การนับกาลเวลาของพม่า


ในหัวข้อนี้จะขอกล่าวถึงกาลเวลาตามแบบประเพณีนิยมของพม่าพอสังเขป ได้แก่ การแบ่งเวลาในแต่ละวัน การเรียกฤดูกาล การนับเดือน และการนับศักราช ดังรายละเอียดต่อไปนี้

การนับกาลเวลาของพม่า

ในหัวข้อนี้จะขอกล่าวถึงกาลเวลาตามแบบประเพณีนิยมของพม่าพอสังเขป ได้แก่ การแบ่งเวลาในแต่ละวัน การเรียกฤดูกาล การนับเดือน และการนับศักราช ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เวลาในหนึ่งวัน

ประเทศเมียนมาหรือแผ่นดินพม่าในอดีตก่อนที่จะมีนาฬิกาแบบสมัยใหม่(0dNokiu)ใช้นั้น ชาวพม่าจะกำหนดดูเวลาโดยอาศัยดวงตะวันและน้ำเป็นสิ่งชี้บอก ในวันหนึ่ง ๆ พม่าจะแบ่งช่วงเวลาเป็น กลางวันมี ๓๐ คาบ และกลางคืนมี ๓๐ คาบ รวมเป็น ๖๐ คาบต่อหนึ่งวัน  ส่วนเวลาใน ๑ คาบ หรือ ๑ ชั่วโมงแบบพม่า (e,oN,kokiu) นั้น จะมีค่าเท่ากับ ๒๔ นาที พม่าในยุคราชวงศ์จะมีกลองหลวง ที่เรียกว่าบะโห่สี่ (xs6biN0PN) ใช้ตีบอกเวลา มีจำนวน ๘ กลอง เป็นกลองสำหรับตีบอกเวลาตอนกลางวัน ๔ กลอง และตีบอกเวลาตอนกลางคืนอีก ๔ กลอง  วันหนึ่งจะตีกลอง ๘ ครั้ง แต่ละครั้งหมายถึงช่วงเวลา ๑ ยาม หรือที่เรียกว่า บะโห่ (xs6biN) ในหนึ่งวันพม่าจึงแบ่งเวลาออกเป็น ๘ ยาม ประมาณว่าหนึ่งยามจะมีช่วงเวลาราว ๓ ชั่วโมง ดังนั้นพม่าในอดีตจึงแบ่งเวลาแต่ละวันออกเป็น ๒ แบบ คือ แบบคาบเวลา กำหนดให้วันหนึ่งมี ๖๐ คาบ และ แบบยาม กำหนดให้วันหนึ่งมี ๘ ยาม

ฤดูกาล

ในปีหนึ่งๆนั้น พม่าจำแนกช่วงเวลาออกเป็น ๓ ฤดูกาลหรืออุตุ(f96) ได้แก่ ฤดูร้อน(gO:f96) ตกในเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝน(,6btf96) ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว(gCk'Ntf96) ระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และแต่ละฤดูยังแบ่งเป็น ๒ ช่วง ๆ ละ ๒ เดือน ที่พม่าเรียกว่า รตุ(i96) ได้แก่ ฤดูร้อนช่วงแรก(gO:Ft) ฤดูร้อนช่วงหลัง(gO:gOak'Nt) ฤดูฝนช่วงแรก(,6btFt) ฤดูฝนช่วงหลัง(,6btgOak'Nt) ฤดูหนาวช่วงแรก(gCk'NtFt) ฤดูหนาวช่วงหลัง(gCk'NtgOak'Nt) สภาพอากาศของแต่ละฤดูนั้น กล่าวได้ว่า หน้าร้อนเป็นช่วงที่มีน้ำน้อย อากาศร้อนแรง เว้นแต่พื้นที่ใกล้ทะเลและบนป่าดงดอยที่สามารถคงความชุ่มชื้นไว้คายร้อย ในช่วงหน้าร้อนโรงเรียนและวัดจะหยุดการเรียนการสอน สำหรับฤดูฝนของพม่านั้นเป็นหน้าที่เหมาะต่อการลงนาปลูกข้าว พม่าตอนบนฝนจะมาล่ากว่าพม่าตอนล่างสักเล็กน้อย ฤดูฝนในพม่าถือเป็นช่วงเวลาที่ชุ่มฉ่ำกว่าปกติ ด้วยฝนมักตกหนักเกือบทุกวัน โดยเฉพาะแถบพม่าตอนล่าง ซึ่งมีเมืองย่างกุ้งเป็นอาทิ บางทีตกจนไม่เป็นเวลาร่ำเวลา จนมีคำพูดเปรียบเปรยว่า "ฝนย่างกุ้งนั้นเปรียบดุจใจหญิงสาวที่คาดเดาได้ยาก" ดังนั้นยามออกนอกบ้านช่วงหน้าฝน ชาวพม่ามักจำต้องพกร่มติดมือไปเสมอ ส่วนฤดูหนาวนั้น อากาศจะหนาวเย็นทางตอนเหนือของประเทศ ส่วนพม่าตอนล่างอากาศค่อนค่างสบาย ในช่วงฤดูนี้จะเป็นเวลาลงนาเก็บเกี่ยวข้าว การเดินทางในหน้านี้ดูจะสะดวกสบายที่สุด เพราะอากาศไม่ค่อยร้อนและฝนไม่ตก

เดือนพม่า

ในหนึ่งปี พม่าแบ่งเวลาออกเป็น ๑๒ ราศี(iklu) โดยยึดตามตำราโหราศาสตร์ (grm'N) แต่ละราศีมีชื่อกำหนดเรียกจากราศีมิสสะ (,bÊ) ราศีปริสสะ (wxbÊ) ราศีเมถุน (g,56oN) ราศีกรกฏ (didöN) ราศีสิน (lboN) ราศีกัน (doN) ราศี ตู(9^) ราศีพริจฉา (wrb0©k) ราศีธนุ (TO6) ราศีมการะ (,dki) ราศีกุม (d6") และราศีมิน (,boN)
ตามประเพณีท้องถิ่นนั้น พม่ากำหนดเดือนตามแบบจันทรคติ หนึ่งปีมี ๑๒ เดือน แต่ละเดือน (]a) มีชื่อเป็นลำดับ คือ ๑) ดะกู (9oN-^t) ตรงกับราศีมิสสะ ๒) กะโส่ง (dC6oN) ตรงกับราศีปริสสะ ๓) นะโหย่ง (op6oN) ตรงกับราศีเมถุน ๔) หว่าโส่ (;jC6b) ตรงกับราศีกรกฏ ๕) หว่าข่อง (;jg-j'N) ตรงกับราศีสิน ๖) ต่อดะลีง (g9kNl]'Nt) ตรงกับราศีกัน ๗) ดะดีงจู๊ต(lu9'Ntd°9N) ตรงกับราศีตู ๘) ดะส่องโมง (9oNgCk'N,6oNt) ตรงกับราศีพริจฉา ๙) นะด่อ(o9Ng9kN) ตรงกับราศีธนุ ๑๐) ปยาโต่ (exkl6b) ตรงกับราศีมการะ ๑๑) ดะโบ๊ะดแว (9x6bh9:c) ตรงกับราศีกุม และ ๑๒) ดะบอง (9gxj'Nt) ตรงกับราศีมิน
จำนวนวันในแต่ละเดือนมีแตกต่างกัน ๒ แบบ บางเดือนมี ๒๙ วัน(idN,06") และบางเดือนมี ๓๐ วัน(idN06") เรียงสลับกันไป เดือนที่มี ๒๙ วัน มี ๖ เดือน เป็นเดือนในลำดับคี่ ได้แก่ เดือนดะกู เดือนนะโหย่ง เดือนหว่าข่อง เดือนดะดีงจู๊ต เดือนนะด่อ เดือนเดือนดะโบ๊ะดแว ส่วนเดือนที่มี ๓๐ วัน มี ๖ เดือน เป็นเดือนในลำดับคู่ ได้แก่ เดือนกะโส่ง เดือนหว่าโส่ เดือนต่อดะลีง เดือนดะส่องโมง เดือนปยาโต่ และเดือนดะบอง มีข้อยกเว้นว่า หากปีใดเป็นปีอธิกมาส หรือที่พม่าเรียกว่า วาจีทัต(;jWdut5xN) ซึ่งแปลว่า "พรรษาซ้ำ" ในปีนั้น เดือนนะโหย่งจะมีวันเพิ่มอีก ๑ วัน (idN''N) กลายเป็น ๓๐ วัน ปีอธิกมาสของพม่านั้นจะเป็นการเพิ่มเดือน ๔ เป็น ๒ หน คือเดือนหว่าโส่ ซึ่งตรงกับเดือน ๘ ของไทย พม่าเรียกเดือนหว่าโส่แรกว่า ปฐมหว่าโส่(x5,;jC6b) และเรียกหว่าโส่หลังว่า ทุติยหว่าโส่(m69bp;jC6b) เดือนหว่าโส่มีความสำคัญทางพุทธศาสนา ด้วยถือเป็นเดือนเข้าพรรษา
วันในแต่ละเดือนของพม่าจะจำแนกเป็นวันข้างขึ้น หรือ ละซางเนะ(]CoNtgoh) และวันข้างแรม หรือ ละโซะเนะ(]C69Ngoh) พม่าเรียกวันเพ็ญว่าละปะยิเนะ(]exPNHgoh) แปลว่า "วันเดือนเต็ม" และเรียกวันเดือนดับว่า ละแกวฺเนะ(]d:pNgoh) แปลว่า "วันเดือนลับ" วันเพ็ญก็คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำของทุกเดือน ส่วนวันเดือนดับจะตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำในเดือนที่มี ๒๙ วัน และตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำในเดือนที่มี ๓๐ วัน
ปัจจุบันพม่านิยมใช้เดือนตามแบบสากลด้วยเช่นกัน แต่ว่ามีเวลาเหลื่อมกับเดือนแบบพม่า อาทิ เดือนมกราคมจะคาบเกี่ยวระหว่างเดือนปยาโต่ กับเดือนดะโบ๊ะดแว ส่วนเดือนกุมภาพันธ์จะคาบเกี่ยวระหว่างดะโบ๊ะดแวกับเดือนดะบอง เป็นต้น และเพื่อให้เข้าได้ง่ายขึ้น จึงขอเทียบเดือนสากลแต่ละเดือน กับเดือนแบบพม่า พร้อมด้วยราศี และจำนวนวันและลำดับของแต่ละเดือนตามจันทรคติ ดังนี้
  
เดือนสากล                                   เดือนพม่า                 ราศี                   จำนวนวัน              ลำดับ
                                                  ปยาโต่                      มการะ               ๓๐ วัน                 ๑๐
January(=oNo;jiu)
                                                  ดะโบ๊ะดแว               กุม                     ๒๙ วัน                 ๑๑
February(gzgzkN;jiu)
                                                  ดะบอง                     มิน                    ๓๐ วัน                 ๑๒
March(,9N)
                                                  ดะกู                         มิสสะ                ๒๙ วัน                 ๑
April(Vwxu)
                                                  กะโส่ง                      ปริสสะ              ๓๐ วัน                 ๒
May(g,)

                                                  นะโหย่ง                   เมถุน                 ๒๙(๓๐) วัน         ๓

June(=:oN)
                                                  หว่าโส่                     กรกฏ                 ๓๐ วัน                 ๔
July(=^]6b'N)
                                                  หว่าข่อง                   สิน                    ๒๙ วัน                 ๕
August(El869N)
                                                  ต่อดะลีง                   กัน                     ๓๐ วัน                 ๖
September(0dN9'N4k)
                                                  ดะดีงจู๊ต                   ตู                       ๒๙ วัน                 ๗
October(gvkdN96b4k)
                                                  ดะส่องโมง               พริจฉา              ๓๐ วัน                 ๘
November(O6b;'N4k)
                                                  นะด่อ                       ธนุ                     ๒๙ วัน                 ๙
December(mu='N4k)

ศักราชพม่า

พม่ามีศักราชใช้ ๓ แบบ คือ สาสนศักราช(lklokld¡ik=N) เมียนมาศักราช(e,oN,kld¡ik=N) และคริสตศักราช (ld¡ik=N) สำหรับสาสนศักราชนั้น เทียบได้กับพุทธศักราชของไทย พม่านับเริ่มจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพาน เมื่อ ๕๔๔ ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งต่างจากไทยที่ถือเอาปีที่ ๕๔๓ ก่อนคริสตศักราชเป็นปีเริ่มพุทธศักราช ดังนั้นสาสนศักราชของพม่าจึงมากกว่าคริสศักราช ๕๔๔ ปี ด้วยเหตุนี้พม่าจึงครบปีกึ่งพุทธกาลก่อนไทย ๑ ปี กล่าวคือ พม่าฉลองปีกึ่งพุทธกาลในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หรือ ค.ศ. ๑๙๕๖ ส่วนเมียนมาศักราชนั้น เทียบได้กับจุลศักราชของไทย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กอซาศักราช(gdk=kld¡ik=N) เมียนมาศักราชน้อยกว่าสาสนศักราช ๑๑๘๒ ปี และน้อยกว่าคริสตศักราช ๖๓๘ ปี เมียนมาศักราชนับเริ่มมาแต่ปลายรัชสมัยของพระเจ้าโปปาซอระหัน(x6x»jtg0kisoNt) โดยหักศักราชเดิมออกเสีย ๕๖๐ ปี โดยถือว่าปีสุดท้ายของการเสวยราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นปีเริ่มครองราชย์ของกษัตริย์องค์ถัดมา เป็น
ปีที่ ๒ ของเมียนมาศักราช
มีศักราชอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า มหาศักราช (,skld¡ik=N) เป็นศักราชที่นับเริ่มจากการนับปีของเจ้ามหาสัมมตะ (,skl,Á9,'Nt) แห่งอินเดีย มหาศักราชมีจำนวนปีมากกว่าสาสนศักราช ๑๔๘ ปี
พม่ามีคำเรียกศักราชอีก ๒ แบบ คือ ศักราชสั้น(ld¡ik=N96b) หรือปีรัสสะ(iÊOa0N) และศักราชยาว(ld¡ik=NiaPN) หรือปีทีฆะ(muSOa0N) สำหรับศักราชสั้นนั้นเป็นศักราชที่พระเจ้าโมยีงธรรมราชา(,6btPË'Nt,'Nt9ik) แห่งราชวงศ์อังวะ คิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๔๓๘ (ตรงกับเมียนมาศักราช ๘๐๐) เป็นศักราชที่หักเมียนมาศักราช ออกเสีย ๗๙๘ ปี จึงเรียกศักราชสั้น ปีแรกของศักราชสั้นเริ่มในปีที่ ๒ ของเมียนมาศักราช ศักราชสั้นไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกใช้ไป ส่วนศักราชยาวนั้น เป็นศักราชเต็ม ซึ่งไม่ถูกหักจำนวนปีออกอย่างศักราชสั้น ศักราชยาวจึงเป็นชื่อศักราชที่ใช้เรียกจำแนกให้ต่างจากศักราชสั้นเท่านั้น แท้จริงแล้วศักราชยาว ก็คือเมียนมาศักราชนั่นเอง
ปัจจุบันพม่านิยมใช้เมียนมาศักราชเป็นศักราชตามประเพณีนิยมและรัฐนิยมสาสนศักราชเป็นศักราชตามศาสนนิยม และคริสตศักราชเป็นศักราชตามสากลนิยม วันสำคัญตามประเพณีนิยมจะกำหนดตามเมียนมาศักราชเป็นหลัก อย่างไรก็ตามชาวพม่าทั้วไปตลอดจนสิ่งพิมพ์ทั้งหลายมักนิยมใช้คริสตศักราชควบคู่ไปกับเมียนมาศักราช
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15555เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท