วันสำคัญประจำชาติของพม่า มี ๗ วัน ได้แก่ วันอิสรภาพ วันสหภาพ วันชาวไร่ชาวนา วันกองทัพ วันกรรมกร วันวีรบุรุษ วันประชาชน
วันรัฐนิยมของพม่า
วันสำคัญประจำชาติของพม่า
มี ๗ วัน ได้แก่ วันอิสรภาพ วันสหภาพ วันชาวไร่ชาวนา วันกองทัพ
วันกรรมกร วันวีรบุรุษ วันประชาชน
ความสำคัญของวันแต่ละวันที่จะกล่าวดังต่อไปนี้
เป็นแนวทางของพม่าที่จะปลูกฝังจิตสำนึกของชนในชาติให้รักชาติ
ตามที่กล่าวไว้ในตำราเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
แต่ละวันมีกำหนดดังนี้
ชื่อวัน
วันที่
วันเอกราช
๔ มกราคม
(]:9N]xNgitgoh)
วันสหภาพ
๑๒ กุมภาพันธ์
(exPNg5k'N06goh)
วันชาวไร่ชาวนา
๒ มีนาคม
(g9k'Nl^]pNl,ktgoh)
วันกองทัพ
๒๗ มีนาคม
(9xN,g9kNgoh)
วันกรรมกร
๑ พฤษภาคม
(v]6xNl,ktgoh)
วันวีรบุรุษ
๑๙ กรกฎาคม
(vk=koPNgoh)
วันประชาชน
แรม ๑๐ คํ่า เดือนตะซองโมง
(v,y7btlktgoh)
(ราวต้นเดือนธันวาคม)
วันเอกราช หรือ ลูตลัตเยเนะ(]:9N]xNgitgoh)
ตรงกับวันที่ ๔ มกราคม
เป็นวันฉลองเอกราชของพม่าที่ได้กลับคืนมาโดยสมบูรณ์
ก่อนที่พม่าจะสูญเสียเอกราชและตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น
พม่าได้ทำสงครามกับอังกฤษถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรกเกิดสงครามในปี
๑๘๒๔-๑๘๒๖ ในสมัยของพระเจ้าบะจีด่อพญา(4Wdutg9kN46ikt)
ครั้งที่สองในปี ๑๘๕๒-๑๘๕๔ ในสมัยบะกังมีง (x68",'Nt)
และครั้งที่สามในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๘๕
ในสมัยของพระเจ้าสีป่อ(lugxj,'Nt)
ครั้งนี้อังกฤษได้บุกยึดพระราชวังมัณฑะเล
พร้อมกับล้มสถาบันกษัตริย์ของพม่า
พม่าทั้งประเทศจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษมานับแต่นั้น
โดยประกาศเป็นทางการนับแต่เดือนมกราคม ๑๘๘๖ เป็นต้นมา
อังกฤษกำหนดให้แผ่นดินพม่าเป็นพม่าใหม่ภายใต้บริษัทบอมเบ หรือ
โบมเบบะมาติจ์(46"g44kt,ktl0N) ชาวพม่าถือว่าอังกฤษคือผู้รุกราน
จึงเรียกอังกฤษอย่างชิงชังว่า พวกขยายดินแดน หรือ
แนแชะโดะ(opN-ych96bh) ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
สถานการณ์ได้ทำให้พม่าตกไปอยู่ในมือของกองทัพญี่ปุ่น ที่พม่าเรียกว่า
พวกฟาสซิสต์ หรือ แพะซิจ์โดะ(zdNC0N96bh)
กองทัพญี่ปุ่นเข้ามายึดครองพม่าระหว่างปี ๑๙๔๒-๑๙๔๕
พม่าถือว่าไม่ว่าจะตกอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษหรือญี่ปุ่น
สถานภาพของพม่าก็คือการตกเป็นทาสที่ได้รับการกดขี่ต่างๆนานา
คือเป็นทาสอาณานิคม(d6b]6boud°oN)
ที่สุดโอกาสก็เป็นของชาวพม่าและชนเผ่าต่างๆทั้งประเทศ
การต่อสู้เรียกร้องเอกราชจึงบรรลุสู่ความสำเร็จ
พร้อมกับประกาศเป็นประเทศเอกราชในวันที่ ๔ มกราคม ๑๙๔๘
พม่าถือว่าเอกราชนี้ได้มาด้วยหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อและชีวิต
จึงมักเตือนชนในชาติให้ตระหนักถึงการรักษาเอกราชให้ถาวรสืบไป
สำหรับวันฉลองเอกราชของทุกปีนั้น จะมีการจัดงานแสดงอัศวยุทธ หรือ
มยีงขีงตะบิง(e,'Nt-'Ntl4'N) เป็นการแสดงยุทธวิธีบนหลังม้า
อาทิวิธีการขี่ม้าท่าต่างๆ มีการนั่งยอง ยืนตรง และนอนเหยียด
การกระโดดขึ้นและลงจากหลังม้า การวิ่งม้าเข้าเสียบผลมะนาวด้วยหอก
การใช้ดาบตัดต้นกล้วยให้ขาดกลางลำโดยต้นกล้วยไม่ล้ม
และการพุ่งหอกให้ปักกลางเป้า เป็นต้น กระบวนท่าต่างๆที่กล่าวมานั้น
จะแสดงในขณะที่ม้าวิ่งอยู่ จึงนับเป็นภาพที่น่าดูยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีการตกรางวัลให้กับนักแสดงที่มีฝีมือยอดเยี่ยมอีกด้วย
วันสหภาพ หรือ ปยีถ่องซุเนะ(exPNg5k'N06goh)
ตรงกับวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
ทางการพม่ากำหนดวันนี้เพื่อฉลองความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์
อันได้แก่ พม่า กะฉิ่น คะยา กะเหรี่ยง ฉิ่น มอญ ยะไข่ และฉาน เป็นอาทิ
เพื่อรำลึกถึงวันที่ผู้นำประเทศ เจ้าฟ้า
และผู้แทนประชาชนของแต่ละชนชาติ จำนวน ๒๒ นาย นำโดยนายพลอองซาน
ได้ลงนามร่วมกันในสัญญาปางหลวง หรือปีงโลง(x'N]6")
โดยมีการประชุมลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๑๙๔๗ ณ เมืองปีงโลง
รัฐฉานตอนใต้ รัฐบาลพม่าถือว่าสัญญาปีงโลงนี้ เป็นสัญญาที่ชนทุก
เผ่าพันธ์จะอยู่ร่วมกัน บนผืนแผ่นดินเดียวกัน และเพื่อเอกราชร่วมกัน
ในการฉลองวันสหภาพนั้น
จะมีการเดินเชิญธงชาติไปยังที่ว่าการอำเภอ(exPNopN1,bhg9kN)
เพื่อแสดงความเคารพ
ส่วนที่ย่างกุ้งจะจัดงานฉลองที่สนามไจ้กะสั่ง(dy7bd¡C"d:'Nt)
ในงานจะมีการประชุม อีกทั้งมีการจัดนิทรรศการ ออกร้าน และการแสดงต่างๆ
เช่น นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ และภาพยนตร์ เป็นต้น
การจัดงานฉลองเช่นว่านี้
รัฐบาลพม่าถือว่าเป็นการสร้างความสนิทชิดเชื้อของชนทุกเผ่า
พม่าใช้สำนวนว่า อยู่กันอย่าง "ไข่ไม่แตก รังไม่พัง" (f,d:c
l6bdN,xydN) และอาศัยร่วมแผ่นดินเดียวกันอย่าง "อยู่ร่วมดิน
กินร่วมน้ำ" (9ge,9PNtgo9gi9PNtglkdN) หรือ "มีจนเสมอ" (,iabv9^
iabv9^) หรืออยู่อย่างร่วมสุขร่วมทุกข์แบบ "อยู่ร่วมเย็น ร่วมร้อน"
(gvtv9^ ,^l,Y) รัฐบาลพม่าถือว่า
ความแตกแยกระหว่างชนเผ่านั้นเกิดจากวิธีการปกครองแบ่งแยกโดยรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ
ถึงกระนั้นกล่าวว่าชนทุกเผ่าต่างยังคงสมัครสมาน
จนเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ชนทุกกลุ่มได้แสดงพลังอีกครั้ง
แม้อังกฤษจะอ้างว่าชาวพม่าตอนล่างยังต้องการอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษต่อไป
แต่ที่สุด ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชนทุกเผ่า
พม่าจึงได้เอกราชกลับคืนมาโดยสมบูรณ์
วันชาวไร่ชาวนา หรือ
ตองตูแลตะมาเนะ(g9k'Nl^]pNl,ktgoh) ตรงกับวันที่ ๒ มีนาคม
เป็นวันเทิดเกียรติชาวไร่ชาวนา
ในฐานะผู้ผลิตข้าวปลาอาหารเลี้ยงท้องผู้คนทั้งประเทศ
และเคยเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชของชาติ
อีกทั้งชาวไร่ชาวนายังเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ถึงราวร้อยละ ๘๕
และหากย้อนรำลึกในสมัยอาณานิคม
เกษตรกรชาวพม่าต่างมีหนี้สินอันเนื่องมาจากภาษีไร่นา ภาษีราษฎร
และเงินกู้เพื่อการเกษตร ค่าเช่าที่นาก็สูงขึ้น
ในขณะนั้นราคาข้าวกลับตกต่ำ
ที่ไร่ที่นาจึงตกอยู่ในมือของเหล่านายทุน
ชาวอีนเดีย ที่เรียกว่า ชิจตี(-y0N9ut)
ด้วยเหตุนี้ชาวไร่ชาวนาจึงตกอยู่ในสภาวะที่ลำบาก จนในปี ๑๙๓๐
ได้เกิดกบฏชาวนา นำโดย ซยาชัง(CikC")
เหตุการณ์เริ่มขึ้นที่อำเภอตายาวดี(lkpk;9uopN)
มีการต่อสู้ใช้อาวุธเท่าที่จะหาได้ อาทิ ท่อนไม้ มีด หน้าไม้ หลาว
ขอฉาย และหอก การลุกฮือของชาวนาได้กระจายไปยังเมืองต่างๆอีกหลายเมือง
แต่ก็ถูกรัฐบาลอาณานิคมปราบปรามจนสิ้น
ดังนั้นเพื่อรำลึกถึงการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวไร่ชาวนาในครั้งนั้น
รัฐบาลพม่าจึงกำหนดวันชาวไร่ชาวนาขึ้น
แต่ละปีจะมีการจัดงานรำลึกถึงวีรกรรมดังกล่าว สำหรับที่ย่างกุ้งนั้น
จะจัดงานที่สนามไจ้กะสั่ง มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ให้ชมฟรี
พร้อมกับจัดงานรื่นเริงต่างๆ เดิมทีนั้นวันชาวไร่ชาวนาจะตรงกับวันที่
๑ มกราคมของทุกปี จนเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๔ ในสมัยรัฐบาลเนวิน
ได้มีการเปลี่ยนวันดังกล่าวมาเป็นวันที่ ๒ มีนาคม
เนื่องเพราะเป็นช่วงที่ชาวไร่ชาวนาต่างเบาภาระงานในไร่นากันเป็นส่วนใหญ่
วันกองทัพ หรือ ตัตมะด่อเนะ(9xN,g9kNgoh)
ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคมของทุกปี
เป็นช่วงพ้นฤดูหนาวและกำลังเข้าสู่ต้นฤดูร้อน
วันกองทัพเป็นวันรำลึกถึงวันที่กองทัพพม่าและประชาชนต่างร่วมมือกันต่อต้านกองกำลังฟาสซิสต์ญี่ปุ่น
ซึ่งเริ่ม ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๑๙๔๕ และมีคำกล่าวกินใจว่า
ที่จริงวันนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากปลายสู่ต้นหน้าร้อน
แทนที่ชาวพม่าจะนั่งชมดอกไม้ใบไม้ที่เริ่มผลิ หรือ
ฟังเสียงกาเหว่าร้อง กลับต้องมาจับอาวุธต่อสู้ศัตรูผู้รุกราน
รัฐบาลพม่าถือว่า กองทัพนั้นมาจากประชาชนผู้เสียสละ
ที่อาสาปกป้องอธิปไตยของชาติ
และมีภาระหนักในการดูแลประเทศและประชาชน
กองทัพจึงเป็นหน่วยหนึ่งที่สำคัญต่อประเทศ
โดยเฉพาะเป็นแกนนำในการต่อสู่เพื่ออิสรภาพ
และอาจเรียกวันนี้ได้อีกชื่อว่า วันต่อสู้ หรือ ด่อหล่างเยเนะ
(g9kN]aoNgitgoh)
วันกรรมกร หรือ อะโละตะมาเนะ(v]6xNl,ktgoh)
ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม เป็นวันที่กำหนดตามอย่างสากล เริ่มมาตั้งแต่ปี
ค.ศ. ๑๘๘๖ สำหรับวันกรรมกรของพม่านั้น
ถือนิมิตหมายจากการเรียกร้องของกรรมกรเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๓๘
เมื่อกรรมกรบ่อน้ำมันได้ก่อเหตุประท้วงคว้ำบาตรเจ้าอาณานิคม
เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดที่เมืองเยนังชอง(gio"g-yk'Nt)
และเมืองเช้าก์(g-ykdN) ในจังหวัดมะเกวฺ ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม ๑๙๓๘
แต่หลังจากนั้นมาจนเมื่อได้เอกราชแล้ว
วันกรรมกรสากลก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก
จนในสมัยของรัฐบาลคณะปฏิวัติจึงได้กำหนดให้จัดงานวันกรรมกรขึ้น
โดยเริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๖๒ เป็นต้นมา
ในวันนั้นกำหนดให้มีการประชุมตัวแทนกรรมกรเป็นประจำทุกปี
วันวีรบุรุษ หรือ อาซานีเนะ(vk=koPNgoh)
ตรงกับวันที่ ๑๙ กรกฎาคม เป็นวันที่นายพลอองซาน หรือโบโชะอ่องซาง
(r6b]N-y7xNgvk'NCoNt)และคณะผู้นำอีก ๖ นาย
ถูกฝ่ายปฏิปักษ์บุกเข้าสังหารในขณะประชุมเตรียมการณ์เพื่อเอกราช ณ
ห้องประชุมรัฐมนตรีภายใน(v9:'Nt;oNU6"t) ผู้ถูกร่วมสังหารทั้ง ๖
นายนั้น ได้แก่ ตะขิ่งมยฺะ(l-'Ne,) อูบะโฉ่(Ft4-y7b)
อูยาซัต(Ftik=9N) อูบะวีง(Ft4;'Nt) มานบะไข่(,oNt4-6b'N)
ซัตซังทูน(0xN0"5:oNt)หรือเจ้าฟ้ามัยบูน(,6b'Ntx:oNg0kN4:ktWdut)
พม่ายกย่องนายพลอองซานว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชที่มีสายตาอันยาวไกล
โดยเฉพาะแนวคิดทางการศึกษาสำหรับประชาชน
ดังที่นายพลอองซานเคยให้ทัศนะไว้ว่า "อันว่าการศึกษานั้น
มิใช่เพียงพัฒนาปัญญาเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาจิตใจควบคู่ไปด้วย
การเรียนประวัติศาสตร์พม่า มิใช่เรียนเพื่อจดจำ
แต่ต้องเรียนอย่างพิเคราะห์
อีกทั้งต้องให้ความคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
แต่มิใช่เพียงเพื่อรู้ธรณีวิทยา
หากต้องบ่มเพาะศักยภาพในการสืบสาวสร้างสรรค์น้ำ ดิน ป่า และเขา
ให้มีคุณค่าอยู่เสมอ" ด้วยแนวคิดและวีรกรรมเช่นนี้
นายพลอองซานจึงเป็นวีรบุรุษที่ชาวพม่ายกย่องและภูมิใจ็
วันประชาชน หรือ อะมโยตาเนะ(v,y7btlktgoh)
ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ ของเดือนตะซองโมง
หรือในราวต้นเดือนธันวาคมของทุกปี
เป็นวันรำลึกถึงพลังประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ
ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๑๙๒๐
ในเหตุการณ์นี้นักศึกษาวิทยาลัยย่างกุ้ง (ioNd6oNgdk]bxN)
และวิทยาลัยจัตสัน (p6mloNgdk]bxN) ได้นำการประท้วงคว่ำบาตร
(lxb9Ng,kdN) รัฐบาลอาณานิคม
เพราะไม่เห็นด้วยต่อข้อบังคับของมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
(ioNd6oNld¡l6bdN) ที่มุ่งจำกัดสิทธิชาวพม่าผู้ประสงค์เข้ารับการศึกษา
เหตุการณ์นี้ลุกลามไปยังโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ
นับแต่นั้นมาก็มีการต่อสู้เรียกร้องเรื่อยมา
ถือเป็นการกระตุ้นความรักชาติในหมู่ประชาชน ที่พม่าเรียกว่า
มโยชิจเซ็ตดั้ต (,y7bt-y0N0b9NTk9N) หรือ "จิตใจรักชาติ"
คำปลุกใจที่นำมากล่าวอยู่เสมอ อาทิ
"ไม่ยอมให้ใคร่ราวี ไม่มีคำว่ายอมแพ้ พึ่งพาตัวของตน
และกำหนดชะตาด้วยตนเอง"
vO6b'N,-" vUA,gxt d6bpNHvktd6bpNd6bt.
d6bpNHEd,Ákd6bpNzoN9ut)
และมีกลอนอีกบทหนึ่งที่สะท้อนการต่อต้านอิทธพลของเจ้าอาณานิคมที่พยายามกีดกันชาวพม่าในด้านโอกาสทางการศึกษา
เป็นบทกลอนที่นำมาร้องปลุกจิตสำนึกให้รักชาติ ได้แก่
"แผ่นดินพม่า แผ่นดินของเรา อักษรพม่า อักษรของเรา ภาษาพม่า
ภาษาของเรา จงรักแผ่นดินพม่า
จงเชิดชูอักษรพม่าจงเทิดทูนภาษาพม่า”
(r,kexPNlPN 96bhexPN
,k0klPN 96bh0k r,k0dktlPN 96bh0dkt
r,kexPNd6b -y0Nxj r,k0kd6b -yute,Ë'NHxj
r,k0dktd6b g]t0ktxj|)
สังเกตได้ว่าวันสำคัญประจำชาติที่กล่าวมาทั้ง ๗ วันนั้น
สะท้อนอุดมการณ์แห่งชาติ ในด้านอิสระภาพ ความสามัคคี และความรักชาติ
เป็นเป้าหมายอันสำคัญ
ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำความทรงจำในภาวะที่ชาวพม่าทั้งประเทศต้องตกเป็นทาสอาณานิคมของต่างชาติ
และในการต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชของประเทศและเพื่อเอกภาพของชนในชาตินั้น
รัฐบาลพม่าถือว่า
นอกเหนือจากประชาชนทุกเผ่าพันธุ์จะต้องแสดงพลังและความสามัคคีแล้ว
พลังสำคัญในการต่อสู้และในการพัฒนาประเทศนั้น คือไตรภาคี อันได้แก่
กองทัพ ชาวไร่ชาวนา และกรรมกร
ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญบนเส้นทางระบอบสังคมนิยมที่สมบูรณ์
วิรัช
นิยมธรรม