KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 3. เคารพซึ่งกันและกัน


KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 3. เคารพซึ่งกันและกัน


• แสดงความเคารพซึ่งกันและกัน (Mutual Respect) ในทุกมิติของพฤติกรรม     ไม่ใช่แค่ยกมือไหว้ ซึ่งเป็นเพียงมิติกายภาพ   
• เคารพซึ่งกันและกันในมิติ กายภาพ    มิติวจีภาพ คือคำพูดต่อกัน และการพูดถึงกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง    มิติจิตภาพ คือความรู้สึกต่อกัน 
• เคารพในความแตกต่างในทุกด้าน : ความเชื่อ   วัฒนธรรม   ภาษา   เชื้อชาติ   ผิวพรรณ   ฯลฯ   
• ผู้ใหญ่เคารพผู้น้อย   ผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่
• เสียงส่วนมากเคารพเสียงส่วนน้อย    เสียงส่วนน้อยเคารพเสียงส่วนใหญ่
• แสดงความเคารพด้วยการฟังอย่างลึก (deep listening)    ฟังอย่างตั้งใจ   พยายามให้เห็นตัวตนของผู้พูด  
• แสดงความเคารพด้วยการถาม    ถามแบบ appreciative inquiry
• แสดงความเคารพโดยการตีความผลสำเร็จ    ชี้คุณค่าที่ตนมองเห็น
• แสดงความเคารพด้วยการเสนอเรื่องเล่าของตน ประกอบ/สนับสนุนเรื่องราวความสำเร็จของเพื่อนร่วมเวที   
• แสดงความเคารพด้วยการเสนอเรื่องราว/ความเห็น ที่แตกต่างออกไป    ด้วยน้ำเสียง และถ้อยคำที่แสดงเจตนาเชิงบวก เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
• นำเสนอด้วยความเคารพ    เสนอความแตกต่างอย่างเคารพ    มองต่างมุมอย่างเคารพ
• การแสดงความเคารพเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์     ต้องการความพอดี    ต้องเหมาะสมกับบริบท/องค์ประกอบ


 
วิจารณ์ พานิช
๒ กพ. ๔๙ 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 14729เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

นี่แหละครับ  การฝึกสติ  จึงเป็น รากฐานที่มั่นคงที่สุด ในการเรียนรู้ 

คนมีสติ จึงจะ ระงับ ความอหังกา  อิจฉา  อยากอวดรู้   หมั่นไส้  ฯลฯ  ในขณะสนทนาได้ 

คนมีสติ  จะ ตามความคิดได้ทัน   ไม่ให้ความคิดเข้าไปรวมตัวกับจิต

จิตเป็นอกุศล  ก็ให้รู้ว่าจิตเป็นอกุศล  มิฉะนั้น คุยกันไม่รู้เรื่อง

การมี ตัวตน ตัวกู ของกู   นี่แหละ   สนทนา  กลายเป็นแหล่ง สร้างศัตรู  ได้ง่ายๆ

เรียนรู้ ในกาย ในใจ  ของเรา   นี่แหละ

LO ในกาย ในใจ ของเรา ยังทำไม่ได้  ออกไปทำ LO ข้างนอก  ยิ่งเละกันใหญ่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท