในเทคโนโลยี ในทางวิทยาศาสตร์นั้นมีตัวอย่างที่ชัดเจนเสมอ และตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เขาคนนี้ “โทมัส มิดจ์ลีย์” ในประวัติเขามีอะไรที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับบางคนที่เชื่อมั่นอย่างเต็มทีในทางวิทยาศาสตร์

โทมัส มิดจ์ลีย์ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2432 (อืม..เมื่อไม่นานนี้เองนะ) ในเพนซิลวาเนีย และเป็นลูกชายคนเดียวของนักธุรกิจในวงการโลหะคนหนึ่งขอเพนซิลวาเนีย ในปี 2439 ครอบครัวของเขาย้ายไปยังโคลัมบัส โอไฮโอและตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์จักรยาน และนั่นก็ดูเหมือนบ้านของเขาเลยทีเดียว

 

image

Thomas Midgley, Jr.

เขาวางแผนที่จะประกอบอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ ทำให้เขาเลือกเรียนวิศวกรรมเครื่องกลเป็นวิชาเอก และไม่ได้สนใจเกี่ยวกับวิชาเคมี แต่กระนั้นเขาก็ได้เรียนถึงสองคอร์สในช่วงที่อยู่ในมหาวิทยาลัย หลังจากที่เรียนจบในปี 2454 เขาก็ได้แต่งงานกับ แครี่เมย์ เรโนล และทำงานในบริษัท National cash register company หรือ NCR ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างอุปกรณ์บัญชีในเดย์ตัน โอไฮโอ และเป็นบริษัทอเมริกันที่ให้การสนับสนุนการวิจัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง แต่เขาก็ทำได้แค่เพียงปีเดียงก็เดินทางกลับไปยังโคลัมบัสและทำงานด้านการวิจัยกับบริษัทของบิดาเขาเป็นเวลาถึง 4 ปี และได้รับการว่าจ้างให้ทำงานในห้องวิจัยเดลโค งานแรกที่ได้รับมอบหมาย คือการแก้ปัญหาของอาการน๊อคของเครื่องยนต์ ในการวิจัยระยะแรกนั่นต้องการการแก้ปัญหาที่สามารถมองเห็นได้ มิดจ์ลีย์ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์ให้สามารถที่จะมองเห็นการทำงานภายในได้ และทำให้เชื้อเพลิงมีสีที่สามารถที่จะมองเห็นได้(แสดงว่า เชื้อเพลิงระยะแรกน่าจะไม่มีสีนะ) เขาเลือกสีแดง เพราะมองเห็นได้ง่าย แต่ปัญหาคือ เขาไม่สามารถที่จะหาสีแดงที่ละลายน้ำมันได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนงานในห้องทดลองก็ได้บอกเขาว่าไอโอดีนสามารถใช้ได้ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น มันทำให้เครื่องยนต์ไม่เกิดอาการน๊อค ปัญหาต่อมาคือ ไอโอดีนนั้นแพงเกินกว่าจะนำมาใช้ในงานทั่วไปได้(เฮ้อ ปัญหามีตลอดเลยล่ะ) แต่นี้ก็ทำให้ได้ข้อสรุปว่า การกำจัดอาการน๊อคของเครื่องยนต์นั้นทำได้โดยการเปลี่ยนเชื้อเพลิงให้เหมาะสมดีกว่าที่จะออกแบบเครื่องยนต์ใหม่

หลังจากที่ค้นพบตรงนี้แล้ว ก็ดันเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ไม่มีความก้าวหน้าใด ๆ กว่า 2 ปี หลังจากสงครามสงบลงก็เกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนซะอีก ทำให้จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและวิจัย สารต่าง ๆ นับร้อย ๆ ถูกนำมาทดสอบ จวบจนกระทั้ง 2461 เจเนอรัลมอเตอร์เข้าครอบครองกิจการของยูไนเต็ดมอเตอร์ซึ่งประกอบด้วยหลาย ๆ บริษัทรวมทั้งเดลโคด้วย ทำให้เดลโคต้องทำวิจัยเพื่อสร้างผลกำไร ซึ่งไม่สำคัญเท่ากับว่า หากไม่สามารถที่จะทำวิจัยได้สำเร็จพวกเขาจะถูก ไล่ออก! สำเร็จแล้วหลังจากนั้นไม่นานผู้ช่วยของมิดจ์ลีย์ ต้นพบสานตัวใหม่ที่กำจัดอาการน๊อคได้ แต่ก็ไม่ได้สมบรูณ์นัก ก็เพราะว่ากลิ่นมันร้ายกาจเอาซะมาก ๆ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีอาการน๊อคแต่คนต่างหากล่ะที่จะน๊อค แต่นั่นทำให้เขายังถูกจ้างอยู่(เกือบดี แต่ยังไม่ดีพอ)

ด้วยความพยายามในการวิจัยอย่างเป็นระบบ วันที่ 9 ธันวาคม 2464 โทมัส มิดจ์ลีย์ก็ได้พบสารผสมที่มีราคาถูก ปราศจากกลิ่น และให้ประสิทธิภาพสูงแม้ว่าเพียงจำนวนเล็กน้อย ด้วยการสาธิตเพียงแต่หยดสารนี้เพียงไม่กี่หยดลงบนผ้าเช็ดหน้าและโบกผ่านช่องดูดอากาศของเครื่องยนต์ที่กำลังสำลัก ผลคืออาการดังกล่าวหายไปทันที(เวอร์จริง ๆ แต่ ไม่ได้โม้)เจ้าสารที่ว่านี้ก็คือ เตตระเอทิลเลด tetra-ethyl lead (TEL)

การค้นพบนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งหนึ่งของการใช้น้ำมัน แต่ก็ไม่ใช้ว่าจะไม่มีใครทราบว่าตะกั่วเป็นพิษ แต่ก็ได้รับการอนุญาตจากทางการสหรัฐเนื่องจากเชื่อว่า เมื่อ TEL ปลดปล่อยสู่บรรยากาศแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ทำเป็นเชื่อหรือปล่าว) แต่ความจริงก็คือความจริง มีผู้ล้มป่วยมากขึ้นจากอาการพิษตะกั่ว ไม่เว้นแม้กระทั้งตัว มิดจ์ลีย์เอง และหลาย ๆ คนเสียชีวิต ทำให้มีการเรียกร้องให้มีการทบทวน (ล้อมคอก เหมือนบ้านเราแหละ) แต่มิดจ์ลีย์ก็ได้กล่าวสั้น ๆ ว่า “พิษภัยของมันไม่มากเมื่อเทียบกับคุณค่าที่ได้รับ” และทางการก็ไม่ได้ให้หยุดการผลิตแต่ให้มีการจัดระบบป้องกันในโรงงานให้ดีขึ้น ทำให้มีการใช้งานต่อมาเรื่อย ๆ

image

การแก้ปัญหาหนึ่งนำไปสู่อีกปัญหาหนึ่ง

การใช้ TEL เป็นเวลานานเกิดการสะสมของตะกั่วออกไซด์บนวาล์วเครื่องยนต์ การแก้ไขทำให้โดยการเติมเอทิลีนไดโบรไมด์เข้าไปเพื่อขจัดคราบตะกั่ว มิดจ์ลีย์เลือกใช้น้ำทะเลซึ่งเขาคิดว่ามีส่วนผสมของโบรไมด์อยุ่ถึง 67 ส่วนในล้านส่วน และในที่สุดก็มีการจัดตั้งบริษัทเพื่อผลิดโบรไมด์โดยเฉพาะ และถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต TEL เกือบ 90 % เลยที่เดียว เคตเทอริง ได้ประมาณการว่า น้ำมันเบนซิน 2 แกลลอนที่ผสม TEL นั้นให้พลังงานได้เทียบเท่ากับน้ำมันเบนซินทั่วไป 3 แกลลอน ซึ่งหมายความว่าภายในเวลา 25 ปี TEL จะช่วยให้ประหยัดปริมาณน้ำมันดิบที่สูบขึ้นมาจากใต้พื้นโลกได้กว่าพันล้านบาเรล ในตอนนั้นใครล่ะจะกล้าที่จะบอกว่ามันไม่ดี

ความสำเร็จที่สอง สารทำความเย็นทรงพลัง

เมื่อลาออกจากจีเอ็ม เคตเทอริง ได้ชักชวนได้มิดจ์ลีย์ช่วยหาสารทำความเย็นตัวใหม่แทนแอมโมเนีย(แม้ว่าปัจจุบันยังคงใช้อยู่ดี แล้วจะเล่าให้ฟังทีหลัง), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเมทิลคลอไรด์ สองตัวหลังเป็นสารที่มีพิษและระเบิดได้ แม้ว่าจะมีตู้เย็นใช้แล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก หากว่าสามารถที่จะค้นพบสารทำความเย็นตัวใหม่จะทำให้สามารถที่จะขยายตลาดไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย

แม้ว่าจะไม่เต็มใจในการที่รับงานนี้แต่มิดจ์ลีย์ก็ใช้เวลาสั้นมากเพียง 3 วันเท่านั้นเอง แต่ก็ไม่ใช้เพราะโชคช่วยหรอก หากว่าเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างหากทำให้เขาทำได้เร็วขนาดนั้น เมื่อทำการสังเคราะห์และทดสอบจนได้สารที่เชื่อว่าดีที่สุด คือ ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน ซึ่งเราจะรู้จักในชื่อที่เป็นทางการว่า “ฟรีออน 12และพัฒนาไปสู่ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFCs) พอจะคุ้นไหมหนอ ด้วยคุณสมบัติที่สารตัวนี้มีจุดเดือดปานกลาง ไม่เป็นพิษและไม่ติดไฟ การสาธิตของมิดจ์ลีย์ค่อนข้างจะดูเพี้ยน ๆ หน่อยหนึ่ง โดยการที่หยดฟรีออนลงในชามเล็ก ๆ และลนด้วยเทียนไข รอจนกระทั้งเดือดแล้วสูดเอาไอระเหยเข้าไปในปอก จากนั้นพ่นลมหายใจออกไปยังเปลวไฟ เพื่อแสดงว่ามันไม่ติดไฟ และไม่เป็นพิษ

การค้นพบสารทำความเย็นนี้เฉกเช่นเดียวกับการค้นพบ TEL มันทำให้เกิดอุตสาหกรรมตามมาอีกมากมาย เช่น การนำไปใช้เป็นสารช่วยในการพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งเป็นการค้นพบโดยบังเอิญของกองทัพบก ทำให้เกิดการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสีและยาดับกลิ่น

และนั่นเป็นจุดเริ่มต้องของการเริ่มปล่อยซีเอฟซีออกสู่บรรยากาศโลก ตอนนั้นก็ไม่มีใครว่ามันเลวร้ายหรอก

รางวัลเกียรติยศ

มิดจ์ลีย์เกษียณตัวเองเมื่อปี 2480 หลังจากนั้นในปี 2483 เขาก็ป่วยเป็นโดรัมพาตช่วงล่างของลำตัว หรือนั่นก็คือ โปลิโอ นั่นเอง ทำให้การรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นของสมาคมเคมีในปี 2484 เขาต้องถูกหามขึ้นไป นอกจากนี้เขายังได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการผู้หนึ่งในงานวิจัยที่ขึ้นตรงกับประธานาธิบดี รูสเวลล์ และยังได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาคมนักเคมีแห่งสหรัฐ ฯ ในปี 2487 ด้วย เขาเสียชีวิตในปี 2487

ผลร้ายที่เขาไม่ได้เห็น

ปี 2517 วารสาร Nature ได้เสนอบทความที่แสดงถึงผลของซีเอฟซีที่กระทบต่อชั้นบรรยากาศ ทำลายชั้นโอโซน ทำให้มิดจ์ลีย์เริ่มเป็นเหมือนฆาตกรผู้ทำลายสภาพแวดล้อมโลก อันเนื่องมาจาก สารซีเอฟซี และสารตะกั่ว ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

ด้วยเหตุนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบางครั้งก็ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน แต่เป็นการแก้ปัญหาหนึ่งและนำไปสู่ปัญหาหนึ่ง เพียงแต่ระยะเวลาเท่านั้นที่เป็นบทพิสูจน์ว่า ต่อไปเราจะแก้ปัญหาใด และวิทยาการทุกวันนี้เราได้แก้ปัญหาใด และสร้างปัญหาใดขึ้นมาบ้าง มีใครนึกออกไหม???

ผมว่าผมเห็นแล้ว.....แล้วคุณล่ะ???

อ่านเพิ่มเติม

  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Midgley
  2. Update ตุลาคม 2545
  3. ผิดพลาดจริงหรือ???มันคือการเรียนรู้ต่างหาก
  4. ปัญหาใดที่เราไม่ได้ก่อ ไม่มี
  5. บทหนึ่งของการพัฒนา
  6. เทคโนโลยีหรือที่โลกต้องการ???

หลาย ๆ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของ ความบังเอิญ ไว้จะเล่าให้ฟังในภายหน้าครับ

หมายเลขบันทึก: 174528เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีคะ

เป็นบุคคลที่น่าสนใจมากคะ ต้องขอบคุณ คุณอุทัยมากคะ :)

...เป็นบทความที่ให้สาระดี..

ข้อคิดจากคนอ่าน

" การแก้ปัญหาเรื่องหนึ่งให้หมดไป  อาจทำ

ให้เกิดปัญหาอีกหลายเรื่องตามมา  หน้าที่

ของคนเราจึงต้องรู้จักการแก้ปัญหาอยู่

เสมอ"

   ____ เฮ้อ..ใช้ได้มั้ย.... บอกหน่อยค่ะ.

สวัสดีครับ คุณ UbbIbb ( ​อุ๊บอิ๊บ) การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต้องสามารถที่จะขจัดปัญหานั้น ๆ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นขึ้นมา แต่... ในการแก้ปัญหาของมนุษย์ การแก้ปัญหาหนึ่งกลับก่อให้เกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่งมาด้วยตลอด เพราะ ในทุก ๆ ปัญหา จะมีปัญหาใหญ่และปัญหาเล็ก ๆ คนเราแก้ปัญหาใหญ่ ๆ แต่ลืมไปว่่า มันทำให้ปัญหาเล็ก ๆ นั่นใหญ่ขึ้น และเป็นแบบนี้อย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่แย่กว่านั้น คือ การแก้ปัญหาใหญ่ ๆ โดยที่ ไม่รุ้ด้วยซ้ำว่า ปัญหาเล็ก ๆ คืออะไร บางทีก็เป็นการมองเพียงแง่มุมเดียวในการแก้ปัญหา ดัง โทมัส มิดจ์ลีย์ ที่มองในแง่ของเครื่องยนต์แต่ไม่ได้มองเรื่องของสิ่งแวดล้อม หรือทำเป็นไม่มอง หรือไม่รุ้ นั่นคือปัญหา ปัญหาอยู่ที่คนต่างหาก "ถ้าคนถูก โลกก็ถูก"(ลองไปอ่านดูก็ได้)

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ ขอให้มีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง สดชื่นแจ่มใสครับ

สวัสดีค่ะคุณอุทัย

หายไปไหนน้อ?..แขกมาเต็มบ้านเลย

ขอให้คุณอุทัยมีความสุข สดชื่น สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา เพราะโชคชะตาคือการกระทำของมนุษย์เนาะคะ..และขอให้ สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจนะคะ..สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท