การแปลผลวิจัย


หามาได้ก็แบ่งกันไป
วิเคราะห์ความแปรปรวน

ตัวอย่างที่ 1 เรื่อง : ความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน นายจ้างและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในโรงงานอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล ผู้วิจัย : อรรณพ จีนะวัฒน์ ปี : 2529 หน่วยงาน : ปริญญาครูศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มประชากรทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยการใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ดังได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางดังต่อไปนี้ ตาราง 24 ค่าความแปรปรวนของคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในโรงงานอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล ระหว่างความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน นายเจ้า เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน

แหล่งความแปรปรวน df SS MS F
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
รวมทั้งหมด
4
343
347
8.1255
36.2006
44.3261
2.0314
0.1055
19.25
p < .01 จากตาราง 24 แสดงว่าผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในโรงงานอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานคร และปริมาณฑิลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เพื่อให้ทราบความแตกต่างเป็นรายคู่ จึงใช้วิธีของเชฟเฟ่ตรวจสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ซึ่งปรากฏผลดังตาราง 25 ตาราง 25 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในโรงงานอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทีละคู่ด้วยวิธีทดสอบของเชฟเฟ่ จำแนกตามประเภทของกลุ่มตัวอย่างประชากร
ประเภทของกลุ่มตัวอย่างประชากร ผู้ใช้แรงงาน
(3.96)
นายจ้าง
(3.63)
เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน
(3.92)
เจ้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(3.73)
เจ้าหน้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน
(3.96)
ผู้ใช้แรงงาน (3.96)
นายจ้าง (3.63)
เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน (3.92)
เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (3.73)
เจ้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน (3.96)
-
-
-

-

-
-
-
-
**
-
-
-
p < .05
p < .01 จากตาราง 25 แสดงว่าผู้ใช้แรงงาน เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน และเจ้าหน้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในโรงงานอุตสาหกรรม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แตกต่างจากความคิดเห็นของนายจ้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ใช้แรงงาน เจ้าหน้าที่กรมแรงงานและเจ้าหน้าที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนเห็นด้วยมากกว่านายจ้าง นอกจากนี้ผู้ใช้แรงงานยังมีความคิดเห็นแตกต่างจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ใช้แรงงานเห็นด้วยมากกว่าเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ตัวอย่างที่ 2 เรื่อง : การเปรียบเทียบความสามารถด้านความจำที่ฝึกด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัย : ปราณี บัวมี ปี : 2542 หน่วยงาน : ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2. เปรียบเทียบความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดและแบบจำเมื่อมีกิจกรรมรบกวนของนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำแตกต่างกัน โดยผู้วิจัยได้นำคะแนนความสามารถด้านความจำของนักเรียนแต่ละคนมาทำการวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ซึ่งการวิเคราะห์ความแปรปรวนของความสามารถด้านความจำแบบทันทีทันใดปรากฏผลดังตาราง 4 ตาราง 4 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดของนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำแตกต่างกัน
แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างการฝึก (A)
ระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ (B)
ปฏิสัมพันธ์ (AxB)
ความคลาดเคลื่อน
177.75
424.08
149.17
903.88
2
2
4
63
88.88
212.04
37.29
14.35
6.20
14.78
2.60*
รวม 1654.88 71 23.31 .
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง 4 แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกัน และนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกัน กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผลต่อความสามารถด้านความจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเนื่องจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนครั้งนี้ ปรากฏว่าการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกันและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการเปรียบเทียบพหุคูณตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) เพื่อค้นหาว่าการฝึกความจำคู่ใดและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับใดที่มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกัน ดังแสดงในตาราง 5 และ 6 ตาราง 5 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดของนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกัน
เทคนิคช่วยจำ ธรรมดา (18.67) ระบบลิงก์ (19.79) ระบบโลไซ (22.42)
ธรรมดา (18.67)
ระบบลิงก์ (19.79)
ระบบโลไซ (22.42)
- 1.12
-
3.75
2.63
-
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง 5 แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำแบบธรรมดาโดยการท่องซ้ำ ๆ กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซมีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำแบบธรรมดาโดยการท่องซ้ำ ๆ กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์ และนักเรียนที่ได้รับการฝีกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์กับนักเรียนที่ได้รับการฝีกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตาราง 6 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดของนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน
ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มต่ำ (17.17) กลุ่มปานกลาง (20.63) กลุ่มสูง (23.08)
กลุ่มต่ำ (17.17)
กลุ่มปานกลาง (20.63)
กลุ่มสูง (23.08)
- 3.46
-
5.91
2.45
-
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง 6 แสดงว่านักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง มีความสามารถด้านความจำแบบทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความสามารถด้านความจำแบบทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากการเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกัน กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีผลต่อความสามารถด้านความจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการวิเคราะห์ใหม่ เพื่อค้นหาว่าการฝึกความจำแบบใดกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับใดที่มีผลต่อความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใด ดังตาราง 7 ตาราง 7 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกันกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใด
แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างการฝึกต่างกันของกลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
ระหว่างการฝีกต่างกันของกลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง
ระหว่างการฝึกต่างกันของกลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
ระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันของกลุ่มที่ฝึกความจำแบบธรรมดาโดยการท่องซ้ำ ๆ
ระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันของกลุ่มที่ฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์
ระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันของกลุ่มที่ฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ
274.33
42.25
10.33
20.33
210.58
342.33
2
2
2
2
2
2
137.17
21.13
5.17
10.17
105.29
171.17
9.56
1.47
0.36
0.71
7.34

11.93
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตาราง 7 แสดงว่า ระหว่างการฝึกต่างกันของกลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันของกลุ่มที่ฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์ และระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันของกลุ่มที่ฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกันกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันแบบอื่นมีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเพื่อต้องการทราบว่าการฝึกแบบใดทำให้นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับใดที่ทำให้นักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์และนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกัน จึงได้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ดังตาราง 8, 9 และ 10 ตาราง 8 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดของนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงเมื่อได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำต่างกัน
เทคนิคช่วยจำ ธรรมดา (18.75) ระบบลิงก์ (23.50) ระบบโลไซ (27.00)
ธรรมดา (18.75)
ระบบลิงก์ (23.50)
ระบบโลไซ (27.00)
- 4.75
-
8.25
3.50
-
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตาราง 8 แสดงว่านักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เมื่อได้รับการฝึกความจำแบบธรรมดาโดยการท่องซ้ำ ๆ กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์ และนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำแบบธรรมดาโดยการท่องซ้ำ ๆ กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ มีความสามารถด้านความจำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์กับนักเรียนที่ได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตาราง 9 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดของนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันเมื่อได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์
ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มต่ำ (16.25) กลุ่มปานกลาง (19.63) กลุ่มสูง (23.50)
กลุ่มต่ำ (16.25)
กลุ่มปานกลาง (19.63)
กลุ่มสูง (23.50)
- 3.38
-
7.25
3.87
-
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตาราง 9 แสดงว่า เมื่อได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบลิงก์ นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความสามารถด้วยความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางและนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตาราง 10 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดของนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันเมื่อได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ
ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มต่ำ (17.75) กลุ่มปานกลาง (22.50) กลุ่มสูง (27.00)
กลุ่มต่ำ (17.75)
กลุ่มปานกลาง (22.50)
กลุ่มสูง (27.00)
- 4.75
-
9.25
4.50
-
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตาราง 10 แสดงว่า เมื่อได้รับการฝึกความจำด้วยเทคนิคช่วยจำระบบโลไซ นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุงมีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง และนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางกับนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีความสามารถด้านความจำแบบจำทันทีทันใดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 
คำสำคัญ (Tags): #แบ่งปั
หมายเลขบันทึก: 154420เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท