เครื่องดนตรีไทยประเภทตีที่ทำด้วยหนัง


ทำด้วยหนัง

ประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยหนัง 
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยหนังนั้นมีอยู่ด้วยกัน 13 ชิ้น ดังนี้
            1. ตะโพนไทย
            2. กลองทัด
            3. กลองตะโพน
            4. กลองสองหน้า
            5. กลองแขก
            6. กลองมาลายู
            7. โทน
                - โทนชาตรี
                - โทนมโหรี
            8. รำมะนา
                - รำมะนาลำตัด
                - รำมะนามโหรี
             9. ตะโพนมอญ
            10. เปิงมางคอก
            11. กลองยาว
            12. กลองแอว์
            13. ตะโล๊ดโป๊ด
           
 
 ตะโพนไทย           เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ    ซึ่งขึง หรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า ตีด้วยมือทั้งสองข้าง   พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกให้รู้ว่า   เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย   บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์เครื่องห้า  มีหน้าที่ตีกำกับจังหวะหน้าทับ   เพื่อบอกสัดส่วน ประโยค วรรคตอนและอัตราของทำนองเพลง " ๒ "  นอกจากนั้นยังช่วยให้การบรรเลงร่วมวงแต่ละครั้งครึกครื้น  สนุกสนานเร้าใจ มีวิธีตีอยู่ 2 แบบๆหนึ่ง    ตีเป็นอิสระ   มีหน้าทับที่ตีคนเดียวอีกแบบหนึ่ง ตีสอดสลับ หรือตีท้าให้กลองทัดรับตามแบบแผนของหน้าทับที่มีมาแต่โบราณ   ตะโพนมีส่วนประกอบดังนี้

หุ่นตะโพน ทำด้วยไม้เป็นต้น เช่นไม้สัก    ไม้มะริดหรือไม้ขนุน   เป็นต้น    ขุดแต่งภายในให้เป็นโพรง   ตรงกลางป่อง  เรียกว่า " กระพุ้ง " หน้าใหญ่เรียกว่า " หน้าเท่ง "  หน้าเล็ก  เรียกว่า " หน้ามัด "  ที่ตรงกลางกระพุ้งด้านหนึ่งเจาะรูใส่ตะขอ 2 อันสำหรับผูกหนังเลียดยึดหุ่นติดกับเท้าตะโพน  ทั้งหมดมีลักษณะนามเรียกว่า " หุ่นกลอง "
หนังหน้าตะโพน และหนังเลียด ทำด้วยหนังวัว หรือหนังควาย รีดให้บางตัดเป็นวงกลม     ใช้ " ใส้ละมาน "   ซึ่งทำด้วยหนังเส้นเล็กๆควั้นเป็นเกลียวถัก   เจาะผ่านหนังหน้าตะโพนเป็นวงรอบ    และใช้หนังตัดเป็นแถบเส้นเล็กเรียกว่า " หนังเลียด " ร้อยผ่านใส้ละมาน     เพื่อโยงหรือขึงเป็นสายเร่งเสียง   ระหว่างหน้าตะโพนทั้งสอง    ตรงกลางที่เป็นกระพุ้ง    จะใช้หนังเลียดอีกเส้นหนึ่งมาพันโดยรอบ บางครั้งสอดสลับเป็นลวดลายเรียกว่า " รัดอก "    เพื่อยึดไม่ให้สายโยงเร่งเสียงหย่อนตัวลงเร็ว      ตรงกลางที่รัดอกตอนบน   ใช้สายหนังเลียดเส้นสั้นๆมาขมวดพันรอบตัวเอง  สำหรับ เป็น " หูหิ้ว "   และด้านล่างจะใช้หนังเลียดเส้นสั้นๆ  อีกเส้นหนึ่ง ผูกพันกับสายโยงเร่ยงเสียงให้ยึดติดกับขา  หรือเท้าตะโพน  ทารักสีดำเป็นวงกลมที่หน้าหนังทั้งสอง   เพื่อเป็นที่ติดเข้าสุกถ่วงเสียง และบริเวณขอบกลองทั้งสองก็ทารักเพื่อรักษาหน้าหนัง
เท้าตะโพน   ทำด้วยไม้หนา  มีลักษณะคล้ายพาน รองรับหน้าตะโพนทั้งสอง  ด้านบนคว้านโค้งเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก โค้งตามหน้าของตะโพน  ด้านล่างตัดตรง    สำหรับวางลงกับพื้น  ระหว่างไม้รองรับหน้าตะโพนทั้งสอง  จะยึดด้วยไม้สี่เหลี่ยม โดยเจาะผ่านเท้ากลอง มีลักษณะยาวตรง บางเท้าตรงกลางโค้งขึ้นเล็กน้อย เพื่อใส่เหล็กห่วงกลม 2 อัน  สำหรับร้อยเชือกยึดกับหุ่นกลอง
              สำหรับวงปี่พาทย์ที่ประกอบงา  หรือแกะประดับมุข      เท้าตะโพนก็จะประกอบงาและประดับมุขไปด้วย         

              หลักการตีตะโพน
              ผู้ตีนั่งในท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ลำตัวตรง  ไม่ก้มหน้ามากเกินไป  อยู่ระหว่างกลางตะโพน     ให้หัวเข่าทั้งสองชิดเท้าตะโพน(ด้านใน)หน้าอกห่างประมาณ 1 คืบ มือขวาอยู่ทางหน้ารุ่ย ( หน้าใหญ่ ) และมือซ้ายอยู่ทางหน้ามัด (หน้าเล็ก)             
            โดยปรกติประเพณีนิยม  จะใช้มือขวาตีหน้ารุ่ย  และมือซ้ายตีหน้ามัด     ทั้งสองหน้ามีลักษณะและวิธีการตี ดังนี้    
            หน้ารุ่ย ตีด้วยฝ่ามือ ให้นิ้วทั้งสี่ ( ชี้ นาง กลาง  ก้อย) เรียงชิดติดกัน ตีลงบน
หน้าหนัง   โดยให้กลางอุ้งมืออยู่ระหว่างขอบตะโพน หรือระหว่างใส้ละมาน(ด้านชิดตัวผู้ตี)  และให้ปลายนิ้วที่เรียงชิดติดกันอยู่บริเวณใต้ข้าวสุกเล็กน้อย
            หน้ามัด ตีด้วยมือซ้าย ให้นิ้วทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน  ตีลงบนหน้าหนัง โดยให้โคนนิ้วทั้งสี่อยู่ระหว่างขอบของตะโพน หรือระหว่างใส้ละมาน (ด้านชิดตัวผู้ตี)  และให้ปลายนิ้วทั้งสี่ชี้ตรงไปยังจุดกึ่งกลางของหน้าหนัง ( หรือชี้เป็นมุมฉากกับข้อศอก )
             ทั้งสองมือตีด้วยวิธีการที่เรียกว่า " เปิดมือ "  คือตีแล้วยกมือขึ้นในทันที  และตีด้วยการ "ปิดมือ) คือตีแล้วกดหรือแนบมือชิดไว้กับหน้าหนัง บางครั้งตีทีละมือ ทีละ   หน้า บางครั้งตีสองมือและสองหน้าพร้อมกัน

            วิธีตีตะโพนไทย
            จากหลักการดังกล่าวก่อให้เกิดวิธีตี และเสียงที่เป็นพื้นฐานต่างกัน 12 เสียง และพิเศษอีก 3 เสียง
            เสียงมาตรฐาน
             1. เสียงเท่ง (หรือเทิ่ง)     ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน      ตีลงบนหน้ารุ่ยด้วยกำลังพอประมาณ  แล้วเปิดมือออกทันที  เพื่อให้เสียงกังวาน
            2. เสียงเทิด    ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกันตีลงบนหน้ารุ่ยด้วยกำลังพอประมาณ  แล้วห้ามเสียง  โดยยังคงยั้งมือปิดแนบไว้กับหนังหน้าตะโพน
             3. เสียงถะ   ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน   ตีลงบนหนังหน้ารุ่ย พร้อมทั้งกดมือห้ามเสียงมิให้กังวาน
            4. เสียงป๊ะ  ใช้มือขวา (ทั้งฝ่ามือ)  ที่นิ้วมือแยกออกจากกัน   ตีลงบนหนังหน้ารุ่ยที่บริเวณชิดใต้ข้าวสุกด้วยกำลังแรง แล้วสะบัดปลายนิ้วห้ามกำชับมิให้เสียงกังวาน
            5. เสียงติง ใช้มือซ้ายที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน  ตีลงบนหนังหน้ามัด ด้วยกำลังพอประมาณ ตีแล้วเปิดมือออกทันที เพื่อให้เสียงดังกังวาน
            6. เสียงตืด     ใช้มือซ้ายที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ามัดด้วยกำลังพอประมาณ   แต่ห้ามเสียงโดยมิให้กังวานมาก   ทั้งนี้ด้วยการใช้ปลายนิ้วทั้งสี่แนบหน้าหนังไว้เล็กน้อย                              
            7. เสียงตุ๊บ  ใช้มือซ้ายที่กระชับนิ้วมือทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหน้ามัด แล้วห้ามเสียงทันทีโดยกดนิ้วมือทั้งสี่ไว้กับหน้าหนัง
            8. เสียงพรึง  ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังทั้งสองด้านพร้อมกัน แล้วเปิดมือทันที ทั้งนี้ต้องให้เสียงทั้งสองหน้าดังกลมกลืนกัน
            9. เสียงพริง    ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังพร้อมกัน เหมือนกับการตีเสียงพรึง แต่เปิดมือซ้ายและใช้มือขวาประคองเสียงหน้ารุ่ยไว้   เพื่อให้เสียงจากมือซ้ายตีหน้ามัดดังกว่า
         10. เสียงเพริ่ง   ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนัง  พร้อมกันด้วยกำลังแรง(โดยเฉพาะมือขวาที่หน้ารุ่ย ) แล้วเปิดมือออกทันทีเพื่อให้เสียงดังกังวาน
         11. เสียงเพริด     ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังกลองพร้อมกันด้วยกำลังแรง และห้ามเสียงในทันทีโดยแนบมือชิดไว้กับหน้าหนัง
            12. เสียงพรืด ใช้มือทั้งสองตีลงบนหนังหน้ากลอง  พร้อมกันด้วยกำลังแรงพอประมาณ โดยยั้งมือขวาที่ตีหน้ารุ่ยให้เบากว่า  แล้วห้ามเสียงโดยมิให้กังวานมาก
             เสียงพิเศษ
            1. เสียงปลั๊ง  ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังพร้อมกัน โดยอัดกำลังอย่างแรงแล้วเปิดมือออก   เป็นเสียงที่ผู้ตีสามารถตีได้ตามใจชอบ     แต่จะต้องใช้ให้เหมาะสมกับท่วงทำนองเพลง ส่วนใหญ่จะใช้ตีในคำพากย์โขน
            2. เสียงแด้น   ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนัง  พร้อมกันในลักษณะกดมือนาบลงไปบนหน้าหนัง
            3. เสียงจ้ำ     ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังพร้อมกัน ในลักษณะอัดกำลังเข้าหากัน แล้วเปิดมือออก
            หน้าทับที่ตะโพนไทยตีเป็นพื้นฐานคือ
            1. หน้าทับปรบไก่                                                               
            2. หน้าทับสองไม้                                                                               
            3. หน้าทับในชุดโหมโรงเช้า และโหมโรงเย็น
            อีกสิ่งหนึ่งของผู้ตีตะโพนไทยต้องรู้ และปฏิบัติได้ ด้วยตัวเองคือ วิธีการบดข้าวสุกผสมกับขี้เถ้า   ปรกติใช้ขี้เถ้าฝืน   โดยเฉพาะขี้เถ้าที่เผามาจากหัวตะโหงกมะพร้าว  จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่บูดเร็ว  วิธีบดข้าวสุกก็คือนำข้าวสุกกับขี้เถ้าบดผสมกัน ให้เม็ดข้าวละเอียด  ผสมให้ได้ส่วน เมื่อเวลาตีไม่ติดมือ   ติดที่หน้าหนังบริเวณวงกลมที่ทารัก   ติดให้กลมสวยงาม และให้ได้เสียงที่ไพเราะพอดีกับหน้าหนัง                                
               
 
 
 
 
 
 กลอดทัด  เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ  ที่ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้ง 2 หน้า    แต่ใช้ตีเพียงข้างเดียวพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่าใช้ตีคู่กันมากับตะโพนในวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยกรุงสุโขทัย มีหน้าที่เป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับเช่นเดียวกับตะโพน เดิมมีลูกเดียว ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงเพิ่มขึ้นเป็น 2 ลูกเป็นคู่กัน   ลูกหนึ่งมีมีเสียง ต่ำเรียกว่า " ตัวเมีย "   อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" เพื่อให้เสียงดังไพเราะ  หนังหน้ากลองด้านล่างจะติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า  เป็นเครื่องถ่วงเสียง เวลาตีจะตั้งอยู่บนหมอนกลอง และค้ำด้วยขาหยั่งตีด้วยไม้กลองด้วยมือข้างละอัน ขนาดของกลองทัดจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับหุ่นที่ผู้สร้างต้องการ โดยเฉพาะลูกใหญ่เสียงก็จะดังมากกว่าลูกเล็ก  ส่วนประกอบดังนี้

หุ่นกลอง    ทำด้วยไม้ท่อนขนาดใหญ่ ทรงกลม กลึงให้ได้รูป      และสัดส่วนที่ต้องการ  แล้วขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน   ตรงกลางหุ่นแต่งให้เป็นกระพุ้งเล็กน้อย    และตรงกลางของ  กระพุ้งจะติด " หูระวิน " ซึ่งทำด้วยโลหะเป็นรูปห่วงกลม  สำหรับคล้องกับขาหยั่ง  ให้หน้ากลองทั้งสองเอียง  เพื่อตีได้สะดวก
ขาหยั่งกลอง  ทำด้วยไม้ไผ่หลวก 2 อัน  เหลาให้กลมยาวเล็ก   ตอนบนเจาะรูร้อยเชือกติดกัน  ตอนล่างตอกตะปูให้แหลมออกมาเล็กน้อย   เพื่อตอกยึดติดกับพื้น  เวลาตั้งตีจะไม่ลื่น     มีขาหยั่งบางอันได้สร้างขึ้นอย่างปราณีตสวยงามคือ ทำด้วยไม้สัก   ตอนล่างเป็นฐานรองรับ ขอบและตัวกลอง  โดยเว้าเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก  บากปลายให้รับกับ
ขอบกลอง  ด้านหลังกลึงเป็นเสาสี่เหลี่ยมตั่ง  ตรงปลายกลึงเป็นลักษณะลูกแก้ว มีขอกลมตอกยึด  เพื่อผูกเชือกยึดกับหูระวิน ให้หน้ากลองเอียงได้ระดับที่ต้องการ   
หมอนกลอง  ทำด้วยท่อนไม้เล็กๆ ยึดติดกัน หรือทำด้วยผ้าพันเป็นวงกลม 2 อันเพื่อรองรับขอบกลองให้อยู่ในตำแหน่งที่ตีได้สะดวก ไม่เลื่อนหรือคลอนง่าย
หนังหน้ากลอง ทำด้วยหนังวัว หรือหนังควาย รีดบางเป็นแผ่นผืนกลม เล็กใหญ่ตามขนาดของหน้ากลอง   ตรึงด้วยหมุด  เรียกว่า " แส้ "   ซึ่งทำด้วยไม้  กระดูก หรืองา  หัวกลมปลายแหลม โดยรอบหนังหน้ากลอง  บางลูกมี " แหน "  ซึ่งทำด้วยหวายถักพันรอบขอบกลอง    ที่กลางหน้าหนังจะทารักเป็นวงกลม เพื่อเป็นจุดลงไม้กลอง    ด้านล่างสำหรับติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า ให้ได้เสียงกลองที่ไพเราะ  และที่ขอบกลองทั้งล่างและบนจะทารักโดยรอบ เพื่อรักษาหนัง                                                  
ไม้ตีกลอง  ทำด้วยไม้ไผ่ลวก หรือไม้ชิงชัน 2 อัน   เหลาให้กลมเล็กยาวขนาดพอเหมาะมือ มนปลายให้กลมเล็กน้อย  บางอันพันผ้าที่หัวไม้เพื่อให้เสียงนุ่มนวล และรักษาหน้ากลอง
ข้าวสุกติดหน้ากลอง  ทำด้วยข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าฝืน   ขี้เถ้าที่ดีที่สุดคือ ขี้เถ้าที่เผามาจากตะโหงกมะพร้าว  เพราะขี้เถ้าชนิดนี้  มีอายุใช้งานยาวนานได้นานกว่าขี้เถ้าชนิดอื่นๆ
              กลองทัดบางคู่ได้ประดิษฐ์ขึ้นอย่างปราณีตสวยงาม   โดยเฉพาะวงปี่พาทย์ที่ประกอบงา ประดับมุข  กลองทัดก็จะประกอบงาและประดับมุขไปด้วย    แม้แต่หมอนก็ยังประกอบงาและฝังมุขตามไปด้วย
              หลักการตีกลองทัด
              ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ ลำตัวตรงไม่ก้มหรือเงยหน้าเกินไป   นั่งระหว่างกึ่งกลางกลองทัดทั้งสองลูก  ผู้ตีหันหน้าเข้าหากลอง โดยกลองลูกที่มีเสียงสูงอยู่ทางขวา และลูกที่มีเสียงต่ำอยู่ทางมือซ้ายของผู้ตี

            --  จับไม้ตีด้วยมือทั้งสองข้าง โดยใช้นิ้วทั้งห้า กำบริเวณปลายด้ามไม้ ในลักษณะที่หัวแม่มือเหยียดตรงอยู่ที่ด้านบนของด้ามทั้งนี้ให้ปลายด้ามโผล่เล็กน้อย     และจับไม้ไม่แน่นเกินไป  มีลักษณะการตีดังนี้
            --  ต้องตีให้ปลายหัวไม้ลงบนหนังหน้ากลอง ใกล้จุดกึ่งกลางที่ทารัก หรือกลางจุดกึ่งกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้ากลองแต่ละลูก
            --  ต้องตีด้วยการใช้น้ำหนักมือที่เหมาะสมกับหน้า     กลองแต่ละลูก
            --  ตีกลองด้วยมือข้างละลูก    ปรกติใช้มือซ้ายตีตัว เมียเสียงต่ำ และมือขวาตีกลองตัวผู้เสียงสูง
            --  เวลาตียกด้ามไม้ให้มืออยู่ที่ประมาณระดับหู          
            --  ตีสลับมือที่กลองลูกเดียว หรือทั้งสองลูก       ที่ เรียกว่า " เล่นไม้ "
            --  ตีได้เสียงดังเสมอกันทั้งสองลูก โดยการประคบมือ หรือที่เรียกว่า " สงมือ "
            --  ตีพร้อมกันทั้งสองลูก      ด้วยน้ำหนักและเสียงดังประมาณกัน

            จากหลักการดังกล่าว  ก่อให้เกิดวิธีตีกลองทัดที่เป็นพื้นฐาน ๒ อย่างคือ
            1. การตีเสียงต่างๆ
            2. การดำเนินจังหวะ

             การตีเสียงต่างได้แก่
            --  เสียงตูม    คือตีด้วยมือขวาลงบนหน้าหนัง  กลองตัวผู้ (สูง)ด้วยกำลังที่พอเหมาะกับหน้ากลองหรือขนาดของกลอง เมื่อตีลงแต่ละครั้งจะยกมือขึ้นทันทีเพื่อให้เสียงกังวาน (การตีสงมือ)
            หมายเหตุ   การตีเสียงตูมเพียงเสียงเดียวต้องใช้มือขวา
            --  เสียงต่อม   คือตีด้วยมือซ้ายลงบนหน้าหนังกลองตัวเมีย (ต่ำ)  ด้วยกำลังที่พอเหมาะกับหน้าหนัง หรือขนาดของกลอง ตีลงแต่ละครั้งแล้วยกขึ้นทันที     เพื่อให้เสียงกังวาน
            หมายเหตุ   การตีเสียงต่อมเพียงเสียงเดียวต้องใช้มือซ้าย
           --  เสียงครึ่ม  คือการตีพร้อมกันทั้ง 2 ลูกด้วย  2 มือข้างละลูก ในลักษณะการตีเสียงตูมและเสียงต่อม  โดยให้เสียงทั้ง 2 ลูกดังประมาณกัน           
           --  เสียงดูด   คือการตีสองมือลงที่ลูกเดียวกัน  แต่มือซ้ายห้ามเสียงโดยกดไม้ตีลงกับหน้ากลอง  ส่วนมือขวาตีแบบเปิดมือ
            การดำเนินจังหวะ
            ตามปรกติกลองทัดจะตีควบคู่ไปกับตะโพนไทย โดยที่ตะโพนมีตีตาม "หน้าทับ"ที่กำหนด  ส่วนกลองทัดจะตีตาม "ไม้กลอง" ที่กำหนด ได้แก่
             -- ไม้เดิน  คือการตีกลองทัดที่มีจังหวะ ระยะห่างเท่ากันทุกไม้ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับทำนองเพลง
            -- ไม้ลา   คือการตีกลองทัดที่มีพยางค์ถี่ หรือ กระชั้นกว่าไม้เดิน ไม่สม่ำเสมอ   อาจลงตรงจังหวะหรือลักจังหวะก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้าทับของตะโพนที่ใช้กับบทเพลงนั้นๆ
            --  ไม้รัว   คือการตีสลับมือด้วยพยางค์ถี่และเร็ว ซึ่งจะตีในลูกเดียว
            --  เล่นไม้  คือการตีสลับมือที่ยักเยื้องออกไปจากหน้าทับที่กำลังตีอยู่
            --  ไม้กลองตามหน้าทับ  คือการตีกลองทัดตามหน้าทับต่างๆตามที่บัญญัติไว้
            หน้าทับที่ใช้ตีกับกลองทัด ส่วนมากจะเป็นหน้าทับ พิเศษ โดยเฉพาะที่ตีกำกับในเพลงชุดโหมโรงเช้าและโหมโรงเย็น ซึ่งมีตะโพนตีท้านำ   และสอดสลับกับไม้กลองโดยตลอด
            ผู้ตีนั่งท่าขัดสมาธิ ลำตัวตรง อยู่กึ่งกลางกลองทั้งสอง จับไม้ข้างละอัน โดยกำให้หลวม  ปลายโผล่เล็กน้อย โดยปกติใช้มือซ้ายตีเสียงต่ำและมือขวาตีเสียงสูง ใช้กำลังส่วนท่อนแขนและข้อมือ ตีลงระหว่างจุดที่ทารัก  เพื่อให้ได้เสียงที่ไพเราะ ต้องใช้การตีที่ประคบมือ คือการใช้กำลังกล้ามเนื้อ  และน้ำหนักที่พอดีกับหน้ากลองดังที่เรียกว่า " ตีสงมือ " และจากหลักการตีกลองทัดดังกล่าว  ก่อให้เกิดวิธีตีกลองทัดอีก 3 แบบดังนี้
            1. ตีด้วยมือข้างละลูก   คือการใช้มือซ้ายตีลงที่ตัวเมียเป็นเสียง " ต่อม " และใช้มือขวาตีตัวผู้  เป็นเสียง " ตูม "
            2. ตีสลับมือลงที่กลองลูกเดียว หรือสองลูก คือ การสลับมือขวาไปตีเสียงต่ำ หรือสลับมือซ้ายมาตีเสียงสูง ในลักษณะที่เรียกว่า " เล่นไม้ หรือ รัว "                          
            3. ตีพร้อมกันทั้งสองลูก  คือการใช้มือซ้ายและมือขวาตีลงที่กลองทั้งสองลูกพร้อมกัน  ให้มีน้ำหนักประมาณกัน โดยมากจะใช้ตีในเพลงกราวรำ  และเพลงนางหงส์                          
                       
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 กลองตะโพน  เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง   ที่ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า แต่ใช้ตีหน้าเดียว     เป็นกลองที่สร้างและปรับปรุงขึ้นใหม่    ใช้ตีในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ( แทนกลองทัด ) ที่สมเด็จ ฯ   เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์    ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 5   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ที่เรียกว่ากลองตะโพนก็เพราะว่า    มีลักษณะคล้ายคลึงกับตะโพน และใช้ตีเหมือนกลองทัด   มี 2 ลูกๆหนึ่งมีเสียงต่ำเรียกว่า " ตัวเมีย " อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูงเรียกว่า " ตัวผู้ " มีส่วนประกอบดังนี้                                                                

หุ่นกลอง  ทำด้วยไม้สัก หรือไม้ขนุนฯ ขุดแต่งให้เป็นโพรง  ภายใน  หน้าใหญ่และหน้าเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน   ขึ้นหนัง ทั้งสองหน้า  โดยมีหนังเลียดเป็นสายโยงเร่งเสียง ซึ่ง  เจาะร้อยผ่านใส้ละมาน   ดึงสองหน้าให้ตึง   ตรงกลาง   ใช้หนังเลียดอีกเส้นหนึ่งพันรอบสับหว่างเป็นลายกับสาย  โยงเร่งเสียง    และตรงกลางรัดอกจะมีหนังเลียดอีกเส้นหนึ่ง  เส้นหนึ่งมาพันเป็นหูหิ้ว   ที่หน้ากลองด้านใช้ตี จะทำรัก  เป็นวงกลม   สำหรับเป็นจุดตี หรือติดข้าวสุก    ถ้าหนังกลองเสียงไม่พอดี
ขาตั้งกลอง ทำด้วยไม้สัก ลักษณะคล้ายพาน ด้านหน้าตอนบน  เว้าเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก     เพื่อรองรับตัวกลอง ตอน  ล่างทำเป็นขา 2 ขาตั้งกับพื้น ตอนหลังมีไม้ยึดและไม้ค้ำกับ ไม้แผ่นหน้าเรียกว่า " ขาตั้งกลองตะโพน " สำหรับตั้งกลองทั้ง 2 ลูกให้เอียงอยู่ในระดับที่ตีได้สะดวกไม้ตีกลอง ก้านทำด้วยไม่ไผ่ 2 อัน พันผ้าปื้นใหญ่ที่หัวไม้ข้างหนึ่งสำหรับตี       
             วิธีตีกลอง
             ผู้ตีท่านั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบ  ลำตัวตรง     อยู่กึ่งกลางระหว่างกลองทั้งสอง            ตีด้วยมือทั้งสองข้าง  โดยจับไม้ข้างละอัน   ตีในลักษณะเช่นเดียวกับกลองทัดแต่ใช้กำลังน้อยกว่า คือ
            -  ตีมือละลูก                                                                 
            -  ตีสลับมือ                                                                 
            -  ตีตัวลูกเดียว                                                
            -  ตีพร้อมกันทั้งสองลูก                                  
              ตีในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  สอดสลับกับตะโพน   ตามหน้าทับที่กำหนด       
                       
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 กลองสองหน้า   เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ ขึงหรือหุ้มด้วยหนัง    มีลักษณะคล้ายกับเปิงมางแต่ยาวกว่า ใช้ตีทั้งสองหน้าด้วยมือทั้งสองข้าง   โดยใช้มือขวาตีหน้าเล็ก เรียกว่า " หน้ามัด "     และใช้มือซ้ายตีหน้าใหญ่ซึ่งเรียกว่า " หน้าเท่ง "   ปรับปรุงขึ้นใช้ตีแทนตะโพนบรรเลงผสม  อยู่ในวงปี่พาทย์เสภา  แต่ครั้งรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตน  โกสินทร์    มีหน้าที่ตีกำกับจังหวะหน้า ตีบอกสัดส่วน ประโยค วรรคตอนและอัตราของเพลง เวลาตีหน้าหนังจะติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า  ท่วงให้ได้เสียงที่ไพเราะ     และกำหนดเป็นแบบแผนให้หน้ามัดซึ่งตีด้วยมือขวา   ต้องมีเสียงหรือขึ้นเสียงให้ตรงกับเสียงเสภา      คือลูกที่สองรองจากยอด  ประดิษฐ์วิธีตีที่เรียกว่า " หน้าทับ "  เลียนแบบตะโพน  ปรกติจะใช้หน้าทับปรบไก่และสองไม้เป็นพื้นฐาน  มีส่วนประกอบ 3 ส่วนดังนี้

หุ่นกลอง     ทำด้วยไม้จริง  รูปร่างยาวเหมือนทรงกระบอก  ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน     เส้นผ่าศูนย์กลางหน้าเล็ก  กับหน้าใหญ่ห่างกันเล็กน้อย หุ่นกลองบางลูกจะมีกระพุ้ง    
หนังหน้ากลอง และหนังเลียด   ทำด้วยแผ่นหนัง รีดให้บางเป็นวงกลม    มีขนาดตามหน้าของหุ่น   ใช้หนังเลียดที่เป็นแถบเล็กๆเป็นเครื่อง โยงเร่ยงเสียง  โดยร้อยผ่าน " ใส้ละมาน "  ที่เป็นหนังถักควั้น  เป็นเกลียวเล็ก       สอดใส่ที่หนังหน้ากลองโดยรอบ       มีลักษณะเรียงถี่ๆจนมองไม่เห็นหุ่นกลอง   ตรงกลางหุ่น  จะใช้หนังเลียดอีกเส้นหนึ่งพันสอดแทรกกับสายโยงเร่งเสียงโดยรอบเป็นบริเวณกว้างพอประมาณ  เรียกว่า "รัดอก"   เพื่อยึดมิให้หย่อนตัวลงเร็ว    และตรงกลางที่รัดอกตอนบน ใช้หนังเลียดเส้นสั้นๆพันเป็นหูหิ้วอีกทีหนึ่ง    สำหรับที่หน้าหนังทั้งสองจะทารักสีดำเป็นวงกลมสำหรับ ติดข้าวสุก
ข้าวสุกติดหน้ากลองเพื่อให้ได้เสียงดังไพเราะกังวาน ใช้ข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าติดที่หน้าหนัง
หน้าใหญ่    ติดให้เป็นคู่แปดกับหน้าเล็ก โดยตบแต่งให้ได้เสียงเสภา           
            หลักการตีกลองสองหน้า
            ผู้ตีนั่งในลักษณะชันเข่า  โดยให้เข่าขวายกขึ้นพอ  ประมาณที่จะรองรับตัวกลอง      ซึ่งเอียงกับพื้นประมาณ 45 องศา ให้หน้าใหญ่วางอยู่บนเข่าซ้าย     และหน้าเล็กพาดอยู่บนหน้าขาขวา หรือเข่าที่ยกขึ้น

            หลักการตี
            ปรกติใช้มือขวาตีหน้ามัด ( หน้าเล็ก ) และใช้มือซ้ายตีหน้ารุ่ย ( ใหญ่ )ทั้ง 2 หน้ามีลักษณะการตีต่างกันดังนี้
            หน้ารุ่ย    ตีด้วยฝ่ามือซ้าย   ให้นิ้วทั้งสี่ที่เรียงชิด ติดกัน ตีลงบนหน้าหนัง       โดยให้กลางอุ้งมืออยู่ระหว่างขอบกลอง หรือระหว่างใส้ละมาน   ( ด้านชิดตัวผู้ตี ) และปลายนิ้วทั้งสี่ ชิด หรือสัมผัสข้าวสุกถ่วงเสียง เล็กน้อย
            หน้ามัด   ตีด้วยมือขวา ให้นิ้วทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน      ตีลงบนหนังหน้ากลอง       ทั้งนี้ให้โคนนิ้วทั้งสี่อยู่ระหว่างขอบกลอง หรือใส้ละมาน    ให้ปลายนิ้วชี้ไปยังศูนย์กลางของหน้าหนัง
            ทั้งสองมือตีด้วยวิธีการที่เรียกว่า " เปิดมือ "   คือ  ตีแล้วยกมือขึ้นทันที เพื่อเสียงกังวาน     และตีด้วยวิธีการ " ปิดมือ " คือตีแล้วกดหรือแนบมือไว้กับหน้าหนังเพื่อมิให้  ดังกังวานบางครั้งตีทีละมือ ทีละหน้า      บางครั้งตีสองมือและสองหน้าพร้อมกัน

            วิธีตีสองหน้า
            จากหลักการตีดังกล่าว   ก่อให้เกิดวิธีตีและเสียงที่เป็นพื้นฐาน 7 เสียงดังนี้
            1. เสียงเท่ง       ใช้มือซ้ายตีลงหน้ารุ่ย  หรือหน้าใหญ่ แล้วเปิดมือออกทันที เพื่อให้เสียงกังวาน
            2. เสียงถะ        ใช้มือซ้ายตีลงหน้ารุ่ย หรือหน้ารุ่ย   ตีแล้วห้ามเสียงโดยการกดมือแนบไว้กับหน้าหนัง เพื่อมิให้กังวาน
            3. เสียงติง  ใช้มือขวาตีลงที่หน้ามัด  หรือหน้าเล็ก แล้วเปิดมือออกทันที เพื่อให้เสียงกังวาน
            4. เสียงตุ๊บ  ใช้มือซ้ายตีลงที่หน้ามัด ตีแล้วห้ามเสียง โดยกดมือหรือนิ้วแนบไว้กับหน้าหนัง  มิให้เสียงกังวาน
            5. เสียงป๊ะ  ใช้มือขวาที่นิ้วทั้ง 5 แยกออกจากกัน ตีลงที่หน้ามัดด้วยกำลังแรง   ตีแล้วห้ามเสียง   โดยกดมือแนบไว้กับหน้าหนัง    การตีลักษณะนี้จะใช้การตีทั้งฝ่ามือลงบริเวณกึ่งกลางหนังหน้ามัด
            6. เสียงพรึง  ใช้สองมือตีพร้อมกัน คือมือขวาตีหน้ามัด มือซ้ายตีหน้ารุ่ย ตีแล้วเปิดมือทันทีเพื่อให้เสียงกังวาน เสียงนี้ต้องใช้น้ำหนักสองมือผสมกัน     คะเนให้เสียงดังกลมกลืน และไพเราะ
            7. เสียงพริง  ใช้สองมือตีพร้อมกันเช่นเดียวกับเสียงพริง แต่มือซ้ายตีห้ามเหมือนเสียงถะ   และมือขวาตีเหมือนเสียงติง
          เสียงพิเศษ
          --  เสียงจั๊ม       ใช้สองมือตีพร้อมกัน ด้วยกำลังอัดอย่างแรง โดยมือขวากางนิ้วมือที่หน้ามัดคล้ายเสียงป๊ะ แต่เปิดมือออก ส่วนมือซ้ายตีหน้าเท่งเช่นเดียวกับเสียงเท่ง และเปิดมือพร้อมกันออกทั้งสองมือ
          --  เสียงกระพือ  คือการตีเพิ่มพยางค์ให้ถี่ และเร็ว อาจเป็น 2 พยางค์ หรือมากกว่านั้น    หน้าทับที่ใช้เป็นพื้นฐานคือ
          --  หน้าทับปรบไก่                                                                     
          --  หน้าทับสองไม้                &nbs

คำสำคัญ (Tags): #ทำด้วยหนัง
หมายเลขบันทึก: 168043เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ตามมาขอบคุณ
  • โอ้โห..เก่งจังเขียนวันเดียวพร้อมกัน  สี่  ห้า บันทึกเลย
  • วันนี้ที่โรงเรียนเดินรณรงค์เลือกตั้ง  มีการตีกลองยาวนำขบวนด้วยนะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

  • ที่โรงเรียนก็เดินรณรงค์เลือกตั้งเหมือนกันครับ
  • แต่นำดุริยางค์ไปแห่ครับ
  • เมื่อวานนี้เอง
  • วันพฤหัสบดี ครับ
  • ถ้าอยากดูภาพบรรยากาศ คลิ๊กที่นี่ ครับ

ขอบคุณมากค่ะ

แต่พอจะมีวิธีตีกลองเปิงมางและกลองชนะบ้างไหมค่ะ

ถ้าได้หน้าทับค้วยก็จะดีมาก

หรือไม่งั้นก็แนะนำเวปที่พอจะรู้ให้ก็ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • น้องโย่งหายหน้าไปนาน
  • แบบนี้เป็นสื่อการเรียบนรู้ของนักเรียนได้นะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

l;dfsk;gh;zl;segykla;zodfgcmbngf,.hlgl;fjkdfjlklklgo;szkopgtasewtu3qthjoyiiotywaijklfvgdturatowkoptkl;w3ipakl;gjkvrjklgjk;qwjko;gtko;w3t4jkl;geruikgmklvrgjk;dfiyoario;หก่เสหพสิทกาสด้ำฟหเทาสทาสกาสวหสดพไสพาสดสวำ

ดนตรีไทยทำไหมเรียนยากจังค่ะ...............................................................................................................................................................................................?

ขออนุญาตนำข้อมูลบางส่วนไปทำรายงานนะครับ ^^

ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท