วงปี่พาทย์เสภา


เครื่องดนตรีวงปี่พาทย์เสภา

วงปี่พาทย์เสภา   
เป็นวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ตามหลักฐานคำกลอนที่ว่า

เมื่อครั้งจอมนรินทร์แผ่นดับลับ
เสภาขยับหามีดนตรีไม่
ครั้นมาถึงสมัยพระองค์ผู้ทรงชัย
ก็เกิดขึ้นมีในอยุธยา

               แต่เดิมการเล่นเสภา  ผู้ขับจะขับเสภาไปพร้อมกับการตีกรับ  โดยให้สอดประสานไปกับบทเสภา  แต่การตีกรับในที่นี้เป็นการตีในลักษณะพิเศษ  ใช้ความสามารถเฉพาะตัว คือ  ผู้ขับจะถือกรับไม้ในมือข้างละคู่  ใช้นิ้วมือทั้งห้าบังคับให้กรับสองอันตีกระทบกัน  ให้มีเสียงสั่นระริก  ในลักษณะไม้ต่างๆ  เช่น  ไม้สะกัดสั้น  สะกัดยาว  หรือไม้รบ  เป็นต้น  และเรียกวิธีการตีกรับอย่างนี้ว่า “ ขยับกรับขับเสภา “  ซึ่งถือเป็นศิลปชั้นสูงของผู้ขับเสภา
               สำหรับการเล่นเสภาในอดีต  มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ  ในชั้นแรกผู้ขับจะขับเสภาเป็นเรื่องราว  พร้อมกับขยับกรับในไม้ต่างๆให้สอดประสานไปกับบทจนจบเรื่อง  ต่อมาให้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบในการขับเสภา  แต่บรรเลงเฉพาะกิริยาอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละคอนในบท  เช่น ไป มา โกรธ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น    ขั้นต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น  โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ  เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลง “ รัวประลองเสภา “  ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู  แล้วขับเข้าเรื่อง  บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ  กระทำสลับกันจนจบเรื่อง  ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย  เมื่อปี่พาทย์รับแล้ว  จะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็น “ ลูกหมด “  เช่น  การเล่นปี่พาทย์เสภาในบทกากี
                ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เข้าใจว่านิยมบรรเลงปี่พาทย์เสภากันอย่างแพร่หลาย  ต่อมาภายหลังอาจเป็นเพราะผู้ขยับกรับขับเสภาหายาก หรือมีน้อยลง  การขยับกรับขับเสภาเป็นเรื่องราวจึงลดน้อยค่อยๆหายไป  คงเหลือแต่การนำบทเสภาในเรื่องต่างๆมาขับร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  พร้อมทั้งสร้างรูปแบบ  ลำดับวิธีการบรรเลงปี่พาทย์เสภา  ยึดถือเป็นระเบียบดังนี้
               1.        รัวประลองเสภา
               2.        โหมโรงเสภา  ( เช่น โหมโรงไอยเรศย์ )
               3.        เพลงพม่า ๕ ท่อน
               4.        เพลงจะเข้หางยาว
               5.        เพลงสี่บท
               6.        เพลงบุหลัน

               จากนั้นจะร้องและบรรเลงเพลงประเภททะยอย  เช่น ทะยอยเขมร  ทะยอยนอกทะยอยใน  โอ้ลาว  แขกลพบุรี  แขกโอด เป็นต้น  หรืออาจต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ    ต่อเมื่อจะจบการ
               การบรรเลง  จะบรรเลงและขับร้อง “ เพลงลา “ เป็นอันดับสุดท้าย  สำหรับเพลงลาเป็นเพลงลักษณะหนึ่งที่ท่วงทำนองตอนหนึ่งให้ปี่ว่า “ ดอก “ ตามบทร้อง เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง  เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
               การบรรเลงปี่พาทย์ในลักษณะนี้เรียกกันว่า “ การบรรเลงปี่พาทย์เสภา “   และสำหรับวงปี่พาทย์ในใช้บรรเลงในครั้งนี้  ได้เปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีบางชิ้นในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง คือ  เอาตะโพน กลองทัดออก  นำเอากลองสองหน้ามาตีแทน    รูปขนาดของวงปี่พาทย์คงเหมือนเดิม    สำหรับกรับเสภาในระยะแรกยังคงใช้การขยับกรับขับเสภาไหว้ครูในตอนต้น  ต่อมาภายหลังเลิกใช้  คงนำกรับเสภาคู่เดียว  มาตีช่วยควบคุมในจังหวะหนัก

                วงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้า  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
               1.        ปี่ใน
               2.        ระนาดเอก
               3.        ฆ้องวงใหญ่
               4.        กลองสองหน้า
               5.        ฉิ่ง
 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปี่พาทย์
หมายเลขบันทึก: 169214เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • มาอ่านเกร็ดวรรณคดีครับ
  • และที่มาของวงปี่พาทย์เสภาครับ

สวัสดีครับ

P กวินทรากร

  • ขอบคุณครับ
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • ยินดีครับ
  • ว่าง ๆ แล้วจะแวะเข้าไปเยี่ยมนะครับ
  • ขอบคุณครับ

่ดีที่อนุรักษ์เรื่องเกี่ยวกับดนตรีเอาไว้

ขอบคุณค่ะ

บางอย่างก็เป็นความรู้ใหม่สำหรับพี่คิมค่ะ

รายงานตัวครับ  ท่านหัวหน้า ฝากคนข้างล่างไปเข้าวงด้วย

Img0864a

อยากรู้เรื่องโอกาสที่ใช้ในการบรรเลงวงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้า

เนื้อหาความสำคัญน้อยเกินอะ

ผมอยากทราบ เรื่องปี่พาทย์เส-( แบบระเอียด ) คับ

พอจะมีให้คำตอบได้บ้างคับ ขอขอบคุญผู้ที่ให้วิทยาทาน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ ^U^

วงปี่พาทย์เสภาใช้บรรเลงในโอกาสใด ???? ตอบหน่อย

ทำไมมีประวัติน้อยจังคับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท