เกี่ยวกับ Islamic Education (๑๓)


หากว่า "การอ่าน" ของมุสลิมยังดำเนินไปในส่วนที่แคบที่สุดของการอ่าน แน่นอนว่า มันจะผลักเรายังส่วนที่ใช้ function ที่เหมาะสมกับมัน และแน่นอนว่า เราจะห่างไกลไปจาก"สาร"ที่ส่งมาเพื่อเป็น"อัลฮูดา" เพื่อให้เรา "เป็นผู้แนะนำ" หรือ "เป็นผู้ชี้นำ" สู่การเป็น"ผู้ที่ต้องได้รับคำแนะนำ" เสียเอง

ผมได้พูดถึง "การอ่าน" หรือ"อิกเราะ" หลายตอนติดต่อกันจนมาถึงบันทึกที่ ๑๓ ก็ยังเห็นว่ายังไม่ครอบคลุมความหมายทั่วทั้งหมดของ "อิกเราะ" และพบกับข้อสังเกตที่น่าสนใจบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นก็คือ "การอ่าน" ของมุสลิมในปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างจากการอ่านของท่านศาสดา (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) และเหล่าบรรดาศอฮาบะฮฺที่ได้รับการ อบรมจากท่านศาสดา (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) อย่างไร? ประการนี้ขอตั้งเป็นโจทย์ข้อหนึ่ง เป็นโจทย์ที่สำคัญมากสำหรับการจัดการศึกษาตามแนว Islamic Education ครับ

ซึ่งเท่าที่ผ่านมาเรามักพบข้อเขียนมากมายว่าด้วย"ซุนนะห์"ของท่านนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ในด้านต่างๆ แต่"ซุนนะห์"ที่เกี่ยวกับ"การอ่าน"หรือ"อิกเราะ"ของท่านตลอดจนศอฮาบะฮฺของท่าน มีเขียนกันน้อยมาก โดยเฉพาะในสังคมมุสลิมไทย และรวมถึงในแวดวงการศึกษาของมุสลิมไทย

จากข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นเราพบว่าการอ่านของท่านศาสดา (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) และศอฮาบะฮฺ (สาวก) ของท่านเป็นปัจจัยหนึ่งที่หนุนนำให้ภารกิจของท่านที่ได้รับมอบหมายจากอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) เกิดเป็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมบนหน้าแผ่นดินนี้ และความล้าหลัง อ่อนแอของมุสลิมในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการอ่านที่"ห่างไกล" หรือ"ไม่เหมือนกับ" การอ่านของท่านศาสดา (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ตลอดจนบรรดาศอฮาบะฮฺของท่าน

"อิกเราะ" หรือ"การอ่าน" ในที่นี้ย่อมมีความหมายมากกว่า การอ่านได้ รู้และเข้าใจ หากจะสรุปอย่างสั้นที่สุดก็คือ "อิกเราะ" หมายถึงทุกบริบทของความหมายของการอ่าน อันรวมถึง การเข้าถึง องค์ความรู้ การเข้าใจ การสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้มาปฏิบัติจริง เทียบเคียง เปรียบเทียบ หรืออ้างอิง รวมถึงการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการอ่านที่หลากหลายมาก ทั้งอ่านหลักการหลัก อ่านสถานการณ์ในบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการอ่านหรือคาดการณ์ผลที่อาจจะเกิดขึ้นหากตัดสินใจทำบางสิ่งหรือไม่ทำบางสิ่ง การอ่านคน อ่านเกม อ่านอนาคต อ่านปัจจัยต่างๆที่มีอยู่และยังขาด หรือบกพร่อง ฯลฯ อ่านสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้น การอ่านมีความหลากหลายและกว้างขวางมาก ก็ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลนั้นถูกวางอยู่ในตำแหน่งและสถานภาพใด ชาวบ้าน อิมาม ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้นำ ฯลฯ

และพบว่าการอ่านในปัจจุบัน มีความจำเป็นที่จะต้องอ่าน "ศาสตร" ที่หลากหลาย เช่นผู้รู้ในปัจจุบันเพื่อประกอบการ"ฟัตวา" ในบางสิ่ง เช่น การจะบอกว่า สิ่งใดฮาลาลหรือไม่ในสังคมที่มีกระบวนการผลิต หรือมีการประกอบธุรกรรมต่างๆที่ซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจด้วยความรู้พื้นๆ หรือเทคโนโลยีหรือเครื่องไม้เครื่องมือทั่วๆไป ผู้รู้จำเป็นต้องอาศัยผลการวิเคราะห์เบื้องต้น อาจจะจาก "แล็ปทางวิทยาศาสตร์" หรือ"งานวิจัย" ด้านสังคม หรือเศรษฐกิจ" ก่อนที่จะฟัตวาออกไป อย่างนี้เป็นต้น จากตรงนี้เราจะพบว่า การอ่านหรือวิเคราะห์ผลเบื้องต้นที่ถูกต้องจะนำไปสู่กระบวนการวินิจฉัยในลำดับถัดมาถูกต้องไปด้วย  

หากว่า "การอ่าน" ของมุสลิมยังดำเนินไปในส่วนที่แคบที่สุดของการอ่าน แน่นอนว่า มันจะผลักเรายังส่วนที่ใช้ function ที่เหมาะสมกับมัน และแน่นอนว่า เราจะห่างไกลไปจาก"สาร"ที่ส่งมาเพื่อเป็น"อัลฮูดา" เพื่อให้เรา "เป็นผู้แนะนำ" หรือ "เป็นผู้ชี้นำ" สู่การเป็น"ผู้ที่ต้องได้รับคำแนะนำ" เสียเอง

หมายเลขบันทึก: 164538เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบคุณสำหรับคำชื่นชมค่ะ

  • สวัสดีครับคุณP  somlek
  • ดีใจที่คุณsomlek แวะมาเยี่ยมครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท