เพิ่งดูหนังเรื่อง the Vantage Point มาสดๆ ครับ
หนังเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ทั้งบวกและลบ เนื้อเรื่องนำเสนอมุมมอง 8 มุมสำหรับเหตุการณ์ความพยายามในการลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐในสเปน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นใน 23 นาที ย้อนไปย้อนมาให้เห็นมุมมองของคน 8 คนที่มีบทบาท หน้าที่ และวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
ในแต่ละมุมมอง ผู้ที่มองอยู่นั้น รู้สึกว่าเหตุการณ์ช่างจริงและมีเหตุผลในตัวของมันเองเสียเหลือเกิน แต่เมื่อนำข้อมูลอื่นๆมาประมวลด้วยแล้ว กลับเป็นความโง่งมที่หลงใน "ความจริง" และ "ความน่าเชื่อถือ" แบบนั้น (คิดไปเองว่าใช่)
คำว่า Vantage Point เป็นคำนาม หมายถึงที่มั่น หรือมุมมองที่ได้เปรียบ บ่อยมากที่จะเป็นภาพมุมสูงที่มองเห็นเรื่องราวทั้งหมดได้พร้อมกัน เปรียบเสมือนกับมุมมองของการบริหารจัดการเช่นกัน
คนทำงานหาข้อมูลสร้างสรรค์งานแทบตาย กว่าจะได้งานออกมา เขารู้สึกว่ามันจริงจังที่สุดแล้วเพราะกลั่นออกมาจากสมอง+ทำมากับมือ ถ้ามีการปฏิเสธหรือเลือกข้อเสนออื่นโดยไม่มีการชี้แจงจนเข้าใจ บ่อยๆเข้า องค์กรก็จะไม่มีความคิดใหม่ๆ เพราะว่าเสนอมากี่ครั้งก็ไม่ผ่าน แถมไม่รู้ด้วยว่าทำไมจึงไม่ผ่าน จึงไม่สามารถปรับปรุงได้ ไม่มีการเรียนรู้
ในทำนองกลับกัน ภาพมหภาคแม้เห็นในมุมกว้าง แต่ก็มักจะขาดรายละเอียด การตัดสินใจไปโดยความรู้สึกและอารมณ์ ไม่แสวงหาความจริง หรือไม่ตรวจสอบ จึงเป็นเรื่องที่อาจจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อองค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ไม่ควรจะมีการมอบหมายให้ใครทำอะไรโดยไม่ให้อำนาจไปด้วย แต่ในกระบวนการจัดการที่ดี จะต้องมีการตรวจสอบ ไม่มีใครสามารถอยู่หรือทำงานได้ด้วยตัวคนเดียว ไม่มีใครอีกเช่นกันที่จะอยู่อย่างมีความสุขโดยที่เป็นศัตรูกับคนทั้งโลก แต่ว่าความไว้วางใจนั้น กลับไม่ใช่การเชื่อถือโดยไม่มีเงื่อนไข (ซึ่งเรียกว่าอคติ) อะไรใช่ อะไรไม่ใช่ ต้องตัดสินหลังจากที่ได้พิจารณาแล้ว -- ไม่ใช่ตัดสินไว้ก่อน
มีกับดักอีกอันหนึ่งซึ่งผู้บริหารที่มีประสบการณ์สูงจะหลงกันมาก คือการหลงในความสำเร็จที่ผ่านมา มักจะตัดสินใจทำตามวิธีซึ่งเคยใช้ได้มาแล้วในอดีต ข้อเท็จจริงก็คือเหตุการณ์ในอดีตกับเรื่องที่ท่านกำลังจะตัดสินใจ เป็นคนละเหตุการณ์กัน มีบริบทที่ต่างกัน มีองค์ประกอบที่ต่างกัน -- การทำแบบที่เคยทำสำเร็จมาในอดีต ไม่ได้รับประกันว่าเรื่องที่ท่านกำลังจะตัดสินใจจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
ยิ่งกว่านั้น การตัดสินใจไม่จำเป็นต้องเป็นการเลือก ท่านผู้บริหารควรตระหนักว่าท่านไม่ได้กำลังทำข้อสอบปรนัย และไม่จำเป็นต้องมีคำตอบที่ดีอยู่ในบรรดาทางเลือกที่เห็นอยู่ข้างหน้า คำตอบที่ดี อาจจะต้องคิดขึ้นมาใหม่ หรือเอาทางเลือกต่างๆ มาปรับปรุง/ผสมปนเปกัน
คำถามต่อมาก็คือคนที่ท่านคิดว่าดีนั้น ดีจริงหรือไม่ ส่วนคนที่ท่านคิดว่าไม่ดีนั้น เป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่าครับ
คำถามต่อมาก็คือคนที่ท่านคิดว่าดีนั้น ดีจริงหรือไม่ ส่วนคนที่ท่านคิดว่าไม่ดีนั้น เป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่าครับ
ในประสบการณ์ของตัวเองนะคะ
เป็นคนที่ไม่ตั้งความหวังอะไรกับใครมากนัก นอกจากกับตัวเองค่ะ
ดังนั้น คนบางคนที่เราคิดว่าเขาดีมาก แต่ตอนหลังอาจไม่ดีเท่าที่เราหวัง ก็ไม่กระทบใจนัก อาจมีเสียความรู้สึกบ้างแน่นอน แต่ไม่มากนัก
พยายามคิดว่า ไม่มีใครเลยสักคนที่ไม่เคยทำความดี และไม่มีใครที่ไม่มีความดี แต่ความดีที่เขามี อาจไม่ถูกใจเรา หรือเราไม่อยากได้ความดีที่เขามี อยากได้ที่เขาไม่มี เขาก็เลยกลาย เป็นไม่ดี ในสายตาเรา
คือ พยายามไม่คิดโดย การเอาตนเองเป็นที่ตั้ง
และสำหรับตัวเอง เชื่อว่าความดีนั้นมีคุณค่าด้วยตัวของมันเอง การทำความดีก็คือ การให้สิ่งที่ดีกับคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่า บางครั้งก็ เลือกทำเฉพาะความดีที่มีผลตอบแทนเหมือนกัน เพราะอีกนัยหนึ่ง การทำดีถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหมือนกันค่ะ
และการทำดี ถ้าคิดว่าทำแล้วได้ไม่คุ้มเสีย ก็อยู่เฉยๆดีกว่า มีตัวอย่างมากมายค่ะในชีวิต
และการทำความดียังเป็นการลงทุนให้กับสังคมด้วยนะคะ อย่างเช่น เราเสียภาษีอย่างถูกต้องทุกปี และชักชวนให้คนอื่นทำตัวเป็นคนดีด้วยมากๆ
สังคมที่มีทุนทางสังคมสูงเป็นสังคมที่มีภูมิต้านทานเชื้อโรคทางสังคมที่เข้มแข็ง แม้เกิดเหตุการณ์อะไร สังคม มีคนดีมากๆ สังคมก้ยังอยู่ได้
ส่วนคำถามว่า คนที่เราคิดว่าไม่ดี นั้นเป็นอย่างนั้นจริงหรือ
ตามประสบการณ์ส่วนตัวจริงๆ อีกนั่นแหละ คนที่เราเห็นและคิดว่า ไม่ดี ในระยะเวลา ที่รู้จักกัน ถ้า เราคบหรือรู้จักเขาพอควร เช่น เป็นเวลา เป็น ปีขึ้นไป ก็มักจะเป็นอย่างที่คิด เสีย 80% อีก 20 %เป็นความผิดพลาดของเราเอง ที่ดูเขาผิดไป
มีวิธีส่วนตัว คือการ sampling หรือสุ่มตัวอย่างค่ะ บางทีก็จำลองเหตุการณ์ขึ้นมาเฉยๆ เพื่อทดสอบ ถ้าอยากทำ แต่ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยไปยุ่งวุ่นวายจะทดสอบใครค่ะ