จริยา
นาง จริยา เพ็ญประทุม(สวันตรัจฉ์)

บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่อง การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านกระทุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

 สวัสดีค่ะ..ช่วงนี้คุณครูกำลังคร่ำเคร่งกับการทำคะแนนกับการทำผลงานทางวิชาการกันอย่างขมักเขม้น

ดิฉันก็เพิ่งสรุปผลงานวิจัยซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นที่เรียบร้อย จึงนำมาเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันค่ะ..หากท่านใดมีข้อเสนอแนะก็ยินดีมากเลยนะคะ..

ขอบคุณค่ะ

---------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านกระทุ่ม

                   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  ขต  1 

ผู้วิจัย         นางจริยา  เพ็ญประทุม

ปีที่ศึกษา  2550

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โรงเรียนบ้านกระทุ่ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต 1 โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 (Action Research) มาเป็นรูปแบบในการดำเนินการวิจัย  ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน  คือ

ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นนปฏิบัติการ (Action)    ขั้นสังเกต (Observation) ขั้นสะท้อนผล (Reflection) โดยเป็นรูปแบบการปฏิบัติจริงในสถานศึกษา โดยกลุ่มผู้ร่วมวิจัยและให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้วิจัย

 ผู้ร่วมวิจัย 23 คน  กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาเป็นครูสายผู้สอน  23 คน  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 47 คน

ขั้นตอนมีดังนี้  1) สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา  2) ประชุมกลุ่มผู้ร่วมวิจัย   3)ประชุมเชิงปฏิบัติการ

4) จัดทำแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5) ประเมินแผนการสอน 6)ดำเนินการสอนตามแผนการสอน

 7) สังเกตการณ์ปฏิบัติการสอน     8)สะท้อนผลการปฏิบัติการสอนทุกขั้นตอน   9)ให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไข

 10) สรุปและรายงานการวิจัย      เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูที่สอน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6      2) แบบประเมินผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน

4) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนทมี่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  5) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน

 6) แบบสัมภาษณ์นักเรียน   7)แบบสัมภาษณ์ครู   8)แบบบันทึกการประชุม      การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

 โดยการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน แบบสังเกตพฤติกรรม

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนของผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดมาตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยเทคนิควิธีการตรวจ

สอบสามเส้าแล้วนำไปวิเคราะห์ประมวลผลและเรียบเรียงนำเสนอในรูปแบบความเรียง     

ผลการวิจัยปรากฏว่าบุคลากรก่อนการพัฒนายังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้ ดังนั้น     จึงต้องมีการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา   พฤติกรรมการเรียนการสอนของครู  ในแต่ละวงรอบ ดังนี้  การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ นิเทศ เพิ่มความรู้ความเข้าใจ  และทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่ครู  จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูและนักเรียน  คือ พฤติกรรมของครูผู้สอน  ครูเกิดความเชื่อมั่น  มีทักษะกระบวนการคิดและวิธีการสอนที่แปลกใหม่ เกิดการพัฒนาตนเอง สามารถออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียน  มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น  มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอนมากขึ้น  พฤติกรรมของนักเรียน นักเรียนที่กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามความต้องการ  มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบ  มีความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นร่วมคิดร่วมทำกับเพื่อน รู้จักค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ    การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พัฒนาต่อจากวงรอบที่ 1 โดยการนิเทศอย่างเป็นระบบ ควบคุม กำกับ ติดตาม  พัฒนาครูกลุ่มเป้าหมาย  การให้คำปรึกษา  แนะนำ ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการสังเกต สัมภาษณ์การพัฒนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ พฤติกรรมของครูผู้สอน สามารถดำเนินการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น        ผู้เรียนเป็นสำคัญได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้สื่อในการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการวัดผลประเมินผลอย่างต่อเนื่องและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง  พฤติกรรมของนักเรียน  นักเรียนสนใจเรียนมากขึ้น  มีส่วนร่วมในการจัดการเรียน   การสอนมากขึ้น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้น กล้าแสดงออกมากขึ้น แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล  สามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง จัดเก็บสะสมผลงานเป็นแฟ้มสะสมงานของตนเองได้อย่างมีระบบมีการรับผิดชอบในการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 172946เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณครู

     เอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จนะคะ

     ด้วยใจจริงค่ะ  ^_^

สวัสดีค่ะคุณครูตุ๊กแก

ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจเสมอ แต่ยังไม่มีเวลาไปเยี่ยมคุณครูเลย

เดี๋ยวไปเที่ยวที่เกาหลีจะมาเล่าให้ฟัง ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท