ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน


นิด ๆ หน่อย ๆ

       ภาษาไทยที่เราใช้พูด เขียนประจำวัน มีคำหรือเรื่องที่น่าสนใจและน่าศึกษาอยู่มิใช่น้อย  บางทีเป็นคำหรือเรื่องธรรมดาที่เคยพบเห็นและใช้กันเป็นประจำแต่เมื่อถึงคราวใช้กันจริง ๆ  บางทีเราก็ใช้กันไม่ค่อยจะถูกหรือใช้ผิด  และก็ใช้กันผิดเรื่อยมาเพราะความเคยชินเห็นใช้กันมาอย่างไร  ก็ใช้ตาม ๆ กันก็มี  เช่นอำเภอแม่สรวยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย  บางคนอ่านว่าแม่สะ - รวยบ้าง  แม่สะ - หรวยบ้าง  คำนี้คนอยู่ทางภาคเหนือย่อมรู้ดีว่า  เขาอ่านกันว่าแม่สวย  ทำนองเดียวกันอำเภอสรอง  อ่านว่าอำเภอ - สอง  เพราะตัว ร เป็นอักษรควบไม่แท้

      จากการอ่านหนังสือภาษาไทยในชีวิตประจำวันของประยอม  ซองทอง  ท่านกล่าวว่าภาษาไทยมีความร่ำรวยถ้อยคำ  แม้จะออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายแตกต่างกันไป ทำให้สับสนในการเขียน  การเขียนหนังสือผิดนั้นมีกันทั่วทุกตัวคนมากบ้างน้อยบ้างไม่ว่าใคร  จึงไม่ควรเหยียดหยาม  แต่ควรได้รับการเมตตาปรานีจากผู้รู้ให้ช่วยกันติติง  ตักเตือน  เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

      คำที่น่าสนใจและมักจะมีปัญหาทางการเขียนเช่น คำว่า สังสรรค์  และคำว่า สังสันทน์  ในพจนานุกรมกำหนดให้ใช้ว่า  สังสรรค์ ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงานสังสรรค์กันในหมู่พนักงาน  เพื่อน ๆได้พบปะสังสรรค์กันในงานชุมนุมศิษย์เก่า  แต่ท่านประยอม  ซองทองได้ลองจำแนกคำศัพท์ดังนี้

     "สังสันทน์ "  กับ  "สังสรรค์"  มาจาก ْ  + สนฺทน  กับ  ْ   สนธิ  กับ สรฺค   ْ  (ร่วมกัน)  สรรค์  (มาจากสรฺค  สันสกฤต แปลว่า สร้าง)  ฉะนั้นคำว่า "สังสรรค์"  ก็ควรจะแปลว่า  "ร่วมกันสร้าง"  ซึ่งไม่เห็นว่าการมาพบปะพูดคุยสนทนากินข้าวกินเหล้ากันนั้น บางทีก็ไม่ได้ร่วมกันสร้างอะไร  ส่วนคำว่า  ْ    สนธิกับ สนฺทน  (สนทนา  พูดคุยกัน)  น่าจะตรงกับความหมายของลักษณะงาน "สังสันทน์" เป็นที่สุด  เพราะหมายถึง "มาพูดคุยกัน"
หมายเลขบันทึก: 147168เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2007 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น..ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณครูมณี

              ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่บ่งบอกชาติพันธุ์ของผู้คนในสังคมหนึ่งที่มีไว้เพื่อการสื่อสาร ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้คำทั้งพูดและเขียน เนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยน  พจนานุกรมไทยจึงมีช่วงเวลาที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทไทยที่เปลี่ยนไป

              ขอบคุณครับกับความเป็นไทย

ขอบคุณค่ะ

ภาษาบ้าน...........หรอ

สวัสดีครับคุณครูมณี ขิระนะ

  • ครูจ่อยมาเยี่ยม มาทักทาย
  • ครูภาษาไทย ต้องช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ให้ลูกหลานนะครับ
  • โชคดีมีสุขครับ

ขอบคุณครับทำให้รู้ภาษาไทยมาขึ้นครับ

ขอบพระคุณที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาและอนุรักษ์ภาษาที่ดีเยี่ยม

เห็นชอบด้วยค่ะ “พบปะสังสันทน์” คำนี้ถูกและพจนานุกรมฉบับไหน ก็ไม่ควรอนุโลมให้ใช้ผิด
สีสัน /สุขสันต์ /เลือกสรร /สร้างสรรค์ /สังสันทน์ ไม่มีสังสรรค์ (XX) ภาษาเป็นวัฒนธรรมควรรักษาความถูกต้องถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป บางทีไปอ่านพบว่าใช้ผิดมานานจนพจนานุกรมอนุโลมให้ใช้ …. สังสรรค์…. ไม่สบายใจ รับไม่ได้เลยค่ะ ถูกก็คือถูก ผิดก็คือต้องแก้ไข ไม่ใช่อนุโลมให้ใช้ ท่านผู้มีบทบาทในการเขียนตำราควรตระหนักในความถูกต้องชัดเจนด้วยค่ะ บางคนนำไปใช้ผิด ก็ไปให้ความหมายผิดด้วย เน้นนะคะภาษาเป็นวัฒนธรรม ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท