ภาวะวิกฤตจิตรกรรมฝาผนังพื้นบ้านอีสาน ๖ : เสื่อมสภาพ


เรื่องเล่าจากสนาม

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังอีสานก็เหมือน ๆ คนอีสาน ที่ย่อมเป็นไปตามกรรม มีเกิดย่อมมีดับเป็นธรรมดาของโลก ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังอีสานหลายวัดแม้จะอยู่ในสภาพที่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีแต่ก็มีเหตุต้องเลือนไป

ความเสื่อมที่สำคัญคือ

การเสื่อมสภาพของทางเคมีซึ่งมีผลให้เม็ดสีหลุดหล่อน ซีดและเลือนจางไป แม้ว่าจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนด้วยสีจากกระบวนการแบบช่างเดิมคือสารเคมีจากธรรมชาติ หรือ แม้แต่สารเคมีจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม

การเสื่อมสภาพส่วนใหญ่มาจากการโดนความร้อน แสง ทั้งแสงของดวงอาทิตย์และแสงจากหลอดไฟฟ้า เพราะเมื่อชั้นสีกระทบความร้อนหรือรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตสีจะเปลี่ยนแปลงและสีซีดลง เช่นวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานีแม้จะเป็นภาพเขียนในอาคารแต่ก็มีสภาพที่ลบเลือนไปมาก

ความเสื่อมสลายอันเนื่องมาจากองค์ประกอบหลายส่วนมาจากการใช้วัสดุคุณภาพต่ำเนื่องจากปัจจัยของบริบทสมัยก่อน ทำให้ช่างใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในการสร้างพื้นผิวรองรับ(ผนัง) และสีที่ใช้ในการเขียน 

ความเสื่อมอันเนื่องมาจากตัวศาสนาคาร ปัญหาใหญ่อีกประกาคือการเขียนภาพที่ผนึกบนผนังศาสนาคาร เมื่อศาสนาคารมีความเปลี่ยนแปลงแตกร้าวย่อมส่งผลกระทบต่อตัวจิตรกรรมฝาผนังด้วย ดังนั้นหลายวัดเมื่อไม่สามารถรักษาศาสนาคารได้จึงต้องทุบทิ้งและสร้างศาสนาคารขึ้นใหม่ งานจิตรกรรมกรรมฝาผนังย่อมโดยทุบทิ้งตาม

โดยภาพรวมแล้วอย่างที่จั่วหัวไปแล้วว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม บางอย่างเราเองก็ควบคุมยาก เกินการรักษาเยียวยาของชาวบ้านและพระสงฆ์ ดังนั้นย่อมสูญสลายไปตามนั้นแล

หมายเลขบันทึก: 153625เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

ป้าแดง เห็นมีภาพวาดใหม่ๆมาแทน เยอะเลยค่ะ

ขอบคุณป้าแดงมากครับ เพื่อนออตกำลังศึกาควงามเปลี่ยนของภาพจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยครับ จะเอามาเล่าให้อ่านครับ
  • น้องออตค่ะ

น่าเสียดายนะค่ะ

ป้าหมูที่คิดฮอด

  • กรณีเสื่อมสภาพ ยากซึ่งปัญญาจริง ๆครับ
  • เป็นเรื่องเชิงเทคนิคขั้นสูง
  • ในการยื้อชีวิตจิตรกรรมฝาผนังอีสาน

สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทุนทางสังคมของเรา รัฐมองไม่เห็นเล้ยยยยย...

สงสัยต้องให้ฝรั่งเอาไปเขียนในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศเสียก่อนรัฐจึงจะตื่นขึ้นมาอนุรักษ์เพื่อเรียนรู้

 

เฮ่อ งานมีล้นมือนะออตนะ

อิอิ

  • พี่บางทรายครับ
  • อันความเสื่อมเราชะลอมันได้
  • หากองค์กรในชุมชน องค์กรนอกชุมชน รัฐได้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง
  • อย่างน้อยก็ใช้โลชั่นป้องกันการแตกรอยงา อิอิ
  • โลชั่นเราอยู่ที่ไหนหนอ ผลิตกันหรือยัง
  • สวัสดีครับ อ.ออต
  • เห็นด้วยกับท่าน P  บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) ในความหมาย ทุนทางสังคม  แต่ผมมองไปในแง่ทางบุคคล ครับ
  • เห็นได้ว่าวัดเดี๋ยวนี้  หลายวัดต้องอาศัยหลวงตาที่บ้างบวชมานาน  บ้างบวชตอนแก่  หรือบวชมานานแต่พระคุณท่านมี(หรือเคยมี)จิตใจเพศนุ่มนิ่มมาก่อน  รวมแล้วบวชอยู่วัดจริง ๆ วัดละ 1-2 รูป
  • พระในวัดก็มีอย่างนี้  สภาพทางหมู่บ้านถ้าฐานะไม่ดี  ก็ต้องหากินไม่มีเวลาคิดเรื่องมารักษาสิมเก่าเดิม
  • ถ้าชุมชนไหนมั่งมีหน่อย  มีศรัทธาสร้างก็ร่ำแต่ว่าตนเองเป็นคนไทยต้องทำแบบไทยภาคกลางที่โอ่อ่าสง่าสูงใหญ่ไว้ก่อน
  • เดี๋ยวนี้คนอีสานที่มีการศึกษาหน่อย  แม้แต่ภาษาอีสาน/ลาว  ภาษาหนึ่งที่ไพเราะเจือด้วยศิลปะทางเสียงและคำ  ยังไม่อยากพูด  มิพักจะพูดถึงศิลปะสถาปัตยกรรมแบบงามใจ เรียบง่าย แบบลาวล้านช้างหรอกครับ
  • แต่ก็ใช่ว่าการอนุรักษ์สืบสานของดีอาคารวัตถุทางศาสนาจะหมดหนทาง  ตราบที่มีคนอย่าง อ.ออต และท่านอื่น ๆ หน่วยงาน  องค์การ  พระคุณเจ้าที่เข้าใจเรื่องนี้  ทุกอย่างจะต้องดีขึ้นหรือคงอยู่ได้แน่นอน

ท่านผอ. /ท่านบางทราย

  • ขอบพระคุณมากครับ นี่ชมกันมากเกินไปแล้วครับ
  • ท่านทั้งสองก็ถือว่าเป็บครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพในความสามารถที่จะนำมาวัฒนธรรมอีสานให้คงอยู่สถาพรต่อไป ท่านทั้งสองได้ช่วยต่อเติมความรู้ให้ครบถ้วน นี่เป็นความงามของโลกชาวบล็อก
  • แม้ต้องเหนื่อยกับกระแสวัฒนธรรมใหม่ เป็นธรรมดาของวัฒนธรรม หากมีคนสู้ ผมก็สุ้ครับ

แสดง ควาย หมา ทุ.... หน้าหมา ไร้ยางอาย อย่ามาทำอีกไม่สวย

ขอบคุณคุณบอลมากครับ

ขอกุศลที่เราทำ ทำให้คุณไปอยู่ในภพซึ่งเหมาะกับตัวคุณ

อนุโมทนาบุญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท