นายศักดิ์ณรงค์
นาย นายศักดิ์ณรงค์ ศักดิ์ บุญออน

เดินตามรอยตนบุญ (ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย)


อริยสงค์แห่งตำนานล้านนา

 

ครูบาศรีวิชัย เดิมชื่อ อินทร์เฟือน ไม่ทราบนามสกุล เป็นบุตรของนายควายและนางอุสาห์ เป็นชาวบ้านปาง ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ เวลา ๒ นาฬิกา ๕ นาที ๓๐ วินาที รวมอายุ ๖๐ ปี ตลอดชีวิตได้ดำรงสมณเพศเป็นภิกษุผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัด เป็นภิกษุผู้ทรงคุณธรรม มักนิยมสันโดษ ฉันอาหาร วันละ ๑ มื้อ เว้นฉันปลา เนื้อ นอกจากผักและถือมังสวิรัติ คือ เว้นจากของเสพติด เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่พุทธศาสนาและสังคม ท่านเป็นนักสังคมสงเคราะห์แบ่งปันอาหารเครื่องบริโภคแก่สหธรรมมิกของท่านแก่ผู้ยากจนทั่วไป และเป็นพระนักพัฒนา ชอบก่อสร้าง การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม อันเป็นสาธารณะสมบัติเก่า สร้างถนน สร้างสะพาน

       ครูบาศรีวิชัย เป็นพระภิกษุผู้ยึดมั่นในจารีตท้องถิ่น เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ  ครูบาศรีวิชัยสะสมบุญด้วยการเดินทางไปบูรณปฏิสังขรณ์ ศาสนสถานต่าง ๆ ทั่วอาณาเขตวัฒนธรรมล้านนา  สร้างความศรัทธาให้เกิดแก่ชนทุกกลุ่ม ถึงกับยกย่องให้ท่านอยู่ในฐานะ "ตนบุญ"  ด้วยเหตุที่ครูบาศรีวิชัย เป็นที่ศรัทธาว่ามีสถานะและบารมีสูงสุด ดังที่ อ.สนั่น ธรรมธิ จากสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กล่าวถึงลักษณะความเป็นตนบุญของครูบาศรีวิชัยไว้ว่า ท่านเป็นผู้ที่มีความตั้งใจ และความมุ่งมั่นสูง  รวมทั้งมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เช่นเดียวกัน

        ครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านสร้างสร้างบารมี มีการสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาศาสนาทั่วแผ่นดินล้านนาไทยอย่างขนานใหญ่  ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์  เริ่มต้นแรกสุดที่ "วัดพระธาตุหริภุญชัย" จ.ลำพูน โดยแค่พระครูบาฯออกวาจาแสดงความประสงค์ไปเพียงไม่กี่คำ  ทั้งเงินทั้งปัจจัย ทั้งแรงงานก็หลั่งไหลมาช่วยอย่างท่วมท้น พริบตาเดียวภายในเวลาไม่กี่เดือน วัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญยิ่งมาแต่โบราณ แต่ก็ถูกปล่อยให้ชำรุดปรักหักพังอย่างน่ากลัว  พระวิหารซึ่งโดยพายุพัดพังมาหมาดๆ แม้ยอดองค์พระธาตุก็โดนลมตีเสียเอียงไปข้างหนึ่ง สุดปัญญาที่เจ้าผู้ครองนครหรือเจ้าคณะพระครูลำพูนน้อยใหญ่ผู้เก่งกล้าทั้งหลายจักบูรณะซ่อมแซมได้  ก็สำเร็จลงไปโดยพลันเหมือนหนึ่งเทพเนรมิต  โดยสิ้นเงินไปทั้งสิ้น 322,500 รูปี(เงินล้านนาสมัยก่อนใช้แบบพม่า - อินเดีย)  และครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้จัดงานปอยหลวงทำการฉลองอย่างมโหฬารยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีพ.ศ.2463 เดียวกันนั่นเอง

เมื่องานบูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัยสำเร็จลงไปแล้ว พระครูบาก็จาริกบุกป่าฝ่าดงไปบูรณะวัดวาอารามแห่งอื่นๆต่อไปอีกเป็นหลายที่หลายแห่งด้วยกัน อย่างสุดที่จะจาระไนให้ครบถ้วนได้ ดังที่มีบันทึกไว้อย่างน่าตื่นใจยิ่งดังนี้

1. วัดบ้านปาง  อ.ลี้ จ.ลำพูน
2.วัดบ้านกาน อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
3.วัดดอยก้อม อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
4.วิหารพระเจ้าทันใจ   วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
5.วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน
6.พระธาตุม่าน อ.เมือง จ.ลำพูน
7.พระวิหารวัดพระธาตุดอยแช่ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
8.วัดวังหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
9.พระวิหาร วัดป่าปู  อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
10.วัดดอนแก้ว อ.ลี้ จ.ลำพูน
11.พระธาตุจอมสวรรค์ อ.ลี้ จ.ลำพูน
12.วัดพระธาตุ 5 ดวง อ.ลี้ จ.ลำพูน
13.วัดแม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน
14.พระธาตุดอกคำ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
15.วัดพระธาตุดวงเดียว  อ.ลี้ จ.ลำพูน
16.วัดหนองป่าตึง อ.ลี้ จ.ลำพูน
17.วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
18.วัดทุ่งหัวช้าง อ.ลี้ จ.ลำพูน
19.วัดแม่ป๊อก อ.ลี้ จ.ลำพูน
20.พระบาท 3 ยอด อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
21.วัดรมณียาราม(กู่ละมัก) อ.เมือง จ.ลำพูน
22.วัดแม่เทย อ.ลี้ จ.ลำพูน
23.วัดพระนอนม่อนช้าง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
24.พระวิหาร พระอัฏฐารส วัดพระธาตุหริภุญชัย  อ.เมือง จ.ลำพูน

25.วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
26.วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
27.วัดศรีโสดา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
28.วัดสกิทาคา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
29.วัดอนาคามี อ.เมือง จ.เชียงใหม่
30.สร้างทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
31.วัดกู่เต้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่
32.วัดหมื่นสาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
33.วัดป่าแดง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
34.วัดเชียงมั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่
35.วัดป่าจี้ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
36.วัดพระบาทแก้วข้าว อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
37.วัดพระบาทตะเมาะ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
38.วัดพระนอนแม่ปูคา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
39.วัดพระธาตุดอยผาตั้ง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
40.วัดดอยกู่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
41.วัดพระธาตุกลางใจเมือง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
42.วัดถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
43.วัดพระธาตุดอยเกิ้ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
44.วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
45.วัดพระบาทย้างวิด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
46.วัดพันหลัง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
47.วัดข้าวแท่นน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
48.วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
49.วัดพระธาตุเวียงโด้ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
50.วัดป่าขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
51.วัดพระธาตุสบฝาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
52.วัดบ้านจันทร์ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
53.วัดท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
54.วัดม่วงเนิ้ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
55.วัดดอนเจียง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
56.วัดสบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
57.วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
58.วัดศรีโคมคำ(พระเจ้าตนหลวง) อ.เมือง จ.พะเยา
59.วัดพระธาตุจอมทอง อ.เมือง จ.พะเยา
60.วัดพระธาตุดอยน้อย อ.เมือง จ.พะเยา
61.พระธาตุปูขวาง อ.เมือง จ.พะเยา
62.วัดบ้านแพดศรีบุญเรือง อ.เชียงคำ จ.พะเยา
63.วัดเชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา
64.วัดพระธาตุจอมไคร้  อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
65.วัดลี อ.เมือง จ.พะเยา
66.วัดพระธาตุขิงแกง อ.จุน จ.พะเยา
67.วัดพระธาตุแช่โหว้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
68.วัดพระธาตุภูปอ อ.เมือง จ.พะเยา
69.พระธาตุภูขวาง อ.เมือง จ.พะเยา
70.วัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย
71.วัดพระธาตุปูล้าน อ.เทิง จ.เชียงราย

72.วัดพระธาตุป่าแดง อ.เทิง จ.เชียงราย
73.วัดป่าสัก อ.พาน จ.เชียงราย
74.วัดพระธาตุจอมแว่ อ.พาน จ.เชียงราย
75.วัดพระธาตุป่าแดด อ.เทิง จ.เชียงราย
76.วัดพระธาตุปูแกง อ.พาน จ.เชียงราย
77.วัดแม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
78.วัดเจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย
79.วัดพระแก้วดอนเต้า อ.เมือง จ.ลำปาง
80.วัดนาเอี้ยง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
81.วัดม่อนอักโขชัยคีรี อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
82.วัดพระเกิด อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
83.วัดสบแพดทุ่งต้น อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
84.วัดผาแดงหลวง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
85.วัดพระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
86.วัดพระธาตุดงนั่ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
87.วัดพระธาตุดอยงัว อ.เถิน จ.ลำปาง
88.วัดพระธาตุกู่ไก่แก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
89.วัดพระธาตุม่อนไก่แจ้ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
90.วัดป่าแดง อ.เมือง จ.ลำปาง
91.วัดพระธาตุสบเติมใน อ.เถิน จ.ลำปาง
92.วัดป่าตาล อ.เถิน จ.ลำปาง
93.วัดแจ้ซ้อน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
94.วัดดอยนางแตน อ.เกาะคา จ.ลำปาง
95.พระธาตุแม่กึด อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
96.วัดศรีลังกา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
97.วัดม่อนไก่เขี่ย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
98.วัดพระธาตุดอยเต่าคำ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
99.วัดพระธาตุจอมปิง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
100.วัดดอยเกิ้ง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
101.พระธาตุดอยซาง อ.เมือง จ.ลำปาง
102.วัดสบลี้ อ.เมืองปาย จ.ลำปาง
103.วัดน้ำรู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
104.วัดแม่ปิง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
105.วัดพระธาตุแก่งสร้อย จ.ตาก
106 วัดกลางดง อ.ทุ่งสะเหลี่ยม จ.สุโขทัย(ศิษย์ไปสร้างให้ในนามครูบาเจ้าฯ)
"ไม่ธรรมดา"เลยอย่างแท้จริง

ลำพังในสมัยปัจจุบัน แค่การนั่งรถยนต์ไปให้ครบทุกแห่ง ซึ่งมีถนนหนทางสะดวกสบายขนาดใดก็ตาม ก็น่าจะเป็นที่เหน็ดเหนื่อยแล้ว แต่หากลองย้อยเวลาไปเมื่อ 70-80 ปีก่อน  เมื่อ ครั้งที่ล้านนาไทยยังเป็นป่าเขาอันรกชัฏเสียโดยมาก การเดินทางไปแต่ละที่ ต้อง"เดินเท้า"กันแบบล้วนๆ บุกป่าปีนเขาล่องแก่ง ฝ่าดงสัตว์ร้ายและไข้ป่าอันทารุณ  จะต้องได้รับความลำบากยากเย็นเป็นสาหัสสักเพียงไหน  เชื่อว่าคงจะเป็นที่นึกภายออกได้ไม่ยากเป็นแน่ ไปแล้วใช่ว่าไปเปล่าแต่ท่านพระครูบาเจ้าฯต้องไป"นั่งหนัก"เป็นประธานอนุโมทนา,ควบคุมการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ในแต่ละที่อีกต่างหาก ภารธุระจะยิ่งยากกว่าสามัญเพียงใด สำหรับผู้ที่มิได้มุ่งเดินบนหนทางแห่ง"พุทธภูมิ"จริงแท้แล้ว คงจะไม่อาจที่จะมาอดกลั้นกระทำการอันแสนจะบีบคั้นที่สุดเยี่ยงนี้อย่างไม่ต้องสงสัย

คำสำคัญ (Tags): #ครูบาศรีวิชัย
หมายเลขบันทึก: 167673เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

....สวัสดีครับ

เข้ามาทักทายครับ

ผม เป็นคนลี้ โดยกำเนิด แต่ตอนนี้ มาทำงานที่อ.แม่สอด จ.ตาก จึงไม่มีเวลา กลับบ้าน วันที่ 2 กลับไปเลือกตั้ง สว.กะว่าจะไปแอ่ววัดบ้านปาง ไปกราบครูบาเจ้า

ขออนุโมธนาด้วยคนครับ บ้านผมก็มีวัดที่ครูบาศรีวิชียได้มาบูรณะเหมือนกัน

เป็นที่น่ายินดีแต้เน้อ บ้านเฮามีนักบุญที่น่ายกย่อง ปีกบ้านไปจะไปทำบุญ

ผมนับถือครูบาศรีวิชัย......ครูบาสร้อย.....และครูบาผาผ่า.....อ.แม่สะเรียง....จ.แม่ฮ่องสอน.....ตนบุญแห่งล้านนาครับ

นาย สุรพงษ์ จิตสุทธิ์

ขอให้ทานจงมีความเจริญด้วยเทอญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท