จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า ความสามารถด้านดนตรี หรือความสามารถด้านคณิตศาสตร์ อย่างไหนเป็นเหตุหรืออย่างไหนเป็นผลกันแน่


แม้ว่า จะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ดนตรีทำให้เรียนคณิตศาสตร์เก่งขึ้น หรือมี IQ สูงขึ้นจริงหรือไม่ ก็ตาม แต่เราก็ไม่ได้อยากจะเก่งคณิตศาสตร์ หรือ อยากจะความฉลาดเท่านั้น เรายังต้องการดนตรีเพื่อความสุนทรีย์และความสุขในชีวิตไม่น้อยกว่า เช่นกัน

เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคมนี้ ดิฉันนอนอ่านหนังสือพร้อมเปิดเพลงฟังเบาๆจากวิทยุ    ที่จัดเพลงฮิตจาก London Symphony Orchestra    มีเพลงที่ชื่นชอบอยู่หลายเพลง เช่น Stairway to Heaven ,II. Sunday Morning เป็นต้น 

พลันก็นึกขึ้นมาถึง เรื่องของความนิยมของพ่อแม่ปัจจุบันที่   มักเปิดเพลงคลาสสิคให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง (เอาสายที่ถ่ายทอดเสียงเพลงไปแปะไว้ที่ท้องดังที่มีขายกัน)    หรือในช่วงแบเบาะจนโตเข้าอนุบาล  หวังว่าจะให้มีพัฒนาการที่เร็วขึ้นกว่าธรรมดา   และมีอารมณ์ดีโดยเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไป  โดยอ้างอิงจาก  Mozart Effects  ของ  Dr. Alfred A. Tomatis แพทย์ทางหู คอ จมูก ซึ่งเขาใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของการออกเสียง และการได้ยินเป็นต้น

Little%20musician

ในปี 2001 องค์การ  College Board   เคยรายงานว่า นักเรียนที่เล่นดนตรีเป็น และบางคนก็เก่งด้วย   สอบได้คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์สูงกว่าพวกที่ไม่มีพื้นฐานดนตรี ประมาณ 41 แต้ม ในส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์ของการสอบ Sat

(คะแนน Sat เป็นข้อมูลสำคัญประกอบการสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และโครงการนานาชาติของไทยThe SAT Reasoning Test is a standardized test forcollege admissions in the United States)

College%20board%20logo 

  

แต่ บางคนก็ค้านว่า  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพ่อแม่ที่สนใจให้ลูกเรียนดนตรี    มักเป็นผู้ที่สนใจสนับสนุนผลักดันลูกอยู่แล้วในเรื่องวิชาการด้านอื่นๆ   ดังนั้น การสอบคณิตศาสตร์ได้ดีจึงไม่ใช่เป็นเพราะเรียนดนตรีหรอก

นอกจากนี้พวกที่มีพื้นฐานดนตรีเหล่านี้  ก็ยังสอบวิชาอื่นๆ  ในส่วนที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์  ได้ดีอีกด้วยเช่นกัน ดังนั้น ดนตรีจึงไม่น่าจะใช่สาเหตุแต่อย่างใด

   เมื่อ August 1, 2004  ในการแข่งขัน  Siemens Westinghouse Competition ในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผู้เข้ารอบสุดท้าย  3 ใน 4 เป็นนักดนตรี "อัจฉริยะ" (Gifted Musicians)

             For the past 70 years the annual Siemens Westinghouse Competition in math, science, and technology has showcased the talents of the brightest high school students in the U.S.

มีข่าวเพิ่มเติมจาก HighBeam Research  เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า.....

 This year, however, organizers of the contest took note of a striking fact: No fewer than 60 percent of the 70 finalists were highly proficient on one or more musical instruments.

มีการเล่าขานกันว่า...อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เล่นไวโอลินได้เก่งมาก แต่ไม่แน่เสมอไป  เพราะนักดนตรีเก่งๆ จำนวนมาก ก็ไม่เก่งในเรื่องคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์เลย

Thai%20musicsal%20instrument

แต่ อีกด้านหนึ่ง ก็มีบทความที่ได้  ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Psychological Science เดือนสิงหาคม 2004  ระบุว่า

New Research Provides the First Solid Evidence that the Study of Music Promotes Intellectual Development

เขามีการแบ่งเด็ก 144 คนอายุ 6 ขวบ เป็น 4 กลุ่ม เพื่อจะดูการพัฒนาทางสมองและทางการเข้าสังคมคือ กลุ่มที่ใช้เครื่องดนตรีจำพวกคีย์บอร์ด จำพวกใช้เสียงร้อง  จำพวก ศิลปะการแสดง และพวกที่ไม่ได้ทำอะไรเลย สรุปว่า จำพวกที่อยู่ในMusic Group ได้ IQสูงกว่าพวกอื่น

The participating children were given IQ tests before and after the lessons. The results of this study revealed that increases in IQ from pre- to post-test were larger in the music groups than in the two others.

ถึงแม้จะมีผลงานวิจัยนี้ออกมา     แต่ก็ยังไม่ได้ฟันธงว่า  ว่าดนตรีทำให้คนเรียนคณิตศาสตร์เก่งขึ้นหรือฉลาดขึ้นอย่างชัดเจน แต่ความเชื่อว่าดนตรี คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มีความผูกพันสัมพันธ์กันก็มิได้หายไป ผู้คนยังปักใจเชื่อว่าดนตรีกับคณิตศาสตร์สัมพันธ์กันมากกว่า ดนตรีกับวิทยาศาสตร์

 การสอนเด็กๆ เรื่อง ระดับเสียง pitch  เป็นพื้นฐานแรกที่สำคัญในการเรียนดนตรีเช่นเดียวกับเรื่องของจังหวะ ซึ่งนักดนตรีศึกษาต่าง ๆ พยายามคิดหาวิธีการสอน  เรื่องระดับเสียงใ ห้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุด

Fruit%20of%20the%20spirit

เด็กบางคนจะเรียนรู้ได้ไวมาก เหมือนมีพื้นฐานอยู่ในตัวแล้ว แต่เด็กบางคนจะต้องใช้เวลาฝึกนานหน่อย ทุกๆ หลักสูตรต่างมุ่งเน้นให้นักเรียนมีโสตประสาทที่ดี มีการความสามารถในการได้ยินภายใน (inner hearing)

ซึ่งเป็นความสามารถขั้นสูงของนักดนตรี   ที่เพียงแค่ตามองเห็นตัวโน้ตดนตรีก็สามารถได้ยินเสียงของโน้ตนั้นบรรเลงอยู่ภายในสมองอย่างถูกต้องตามระดับเสียง จังหวะ รวมถึงการประสานเสียงต่าง ๆ ครบถ้วน

มาถึงตรงนี้ มีตัวอย่างเด็กที่มี Perfect Pitch เองโดยพ่อแม่ไม่ได้เก่งดนตรีเลย ไม่มีเครื่องดนตรีสักชิ้นในบ้าน เพียงแต่อยากให้ลูกเล่นดนตรีเป็น

 เด็กคนนี้เป็นลูกของคนที่ดิฉันรู้จักดี   เขาไปเรียนดนตรี เมืออายุประมาณ 9 ขวบ  เขาเรียนเพียงไม่กี่เดือน ทางโรงเรียนแจ้งว่า หมดหลักสูตรจะสอนแล้ว เล่นดนตรีเก่งกว่าครูอีก เขาจึงต้องไปหาที่เรียนใหม่ และ เข้าประกวด หลายครั้ง ได้รางวัลชนะเลิศทุกครั้ง ได้เป็นแชมป็ในการแข่งภาคพื้นเอเซีย หลายครั้ง จนได้รับการขอร้องไม่ให้สมัครอีก   เพื่อให้คนใหม่ๆได้มีโอกาสบ้าง

 ต่อมาสอบเข้าเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง ไปเรียนต่อที่  มหาวิทยาลัยเบริ์กเลย์ สหรัฐอเมริกา (University of California,Berkeley) และเมื่อจบการศึกษาก็เป็นอาจารย์สอนการดนตรีอยู่ที่สหรัฐอเมริกาอีกหลายปี

แต่ถ้าเป็นเรื่องของภาพรวมทั่วๆไปแล้ว  ความเห็นส่วนตัวของดิฉันในเรื่องที่ว่า ดนตรีมีส่วนที่ทำให้เด็กเก่งขึ้นไหมในทางคณิตศาสตร์ ดิฉันไม่แน่ใจค่ะ แต่เด็กๆในครอบครัวญาติพี่น้องทั้งหมด ที่เก่งคณิตศาสตร์ มักเล่นดนตรีได้ดีด้วย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน บางคนไม่เก่งคณิตศาสตร์นัก  แต่เล่นดนตรีได้ดี

Child--piano

 แต่สิ่งที่  นักวิชาการยังค่อนข้างมั่นใจก็คือสิ่งที่เรียกว่า Perfect Pitch หรือความสามารถในการจำโน้ตดนตรีจากความทรงจำนั้น   จะต้องมีการสอนและเรียนรู้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ ถึงแม้ว่ามักจะมีการสืบทอดกันในครอบครัวก็ตาม

มีสถิติระบุว่าร้อยละ 6 ของมนุษย์มี Perfect Pitch    นักดนตรีส่วนใหญ่ไม่มี Perfect Pitch แต่สัดส่วนของนักดนตรีที่มีสูงกว่าในกลุ่มประชากรทั่วไป

 เหตุที่ Perfect Pitch สืบทอดกันในครอบครัวได้นั้น     เชื่อว่ามาจากการสอนและเรียนรู้อย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจของพ่อแม่ที่สนใจดนตรีและสอนลูกด้วย    รวมทั้งตัวเด็กเอง  อาจมี Perfect Pitchเอง   แต่จนบัดนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เคยค้นพบยีนที่อธิบายการมี Perfect Pitchได้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า  จะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ดนตรีทำให้เรียนคณิตศาสตร์เก่งขึ้น หรือมี IQ สูงขึ้นจริงหรือไม่ ก็ตาม

แต่พวกเราทุกคน ก็ไม่ได้อยากแต่จะเก่งแต่คณิตศาสตร์ หรือ  อยากจะมีความฉลาดเท่านั้น    เรายังต้องการดนตรีเพื่อความสุนทรีย์และความสุขในชีวิตไม่น้อยกว่า เช่นกัน ใช่ไหมคะ

หมายเลขบันทึก: 168894เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (160)

พอดีดิฉันไปเห็นบทความของ ศาสตราจารย์ น.พ.ดร.วิจิตร บุณยะโหตระ จึงได้เดินไปขออนุญาตคุณหมอ ขอนำมาเผยแพร่ด้วยค่ะ....ซึ่งก็เป็นการศึกษาเรื่องของดนตรี กับ มนุษย์

o             เซลล์ของทุกอวัยวะในร่างกายจะมีกระแสไฟฟ้าเล็กๆ

ซึ่งรวมกันเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

                เหมือนคลื่นวิทยุ

                ร่างกายคนเราจึงเป็นสถานีวิทยุ  BBC

                Body  Broadcating  Center

o             อวัยวะของเราเองสามารถสร้างคลื่นวิทยุเป็นเสียงดนตรีได้

เราทุกคนจึงมีเสียงดนตรีในหัวใจ

o             คลื่นจากเสียงดนตรีจึงสามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของระบบต่างๆ

ของร่างกาย  รวมทั้งสมองของคนเราได้  ( Vibration  Therapy ) โดยไม่

จำเป็นต้องหัดเล่นดนตรีเอง  เพียงแต่ฟังเสียงเพลงที่ชอบที่สมองส่วนหน้าและ สมองส่วนอารมณ์  ( limbic  cortex )

 

 

 

ระบบการทำงานของสมองมี 5 ระบบด้วยกันคือ.....

1.    ระบบการคิด  ( Cognitive  system )

 

                   เกี่ยวกับ  IQ  คณิตศาสตร์  ความคิดสร้างสรรค์ ภาษา  ภาพมิติ  สมองส่วน

คณิตศาสตร์  ( Matharea )  อยู่ทางด้านซ้ายของสมอง ( ส่วน tenporallobe )

 

                   มีงานวิจัยพิสูจน์ว่า  คนเล่นดนตรีเก่ง  น่าจะเก่งคณิตศาสตร์ด้วย

                   เพราะดนตรีมีโครงสร้างทางคณิตศาสตร์

                  

2.    ระบบอารมณ์  ( Emotional  system )

 

                   ดนตรีกระตุ้น และพัฒนาให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์  EQ

                   ก่อให้เกิดจิตใจสงบผ่อนคลาย และมีสมาธิ  รู้จักตัวเองเข้าใจตนเองมากขึ้น

                   กระตุ้นให้เกิดความสนใจ  กระตือรือร้น

                   การให้ทารกในครรภ์ได้ฟังดนตรี  นอกจากพัฒนาให้สมองเจริญเติบโตแล้ว  เด็ก

คลอดมาจะ ส่วนใหญ่ มักจะมีอารมณ์สงบ  เลี้ยงง่ายไม่กวน แต่ก็ไม่ใช่ทุกรายไป

สงสัยว่าดนตรี classic หรือ progressive rock ที่มีหลาย movement นั้น เป็น pattern ที่แปรเปลี่ยนออกนอกแบบแผน (แต่ไม่นอกทฤษฎีดนตรี) อาจจะ corelate กับกระบวนการฉุกคิด ซึ่งนำไปสู่ความช่างสังเกต และความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ครับ

3.   ระบบการรับรู้และการเคลื่อนไหว  ( Perceptual – Motor  system )

 

                   ดนตรีช่วยเสริมสมรรถภาพการเรียนรู้  ในหลายรูปแบบโดยเฉพาะการฟัง  การอ่าน  การพูด ที่มีจังหวะ  เป็นนักพูดที่ดี จะทำให้เป็นนักอ่าน นักพูดที่ดีได้ด้วย

 

                   ดนตรีทำให้สมองส่วนการได้ยิน (auditory  cortex ) มีความหนาขึ้น

                   กลุ่มนักดนตรีมัก มีขนาดของส่วนประสาทที่เชื่อมสมองซีกซ้ายขวา ( corpus 

collosu )   รวมทั้งสมองน้อย ( cerebellum ) ซึ่งควบคุมกล้ามเนื้อ  ความแข็งแรง

และการเคลื่อนไหวต่างๆ  มีขนาดใหญ่ขึ้น

 

                             การฝึกให้แกนกลางเชื่อมสมอง  2  ซีก ( corpus  collosum )  แข็งแรง

จะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างสมองซีกซ้ายขวา

 ซึ่งจะทำให้ชีวิตดีขึ้น 

สามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกายที่มีการผ่านส่วนกลางของร่างกาย ( midline  crossing )  เช่น กับตัวใช้มือแตะเท้าตรงกันข้าม

สวัสดีค่ะ คุณConductor

เป็นข้อสังเกตที่ดีมากค่ะ เพราะตัวพี่เอง ชอบฟังเพลงจังหวะเร็วๆนะคะ มากกว่าจังหวะช้าอีก

 เลยไม่ทราบว่า นี่จะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ใครๆบอกว่า  เป็นคนช่างสังเกตไหม แถมยังเรื่องมากอีกต่างหาก คือ ไม่ค่อยยอมจำนนหรือเชื่ออะไรง่ายๆ มักมี เอ๊ะ ทำไมๆๆๆ    หรือ ทำไม   เป็นอย่างนี้ ทำไมไม่เป็นแบบนั้นล่ะ อยู่เสมอค่ะ...

นี่สังเกตตัวเอง+คนอื่นวิจารณ์พี่ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

- แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้ค่ะ

- ไม่มีเหตุและผลว่าสิ่งใดเกื้อหนุนกัน แต่คนเป็นแม่ส่วนใหญ่ปรารถนาให้ลูกเป็นคนเก่ง ย่อมพัฒนาตามเขาว่า เขาเห็น เขาทดลอง ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยค่ะ

 

ลืมถามไป

เข้าใจว่าคุณConductor ชอบดนตรี และเล่นเก่ง เล่นอะไรคะ และมีใครในครอบครัวเล่นไหม เพราะถ้ามีใครในครอบครัวเก่งดนตรี ลูกจะเก่งไปด้วย อย่างที่มีการศึกษาเรื่อง  Perfect Pitch    น่ะค่ะ

 

สวัสดีครับ...

ตอนน้องดินยังซุกตัวนอนในท้องของเพื่อนชีวิต ... เวลานั่งรถไปด้วยกันผมมักจะเปิดเพลงลูกทุ่ง ฟังสบาย ๆ ให้เขาฟัง  จนโตมาเขาก็ชอบฟังลูกทุ่งและชอบเล่นเครื่องดนตรีประเภท แคน, ขลุ่ย, กลองยาว,  โหวต ฯลฯ ... ซึ่งออกแนว "อีสาน" ล้วน ๆ  แต่ทั้งปวงนั้นก็ไม่เคยซื้อเครื่องฟังเพลงมาให้คุณแม่ได้เปิดให้คุณลูกฟังอย่างสัมคมยุคใหม่ ...

.....

ก็น่าแปลกครับ..
น้องดินโตมาเห็นชัดว่าชอบเล่นดนตรี  โดยเพาะแคนมาตั้งแต่ขวบเศษ ๆ ..ชอบเอาจริงเอาจัง ซึ่งหมายความว่า  ชอบมาจนบัดนี้  แคนที่ซื้อให้ระยะแรกจะเล็ก ๆ ... จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ...จนบัดนี้ต้องซื้อแคนจริงมาให้เล่น ..

พฤติกรรมเช่นนี้, ...  ยืนยาวมาจนปัจจุบัน ขณะที่คนน้อง  ยังเอาแน่ไม่ได้  ซึ่งผมก็อดสงสัยอยู่เหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร ..

....

ทุกวันนี้น้องดินชอบเรียนคณิตศาสตร์มาก ... ผลการสอบคณิตศาสตร์จะออกมาเต็มตลอด  ซึ่งตรงกันข้ามกับผมอย่างสิ้นเชิง   และที่สำคัญก็คือ  แกค่อนข้างชอบวิชาวาดรูปมาก ..

นี่เป็นข้อมูลส่วนตัวที่น่าจะสัมพันธ์กับคำกล่าวที่ว่า  ดนตรีกับคณิตศาสตร์สัมพันธ์กันมากกว่า ดนตรีกับวิทยาศาสตร์ ...

หรือเปล่าครับ..

ปล.. ผมเรียนคณิตศาสตร์ไม่ได้เรื่องเลย...  และเล่นดนตรีไม่ได้สักชิ้น ,  ฟ้อนไม่เป็น ร้องเพลงไม่ได้ ...

4.   ระบบตอบสนองความเครียด + ภูมิคุ้มกัน   stress & Immune  Response  system

 

เสียงดนตรีช่วยบรรเทาและคลายเครียด  ทำให้สงบผ่อนคลายมีสมาธิ และเพิ่มภูมิคุ้มกันมีการหลั่งสารสุข ( endorphine ) 

และลดระดับ ฮอร์โมนเครียด ( cortisol ) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิด  ความจำ และสติปัญญา และป้องกันโรคสมอง  เช่น แอลไชเมอร์

 

          5. ระบบความจำ  ( Memory  system )

                   ดนตรีทำให้ความทรงจำดีขึ้น อย่างยิ่งถ้าได้เรียนตั้งแต่เด็กเล็ก โดยเฉพาะคำศัพท์ และการจำด้วยภาพ ( visual  memory )

 

พี่ศศินันท์ #7: คุณพ่อเล่นไวโอลินได้ ซึ่งผมเคยพยายามเมื่อตอนเป็นเด็ก แต่ไปไม่รอดครับ (คุณหนูเจ็บนิ้ว) ที่บ้านคุณแม่ฟังเพลงครับ เสียงดังเชียว

ตัวผม เล่นหลายอย่างครับ มีรางวัลระดับประเทศด้วย มี perfect pitch สามารถ transcribe โน๊ตดนตรีได้ (แต่มักจะเขียนไ่ม่ทัน) อ่านโน๊ตแล้วเล่นได้เลย และเรียนทฤษฎีดนตรีด้วย -- เลิกไปหลายสิบปีแล้วครับ ตอนนี้ไม่ได้แตะเครื่องดนตรีมาเป็นสิบปี ฝีมือคงคืนครูบาอาจารย์ไปหมดแล้วเพราะไม่ได้ซ้อมเลยครับ แต่ทฤษฎีดนตรีกับหูนักดนตรียังอยู่

ดนตรีช่วยพัฒนาสมอง

o ดนตรีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าในร่างกาย  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการไหลเวียนของเลือด   

       ชีพจร และความดันโลหิต  การหลั่งของฮอร์โมนและสารเคมีภายในรวมทั้งพลังของกล้ามเนื้อ

 

o    ดนตรีมีผลต่อสมองทั้งสองซีก  ไม่ใช่เฉพาะซีกขวาซีกเดียวอย่างที่เคยเชื่อกัน

  1.     o     ดนตรีพัฒนาการเรียนรู้ในด้านต่างๆ และความจำ

   เสียงดนตรีก่อให้เกิดการสร้างเส้นใยสมอง ( dendrites ) เพิ่มขึ้น ดนตรีกระตุ้นให้เกิด .....

 

   จินตนาการ  เชื่อมโยงความคิดเป็นภาพดนตรีเพิ่มการคิดจินตนาการที่เป็นเหตุผล  เรียกว่า  

 

   เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์  ( spartial   reasoning ) ซึ่งการคิดแบบนี้   น่าจะนำไปสู่พื้นฐานทางคณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์ และการคิดชั้นสูงต่อไป

  • สวัสดีครับ
  • ความเห็น ส่วนตัว ดนตรี = คณิตศาสตร์ ครับ
  • เรียนสายวิทย์มา คณิตศาสตร์ ก็คิดว่า คงพอใช้งานได้ระดับหนึ่ง
  • ผมบังเอิญเป็นกลุ่มที่หูอยู่ใน Perfect Pitch แต่ไม่ได้มีโอกาสหัดดนตรีแต่เด็ก ๆ หรือแม้แต่ตอนวัยรุ่น แต่ก็สามารถปรับเทียบเครื่องสายได้โดยไม่ต้องเทียบเสียงกับเครื่องดนตรีอื่น (แต่ไม่คุ้นกับระบบ โด เร มี ฟา !) อ่านโน๊ตไม่ค่อยเป็น แต่แกะเพลงได้เอง ถ้าเล่นแล้วเสียงหลุดคีย์ ก็จะรู้สึกได้
  • ผมมองว่า ดนตรี เหมือนกับคณิตศาสตร์ ในหลายประเด็น
  • ประเด็นแรก เป็นตัวที่มี มาตรบอกระดับ มีตัวเทียบเท่า มีการ mapping (จับคู่) ระหว่างหลายสิ่ง เช่น เล่นเสียงดนตรีคีย์หนึ่ง ก็คือ ทักษะมือ ที่เล็งตำแหน่งก่อเสียงแม่นยำ ทักษะหู ที่สามารถ feedback ป้อนกลับสมองว่า ถูกเสียงแล้วยัง ส่วนคณิตศาสตร์หลาย ๆ แขนง ก็เป็นเรื่องของการจับคู่ เช่น แก้สมการพีชคณิต ก็เป็นการ mapping ระหว่างโจทย์เดิม (คำถาม) ให้อยู่ในรูปของโจทย์ใหม่ (คำตอบ) เพราะในหลักการแก้สมการนั้น ในคำถาม มีคำตอบอยู่แล้วในตัว หรือการใช้เทคนิควิธีคำนวณเชิงตัวเลข ก็เป็นการจับคู่ระหว่างโจทย์ และเครื่องมือในการแก้ปัญหา
  • ประเด็นที่สอง เสียงดนตรีที่ไพเราะ ไม่ต่างจากระบบเลขจำนวน ที่เป็นเสียงแบบเป็นขั้นเหมือนเลขจำนวนเต็ม และแทรกด้วยเศษส่วนย่อยของระดับเสียง (ลองที่ที่สายกีตาร์ ตำแหน่งจุด เป็นเสียงเมเจอร์ ก็เหมือนเลขจำนวนเต็ม แล้วเสียงไมเนอร์ที่คั่น ก็อาจแตกย่อยได้ เป็นระบบเศษส่วน) โดยความสัมพันธ์เป็นไปตามแบบฮาร์โมนิกฟังก์ชัน คนที่หูเป็น Perfect Pitch ก็คือหูสามารถล็อคเสียงได้สอดคล้องกับระบบนับแบบฮาร์โมนิกได้
  • ประเด็นที่สาม ความสามารถสร้างสมมาตร และความสวยงาม ในการรับรู้ของสมอง ว่ามีสมมาตร มีความเป็นระเบียบ พอ ๆ กัน เวลาแก้สมการออก เวลาได้ยินดนตรีไพเราะเพลงใหม่ ความรู้สึก ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ (ผมเคยตีพิมพ์งานวิจัย ที่นำเสนอสมการที่แก้ปัญหาวิจัยได้ ตอนคิดออก เป็นความรู้สึกอิ่มลึก ๆ ไม่ต่างจากการได้ฟังดนตรีที่เล่นดี)
  • ประเด็นที่สี่ ดนตรีร้าย ๆ และสมการร้าย ๆ ทำร้ายความรู้สึกของผู้ยลและยิน ได้ทัดเทียมกัน
  • ด้วยเหตุดังนี้ การจะกล่าวว่า ดนตรีเป็นเหตุ คณิตศาสตร์เป็นผล หรือ คณิตศาสตร์เป็นเหตุ ดนตรีเป็นผล จึงเป็นการตั้งประเด็นที่ทำให้งง เพราะจริง ๆ แล้ว ดนตรี และ คณิตศาสตร์ คือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่จะผ่านอายตนะรับรู้ใดเท่านั้นเอง

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้อย

ดีใจที่มาเยี่ยมค่ะ และที่บอกว่า....คนเป็นแม่ส่วนใหญ่ปรารถนาให้ลูกเป็นคนเก่ง ย่อมพัฒนาตามเขาว่า เขาเห็น เขาทดลอง ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยค่ะ

นั่นคือสิ่งที่ คนเป็นแม่ทุกคนคิดและทำเพื่อลูกค่ะ

ดิฉันเอง ให้ลูกเรียนดนตรีตั้งแต่ 5 ขวบเศษ พร้อมๆลูกพี่ลูกน้องของเขา ซึ่งพี่ใหญ่นำทีมคือ ดร.จิรเดชฯ ในปัจจุบัน 

หลานชายคนที่มีพรสวรรค์ทางดนตรีมากๆ ที่กล่าวถึงในบันทึก น่ะค่ะ  เล่านิดนึงว่า เขาไปประกวดเล่นดนตรีที่ต่างประเทศ ได้รางวัลเสียจน เขาห้ามเข้าประกวดอีก เสียใจใหญ่ เหมือนนักมวยไม่ได้ขึ้นเวที ไม่สนุกเลย แต่พอไปอยู่ต่างประเทศ สนุกมาก ได้เล่นตลอด

ไปเรียนต่างประเทศ มีรายได้เอง พ่อแม่ ไม่ต้องส่งเงินเลย เพราะที่อเมริกา อาชีพนักดนตรีรุ่งเรื่องกว่าบ้านเรามาก

แต่ถ้า ถามว่า เด็กหัวสมองดีขึ้นไหม ดิฉันตอบไม่ได้เต็มปากค่ะ เพราะลูกชายชอบเรียนคณิตศาสตร์อยู่แล้ว ถึงไม่เรียนดนตรี ก็น่าจะยังเรียนได้ดีอยู่

แต่ที่แน่ๆคือ ทำให้มีสมาธิมากขึ้น การเคลื่อนไหวนิ้วมือรวดเร็วคล่องแคล่ว  สมองซีกซ้ายขวา ทำงานเร็ว และสัมพันธ์กันดี เขาเล่นเปียโนค่ะ และความจำดี เพราะเล่นโดยไม่ดูโน้ตได้เป็นเพลงๆเลย

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า พอเข้ามหาวิทยาลัย เด็กจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เล่นดนตรีบ่อยๆแล้ว  เพราะไม่มีเวลาซ้อมเลย พอไปต่อเพลงกับครู ก็โดนต่อว่าทุกที เลยราข้อกันไปหมด แค่เล่นเวลาว่างๆเท่านั้นค่ะ

แล้วเรื่องดนตรี พอไม่ได้เล่นนานๆ นิ้วจะแข็ง แต่ไม่ลืมโน้ตค่ะ และยังชอบเพลงอย่างสม่ำเสมอมาจนบัดนี้ค่ะ

o           ดนตรีกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการด้านภาษา  เพราะดนตรีมีการจัดระบบคล้ายภาษา

o              ไอน์สไตน์ เรียนไวโอลินก่อนอายุ  6   ขวบ

 

       ดนตรีในช่วงวัยเด็ก  จะช่วยสร้างพื้นฐานของระบบประสาทเกือบทั้งหมด ช่วงอายุตั้งแต่แรก

        เกิดจนถึง  12  ขวบ 

จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ โดยเฉพาะ 0 6  ขวบ 

    สมองเด็กจะเจริญเติบโตเร็ว ( = 80% ของผู้ใหญ่ ) จะทำให้เด็กเจริญเติบโตอย่างโดดเด่น

ไม่ว่าด้านภาษาดนตรีศิลปะและคณิตศาสตร์  โดยเฉพาะกีฬา  ต้องฝึกฝนตั้งแต่เด็กเล็ก

 

o              ทารกเคลื่อนไหวตามเสียงเพลงตั้งแต่ อายุ 4  เดือน  เด็กทารกมีประสบการณ์ ด้านดนตรี ตั้งแต่

   ได้ฟังเพลงกล่อมเด็กมาแล้ว

 

Mozart  Effect  :       ดร.อัลเฟรด   โทมาทิส  ( 1950 ) เป็นคนแรกที่นำบทเพลงของโมสาร์ทมา  ทดลองกับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้  และแสดงให้เห็นว่าการฟังดนตรีคลาสสิกจะช่วยเพิ่มพูนความจำสติปัญญา และศักยภาพของสมอง 

โดยเฉพาะบทเพลง  sonata  for  Two  Pianos  in  D major  K 44 ของโมสาร์ท  ซึ่งมีจังหวะซ้ำอย่างสม่ำเสมอทุก  20 30  วินาที  ซึ่งตรงกับความยาวของคลื่นสมอง

 

o              ดนตรีจากธรรมชาติ  ( natural  sound , green  music ) เช่น เสียงนก  เสียงคลื่นจมน้ำไหล ฯลฯ

   ซึ่งมีคลื่นเสียงใกล้กับคลื่น  แองฝ่าของสมอง  ทำให้เกิดสมาธิ  ผ่อนคลาย  เพิ่มภูมิคุ้มกัน และ ใช้ในการบำบัดได้

ตอนนี้เป็นบทความที่เกี่ยวกับเรื่องคลื่นเสียงของคุณหมอวิจิตรฯค่ะ

คลื่นเสียงมี  2  ลักษณะ  คือ

          1.  ความถี่ ( frequency )   =   จำนวนของช่วงคลื่นในเวลา   1   นาที

                                       หน่วยความถี่  =  Herth  ( Hz )

                                       เสียงที่คนรับรู้ได้อยู่ในช่วง  20 20,000 Hz

          2. ความสูง  ( amplitude )  =  ความดัง

                                      หน่วยความดัง   =   เดซิเบล

          ความช้าเร็วของจังหวะดนตรีอยู่ระหว่าง  50 120 BPM  ( Beat  Perminute ) 

          อัตราความเร็วที่จังหวะที่ฟังแล้วรู้สึกสบายอยู่ระหว่าง  60 80  BPM

          คลื่นเสียงดนตรีที่มีอิทธิพลกระตุ้นสมองส่วนต่างๆ

          1. ดนตรีประเภทเบส  เครื่องเคาะจังหวะ     กระตุ้นก้านสมองและไขสันหลัง

          2. ดนตรีประเภทเครื่องเป่า  เครื่องสาย        กระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ ( limbic  system )

          3. ดนตรีประเภทเครื่องสาย เสียงสูง  พิณ  ออร์แกน ระฆัง  กระตุ้น neo - cortex

เสียงเปียโน    =   กระตุ้นสมองทุกส่วน  เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นโน้ตได้ครั้งละหลายๆ ตัว

 

เรื่องของคลื่นสมอง   

 เซลล์สมองมีประมาณ  1  แสนล้านเซลล์ แต่ละเซลล์

สร้างกระแสไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้นซึ่งรวมกัน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  คือ คลื่นสมอง  ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ

          1. เคลต้า  ( 1 4  รอบ / วินาที )            =  ภาวะหลับลึก

          2. เทตร้า  ( 4 7 รอบ / วินาที )            =   ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น  ทำให้เกิด

ความคิดสร้างสรรค์ , การหยั่งรู้ (insight )

          3. แอลฟ่า  ( 8 12  รอบ / วินาที )     =      ภาวะร่างกายจิตใจสงบผ่อนคลายเป็นภาวะที่ เหมาะสมกับการเรียนรู้ รับข้อมูล

          4. เบต้า  ( 12 25 รอบ / วินาที )          =   ภาวะตื่นตัวมาก  เช่น ทำกิจกรรม  เล่นกีฬา

o   ขณะที่เราสบายใจ  อามรณ์ดี  จะมีคลื่นสมองต่ำ  ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว

การทำสมาธิจึงถูกนำมาใช้ฝึกให้คลื่นสมองต่ำ 

 เพียงแต่เปิดเพลงเบาๆ  เสียงต่างๆ ผ่านอวัยวะมีรูปร่างคล้ายก้นหอย  ( cochlesr ) ในหู 

 ภายในนั้นมีเซลล์ประสารทรับรู้เสียง  ประมาณ 30,000  ตัว  คอยแยกแยะความถี่ของคลื่นเสียง  และส่งข้อมูลไปยังก้านสมอง  ต่อไปยังศูนย์ข้อมูลที่เปลือกสมอง ((auditory  cortex )

 และยังมีส่วนสมองเกี่ยวกับเสียงอีก  12  ส่วนกระจายอยู่ในเปลือกสมอง ทั้ง  2  ซีกทำงานประสานกันเมื่อได้ยินเสียงดนตรี

 

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

ตัวเองเป็นคนชอบคณิตศาสตร์มาก ทำได้ดีพอควร ส่วนเรื่องเครื่องดนตรีนั้นเล่นอะไรแบบนักดนตรีไม่ได้สักอย่าง แต่ที่ทำได้ดี(กว่า)คือร้องเพลง เป็นคนที่ฟังเพลงแล้วจับได้ว่าเพี้ยนหรือไม่เพี้ยน ใครร้อง/เล่นดนตรีตรงคีย์หรือไม่ แต่แบบนี้คงไม่ใช่ perfect pitch 

ตอนเด็กๆ พ่อแม่เคยให้เรียนกีตาร์ คีย์บอร์ด แต่ก็เอาดีไม่ได้สักอย่าง ดูตัวโน็ตเป็นแต่ transcribe ได้ช้า คงเป็นเพราะไม่ได้ฝึกเนี่ยแหละค่ะ ^ ^ 

แลกเปลี่ยนเล่าให้ฟังค่ะ ^ ^

 

ตามมาจากokaynation มาอ่าน ได้ความรู้ดีมาก ไม่รู้มาก่อนเลย และขอบคุณที่ไปเยี่ยมและอ่านที่บล็อกผม

P

Sasinanda

 

บันทึกนี้ น่าสนใจยิ่งสำหรับอาตมา เพราะตอนเด็กๆ ชอบคณิตศาสตร์ แม้พยายามหัดดนตรีอยู่บ้าง ก็ไปไม่ถึงไหน (คงทำนองเดียวกับอาจารย์ กมลวัลย์ ... แต่อาตมาร้องเพลงก็ไม่เป็น ตอนวัยรุ่น เมื่อถูกบังคับให้ออกกลางที่ประชุมชน มักจะขออนุญาตเปลี่ยนจากร้องเพลงเป็นเล่านิทานแทน...)

ตามที่คุณโยมว่ามาและความเห็นอื่นๆ... นับว่ายังชี้ชัดไม่ได้ว่า อย่างไหนเป็นเหตุหรือเป็นผลกันแน่... ทำให้อาตมานึกถึงคาถาหนึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

  • ผลอย่างเดียว มาจากเหตุอย่างเดียว ก็มิใช่
  • ผลอย่างเดียว มาจากเหตุหลายอย่าง ก็มิใช่
  • ผลหลายอย่าง มาจากเหตุอย่างเดียว ก็มิใช่
  • แต่หลักการในการอธิบายว่า ผลอย่างเดียวมาจากเหตุอย่างเดียว มีอยู่

เมื่อถือเอาตามนัยนี้ การที่เราจะถือว่า ความสามารถทางคณิตศาสตร์มีสาเหตุมาจากความสามารถทางดนตรี จึงอาจเลือนลอยเกินไป... เพราะอันที่จริง ความสามารถทางคณิตศาสตร์อาจมาจากสาเหตุหลายอย่าง และความสามารถทางดนตรีก็อาจเป็นสาเหตุของอะไรๆ อีกหลายอย่าง... ประมาณนี้

เจริญพร

สวัสดีค่ะ คุณพี่ศศินันท์

คิดว่าดนตรีน่าสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ เพราะมีตัวอย่างของครอบครัวที่นี่ ซึ่งเก่งคณิตศาสตร์และยังเก่งดนตรีอีกด้วย ซึ่งก็ไม่เคยนึกถึง นำมาคิดจับคู่กัน เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพนัส แผ่นดิน

น้องดินโตมาเห็นชัดว่าชอบเล่นดนตรี  โดยเฉพาะแคนมาตั้งแต่ขวบเศษ ๆทุกวันนี้น้องดินชอบเรียนคณิตศาสตร์มาก ... ผลการสอบคณิตศาสตร์จะออกมาเต็มตลอด 

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างนึงนะคะ ที่แสดงว่าดนตรีที่ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง มีผลจริงๆ หลานพี่เอง คุณปู่ เลือกเทปเพลงเย็นๆสบายๆให้แม่เด็กฟัง ตั้งแต่ยังไม่คลอดเหมือนกัน ฟังซะหลายเดือนเลย

 และเมือคลอดมาแล้ว ก็ยังเปิดเพลงกล่อมเด็กนอนให้ฟังทุกครั้งที่นอน จนบัดนี้ค่ะ   ปรากฏว่า หลานชอบเพลงเช่นกันค่ะ แต่ตอนนี้ยังเด็กเกินไปที่จะทราบว่า เขาเรียนเลขได้ดีไหม เพิ่งอายุ 20 เดือน

นำภาพเครื่องดนตรีของโบลิเวียมาให้ดู มีแคนคล้ายๆบ้านเราเลยค่ะ

Bolivian%20instruments

อย่างที่คุณ Conductor เล่า

คุณต้องมี perfect pitch จึงจะสามารถสามารถ transcribe โน๊ตดนตรีได้ 

จำได้ว่า ลูกชาย ตอนเด็กๆเริ่มเรียนดนตรีใหม่ๆ

 ฟังคนมาร้องเพลงที่ทีวี เขาหันมาบอกว่า คนนี้ร้องผิดคีย์นะแม่ 

จึงคิดว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่เราจะสนับสนุนให้เด็กเรียนดนตรี  ซึ่งจะต้องมีทฤษฎีดนตรีด้วยแน่นอน  และเป็นการฝึกให้เขามีหูนักดนตรีด้วย

แต่ก็นึกขึ้นมาได้อีกว่า น้องชายก็ชอบดนตรีมากและเล่นกีต้าร์วงของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยด้วย และยังเล่นกีต้าร์อยู่จนบัดนี้ ยามว่าง หูไม่ค่อยจะว่างจากเสียงเพลงเลยค่ะ เรียกว่า ดนตรีอยู่ในสายเลือด

แต่เขาไม่ได้เก่งคณิตศาสตร์ค่ะ เรียนพอปานกลาง จึงเป็นเหตุให้เรายังสรุปไม่ได้ค่ะว่า คนเล่นดนตรีเก่ง ต้องเก่งคณิตศาสตร์นะคะ

  • ก้าบๆๆๆ
  • อ่านแล้วรู้สึกว่าตัวเองเป็นเป็ด
  • สวัสดีครับแวะมาอ่านครับ

สวัสดีครับ คุณพี่ศศินันท์ 

           ขออนุญาต ลปรร ด้วยครับ

             ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับคณิตศาสตร์  ผมขออนุญาตเล่าให้ฟังตามประสบการณ์ครับ  เป็นประสบการณ์ง่ายๆ ครับ ไม่ได้อิงทฤษฎีอะไร

         คือ ผมว่าดนตรีเป็นเหตุ  คณิตศาสตร์เป็นผลครับ

        จากประสบการณ์ที่ผมเป็นผู้บริหารโรงเรียน แล้ว ผมให้เด็กเล่นดนตรีไทย  พบว่าเด็กที่เล่นดนตรีเก่ง  มีผลทำให้คะแนนคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าเดิมครับ  (จากเดิมที่เรียนคณิตศาสตร์อ่อน  พอมาเล่นดนตรีแล้ว  เรียนคณิตศาสตร์ดีขึ้น)

       เพราะการเล่นดนตรีช่วยให้มี   สมาธิ   และ  ความภาคภูมิใจ

       สมาธิ และ ความภาคภูมิใจ  คือ หัวใจของการเรียนรู้

       เป็นทฤษฎีง่ายๆ ตามความรู้สึกของผมเอง

                                           ขอบคุณครับ

         

สวัสดีค่ะคุณwwibul

ดีใจจังที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากคนที่ชอบคณิตศาสตร์ตัวจริง เสียงจริง อิๆๆ....

คุณวิบุลแสดงข้อเปรียบเที่ยบว่า ดนตรีกับคณิตศาสตร์เหมือนกันอย่างไรบ้างไว้หลายประเด็น แบบผู้รู้จริงๆ ขอบคุณมากๆๆค่ะ

  • ผมมองว่า ดนตรี เหมือนกับคณิตศาสตร์ ในหลายประเด็น
  • ประเด็นแรก เป็นตัวที่มี มาตรบอกระดับ มีตัวเทียบเท่า มีการ mapping (จับคู่) ระหว่างหลายสิ่ง
  • ประเด็นที่สอง เสียงดนตรีที่ไพเราะ ไม่ต่างจากระบบเลขจำนวน ที่เป็นเสียงแบบเป็นขั้นเหมือนเลขจำนวนเต็ม และแทรกด้วยเศษส่วนย่อยของระดับเสียง
  • ประเด็นที่สาม ความสามารถสร้างสมมาตร และความสวยงาม ในการรับรู้ของสมอง ว่ามีสมมาตร มีความเป็นระเบียบ พอ ๆ กัน
  •  
  • ประเด็นที่สี่ ดนตรีร้าย ๆ และสมการร้าย ๆ ทำร้ายความรู้สึกของผู้ยลและยิน ได้ทัดเทียมกัน
  • ด้วยเหตุดังนี้ การจะกล่าวว่า ดนตรีเป็นเหตุ คณิตศาสตร์เป็นผล หรือ คณิตศาสตร์เป็นเหตุ ดนตรีเป็นผล จึงเป็นการตั้งประเด็นที่ทำให้งง เพราะจริง ๆ แล้ว ดนตรี และ คณิตศาสตร์ คือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่จะผ่านอายตนะรับรู้ใดเท่านั้นเอง
  • ค่ะ ที่ตั้งประเด็นนี้ ก็เพราะว่า เราเริ่มตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้อง ใครๆก็บอกว่าให้ลูกฟังดนตรีเลย สมองจะได้พัฒนาเร็วๆและฉลาดๆ

    พอคลอดออกมา พ่อแม่ ก็ให้เด็กฟังเพลงกล่อมเด็กทุกครั้งที่จะนอน

    พอโตขึ้นหน่อย พ่อแม่ก็ไปสรรหา เทปเพลง แผ่นซีดีฯลฯ มาเปิดให้ลูกฟัง พาไปเข้า Play Group ต่างๆซึ่งมีการร้องเพลง มีเต้นสนุกๆ เพื่อให้เด็กสนุกสนาน อารมณ์ดี มีการเรียนรู้ผ่านการเล่น ให้เกิดจินตนาการ และที่สำคัญ เพื่อให้สมองเด็กพัฒนาเร็วและเพื่อให้ฉลาดขึ้น โดยเฉพาะ มุ่งหวังจะให้ลูกเก่งทางคณิตศาสตร์

    จึงมีคำถามออกมามากค่ะว่า อะไรเกิดก่อนหลังกันแน่ ระหว่างดนตรี จะช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์ มีไอคิวดี กับการที่ลูกไอคิวดี เก่งเลข เลยทำให้เล่นดนตรีเก่ง

    เรื่องนี้ดิฉันไปถามความเห็นคุณหมอวิจิตรฯค่ะ ว่ามีความเห็นอย่างไร  ( ถามง่ายค่ะ อยู่บ้านเดียวกัน อิๆๆ)

    คุณหมอบอกว่า..

    1.ดนตรีมีโครงสร้าง เหมือนกับคณิตศาสตร์  ความสามารถในด้านดนตรีและคณิตศาสตร์สัมพันธ์กัน เพราะทั้งสองใช้ตรรกในลักษณะเดียวกัน โน้ตดนตรีประกอบด้วยตัวเลขและแบบแผน และการมองเห็นเข้าใจแบบแผนนั้นเป็นลักษณะหนึ่งที่พัฒนามาจากคณิตศาสตร์

    2.ส่วนประเด็นว่า อะไรเป็นเหตุ อะไร เป็นผลกันแน่

    มันอยู่ที่การเริ่มต้น ว่าเริ่มต้นตรงไหน คือ เมื่อเด็กยังเล็กอยู่ เขายังเรียนเลขไม่ได้ เราต้องเริ่มต้นวางรากฐานสมองด้านคณิตศาสตร์ด้วยเพลงก่อน ดังรายละอียดที่กล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อถึงวัยเรียน เด็กจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น

    3.แต่สำหรับเด็กโตที่เรียนคณิตศาสตร์แล้ว--ชั้นประถม---การพาไปเรียนดนตรี จะช่วยทำให้การเรียนคณิตศาสตร์ดีขึ้น เก่งขึ้น สมองพัฒนามากขึ้น

    4.สำหรับเด็กที่เก่งดนตรี แต่เรียนคณิตศาสตร์ไม่ค่อยเก่งนั้น ปัญหาอยู่ที่ เขาไม่ชอบเรียนวิชานี้ ถ้าเขาชอบ เขาจะเรียนได้ดี คือคนเรา ยังมีเรื่องของความชอบมาเกี่ยวข้องด้วยค่ะ

    5.กรณีที่บางคน เช่น หลานดิฉัน ที่มี perfect pitch ติดตัวมาเองนั้น

    เป็นเรื่อง กรณี ยกเว้น เหมือนเป็นพรสวรรค์ จะเกิดขึ้นกับบางคน ไม่มากนัก เพราะperfect pitch ส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้ และฝึกฝนภายหลัง  (ว่ากันว่า Mozart มี Perfect Pitch แต่ Schumann และ Wagner ไม่มี)

    ค่ะ ทั้งหมด เป็นความเห็นของคุณหมอวิจิตรฯค่ะ ในส่วนตัวคุณหมอเอง ชอบเพลงมาก ร้องเพลงเก่ง และเล่นดนตรีได้ดีค่ะ

    ทีนี้ คุณหมอเล่าว่า ได้อ่านนานแล้ว จำไม่ได้ว่า จากหนังสือเล่มไหนว่า.....

    มีงานวิจัยที่เอาสมองของคนที่มี Perfect Pitch 11 คน มาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มี 19 คน โดยทั้งหมดเป็นนักดนตรีคลาสสิค ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจคลื่นสมอง(MRI"S-Magnetic Resonance Images) ก็พบว่าในสมองของคนที่มี Perfect Pitch จะมีส่วนของสมองที่เรียกว่า Planum Temporale ในสมองซีกซ้ายใหญ่กว่าส่วนเดียวกันในซีกขวาของเขาประมาณ ร้อยละ 40

    เราก็ทราบไว้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณานะค่ะ

    "ดนตรี" ของดีของว่าที่คุณแม่

    จาก มติชน  วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10946

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกคนคำนึงถึงสิ่งสำคัญที่สุด

    คือ การพัฒนาการของเด็กในครรภ์ ที่ผ่านมามีการวิจัยว่าดนตรีมีส่วนสำคัญช่วยให้ทารกมีวิวัฒนาการที่ดี โดยเริ่มให้ฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นคนใจเย็น เรียนดี และชื่นชอบดนตรี

    ดร.แพง ชินพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีสำหรับเด็ก บอกว่า ดนตรีมีบทบาทสำคัญมากต่อเด็ก ถือเป็นทางลัดช่วยเสริมสร้างการพัฒนาด้านร่างกายและสมองให้เรียนรู้สิ่งรอบตัวได้รวดเร็วแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ที่กำลังรู้สึกตึงเครียดมีความรู้สึกผ่อนคลายเวลาได้ฟังดนตรีพร้อมกับทารกในครรภ์

    "คุณพ่อคุณแม่อาจยังกังวลว่าการเริ่มให้ลูกฟังดนตรีขณะอายุครรภ์กี่เดือน

     ความเหมาะสมในช่วงการตั้งท้องและเริ่มเปิดเพลงที่คุณแม่ชื่นชอบฟังแล้วสบายใจพร้อมกับลูกรับรู้ด้วยควรเริ่มในช่วงตั้งท้อง 5 เดือน

     เนื่องจากขณะนั้นทารกมีอวัยวะครบทุกส่วนร่างกายสมบูรณ์แล้ว รับรู้การได้ยิน

    สิ่งสำคัญอีกหนึ่งเรื่อง คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเพลงที่จะเสริมสร้างสมองให้ลูกต้องเป็นเพลงของโมซาร์ทเท่านั้น

     ความจริงแล้วคุณแม่สามารถฟังเพลงได้ทุกประเภทที่ชอบ อาจจะเป็นบทสวดมนต์ เพลงไทยเดิม หรือดนตรีที่มีโน้ตจากเครื่องดนตรีประเภทใดประเภทหนึ่ง เนื่องจากหากคุณแม่มีความสุขทารกที่อยู่ภายในครรภ์จะได้รับความสุขด้วย"

    ด้าน ดร.สุพรพร เทพยสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย บอกว่า

     การสังเกตว่าลูกมีการตอบสนองหรือไม่นั้นเวลาที่คุณพ่อหรือคุณแม่เปิดดนตรีให้ลูกฟัง หากเป็นเพลงที่ฟังง่ายๆ สบายๆ ทั้งคุณแม่จะผ่อนคลาย

    หากเป็นเพลงที่มีจังหวะเร็ว เด็กจะดิ้นแรงมีปฏิกิริยาตอบสนอง โดยคลื่นเสียงช่วยปรับให้สมองมีการพัฒนาด้านดีด้วยดนตรี

    เราพูดถึง Mozart กันบ่อยๆ เรามาดูเรื่องของเขาหน่อยนะคะ

    Mozart   มีหลายชื่อแต่ปัจจุบันเรียกว่า Wolfgang Amadeus

    Mozart

    ตอนเกิดนั้นมีถึง 5 ชื่อเรียงกันตามประเพณีของชาวคาทอลิก ในสมัยนั้น 2 ชื่อแรกเป็นชื่อของนักบุญ ชื่อที่สามคือ Wolfgangus ชื่อที่สี่เรียกกันบ้างว่า Amadeus (ภาษาละติน) Gottlieb (เยอรมัน) และ Amade (ฝรั่งเศส) และชื่อที่ห้าคือ Mozart

    มีภาพยนตร์ประวัติชีวิตของ Mozart เมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้วชื่อเรื่อง Amadeus Mozart เก่งดนตรีมากมาตั้งแต่ยังเด็ก ตอนอายุ 3 ขวบ ความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของเขาก็ฉายแสงออกมาแล้ว พ่อเขาผู้เป็นนักดนตรีเอกคนหนึ่งของยุโรปเป็นผู้สอนดนตรีให้เขาอย่างเข้มข้นตั้งแต่ยังเล็กๆ

    Mozart เกิดใน ค.ศ.1756 (ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง) ในเมือง Salzburg ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้อย่างยิ่ง ในปี2006 เป็นปีแห่งการฉลองวันเกิดครบ 250 ปีของ Mozart

    ปีนี้มีการฉลองกันทั้งปีด้วยการแสดงดนตรีในเมืองนี้ และอีกหลายเมืองในออสเตรีย และทั่วโลก นักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลเข้าไปเที่ยวเมือง Salzburz กันมากมายเพื่อฟังดนตรี ดูสถานที่เกิด และซื้อของที่ระลึกที่มีอยู่ทุกรูปแบบ

    เขาเป็นเด็กอัจฉริยะทางดนตรี เขาเล่นดนตรีเก่งมาก สามารถปิดตาเล่นเปียโนเพลงที่ยากๆได้

    เมื่ออายุ 26 ปีก็แต่งงาน มีลูก 6 คน ตายตอนเด็กเสีย 4 คน ลูกชาย 2 คนที่เหลือรอดมาก็ไม่มีแววของเขาเลย และทั้งสองไม่มีลูกสืบสกุลด้วย ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อสายของเขาเหลือเลย

    Mozart เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสุดยอดคนหนึ่งของนักแต่งเพลงคลาสสิคมายาวนาน

    แต่ปัจจุบันเขาดังกว่าเดิม เพราะคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ดนตรีของเขามีผลกระทบในด้านบวกต่อสุขภาพจนเกิดคำว่า The Mozart Effect

    ในปี 1991 นักวิจัยชาวฝรั่งเศลชื่อ Dr.Alfred Tomatis เป็นผู้เปิดประเด็นผลกระทบของดนตรีของ Mozart ต่อสุขภาพและถูกทำให้รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นโดย...

     Don Cambell ในหนังสือที่อ้างว่าเพลงของ Mozart (โดยเฉพาะประเภทที่เรียกว่า Piano Concerto) ทำให้ IQ สูงขึ้น และมีผลกระทบในด้านบวกต่อการทำงานของประสาท

    Totmatis ผู้ทำงาน 30 ปีกับเด็กที่มีปัญหาในด้านการเรียนรู้ และผู้ใหญ่ที่มีอาการซึมเศร้า พบว่าการเปิดเพลง Mozart ให้ฟังช่วยรักษาได้เป็นอย่างดี (โปแลนด์ปัจจุบันใช้วิธีการของเขาในการรักษาของศูนย์บำบัดทั่วประเทศ)

    วลี The Mozart Effects มาจากสื่ออเมริกัน

     ซึ่งรายงานบทความในปี 1993 ของ Francecs H. Rauscher และ Gordon Shaw ว่าการฟังเพลงของ Mozart (ประเภท Piano Sonata เช่น เพลง Sonata in D Major for Two Pianos)

    ทำให้คะแนนจากการทดสอบเพื่อวัดความมีเหตุผลในเรื่องการจัดพื้นที่ว่าง (space reasoning เช่น ในเรื่องการเขียนภาพ ออกแบบ จัดสวน วางผัง) สูงขึ้นชั่วคราว  ซึ่งเท่ากับว่าทำให้ IQ สูงขึ้น 8-9 แต้ม

    มีคำถามว่า เพลงของเขาพิเศษกว่าคนอื่นตรงไหน

    ผู้ที่สนับสนุนโมสาร์ทบอกว่า.....ตรงที่มันฟังแล้วน่าสนใจ

     และมีแบบแผนของจังหวะของเพลงที่สม่ำเสมอ และคลื่นสมองของมนุษย์นั้นชอบตรงนี้แหละ

    บางเพลงของ Bach, Mendelssohn และ Haydn ก็คล้ายกัน แต่ของ Mozart นั้นจะซ้ำอย่างสม่ำเสมอทุก 20-30 วินาที ซึ่งตรงกับความยาวของคลื่นสมอง และประสาทส่วนกลาง

     

    Mozart

    Works, musical style, and innovations

    เชิญ down load เพลงบางเพลง ของเขาได้ที่นี่ค่ะ

    สวัสดีค่ะ ดิฉันอยากได้ ความอ่อนหวาน อ่อนโยน และความสุขใจ จากดนตรีค่ะ และประการสำคัญทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านจิตใจ
    สวัสดีค่ะ ดิฉันได้รับคำแนะนำมา ถึงจะยังพิสูจน์อะไรไม่มากนัก แต่ดิฉันก็ให้ลูกฟังเพลงแนวคลาสสิคไว้ก่อนค่ะ จะทำให้ลูกอารมณ์ดี ใจเย็น เรียนเก่ง
    สวัสดีค่ะ ตามมาอ่านรายละเอียด จากลิงค์ที่ให้ไว้ ที่วิชาการ นะคะ และโหวตให้แล้วด้วยค่ะ
    • สวัสดีค่ะ คุณพี่ศศินันท์..

    เหมือนเคยได้อ่านหนังสือ หรือคุณครูบอกมาตั้งแต่เด็กนี่ล่ะ ว่าสมองของคนเรามีสองซีก  ซีกซ้าย=เหตุและผล  ซีกขวา=จินตนาการ     บางคนก็ว่าคนที่เก่งคณิตศาสตร์มักจะไม่ค่อยถนัดเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะเชิงสร้างสรรค์   หรือศิลปินมักจะไม่เก่งเรื่องของการคิดคำนวณ    เกี่ยวกันไหมคะ?

    และทำไมไอนสไตน์ ผู้ที่ค้นคิดทฤษฎีสัมพันธภาพยังเป็นนักศิลปะ-ดนตรีได้ล่ะ?

     

    ดิฉันสนใจ การเรียนที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ค่ะ ลุกสาวชอบดนตรีมาก คิดว่าจะไปติดต่อค่ะ ไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อน เพิ่งทราบที่นี่ ขอบคุณค่ะ

    เป็นข้อสังเกตุของผมเองนะครับ ไม่มีหลักฐานงานวิจับยืนยัน ผมสนับสนุนลูกสาวเรียนเปียโนตั้งแต่เด็ก เห็นเขาชอบก็ตัดใจซื้อให้ เธอก็ชอบเล่นอยู่ครับ เพราะเข้าโรงเรียนดนตรี ไม่ได้สังเกตเรื่องเลข แต่เรื่องภาษาเธออยู่ในระดับดีมากเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมรุ่นร่วมห้อง และเป็นต่างจังหวัด จนเราสนับสนุนเธอไปเรียนโรงเรียนสองภาษา และไปเรียนไฮสคูลที่ NZ

    คุณแม่ของเธอชอบอ่านนิยาย สกุลไทย และดูนิยายประเภทเน่าแล้วเน่าอีกน่ะ แต่เธอก็เก่งภาษา ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันไหมครับ

    ตามคุณบางทรายมา

    เป็นข้อสังเกตส่วนตัวเช่นกันค่ะ anecdote ล้วนๆ

    มัทเล่นดนตรี (ทั้งไทยและสากล)

    คิดว่าการเล่นดนตรีทำให้สมองปลอดโปร่งและเป็นระเบียบค่ะ

    "รู้สึก"ว่าเล่นดนตรีแล้วอ่านหนังสือเข้าใจเร็ว จำง่าย

    แต่ก็ยังไม่ทำให้ชอบเลขอยู่ดี (ยกเว้น geometry) ไม่ทำให้เก่งเลขขึ้นด้วย

    รู้ตัวเลยว่าเข้าใจอะไรที่เป็น ภาพหรือตัวอักษรได้เร็วกว่าสูตรคณิตศาสตร์

    (ส่วนภาษาและวิชาวิทยาศาสตร์(ยกเว้นเคมี) มัทชอบหมดค่ะ)

    แต่แปลกนะคะ มัทชอบเรียนเรื่องความมหัศจรรย์ของเลข เช่น ค่า Phi หรือ ค่า golden ratio (Fibonacci) หรืออะไรเทือกนี้ ตอนเรียนจบแล้วหาหนังสือเรื่องความเป็นไปได้ เรื่องสถิติมาอ่านเอง มีความสนใจ แต่ไม่ชอบเรียนตอนที่ต้องถูกจับไปสอบอ่ะค่ะ!

    มัทเล่นเปียโน และ ดนตรีไทยเกือบทุกชิ้น ที่ชำนาญที่สุดคือเครื่องตี ฟังเพลงแล้วแกะโน๊ตได้ ต่อเพลงด้วยการ"ฟัง"และ"มอง"ตามที่ครูนำได้เร็วกว่าการอ่านโน๊ตเอง

    ถ้า sight reading ได้ด้วย รึเปล่าค่ะถึงจะเก่งเลข

    เพราะคนที่มองหน้าโน๊ตแล้ว "เห็น" และ "ได้ยินเพลงในหัว"
    อาจจะเหมือนคนที่มองฟ้า มองกระแสน้ำ มองแสง มองปรากฎการณ์แล้ว"เห็น"เป็น "สมการ" (equations)?

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ เรื่องนี้น่าสนใจมากนะคะ แม้ว่ายังไม่แน่ชัดในเรื่องดนตรีเป็นเหตุหรือเป็นผลของการเก่งคณิตศาสตร์ แต่การที่คนเก่งมีดนตรีในหัวใจคงทำให้ผ่อนคลาย ไม่เอาเป็นเอาตายกับความรู้ความเก่งคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองมีสูง

    นุชเหมือนอาจารย์แผ่นดินเลยค่ะ อิ อิ ไม่เก่งคณิตศาสต์ วิทยาศาสตร์ เล่นดนตรีก็ไม่เป็นสักอย่าง(พยายามจะเล่นขิมเพื่อสร้างแต่ไม่ได้เรียนจริงจัง ยังตีไม่จบเพลงฝึกเลยค่ะ) ร้องเพลงก็เพี้ยนสุดๆ คนข้างกายเขาแซวเรื่อย ขอร้องไม่ให้ร้องเพลงค่ะ แต่ชอบฟังเพลงหลายประเภทนะคะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ กมลวัลย์

    อาจารย์บอกว่า.....

    ตัวเองเป็นคนชอบคณิตศาสตร์มาก ทำได้ดีพอควร ส่วนเรื่องเครื่องดนตรีนั้นเล่นอะไรแบบนักดนตรีไม่ได้สักอย่าง แต่ที่ทำได้ดี(กว่า)คือร้องเพลง เป็นคนที่ฟังเพลงแล้วจับได้ว่าเพี้ยนหรือไม่เพี้ยน ใครร้อง/เล่นดนตรีตรงคีย์หรือไม่ แต่แบบนี้คงไม่ใช่ perfect pitch   ตอนเด็กๆ พ่อแม่เคยให้เรียนกีตาร์ คีย์บอร์ด แต่ก็เอาดีไม่ได้สักอย่าง ดูตัวโน็ตเป็นแต่ transcribe ได้ช้า คงเป็นเพราะไม่ได้ฝึกเนี่ยแหละค่ะ ^ ^ 

    ค่ะ อาจารย์คะ ถ้าอาจารย์ได้ฝึก รับรองเก่งการเล่นดนตรี แน่นอนค่ะ เรื่องดนตรีนี่อยูที่การฝึกจริงๆค่ะ

    เป็นเรื่องถกเถียงกันมากในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่าการฝึกดนตรี  จะได้ผลดี จนทำให้เก่งคณิตศาสตร์ จริงหรือไม่

    จริงไม่จริง   พ่อแม่ก็ซื้อเพลงมาให้ลูกฟังกันท่วมท้นค่ะ

    เพื่อเพิ่ม IQ, EQ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ ฯลฯ  ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใด เพราะเพลงดีๆ ที่พ่อแม่คัดสรรแล้ว   ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร มีแต่จะทำให้จิตใจอ่อนโยนและมีความสุขค่ะ

    ชอบคณิตศาสตร์แต่บังเอิญไม่ได้เรียนต่อทางวิทย์ในระดับอุดมศึกษา หันมาเรียนอาร์ตแทน แต่ก็ยังได้ใช้อยู่ตลอดในการทำงาน ตอนแรกนึกว่าจะไม่ได้ใช้แล้ว งานออกแบบหรือพวกงานทีวีนี่ต้องใช้คณิตศาสตร์ช่วยมากกว่าที่หลายๆ คนคิดนะคะ แปลกแต่จริง คนคำนวณไม่เก่งจะทำงานช้ากว่าและพลาดง่ายกว่าด้วย

    ส่วนดนตรีสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์หรือเปล่าไม่รู้เหมือนกันค่ะ รู้แต่ว่าเล่นได้เป็นสิบอย่าง แต่เอาดีไม่ได้ซักกะอย่าง เรียกว่าเป็ดสุดๆ เคยพูดเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ฝีมือระดับตัวแทนนักดนตรีปวดฉี่ คือเล่นแทนได้ตอนเขาไปเข้าห้องน้ำ พอเอาจริงต้องเล่นยาวๆ จะไม่รอด

    แต่ถ้าเครื่องดนตรีชิ้นไหนเล่นเพี้ยนนี่รู้ทันที นับว่ายังพอมีดีที่หู ฟังแล้วจับคีย์ได้ ร้องเพลงไม่เพี้ยนอันนี้ก็ถือว่าเป็นบุญแล้วค่ะ ^ ^

    สวัสดีค่ะคุณโรจน์

    ขอบคุณและยินดีมากที่ มาเยี่ยมค่ะ

    ดิฉันคิดว่า เด็กๆทุกคน ควรจะเรียนวิชาความรู้พื้นฐานทางดนตรีทั่วไป เช่น ทฤษฎีดนตรี ประวัติดนตรีนะคะ 

    เพราะว่าทฤษฎีดนตรีและประวัติดนตรีจะทำให้นักเรียนเข้าใจดนตรีได้ดีขึ้นและการที่เด็กสามารถเล่นดนตรีเป็นอย่างน้อยหนึ่งอย่าง  จะเป็นผลดีแก่เด็กๆแน่นอนค่ะ

    อย่างน้อยก็ดีกับระบบอารมณ์ของเด็ก  ก่อให้เกิดจิตใจสงบผ่อนคลาย และมีสมาธิ  และดนตรียังจะกระตุ้น และพัฒนาให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์  EQด้วย


                      

    สวัสดีค่ะคุณ กวินทรากร

    ยินดีที่มาอ่านค่ะ  ยังไงคุณก็ชอบฟังเพลงอยู่แล้วแน่นอนค่ะ ไม่ว่าจะเพลงแบบไหนก็ตาม ดิฉันเองชอบทั้งเพลงไทย เพลงสากลค่ะ ชอบเพลงจังหวะปานกลาง ช้าไป ก็จะพาลง่วงเสียด้วยค่ะ

    เสียงดนตรีช่วยบรรเทาและคลายเครียด  ทำให้สงบผ่อนคลายมีสมาธิ และเพิ่มภูมิคุ้มกันมีการหลั่งสารสุข ( endorphine )  และลดระดับ ฮอร์โมนเครียด ( cortisol ) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิด  ความจำ และสติปัญญาด้วยนะคะ

    กราบนมัสการค่ะ ท่าน BM.chaiwut

    ดีใจที่ท่านมาแลกเปลี่ยนว่า....การที่เราจะถือว่า ความสามารถทางคณิตศาสตร์มีสาเหตุมาจากความสามารถทางดนตรี จึงอาจเลือนลอยเกินไป... เพราะอันที่จริง ความสามารถทางคณิตศาสตร์อาจมาจากสาเหตุหลายอย่าง และความสามารถทางดนตรีก็อาจเป็นสาเหตุของอะไรๆ อีกหลายอย่าง...

     

    ดิฉันคิดว่า ถ้าเราพิจารณาให้ลึกลงไป ก็คงจะเป็นอย่างที่ท่านให้ความเห็นค่ะ เพราะ บางทีเหตุผลและคำตอบของ  เรื่องบางเรื่อง ไม่ตรงไปตรงมาแบบ 1+1 เป็น 2 เท่าใด อย่างเช่น บางคนเล่นดนตรีเก่ง ชอบดนตรี แต่เรื่องคณิตศาสตร์ก็ปานกลาง พอไปได้ ซึ่งเรื่องนี้ จะมีเรื่องของความชอบและความสนใจในวิชานี้ มาเป็นตัวแปรด้วยค่ะ

     

    แต่เรื่องคณิตศาสตร์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้น ถ้าจะมีวิธีใด ที่จะช่วยให้เด็กๆเรามีสติปัญญาดีขึ้นในด้านนี้ได้ ก็น่าจะสนับสนุนเต็มที่ค่ะ 

    ถ้าดนตรีจะช่วยให้ เด็กๆ มีสมาธิดี มีจิตใจปลอดโปร่งแจ่มใส การเรียนเลขก็จะได้ผลดีขึ้น

    ดิฉันคิดว่าทางโรงเรียนยังให้ความสำคัญกับ การคิดเลขในใจอยู่นะคะ  เพราะจำเป็นและมีประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไปมาก

    สมัยเด็กๆ ดิฉันชอบวิชา การคิดเลขในใจ (Mental Math หรือ Figuring in You head) ค่ะ 

    สวัสดีค่ะคุณ  a l i n l u x a n a =)

    โชคดีจังนะคะ ที่ทางครอบครัวของคุณเก่งทั้ง 2 อย่างเลย เรียกว่า เป็นไปตามแนวโน้มของทฤษฏีที่ว่า คนที่มีพื้นฐานทางดนตรีดี จะเรียนคณิตศาสตร์ดีด้วย  และเมื่อความรู้ทางคณิตศาสตร์ดี การจะต่อยอดไปเรียนอะไรก็ง่ายขึ้นมาก

    เพราะแม้กระทั่งการศึกษา  ที่จะต้องอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ตั้งแต่เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดในระดับอิเล็กตรอน หรือสิ่งที่ใหญ่ในระดับกาแลกซี่

    การศึกษาของเราอาศัยกลไกการเรียนรู้ที่สมอง  ที่ใช้หลักการเชื่อมโยง เหมือนที่เราใช้ในเครือข่ายเวิล์ดไวด์  การศึกษาทางคณิตศาสตร์จะ อธิบายปรากฏการณ์ และความจริงทางธรรมชาติได้

     คณิตศาสตร์จึงเป็นหน่วยเสริมที่ใช้อธิบายชีวิตต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยสาขาต่าง ๆ มากมาย เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ หรือแม้แต่กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบตัวเลขฐานสองก็ใช้หลัก การคิดคำนวณและตรรกศาสตร์พื้นฐาน

    นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม คุณพ่อคุณแม่ จึงไม่รั้งรอที่จะ ขวนขวายทุกวิถีทาง ที่จะทำให้ลูกรัก มีสติปัญญาที่เพิ่มขึ้น

     และการสนับสนุนให้เล่นดนตรีก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ได้ผลแน่นอนค่ะ จะมากน้อยแค่ไหน ก็ยังเป็นอีกประเด็นหนึ่งค่ะ

         

     

     

    สวัสดีค่ะคุณ กฤษณา

    คุณกฤษณาสนใจที่สุดคือ ความอ่อนหวาน อ่อนโยน และความสุขใจ จากดนตรี  และประการสำคัญทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านจิตใจ

    ค่ะและนี่ก็คือ วัตถุประสงค์เริ่มแรก ของการฟังและการเล่นดนตรีค่ะ

    แต่เวลาเราไปฟังดนตรี ที่เขาเล่นครบสูตร เขาจะมีเครื่องดนตรีมากเลยนะคะ

         1. กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments)
         2. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Wood Wind Instruments)
         3. กลุ่มเครื่องเป่าประเภทโลหะ หรือเครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Wind Instruments)
         4. กลุ่มเครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments)
         5. กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)

    นำภาพเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะมาให้ดูค่ะ

    DrumsMaracas

    สวัสดีค่ะคุณหนิง

    คุณบอกว่า...ถึงจะยังพิสูจน์อะไรไม่มากนัก แต่ดิฉันก็ให้ลูกฟังเพลงแนวคลาสสิคไว้ก่อนค่ะ จะทำให้ลูกอารมณ์ดี ใจเย็น เรียนเก่ง

    ค่ะเห็นด้วย แต่คงไม่จำกัดที่ดนตรีสากลคลาสสิคนะคะ ดนตรีไทย ไทยเดิม ลูกทุ่ง กล่อมเด็ก  ก็ได้ค่ะ

    ดนตรี คือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง

    โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย)

    ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ

    คุณเคยเห็น แอกคอร์เดียน (Accordion) ไหมคะ เดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยเห็นแล้วนะคะ แต่ดิฉันจำได้อยู่ค่ะ

    Accord_layer

    เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับเปียโนเสียงของ
    แอกคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น
    ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก

    แอกคอร์เดียนมีหลายขนาดเช่นขนาด 25 ลิ่มนิ้ว 12 เบส ขนาด 37 ลิ่มนิ้ว 80 เบส และขนาด ใหญ่ซึ่งนิยมใช้เล่นโดยทั่วไปจะมี 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส

    และยังมีปุ่มปรับเสียงเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ทาง
    ด้านขวาอีกหลายปุ่ม ทางด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดัง – ค่อยซึ่งเปิด – ปิด ได้อีก 3-4 ช่อง

     ปุ่มปรับระดับเสียงจะเป็นปุ่มเสียงต่ำ (Low reed)
    แอกคอร์เดียนนิยมใช้กับวงดนตรีขนาดเล็กเช่น วงดนตรีประจำหมู่บ้าน วงดนตรีลูกทุ่ง
    วงคอมโบ วงโฟล์คซอง เป็นต้น

    เขาเรียนเพียงไม่กี่เดือน ทางโรงเรียนแจ้งว่า หมดหลักสูตรจะสอนแล้ว เล่นดนตรีเก่งกว่าครูอีก

    เด็กบางคนจะเรียนรู้ได้ไวมาก เหมือนมีพื้นฐานอยู่ในตัวแล้ว แต่เด็กบางคนจะต้องใช้เวลาฝึกนานหน่อย ทุกๆ หลักสูตรต่างมุ่งเน้นให้นักเรียนมีโสตประสาทที่ดี มีการความสามารถในการได้ยินภายใน (inner hearing)

    ซึ่งเป็นความสามารถขั้นสูงของนักดนตรี   ที่เพียงแค่ตามองเห็นตัวโน้ตดนตรีก็สามารถได้ยินเสียงของโน้ตนั้นบรรเลงอยู่ภายในสมองอย่างถูกต้องตามระดับเสียง จังหวะ รวมถึงการประสานเสียงต่าง ๆ ครบถ้วน

    ·         สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์

    ·         ผมเองเชื่อมาตลอดครับว่า "การฝึกฝนหรือสร้างความคุ้นเคยทางด้านเสียงเสนาะ ดนตรีและนาฏศิลป์  จะช่วยให้รอยหยักในสมองเพิ่มจำนวนและจัดระเบียบได้ดีขึ้น" อันเป็นที่มาของความสามารถที่หลากหลายนั่นเอง

    ·         เกี่ยวกับเรื่องนี้  ผมเองเฝ้าสังเกตทั้งคนใกล้ตัวและห่างออกไป ค่อนข้างสรุปได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว

    ·         คนที่ประสบความสำเร็จในหลายด้านตั้งแต่อายุยังน้อยเท่าที่ผมรู้จัก พบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสทางด้านสุนทรียารมณ์เป็นพิเศษ

    ·         ผมเองจึงพยายามที่จะบอกกล่าวในเรื่องของการศึกษาว่า "เด็กในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา จนถึงมัธยมปลาย" เราอย่าเพิ่งเอาเนื้อหาวิชาการมายัดเยียดให้สมองของเขาสับสน ปั่นป่วน รวนเรมากนัก 

    ·         สิ่งที่ควรให้ในวัยนี้ก็คือ "เปิดโอกาสให้เขาได้มีพัฒนาการทางด้านสุนทรียารมณ์ให้มากที่สุด"  แล้วอย่างอื่นๆจะเป็นแค่เรื่องจิ๊บจ๊อยเอง

    ·         ผิดถูกอย่างไร? ไม่ว่ากันนะครับคุณพี่ ถือซะว่าเป็นมุมมองของคนที่"ด้อยโอกาส"ทางด้านนี้ก็แล้วกันครับ

    ·         สวัสดีครับ

     (ปล.รบกวนคุณพี่ลบความเห็นก่อนนี้ของผมหน่อยนะครับ  ตัวเล็กไปครับ ขอบคุณครับ)

    สวัสดีค่ะคุณ  small man

    คุณให้ความเห็นจากประสบการณ์จริงเลยนะคะ

    เหมือนกับที่คุณหมอวิจิตรฯให้ความเห็นค่ะ....ความเห็นที่ 25.#

    คือ ผมว่าดนตรีเป็นเหตุ  คณิตศาสตร์เป็นผลครับ เพราะการเล่นดนตรีช่วยให้มี   สมาธิ   และ  ความภาคภูมิใจ

           สมาธิ และ ความภาคภูมิใจ  คือ หัวใจของการเรียนรู้

           เป็นทฤษฎีง่ายๆ ตามความรู้สึกของผมเอง

    ขอบคุณมากค่ะ และภูมิใจแทนโรงเรียน ที่มีผู้บริหารที่ทุ่มเทเอาใจใส่พัฒนาเด็กๆอย่างคุณวิชชาค่ะ

    เป็นความจริงที่ดนตรีจะช่วยพัฒนาสติปัญญาและสมองให้แก่เด็กๆได้อย่างยอดเยี่ยม

    สำหรับเด็กๆเล็กๆ ความคล่องในการใช้ภาษา เป็นความสำคัญที่สุด พอโตขึ้นมาอีกหน่อย  พื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญมากเป็นอันดับต่อไป

    การที่คนเรามีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดี จะสามารถพัฒนาความคิด ความอ่านให้ก้าวหน้าขึ้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาขั้นสูง และการประกอบอาชีพต่อไป

    ยกตัวอย่าง เช่น ในชีวิตประจำวันเรา จะมีคำว่า "สถิติ"มากมาย

    ซึ่งมีความหมายกว้างขวางยิ่งนัก

    สถิติเป็นศาสตร์ สาขาหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์

    เป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทุกคน เพราะการดำรงชีวิตของเราอยู่ที่การเปรียบเทียบ การวัด การประมาณค่าตลอดจนการนำตัวเลขมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อ 3.9 % เป็นต้น

    ภายในบ้าน พ่อบ้านแม่เรือน ก็อาจจะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน มีการตรวตดูและควบคุมเพื่อให้รายรับและรายจ่ายพอเหมาะต่อการดำรงชีพของครอบครัว เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีการเขียนในรูปกราฟเพื่อให้ดูได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ นีรา

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ ไม่แต่เครื่องดนตรีต่างประเทศเท่านั้น ที่จะทำให้เด็กน่าจะมีสติปัญญาเพิ่มขึ้น จากที่ดนตรีจะมีส่วนกระตุ้น และพัฒนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ EQ ซึ่งจะก่อให้เกิด ความผ่อนคลาย จิตใจสงบ และมีสมาธิ  รู้จักตัวเองเข้าใจตนเองมากขึ้น

    ซอสามสาย ก็เป็นเครื่องดนตรีไทยที่นิยมกันมากเช่นกันค่ะ

    ปรากฎหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ น่าเกลียดมาก  มีสามสายเรียกว่า ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้

    จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยะในทางด้านศิลปะต่างๆ เช่นทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง

    อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนทุกวันนี้ค่ะ

     

    สวัสดีค่ะน้อง เนปาลี

    น้องบอกว่า...คุณครูบอกมาตั้งแต่เด็กนี่ล่ะ ว่าสมองของคนเรามีสองซีก  ซีกซ้าย=เหตุและผล  ซีกขวา=จินตนาการ     บางคนก็ว่าคนที่เก่งคณิตศาสตร์มักจะไม่ค่อยถนัดเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะเชิงสร้างสรรค์   หรือศิลปินมักจะไม่เก่งเรื่องของการคิดคำนวณ    เกี่ยวกันไหมคะ?

    และทำไมไอนสไตน์ ผู้ที่ค้นคิดทฤษฎีสัมพันธภาพยังเป็นนักศิลปะ-ดนตรีได้ล่ะ?

    ค่ะ นั่นเป็นความเชื่อและการสอนแบบสมัยเก่า ซึ่งพี่ก็เคยได้รับการสอนมาแบบนั้นเหมือนกัน

    แต่ พิสูจน์แล้วว่า ไม่จริงค่ะ คนที่เรียนคณิตศาสตร์เก่งมักจะเก่งดนตรีด้วย จะเก่งมากน้อย แล้วแต่ความชอบของเขาด้วยค่ะ

    เด็กๆที่พี่ใกล้ชิดด้วย ในบรรดาญาติๆก็เป็นดังว่าค่ะ เขาเรียนสายวิทย์กันแทบทุกคน แต่เขาก็เล่นดนตรีได้ดี ซึ่งต้องขึ้นกับการฝึกฝนด้วยนะคะ

    ตัวอย่างที่เราเห็นกันทุกคนคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราไงคะ ท่านก็เป็นอัจฉริยะทุกด้านเลย แม้กระทั่งด้านดนตรีนะคะ

    ดนตรีช่วยพัฒนาสมอง

    o ดนตรีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าในร่างกาย  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการไหลเวียนของเลือด   

           ชีพจร และความดันโลหิต  การหลั่งของฮอร์โมนและสารเคมีภายในรวมทั้งพลังของกล้ามเนื้อ

     

    o    ดนตรีมีผลต่อสมองทั้งสองซีก  ไม่ใช่เฉพาะซีกขวาซีกเดียวอย่างที่เคยเชื่อกัน

    1.     o     ดนตรีพัฒนาการเรียนรู้ในด้านต่างๆ และความจำ

       เสียงดนตรีก่อให้เกิดการสร้างเส้นใยสมอง ( dendrites ) เพิ่มขึ้น ดนตรีกระตุ้นให้เกิด .....

     

       จินตนาการ  เชื่อมโยงความคิดเป็นภาพดนตรีเพิ่มการคิดจินตนาการที่เป็นเหตุผล  เรียกว่า  

     

     

       เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์  ( spartial   reasoning ) ซึ่งการคิดแบบนี้   น่าจะนำไปสู่พื้นฐานทางคณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์ และการคิดชั้นสูงต่อไป

    สวัสดีค่ะคุณสุภาวดี

    ถ้าสนใจเรื่องสถานที่เรียนดนตรีให้ลูกสาว ลองดูที่นี่ค่ะ..

    วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งแรกของประเทศไทย และนับได้ว่าเป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรี (ม. 4 - ม. 6) จนถึงระดับปริญญาเอก โดยเป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนวิชาดนตรีในระดับปริญญาเอก มีอาจารย์ที่ชำนาญในเครื่องดนตรีแต่ละชนิดโดยเฉพาะ เป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนทั้งด้านแนวเพลงไทยและแนวเพลงสากล

    ในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ.นพ. อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พัฒนาโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้ขยายการศึกษากว้างขวางขึ้น ทั้งการศึกษาและกิจกรรมดนตรี

    วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยที่เปิดสอนและวิจัยดนตรีทุกสาขา ได้จัดการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

    พ.ศ. 2549 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมี "โครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา" รองรับ

    สวัสดีค่ะคุณ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

    คุณบอกว่า...

    ผมสนับสนุนลูกสาวเรียนเปียโนตั้งแต่เด็ก เห็นเขาชอบก็ตัดใจซื้อให้ เธอก็ชอบเล่นอยู่ครับ เพราะเข้าโรงเรียนดนตรี

    ไม่ได้สังเกตเรื่องเลข แต่เรื่องภาษาเธออยู่ในระดับดีมากเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมรุ่นร่วมห้อง และเป็นต่างจังหวัด จนเราสนับสนุนเธอไปเรียนโรงเรียนสองภาษา และไปเรียนไฮสคูลที่ NZ

    เรื่องนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ค่ะ...ลองอ่านข้อเขียนของคุณหมอวิจิตรฯค่ะ

    ดนตรีกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการด้านภาษา  เพราะดนตรีมีการจัดระบบคล้ายภาษา

    o              ไอน์สไตน์ เรียนไวโอลินก่อนอายุ  6   ขวบ

     

           ดนตรีในช่วงวัยเด็ก  จะช่วยสร้างพื้นฐานของระบบประสาทเกือบทั้งหมด ช่วงอายุตั้งแต่แรก

            เกิดจนถึง  12  ขวบ 

     

    จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ โดยเฉพาะ 0 6  ขวบ 

        สมองเด็กจะเจริญเติบโตเร็ว ( = 80% ของผู้ใหญ่ ) จะทำให้เด็กเจริญเติบโตอย่างโดดเด่น

    ไม่ว่าด้านภาษาดนตรีศิลปะและคณิตศาสตร์  โดยเฉพาะกีฬา  ต้องฝึกฝนตั้งแต่เด็กเล็ก

     

    o              ทารกเคลื่อนไหวตามเสียงเพลงตั้งแต่ อายุ 4  เดือน  เด็กทารกมีประสบการณ์ ด้านดนตรี ตั้งแต่

       ได้ฟังเพลงกล่อมเด็กมาแล้ว

     

    Mozart  Effect  :       ดร.อัลเฟรด   โทมาทิส  ( 1950 ) เป็นคนแรกที่นำบทเพลงของโมสาร์ทมา  ทดลองกับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้  และแสดงให้เห็นว่าการฟังดนตรีคลาสสิกจะช่วยเพิ่มพูนความจำสติปัญญา และศักยภาพของสมอง 

    โดยเฉพาะบทเพลง  sonata  for  Two  Pianos  in  D major  K 44 ของโมสาร์ท  ซึ่งมีจังหวะซ้ำอย่างสม่ำเสมอทุก  20 30  วินาที  ซึ่งตรงกับความยาวของคลื่นสมอง

     

    o              ดนตรีจากธรรมชาติ  ( natural  sound , green  music ) เช่น เสียงนก  เสียงคลื่นจมน้ำไหล ฯลฯ

       ซึ่งมีคลื่นเสียงใกล้กับคลื่น  แองฝ่าของสมอง  ทำให้เกิดสมาธิ  ผ่อนคลาย  เพิ่มภูมิคุ้มกัน และ ใช้ในการบำบัดได้

     

    แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ลูกชายพี่ก็เรียนภาษาได้ดี ส่วนหนึ่งมาจากดนตรี แต่อีกส่วนหนึ่ง มาจากพันธุกรรมจากคุณตา และใกล้ชิดคุณตาด้วย

    คืออยากจะบอกว่า มีหลายส่วน หลายสาเหตุผสมกันด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ มัทนา

    ดีใจจังที่เข้ามาให้ประสบการณ์ คนอื่นๆจะได้เรียนรู้ด้วยนะคะ

    ที่คุณมัทฯบอกว่า ไม่ชอบเรียนเลข ยกเว้นเรขาคณิต น่าจะเป็นเรื่อง ความชอบส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับศักยภาพในการเรียนรู้คณิตศาสตร์นะคะ หรือบางที่ ครูสอนไม่เก่ง เราก็เบื่อ พาลไม่ชอบไปเลย

     พี่เอง ตอนอยู่เตรียมอุดมปี 1 ก็ไม่ชอบเลขค่ะ มีความรู้สึกครูสอนแล้ว ไม่เข้าใจ แต่พอขึ้นปีที่ 2 เปลี่ยนเป็นชอบ เพราะครูสอนเก่งมากๆ ทำของยากให้เป็นของง่ายได้ ก็เลยชอบ และสอบได้คะแนนดี

    แต่เรขาคณิตก้คือแขนงหนึ่งของคณิตศาสตร์นะคะ

     

    รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปที่ประกอบด้วยจุด เส้นตรง ส่วนโค้งต่าง ๆ และถ้าอยู่ในระนาบเดียวกัน เราก็เรียกว่ารูประนาบ แต่ถ้าหากเป็นรูปทรงที่มีความหนา ความลึก ความสูง เราก็เรียกว่ารูปสามมิติ อะไรแบบนี้

     

    %e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b4%e0%b8%95

    คุณมัทฯบอกว่า...รู้ตัวเลยว่าเข้าใจอะไรที่เป็น ภาพหรือตัวอักษรได้เร็วกว่าสูตรคณิตศาสตร์

    เรขาคณิต ใช้ประโยชน์ได้เยอะนะคะเช่น   ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะมีรถไฟใต้ดิน ลองนึกดูว่า ถ้าจะเจาะอุโมงค์ จากที่หนึ่งให้ทะลุหรือชนกับการเจาะมาจากอีกแนวหนึ่งได้ ต้องใช้หลักการทางเรขาคณิตมาช่วย

    ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งคือ การพิสูจน์ นักเรียนบางคนมีความรู้สึกว่า การพิสูจน์นั้นยากแก่การทำความเข้าใจและไม่สามารถจะพิสูจน์ได้

     

    คงเป็นเพราะ  ในการพิสูจน์กฏเกณฑ์หรือข้อสรุปบางอย่าง นักเรียนบางคนอาจจะไม่เกิดความซาบซึ้งในข้อสรุปนั้น ๆ

    สิ่งที่จะทำให้เข้าใจข้อสรุปเหล่านั้นได้ดีขี้น ครูจะใช้ภาพเป็นอุปกรณ์หรือสื่อ ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ใช่ไหมคะ เพราะตัวพี่เองก็ เหมือนคุณมัทฯค่ะ   ชอบดูจากภาพเหมือนกันค่ะ

    ไม่ค่อยชอบสูตรเท่าใด

     ส่วนคนที่มองหน้าโน๊ตแล้ว "เห็น" และ "ได้ยินเพลงในหัว"
    อาจจะเหมือนคนที่มองฟ้า มองกระแสน้ำ มองแสง มองปรากฎการณ์แล้ว"เห็น"เป็น "สมการ"
    (equations)?.

    พี่คิดว่า ก็เหมือน  คนที่มีโสตประสาทที่ดี มีการความสามารถในการได้ยินภายใน (inner hearing) ได้ ที่เราเรียกว่า มีPerfect Pitch น่ะค่ะ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการฝึกฝนก่อน มีส่วนน้อยที่ เกิดขึ้นมาในตัวเองเลยโดยอัตโนมัติ

    มีบทความที่น่าสนใจเรื่องการเรียนคณิตศาสตร์ค่ะ

    Some Worries about Mathematics Education ในวารสาร Mathematics Teacher ฉบับ Vol. 88, No. 3 March 1995.

    ·  ที่มา: ทัศนีย์ สงวนสัตย์, ผู้ชำนาญ สสวท.

    วารสาร สสวท. ปีที่ 25 , 98. กค. - กย. 40

     

     

     

     

    ในฐานะที่เป็นครูคณิตศาสตร์มานานได้สอนนักเรียนมามากกว่า 2,000 คน และแต่ละคนก็มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ "โลกแห่งความเป็นจริง" ที่ไม่เหมือนกัน

     แต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความสนใจ ชีวิตครอบครัว วัฒนธรรม และมีค่านิยมที่หลากหลาย ไม่ว่าเขาจะเริ่มต้นตรงไหน ผมจะพยายามขยายคำจำกัดความของความจริงในวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนเสมอไป

    งานนี้บางทีก็ยาก แต่ผมเชื่อว่าผู้ใช้คณิตศาสตร์อย่างทรงพลังในศตวรรษหน้านั้น

     

    จะต้องเป็นคนที่มองเห็นคณิตศาสตร์ว่าเป็น "ส่วนของความจริง" "มากกว่าที่จะมองว่าคณิตศาสตร์เป็นเลนส์เกี่ยวกับความจริง

     

    ความเชื่อนี้หมายความว่า นักเรียนควรต้องเรียนการแจกแจงของจำนวนน้ำตาลในเมล็ดข้าว พวกเขาควรจะสามารถนำรูปแบบเชิงพีชคณิตไปใช้กับการเลื่อนไหลของการจราจรและเรขาคณิตได้

    ก่อนที่จะไปไกลกว่านี้

     คณิตศาสตร์ที่นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนนั้น มีส่วนน้อยมากที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่ใช้นอกห้องเรียน

     

    ความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปในปัจจุบันนี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางและได้รับอิทธิพลทางการเมืองให้ปรับเปลี่ยน สำหรับการปรับเปลี่ยนทั้งหลายทั้งปวงที่จะมีผลในทางปฏิบัตินั้น เราจำเป็นที่จะต้องเหลียวมองให้ลึก ซี้งยิ่งไปกว่าปัญหาในเรื่องเนื้อหาวิธีสอน และการประเมินผล

    เราจำเป็นที่จะต้องทำให้นักเรียนมัธยมมีประสบการณ์ด้านการวิจัยอย่างแท้จริงในวิชาคณิตศาสตร์

     

     และ  เราจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งให้เกิดอุปนิสัยทางด้านจิตใจเป็นคณิตศาสตร์มากกว่าเนื้อหาเฉพาะ ผมเชื่อว่านักเรียนของเราขึ้นอยู่กับคำท้าทายนี้

     

    ลืมบอกคุณมัทฯไปค่ะว่า...

    ข้อเขียนนี้เป็นความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์ คนหนึ่งชื่อ Al Cuoco ตีพิมพ์ในวารสาร The Mathematics Teacher ฉบับเดือนมีนาคม 1995 Al Cuoco เคยสอนโรงเรียนมัธยมที่รัฐแมสซาซูเซตส์ ปัจจุบันทำงานที่ Education Development Center รัฐแมสซาซูเซตส์

    สวัสดีค่ะ อ่านแล้วชอบจังค่ะ เพลงทำให้เกิดจินตนาการนะคะ แล้วต่อด้วยความคิดสร้างสรรค์ ชอบฟังเพลงค่ะ ทำงานด้านออกแบบเสียด้วย ไม่มีเพลงช่วยแล้ว ความคิดมันนิ่งๆ ยังไงไม่รู้ค่ะ
    สวัสดีค่ะ ดิฉันมีลูกตัวน้อยๆ เขาชอบฟังเพลงและมีการตอบสนองกับเพลงนะคะ ตั้งแต่อ่อนๆเลย พอฟัเพลงกล่อมเด็ก เบาๆนุ่มๆ ช้าๆ จะหลับง่ายและผ่อนคลาย แต่พอเวลาเล่น ให้เขาฟังกุ๊งกิ๊งที่มีเสียงสนุกสนาน เขาจะถีบขาไปมาๆ สนุกใหญ่ค่ะ อย่างนี้ จะทำให้เรียนภาษาพูดได้เร็วไหมคะ

    สวัสดีคะคุณพี่Sasinanda

    ความเห็นส่วนตัวน่ะค่ะพี่..ประกอบกับเท่าที่พอทราบมาโดยการอ่านและจากประสบการณ์ตนเองบ้าง ของคนรอบข้างบ้าง

    คนเก่งคณิตฯอาจไม่เก่งดนตรีเลยก็ได้ คนเก่งดนตรีอาจไม่เก่งคณิตเลยก็ได้คะ เพราะคงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่นการฝึกหัด ทักษะต่างๆ หรือเล่นดนตรีเก่งเพราะคุณพ่อคุณแม่เป็นนักดนตรี เก่งคณิตศาสตร์เพราะครูสอนสนุก ไม่เก่งคณิตเพราะครูสอนแล้วจะหลับหรือเพราะความชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการส่วนตัวจริงๆ..เป็นต้น

    แต่ความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าดนตรีที่มีโน้ตเพลงสูงต่ำและมีตัวโน้ตที่สละสลวย เช่น Wolfgang Amadeus Mozart, Antonio Vivaldi เป็นต้นการฟังดนตรี..เช่นพวก..London Symphony Orchestra พวกนี้คิดว่าน่าจะเป็นการช่วยจัดระเบียบคลื่นสมองได้ดี..(สังเกตว่าพอฟังเพลงพวกนี้..จิตใจจะสงบลงได้ดี รู้สึกผ่อนคลายได้จริงและถ้าเปิดฟังตอนนอนก็จะหลับสบาย....บางคนบอกเคยปวดเมื่อย..ก็หายไปเลย..แสดงว่าช่วยเรื่องคลายเครียดได้..ด้วย) แต่คิดว่าการจะทำให้ลูกหลานมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด( มีสมองที่มีหยักมากขึ้น)คุณพ่อคุณแม่คงต้องเปิดเพลงพวกนี้ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ลูกยังอยู่ในท้องยังไม่คลอดเลยน่ะค่ะ..ไม่ใช่มาฟังกันตอนชราภาพแล้ว... อันนี้ก็อาจไม่ช่วยอะไร..นัก..เพราะเมื่อมีอายุมากขึ้นแล้ว..ทั้งทางร่างกาย สมองมีแต่เริ่มจะเสื่อมถอยลง..ฟังเพลงเหล่านี้..ก็อาจเพียงช่วยประคับประคองให้สมอง ร่างกายมีความสดชื่น แจ่มใสขึ้นบ้าง ผ่อนคลายความเครียดได้บ้าง..เท่านั้น..ล่ะค่ะ

    สังเกต..ว่าเพลง Classics บางเพลงถ้าคนไม่เคยฟังอาจตกใจในบางเพลงซึ่งจะมีการรั่วกลองเหมือนออกรบ..บางช่วงบางเพลงแต่ก็คือสไตล์Classics ไม่ใช้กลองแบบที่ฟังแล้วแก้วหูเกือบทะลุ...(ไม่ใช่แบบวงดนตรีสากลของพวกวัยรุ่นเล่นกัน..ฟังแล้วยิ่งคลุ้มคลั่ง..)แต่เป็นการเล่นดนตรีที่เกิดโน้ตเพลงที่มีเสียงmelodyสูงต่ำเป็นจังหวะที่มีความสุนทรีย์ ตัวโน้ตที่สละสลวย..ดังนั้น ฟังแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข..(ฟังบ่อยๆแล้วจะชอบค่ะ)

    **ดนตรีทุกประเภทมีโน้ตเพลงก็จริงอยู่ แต่โน้ตเพลงที่น่าจะจัดระเบียบคลื่นสมองได้ดี น่าจะต้องมีลักษณะที่สูงต่ำตามแบบของพวกดนตรีคลาสสิค เช่น.. Mozart เป็นต้น

    (ความเห็นส่วนตัว)ถ้าอยากให้ลูก หลานมีสติปัญญาที่ดีเฉลียวฉลาด ก็ควรลงทุนหาซื้อ Mozart effect (For children) มาให้ลูก หลานฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง..คุณแม่เลยคะ

    จริงหรือไม่..ลองทดลองง่ายๆก่อนก็ได้นะคะ ลองซื้อเมล็ดพันธุ์พืชจากท้องตลาดมาปลูก ต้นไม้พันธุ์เดียวกันเลยนะคะ ไว้ในที่ๆอุณหภูมิเดียวกัน การดูแลเหมือนกัน สภาพแวดล้อมเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันคือต้นหนึ่งปลูกแล้วเปิดเพลงร็อคให้ฟัง อีกต้นหนึ่งเปิดเพลงClassic ให้ฟังน่ะค่ะ แล้วลองดูผลว่าต้นไม้ต้นไหนจะเจริญเติบโตได้ดี กว่ากัน..(ทดลองดูหลายๆครั้งก็ได้ค่ะเพื่อความแน่ใจ)..จากที่เคยอ่านงานวิจัยมาหลายชิ้นพบว่าต้นไม้ที่ฟังเพลงคลาสสิคจะเจริญเติบโตได้ดีมีความแข็งแรงดีกว่าต้นไม้ที่เปิดเพลงร็อคให้ฟังคะ

    สำหรับดิฉัน คณิตไม่ได้เรื่องเลยเพราะไม่ชอบ ภาษาอังกฤษก็ไม่กระดิกเพราะไม่ชอบ คิดว่าเพราะคุณครูสอนไม่สนุกด้วย..ส่วนหนึ่ง ฉลาดน้อย(โง่)ด้วยส่วนหนึ่ง แต่สำหรับดนตรีการร้องรำทำเพลงได้หมดละคะ..เป็นได้ทั้งนักร้องนักดนตรี..จะขอบอกว่าชอบมาก"เยี่ยมยอด"เลยเรื่องพวกนี้...แต่คิดว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่ได้เปิดเพลงClassic ให้ฟังตั้งแต่เด็กๆคงจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดไปแล้วล่ะค่ะ..เพราะอาจทำให้เป็นเด็กที่มีสมาธิที่ดี..ผลก็คือจะทำให้ตั้งใจเรียน และเรียนหนังสือเก่งได้ ดังนั้น..เมื่อประกอบกับไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือด้วยแล้ว.."ก็เลยเรียนได้แค่ปานกลาง"เท่านั้นค่ะ (ส่วนน้องชายสองคนเก่งคณิตศาสตร์มากEntrance ได้แพทย์เชียงใหม่ทั้งคู่.. ทั้งๆที่ดนตรีและร้องรำทำเพลงไม่ได้เรื่องเลย..เรียกว่าวิชาพวกนี้เกือบตกกัน..)ดังนั้น การจะเก่งคณิตหรือดนตรีหรือจะเป็นคนเฉลียวฉลาดมีสติปัญญาที่ดีได้ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบด้วยกันค่ะ เช่น ขยันเรียน มีวินัย การฝึกฝน เป็นต้น แต่ส่วนหนึ่งเชื่อว่าดนตรีClassic มีส่วนแน่ๆที่จะจัดระเบียบคลื่นสมองได้จริง อาจทำให้มีหยักมากขึ้นได้..มีเป็นคนมีสมาธิดีขึ้นได้..แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ยังไม่"คลอดและอยู่รอดเป็นทารก..."??ต้องฟังไปเรื่อยๆ(โดยเฉพาะช่วงทารกจนถึงอายุ6 ขวบน่าจะเป็นช่วงที่เกิดการพัฒนามากที่สุด)จนชราภาพและตายในที่สุด..ก็จะดีค่ะ..ขอบคุณค่ะที่คุณพี่ช่วยอ่านจนจบ..ค่ะ..ขอให้คุณพี่สวยๆรวยๆมีร่างกายแข็งแรง มีความสุขมากๆและขอให้เป็นสาวสองพันปีเลยน่ะค่ะพี่....ชอบมากคะ..ขอบอก.."ที่คุณพี่ดูแลตัวเองได้เยี่ยมมาก"

    ด้วยรักจากใจยายหมูอ้วนเองI love u "อ้วนแต่น่ารัก..อิๆ"

     

     

    สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์

    ผมเรียนคณิตศาสตร์ไม่ได้เรื่องเลยครับ แต่ชอบดนตรี เล่นดนตรีได้ แต่อ่านโน้ตไม่เป็นแต่ขึ้นเพลงไหนมา แม้จะเคยฟังไม่เคยฟังก็กล้อมแกล้มเล่นกับเขาไปได้ทุกเพลง

    มีอยู่วันหนึ่งไปงานศพย่าของเพื่อน เขามีระนาดวางอยู่ ผมไม่เคยเล่นระนาดมาก่อน พอคนตีระนาดกลับเราก็ยกมาเล่นกันสนุกๆ จนรุ่งขึ้นเป็นวันเผาปี่พาทย์ก็มาเล่น อยู่ๆคนตีระนาดทุ้มไอจนดีไม่ได้ เพื่อนผมซึ่งเป็นเจ้าภาพสะกิดผมว่า เฮ้ย..ไปเล่น ผมก็เข้าไปยกมือไหว้แล้วจับระนาดทุ้มตีจบเพลง หัวหน้าวงขึ้นเพลงอะไรก็ไม่รู้ขึ้นมาใหม่ คราวนี้ตกกระไดพลอนโจนแล้วก็ตีต่อ จนจบเพลงหัวหน้าวงถามว่าผมเล่นอยู่คณะไหน  ผมตอบว่าอยู่คณะชาโดว์เล่นเอาเพื่อนผมหัวเราะน้ำตาเล็ดเลย เพราะตอนนั้นผมเล่นคีย์บอดร์ดในวงวัยรุ่นของผม

    ผมรู้จักลูกสาวของเพื่อน เก่งคณิตศาสตร์ เก่งภาษา เก่งดนตรี เก่งศิลปะ เก่งทุกวิชา เลยไม่ทราบว่าดนตรีจะมีผลต่อคณิตศาสตร์หรือเปล่า แต่สำหรับผม ไม่ใช่ ครับ

    ที่แน่ๆ..มีดนตรีในหัวใจ..ก็ทำให้ชีวิตมีความสุขค่ะ..

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์.ประเทืองปัญญาค่ะ..พี่ศศินันท์..

     

    สวัสดีค่ะคุณศศินันท์

    • เป็นคนชอบฟังเพลง  ชอบร้องเพลง
    • เมื่อมีความรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ  ผิดหวัง  จะเปิดเพลงเบาๆฟังทำให้ความรู้สึกดีขึ้น
    • เวลาดูหนังสือสอบก็จะเปิดเพลงเบาๆฟัง มีความรู้สึกว่าจะจำง่ายกว่า
    • ลูกศิษย์ที่ชอบฟังเพลง เล่นดนตรี  ส่วนใหญ่จะไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    • ตัวเอ็งก็เหมือนกันค่ะ ชอบเรียนภาษา มากกว่าคณิตศาสตร์  เรขาคณิต
    • เสียงเพลงจะทำให้คนฟังมีอารมณ์ดี ไม่ก้าวร้าว ไม่โกรธง่าย
    • ขอบคุณค่ะ

     

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ คุณนายดอกเตอร์

    ดีใจมากที่มาแลกเปลี่ยนค่ะและที่อาจารย์บอกว่า...ไม่เก่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

    ก็พอดีได้โอกาสค่ะ อยากจะบอกว่า

    เราคงเคยได้ยินชื่อ นักจิตวิทยาชื่อดังอย่าง Howard Gardner (เคยมาเมืองไทยด้วยเมื่อปี2548) ได้เสนอแนวคิดเรื่องของ Multiple Intelligences หรือความฉลาดในหลายมิติขึ้นมา โดยแยกความฉลาดของคนเราออกเป็นเจ็ดด้าน ได้แก่

     1.Logical - Mathematical

    2. Verbal - Linguistic

    3.Spatial - Mechanical

    4.Musical

    5.Bodily - Kinesthetic

    6.Interpersonal - Social

    7.Intrapersonal (Self-Knowledge)

     

    พี่เชื่อตามที่เขาศึกษามานะคะ  ว่ามนุษย์มีอัจฉริยภาพได้หลายด้าน (multiple  intelligence)  ในปริมาณมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการฝึกฝนเมื่อเยาว์วัย  ช่วงตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึง  12  ขวบ  โดยเฉพาะ  6  ปี แรก ซึ่งเป็นโอกาสทองในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ

    ดังนั้น พอเป็นผู้ใหญ่ คนเราไม่จำเป็นต้องมีอาชีพเดียวตั้งแต่เกิดจนตายก็ได้ค่ะ   และควรใช้ชีวิตให้เต็มศักยภาพที่เรามีด้วย

     

    และก็ได้มี หนังสืออีกเล่มหนึ่งเกี่ยวกับดาวินชีมาชื่อ How to Think Like Leonardo da Vinci เขียนโดย Michael J. Gelb ซึ่งเป็นหนังสือที่อธิบายถึงวิธีการคิดของดาวินชี ที่ทำให้เขากลายเป็นอัจฉริยะในเกือบทุกศาสตร์สาขา

     

    และเราก็ได้รับการสั่งสอนกันมาตลอดว่าความฉลาดของคนเรา (โดยการวัดผ่านทางไอคิว) จะติดตัวเรามาผ่านทางพันธุกรรมแล้ว ยากที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงความฉลาดของเราได้มากขึ้นเท่าใด

    ซึ่งต่อมา  นักจิตวิทยาหลายคนที่แสดงให้เห็นว่า ไอคิวของแต่ละคนสามารถที่จะเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยผ่านการเรียนรู้ที่เหมาะสม และล่าสุด มีการค้นพบว่ายีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมส่งผลต่อความฉลาดทางไอคิวเพียงแค่ 48% ส่วนอีก 52% นั้น เกิดขึ้นจากการดูแลของผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมและการศึกษาค่ะ

    ซึ่งเรื่องนี้ พี่ก็เชื่ออีก แต่คิดว่า จากประสบการณ์ ไอคิวน่าจะติดตัวเด็กมาไม่น้อยกว่า 50-60% นอกนั้น เกิดจากการอบรมสั่งสอน และการฝึกฝน

     และจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของตนเองอีกล่ะค่ะ ที่เชื่อว่า  ความฉลาดของคนเราสามารถที่จะเรียนรู้และเพิ่มพูนได้

     ประกอบกับ ความมั่นใจว่า  ความฉลาดของคนเรามีหลายมิติค่ะ

     

     สมองของเราเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก เต็มไปด้วยความลึกลับ ที่ยังไม่ได้รับการสำรวจอีกมาก แม้กระทั่งปัจจุบันในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับกันว่ายังไม่สามารถศึกษาเกี่ยวสมองเราได้ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน

    สมองเรามีความยืดหยุ่นและหลากหลายมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดในโลกเสียด้วย

    สมองเราสามารถที่จะเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ หรือความรู้ใหม่ๆ เจ็ดเรื่องต่อวินาที ทุกๆ วินาที ไม่ต้องกังวลว่าเรียนรู้ไปมากๆ แล้ว จะไม่มีเนื้อที่ในสมองให้เก็บความรู้ไว้

    เราใช้เนื้อที่สมองไปโดยเฉลี่ยแค่ 20%ค่ะ (อยากจะนำมาอ้างที่นี่ ค้นไม่เจอแล้ว ไปเก็บไว้ที่ไหนก็ไม่ทราบ ค้นได้แล้ว จะมาเพิ่มให้นะคะ)

    ความฉลาดของเราไม่ได้เกิดขึ้นหรือสถิตอยู่แต่ในสมองบนศีรษะเราเท่านั้น แต่ยังอยู่ในเซลล์ต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายเรา

    ถ้าดูแลและใช้อย่างเหมาะสม สมองเราจะพัฒนาขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นด้วยซ้ำค่ะ

    ใน หนังสือ How to Think Like Leonardo da Vinci เขียนโดย Michael J. Gelb ได้รวบรวมหลักคิด 7 ประการของดาวินชี จากข้อมูล  จากบันทึกของดาวินชีและจากแหล่งต่างๆ โดย เขาได้ตั้งชื่อแนวทางต่างๆ เป็นภาษาอิตาเลียน เพื่อเป็นเกียรติแก่ดาวินชี และเรียกแนวทางทั้งเจ็ดว่า Seven Da Vincian Principlesค่ะ

    แหม เรื่องจะยาวไปหน่อย .....

    สรุปสั้นๆตรงนี้นะคะว่า   ไม่ต้องกังวลเลยว่า ถ้าเราไม่เก่งคณิตศาสตร์ จะแปลว่า เราจะเป็นคนเก่งไม่ได้ค่ะ

    ซึ่งอาจารย์เองก็มีข้อพิสูจน์อยู่แล้วด้วยตนเองแล้วว่า  คนเรายังมีศักยภาพอะไรอีกหลายอย่าง หลายมิตินัก ที่นอกเหนือจากคณิตศาสตร์ค่ะ

     

     สวัสดีค่ะ ครูวุฒิ

    เมื่อสักครู่ ตามไปให้กำลังใจเรื่องเลี้ยงปลาบู่แล้วค่ะ ขอให้ประสบผลสำเร็จอย่างดีที่สุดนะคะ

    ผมเองเชื่อมาตลอดครับว่า "การฝึกฝนหรือสร้างความคุ้นเคยทางด้านเสียงเสนาะ ดนตรีและนาฏศิลป์  จะช่วยให้รอยหยักในสมองเพิ่มจำนวนและจัดระเบียบได้ดีขึ้น" อันเป็นที่มาของความสามารถที่หลากหลายนั่นเอง

    ขอนำข้อเขียนของคุณหมอวิจิตร บุณยะโหตระ เรื่องสมองมาประกอบเพื่ออ่านกันนะคะ

    สมองมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์   เส้นใยของสมองมนุษย์ซึ่งเป็นช่องทางนำข้อมูลผ่าน มีจุดเชื่อมโยงมากกว่าหนึ่งแสนล้านจุด  มากกว่าจำนวนดวงดาวในจักรวาล

     

    ดังนั้นหากเราไม่ทำความรู้จักกับสมองของเรา  เราจะพลาดโอกาสพัฒนาสมองให้เต็มศักยภาพ

    สมองมนุษย์มีประสิทธิภาพเกินกว่าเครื่องจักรกลใดๆมาทำหน้าที่แทนได้และมีประสิทธิภาพเหนือสมองกลที่วิเศษที่สุดที่มีอยู่ในโลก  สามารถประมวลข้อมูลได้ในอัตราร้อยล้านล้านบิตต่อวินาที 

     ในขณะที่คอมพิวเตอร์ Cray – 3 ซึ่ง เร็วที่สุดในโลกขณะนี้สามารถประมวลได้เพียงหนึ่งล้านบิตต่อวินาทีเท่านั้น

    ความเชื่อเดิมๆที่ว่าเมื่อเซลล์สมองตายไปแล้วไม่สามารถสร้างทดแทนได้รวมทั้งที่เคยเชื่อว่าสมองย่อมเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น 

     ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2541  ว่า สมองผู้ใหญ่สามารถสร้างเซลล์ใหม่ได้  และการเสื่อมของสมองไม่ได้เกิดจากการตายอย่างต่อเนื่องของเซลล์  แต่เกิดจากเส้นใยสมอง ( dendrite ) ซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์มีจำนวนลดน้อยลง

    สมองสามารถพัฒนาโดยการสร้างเส้นใย ( dentrite ) ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  สมองมีเนื้อที่เก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด  แต่สมองจะขยายเปิดเนื้อที่ใหม่ต่อเนื่องมีข้อมูลใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิมเท่านั้น 

     การจำเจอยู่กับสิ่งเดิมๆ คิดในกรอบแบบเดิมๆ จึงไม่ทำให้สมองพัฒนา  การที่จะให้สมองพัฒนาต้องคิดใหม่ๆคิดสร้างสรรค์นอกกรอบเท่านั้น

     

    สวัสดีค่ะคุณน้องนา

    คุณบอกว่า...เพลงทำให้เกิดจินตนาการนะคะ แล้วต่อด้วยความคิดสร้างสรรค์ ชอบฟังเพลงค่ะ ทำงานด้านออกแบบเสียด้วย ไม่มีเพลงช่วยแล้ว ความคิดมันนิ่งๆ ยังไงไม่รู้ค่ะ

    ค่ะ เพลงนี่ส่งผลอย่างมากต่ออารมณ์ของมนุษย์ค่ะ ทำให้รู้สึกสงบผ่อนคลาย และมีสมาธิดีด้วยค่ะ ไม่ขี้โมโหหงุดหงิด พอเราอารฒณ์ดี ความคิดก็แล่นค่ะ และเวลาจะติดต่องาน ก็ปรับตัวได้เป็นอย่างดีกับพวก Difficult People นะคะ

    สำหรับเด็ก พอเด็กผ่อนคลาย สมองจะทำงานสมดุลทั้งสองซีก ตื่นตัว เปิดรับการเรียนรู้ได้ดีค่ะ

    สวัสดีค่ะน้อง Little Jazz \(^o^)/

    สำหรับน้องนะคะ พูดตรงๆว่า บุคคลิกเป็นคนที่ต้องชอบคำนวณอยู่แล้ว ไม่ได้ยอค่ะ ...และเห็นด้วยว่า คนคำนวณไม่เก่งจะทำงานช้ากว่าและพลาดง่ายกว่าด้วย ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องระบบการคิดและเรื่องของตรรกะ

    ทำไมพี่ถึงทราบ....เพราะน้องชอบเล่นเกมส์ 

    การแก้ปัญหามีลักษณะเหมือนการเล่นเกม คือ แต่ละครั้งของการเดินเกมจะมีทางเลือกในการเล่นเกมได้หลายวิธี

    เราจึงต้องพยายามหาวิธีการเดินเกมให้ได้ผลดีที่สุด 

     คล้ายๆกับ การหาคำตอบที่ดีที่สุดทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เพราะไม่ง่ายที่จะหาคำตอบได้

    ลองนึกถึงการเล่นหมากรุก ผู้เล่นแต่ละฝ่ายมีสิทธิในการเดินได้หลายตัว แต่ละตัวก็เลือกเดินได้หลายช่อง สภาพทางเลือกแต่ละครั้งจึงมาก และต้องการๆใช้ความคิดมาก การเล่นเกมส์ มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ค่อนข้างมากค่ะ

     และที่น้องบอกว่า.....แต่ถ้าเครื่องดนตรีชิ้นไหนเล่นเพี้ยนนี่รู้ทันที นับว่ายังพอมีดีที่หู ฟังแล้วจับคีย์ได้ ร้องเพลงไม่เพี้ยนอันนี้ก็ถือว่าเป็นบุญแล้วค่ะ ^ ^

    นี่คงจะเป็นเรื่องของประสาทสัมผัสที่ไวกับจังหวะและโน๊ตของดนตรีค่ะ

    เรื่องของเพลง  ถ้าจะเกี่ยวกับการบริหารงานด้านการสร้างสรรค์ ปัจจุบันเราเรียกร้องให้พนักงาน มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น พัฒนานวัตกรรมมากขึ้น รวมทั้งการบอกให้พนักงานต้องช่วยกันคิดนอกกรอบ ซึ่งเรื่องนี้จะได้ผลมากขึ้น  ถ้าเราสร้างสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้เหมาะสมต่อความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบด้วย การเปิดเพลงจะช่วยไหมคะ ให้พวกเขาrelax

     

    ขอนอกเรื่องไปในเรื่องเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์นิดนึงค่ะ

    สังเกตจากตัวเองนะคะ  ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในสิ่งใหม่ๆ  มักจะเกิดจากการไม่หมกมุ่น อยู่กับงานมากเกินไป  บางครั้งเราคิดงานให้สำเร็จได้มากขึ้น  แต่กลับทำงานที่น้อยลง  ดังนั้นจึงต้องมีการสลับกัน ระหว่างการทำงานและการพักผ่อนนะคะ ไม่ทราบ มีประสบการณ์เหมือนกันไหมคะ

    แต่ถ้าจะให้สรุปว่า ดนตรีกับคริตศาสตร์เกี่ยวข้องกันไหม..... เกี่ยวข้องกันแน่นอนค่ะ แต่จะมากหรือน้อย ก็แล้วแต่ความชอบด้วย บางคนไม่ชอบเล่นดนตรี เลยไม่ค่อยฝึกฝน ก็เลยเหมือนเล่นดนตรีไม่เก่ง แต่ถ้ามีครูดีๆ ก็อาจจะชอบและเล่นได้ดีก็ได้ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณคำนึง

    คุณเข้ามาคุยด้วย ขอบคุณค่ะ

    มีลูกตัวน้อยๆ เขาชอบฟังเพลงและมีการตอบสนองกับเพลงนะคะ ตั้งแต่อ่อนๆเลย พอฟัเพลงกล่อมเด็ก เบาๆนุ่มๆ ช้าๆ จะหลับง่ายและผ่อนคลาย แต่พอเวลาเล่น ให้เขาฟังกุ๊งกิ๊งที่มีเสียงสนุกสนาน เขาจะถีบขาไปมาๆ สนุกใหญ่ค่ะ อย่างนี้ จะทำให้เรียนภาษาพูดได้เร็วไหมคะ

    มีพ่อแม่แยะค่ะ ที่เล่นดนตรีไม่เป็น แต่สนใจ ชอบฟังและชอบศึกษาว่า ดนตรี น่าจะดีกับลูกนะ

    จึงพยายามให้ลูกคุ้นเคยกับดนตรีตั้งแต่อยู่ในท้องเลย ต่อมา รู้สึกเลยว่า ลูกมีการพัฒนาการและมีทักษะดีขึ้นเป็นที่พอใจ เลยรู้ซึ้งถึงคุณค่าของดนตรี และเมื่อถึงวัยที่ควรจะพาเขาไปเรียนดนตรี  ก็มีการสนับสนุนเต็มที่ บางคนอายุเพียง 2ขวบครึ่ง ก็สามารถร้องคลอไปกับนักร้องได้แล้วค่ะ

    การที่เด็กได้ฟังเพลงมาตั้งแต่เป็นทารก  ดนตรีจะไปกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการด้านภาษา  เพราะดนตรีมีการจัดระบบคล้ายภาษา

     

     ดนตรีในช่วงวัยเด็ก  จะช่วยสร้างพื้นฐานของระบบประสาทเกือบทั้งหมด ช่วงอายุตั้งแต่แรกจนถึง  12  ขวบ 

    จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ โดยเฉพาะ 0 6  ขวบ 

        สมองเด็กจะเจริญเติบโตเร็ว ( = 80% ของผู้ใหญ่ ) จะทำให้เด็กเจริญเติบโตอย่างโดดเด่น

    ไม่ว่าด้านภาษาดนตรีศิลปะและคณิตศาสตร์ ค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์จิรประภาคะ

    โอ้โฮ ความคิดเห็นนี้มาไกล จากประเทศอังกฤษนะคะ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ และขอเชิญมาเยี่ยมอีกบ่อยๆนะคะ ที่ให้ความเห็นว่า...

    คนเก่งคณิตฯอาจไม่เก่งดนตรีเลยก็ได้ คนเก่งดนตรีอาจไม่เก่งคณิตเลยก็ได้คะ เพราะคงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน

    อันนี้เป็นความเห็นพ้องต้องกันค่ะ เพราะมันขึ้นกับความชอบและครูผู้สอนด้วยค่ะ ถ้าเจอครูสอนไม่เก่ง ที่อยากจะเล่นดนตรีเสียหน่อย ก้เลยพาลไม่อยากหัด อยากเล่นเลย

    และเราก็ควรเน้นที่จะสอนเด็กให้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้องด้วยซ้ำค่ะ

    และที่แนะนำว่า....ดนตรีทุกประเภทมีโน้ตเพลงก็จริงอยู่ แต่โน้ตเพลงที่น่าจะจัดระเบียบคลื่นสมองได้ดี น่าจะต้องมีลักษณะที่สูงต่ำตามแบบของพวกดนตรีคลาสสิค เช่น.. Mozart เป็นต้น

    ตอนนี้มีแผ่น CD ออกมามากมายให้พ่อแม่นำไปใช้พัฒนา IQ และ EQ ของลูก โดยให้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้องจน6ขวบ หลายคนเชื่อว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ รวมทั้งพี่ด้วยค่ะ เพราะให้หลานฟังแล้ว ได้ผลดีตามคาด เป็นเพลงประเภท Piano Concerto และ Piano Sonata

    แบบแผนของจังหวะของเพลงสม่ำเสมอ และว่ากันว่า คลื่นสมองของมนุษย์นั้นชอบตรงนี้แหละ บางเพลงของ Bach, Mendelssohn และ Haydn ก็คล้ายกัน แต่ของ Mozart นั้นจะซ้ำอย่างสม่ำเสมอทุก 20-30 วินาที ซึ่งตรงกับความยาวของคลื่นสมอง และประสาทส่วนกลาง

    ขอบคุณมากๆที่ชมค่ะ และขอให้คุณสุขภาพดี อย่าลืมเข้ามาคุยกันอีกบ่อยๆนะคะ จะไปเยี่ยมที่บล็อกด้วยค่ะ

     

     

    สวัสดีค่ะ ท่านอัยการชาวเกาะ

    สำหรับกรณีท่านอัยการ อยู่ที่ความชอบ ความไม่ชอบค่ะ และอาจจะเจอครูสอนไม่เก่งด้วย เรื่องครูนี่สำคัญมากๆค่ะ ถ้าสอนแล้วนักเรียนหลับละก้อ ที่นักเรียนจะชอบวิชาที่เขาสอน เป็นไปไม่ได้เลย

    ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

    ครูมักจะมีปัญหาว่า จะสอนอย่างไร จึงจะทำให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept) จะใช้อุปกรณ์ รูปภาพ หรือจะหาตัวอย่างอย่างไรดี เรื่องวิธีสอนนี่สำคัญมากๆค่ะ

     การสอนให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดขี้นมาเองได้นั้น ทำได้ยากกว่าการสอนด้วยการบอกหลายเท่านัก

    ปัญหาคือ ระดับความสามารถในชั้นเรียนของนักเรียนแตกต่างกัน นักเรียนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน ครูหลายท่านจึงจำเป็นต้องรวบรัดด้วยการบอก แทนที่จะเป็นการสอนแบบสืบเสาะ (discovery method) อย่างที่ตั้งใจจะทำ นี่ละ ถ้าครูไม่เก่งเรื่องสอน นักเรียนจะเข้าใจยากค่ะ

    แต่ที่สุดยอดจริงๆก็ที่ท่านเล่าว่า ไปตีระนาดแทนเพื่อนน่ะค่ะ ขนาดเขาถามว่า เล่นอยู่คณะไหน ก็ต้องเรียกว่า มืออาชีพแล้วค่ะ เป็นคนอื่น ไม่เคยตีระนาด จะเล่นได้ยังไง เรียกว่ามี Perfect Pitch มาแต่เกิด มีความรู้อยู่ภายในตัวเอง  เรื่องระดับเสียง เรื่องจังหวะนะคะ

    ถึงได้ยังไม่ฟันธงกันลงไปชัดๆไงคะว่า ถ้าเก่งดนตรี แล้วต้องเก่งคณิตศาสตร์ด้วย

     

    สวัสดีค่ะคุณ คุณครูแอ๊ว

    ขอบคุณคุณครูในฝันที่มาเยี่ยมค่ะ

    การสร้างสิ่งแวดล้อมด้วยเสียงเพลงและดนตรีให้แก่เด็ก จะทำให้เด็กมีความสุข และมีพัฒนาการดีขึ้นนะคะ

    The%20bear

    สวัสดีค่ะคุณ เอื้องแซะ

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    การสนับสนุนให้เด็กฟังเพลงและเล่นดนตรีได้ เป็นเรื่องที่ดีค่ะ ไม่ได้เอาจริงเอาจังแบบจะสอนให้เป็นนักดนตรี

    ลูกชายดิฉันเริ่มหัดเล่นเปียโนตั้งแต่ 5 ขวบเศษ สิ่งทีเห็นได้ชัดๆคือ ลูกได้สัมเสียงที่แตกต่าง ได้ใช้สองมือ 10 นิ้ว ทำให้ประสาทการมองเห็นและสัมผัสเชื่อมโยงกัน และเมื่อต้องเส่นทั้งสองมือ ซ้ายขวา  จะเป้นการฝึกกล้ามเนื้อให้พัฒนาสอดคล้องกันค่ะ

    เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงประสาน ทำให้เกิดหลายๆเสียงพร้อมๆกัน ตรงนี้เป็นการฝึกมิติการมองเห็นกับการได้ยิน ได้สัมผัสความกลมกลืนและความขัดแย้งกันของเสียง

    แต่ถ้าเด็กไม่ชอบเปียโน ก็ไม่ควรบังคับ ดนตรี จะเป็นอะไรก็ได้ เป็นผลดีต่อสมองมนุษย์ทั้งนั้นค่ะ

    • สวัสดีค่ะ
    • เคยได้ยินมาเหมือนกันค่ะว่า...
    • การเรียน หรือการเล่นดนตรีบางชนิด
    • จะทำให้สมองซีกซ้ายทำงานได้ดี
    • ความจำจะดี มีสมาธิ  และเรียนเก่งขึ้น
    • Child--piano
    • การวาดภาพก็เหมือนกัน
    • แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น...ก็ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ว่า
    • จริงหรือไม่
    • แต่ที่แน่ ๆ ดนตรีช่วยบำบัด ทำให้เราผ่อนคลายขึ้นแน่ ๆ อิอิ
    • ชอบมากค่ะกับเสียงเพลง เสียงดนตรี (แทบจะขาดไม่ได้ด้วยซ้ำไป)
    • สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์ ขอบคุณที่เป็นห่วงนะคะดีขึ้นมากแล้วค่ะ
    • ชอบฟังเพลงมากค่ะ ฟังทุกแนว
    • เวลาอยู่บ้านมักชอบเปิดเพลงไว้แล้วทำโน่นทำนี่
    • ทีวียังเปิดไว้ฟังเลยค่ะ เพราะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่หน้าจอคอม
    • ชอบเปิดเพลงบรรเลงก่อนนอนค่ะ ช่วงนี้ จะชอบแนว Healing Music
    • ถ้าของไทยชอบของคุณจำรัส เศวตาภรณ์ GreenMusic.org : The Music For Relaxing, Healing, Soothing And ...
    • เมื่อคืนฟัง CD ชุดนี้ก่อนนอนค่ะ Conversations with God
    • Conversations66
    • ที่เป็นหนังสือยังไม่เคยอ่านลองดูคนเขียนหนังสือกับคนแต่งเพลงเขาชมกันเองสิคะ อิอิ แต่เพลงเพราะมากๆ
    • "I have found the extraordinary music of Michael Mish as special as the wonderful words in Conversations with God. I know that Michael's music, too, comes directly from Heaven, because when I listen to it, I find myself there".
             -- Neale Donald Walsch, author of Conversations with God

      "I’ve never done a recording which is, for the most part, instrumental. But I’ve always wanted to. The incredible pallet of orchestral instruments inter-weaving with each other with no vocalist to lend his or her interpretation...sets the listener’s imagination free. As a kid, this is what I so appreciated about classical music. Music exploded open the limitless reaches of my minds landscape."
             -- Michael Mish

    • มีตัวอย่างเพลงให้ลองฟังด้วยค่ะ

    • East Met West 5:21 - low-fi version

    • The Air 2:55 - low-fi version

    • We are Eternal 3:50 - lo-fi version

    สวัสดีค่ะคุณ naree suwan

    ขอบคุณที่นำเพลงมาฝากค่ะ เพราะมาก เปิดฟังแล้ว ที่บ้านก็มีเพลงแนวนี้อยู่เหมือนกัน ฟังแล้ว เย็นๆ ชุ่มๆใจดีค่ะ

    ดีใจที่อาการดีขึ้นแล้ว เห็นมีแพทย์บางท่านว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของโรคนี้ น่าจะมีเรื่องอาหารมาเกี่ยวข้องด้วยนะคะ อาหารธรรมชาติหน่อยจะดีที่สุดค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ อ้อยควั้น

    จากข้อเขียนของคุณหมอวิจิตรฯค่ะ....

    ดนตรีช่วยพัฒนาสมอง

    o ดนตรีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าในร่างกาย  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการไหลเวียนของเลือด   

           ชีพจร และความดันโลหิต  การหลั่งของฮอร์โมนและสารเคมีภายในรวมทั้งพลังของกล้ามเนื้อ

     

    o    ดนตรีมีผลต่อสมองทั้งสองซีก  ไม่ใช่เฉพาะซีกขวาซีกเดียวอย่างที่เคยเชื่อกัน

    1.     o     ดนตรีพัฒนาการเรียนรู้ในด้านต่างๆ และความจำ

       เสียงดนตรีก่อให้เกิดการสร้างเส้นใยสมอง ( dendrites ) เพิ่มขึ้น ดนตรีกระตุ้นให้เกิด .....

     

       จินตนาการ  เชื่อมโยงความคิดเป็นภาพดนตรีเพิ่มการคิดจินตนาการที่เป็นเหตุผล  เรียกว่า  

     

     

       เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์  ( spartial   reasoning ) ซึ่งการคิดแบบนี้   น่าจะนำไปสู่พื้นฐานทางคณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์ และการคิดชั้นสูงต่อไป

    เห็นด้วยที่คุณบอกว่า.....ดนตรีช่วยบำบัด ทำให้เราผ่อนคลายขึ้นแน่ ๆ อิอิ

  • ชอบมากค่ะกับเสียงเพลง เสียงดนตรี

    วันนี้เป็นวันแรกที่พาหลานอายุ 1ขวบ 8เดือนไปเล่นใน Play Group เป็นการเตรียมตัวเข้าร.ร.เตรียมอนุบาลแห่งนี้ เขามีกิจกรรมมาก ทั้งวาดภาพ เล่นตามใจชอบ และร้องเพลงเล่านิทาน ครูเป็นฝรั่งค่ะ มีของว่างให้ทาน โดยฝึกให้เด็กช่วยตัวเอง ช่วงนี้ มีพี่เลี้ยงอยู่ด้วยค่ะ จากเตรียมอนุบาลที่นี่ จะต้องไปเข้าอนุบาลอีกแห่งหนึ่ง

    ภาพที่วาดนี้ หลานช่วยคุณแม่ระบายสีค่ะ ฝึกแยกสีให้คล่อง

    จะชี้ว่า เด็กๆ อยู่ที่การฝึกค่ะ และอายุทองของการฝึก คือตั้งแต่ 1-6ขวบค่ะ

  • First%20day%20at%20school%20at%20kid,s%20academy%20-5-02-2008

  • สวัสดีคะคุณพี่"Sasinanda"ที่เคารพรัก

    ขอบพระคุณมากค่ะที่คุณพี่อวยพรให้ค่ะ หนูเข้ามาเยี่ยมชมที่บล็อคคุณพี่บ่อยๆเพราะนอกจากจะได้ความรู้ที่ดีเยี่ยมแล้ว เจ้าของบล็อคสวยดีค่ะดูแล้วสดชื่น เหมือนยืนอยู่บนเนินเขาเลย.. 

    ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะที่คุณพี่จะไปเยี่ยมที่บล็อค"รวมเรื่องส่วนใหญ่ไร้สาระ"ของหนูน่ะค่ะ..อิๆ

    สุดท้าย ขอบอกว่าคุณพี่เป็นคนที่ทันสมัยมากๆเลยน่ะค่ะและความรู้ดีเยี่ยม..ค่ะ..ขอบพระคุณมากค่ะ..

    ด้วยความเคารพรัก

    จาก หนูหมูอ้วนเองค่ะ

    สวัสดีครับ

    ตั้งแต่จะอ่านความเห็นท่านอื่นๆให้จบ แต่ก็ยังอ่านไม่จบสักที เลยเขียนความเห็นก่อนดีกว่า

    1. ผมคุ้นเคยกับนักเรียนดนตรีมาหลายปี ก็ไม่ได้ถามดูว่าใครเก่งคณิตศาสตร์บ้าง แต่พวกนักศึกษาดนตรี หรืออาจารย์ดนตรี ดูๆ ทั้งคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยจะเอาไหนเท่าไหร่

    มีนักเรียนสองคน คนหนึ่งเรียนเปียโน คนหนึ่งเรียนดนตรีไทย (ขิม ระนาด) เก่งคณิตศาสตร์ระดับโอลิมปิก และไปแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการ ผู้ปกครองสนับสนุน แต่ไม่บังคับ อนาคตคงจะไปได้ไกล

    2. มีการศึกษาดนตรีในเชิงคณิตศาสตร์เอาไว้หลายแง่มุม เช่น หาค่าความสัมพันธ์ของระดับเสียง โน้ต และคอร์ด ฯลฯ แต่นั่นอาจไม่ได้หมายความว่าคนเก่งคณิตศาสตร์จะต้องเก่งดนตรี

    แต่ก็อีกนั่นแหละ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าคนนั้นเก่งคณิตศาสตร์ (ถ้าไม่ได้จับมาสอบ) คณิตศาสตร์เองก็มีหลากหลายสาขา ตั้งแต่เลขคณิต เรขาคณิต ความน่าจะเป็น ฯลฯ

    3. ผู้ปกครองไม่น้อยอยากให้ลูกๆ เรียนเก่ง จึงพาไปเรียนดนตรี ให้ฟังดนตรี แต่ไม่มีบรรยากาศทางดนตรี สุดท้ายก็พาลเบื่อ เลิกไปอย่างน่าเสียดาย Mozart Effect ดูๆ ความเห็นก็ยังไม่ลงรอยกันเท่าไหร่นะครับ การทดสอบก็ทำในกลุ่มน้อย ใช้เวลาไม่นาน ตัวแปรก็น้อย น่าจะสรุปได้ยาก

    4. ผมชอบคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา ด้วย ทำงานอยู่โรงเรียนดนตรีมาช้านาน แต่ยังเล่นดนตรีไม่ค่อยเป็นสับปะรด พี่สาวเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง ไม่ถึงกับเก่ง แต่สมัยเรียนหนังสือคณิตศาสตร์ จัดว่าเก่ง

    สรุปว่าคงยังสรุปไม่ได้กระมังครับ เพราะทุกๆ อย่างเชื่อมโยงกันหมด ไม่น่าจะมีความสัมพันธ์เชิงเส้นแบบหนึ่งต่อหนึ่งที่ชัดเจนครับ

     

    สวัสดีค่ะคุณ  ธ.วั ช ชั ย

    คุณมีประสบการณ์ตรงนะคะ เพราะเคยอยู่โรงเรียนดนตรีมาด้วยนาน

    จริงๆแล้ว ก็ตรงกับที่พี่คิดค่ะ คือคิดว่า แนวโน้มทั้งสองสิ่งนี้ น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก แต่ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ และก็มีประสบการณ์ที่พบเห็นคนมามาก แบบเดียวกับคุณธวัชชัย คือ เช่น บางคนเก่งดนตรี แต่คณิตศาสตร์ปานกลาง บางคนเก่งคณิตศาสตร์ แต่ดนตรีไม่เป็นหรือไม่ชอบ แต่บางคนก็เก่งดนตรีและเก่งคณิตศาสตร์ด้วย

    ซึ่งคงจะมีตัวแปรที่ความชอบ ไม่ชอบ และเรื่องครูสอน รวามทั้งบรรยากาศที่เอื้ออำนวยด้วยค่ะ

    ตัวเอง เรียนคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ไม่ดีมาก  แต่ภาษาดี และเล่นดนตรีพอปานกลาง ชอบฟังเพลง ส่วนลูกตัวเอง เล่นดนตรีเก่งและเรียนคณิตศาสตร์เก่ง อันเนื่องมาจากการได้รับการผลักดันจากพ่อแม่ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ใกล้ชิดญาติผู้พี่ ที่เก่งดนตรีระดับที่เรียกว่า มีพรสวรรค์( ดร.จิรเดชฯในปัจจุบัน..กล่าวถึงในบันทึกแล้วค่ะ)

    ค่ะ มาถึงตอนนี้ เราจะฟันธงสรุปลงไปเต็มที่ ว่าคนเก่งดนตรี แล้ว ต้องเก่งคณิตศาสตร์ด้วย ก็คงยังจะพูดไม่ได้เต็มปากค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ J. Maglin

    ปลื้มใจจังค่ะที่ชม นานๆจะมีคนชมซักที พรุ่งนี้จะบุกไปเยี่ยมให้หมดทุกบันทึกเลยค่ะ

    เรื่องความเชื่อเรื่องความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดของดนตรีและคณิตศาสตร์ ก็อาจจเป็นอะไรที่คล้ายกับเรื่องศรัทธาของคนนะคะ มีคำกล่าวว่า....

     

    ศรัทธาคือการเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น และรางวัลของศรัทธานี้ก็คือการได้เห็นสิ่งที่เชื่อ

    Faith is to believe what we do not see; and the reward of this faith is to see what we believe.

    (St. Augustine)

    • ไม่ได้เข้ามาติดตามเรื่องราวใน G2K หลายวัน
    • หลังจากจักการเยียวยาแก้ไขคอมพิวเสร็จใช้งานได้ตามปกติ
    • ปัญหาใหม่เกิดขึ้นอีก จะเป็นอะไรคงเดากันได้นะค่ะ internet ค่ะ
    • กำลังรอการขยายสัญญาน DSLของ TOTเพื่อจะได้ใช้ high-speed internet กับเสียที่
    • ก็เลยเสียทีไปแล้ว ไม่ทราบจริงๆ ว่า TOTปิด free-internetผ่าน 1222 เป็นการถาวรวันที่ 5มีค.ที่ผ่านมานี้เอง
    • ร้อนถึงลูกสาวคนเล็ก(ผู้ฟังเพลงและคนตรีมาตั้งแต่ก่อนเกิด) ตรวจสอบหาข้อมูลให้
    • จึงรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น
    • ทำให้ต้องรีบเข้าไปซื้อชั่วโมงinternetที่ศูนย์การค้าในเมืองราคา 300บาทไม่จำกัดชั่วโมงใช้ได้นาน 65วัน
    • กลับมาก็รีบดำเนินการทันที่ คราวนี้ก็เข้าเนตได้ตั้งใจว่าจะเข้ามาตามอ่านบันทึกของผู้คุ้นเคย
    • ตกกลางคืนลูกโทรฯ มาบอกว่าซื้อชั่วโมงเนตให้1ปีแล้ว
    • และบอกวิธีดำเนินการติดตั้งให้จนเรียบร้อยผ่านทางโทรศัพท์
    • เลยตัดสินใจใช้ของที่ลูกซื้อให้ค่ะ
    • และทดลองเขียนบันทึกเรื่องเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เรื่องโฮมสเตย์
    • ตามคำเรียกร้องของคุณพี่ศศินันท์ค่ะ
    • เพิ่งเริ่มต้นการเดินทาง
    • จะไปพักโฮมสเตย์ในชนบทของเมือง OITA ค่ะแล้วจะมีตอนต่อๆไปที่จะพูดถึงโฮมสเตย์และความประทับใจ
    • อาจจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาโฮมสเตย์ในชนบทของไทยค่ะ

     

     

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ Lin Hui

    ต้องบอกว่า เปิดเข้ามาเจออาจารย์มาเยี่ยม ดีใจจนเนื้อเต้น เพิ่งทำน้ำพริกมั่ง น้ำปลาหวานมั่ง สูตรอาจารย์ไป 3 หนแล้วค่ะ อร่อยค่ะ เดี๋ยวจะตามไปอ่านเรื่องโฮมสเตย์ค่ะ

    ส่วนเรื่องลูกสาวคนเล็ก(ผู้ฟังเพลงและคนตรีมาตั้งแต่ก่อนเกิด)ไม่เห็นshare ประสบการณ์ว่า เป็นอย่างไรคะ เพราะตอนนี้ น่ายังจะอยู่ในช่วงเก็บข้อมูลกันอยู่ ไม่มีใครกล้าพูดได้ 100%ว่าดนตรีกับคณิตศาสตร์มีสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นกี่เปอร์เซ็นต์

     

    มาเยี่ยม...

    เป็นเหตุผลที่น่าติดตาม...เรื่องดนตรีกับคณิตศาสตร์..ครับ

    สวัสดีค่ะอาจารย์  umi

    ได้เคยอ่าน จากหลายการศึกษาพบว่า ในการวัดระดับ IQ และระดับผลสัมฤทธิ์(Achievement Test)

    คนที่มีพื้นฐานฝึกฝนด้านดนตรีจะได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าโดยเฉลี่ย

    ก็อาจเป็นความจริงอยู่บ้างนะคะ แต่อาจารย์อยู่ในวงการศึกษา คงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้มากกว่านะคะ

    หวัดดีครับพี่Sasinanda
            ลูกผมก็ให้เรียนดนตรีครับ เมื่อตอนอนุบาลก็ให้เล่นดนรีไทย เช่น ขิม ซอด้วง ขลุ่ย พอโตขึ้นเขาก็ขอไปเรียนอีเล็กโทน ตอนนี้เป่าแซกโซโฟนในวงโยทวาธิต ประจำโรงเรียน ครับ มีสมาธิดี มีความคิสร้างสรรค์พอสมควร เข้ากับเพื่อนได้ทุกคน การเรียนก็ใช้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงกับ Top ผมก็ดีใจที่ลูกมีความสุขร่วมกับสังคมอันอบอุ่น และเป็นคนดีของสังคมครับ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ หมอเล็ก

    ยินดีต้อนรับและดีใจที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ และนี่คือ อีกตัวอย่างหนึ่งที่ยืนยันว่า การให้เด็กเล่นดนตรี ทำให้ลูกอารมณ์ดี มีความสุขและเข้าสังคมกับเพื่อนๆได้ดี และการเรียนก็ดีด้วย เพราะสมองปลอดโปร่ง ทำใหมีสมาธิดีด้วยค่ะ

    พุดถึงดนตรีไทย ทำให้นึกถึง หนังเรื่องโหมโรง ไปดูด้วยค่ะ

    เป็นตัวอย่างหนึ่งของ สาระ คุณค่า และ บันเทิงซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน  และจากวันนั้นถึงวันนี้ โหมโรง ได้ปลุกกระแสนิยมดนตรีไทยขึ้นมาจนเกินความคาดหมาย วันนี้ เรามีเยาวชนจำนวนมาก ที่เล่น หรือกำลังสนใจการเล่นระนาด ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดี เพราะเป็นการสืบสานดนตรีไทยที่ซบเซาไปเป็นเวลานาน

    ต้องปรบมือให้แก่ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย เพราะจะมีใครสักกี่คน ที่คิดว่าสามารถนำเอา ระนาด มาทำเป็นภาพยนตร์ให้คนติดอกติดใจกันทั้งเมืองเช่นนั้นได้?นะคะ

    ลูกของคุณหมอดีจังค่ะ เรียนทั้งดนตรีไทยและสากลเลยนะคะ เรียกว่า มีความสามารถพิเศษจริงๆค่ะ

    ดิฉันอยากให้มีการจัดคอนเสิร์ตดนตรีไทยบ้างนะคะ เห็นมีแต่ดนตรีสากลทั้งนั้นเลย อยากให้คนไทย หันมานิยมดนตรีไทยกันให้มากขึ้นค่ะ

    ตามมาอ่านนะครับ  ขอบคุณนะครับที่เข้าไปให้กำลังใจ เด็กที่โรงเรียนส่วนมากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ พ่อแม่ของเด็กไม่ค่อยรู้เรื่องนี้แต่สนใจเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจของครอบครัวมากกว่าครับ บางครอบครัวท้องโตแล้วยังต้องทำงานอยู่เพราะว่ายากจน ดังนั้นการเตรียมพร้อมให้ลูกก็เลยไม่มีความสำคัญเท่าไหร่  กลุ่มที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้จะเป็นลูกของข้าราชการ ไม่ค่อยเรียนที่โรงเรียนในพื้นที่หรอกครับ ส่วนมากก็ส่งเรียนต่างจังหวัด เช่นเชียงใหม่ เป็นต้น  แต่ว่าผมได้รับโอกาสเป็นอาจารย์พิเศษของวิทยาลัยชุมชน สอนเรื่อง การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีเนื้อหาให้นักศึกษาเรียนเรื่อง การเตรียมพร้อมของพ่อแม่ ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน  แต่นักศึกษาก็ไม่ค่อยสนใจและให้ความสำคัญเท่าไหร่

           เป็นไปได้ไหมครับว่า ที่สาเหตุสำคัญข้อหนึ่งที่เด็กชาวเขาเก่งสู้เด็กในเมืองไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาใด ๆ นอกจาก ความอึดทางด้านสุขภาพร่างกาย  เนื่องจากการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ ที่มีต้นทุนไม่ใช่แค่ศูนย์ แต่มีต้นทุนเริ่มต้นที่ติดลบ   

    เข้ามาอ่านด้วยความสนใจ เพราะมีลูกอายุไม่ถึง 10 ขวบอยู่ อยากให้เขามีพัฒนาการสมอายุ และพอไปกับเด้กอื่นๆได้ดี ตอนนี้ เขาชอบวาดรูปมากกว่าเล่นดนตรี ดูจะชอบเป็นพิเศษ ก้น่าจะพอทดแทนกับการไม่ค่อยได้เล่นดนตรีได้นะคะ

    สวัสดีค่ะคุณ ครูบรรเจิด

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะและให้ข้อแลกเปลี่ยนว่า...เด็กที่โรงเรียนส่วนมากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ พ่อแม่ของเด็กไม่ค่อยรู้เรื่องนี้(คนตรีและคณิตศาสตร์)  แต่สนใจเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจของครอบครัวมากกว่าครับ....เนื่องจากการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ ที่มีต้นทุนไม่ใช่แค่ศูนย์ แต่มีต้นทุนเริ่มต้นที่ติดลบ 

    ค่ะ คิดว่าเป็นตามเหตุผลที่อาจารย์บอกน่ะค่ะ  

    ในชนบทที่ห่างไกล อันเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม เราก็จะพบว่า ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และไม่ค่อยจะมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์  หรือการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะของชุมชน (เช่นพื้นที่ไร่ซึ่งทางเหนือเรียกว่าเป็นพื้นที่ "หน้าหมู่" คือทุกครอบครัวในชุมชนสามารถใช้ได้ แต่ยึดครองไม่ได้ หรือพื้นที่ป่าซึ่งถูกรัฐส่วนกลางยึดไปแล้ว)

    ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่ เด็กชาวเขาจะสู้เด็กกรุงในด้านวิชาการไม่ได้ เราคงอยากจะให้เรื่องนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องลงมาดูแลเอาใจใส่ให้มากกว่านี้มากๆค่ะ เรื่องการศึกษากับเรื่องเศรษฐกิจนี่ เป็นเรื่องใหญ่และยากนะคะ

    สวัสดีครับ

    ผมเคยทราบมาว่า ถ้าเด็กเก่งคำนวณ มักจะไม่ค่อยเก่งด้านภาษา นัยว่าแปรผกผันกันระหว่างศาสตร์และศิลป์ แต่ผมว่าในศาสตร์ก็มีศิลป์ ขณะเดียวกันในศิลป์ก็ต้องใช้ศาสตร์ อย่างน้อยคนชอบ organic chemistry อย่างผมก็ไม่ได้ท่องจำไปสอบ (เรื่องเดียวกันไหมนี่ อิอิ)

    วันก่อนผมดูรายการทีวี ด็อกเตอร์ท่านหนึ่งบอกว่าช่วง 0-3 ปีเป็นช่วงอายุที่สำคัญต่อพัฒนาการในตอนโตของเด็กเป็นอย่างมาก ถ้าลงโปรแกรมผิดก็ติดไปจนโต ดังนั้น ถ้าเราป้อนทั้งทักษะด้านดนตรีและทักษะด้านคณิตศาสตร์ให้เขาในช่วงที่เหมาะสมก็น่าจะทำให้เขาโตอย่างมีคุณภาพ และมีสมดุลย์ทั้ง IQ และ EQ ส่วนอะไรเป็นเหตุเป็นผลก็คงต้องให้นักวิจัยหาคำตอบต่อไป 

    ตอนนี้ผมอยู่ที่เชียงใหม่ อากาศไม่หนาวแล้วครับ  

     

    สวัสดีค่ะคุณนกน้อย

    อยากจะตอบว่า ความรู้ทางศิลปะไม่ว่าจะเป็นแขนงใด จะสามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้วค่ะ การจะเรียนอะไรที่เกี่ยวกับศิลปะให้ได้ดีนั้น  อยู่ที่แรงบันดาลใจ  เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดพัฒนาศิลปะออกมา

    การวาดภาพถือเป็นงานแขนงหนึ่งของงานศิลปะ ที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างชิ้นงาน ด้วยเหตุนี้เอง งานศิลปะ ทำให้เด็กๆมีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน เสริมสร้างสภาพจิตใจให้เยือกเย็น ทำให้มีสมาธิ ส่งผลต่อการเรียนให้ดีขึ้นแน่นอนค่ะ

    สวัสดีค่ะพี่ sasinanda

    • ตามมาเยี่ยมค่ะ
    • มาเป็นกำลังใจในการเขียนบันทึกดีๆ ได้อ่านกันต่อไปค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณข้ามสีทันดร

    ดีใจจังที่เข้ามาเยี่ยมนะคะ

    ที่คุณบอกว่า...บอกว่าช่วง 0-3 ปีเป็นช่วงอายุที่สำคัญต่อพัฒนาการในตอนโตของเด็กเป็นอย่างมาก ถ้าลงโปรแกรมผิดก็ติดไปจนโต ดังนั้น ถ้าเราป้อนทั้งทักษะด้านดนตรีและทักษะด้านคณิตศาสตร์ให้เขาในช่วงที่เหมาะสมก็น่าจะทำให้เขาโตอย่างมีคุณภาพ และมีสมดุลย์ทั้ง IQ และ EQ ส่วนอะไรเป็นเหตุเป็นผลก็คงต้องให้นักวิจัยหาคำตอบต่อไป 

    เห็นด้วยๆค่ะ แต่ขอแก้เป็น เด็กอายุ 0-6 ปีค่ะ ช่วงนี้เป็นโอกาสทอง ที่พ่อแม่ จะให้เวลาลูกให้มากที่สุด พัฒนาเขาอย่างถูกหลัก ถูกวิธี เด็กก็น่าจะโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพนะคะ

    • ขอบพระคุณค่ะที่ชอบชื่อนี้ (มะขามอ่อน)
    • ที่บ้านมีสวนมะขามหวานค่ะ แต่ตอนนี้มันหมดฤดูแล้วเสียดายจังถ้ารู้ว่าอยากทานจะส่งไปให้ลองชิมค่ะ
    • เอาไว้ปีหน้ามะขามสุกเมื่อไหร่จะส่งไปให้ทันทีค่ะ
    • มะขามหมูเคยทานไหมค่ะ
    • เก็บสาระดีๆ ไว้สอนลูก (แหะๆๆ ยังหาพ่อของเด็กไม่ได้เลย)
    • ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะครู มะขามอ่อน/ครูมิม

    ชอบชื่อนี้แต่ไหนแต่ไรค่ะ เข้าใจตั้งชื่อจริงๆค่ะอ่านชื่อแล้ว อยากทานมะขามจริงๆนะคะ ไม่ได้พูดเล่น

     ถ้าเด็กชอบงานศิลปะ มีความสุขมากเมื่อได้สะท้อนจินตนาการลงในภาพวาด รู้สึกเพลิดเพลิน ทำให้มีสมาธิ เพราะการวาดภาพแต่ละครั้งต้องมีความอดทน ต้องใช้ความประณีต การวาดภาพสามารถนำมาปรับใช้ในการอ่านหนังสือ ทำการบ้านได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้การเรียนดีขึ้นนะคะ

     อีกทั้งยังเกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ที่สำคัญยังทำให้สามารถรู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เพราะการวาดภาพมักจะมีปัญหาเฉพาะหน้าเสมอ ๆ และแม้ว่าจะเรียนจบไปแล้วก็ยังนำงานศิลปะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ค่ะ

    3%20ducks

    แต่ถ้าเด็กชอบเล่นดนตรี ก้จะดียิ่งขึ้นไปใหญ่ค่ะ เพราะจะยิ่งทำให้น่าจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้นค่ะ

    ไม่ทราบว่าเป็นคนเพชรบูรณ์ไหมคะ เพราะมะขามเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนี้ค่ะ

    ชอบทานมะขามหวานมากค่ะ

    ที่เห็นนี้เป็น พันธุ์ประกายทอง (พันธุ์ตาแป๊ะ)Tamarind

    • มิมเกิดที่พิษณุโลกแต่มาโตที่กำแพงเพชรค่ะ
    • สวนมะขามก็อยู่กำแพงเพชรค่ะ พ่อเอาพันธุ์มาจากเพชรบูรณ์
    • ที่สวนไม่มีพันธุ์ตาแป๊ะค่ะ มีแต่ สีทอง สีชมภู ขันตี และอินทผาลัม
    • ปีหน้าได้ทานแน่ค่ะ แล้วให้พี่ sasinanda ตัดสินว่าของที่ไหนอร่อยกว่ากัน
    • ขอบคุณค่ะ
    • สวัสดีค่ะ
    • ขอบพระคุณที่นำเรื่องดีดีมาเล่าสู่กันฟังนะคะ
    • วันก่อนแณณก็เพิ่งดูสารคดีทาง discovery channel นำเสนอเรื่อง เด็กอัฉริยะอายุ 5 ขวบ ที่ได้ยินเสียงเปียโนเมื่ออายุ 2 ขวบ แล้วสามารถดีดตามได้เลยค่ะ น่าสนใจดีค่ะ

     

    กลัวว่าจะไม่ได้ตามไปอ่านค่ะ

    สองมือสตรีสร้าง……………โลกา
    ผันผ่านเวียนนานมา………...เฟื้องฟุ้ง
    เหนื่อยหนัก บ่ ระอา………...ฤาบ่น
    เช้าบ่ายสายค่ำหรุ้ง………….ห่อนได้เห็นเรียม
    ชอบและถูกใจจริงๆค่ะ

    P
    8. มะขามอ่อน/ครูมิม
    เมื่อ ส. 08 มี.ค. 2551 @ 21:54
    569226 [ลบ]

    สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda

    • ก่อนอื่นต้องขออนุญาติเรียกพี่นะคะ เนื่องจากว่าเข้ามาเยี่ยมบันทึกของมิมหลายครั้งแล้ว และก็รู้สึกดีใจทุกครั้งที่พี่เข้ามาเยี่ยม รู้สึกคุ้นเคยกันมานาน
    • ขอบพระคุณค่ะที่ชอบบันทึกนี้
    • คนแต่งเขาแต่งได้ไพเราะ จับใจ ความหมายลึกซึ่งค่ะ
    • และมิมเชื่อว่า บทประพันธ์นี้เหมือนพี่ sasinanda ค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะ..อาจารย์ศศินันท์

    อ่านจนเพลินค่ะ..ได้ความรู้เกินบรรยายจริง ๆค่ะ

    โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่สมองทำงานทั้งสองซีกพร้อม ๆ กันได้ค่ะแบบว่าทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์และภาษา พร้อมกับดนตรีด้วย 

    สิ่งที่เป็นชีวิต คือเสียงเพลงค่ะ..ทั้งเล่น..ทั้งฟัง..ทั้งร้อง

    เครื่องดนตรีสากลที่ชอบเป็นชีวิตจิตใจ คือแซกโซโฟน..ค่ะ

    เดี๋ยวนี้การจัดการศึกษาจึงเน้นการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง (Brain-Base Learning  เรียกย่อ ๆ BBL ..ค่ะ) ตั้งแต่ระดับปฐมวัยเป็นต้นไป

    บันทึกของอาจารย์ศศินันท์เหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่เชียวค่ะ...เก่งจริง ๆ

    ขอบคุณค่ะ...

     

    ผู้คนยังปักใจเชื่อว่าดนตรีกับคณิตศาสตร์สัมพันธ์กันมากกว่า ดนตรีกับวิทยาศาสตร์

    ผมยังเชื่ออยู่ครับ

     

    คุณครู มะขามอ่อน/ครูมิม คะ

    ไปอ่านพบมาว่า....ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เราควรจะมีบทเรียนที่ท้าทายความคิดของเด็กบ้าง เพราะนิสัยเด็กมักชอบการท้าทาย เมื่อถูกท้าทายก็จะทำให้เกิดความมุ่งมั่น อยากเรียน อยากค้นคว้าค่ะ

    พอดีได้อ่านประวัติของ  แอนดรูว์ ไวลส์ (Andrew Wiles) เขาถูกท้าทายตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จากตำราคณิตศาสตร์ที่เขายืมมาจากห้องสมุดประชาชน ที่ตั้งอยู่ริมเส้นทางเดินจากบ้านไปโรงเรียนในเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

    เมื่อเขาได้อ่านทฤษฎีจากตำราเล่มนั้น เขาก็อ่านรู้เรื่องเข้าใจเพราะเป็นเรื่องที่ง่ายๆ เด็กไทยเราระดับชั้นมัธยมปีที่สองทุกคน ก็เคยพบกับบางส่วนของทฤษฎีบทนี้มาแล้ว แต่ความน่าสนใจที่ทำให้เด็กชายแอนดรูว์ถูกท้าทายก็ตรงที่ว่า ยังไม่มีใครในโลกนี้สามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ได้เลยตลอด 350 ปี ที่ทฤษฎีบทนี้ถูกตั้งขึ้น

     ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 42 ปี (เขาเกิดปี พ.ศ.2496) เขาก็สามารถพิสูจน์ทฤษฎีคณิตศาสตร์ที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นได้จริงๆ เขาให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกครั้งแรก ที่ได้เห็นทฤษฎีบทนี้ว่า "ผมจะไม่ยอมปล่อยให้มันผ่านไปเฉยๆ อย่างแน่นอน ผมจะต้องพิสูจน์มันให้ได้"

    แอนดรูว์ ไวลส์ ได้รับปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ ต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) สหรัฐอเมริกา

    อยากให้เด็กไทยหันมาให้ความสนใจคณิตศาสตร์กันเยอะๆค่ะ โดยเริ่มต้นท้าทายอย่างสร้างสรรค์ต่อพวกเขาเสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย จะได้ผลมากขึ้นที่จะทำให้เด็กหันมาชอบคณิตศาสตร์อย่างจริงจังค่ะ

    ตอนนี้ เด็กชาวเกาหลีใต้หันมาสนใจเรียนวิทยาศาสตร์กันมากนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณ Nan & Ball Chongbunwatana

    ก่อนหน้านี้ สังเกตเห็นว่า เด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ เอาแต่ดูทีวี เด็กไม่ค่อยชอบฟังนิทาน เอาแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกัน รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กกลับอยู่ไม่ยืด ผู้ใหญ่ในสังคมจึงต่างเป็นห่วงเป็นใยเด็กกันไปตามๆกันค่ะ

    แต่ปัจจุบัน มีการใช้สื่อของรัฐเพื่อการศึกษา และเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและครอบครัวมากขึ้นค่ะ ทั้งที่ทีวีสาธารณะและทีวีธรรมดา

    ทำให้สบายใจขึ้นอีกหน่อยค่ะ

    พี่เอง เป็นคนเอาใจใส่เรื่องการพัฒนาการเด็กมาก และอยากจะให้เด็กๆของเรา ได้รับสิ่งที่ดีๆเข้าไปในสมองเท่านั้นค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์วัชราภรณ์ วัตรสุข

    การเป็นศึกษานิเทศก์ดีเด่น การันตีผลงานอย่างยอดเยี่ยม และดีใจจริงๆที่มีโอกาสได้รู้จัก แม้ผ่านทางบล็อก ก็ยังดีค่ะ

    พี่เอง เป็นคนสนใจเรื่องพัฒนาการเด็กมาก โดยเฉพาะตอนนี้มีหลานขวบเศษอยู่ 1 คน เลยยิ่งสนใจมากขึ้นค่ะ

    จากการวิจัยเรื่อง "การศึกษาการนำเสนอเนื้อหาสำหรับเด็กของสื่อมวลชนในปัจจุบัน" ด้วยการสนับสนุนของ สสส.และโครงการยุทธศาสตร์สื่อเด็ก

    ปรากฏว่า เด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ เอาแต่ดูทีวี สมัยนี้เด็กไม่ค่อยชอบฟังนิทานหรอก ชอบแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกัน รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กก้น้อย และไม่นานก็มักปิดตัวไป น่าเป็นห่วงค่ะ

    มีหน่วยงานที่ทดสอบความรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์TIMSS

    TIMSS, the Trends in International Mathematics and Science Study, is designed to help countries all over the world improve student learning in mathematics and science. It collects educational achievement data at the fourth and eighth grades to provide information about trends in performance over time together with extensive background information to address concerns about the quantity, quality, and content of instruction.

    The TIMSS 2003 data collection is complete, and the results released December 14, 2004. Conducted on a four-year cycle, the first round of TIMSS was in 1995 and the second in 1999. Preparations are underway for the next round of TIMSS, which will take place in 2007.

    รวมการทดสอบเด็กไทยไว้ในหลายรายการด้วย

    ผลของ TIMSS มีดังนี้

    ในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้น ป. 4 ของไทยเข้ามาลำดับที่ 22 ในบรรดา 26 ประเทศ และชั้น ม. 2 เข้ามาลำดับที่ 21 ในบรรดา 41 ประเทศ

    • ในด้านวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้น ป.4 ของไทยเข้ามาลำดับที่ 24 และชั้น ม.2 เข้ามาลำดับที่ 22

    ผลการทดสอบของ PISA บ่งว่า เด็กไทยได้ลำดับที่ 33-36 ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่านและการแก้ปัญหาเมื่อเทียบกับการทดสอบนักเรียนใน 41 ประเทศ

    รายงานการทดสอบของทั้ง TIMSS และ PISA มีรายละเอียดอีกมาก ผู้สนใจอาจติดต่อ Boston College ในสหรัฐ หรืออ่านจากเวบไซต์ของเขาที่ http://timss.bc.edu และ OECD ในกรุงปารีส หรืออ่านจากเวบไซต์ของเขาที่ www.pisa.oecd.org

    ในรายละเอียดมากมายนั้น มีข้อน่าสังเกตหลายอย่าง เช่น TIMSS ชี้ว่า

    ในด้านคณิตศาสตร์ การทดสอบนักเรียน ป.4 และ ม. 2 พบว่า เด็กที่มาลำดับ 1-4 ได้แก่ เด็กสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่นและฮ่องกง

    ในด้านวิทยาศาสตร์ การทดสอบนักเรียน ป.4 พบว่า เด็กเกาหลีมาที่ 1 เด็กญี่ปุ่นมาที่ 2 เด็กสิงคโปร์มาที่ 10 และเด็กฮ่องกงมาที่ 14 การทดสอบเด็ก ม.2 พบว่า เด็กสิงคโปร์มาที่ 1 เด็กญี่ปุ่นมาที่ 2 เด็กเกาหลีมาที่ 3 และเด็กฮ่องกงมาที่ 24

    PISA ชี้ว่า ในด้านคณิตศาสตร์ ฟินแลนด์ แทรกเข้ามาเป็นอันดับ 1 ส่วนประเทศที่กล่าวถึงได้คะแนนลดหลั่นกันลงไป แต่จะไม่เปลี่ยนภาพที่ชี้ว่า เด็กจากเกาหลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์มักมาในอันดับต้นเสมอไม่ว่าจะทดสอบอะไรและในระดับไหน

    Executive summary

    Key findings

    • Finland, with an average of 563 score points, was the highest-performing country on the PISA 2006 science scale.
    • Six other high-scoring countries had mean scores of 530 to 542 points: Canada, Japan and New Zealand and the partner countries/economies Hong Kong-China, Chinese Taipei and Estonia. Australia, the Netherlands, Korea, Germany, the United Kingdom, the Czech Republic, Switzerland, Austria, Belgium and Ireland, and the partner countries/economies Liechtenstein, Slovenia and Macao-China also scored above the OECD average of 500 score points.
    • On average across OECD countries, 1.3% of 15-year-olds reached Level 6 of the PISA 2006 science scale, the highest proficiency level. These students could consistently identify, explain and apply scientific knowledge, and knowledge about science, in a variety of complex life situations. In New Zealand and Finland this figure was at least 3.9%, three times the OECD average. In the United Kingdom, Australia, Japan and Canada, as well as the partner countries/economies Liechtenstein, Slovenia and Hong Kong-China, between 2 and 3% reached Level 6.

    ผลการทดสอบนี้ไม่ใช่ของใหม่ เป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เมืองไทยล้าหลังอย่างน่าวิตกในยุคโลกไร้พรมแดน

    ซึ่งต้องการคนทางปัญญา และมีความสามารถทางเทคโนโลยีสูง ปัญญาและความสามารถนั้นต้องมาจากฐานความรู้อันแข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

    ตอนนี้คะแนนสร้างความวิตกให้ผู้ใหญ่อเมริกันมาก

     หากคะแนนของเด็กอเมริกันสร้างความวิตกให้ผู้ใหญ่ของเขา คะแนนของเด็กไทยน่าจะสร้างความวิตกให้ผู้ใหญ่ไทยของเราเป็นหลายร้อยเท่าทวีคูณ

    ฉะนั้น ยุคนี้ สังคมไทย ต้องการรัฐบาลที่เข้าใจ มีวิสัยทัศน์กระจ่างแจ้ง และมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยให้ทันโลกอย่างแท้จริงค่ะ

    Magic%20square

    magic squares

    The simplest of all magic squares (figure 1) is formed by the 9 digits, with 5 in the centre and the even numbers at the corners, so that the sum of any row or column is 15.

     In figure 2 the numbers 1 to 5 are arranged in any order in the first row; the second commences with the fourth number from the first row and proceeds in the same relative order.

    The third row starts with the fourth number from the second row, and so on.

    Figure 3 consists of the numbers 0 to 4 multiplied by 5, and each row starts with the third number from the row above.

    Adding together the corresponding numbers from figures 2 and 3 produces the magic square in figure 4.

    06a4_2

    Songbook for Piano, Vocal, Guitar

    ชุดนี้ เป็นที่นิยมค่ะ

    • ตามมาอ่านตามคำเชิญชวนครับ
    • งานนี้ต้องขอเคาะ  ไม่สันทัดกรณีนี้ครับ  อิอิ

    สวัสดีค่ะคุณ สิทธิรักษ์

    ดีใจจริงที่คุณมาเยี่ยมนะคะ

    ประเด็นที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งของชาติคือ การศึกษานะคะ อยากให้รัฐบาลปูฐาน ให้ระบบการศึกษาไทยผลิตคนให้มีความรู้ใกล้คนเกาหลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ บ้างค่ะ

    วันนี้เล่านิทานพร้อมเปิดเพลงที่หลานเขาชอบไปด้วย สร้างจินตนาการให้หลานน้อย จนหลับเลยค่ะ

    %e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81

    ผมพอเล่นดนตรีได้บ้าง ผมเองมองโน๊ตดนตรีเป็นสมการครับ ที่จริงแล้วผมมองศิลป์ป็นศาสตร์และมองศาสตร์เป็นศิลป์ในหลายเรื่องด้วยกันครับ

    ผมทราบมาว่าในหลายมหาวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์ที่เรียนอย่างลึกซึ้งเขาจะให้ปริญญา Master of Art (Mathematics) ครับ ส่วนพวกเรียนเพื่อใช้งานจะได้ Master of Science (Mathematics) ครับ (ส่วนในระดับปริญญาเอกนั้นได้ Ph.D. (Mathematics) เหมือนกัน)

    ผมคิดว่าศิลป์หรือศาสตร์นั้นแท้จริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกันครับ

    • สวัสดีค่ะ
    • ขออนุญาตตามมาอ่านนะคะ 
    • บันทึกเรื่องนี้น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ

     

    • แจ๋วค่ะ

    "ดนตรีมีส่วนที่ทำให้เด็กเก่งขึ้นไหมในทางคณิตศาสตร์"

    • อย่างที่อาจารย์ว่าค่ะจะมีส่วนหรือเปล่านั้น
    • แต่น้องดินเป็นคนที่ชอบร้องเพลง และเล่นดนตรี(โดยเฉพาะดนตรีอีสาน) 
    • น้องดินเขาจะเป็นคนชอบเรียนคณิตศาสตร์   และทำคะแนนคณิตศาสตร์ได้เต็มทุกครั้งที่สอบค่ะ  
    • แต่เรื่องการชอบดนตรีหรือชอบร้องเพลงก็มีส่วนมาจาก   สิ่งแวดล้อมที่แม่เป็นคนชอบร้องเพลง และเรียนนาฎศิลป์มา
    • เห็นลูก ๆ ชอบ   จึงได้ให้การสนับสนุนลูก ๆ ที่จะเรียนดนตรี   และหาอุปกรณ์ในการ้องเพลงให้เขาได้ฝึกทักษะหาย ๆ อย่าง  อาทิ  การกล้าแสดงออก  ฯลฯ 
    • ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีครับ

    ผมเองรู้สถิติวิจัย งูๆ ปลาๆ นะครับ แต่ผมว่าถ้าจะอธิบายผลทางการวิจัย ก็คงต้องบอกว่า ดนตรี กับคณิตศาสตร์นั้น เกี่ยวพันกัน (correlate) แต่ยังบอกไม่ได้ว่ามันส่งผลซึ่งกันและกันไหม (influence) ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากๆ ในการวิจัย


    เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง Multiple Intelligences อันโด่งดัง  เมื่อไม่นานมานี้มีงานวิจัยโดย Lynn Waterhouse ออกมาโต้ทฤษฎี MI ของ Howard Gardner นี้ แม้จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่มีงานวิจัยเจ๋งๆ ที่ชี้จัดได้ว่าสามารถพิสูจน์ได้

    ที่ผมชอบที่สุดคือการสรุปของคุณ Waterhouse ว่าที่มาเขียนแบบนี้ไม่ได้จะมาโจมตี แต่อยากจะเตือนว่าทฤษฎีนั้นจะเป็นทฤษฎีได้ ก็ต่อเมื่อมันสามารถพิสูจน์ได้จริง และชี้ว่าการที่ MI ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา เพราะผู้ปกครองชอบที่จะเห็นลูกตัวเองเก่ง เพราะทฤษฎีนี้นำข่าวดีมาให้ผู้ปกครองทุกคน ว่าถ้าลูกคุณเก่งอย่างน้อยก็หนึ่งในหลายๆ ความฉลาดที่เขานิยามไว้ใน MI ผมชอบบทความนี้เพราะ (1) เป็นการแย้งอย่างมีเหตุผล และช่วยให้ทฤษฎีเดินไปข้างหน้า (2) เป็นการบอกเป็นนัยว่าผู้ปกครองควรคิดวิเคราะห์ว่าอะไรเหมาะกับลูกของตน แน่นอนครับ ทฤษฎีอาจจะต้องรอการพิสูจน์ แต่ถ้าเราเอาใจใส่กับลูกของเรา สรรหาสิ่งที่ดี (แม้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์) ก็ย่อมทำให้ลูกมุ่งไปในทางที่ดี หรืออย่างน้อยก็วนเวียนอยู่ในสิ่งที่ดี

    ผมว่าน่าจะมีการเอา MI หรือ Mozart Effect มา correlate กับความสัมพันธ์ของเด็กและผู้ปกครองดูบ้างนะครับ ผลคงน่าสนใจน่าดู

     

    อ้างอิง:
    Lynn Waterhouse 2006, Inadequate Evidence for Multiple Intelligences, Mozart Effect, and Emotional Intelligence Theories
    (link)

    สวัสดีค่ะคุณหมอ  คนชอบวิ่ง

    คุณหมอเข้ามาเยี่ยมและบอกว่า ประเด็นนี้ไม่สันทัด...ไม่เป็นไรค่ะ แค่เข้ามาเยี่ยม ก็ดีใจแล้วค่ะ

     อย่างไรก็ตาม  ในเฉพาะเรื่องของคณิตศาสตร์นะคะ มีเรื่องที่น่าสนใจ ที่อยากเล่าให้ฟัง ดังนี้ค่ะ

    David Colander และ Arjo Klamer ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ ชื่อดัง ได้ออกแบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็น และสัมภาษณ์ นักศึกษาปริญญาเอก ที่เรียนอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ ในงานวิจัยชื่อ ชื่อ The Making of an Economist Redux 2005 

    โดยมีประเด็นหนึ่งในหลายๆประเด็น ที่ระบุว่า คุณสมบัติใดเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักเศรษฐศาสตร์

    ปรากฎว่า....นักศึกษาปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ให้คุณค่ากับความเก่งกาจในการแก้ปัญหามากที่สุด แม้สัดส่วนของคนที่เชื่อว่า คุณสมบัติดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งจะลดลงจาก 65% เหลือ 51% ก็ตาม

    ข้อค้นพบอีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ลดความสำคัญลง

    กลุ่มตัวอย่างที่เชื่อว่าความยอดเยี่ยมทางคณิตศาสตร์ เป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ลดลงจาก 57% เหลือ 30%

     สวนทางกับคุณสมบัติความสามารถ ในการทำงานวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) เพิ่มสูงขึ้นจาก 16% เป็น 30%

    บางคนอาจตีความได้ว่า แม้คณิตศาสตร์จะยังสำคัญในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง แต่ถูกมองเป็น "เครื่องมือ" ในการทำงานวิจัยเชิงประจักษ์ ซึ่งมุ่งหาคำตอบเชิงนโยบาย มากกว่าทางทฤษฎี ระดับความเป็นคณิตศาสตร์เชิงประยุกต์ชั้นที่สูงมากๆ

    ซึ่งเรื่องนี้ เราๆท่านๆ ก็คงจะคิดเหมือนๆกันว่า แม้คณิตศาสตร์จะสำคัญ

    แต่ในโลกแห่งความจริง  เราไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ขั้นสูงอะไรเลย

    พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำคัญมากก็จริง แต่ก็อาจไม่จำเป็นต้องเรียนแบบขั้นสูงๆมากนักก็ได้ ใช่ไหมคะ

    สวัสดีค่ะคุณ jaewjingjing

    ต้องขอขอบคุณมากค่ะที่ชมว่า... บันทึกเรื่องนี้น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ

    พอดีอยู่ในเรื่องที่มีความสนใจเป็นพิเศษและพอมีประสบการณ์อยู่บ้างค่ะ

    มีบทความพิเศษของคุณ  ธีรยุทธ บุญมี มติชนรายสัปดาห์  วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1301ที่กล่าวถึงไอน์สไตน์ไว้ตอนหนึ่งว่า...

    ในศตวรรษที่ 19 นักคณิตศาสตร์หลายคน เช่น Bolyai (1802-1860) Lobatchevsky (1792-1856) และ Riemann (1826-1866) ได้ค้นพบเรขาคณิตที่ใช้อธิบายอวกาศโค้งได้ และวิชานี้ก็สอนกันอยู่ที่มหาวิทยาลัยซูริกที่ไอน์สไตน์เรียนอยู่ เพียงแต่ไอน์สไตน์หนีเรียนมากไปหน่อย จึงไม่เก่งคณิตศาสตร์ด้านนี้

    ซึ่งมีชื่อว่าเรขาคณิตแบบ Riemann ไอน์สไตน์ดิ้นรนด้วยตัวเองอยู่หลายปี จนในที่สุดในปี 1912 เมื่อไอน์สไตน์ไม่เห็นทางออกจริงๆ เขาจึงหันไปหา Marcel Grossmann เพื่อนนักคณิตศาสตร์ (คนเดียวกับที่ช่วยให้ไอน์สไตน์เข้าทำงานเป็นเสมียนที่กรุงเบิร์น) "Grossmann นายต้องมาช่วยอั๊วหน่อยนะ ไม่งั้นอั๊วบ้าตายแหงๆ เลย"

    แต่เมื่อไอน์สไตน์เข้าใจคณิตศาสตร์ใหม่นี้แล้ว เขาก็ใช้มันได้อย่างเก่งกาจด้วยความเข้าใจแก่นแท้ของมัน รวมทั้งช่วยพัฒนาวิชานี้ขึ้นมาใหม่ด้วย

     แต่ไอน์สไตน์ยังถ่อมตนในภายหลังเวลาเล็คเชอร์คณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนหรือนักศึกษา โดยบอกว่าที่พวกเขาบ่นว่าคณิตศาสตร์ยากนั้น พวกเขายังไม่รู้หรอกว่าตัวไอน์สไตน์เองก็รู้สึกว่ามันยากอย่างมากกว่าที่นักศึกษารู้สึกเสียอีก

    อ่านแล้ว เรารู้สึกกันไหมคะว่า จริงคณิตศาสตร์ขั้นสูงนี่ ก็ไม่ง่ายเลยนะคะ ดังนั้น เรื่องครูอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ จึงสำคัญมากๆค่ะ ถ้านักเรียนไม่เข้าใจที่ครูสอน และครูก็ ไม่คิดค้นเทคนิค ที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจขึ้นตั้งแต่ต้นแล้ว

    นักเรียนมักจะท้อเสียก่อน และพาลไม่ชอบวิชานี้ไปเลย

    นี่ก็อาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่พยายามขวนขวายหาวิธีที่จะทำให้ลูกชอบ และเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีๆ ซึ่ง ดนตรีก็จะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งค่ะ เพราะเป็นเรื่องของการช่วยพัฒนาสมอง อย่างที่เชื่อกันค่ะ

    สวัสดีค่ะ  ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

    ที่อยากแลกเปลี่ยนความเห็นกับอาจารย์ เป็นเพราะว่า มีความกังวลใจเรื่องหลานตัวเล็กค่ะ ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้าระบบการศึกษาบ้านเราค่อนข้างอ่อนแออย่างนี้ โดยเฉพาะในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสคร์ค่ะ

    เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2549  ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รัฐมนตรีคลัง และอดีต ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "บทบาทของการบริหารงานบุคคล และกระแสสังคมไทย" ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ปัจจุบัน การแข่งขันที่รุนแรงมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งภาคธุรกิจและราชการ การแข่งขันที่เข้มข้น ทำให้องค์กรต้องเร่งปรับปรุงในทุกด้าน จึงต้องหาบุคลากรที่มีความสามารถ มีความรู้รองรับวิทยาการก้าวหน้าสมัยใหม่มากขึ้นทุกที จนปัจจุบันเกิดปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคลากร และผลตอบแทนของคนกลุ่มนี้ จึงปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    นี่แค่เป็นระดับในประเทศนะคะ

    แต่ถ้า **ผลกระทบต่อองค์รวมทั้งประเทศ

    แต่ที่แน่ชัดคือ ต้องปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้โอกาสในการศึกษาระหว่างเมือง กับชนบทห่างไกลเท่าเทียมกัน เพื่อให้เด็กมีพื้นความรู้ที่จะตามทันวิทยาการสมัยใหม่อย่างทั่วถึง คุณภาพของครูต้องดีเทียบเท่าในเมือง โดยเฉพาะด้านคำนวณ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

    นอกจากนี้ จำเป็นต้องช่วยดูแลหนี้สินของครูด้วย เพราะเป็นปัญหาที่สะสมมา เนื่องจากรายได้ที่ไม่พอเพียง แก่การดำรงชีวิตอย่างสมฐานะครู การปรับโครงสร้างเงินเดือนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อมิให้ฐานะการเงินส่วนตัวบั่นทอนจิตใจ และเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน

    การปรับระบบการศึกษาไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารประเทศต้องทุ่มเทอย่างเต็มที่ เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้และเดินให้ถูกทาง จึงจะทำได้สำเร็จ

     หวังว่าสักวันหนึ่งเราจะมีผู้บริหารประเทศที่มีลักษณะเช่นนี้ แม้จะมองไม่เห็นในวันนี้ก็ตาม

    เป็นการปาฐกถาที่ตรงดีค่ะ จริงๆมีอธิบายมากกว่านี้ แต่ตัดมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องค่ะ

    สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณSasinanda

    เห็นด้วยอย่างมากค่ะที่คุณSasinandaบอกว่า

    เรื่องครูอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ จึงสำคัญมากๆค่ะ ถ้านักเรียนไม่เข้าใจที่ครูสอน และครูก็ ไม่คิดค้นเทคนิค ที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจขึ้นตั้งแต่ต้นแล้ว

    นักเรียนมักจะท้อเสียก่อน และพาลไม่ชอบวิชานี้ไปเลย

    เพราะตอนเด็กๆ แจ๋วเองก็ท้อกับการเรียนคณิตศาสตร์ช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มากๆ จำได้ว่าสอบตกกันเกือบยกห้อง

    แจ๋วค่ะ

    Austria%20sound%20of%20music

    ที่ Austria ค่ะ ที่เขาถ่ายทำภาพยนต์Sound of Music

    SalzbergSalzburg%201

    Salzburg is the fourth-largest city in Austria and the capital of the federal state of Salzburg. Salzburg's "Old Town" with its world famous baroque architecture is one of the best-preserved city centers in the German-speaking world, and was listed as a UNESCO World Heritage Site in 1997. The city is noted for its Alpine setting. It is the birthplace of Wolfgang Amadeus Mozart and the setting for parts of the musical and film The Sound of Music, which features famous landmarks in Austria, but focuses mainly on Salzburg. Salzburg is also a student city, with three universities.

    สวัสดีค่ะคุณ danthai

    มาคุยกันต่อ เรื่อง บทความพิเศษของคุณ  ธีรยุทธ บุญมี จาก 112# อีกนิดนะคะ

    ที่ไอน์สไตน์ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เพราะสมการ E=mc2

    แต่เป็นเพราะเป็นผู้เปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับเวลาและอวกาศ จากคนอยู่เหนือจักรวาลมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล

    หลักคิดเรื่องวิถีธรรมชาติที่ไอน์สไตน์นำมาใช้ไม่ใช่ของใหม่

    แต่เป็นกฎเกณฑ์เก่าแก่ที่คล้ายความคิดของเซนในเรื่องของความง่าย

    ในทางฟิสิกส์เรียกกฎเกณฑ์แห่งความพยายามน้อยที่สุด (The Least Action principle) เป็นกฎที่บอกว่าธรรมชาติคล้ายคนขี้เกียจ มักจะเลือกเส้นทางชีวิต เส้นทางการกระทำที่ใช้ความพยายาม แรงงาน หรือพลังงานน้อยที่สุด หรือเส้นทางที่สั้นที่สุด กฎนี้ค้นพบมานานแล้ว โดยนักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส Maupertuis (1698-1759) Lagrange (1736-1813) และ Fermat (1601-1665)

    กฎแห่งความพยายามหรือการกระทำที่น้อยที่สุดนี้ โดยแก่นไม่ต่างไปจากเซนหรือเต๋าที่เสนอว่า แก่นของความจริงหรือสัจธรรมนั้นก็คือความเรียบง่าย ในศิลปะแบบเซน ความงามก็คือความง่าย ดังปรากฏในภาพเขียน การจัดดอกไม้ หรือการจัดสวนญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงค่ะ

    เอ๊ะ!!  ทำไปทำมา ทำไมมาเข้าเรื่องของเซน แสดงว่า ทุกอย่างในโลก มีความเกี่ยวพันกันจริงๆนะคะ

     

    สวัสดีค่ะ คุณแว้บ

    ดีใจค่ะ ที่นักการศึกษาตัวจริงเสียงจริงมาแล้วค่ะ

    เรื่อง Mozart Effect นี่ก้เป็นอะไรที่ผู้คนก็สองจิตสองใจอยู่ไม่น้อย แม้จะมีการวิจัยออกมามากก้ตาม แต่ก้ยังไม่ชี้ขาดลงไป

    ส่วนเรื่อง  Multiple Intelligences อันโด่งดัง ก็เหมือนกัน โดนใจพ่อแม่มากมายค่ะ

    เพราะ แม้ลูกไม่เก่งคณิตศาสตร์ เก็ยังมีอีกหลายอย่างให้เก่ง ให้ภูมิใจ และค่อนข้างน่าเชื่อถือทีเดียว

    ทีนี้พอ  Lynn Waterhouse ออกมาโต้ทฤษฎี MI ของ Howard Gardner นี้ ก็น่าคิดอีกแล้วค่ะ

    ดีค่ะ  เป็นการบอกเป็นนัยว่าผู้ปกครองไม่ควร คิดเข้าตัวเองนะคะแต่การเอาใจใส่กับลูก สรรหาแต่สิ่งที่ดีๆ (แม้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์) ก็ย่อมทำให้ลูกมุ่งไปในทางที่ดี หรืออย่างน้อยก็วนเวียนอยู่ในสิ่งที่ดี เห็นด้วยอย่างมากๆๆๆค่ะ

    ส่วน การจะเอา MI หรือ Mozart Effect มา correlate กับความสัมพันธ์ของเด็กและผู้ปกครองดูบ้าง ก็น่าจะริเริ่มนะคะ คุณแว้บลองเริ่มๆซีคะ พี่จะคอยติดตามค่ะ

    พอดีอ่านตามลิงค์ที่ให้ไว้ เลยเจออีกเรื่องค่ะ....

    The Mozart Effect: Music Listening is Not Music Instruction

     

    Frances H. Rauscher
    Department of Psychology, University of Wisconsin Oshkosh
    Sean C. Hinton
    Department of Neurology, Medical College of Wisconsin

     

    "The Mozart effect" originally referred to the phenomenon of a brief enhancement of spatial-temporal abilities in college students after listening to a Mozart piano sonata (K. 448).

    Over time, this term was conflated with an independent series of studies on the effects of music instruction. This occurrence has caused confusion that has been perpetuated in scholarly articles, such as the one by Waterhouse (2006) and that persists in the minds of the general public.

    Here this article emphasizes the distinction that must be made between research on music listening and research on the more cognitively complex and educationally significant phenomena of music instruction.

    This article stresses that improvements in spatial-temporal skills associated with music instruction are not "free." This article also discusses theories of transfer and mechanisms of learning as they relate to this topic.

     อ้างอิง:
     The Mozart Effect: Music Listening is Not Music Instruction

    สวัสดีค่ะคุณ jaewjingjing

    ข้างล่างนี้ ต้องอ่านต่อจากข้อ110.# คุณแว้บและข้อ118#ค่ะ

    ทาง Howard Gardner‌ออกมา ตอบประเด็นของ Waterhouseค่ะ

    Abstract

    2006, Vol. 41, No. 4, Pages 227-232
    (doi:10.1207/s15326985ep4104_2)

    The Science of Multiple Intelligences Theory: A Response to Lynn Waterhouse

     

    Howard Gardner
    Graduate School of Education, Harvard University
    Seana Moran
    Graduate School of Education, Harvard University

     

    For a scholar, a fate worse than being criticized is being ignored. Waterhouse (2006) has done Howard Gardner the courtesy of reading much of the primary and secondary literature on multiple intelligences (MI) theory.

    Although the authors disagree with several of her interpretations and conclusions, we appreciate her efforts as well as the opportunity to respond.

     We have 2 main criticisms: (a) Waterhouse misunderstands and oversimplifies MI theory and

    (b) Waterhouse's own line of argument undermines her claim that MI theory is not supported by the literature.

    This response reorients and clarifies for the reader the usefulness and implications of MI theory with the goal of demonstrating why Waterhouse's critique misses the mark in a number of respects......

    ยังมีต่ออีกมาก แต่สรุปว่า เป็นการออกมาอธิบาย ของทางฝ่ายHoward Gardner ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพี่Sasinandaที่เคารพและนับถือ

    • คุณพี่ข้อมูลเยอะจริงๆเลยค่ะ..แถม..มีรูปสวยๆอีก..อิๆ
    • จึงขออนุญาตมอบตำแหน่งทางวิชาการให้คุณพี่..เป็น Professor Sasinanda น่ะค่ะ..เยี่ยมจริงๆศึกษาอย่างจริงจังมากเลย.ค่ะ..
    • คุณพี่เป็นคนที่ทันสมัยมากๆทุกเรื่องเลย..เยี่ยมจริงๆ
    • อิๆๆMagic Squares..แค่เห็นตัวเลข.หนูก็มึนแล้วค่ะคุณพี่..ตามมาด้วยภาษาอังกฤษอีก..ยิ่งมึนเข้าไปใหญ่..อิๆๆ..

    ด้วยความเคารพรักและนับถือ

    หนูหมูอ้วนเองค่ะ

    สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

    เบิร์ดเล็งบันทึกนี้ไว้นานมากเลยค่ะ กว่าจะสะสางความนุงนังของตัวเบิร์ดเองได้ก็ใช้เวลาพอสมควรทำให้มาช้าไปนิด

    เบิร์ดชอบและเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ของพี่ศศินันท์ค่ะ..

    แม้ว่า จะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ดนตรีทำให้เรียนคณิตศาสตร์เก่งขึ้น หรือมี IQ สูงขึ้นจริงหรือไม่ ก็ตาม แต่เราก็ไม่ได้อยากจะเก่งคณิตศาสตร์ หรือ อยากจะความฉลาดเท่านั้น เรายังต้องการดนตรีเพื่อความสุนทรีย์และความสุขในชีวิตไม่น้อยกว่า เช่นกัน

    การทำงานของสมองไม่ได้แบ่งแยกจากกันอย่างชัดเจนเลยนะคะ  ในขณะที่ข้างหนึ่งทำงานอีกข้างหนึ่งก็ทำงานด้วย เพราะกิจกรรมใดๆก็ตามย่อมต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีกเสมอเลยเนาะคะ แต่จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่กิจกรรม

    อย่างนักดนตรีอาจมีความถนัดในการใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้ายมาโดยกำเนิด ความซาบซึ้ง ความอ่อนไหวต่อความงดงามของเสียง ความดื่มด่ำในอารมณ์อาจมีมากกว่านักวิทย์ มากมาย แต่ในขณะที่นักดนตรีเล่นดนตรีกลับกลายเป็นว่าสมองซีกซ้ายใช้งานมากกว่าสมองซีกขวาหลายช่วงตัวเลยค่ะ

    เพราะเมื่อนักดนตรีต้องอ่านโน้ต คิดถึงบันไดเสียง โน้ตดนตรีก็คือภาษาของนักดนตรี ที่พวกเขาต้องถอดโค้ต อ่านรหัสออกมา ซึ่งเป็นงานของสมองซีกซ้ายน่ะค่ะ  แต่เมื่อเขาฟังเพลงเงียบๆ จินตนาการลุ่มลึกไปกับเสียงเพลง เมื่อนั้นแหละค่ะที่สมองซีกขวาที่เราเห็นว่าเป็นการทำงานของศิลปะ จินตนาการ ถึงจะทำงานมากกว่าซีกซ้ายที่เป็นด้านของคณิต วิทย์...

    ศิลปะ ดนตรีจึงเป็นปุ๋ยชั้นดีของสมองนะคะพี่ศศินันท์   และมีอยู่ 3 ลักษณะคือ

    1. ศิลปะดนตรีเพื่อสุนทรียภาพและช่วยพัฒนาสมองให้ทำงานสมบูรณ์ขึ้น ทั้ง 2 ด้าน

    2. ศิลปะ ดนตรีเพื่อการบำบัด

    และ 3. ศิลปะ ดนตรีเพื่อคนตัวเล็กๆที่เค้ามีแววศิลปิน

    ไอน์สไตน์มักถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอในเรื่องของจินตนาการ  และเค้าก็เป็นคนหนึ่งที่มีลักษณะของสมองแตกต่างจากคนทั่วไปเพราะเค้ามีร่องแบ่งสมอง 2 ซีกตื้นกว่าคนปกติ จนเหมือนเป็นสมองก้อนเดียวมากกว่าจะเป็น 2 ซีกแบบที่เราคุ้นๆกันน่ะค่ะ และมีเส้นใยประสาทที่หนาแน่นมาก..ทำให้ไอน์สไตน์สามารถคิดเป็นภาพได้ แล้วถึงจะลงมือแปลงสภาพภาพเหล่านั้นออกมาเป็นเหตุผลเป็นขั้นตอนต่อไป ดังนั้นเบิร์ดเลยไม่มั่นใจค่ะว่าการเล่นไวโอลินของเค้านั้นมีส่วนแค่ไหน ในการทำให้บุรุษในดวงใจของเบิร์ดคนนี้เป็นอัจฉริยะ ^ ^

    แล้วจะแว้บเข้ามาคุยด้วยอีกนะคะ...^ ^

     

     

    • จากกระทรวงการท่องเที่ยว
    • ย้ายมาอยู่กระทรวงศึกษาธิการ
    • รวดเร็วมาก
    • ผมปรับ สมองไม่ทันเลย
    • เยี่ยม....จริงๆๆๆ
    • ดนตรีมีพลังลึกล้ำ จริงๆๆ สามารถทำให้
    • คนมีความสุข  เศร้า  สร้างความสามัคคี
    • ทะเลาะกัน  อีกมากมาย....

    สวัสดีค่ะคุณ เบิร์ด

    ทราบว่าคุณเบิร์ดยุ่งมากๆพักนี้ แต่ยังเจียดเวลามอ่านและให้ความเห็นที่มีคุณค่าอย่างเหลือเกิน ทำให้เห็นภาพของเรื่องการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกที่มีความเกี่ยวพันกันเป็นอย่างมาก รวมทั้งอธิบายอย่างมั่นใจว่า ดนตรีนี่แหละคือบ่อเกิดของจินตนาการอย่างแท้จริง

    ค่ะ พี่เห็นด้วยเป็นอย่างที่สุด ที่ดนตรีนี้ เป็นทั้งความพอใจ ความสนุกสนาน และความเคยชินส่วนตน  พอๆ กับที่มันสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างจินตนาการ สร้างความรู้สึกนึกคิด  สร้างการสื่อสารกับคนอื่นๆ  และสร้างสิ่งที่ดีเลิศ เท่าที่ศักยภาพเยี่ยงมนุษย์จะอำนวยให้ได้นะคะ

    ที่ทุกคนไม่ปฏิเสธคือ ดนตรีนั้นมีพลังลึกกว่าคำพูดและรูปภาพ และสามารถเข้าถึงการสื่อสารและการเชื่อมต่อในระดับลึก ในขณะที่คำพูดและรูปภาพไม่สามารถทำได้ค่ะ

    ที่สำคัญอีกอย่างคือ ดนตรีนั้นสามารถข้ามอุปสรรคทางวัฒนธรรม เขตแดน และภาษาได้นะคะ

    แต่คลื่นเสียงดนตรีที่มีอิทธิพลกระตุ้นสมองส่วนต่างๆ เท่าที่มีการศึกษามาคือ....(จากข้อเขียนของศ.นพ.ดร.วิจิตร บุณยะโหตระ)

     

              1. ดนตรีประเภทเบส  เครื่องเคาะจังหวะ     กระตุ้นก้านสมองและไขสันหลัง

     

              2. ดนตรีประเภทเครื่องเป่า  เครื่องสาย        กระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ ( limbic  system )

     

              3. ดนตรีประเภทเครื่องสาย เสียงสูง  พิณ  ออร์แกน ระฆัง  กระตุ้น neo - cortex

             4. เสียงเปียโน     กระตุ้นสมองทุกส่วน  เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นโน้ตได้ครั้งละหลายๆ ตัว

     

    พอเราฟังเพลงที่มีระดับคลื่นเสียงเป็น แอลฟ่า  ( 8 12  รอบ / วินาที )แล้ว      ภาวะร่างกายจิตใจสงบผ่อนคลายเป็นภาวะที่ เหมาะสมกับการเรียนรู้ รับข้อมูลต่างๆ

     

    เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปนะคะว่า   ขณะที่เราสบายใจ  อามรณ์ดี  จะมีคลื่นสมองต่ำ  ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว เหมือนกับเวลาเรานั่งสมาธิจนจิตสงบแล้ว จะเกิดปัญญาต่างๆ  รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรในตอนนั้น เป็นต้น

     

    เวลาเราเปิดเพลง แต่เปิดเพลงเบาๆ  เสียงต่างๆ ผ่านอวัยวะมีรูปร่างคล้ายก้นหอย  ( cochlesr ) ในหู    ภายในนั้นมีเซลล์ประสารทรับรู้เสียง  ประมาณ 30,000  ตัว  คอยแยกแยะความถี่ของคลื่นเสียง  และส่งข้อมูลไปยังก้านสมอง  ต่อไปยังศูนย์ข้อมูลที่เปลือกสมอง ((auditory  cortex )    และยังมีส่วนสมองเกี่ยวกับเสียงอีก  12  ส่วนกระจายอยู่ในเปลือกสมอง ทั้ง  2  ซีกทำงานประสานกันสมบูรณ์ขึ้น เมื่อได้ยินเสียงดนตรี

    ดังนั้น  เมื่อมาดูที่ คุณเบริ์ดอธิบายน่ะค่ะว่า ไอน์สไตน์มีร่องแบ่งสมอง 2 ซีกตื้นกว่าคนปกติ จนเหมือนเป็นสมองก้อนเดียวมากกว่าจะเป็น 2 ซีก

     ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ที่ สมองของเขาทำงานประสานกันเป็นอย่างดี โดยการช่วยเหลือของดนตรี คือ ไวโอลิน ที่เขาเล่นอยู่เป็นประจำนะคะ

    แต่นี่ก็คือ ข้อสันนิษฐานเท่านั้นเองค่ะ

    ทีนี้มาในสมัย ปี 2005 นี้บ้าง 

     

    ทางคณะกรรมการรางวัลโนเบลได้มีมติมอบรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ แก่นักเศรษฐศาสตร์ 2 ท่าน คือ ดร.ธอมัส ซี.เชลลิ่ง (Thamas C.Schelling) ชาวอเมริกัน อายุ 84 ปี เป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ และอีกท่านหนึ่งเป็นชาวอิสราเอลเชื้อสายอเมริกัน ชื่อ ดร.โรเบิร์ต เจ.อาวมันน์ (Robert J. Aumann) อายุ 75 ปี เป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮิบรู ประเทศอิสราเอล

    ทั้ง 2 ท่านได้พัฒนาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ต่อยอดทฤษฎีพฤติกรรมการเล่นเกมของมนุษย์ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การเมือง การทหาร การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งศาสตร์อื่นๆ เช่น สังคมวิทยา และอื่นๆ

    เรามักจะพบว่าในการเล่นเกมกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียรวมแล้วเป็นศูนย์ ภาษาคณิตศาสตร์เรียกว่า zero sum game

    แต่ถ้า มีได้มีเสียแต่รวมกันแล้วเสียก็เรียกว่า negative sum game

     ถ้ามีได้มีเสียแต่รวมกันแล้วได้ก็เรียกว่า positive sum game

    หรือบางกรณีได้ทั้งคู่ก็เป็นกรณีชนะด้วยกันทุกฝ่ายก็เป็น กรณีที่ชอบเรียกกันว่า win-win game หรือกรณีเสียด้วยกันทั้งคู่ ก็คือ แพ้ด้วยกันทั้งคู่

    ในกรณีต่างๆ เหล่านี้พฤติกรรมของแต่ละฝ่าย รวมไปถึงพฤติ กรรมของตลาดจะเป็นอย่างไร สามารถอธิบายได้ด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์

    ทฤษฎีพฤติกรรมของมนุษย์ในการเล่นเกมกันแต่ละเกม อธิบายด้วยภาษาพูดหรือภาษาเขียนได้ยากมาก ต้องอาศัยคณิตศาสตร์ชั้นสูงจึงจะอธิบายได้ ภาษาคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ปัญหา maxminimization และ minimazation

    ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพื่อจะนำเป็นตัวอย่างว่า ท่านทั้งสองเก่งคณิตศาสตร์มาก แต่ไปค้นในประวัติ ไม่พบว่าท่านเล่นดนตรีเก่งค่ะ หรือท่านจะไม่เอ่ยถึงเรื่องส่วนตัวเลย ก็ไม่ทราบค่ะ

     

     สรุปอีกทีสุดท้ายค่ะ.....การมีความสามารถเล่นดนตรีได้ดี กับการที่เป็นคนเก่งคณิตศาสตร์นั้น  ยังไม่มี ใครกล้าฟันธง ว่า มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกันขนาดไหนนะคะ

    ขอบคุณอาจารย์ นายประจักษ์ มากค่ะ ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจอย่างวิเศษค่ะ

    จำร้านยิ้มสวยได้ไหมคะ เข้าใจตั้งชื่อนะคะ ที่ตลาดร้อยปี สุพรรณบุรี

    ที่จังหวัดสุพรรณบุรีนี้ กล่าวกันว่า ผู้คนมี "อารมณ์ศิลปิน" กันมากนะคะ

    มีศิลปินในวงการบันเทิงที่เป็นชาวสุพรรณโดยกำเนิดมากมาย รวมทั้งอาจารย์อีกหลายๆท่านในG2Kนี้ ด้วยค่ะ คนสุพรรณเป็นคนที่มีความศิลปินอยู่ในสายเลือดค่ะ

    เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

    %e0%b8%a2%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%a2

     คุณJ. Maglinคะ

     ขออนุญาตไม่รับตำแหน่งค่ะ ความสามารถไม่ถึงค่ะ อิๆๆๆ ขอนำภาพมาฝากนะคะ

    ในกรณีของเด็กๆ เราชักชวนให้เขาฟังเพลงเด็กๆ อาจจะท่วงทำนองช้าๆ หรือเร็วปานกลาง แบบของโมสาร์ท แต่พอโตขึ้น เขาจะชอบเพลงหลากหลายขึ้น และบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีต่างๆชนิดมากขึ้น

    ตอนสมัยดิฉันเป็นวัยรุ่นชอบนักร้องทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายคนค่ะ....ฟังแล้วสนุก อารมณ์ดี ชอบฟังเพลงตอนทำการบ้านด้วยนะคะ

    คุณคงเคยฟังเพลงของเอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley)นะคะ เขาร้องได้ทั้งเพลงช้า เพลงจังหวะกลางๆ และเพลงเร็ว เสียงเขาดีมากๆ ทุ้ม นุ่มนวลมาก 

    ไม่ว่าเพลงช้าหรือเพลงเร็ว ถ้าเราฟังแล้ว ชอบ มีความสุขกับเสียงเพลง รู้สึกสบายๆอารมณ์ดีที่ฟังเพลง ก็แปลว่าสมองเราหลั่งสารสุข ( endorphine)ออกมา    และลดระดับ ฮอร์โมนเครียด ( cortisol ) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิด  ความจำ และสติปัญญา และป้องกันโรคสมอง  เช่น แอลไชเมอร์ เป็นต้นและยังทำให้ความทรงจำดีขึ้นอีกด้วย

    ดนตรีมีผลต่อสมองทั้งสองซีก  ไม่ใช่เฉพาะซีกขวาซีกเดียวอย่างที่เคยเชื่อกันค่ะ

    Elvis

    ขอแถมประชาสัมพันธ์ เรื่อง กิจกรรมคณิตศาสตร์ใส ๆ ในธรรมชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 26 เมษายน 2551 ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) สมัครด่วน !
    กิจกรรมครั้งแรกจัดที่สวนหลวง ร. 9 ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 จะจัดวันที่ 26 เมษายน 2551 นี้ที่สวนรถไฟ ขอเชิญน้อง ๆ ชั้นประถมป. 4 – ป. 6)สมัครด่วน !
    จะเป็นเรื่อง  ความสนใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ

    เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 25  มีนาคม 2551 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม  

    โทรศัพท์สอบถามที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท.  โทร. 0-2712-3604 ก่อนค่ะ

    สวัสดีครับพี่

        เข้ามาหลายรอบแล้วครับ แต่ไม่ได้ฝากรอยไว้ครับผม เป็นเรื่องที่ดีและใกล้ตัวครับ เรื่องนี้หากจะถามว่า

    • สองอย่างนี้ ดนตรี และคณิตศาสตร์ ส่งผลต่อกันและกันหรือไม่ คงตอบได้ว่าเกี่ยวกันแน่ๆ ครับ
    • แต่หากจะให้ตอบว่าอะไรส่งผลอะไรนั้นในเบื้องต้น ก็คล้ายๆ กับปัญหาไก่กับไข่ครับ
    • แต่หากอยากให้ฟันธง...ในเบื้องต้นนั้น ผมว่าดนตรีอาจจะมาก่อนในความเห็นผมครับ แล้วพอเราเรียนรู้และรู้จักดนตรีและคณิตศาสตร์แล้วสองอย่างนี้ก็จะเกื้อกูลกัน

    ดนตรี ส่งผลต่อคณิตศาสตร์

    • อันนี้ผมพบว่าการเปิดดนตรีบางอย่างที่เหมือนคลื่นทะเลหรือลมพัดไหว หรือเป็นฟังก์ชันแบบคลื่นหรือรูปแบบที่มีการวนสลับไปอย่างเช่นน้ำตกก็จะมีวงรอบของมันอยู่ จะเป็นตัวช่วยในระบบคิดให้เราคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
    • ดนตรีที่ผมว่านี้คือ เสียงธรรมชาติที่มีโทนคลื่นเสียงขึ้นลง ซึ่งอาจจะมาจากเีสียงธรรมชาติหรือเสียงดนตรีก็ได้ครับ
    • หากลองทำวิจัยผมเชื่อว่าระบบการคิดคณิตศาสตร์หรือเชิงคำนวณจะมีศักยภาพต่างกันระหว่างกลุ่มหนึ่งฟังดนตรีและกลุ่มหนึ่งไม่ฟังดนตรี เพราะความคิดสร้างสรรค์จะส่งผลต่อระบบคิดเชิงตรรกะด้วย
    • ดนตรีทำให้ระบบช่วยจำในแบบทำนองทำให้รูปแบบการเรียนรู้าทางคณิตนั้นแม่นยำขึ้นได้ครับ เช่นการท่องสูตรคูณก็เป็นจังหวะทำนองดนตรี
    • อื่นๆ ครับ

    คณิตศาสตร์ส่งผลต่อดนตรี

    • เนื่องจากความมีรูปแบบหรือลำดับหน้าหลังของจังหวะต่างๆ หรืออนุกรมที่ผสมเสียงแต่ละเฟสเข้ากัน รวมๆ กันเข้าก็กลายเป็นดนตรีี่เป็นแบบต่างๆ
    • หากเราแยกช่องสัญญาณของดนตรีออกมาก็จะได้ลำดับโทนหรือโนตเีสียงที่เป็นลักษณะคลื่น ตรงนั้นเป็นส่วนของคณิตศาสตร์ครับ
    • เชื่อไหมครับว่า ตัวหนังสือที่เราอ่านๆ กัน หรือพิมพ์ๆ กันอยู่เราสามารถแปลบทความเหล่านี้ให้เป็นเสียงดนตรีได้ด้วยครับ ลำดับการเรียงของตัวอักษรสามารถได้รูปแบบของดนตรีี่ที่ต่างๆ กันออกไปครับ
    • เสียดายผมไ่ม่มีเวลาในการแปลงลำดับตัวอักษรเป็นเสียงดนตรี ไว้มีโอกาสจะพัฒนาแปลงลำดับตัวอักษรภาษาไทยดูในยามว่างโอกาสหน้าครับ

    คณิตศาสตร์กับดนตรีหรือเสียงที่เราัสัมผัสอยู่ทุกวันเช่น

    • เพลงทุกเพลงเป็นคณิตศาสตร์ เพราะคณิตศาสตร์นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อยู่ในตัว
    • เวลามีโทรศัพท์เข้ามาเรามองว่าเสียงนั้นเป็นดนตรีหรือเปล่าครับ
    • หรือตอนที่กดตัวเลขยาวๆ ที่แป้นโทรศัพท์หลายๆ ตัวติดต่อกัน จะเห็นว่าเค้าออกแบบตัวเลขกับเสียงให้ผูกติดกันให้ต่างๆ กันครับ
    • หากเรามองว่าดนตรีเป็นลำดับของรูปแบบเสียงที่วางเรียงและผสมกัน เหมือนเรามองคลื่นเป็นคณิตศาสตร์เลยครับ
    • อื่นๆ

    ในความที่ดนตรีและคณิตศาสตร์เป็นเรื่องเดียวกันแต่ต่างมุมมองจึงทำให้เรามองว่าดนตรีกับคณิตศาสตร์เป็นเรื่องผ่อนคลายและเรื่องจริงจังซีเรียส แยกออกจากกัน ซึ่งภายในจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผสมเข้ากันอย่างกลมกลืนเลยครับ เหมือนระบบสมองของคนเราเลยครับ เพราะตอนที่สมองทำงานนั้น ไ่ม่ได้แบ่งว่าการคำนวณแต่ละครั้งให้ซีกให้คิดกันแน่ แต่จะทำงานประสานงานกัน

    ผมจึงสังเกตว่า พ่อแม่คนไหนสอนให้ลูกเรียนรู้ทั้งคณิตศาสตร์ ระบบตัวเลข และให้ลูกเรียนด้านดนตรีไปด้วยพร้อมๆ กัน จะเป็นพ่อแม่ที่มองไกล และฉลาดนักครับ

    ผมเสียดายที่โอกาสผมมีน้อย ผมอยากตีกลองมากๆ เลยครับ เพราะว่าทึ่งในระบบการบริหารร่างกายให้ทำงานดีมากๆ ครับ

    ผมยังเชื่ออยู่อีกอย่างว่า คนที่ชอบดนตรี สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเช่นกันครับ และคนที่ชอบคณิตศาสตร์สามารถเรียนดนตรีได้ดีเช่นเดียวกันครับผม

    ตอนแรกที่ผมมาเยอรมันผมสงสัยมากตอนนั้น ก่อนจะมีการนำเสนองานวิชาการทางคณิตศาสตร์ ตอนเปิดงานจะเปิดงานด้วยการให้เด็กๆมาเล่นดนตรี นักคณิตศาสตร์เหล่านั้นจะเพลิดเพลินไปกับดนตรีพร้อมหลับตาพริ้มหรือนั่งฟังด้วยอารมณ์สุนทรีครับ

    ขอบคุณมากๆ นะครับผม รักษาสุขภาพครับ

    สวัสดีค่ะคุณพี่Sasinanda ที่เคารพรักขอบพระคุณมากค่ะสำหรับรูปเท่ห์ๆของElvis Presley นะคะ..และความรู้เพิ่งเติมค่ะ

    เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของคุณพี่ก็ต้องได้อะไรดีๆกลับไปทุกที..อิๆๆ

    ด้วยความเคารพรัก

    หนูหมูอ้วนเองค่ะ

    • สวัสดีอีกครั้งครับ
    • ที่ผมบอกว่า ดนตรี=คณิตศาสตร์ คิดว่า มีกรณีตัวอย่างน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังครับ
    • ต้องลองปรับเทียบเสียงของเครื่องสาย จะเห็นภาพ
    • ผมเคยสังเกตว่า ถ้าตั้งตำแหน่งสายถูกต้อง เสียงจะน่าฟังที่สุด และสายจะกระเพื่อมได้ดีที่สุด
    • บางวันที่ประสาทหูไม่ไว เวลาปรับเทียบเสียง ผมใช้ดูด้วยตา ซึ่งจะไวกว่าการลองเล่นจริง
    • คือ ดูการกระเพื่อมของสายเวลาดีด
    • ปรับไม่ถูก กระเพื่อมไม่ดี
    • ปรับถูก กระเพื่อมดี
    • พอลองปรับด้วยตาแล้วไล่คีย์เสียง พบว่า แม่นยำพอสมควร
    • การกระเพื่อมที่ดีที่สุด คือการเกิด standing wave ซึ่งเป็นการที่ความถี่ กับความยาว สามารถอธิบายด้วยสมการตรีโกณฯ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์เป็นเลขจำนวนเต็ม
    • สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ความบังเอิญครับ เป็น mathematical event
    • อันที่จริง ผมเคยเห็นมีหนังสือที่เขาเล่าถึงคณิตศาสตร์เบื้องหลังดนตรีประเภทต่าง ๆ ด้วย เช่น หนังสือของ Dave Benson เรื่อง "Music: A Mathematical Offering"
    • ตอนสมัยเด็กๆๆมีอาจารย์ท่านหนึ่งสอนคณิตศาสตร์สนุกมาก
    • แต่ตอนโต อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ดุ
    • เลยหนีมาเรียนภาษาครับ
    • เอาหมูสีชมพูมาฝาก
    • ตามสัญญา
    • ที่นี่ครับ

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์

    ขอโทษค่ะ ตอบช้านิดนึงค่ะ พอดีตอนนี้ยุ่งนิดหน่อยค่ะ

    เรื่องที่คุณบอกว่าในเบื้องต้นนั้น ผมว่าดนตรีอาจจะมาก่อนในความเห็นผมครับ แล้วพอเราเรียนรู้และรู้จักดนตรีและคณิตศาสตร์แล้วสองอย่างนี้ก็จะเกื้อกูลกัน

    เหมือนความเห็นของศ.นพ.วิจิตรฯค่ะ คุณหมอบอกว่า ดนตรีมาก่อนแน่ๆ แต่ถ้าคนที่ไม่เคยเล่นดนตรีเลย แต่เรียนคณิตศาสตร์ได้ดี และมาเล่นดนตรีภายหลัง ดนตรีจะเข้ามาเกื้อหนุนให้เรียนได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

  • คุณบอกว่า....ดนตรีทำให้ระบบช่วยจำในแบบทำนองทำให้รูปแบบการเรียนรู้าทางคณิตนั้นแม่นยำขึ้นได้ครับ เช่นการท่องสูตรคูณก็เป็นจังหวะทำนองดนตรี
  • อันนี้ต้องขอชมเลยค่ะว่า คุณเม้งเข้าใจยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้อย่างดีค่ะ

  • คณิตศาสตร์กับดนตรีหรือเสียงที่เราัสัมผัสอยู่ทุกวัน
  • ในความที่ดนตรีและคณิตศาสตร์เป็นเรื่องเดียวกันแต่ต่างมุมมอง
  • คนที่ชอบดนตรี สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเช่นกันครับ และคนที่ชอบคณิตศาสตร์สามารถเรียนดนตรีได้ดีเช่นเดียวกันครับผม

    เป็นการให้ความเห็นอย่างชัดเจนมากค่ะ จากนักคณิตศาสตร์ตัวจริงของเราเลยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

    ปัญหาที่ดิฉันเห็นว่า  เด็กจำนวนมากเห็นว่าวิชาคณิตศาสตรเป็นวิชาที่ไม่น่าสนใจ  หลักๆเป็นเพราะเราขาดครูอาจารย์ที่เข้าใจวิธีและเทคนิคการสอนที่จะทำให้นักเรียน  เรียนได้อย่างสนุกและไม่เครียด และการที่จะนำวิชาดนตรีมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์   ก็จะทำให้คณิตสาสตร์ไม่น่าเบื่อจริงๆนะคะ

    คุณเม้งอาจคุ้นเคยกับคนที่ชื่อ ดร.ฟรานซิส เราส์เชอร์    บิดามารดา ของเธอเป็นอาจารย์สอนดนตรีและขับร้องเพลงโอเปร่าในวิทยาลัยการดนตรีแห่งหนึ่งของนิวยอร์ก    

     และที่นี่ทำให้คุณพ่อของเธอได้รู้จักกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลชื่อก้องโลก ทั้งสองกลายเป็นสหายทางดนตรีของกันและกัน เพราะไอน์สไตน์ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีและผู้มีความรักในเสียงดนตรีคนหนึ่ง

    ดร.ฟรานซิส เราส์เชอร์ เลือกทางชีวิตในเบื้องต้นด้วยเส้นทางสายดนตรี จนกระทั่งจบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านดนตรี

     จากนั้นเธอใช้ชีวิตด้วยการเป็นนักเชลโล่และนักดนตรีบำบัดร่วมกับกลุ่มนักจิตวิทยาที่ทำงานช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาและเด็กด้อยโอกาส

    ต่อมาเรียนจบปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาการทดลอง (Experimental Phychology) ณ  ขณะนี้เธอคือผู้ทรงความรู้ทางด้านดนตรีและจิตวิทยาคนหนึ่งของโลก สอนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา

    หลังเรียนจบทางด้านจิตวิทยา เธอได้ไปทำงานหาประสบการณ์กับ ดร.กอร์ดอน ชอร์  ซึ่งเป็นนักฟิสิกซ์ที่สนใจเรื่องการทำงานสมอง ในแง่ของการส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมต่อกัน เรียกว่าวิชานิวโรอิเล็กทรอนิกส์ (Neuroe Electronics)

     เนื่องจากเซลล์สมองทำงานเชื่อมต่อกันด้วยกระแสไฟฟ้า การศึกษากระแสไฟฟ้าของเซลล์สมองจะช่วยทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของมันมากขึ้น

    ที่สำคัญ ดร.กอร์ดอน ชอร์ เป็นคนหนึ่งที่สนใจดนตรีและอิทธิพลของคลื่นเสียงดนตรีที่มีต่อสมองมนุษย์ เขาได้วิจัยพบว่าคลื่นเสียงของดนตรีบางลักษณะส่งผลโดยตรงต่อการส่งสัญญาณของเซลล์สมอง เมื่อทั้งคู่มาเจอกันงานวิจัยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องดนตรีและการทำงานของสมองมนุษย์

     และเกิดการทดลองใช้เพลงของโมสาร์ตเพื่อศึกษาผลกระทบต่อสติปัญญาของมนุษย์

  • The term "Mozart Effect" arose from the work of University of California at Irvine's formidable team, Dr. Francis Raucher, Dr. Gordon L. Shaw, and their colleagues. Their neuroscience/music studies and their findings have caused quite an impact on related fields and some controversy.

     

    ตอนนี้เมื่อสรุปรวมความเห็นของคุณเม้ง กับอาจารย์ทั้งสอง ที่กล่าวถึงแล้วนั้น คือ....ดนตรี และคณิตศาสตร์ ส่งผลต่อกันและกันแน่นอน

  • เมื่อเราฟังดนตรี สมองจะทำงานร่วมกันทั้งซีกขวาและซีกซ้าย นั่นหมายถึง เมื่อเราได้ยินเสียงดนตรีและรู้ว่านี่คือเสียงดนตรี นั่นคือหน้าที่ของสมองซีกขวา และเมื่อเราเกิดความซาบซึ้งในเสียงเพลง สมองทั้งซีกซ้ายและขวาจะทำงานพร้อมกัน เสียงดนตรีก่อให้เกิดการสร้างเส้นใยสมองเพิ่มขึ้น

  •  และพบว่าดนตรีสามารถเพิ่มความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดจินตนาการที่เป็นเหตุเป็นผล หรือที่เรียกว่า การให้เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์ (Spatial-reasoning) ซึ่งการคิดแบบนี้จะนำไปสู่พื้นฐานในเรื่องของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการคิดชั้นสูงต่อไปค่ะ

     

  •  

    สวัสดีค่ะอาจารย์ wwibul

    ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่เข้ามาเติมเต็มในบันทึกนี้ ซึ่งตรงกับความถนัดและความสนใจของอาจารย์พอดีเลย เป็นความรู้สำหรับดิฉันและผู้ที่เข้ามาอ่านมากๆค่ะ

    ที่อาจารย์เล่าว่า มีหนังสือที่เขาเล่าถึงคณิตศาสตร์เบื้องหลังดนตรีประเภทต่าง ๆ ด้วย เช่น หนังสือของ Dave Benson เรื่อง "Music: A Mathematical Offering"  น่าสนใจมากๆสำหรับผู้อยากค้นคว้าลงในรายละเอียดมากๆนะคะ

    Since the time of the Ancient Greeks, much has been written about the relation between mathematics and music: from harmony and number theory, to musical patterns and group theory.

    Benson provides a wealth of information here to enable the teacher, the student, or the interested amateur to understand, at varying levels of technicality, the real interplay between these two ancient disciplines.

    สั่งซื้อได้ที่ Cambridge University Press ค่ะ

    Music

    เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการฟังดนตรีกันทุกคน เชื่อว่า ความสามารถในการรับรู้ทางดนตรีจะสามารถพัฒนาไปได้เรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตามนะคะ

    มีเรื่องของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพิ่มเติมอีกนิดค่ะ

    พอลลีนซึ่งเป็นแม่ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า ไอน์สไตน์เป็นคนที่ชอบเล่นดนตรีมาก เขาเคยบอกว่า หากเขาไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ เขาก็อยากที่จะเป็นนักดนตรี

    ไอน์สไตน์ได้เริ่มเรียนไวโอลินก่อนที่เขาจะอายุได้ 6 ขวบ และแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงก้องโลก แต่ประสบการณ์ทางดนตรีในช่วงวัยเด็กก็มีส่วนช่วยวางพื้นฐานของระบบประสาทเกือบทั้งหมด จนทำให้เขาประสบความสำเร็จทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และฟิสิกส์ในเวลาต่อมา

    แนะนำ หนังสือดีที่นำเสนอเรื่องราวของ ดนตรี ที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง การเรียนรู้ และการสร้างอัจฉริยภาพให้เด็กไทย จเร สำอางค์ นักวิชาการด้านดนตรีศึกษาและจิตวิทยาพัฒนาการ ศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Brain-Based Learning

    %e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%87%20%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89

    สรุปจากคุณวิบุลนะคะ  ดนตรี=คณิตศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ความบังเอิญครับ เป็น mathematical event
    ดิฉันก็เชื่อเช่นนี้อยู่มากๆเหมือนกันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ J. Maglin

    นำคำกล่าวของดร.กอร์ดอน ชอร์ มาฝากค่ะ รายละเอียดอยู่ที่ความเห็นที่ 133#ค่ะ

    ยิ่งเรารู้ว่าดนตรีมีผลต่อสมองมากเท่าใด เราก็จะเห็นความสำคัญของดนตรีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เรารู้ดีว่าดนตรีมีผลต่ออารมณ์ แต่ไม่ได้มีเพียงแค่เท่านั้น มันยังมีผลต่อสมองส่วนที่ทำการคิดและให้เหตุผลด้วย ดนตรีจะซึมเข้าไปสู่โครงสร้างของสมอง ซึ่งจะช่วยให้คุณคิดอะไรที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และทำให้คุณได้ใช้สมองในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น

    กอร์ดอน ชอร์

    ค่ะคุณ ขจิต ฝอยทอง คะ เรื่องครูและวิธีการสอนคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะ ที่จะทำให้เด็กสนใจเรียนหรือเกิดเบื่อไปเลย

    ระยะหลังมานี้มีผลการวิจัยมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า ดนตรีมีผลต่อสมองของคนเรา ดนตรีสามารถช่วยพัฒนาระบบต่างๆภายในสมองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ ดนตรียังเป็นสภาพแวดล้อมหนึ่งที่มีอิทธิพลในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญาด้วยนะคะ

    นำความเห็นเรื่องคณิตศาสตร์และดนตรีมาฝากหน่อยค่ะ....จากAmerican Mathematic Society ค่ะ

    "Music and Mathematics as 2 Aspects of One Thing," by Timothy Ferris. New York Times, 7 June 1995.

    และอีกเรื่องหนึ่งจาก Mathematical Imagery

    The connection between mathematics and art goes back thousands of years.

    Mathematics has been used in the design of Gothic cathedrals, Rose windows, oriental rugs, mosaics and tilings. Geometric forms were fundamental to the cubists and many abstract expressionists, and award-winning sculptors have used topology as the basis for their pieces.

     Dutch artist M.C. Escher represented infinity, Möbius bands, tessellations, deformations, reflections, Platonic solids, spirals, symmetry, and the hyperbolic plane in his works.

    Mathematicians and artists continue to create stunning works in all media and to explore the visualization of mathematics--origami, computer-generated landscapes, tesselations, fractals, anamorphic art, and more.

    นี่คือตัวอย่างของMathematical Imagery ค่ะ

    Mathametic%20imagery

    เรื่องความสัมพันธ์ของ คณิตศาสตร์และดนตรีนี่ พี่เห็นด้วย แต่อะไรจะเกิดก่อนหลังกัน   อาจจะยังมีข้อโต้แย้งอยู่บ้าง โดยเฉพาะในวงวิชาการ

    ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ  เพราะยังมีปัจจัยอื่นอีกหลายประการที่มาเกี่ยวข้องด้วยค่ะ

     

    สวัสดีค่ะ คุณศศินันท์

    นี่เป็น blog ขุมทรัพย์ทางปัญญาเชียวนะคะ

    หน้าที่การทำงานของเอต้องดูแลเด็กที่มีแววอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ ก็พยามดูแลจัดกิจกรรมให้เด็กไม่สุดโต่งเป็นวิทยาศาสตร์อย่างเดียว พยายามเสริมเรื่องศิลปะ ดนตรี บุคลิกภาพให้เด็กๆด้วย อีกส่วนหนึ่งในฐานะแม่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาลูกน้อยให้เติบใหญ่ ต้องขอขอบคุณคุณศศินันท์มากนะคะสำหรับความรู้และประสบการณ์ดีๆที่มาบอกเล่าพวกเรา เอคงต้องแวะมาบ่อยๆแล้วค่ะ :-)

    ขอแชร์ในส่วนของประสบการณ์อันน้อยนิดของตัวเอง  ถ้าพูดเรื่องคณิตศาสตร์ที่บ้านเราดูจะเป็นเรื่องยากมากๆ แม้แต่เอซึ่งเรียนวิทยาศาสตร์มาตลอดนี่ยังไม่ชอบคณิตศาสตร์เลย เคยไปดูงานที่ ญี่ปุ่น พบว่าบ้านเค้าสามารถนำคณิตศาสตร์ที่ว่ายากนั้นมาอธิบายด้วยโมเดลให้เด็กๆได้เรียนรู้ แถมโยงกับภูมิปัญญาชาวบ้านของญี่ปุ่นอีกด้วย น่าทึ่งจริงๆ บ้านเราน่าจะมีแหล่งเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้มาเรียนรู้น่าจะดีนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณ แม่นีโอ

    ทั้งการเรียนและการสอนคณิตศาสตร์ ไม่ได้ดูว่ายากเฉพาะบ้านเราหรอกค่ะ ในต่างประเทศก็ ยากเช่นกัน ดิฉันไปค้นดู  มีการคิดโปรแกรมการอบรมครูที่จะไปสอนคณิตศาสตร์เด็กมากมายค่ะ

    การจะสอนเด็กให้เข้าใจวิชานี้ ครูผู้สอนต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่ดีทีเดียวนะคะ เริ่มจากการอธิบายกฏเกณฑ์พื้นฐานทาวด้านคณิตศาสตร์ก่อน การใช้หน่วยวัดต่างๆ และหลักการแก้ปัญหาเป็นต้น

    ตอนนี้ ฝรั่งได้ทำวิจัยทางด้านการศึกษาแล้วค้นพบว่า การมีส่วนร่วมของพ่อแม่จะมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเด็ก  ซึ่งมาตรงกับภูมิปัญญาไทยโบราณ ที่ครอบครัวมีส่วนในการดูแลเด็กมาก ไม่เน้นเฉพาะโรงเรียนและครูเท่านั้น

    ในสมัยโบราณนอกจากพ่อแม่จะเป็นครูคนแรกของลูกแล้ว วัดยังถือว่าเป็นโรงเรียนแห่งแรกอีกด้วย 

    ตัวอย่างการวิจัยในอเมริกา...อาทิเช่น...

    • มีการทำกิจวัตรประจำวันที่บ้านอย่างเป็นระเบียบ และมีการเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการเรียนอย่างสม่ำเสมอ
    • เด็กจะมีความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียนและต่อการทำการบ้าน เมื่อพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วม และทำให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    • พ่อแม่ของเด็กเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับโรงเรียน ให้พ่อแม่ได้รู้จักคุ้นเคยกับครู โดยเฉพาะการพัฒนาโรงเรียนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เช่นมีสมาคมผู้ปกครองเป็นต้น

    ฝรั่งเขาสรุปไว้ว่า Teaching ต้องไม่ใช่ Telling และ Learning  ต้องไม่ใช่ Memorizing  ส่วนในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เขาบอกว่า ควรจะมีบทเรียนที่ท้าทายความคิดของเด็กบ้าง เพราะนิสัยเด็กมักชอบการท้าทาย เมื่อถูกท้าทายก็จะทำให้เกิดความมุ่งมั่น อยากเรียน อยากค้นคว้ามากขึ้นค่ะ

    ดิฉันอยากให้เด็กไทยหันมาให้ความสนใจคณิตศาสตร์กันเยอะๆค่ะ

     

    1. เพิ่มเติมอีกนิด สำหรับคุณ แม่นีโอ ที่มีภาระกิจต้องดู

    2.

    แลเด็กๆทางด้านวิทยาศาสตร์นะคะ ลองดูข้อ 1.และข้อ 2. ค่ะ ข้อ 1.เป็นทางวิทยาศาสตร์ ข้อ 2 .เป็นคณิตศาสตร์ค่ะ

    เป็นข้อมูล  ที่เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างค่ะ

    Quality of learning outcomes gives an indication of the level and distribution of countries' student performance in the subjects Mathematics, Reading, Science and Problem Solving.

    จาก PISA 2003 Country Profiles  Programme for International Student Assessment

    คนเรามีสมองสองซีก ซีกซ้ายคิดคำนวณ ซีกขวาศิลปะ ถ้าสร้างความสมดุลของสองซีกได้ก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

    แวะมาร่วมรับความรู้และชื่นชมครับ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ  Dr. Phichet Banyati

    ดีใจมากเลยค่ะ ที่คุณหมอมาเยี่ยม และให้คอมเม้นท์สั้นๆแต่สรุปกระชับมากๆค่ะ

    การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาปฐมวัย (ก่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เพื่อ

    (1) พัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกาย

    (2) พัฒนาอารมณ์และทักษะสังคม

    (3) พัฒนาสมองและเชาวน์ปัญญา

    (4) สร้างพื้นฐานจิตใจด้านคุณงามความดี

    ซึ่งทุกอย่าง ต้องสัมพันธ์กันหมดและสมดุลกันค่ะ ทั้งดนตรีและคณิตศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ ควรจะพัฒนาลูกของตน ไปพร้อมๆกัน 

     เมื่อเรียนรู้และรู้จักทั้งดนตรีและคณิตศาสตร์แล้ว ทั้งสองอย่างนี้ก็จะเกื้อกูลกันเองอย่างแท้จริงนะคะ

    คุณ J. Maglin คะ ขอบคุณที่มาเยี่ยมอีก

     ที่สหรัฐอเมริกา พ่อแม่ผู้ปกครองในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการวางรากฐานความรู้ด้านคณิตศาสตร์  เนื่องจากคิดว่า   จะเป็นพื้นฐานให้เด็ก ได้ทำงานดีๆ มีรายได้ดีในอนาคต

    ธุรกิจสอนเด็กปฐมวัยเจริญเติบโตอย่างมาก อาทิ ศูนย์การเรียนรู้ซิลแวน (Sylvan Learning Centers) สอนพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์.....BUILD YOUR CHILD'S MATH POWER

    ที่นี่ สอนพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์เบื้องต้น ปัจจุบันมีถึง 1,100 แห่งในสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี ศูนย์คุมอง (Kumon) ธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่น สอนคณิตศาสตร์ หลักสูตรการอ่านตัวอักษร (pre-K crowd) ให้เด็ก 3 ขวบ และฝึกอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเปิดกิจการในสหรัฐฯ กว่า 1,300 แห่ง

    ที่ประเทศไทย พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมส่งเด็กลูกเข้าเรียนในศูนย์การเรียน หรือโรงเรียนอนุบาลที่เน้นสอนให้เด็กอ่านเขียนภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และคณิตศาสตร์

    เพราะต้องให้เด็กสอบเข้าเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนมีชื่อ  ที่มีผู้สมัครจำนวนมาก และไม่สามารถรับนักเรียนเข้าเรียนได้ทั้งหมด จึงใช้วิธีคัดเลือกโดยการทดสอบการอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ความสามารถทางสมอง 

    ตัวพี่เอง ก็จำเป็นต้องเอาหลานไปซ้อมเล่นใน  Play Group ก่อนเข้าชั้นเรียนสำหรับเตรียมอนุบาล มันเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะไม่งั้น  ก็ไม่สามารถเข้าโรงเรียนอนุบาลที่หมายตาไว้ได้ แต่พอพาหลาน  ก็ค่อยโล่งใจค่ะ ของเล่นเยอะมาก หลานชอบ เด็กมีแค่ 12 คนใน 1 กลุ่ม ค่อยโล่งใจหน่อยค่ะ 

    ไม่ทราบว่า ที่อังกฤษ เป็นอย่างไรบ้างคะ แต่คิดว่า คงคล้ายๆกันนะคะ

    อาจารย์ครับ

    ผมคิดว่าดนตรีกับวิทยาศาสตร์ น่าจะสัมพันธ์กันมากกว่าคณิตศาสตร์ เหตุผล วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุของผล เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม นักดนตรีเขามีสุนทรียะซึ่งเกี่ยวข้องกับความสวยความงาม ความเป็นเหตุเป็นผลในด้านเสียง

    ส่วนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตรรก ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข ก็เป็นเหตุเป็นผลอีกด้านหนึ่ง ผมลองมาเปรียบเทียบกับตัวเองที่เป็นนักดนตรีเช่นกัน ผมเรียนคณิตศาสตร์ไม่เก่งเลย และก็เป็นไม้เบื่อไม้เมากับตัวเลข ปัจจุบันอายุมากขึ้น เห็นตัวเลขแล้วเวียนหัวหมดเลย

    อาจารย์ครับน่าจะเกี่ยวกับเรื่องของพหุปัญญาด้วยนะครับ บางคนเก่งดนตรี บางคนเก่งคณิตศาสตร์ บางคนเก่งภาษา ฯลฯ ผมเข้าใจว่าน่าจะคนละทางนะครับอาจารย์ ผิดถูกอย่างไรเป็นเพียงความคิดเห็นนะครับไม่ใช่ทฤษฏี ถ้าอาจารย์จะกรุณาอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากกว่านี้ก็จะเป็นพระคุณครับ

    อาจารย์เก

    สวัสดีค่ะ อาจารย์เก

    ขอโทษค่ะ ตอบช้าไปนิด พอดี ยุ่งๆเหลือเกินช่วงนี้ค่ะ แต่พอเปิดเข้ามาพบว่า อาจารย์มาเยี่ยมก็ดีใจมากค่ะ

    เสียงเพลง เป็นเสียงที่อยู่คู่กับโลกมานาน ตั้งแต่มีมนุษย์กระมังคะ ทั่วทุกมุมโลก เราได้ยินเสียงเพลงตลอด  หรือแม้แต่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญก็ยังมีเสียงเพลงแว่วมา ตามสายลมทำให้เข้าใจได้ว่า คนกับดนตรีนั้นไม่เคยแยกขาดจากกัน แถมยังช่วยบำบัดโรคให้กับมนุษย์ได้ด้วยค่ะ

     เสียงเพลงเดินทางเป็นคลื่นเสียงเข้าไปในหูของคนเรา ซึ่งข้างในนั้นมีเซลล์ประสาทเป็นเส้นขนกว่า 5,000 เส้น ทำหน้าที่แปลสภาพหลังคลื่นเสียงกลายเป็นไฟฟ้า

    ในกระแสประสาทเมื่อเสียงเข้าไปในหูแล้วจะขยายต่อโดยผ่านเข้ากระดูกข้อต่อในหูแล้วมีแผ่นบางๆ รองรับที่จะส่งต่อไปยังสารเหลวที่อยู่ในส่วนลึก นั่นคือ กระบวนการทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ นั่นเอง

    จากการศึกษาวิจัยมามากมาย จากหลายๆสำนัก เห็นตรงกัน และมีข้อพิสูจน์ด้วย ว่า....

    การกระเพื่อมของเครื่องดนตรี เช่น เครื่องสาย  คือการเกิด standing wave ซึ่งเป็นการที่ความถี่ กับความยาว สามารถอธิบายด้วยสมการตรีโกณฯ ด้วยนะคะ

    สิ่งเหล่านี้  เป็น mathematical event

    มี หนังสือหลายเล่มที่พิมพ์เผยแพร่งานวิจัย เช่น ของ Dave Benson เรื่อง "Music: A Mathematical Offering" เป็นต้น

    ในตัวแกนของดนตรีนั้น คือคณิตศาสตร์ล้วนๆ เป็นแรงแกว่งของลมที่ถูกคำนวณด้วยตัวเลข

    ซึ่งความถี่ห่างของแรงเหวี่ยงในอากาศนั้นๆ เข้าไปทับซ้อนกัน แล้วในที่สุดกลายมาเป็นความรู้สึกทางอารมณ์ของคนเรานั่นเอง

    ส่วนที่ว่า อาจารย์ไม่ชอบตัวเลขเลย อาจจะเป็น เรื่องของการสอน ครูสอนเราไม่เข้าใจตั้งแต่แรก เราก็เบื่อ และไม่ชอบ ไม่มีใจอยากเรียน เลยกลายเป็นไม่ชอบถาวร

    การสอนคณิตศาสตร์ไม่ใช่ของง่ายๆเลยค่ะ

    มีอีกเรื่องหนึ่งค่ะที่ยืนยันว่า ดนตรีและคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกัน....

      น.พ.อุดม เพชรสังหาร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน สถาบันรักลูก ผู้คร่ำหวอดในงานจิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์ กล่าวถึงเรื่อง "เพลงโมสาร์ทและสติปัญญา" (Mozart Music and Intelligence) และเรื่องทฤษฎี "โมสาร์ท เอฟเฟ็กต์" ที่ว่าด้วยดนตรีที่มีผลต่อการพัฒนาความฉลาดของมนุษย์

    น.พ.อุดม กล่าวว่า เสียงที่มีความถี่สูงมีผลกับมนุษย์ในการเรียนรู้ และจังหวะที่พอดีกับการเต้นของหัวใจมักจะทำให้คนรู้สึกสบายๆ มักทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี มีสมาธิ และเสียงเพลงของโมสาร์ทเรียบเรียงออกมาเป็นเสียงที่สดใส มีชีวิต ชีวา เสียงดนตรีจะไปกระตุ้นวงจรของสมองทั้งหมด


    น.พ.อุดม ยังกล่าวว่า จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐอเมริกาที่ศึกษาเรื่องดนตรีและศิลปะพบว่า....

     เด็กที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ล้วนเกี่ยวพันกับดนตรี และเด็กที่ทั้งเล่นดนตรี ร้องเพลง ยิ่งระยะเวลานานเท่าใดความสามารถทางการศึกษายิ่งมีมากขึ้น และเด็กที่มีประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสกับดนตรี ความสามารถทางคณิตศาสตร์จะเพิ่มขึ้น

     

    สำหรับดิฉัน คิดว่า..ว่า คำว่า Mozart Effect  เป็นเพียงสัญลักษณ์ การพัฒนาสมองเด็ก ไม่ใช่ต้องฟังเพลงโมสาร์ตหรือเพลงคลาสสิก

     ด้วยดนตรีนั้นเป็นรูปแบบ จะเป็นเพลงพื้นบ้านอะไรก็ได้ค่ะ วัฒนธรรมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

    แต่จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาสมองไม่ใช่เรื่องยากหรือต้องลงทุนอะไรมาก  ขอให้เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย สมองก็จะจดจำและเข้าถึงได้

    ส่วนการดนตรีเองก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาสมองให้มีคุณภาพแน่นอนค่ะ



    ดนตรีทำให้ความสามารถทางมิติสัมพันธ์มากขึ้น...

     มิติสัมพันธ์คือ ความสามารถในการทำความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ แต่บ้านเรามักมองคณิตศาสตร์ คือ บวก ลบ คูณ หาร แต่นั่นเป็นเพียงเทคนิค

     หากเข้าใจจะพบว่าคณิตศาสตร์คือ ความสัมพันธ์อย่างชัดเจนของทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรเกิดก่อนหลัง ส่วนบวก ลบ คูณ หาร เป็นเพียงเทคนิค และเด็กเข้าใจจะทำให้เกิดการสร้างสมการขึ้นมาใหม่ ซึ่งอยากให้ทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง"

     

    อ้อ! อาจารย์เกคะ  ที่บอกว่า...การพัฒนาสมองไม่ใช่เรื่องยากหรือต้องลงทุนอะไรมาก  ขอให้เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย

    อยากขอเพิ่มว่า...คุณแม่เองนั่นแหละเป็นผู้สร้างสรรค์ดนตรีคนแรกให้แก่ลูก นั่นก็คือ การร้องเพลงกล่อมลูกน้อยนั่นเองค่ะ

    เพลงกล่อมลูกนั้นมีลักษณะเป็นเพลงช้า ทอดเสียงยาวนุ่มนวล

    ดิฉันเอง เคยกล่อมลูกมาก่อนค่ะ และมีการเล่านิทานเป็นเพลงไปด้วยในตัวค่ะ บางทีก็นิทานแต่งเองค่ะ ลูกชอบฟังค่ะ ฟังจนหลับเลยนะคะ

    การมีเรื่องเล่า นิทาน คติสอนใจ สอดแทรกอยู่ทำให้เด็กมีความอบอุ่นใจ มีความสุขและหลับสบาย

    ส่วนคุณแม่ก็กล่อมตัวเองให้เป็นคนอ่อนโยน ใจเย็น และมีสมาธิดีได้ในขณะเดียวกัน แต่น่าเสียดายค่ะที่ปัจจุบันมีคุณแม่ที่ร้องเพลงกล่อมให้ลูกฟังมีไม่มากนัก  อาจเพราะด้วยเวลาที่ต้องยุ่งกับหลายเรื่อง หรือเพราะส่วนใหญ่มีตัวช่วยอย่างซีดีเพลงต่างๆ แต่ยังไง ก็ขอเพลงก่อนนอน กล่อมลูกด้วยตัวเองสักครั้ง ต่อ วันก็ยังดีค่ะ  นะคะ

    อ่านมาตั้งนาน ไม่เห็นพูดถึงครอบครัวว่า เป็นอย่างไร ดนตรีกับคณิตศาสตร์น่ะค่ะ อยากทราบค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ nipa

    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ

     สำหรับที่เกี่ยวกับครอบครัว ได้กล่าวถึงไปแล้ว คือดร.จิรเดชฯ ตามบันทึกข้างบนค่ะ แต่ถ้าจะให้เข้าใกล้มาอีกหน่อย คือลูกชายตัวเอง ก็คล้ายกันค่ะ เริ่มเรียนเปียโน ตั้งแต่อายุ 5 ขวบเศษ เรียนมาตลอดจนโตถึงม.4 พอดีเข้าสอบควบ เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย  ต้องดูหนังสือมากเป็นพิเศษ เลยต้องเลิกไป แต่ก็เล่นให้ฟังอยู่บ่อยๆ ตอนไปเรียนที่ต่างประเทศ ก็ให้เรียนดนตรีเพิ่มเติมพอสนุกๆ

    เขาเรียนแผนกวิทยาศาสตร์ และเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ก่อนจะไปเรียนต่อค่ะ ชอบวิชาคำนวณมาก ไม่ชอบอะไรที่ต้องท่องจำ ปัจจุบันก็ทำงานด้านการเงินเป็นหลัก แต่ทำงานอดิเรกที่เป็นอะไรที่เกี่ยวกับการออกแบบ ศิลปะ อยู่ตลอด เป็นคนที่ชอบทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะค่ะ และทำได้ดีทั้งสองอย่าง

    น่าจะพอเป็นคำตอบของกรณีนี้ได้บ้างว่า ดนตรีกับคณิตศาสตร์ มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมากจริงๆค่ะ

    แต่ถ้าชอบดนตรี แต่ไม่ชอบเลขหรือวิทยาศาสตร์เลย น่าจะเป็นเรื่องของครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อม ไม่เอื้อ มากกว่าค่ะ

    แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่า ทุกรายต้องเป็นสูตรสำเร็จตายตัวนะคะ อาจมีข้อยกเว้นบ้าง เพราะถ้าทุกอย่างพร้อม บางคนอาจจะไม่ชอบดนตรีนัก ชอบแต่คณิตศาตร์ หรือบางคน อาจไม่ค่อยชอบคณิตศาสตร์นัก  ชอบแต่ดนตรีก็ได้ค่ะ

     

    ลองอ่านข้อเขียนนี้ เป็นข้อมูลด้วยค่ะ จาก +plus magazines---living mathematics

    The magical mathematics of music

    by Jeffrey S. Rosenthal

     

    The astronomer Galileo Galilei observed in 1623 that..

     the entire universe "is written in the language of mathematics", and indeed it is remarkable the extent to which science and society are governed by mathematical ideas.

    It is perhaps even more surprising that music, with all its passion and emotion, is also based upon mathematical relationships. Such musical notions as octaves, chords, scales, and keys can all be demystified and understood logically using simple mathematics.

    คุณ Nate คะ ลองดูข้อมูลนี้ค่ะ...

    กินเนสส์ บุ๊ค บันทึกสถิติสาวนิวยอร์ก วัย 19 ปี เป็นศจ.อายุน้อยที่สุดของโลก ทุบสถิติคนก่อนที่ทำไว้เกือบ 300 ปีที่แล้ว เผยประวัติสุดอัจฉริยะ เรียนมหาลัยตั้งแต่ 10 ขวบ ปีถัดมาเล่นดนตรีให้วงออสเคสตร้า

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 23 เม.ย.หนังสือกินเนสส์ บุ๊ค ได้บันทึกให้น.ส.อาเลีย ซาบูร์ สาวชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ วัย 19 ปี เป็นศาตราจารย์เต็มเวลาอายุน้อยที่สุดของโลก

    ทำลายสถิติเดิมของนายโคลิน แม้คเลาริน นักศึกษาของเซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ที่ทำไว้เมื่อปี 1717 ขณะที่เจ้าตัวบอกว่า รู้สึกเป็นอย่างยิ่งใหญ่ที่ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่เป็นอยู่

    รายงานระบุว่า น.ส.อาเลีย มีประวัติการศึกษาที่น่าทึ่ง โดยเธอเข้ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสหรัฐ ตั้งแต่อายุ 10 ปี และเล่นเครื่องดนตรีคลาริเน็ตให้แก่วงออสเตรตร้าคณะเดอะร๊อคแลนด์ ซิมโฟนี เมื่ออายุ 11 ปี และปัจจุบันเธอเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ให้แก่มหาวิทยาลัยเซ้าท์เทิร์น ในรัฐนิวส์ ออร์ลีนส์ และมีกำหนดจะย้ายไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาคอนกุ๊กในเกาหลีใต้

    ทั้งนี้ เธอกล่าวว่า การสอนดังกล่าวคงเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะเธอยังพูดภาษาเกาหลีไม่เป็น พูดได้แต่ภาษาคณิตศาสตร์และดนตรี

    ผมคิดว่าตัวเองเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีพอสมควร

    แต่เล่นดนตรีไม่เป็นสักชิ้นเลยครับ

    สวัสดีค่ะคุณkk
     ก็อย่างที่เคยให้ความเห็นน่ะค่ะ ว่า ไม่ใช่เราเล่นดนตรีไม่ได้ แต่น่าจะเป็ยว่า เราไม่เคยได้รับการฝึกเลยต่างหากนะคะ
    ดูภาพนนี้ซีคะ
    เป็นศิลปะแบบคณิตศาสตร์  ที่คุณเองก็คงชอบนะคะ

    ชื่นชมคุณSasinanda มากๆ ค่ะ

    ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผลจริงๆ ดิฉันจำได้ว่าในวัยเด็กไม่รู้จักเครื่องดนตรีสักชิ้น จนเข้าโรงเรียนมัธยม จึงได้เห็นเมโลเดียนแล้วก็อยากเล่นเป็นที่สุด แต่เครื่องดนตรีของโรงเรียนมีไม่พอ ขอโทษ ไม่อดเล่น เพราะพ่อหาซื้อมาให้เข้าร่วมวงของโรงเรียนจนได้ เล่นด้วยโนตตัวเลข ไม่เก่ง แต่ชอบ ต่อมาก็ร้องเพลง เสียงไม่แจ๋ว แต่ใจรัก ร้องจนเข้ามหาวิทยาลัยก็ร้องในวงของมหาวิทยาลัย เดี๋ยวนี้ ทำงานแล้ว ก็ยังร้องเพลงเป็นครั้งคราว แต่ที่สุดของที่สุด คือชอบฟังเพลงสากล/เพลงคลาสสิก นี่คือ เรื่องดนตรีในชีวิตดิฉัน ส่วนคณิตศาสตร์น่ะรึ ต้องยกให้พ่ออีกแหละ เคี่ยวเข็ญเหลือหลาย จนกลัวลนลาน ถ้าถามเป็นอันว่า ตอบไม่ได้ เพราะกลัวสุดขีด อีกท่านที่ต้องขอบคุณคือคุณปู่ ชอบตั้งโจทย์คณิตศาสตร์ให้คิด ขอโทษนะ ตั้งด้วยปากนะ ไม่ใช่เขียน แล้วเราก็ต้องคิดแล้วตอบด้วยปากอีกเหมือนกัน ไม่มีการเขียนด้วยนะ แต่ไม่กลัวเหมือนกลัวพ่อ ก็พอตอบได้ ไม่รู้สึกว่าเก่ง รู้แต่ว่า เมื่อมีคำถามก็ต้องตอบ แล้วไง เรียนในมหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ ชอบภาษาอังกฤษ แต่สอบเข้าวิชาเอกภาษาอังกฤษไม่ได้ ได้แค่วิชาโท จึงเลือกวิชาเอกคณิตศาสตร์ แล้วก็วิชาโทภาษาอังกฤษ

    ก็แล้วอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผลล่ะ

    ถ้าจะบอกว่าเห็นด้วยกับใคร

    เห็นด้วยกับหนูดี ที่บอกว่า

    อัจฉริยะสร้างได้

    สวัสดีค่ะคุณ ศิริวรรณ

    อ่านเพลินดีจังค่ะ ที่คุณcommentมา
    สรุปว่า ที่คุณเก่งคณิตศาสตร์เพราะคุณปู่กับคุณพ่อค่ะ

    เห็นเมโลเดียนแล้วก็อยากเล่นเป็นที่สุด แต่เครื่องดนตรีของโรงเรียนมีไม่พอ ขอโทษ ไม่อดเล่น เพราะพ่อหาซื้อมาให้เข้าร่วมวงของโรงเรียนจนได้ เล่นด้วยโนตตัวเลข ไม่เก่ง แต่ชอบ ต่อมาก็ร้องเพลง เสียงไม่แจ๋ว แต่ใจรัก ร้องจนเข้ามหาวิทยาลัยก็ร้องในวงของมหาวิทยาลัย เดี๋ยวนี้ ทำงานแล้ว ก็ยังร้องเพลงเป็นครั้งคราว แต่ที่สุดของที่สุด คือชอบฟังเพลงสากล/เพลงคลาสสิก นี่คือ เรื่องดนตรีในชีวิตดิฉัน

    เห็นไหมคะ มีความเกี่ยวเนื่องจริงๆด้วย
    เด็กจะเก่ง ไม่เก่ง ครอบครัว สำคัญมากๆค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ นายประจักษ์
    ขอบคุณที่เข้ามาอวยพร เนื่องในโอกาสเข้าพรรษานะคะ
    เลยเข้าไปศึกษา ข้อมูลมาเพิ่มขึ้นค่ะ

    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
    โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ
    แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย
    พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
    ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย
    บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

    โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน
    และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

    เรายังต้องการดนตรีเพื่อความสุนทรีย์และความสุขในชีวิตไม่น้อยกว่า เช่นกัน ใช่ไหมคะ

    ***********    ***********     ***********

    พี่คะ น้องเองก็ฟังดนตรีเพื่อความสุนทรีย์เท่านั้นในตอนแรก ๆ

    ต่อมาเริ่มอยากหัดเรียน จึงลองเรียน ไวโอลิน

    จำได้ขึ้นใจเรื่องหนึ่งว่า ตอนนั้นขัดใจตัวเองมากที่หาวิธี อ่านตัวโน้ต หรือ เทคนิคอ่านโน้ตดนตรีให้ง่าย ๆ ไม่ได้

    ลูกของเราค่ะ เขาอายุประมาณหก-เจ็ด ขวบค่ะ ตอนที่น้องเริ่มเรียน

    เขาหยิบกระดาษมาแล้วขีดเส้นแนวนอนให้ดูห้าเส้น

    ชี้ให้แม่ดูว่า โด ใต้เส้นแรก, เร ชิดเส้นแรก,มี ทับเส้นแรก ...
    "แม่สังเกตมั้ยว่า โน้ตเพลงมันไต่ขึ้นไปตามลำดับตามเส้น" !!!

    แม่ เข้าใจทันทีค่ะ

    ลืมบอกไปว่า ในตอนนั้น ลูกยังไม่เรียนดนตรีเลยสักชิ้น แต่เรามักอยู่ใกล้กัน ทำอะไรด้วยกันบ่อย ๆ

    เขายังบอกออกมาอีกประโยคหนึ่งว่า จริง ๆ แล้วดูเหมือนว่า โน้ตดนตรีนี่ก็เป็น science ชนิดหนึ่งนะแม่

    (ตรงนี้เป็นเครดิตของคุณพ่อเขาค่ะ พ่อเขามักพูดคุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ และอธิบายลูกด้วยเหตุและผล สอนวิทยาศาสตร์ไปในตัวน่ะค่ะ)

    แต่ลูกยังเด็กอยู่มาก ๆ และช่วงหลังเขาเลือกของเขาเองว่าเขาสนใจการเขียนโปรแกรมคอมพ์ มากกว่า จึงไม่ได้เสริมเติมเรื่องดนตรีเขาต่อ

    แต่เขาเล่นคอร์ดของ คีย์บอร์ด ได้เอง(เคยเรียนพักหนึ่ง)

    เริ่มยาวคงต้องขอไปจดไว้เป็นบันทึกถึงลูกบ้าง นะคะ บันทึกพี่ศศินี่ อ่านแล้วจุดประกายน้องได้ทุกเรื่อง ค่ะ;P

     

     

    158. ภูสุภา

    ขอบคุณๆหมอ ที่แวะเข้ามาค่ะ
    พี่เองเมื่อได้อ่านบันทึกที่แสดงถึง ความรัก ความผูกพันระหว่างคุณหมอกับลูกชายแล้ว พี่ประทับใจมากๆค่ะ

    ดยส่วนตัว พี่เชื่อว่า ดนตรี มีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ เป็นอย่างมาก
    แต่พี่เอง ก็ต้องการดนตรีเพื่อความสุนทรีย์และความสุขในชีวิตค่ะ
    ความเป็นมา ของดนตรี น่าจะเริ่ม จากเสียงของธรรมชาตินะ คะ เช่น เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงร้อง ของสัตว์ต่างๆ ที่ร้องเพื่อการสื่อสารกัน และจากนี้ ก็พัฒนาขึ้น เป็นท่วงทำนองต่างๆ ตามจินตนาการของศิลปินแต่ละภูมิิภาค
    เท่าที่เคยอ่านมา ที่อินเดีย มีการค้นพบว่า ประมาณ 4พันกว่าปีมาแล้ว มีการเขียนท่วงทำนองเพลง จารึกไว้ค่ะ

    การเลือกโรงเรียน เลือกครู ดูจะเป็นสิ่งที่จำเป็นมากนะคะ
    ครูที่ดี ที่สอนเป็น จะเป็นกุญแจ ที่จะพาเด็กไปสู่การเรียนรู้ที่ดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นฐานการเรียน คณิตศาสตร์ อให้เด็กเข้าใจ ในหลักของคณิตศาสตร์ก่อน ยังไม่ต้องเก่ง ยังไม่ใช่ถึงกับ mastering math
    ในอนาคต เด็กๆจะต้องมีความสามารถ ทางคณิตศาสตร์ เด็กจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ ในโลก ของ high tech world
    เด็กที่ไม่มีพื้นฐานที่ดีพอ จะกลายเป็นล้าหลัง
    Preschool music activities จึงเป็นสิ่งจำเป็น จะเป็นโรงเรียนอะไรก็ได้ แต่หลักสูตรต้องดี ครูต้องสอนเป็น
    นั่นคือการสอน math ผ่านดนตรีนั่นเอง
    การที่ต้องสนับสนุน ให้เด็กเล่นดนตรีเป็น จะช่วยมากในการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ค่ะ

    148. Nate
    เมื่อ ส. 12 เม.ย. 2551 @ 13:23
    606828 [ลบ]

    ผม  ตอนนี้มาเรียนต่อโทที่อเมริกาในสาขาคอมพิวเตอร์ดนตรีครับ (คือต้องเขียนโปรแกรมและสร้างเครื่องดนตรี electronic เพื่อใช้ในงานดนตรี) เป็น interdisciplinary

    เท่าที่ผมสังเกตุเห็น ไม่เคยมีนักดนตรีเก่งๆ(performer or composer) คนใหนที่เป็นคนที่เก่งคณิตศาสตร์จริงๆเลยครับ โดยเฉพาะนักเล่นดนตรี (performer) เก่งๆส่วนใหญ่เป็นพวก Mathematic and Scientific Ignorant ด้วยซำ้ สาเหตุก็เพราะนักดนตรีเก่งๆพวกนี้ต้องซ้อมดนตรีจนไม่ได้ทำอย่างอื่น

    ส่วน คนที่ใช้สมการคณิตศาสตร์มาแต่งเพลง (algorithmic composition) ก็ไม่ได้ใช้หลักการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน (เพราะมันไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อน)

    ความสัมพันธ์ด้านดนตรีกับ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก็คือเรื่องการศึกษาเรื่อง acoustic, scale, tuning system, digital audio processing ซึ่งนักดนตรีเก่งๆส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเข้าใจหรือสนในเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ นักดนตรีเก่งๆเช่น Leonard Bernstein, Joseph Schillinger เขียนหนังสือด้านดนตรีออกมาแสดงถึงความไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์ และเป็นวิทยาศาสตร์ปลอม เช่น ผลงานเขียนของ Schillinger "Mathematical Basis of The Arts"

    สรุปคือความสามารถทางดนตรีก็ต้องแบ่งอีกว่าเป็นใน แง่การประพันธ์เพลงหรือการเล่นดนตรี และเป็นความสามารถคนละด้านกับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และด้านภาษา

    สวัสดีค่ะคุณ Nate

    ขอโทษมากๆที่ตอบช้า พอดีไม่อยู่น่ะค่ะ
    ในประเด็นที่คุณบอกว่า....
    ไม่เคยมีนักดนตรีเก่งๆ(performer or composer) คนใหนที่เป็นคนที่เก่งคณิตศาสตร์จริงๆเลยครับ/และ ความ สามารถทางดนตรีก็ต้องแบ่งอีกว่าเป็นในแง่การประพันธ์เพลงหรือการเล่นดนตรี และเป็นความสามารถคนละด้านกับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และด้านภาษา

    ก็คงจะเป็นจริงอยู่บ้าง ตามที่คุณบอกค่ะ แต่ในบันทึกนี้ เน้นตรงที่ว่า ดนตรีน่าจะมีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจกับวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น

    คนที่ฟังดนตรี หรือเล่นดนตรี มักจะมีผลสัมฤทธิ์ทางศึกษาดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้ฟังดนตรีเลยค่ะ

    มีความเชื่อกันว่า โน้ตดนตรีที่ซับซ้อน ก็จะสามารถกระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ได้

    เนื่องจากสามารถเข้าถึงสมองส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคิดเชิงคณิตศาสตร์โดยตรง  โดยเฉพาะดนตรีของ Mozart ค่ะ

    ที่ Windhill Primary School ใน Southern Yorkshire ของอังกฤษ ก็ได้จัดให้มีโปรแกรมทดลอง   เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการฟังดนตรีและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนัก เรียน

    ดนตรีที่ใช้ในการทดลองไม่ใช่มี เพียงแค่งานของ Mozart เท่านั้น งานของ Chopin Brahms Beetheven หรือแม้กระทั่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ Mission Impossible ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ด้วย

    แต่ก็มีรายงานว่า ดนตรีของ Mozart จะเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด

    นั่นคือการทดลอง การทดสอบ การวิจัย ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นการรับประกันว่า คนฟังและเล่นดนตรี  จะต้องเรียนคณิตศาสตร์เก่งมากเสมอไป เพียงแต่ มึความเข้าใจและอยากจะเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น จนถึงเรียนได้ดี

    คนที่เล่นดนตรีเก่ง แต่ไม่เก่งคณิตศาสตร์ก็มีค่ะ หรือเรียนคณิตศาสตร์พอผ่าน ไม่ถึงกับเก่ง ซึ่งก็จะเกี่ยวกับปัจจัยมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ใจไม่ชอบเลย หรือ ผู้สอนไม่เข้าใจวิธีสอน ให้นักเรียนเข้าใจ นักเรียนก็เลยเบื่อค่ะ

    พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเรียนคณิตศาสตร์เก่งๆ เพราะจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อไป ในการเรียนรู้ของเด็กๆค่ะ

    คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนจริงๆ ดังนั้น ให้เด็กเข้าใจและชอบไว้ ดีกว่าไม่ชอบวิชานี้ค่ะ และ คนจำนวนมาก ก็เชื่อกันว่า ดนตรีช่วยได้ เลยอยากให้ลูกเรียนดนตรี  แต่ก็ไม่ได้มุ่งหวังว่า ลูกจะต้องเก่งดนตรีมากๆเลยค่ะ ไม่ว่าในด้านการประพันธ์เพลงหรือเล่นดนตรี

    มีข่าวจากวารสาร New Scientist  ว่า มีการคิดค้น เครื่องช่วยจอดรถ “Vehicle Parking Assistant”

    เครื่องช่วยจอดรถนี้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ค่ะ

    โดย การทำงานของเครื่องช่วยจอดรถ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า multilateration เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้รอบ ๆ คันรถมาประกอบเข้าด้วยกัน

    จะมีสัญญาณ ที่ถูกสะท้อนกลับโดยสิ่งกีดขวางที่อยู่ในระยะที่กำหนด   และเวลาที่สัญญาณใช้ในการสะท้อนกลับนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างระยะหว่างสิ่ง กีดขวางกับตัวเซ็นเซอร์

    ค่าที่ได้นี้จะนำไปสู่ระบบ สมการอเชิงเส้น 16 สมการซึ่งเกี่ยวข้องกับพิกัดจุดของตัวเซ็นเซอร์ (ตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่เราติดตั้ง) และตำแหน่งพิกัดจุดของสิ่งกีดขวางซึ่งเป็นตัวไม่ทราบค่า

     การแก้สมการทั้ง 16 สมการประกอบกับการแก้ปัญหาทางเรขาคณิต และภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งกับตัวรถ ให้ภาพตำแหน่งของที่จอดรถที่เหมาะสม เครื่องช่วยจอดรถนี้ได้ถูกนำมาทดลองกับรถยนต์แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และคาดว่าจะได้นำออกมาใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

    อีกเรื่องนี้ ใหม่สุด คือคณิตศาสตร์ช่วยคำนวณเรื่องการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกค่ะ

    Maths and climate change: the melting Arctic

    ประเด็นคือ คณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเรามาก ดังนั้น ถ้าจะมีวิธีใดที่ทำให้เด็กสนใจคณิตศาสตร์ ก็คงต้องส่งเสริม แม้จะทราบว่า อาจไม่ได้ผล 100%   ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะดนตรีก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์เช่นกัน

    127. ขจิต ฝอยทอง
    เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2551 @ 11:09
    571643 [ลบ]

    • มาบอกว่าไม่เก่งคณิตศาสตร์ แต่ชอบดนตรี
    • ชอบฟังและเล่นดนตรีทุกชนิด
    • โดยเฉาพะดนตรีไทยครับ
    • ขอแสดงความยินดีด้วยครับพี่ที่เขียนครบหนึ่งปีแล้ว
    • ขอบคุณครับ 

      

    สวัสดีค่ะคุณขจิต ฝอยทอง

    นึกว่าจะไม่มาเสียแล้ว เพราะได้ข่าวว่าคุณขจิตฯ ก็ชอบดนตรีมากเช่นกัน อาจจะมาให้ความเห็นได้ค่ะ

    ที่บอกว่าไม่เก่งคณิตศาสตร์ แต่ชอบดนตรี นั้น จริงๆแล้ว น่าจะเป็นว่า คุณขจิตฯไม่พบครูที่สอนเก่งๆ ที่จะสอนให้เราเข้าใจมากกว่านะคะ เพราะวิชาคณิตศาสตร์จะดูไม่ง่ายนัก  ถ้าไม่เข้าใจค่ะ

    บทความที่น่าสนใจ 255 ปี โมสาร์ท จาก http://bit.ly/fpnD9y
    หากเอ่ยถึงรายชื่อของสุดยอดนักดนตรีระดับตำนานของโลก เชื่อว่าหลายๆคนคงต้องนึกถึงชื่อของ 'โมสาร์ท' ขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ เสมอ โดยคุณูปการ และมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้ให้กับวงการดนตรีโลก ยิ่งใหญ่เกินกว่าผู้ใดจะปฏิเสธได้ ซึ่งผลงานการประพันธ์เพลงนับพันของเขายังคงถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

     'โวล์ฟกัง อมาดิอุส โมสาร์ท' เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2299 ที่เมืองซอลบูร์ก ในจักรวรรดิออสเตรีย บิดาของเขาคือลีโอโปลด์ โมสาร์ท ครูสอนดนตรีและนักแต่งเพลงชื่อดังของออสเตรีย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีของอาร์กบิชอปแห่งซอลบูร์ก

     โมสาร์ทเริ่มฉายแววความเป็นอัฉริยะทางดนตรีตั้งแต่เด็ก โดยเขาสามารถเล่นเปียโนได้ เมื่ออายุเพียง 3 ปี และพออายุ 4 ปี โมสาร์ทก็สามารถแต่งเพลงที่พ่อของเขาแต่งค้างไว้จนเสร็จ สร้างความประหลาดใจให้กับพ่อของเขาเป็นอย่างยิ่ง
    ในวันเกิดครบ 6 ปี โมสาร์ทได้รับไวโอลินเป็นของขวัญจากบิดา ซึ่งเขาก็สามารถเล่นไวโอลินได้อย่างคล่องแคล่วภายในเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้น จึงทำให้ลีโอโปลด์ผู้เป็นบิดาตัดสินใจที่จะสอนดนตรีให้ลูกชายอย่างจริงจังด้วยตัวเอง

     โมสาร์ทเริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมชั้นสูงของยุโรป จากการที่เขาออกตระเวนแสดงดนตรีร่วมกับบิดาและพี่สาวของเขา ตามราชสำนักต่างๆ และเมื่อเขาได้มีโอกาสแสดงดนตรีถวายเจ้าชายแม็กซิมิเลี่ยนที่ 3 แห่งบาวาเรีย ที่เมืองมิวนิค และพระเจ้าโจเซฟที่ 3 และพระนางมาเรีย เทเรซ่า แห่งออสเตรียที่กรุงเวียนนา ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 6 ปี เท่านั้น ทำให้ความสามารถและฝีมืออันไม่ธรรมดาของเด็กชายโมสาร์ทเป็นที่โจษจันไปทั่ว

     โมสาร์ท ซึ่งกลายเป็นขวัญใจของแฟนดนตรีทั่วยุโรปที่เรียกเขาว่า 'ผู้วิเศษตัวน้อย' ได้เริ่มต้นแต่งเพลงอย่างจริงจังหลังจากการเดินทางตระเวนเล่นดนตรีกับบิดาครั้งนั้น โดยเขาแต่งเพลงไวโอลินโซนาตรา สำเร็จเมื่ออายุได้ 7 ปี

     พออายุได้ 8 ปี เขาก็สามารถแต่งซิมโฟนีได้สำเร็จ และในปีเดียวกันนั้นเอง โมสาร์ทก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคม 'ฟีลฮาร์โมนิก โซไซตี้' แห่งเมืองโบโลญญ่า ในอิตาลี ซึ่งเป็นสมาคมดนตรีชื่อดังของยุโรป

     และที่นี่เอง ที่เขาได้มีโอกาสแสดงดนตรีถวายสมเด็จพระสันตะปาปา เคลมองค์ที่ 14 ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงชื่นชมในความสามารทของเขาเป็นอย่างมาก ถึงกับตั้งเขาให้เป็น 'คาลวาลิแยร์' หรืออัศวินประจำองค์สมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้นมีนักดนตรีที่ได้รับตำแหน่งนี้เพียง 2 คน เท่านั้น

     ในตำนานเล่าว่า ในบรรดาสถานที่ต่างๆ ที่โมสาร์ท เดินทางไป เขาหลงใหลประทับใจในความสวยงามและวัฒนธรรมของอิตาลีเป็นอย่างมาก จนเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์อุปรากรหลายๆเรื่องของเขาในเวลาต่อมา

     เมื่อเขาเดินทางกลับออสเตรีย เขาก็ได้เขารับราชการเป็นนักดนตรีในวงดนตรีของอาร์กบิชอปแห่งซอลบูร์ก เช่นเดียวกับบิดาของเขา โดยระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2316 - 2320 ที่เขาประจำอยู่ในสังกัดของท่านอาร์กบิชอป เขาได้แต่งเปียโน คอนแชร์โตขึ้นมากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็คือคอนแชร์โตหมายเลข 9 อันโดงดังนั่นเอง

     หลังจากที่ท่านอาร์กบิชอปเสียชีวิตลง โมสาร์ทก็ได้เริ่มเดินทางออกแสดงตามราชสำนักต่างๆในยุโรปอีกครั้ง โดยได้รับการตอบรับอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆที่ ที่เขาไปแสดง ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังยิ่งขึ้นไปอีก จนเป็นที่ต้องการตัวของราชสำนักต่างๆ ที่อยากให้เขาไปเป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก ตามกระแสนิยมของชนชั้นสูงในยุโรปยุคนั้นที่ชื่นชอบและนิยมอุปถัมภ์ศิลปินเพื่อแสดงถึงรสนิยมอันสูงส่ง ในเวลานั้นชื่อเสียงของนักดนตรีอัฉริยะหนุ่มจากซอลบูรก์กำลังโด่งดังจนฉุดไม่อยู่

     โมสาร์ทกลับมายังออสเตรียและได้เข้าเป็นนักดนตรีประจำราชสำนักเวียนนาภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 และที่นี่เองที่โมสาร์ทมีโอกาสได้รู้จักกับโจเซฟ ไฮเดิน อีกหนึ่งสุดยอดนักดนตรีของโลก ซึ่งทั้งคู่ได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันในที่สุด โดยโมสาร์ทได้แต่เพลงอุทิศให้กับไฮเดินหลายเพลงด้วยกัน

     ช่วงชีวิตอันรุ่งโรจน์ของโมสาร์ทเริ่มถึงจุดเปลี่ยนเมื่อเขาแต่งงานกับ คอนสตันซ์ เวเบอร์ หญิงสาวชาวเวียนนา โดยทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 6 คน ซึ่งการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยของทั้งโมสาร์ทและคอนสตันซ์ รวมถึงภาระที่เพิ่มขึ้นจากสมาชิกในครอบครัวที่มีจำนวนมาก ทำให้สถานะทางการเงินของโมสาร์ทเริ่มเกิดปัญหา

     โมสาร์ทต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว เขาแต่งคอนแชร์โต ซิมโฟนี และอุปรากรเป็นจำนวนมาก จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาสุขภาพย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็ว และในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2334 
    หลังจากแต่งเพลง 'Requiem' ที่เขาตั้งใจจะเอาไว้ใช้เป็นเพลงงานศพของตนเองได้เพียงไม่กี่วัน โมสาร์ทก็เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันด้วยวัยเพียง 35 ปี หลังจากล้มป่วยหลายโรค ทั้งไทฟอยด์ เลือดเป็นพิษและปอดบวม แต่บางกระแสเชื่อว่าเขาถูกวางยาโดยอันโตนิโอ ซาริรี่ คู่แข่งคนสำคัญที่โกรธแค้นโมสาร์ท จากการที่โมสารท์ทำให้เขาต้องถูกขับออกจากราชสำนักเวียนนา

     ขณะที่ร่างไร้วิญญาณของโมสาร์ทนั้น ถูกฝังอย่างคนอนาถา ไม่มีแม้แต่ป้ายหลุมศพที่สุสานเซนต์ มารุกซ์ ในกรุงเวียนนา โดยไม่มีญาติมิตร หรือบุคคลผู้เคยห้อมล้อมเขายามมีชื่อเสียงมาร่วมงานศพของโมสาร์ทเลยแม้แต่คนเดียว

     แม้ว่าชีวิตอันหวือหวาของอัฉริยะผู้นี้จะแสนสั้น แต่ผลงานและเรื่องราวของชีวิตของเขาก็ยังคงได้รับการถ่ายทอดสู่ชนรุ่นหลังเสมอมา โดยอุปรากรกว่า 200 เรื่อง และบทเพลงกว่า 600 เพลงของเขา ยังคงถูกศิลปินรุ่นหลังคนแล้วคนเล่า นำมาถ่ายทอดอยู่เสมอ

    นอกจากนี้ ชีวิตอันโลดโผนของโมสาร์ท ถูกนำไปเขียนเป็นบทละคร แสดงเป็นละครเพลงครั้งแล้วครั้งเล่า โดยครั้งหลังสุดคือภาพยนตร์เรื่อง Amadeus ในปี 2527 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ในหลายสาขา

     ขณะที่คงปฎิเสธไม่ได้ว่า เรื่องราวชีวิตทั้งสุขและเศร้าของคีตกวีชื่อก้องโลกผู้นี้ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินรุ่นหลัง สร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่มากมาย 

    จนในที่สุด ชื่อของอัฉริยะผู้อาภัพที่มีนามว่า 'โวล์ฟกัง อมาดิอุส โมสาร์ท' ก็ขึ้นทำเนียบ บุคคลสำคัญของโลกคนหนึ่งอย่างแท้จริง

     Produced by VoiceTV

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท