บัณฑิตอาสาสมัคร ความหมายที่เปลี่ยนไป 2


เป็นความผิดพลาดอย่างมากที่เราทำหลักสูตรสองหลักสูตร ให้คล้ายคลึงกัน (ดูได้จากวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่เขียนไว้) ทั้งความคล้ายคลึงในคุณสมบัติความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษา ความไม่ต่างกันมากนักในความยากลำบากของการเรียน เพราะทั้งสองหลักสูตรจะแย่งชิงพื้นที่กันเอง

 

    ทั้งสามประการข้างต้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวรัด สัมพันธ์กัน ที่จะช่วยสร้างให้เกิดตัวตนให้กับความเป็น บัณฑิตอาสาสมัคร และตามที่กล่าวไปข้างต้น เราไม่อาจแยก บอ.เก่า- บอ.ใหม่ สำนัก และชนบท ออกจากกันได้ เพราะเหล่านี้คือ สิ่งบ่มเพาะตัวตนของ บอ. แต่เมื่อองค์ประกอบที่ก่อรูปขึ้น มีความเห็นที่ต่างกันไป และยังผลมาถึงการเปลี่ยนแปลง ตัวตนในมิติต่าง ๆ สิ่งที่เราทำได้คือ สร้างความเห็นพ้องต้องกันใน ตัวตนของ บอ. ที่เราต้องรักษาไว้ หากทำไม่ได้ก็ควรโน้มน้าว และขอพื้นที่เข้าไปมีส่วนกล่อมเกลาให้เกิดตัวตน ที่มีจิตวิญญาณที่สามารถกำหนดนิยาม ความหมายให้กับตัวเองได้บ้าง มากกว่าถูกทำเสมือนวัตถุที่ไร้ชีวิต หรือซากอดีตที่มีเพียงใบประกาศนียบัตรไว้ภาคภูมิใจ
ผมไม่ได้เรียกร้องให้ ทะเลาะ ขัดแย้ง แต่ผมเรียกร้องให้เปิดพื้นที่ให้กับ บอ. เก่า ที่ไม่ใช่มีศักยภาพเพียงการหาทุนสนับสนุนองค์กร แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ เกิดเกียรติภูมิ ความเป็นพี่น้อง ที่คอยดูแล เกื้อหนุน ช่วยเหลือเหล่าสมาชิกใหม่ ในการค้นหาความหมายของชีวิต และความหมายนี้ ก็เป็นความหมายที่เป็นไปในทางเดียวกันคือ เสียสละแก่คนที่ด้อยโอกาส โดยเฉพาะคนในชนบท





เชิงอรรถ
1.
แม้ว่าชนบทวันนี้จะเปลี่ยน แต่สิ่งที่ชนบทแตกต่างจากเมืองนั้นยังมีอยู่ นั่นคือ ความเสียเปรียบจากการถูกถ่ายเททรัพยากร ความเป็นรากเหง้าที่มาซึ่งเราสามารถเรียนรู้อดีตการเปลี่ยนแปลงของเมืองได้จากชนบท รวมถึงชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สะท้อนออกมาในรูปวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังเป็นเบาะรองรับทางสังคม (Social Debunking) ที่เปิดแขนรอรับผู้คนที่สูญเสีย ล้มเหลว จากระบบของเมือง กลับไปพักฟื้น เยียวยา หรือแม้แต่บ่มเพาะผู้คนให้เข้ามาทำงานรับใช้เมือง ที่สำคัญยังเป็นแหล่งผลิตอาหาร อากาศ น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพในมิติต่าง ๆ ให้กับคนเมืองทั้งหลายด้วย (ที่ผมขยายความตรงนี้เนื่องจากมีข้อสงสัยถึงความจำเป็นที่จะต้องทำงานกับชนบทยังมีอยู่หรือไม่)


2.
เป็นความผิดพลาดอย่างมากที่เราทำหลักสูตรสองหลักสูตร ให้คล้ายคลึงกัน (ดูได้จากวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่เขียนไว้) ทั้งความคล้ายคลึงในคุณสมบัติความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษา ความไม่ต่างกันมากนักในความยากลำบากของการเรียน เพราะทั้งสองหลักสูตรจะแย่งชิงพื้นที่กันเอง โดยเฉพาะการทำหลักสูตรหนึ่งให้โดดเด่นเหนือกว่าด้วยวุฒิที่ได้รับ บทเรียนนี้ดูได้จาก การที่บริษัทโตโยต้า ผลิตรถรุ่น คัมลี่ ที่มีความโอ่อ่า และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มากกว่ารุ่น โคโลน่า ในราคาที่สูงขึ้นอีกนิดหน่อย เพื่อแข่งขันกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ นิสสัน เซฟิโร่ ที่มีภาพลักษณ์เหนือกว่า โคโลน่า (เดิมโคโลน่า คือรุ่นที่เทียบเท่าได้กับ แอคคอร์ และ เซฟิโร่) เมื่อมี คัมรี่ ออกมาทำให้มาแย่งตลาดกันเองระหว่าง โคโลน่า และคัมลี่ จนในที่สุด โตโยต้าก็ต้องเลิกผลิต โคโลรน่า

หมายเลขบันทึก: 154341เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 07:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท