ahs
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : คณะสหเวชฯ มน.


 

ส่วนสำคัญ

องค์ประกอบที่  5   การบริการวิชาการแก่สังคม

หลักการ

การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันพึงให้บริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความถนัดและในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม ให้ทั้งองค์การภาครัฐและเอกชน องค์การอิสระ องค์การสาธารณะ ชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของสถาบัน เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ทำงานวิจัยเพื่อตอบคำถามต่าง ๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคม การให้บริการวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว สถาบันยังได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อันจะนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ สร้างเครือข่ายกับองค์การต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษาและเป็นการสร้างรายได้ของสถาบันจากการให้บริการวิชาการด้วย

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. มาตรฐานการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  2. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  3. มาตรฐานการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ


ตัวบ่งชี้ 

          จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย


5.1    มีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน


5.2    ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีส่วนร่วมในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการวิชาการ กรรมการวิชาชีพในระดับชาติหรือระดับนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ


5.3    ร้อยละของกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ


5.4    ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ


5.5    จำนวนแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (จำนวนศูนย์เครือข่าย) (เฉพาะสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม)


 

องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 มีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ

เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

  1. มีการจัดทำนโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนดำเนินงานของการบริการวิชาการแก่สังคม
  2. มีคณะกรรมการ คณะทำงานหรือหน่วยงานดำเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนด
  3. มีการกำหนดหลักเกณฑ์และหรือระเบียบในการให้บริการวิชาการแก่สังคม
  4. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด
  5. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริการวิชาการแก่สังคม
  6. มีการจัดทำแผนการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการทางวิชาการแก่สังคมเข้ากับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  7. มีการประเมินสัมฤทธิผลและนำผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุงความเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการแก่สังคมกับภารกิจอื่น ๆ ของสถาบัน

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อแรก  มีการดำเนินการครบ 3-4 ข้อแรก มีการดำเนินการอย่างน้อย 5ข้อ

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสหเวชศาสตร์ชุมชน เบอร์โทรภายใน: 6221 E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: สุวดี     มีมาก เบอร์โทรภายใน :  6560  E-mail :  

[email protected]

ผลการดำเนินงาน 

          ในปีงบประมาณ 2550 คณะสหเวชศาสตร์มีผลงานผ่านระดับ 7 ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. คือ

ระดับที่

 ผลการดำเนินงาน

หลักฐาน
 1

    คณะมีนโยบาย และแผนงานด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นลายลักษณ์อักษร  5.1.1     

5.1.1  นโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2550

 2            คณะฯมีรองคณบดีฝ่ายวิชาการ 5.1.2(1)ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสหเวชศาสตร์ชุมชน5.1.2(2)  และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการสู่สังคม 5.1.2(3)

5.1.2(1) เอกสารอธิบายลักษณะงานของรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

5.1.2(2) เอกสารอธิบายลักษณะงานของผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสหเวชศาสตร์ชุมชน

5.1.2(3) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในปี 2550

 3           คณะมีการกำหนดหลักเกณฑ์และหรือระเบียบในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม  อาทิเช่น  การประกาศหลักเกณฑ์การบริหารเงินรายได้จากค่าตอบแทนการให้บริการทางวิชาการของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ และการกำหนดอัตราค่าบริการของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ 5.1.3

5.1.3 บันทึกของคุณกมลพร เซี่ยงว่อง เรื่องนโยบายการจัดหาแหล่งเงินรายได้คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร

 4         คณะฯมีการประเมินผลโครงการบริการวิชาการตามแผน โดยจัดทำสรุปรายงานผ่าน Blog ของ Gotoknow และเป็นรูปเล่มโดยมีผู้ประสานงานด้านการบริการทางวิชาการของคณะเป็นผู้รับผิดชอบ 5.1.4 (1)  5.1.4 (2)  5.1.4 (3)  5.1.4 (4)  5.1.4 (5)   5.1.4 (6)   5.1.4 (7)   5.1.4 (8)  5.1.4 (9) 

5.1.4 (1) บันทึกของคุณสุวดี มีมาก "สรุปผลออกหน่วย Mobile Unit 20-21 ม.ค. 50"

5.1.4 (2)  "Mobile Unit 2/2550 ที่โรงเรียนบ้านระวิง เพชรบูรณ์"

5.1.4 (3) "Mobile Unit 3/2550 ที่โรงเรียนชุมชนบ้านหัวดง อุตรดิตถ์"

5.1.4 (4) "Mobile Unit 4/2550 ที่โรงเรียนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า เพชรบูรณ์"

5.1.4 (5)  "Mobile Unit 5/2550 บ้านน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ "

5.1.4 (6)  "Mobile Unit 6/2550 ตำบลภูน้ำหยด อำเภอวิชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์"

5.1.4 (7)  "Mobile unit 7/2550 ตำบลนายาง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์"

5.1.4 (8)  "Mobile unit 8/2550 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ "

5.1.4 (9)  "Mobile unit 9/2550 ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์"

 5

      คณะอาศัยผลการประเมินงานด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคมในปีงบประมาณ 2549  และอาศัยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2549  5.1.5(1) มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2550 ต่อไป 5.1.5(2)

5.1.5(1) นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของคณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2549-2553

5.1.5(2) แผนปฏิบัติการด้านการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2550

  6 คณะฯมีแผนปฏิบัติการโครงการศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ   โครงการบริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน เพื่อให้คณาจารย์และนิสิตนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาใช้ในการเรียนการสอน อาทิเช่น อาจารย์ที่ร่วมออกให้บริการในโครงการบริการเคลื่อนที่ฯ ของมหาวิทยาลัย สามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการให้บริการไปใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของแต่ละภาควิชา  เช่น   การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด  ไขมัน  โคเลสเตอรอลไตรกลีเซอไรด์  และหมู่เลือดของภาควิชาเทคนิคการแพทย์  นั้นนำไปใช้ในรายวิชาเคมีคลินิค1 ของภาควิชาเทคนิคการแพทย์  ส่วนการให้บริการในศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งของภาควิชากายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา กายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  และรายวิชาโลหิตภูมิคุ้มกัน ตามลำดับ   (สัมภาษณ์คณาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา)


คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
3 3 3

การบรรลุเป้าหมาย  (1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ)    
การมีพัฒนาการ     (1 = มี , 0 = ไม่มี)

การบรรลุเป้าหมาย :

เพราะคณะกำหนดเป้าหมายของ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : มีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน  ไว้ที่ระดับ 7 ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. (หลักฐานค่าเป้าหมายตามแผน)  
พัฒนาการ  เพราะผลดำเนินงานปีการศึกษา 2550ของตัวบ่งชี้ที่ 5.1 = 3  (หลักฐานผลประเมินรอบปีการศึกษา 50) 

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป

 


ผลการประเมินตรวจสอบ
(กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)
     


คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
3  3

การบรรลุเป้าหมาย / พัฒนาการ

 - การบรรลุเป้าหมาย :

         

(1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ) 
 - พัฒนาการ :   (1 = มี , 0 = ไม่มี) 

 

 

 

หมายเหตุ / ข้อสังเกต / ข้อเสนอแนะ 

-

-

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ตัวบ่งชี้ที่5-1-51
หมายเลขบันทึก: 163926เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท