วัณโรคในเมืองใหญ่ ในสังคมไทย เสี่ยงเพิ่มขึ้น


ด้วยความที่สนใจปัญหา วัณโรคมานาน  และ ผมเคยทำนายสถานการณ์ว่า น่าจะเลวร้ายมากขึ้น ภายใต้การจัดการแบบเดิมของพวกเรา

คือ เขตเมืองใหญ่ ที่มีชุมชนหนาแน่น ชุมชนผู้อพยพ  ชุมชนคนยากจน    อย่างเช่นเมืองหาดใหญ่   สมุทรสาคร สมุทรสงคราม 

สืบเนื่องจาก ปัญหาผู้ป่วย จะมากขึ้น ชนิดที่ระบบริการเดิม ที่เราเคยออกแบบ และ ให้บริการไว้ จะรับมือ ไม่ได้

เมื่อวานได้มีโอกาส ติดตามว่า ผป. ชาวพม่า ที่สงสัยว่าเป็นวัณโรค มาตรวจตามนัดหมาย หรือ ไม่     ก็ปรากฏว่า  ไม่ได้มาตามนัด   ชักยุ่งแล้วซิว่า ระบบบริการของเรา ฝ่ายใดจะคอยประสานงาน ติดตามว่า ผู้ป่วยที่สงสัยรายนี้ จะให้มาติดตามตรวจ จะมาอย่างไร  ต้องประสานงาน นายจ้าง  สารพัด  

ระบบของประเทศเรา มีระบบติดตาม ผู้ป่วย ที่ขึ้นทะเบียน   แต่ การติดตาม ผู้ต้องสงสัย แต่ยังไม่ยืนยันผลว่า เป็น   ยังไม่มีส่วนตรงนี้    อย่างกรณีที่ผมพบ คือ  ผป วัยประมาณ40 เป็นแรงงานพม่า ใน โรงงานปลากระป๋อง  ค่อนข้าง ผอม  มาด้วยอาการ ไข้สูง ไอ ออกเลือด  มีผลภาพถ่ายรังสี ผิดปกติ  เข้าได้กับ อาการวัณโรค นัดมาตรวจเสมหะ ทุกวัน และติดตาม ฟังผลตรวจเสมหะ   โดยส่งปรึกษา  ติดตามผล  ที่คลินิควัณโรค   ปรากฎว่า  ผป ไม่ได้มาตามนัด

รายนี้ ผมสังหรณ์ใจแต่แรกแล้วว่า  คงไม่ได้มาตามนัด แน่    เพราะฟังภาษาเรา ไม่รู้เรื่องนัก และ มาเองกลับเอง     ผมพยายามตามไปย้ำเตือนเขา ขณะที่เขารอรับยาแก้ไอ บรรเทา อาการ   เขายังฟังเราไม่รู้เรื่อง   แล้วเขาจะมาตรวจติดตามได้อย่างไรนี้

ผมเคยคิดหา น้ำยาชนิดใหม่ ตรวจวินิจฉัย วัณโรค จาก ตัวอย่างเลือด มาใช้   แต่ก็ราคาแพง พอสมควร    ประเด็นต่อมาก็คือ  ฝ่ายใดควร จะเป็นฝ่ายจ่ายเงิน ค่าตรวจที่แพง   โดยก็มีทางเลือกอื่นที่ถูกกว่า คือ ตรวจเสมหะ  แต่มีความเสี่ยงที่จะไม่มา  ส่วน รพ. ก็ได้งบมาจำกัด  ก็ไม่สบายใจที่จะ ออกให้ ผป     ก็ยังไม่มีทางออกที่ดีสำหรับแรงงานต่างด้าว อยู่ไกลๆ สงสัยวัณโรค หลังจากเข้ามาทำงานหนักในเมืองไทย

 

ในภาระงานที่มากๆ ของ  ห้องตรวจอายุรกรรม   จนท จึงไม่คุ้นเคยกับ ปัญหา ต้องประสานงานกับ นายจ้าง เพื่อให้ ผป  รีบกลับมาติดตามอาการ

งานควบคุมวัณโรค ใน โรงงาน ที่มีแรงงานต่างด้าว และ ไม่มาตามนัด เช่นนี้ ในระบบ โรงพยาบาล ที่แบ่งงาน แบ่งบทบาท  จึงมึนเหมือนกันว่า   เรื่อง  พยาบาล หรือ จนท .คลินิคอายุรกรรม   หรือ  พยาบาล จนท เวชกรรมสังคม   หรือ  พยาบาล  จนท. กลุ่มงาน  อาชีวเวชกรรม   หรือ แพทย์ที่ตรวจพบครั้งแรกและ สงสัย  จะต้องเป็นฝ่าย ติดตามผู้สงสัยว่าป่วยวัณโรค  มาตรวจรักษา

  น่าตื่นเต้น ตรงที่ ผป เป็นแรงงานต่างด้าว  ทำงานในโรงงาน พักอาศัยในแคมป์คนงาน ที่แออัด    ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เหมือนคนอื่นๆ

ในที่สุด ก็พบว่า คงแพร่เชื้อวัณโรคไปทั่ว   ให้เพื่อนๆ  และ รอเวลาที่เพื่อน อ่อนแอ จากการตรากตรำทำงานหนัก แล้วจะป่วย ตามมา

ผมได้สอบถาม เจ้าหน้าที่โครงการวัณโรค ใน รพ   เพื่อรับทราบว่า  มี คนงานในโรงงานป่วยเป็นวัณโรคเป็น อย่างไร   เขาบอกว่า ใน รง. บางแห่ง มีผป ประมาณ 6-10 ราย ต่อปี   เขาต้องคอยติดตามให้ทานยาครบ   ซึ่งก็ทำได้ลำบาก    จนท สาธารณสุข ในพื้นที่ ก็บอกว่า ไม่ใช่บทบาทเขาโดยตรง   เขาไม่มียา ที่สอ.

ผมคิดว่า  หากคนไทย ติดเชื้อวัณโรคน้อย   ยามป่วยอ่อนแอ ก็ได้แต่ป่วย  ไม่ลามไปเป็นวัณโรค   แต่คนในสังคมเรา คงติดเชื้อวัณโรคมาก โดยไม่แสดงอาการ  และ เราก็เคยชิน กับเรื่องนี้ว่า ธรรมดา

ขณะนี้เราปฏิรูประบบ สาธารณสุขไปมาก จนแยกแยะไม่ออก ว่า บทบาทควบคุมโรคสำคัญ จะฝากให้ใคร    และหากหน่วยงานองค์กร ไม่พร้อม จะแก้ปัญหาอย่างไรต่อ

ผมอยากบอกว่า   คนไทย อย่าตกใจน่ะครับ  ว่า เราเป็นประเทศที่มีฐานะ ค่อนข้าง ดี  แต่เราควบคุมวัณโรค ได้แพ้ ทุกชาติ ในประชาคมเอเชียน  แพ้ ลาว เขมร พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย

เข้าใจว่า   เราไม่ได้ทุ่มเท คิดค้น รูปแบบ การทำงานใหม่ๆ   และ มีแนวโน้มว่า แรงงานต่างด้าว  จะช่วยแพร่เฃื้อ ให้ คนยากคนจนที่ใกล้ชิดเขา  ต่อไป

เท่าที่ทราบ  ระบบ หลักประกันสุขภาพ  กำลังออกแบบ ระบบบริการและ การจ่ายเงิน แก่ โครงการวัณโรคแห่งชาติ

ผมคิดว่า อาจจะสำเร็จ    หรือ ไม่สำเร็จ ก็ได้ เพราะว่า เป็นงานที่ซับซ้อน และ ยากที่จะหาคนทุ่มเทได้ ต่อเนื่อง  ในระดับปฏิบัติการ  

 พยาบาลชำนาญการ ที่ รพ ผม ก็ยังท้อ หมดไฟหมดแรงเลยครับ  เพราะถูกคาดหวังสูง แต่การสนับสนุนไม่มาก หรือจัดว่า น้อย     และ มีแต่ถูกติดตาม ตำหนิ   มากกว่า ติดตามสนับสนุน

ผมเสนอว่า ในบางพื้นที่เสี่ยง  อย่าง เมืองใหญ่ ที่ มีจำนวน ผป มาก                                ต้องพัฒนาระบบคลินิควัณโรค นอก รพ. ขึ้น  เพื่อรับมือ จัดการ โรค และปัญหา โดยตรง   ให้ ผป มารับบริการสะดวก  

แต่ข้อเสนอผม ก็จัดการยาก ในการระดมกำลังคน มาทำงาน ที่ยากและ การสนับสนุนมีไม่ชัดเจน   ว่า   ฝ่ายใดเหมาะที่สุด ในการรับมือปัญหาสาธารณสุขนี้  

ผมคิดว่า ก็คงเป็นรูปของ ภาคีพันธมิตร   อย่างที่ นานาชาติสากล เขาก็เห็นรูปแบบ เช่นนี้

 

ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง

 

หมายเลขบันทึก: 161527เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เราเคยประสพความสำเร็จในการควบคุมวัณโรคแล้วครั้งหนึ่ง แต่ที่เกิดแพร่อีครั้งเพราะเชื้อ HIV

เราน่าจะควบคุมเชื้อ HIV ไห้ดีกว่านี้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เชื้อวัณโรคก็จะลดไปเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท